พัฒนาผลิตภัณฑ์จากข้าวและผลพลอยได้จากข้าวหอมมะลิทุ่งกุลา

แบบเสนอโครงการ
พัฒนาผลิตภัณฑ์จากข้าวและผลพลอยได้จากข้าวหอมมะลิทุ่งกุลา

1. ชื่อโครงการ

พัฒนาผลิตภัณฑ์จากข้าวและผลพลอยได้จากข้าวหอมมะลิทุ่งกุลากระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมศูนย์การเรียนรู้ศาสตร์พระราชาทุ่งกุลาร้องไห้มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งกุลา ต.ทุ่งกุลา อ.ท่าตูม จ.สุรินทร์กลุ่มนาเกษตรแปลงใหญ่ ต.ทุ่งกุลา อ.ท่าตูม จ.สุรินทร์1.รศ.ดร.กฤษณ์ปิ่นทองมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ต.นอกเมือง อ.เมืองสุรินทร์ จ.สุรินทร์โทรศัพท์ 081-55298921.ดร.คุณภัทรศรศิลป์ อาจารย์ประจำหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาชีววิทยา
2.ว่าที่ร้อยตรีพนมชินภาพ นักวิทยาศาสตร์ ประจำศูนย์วิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ประยุกต์
3. นายวีระชัย กูลรัตน์ นักศึกษาสาขา เทคโนโลยีสารสนเทศ
4.นางสาวภาวินีย์ แพงกัน นักศึกษาสาขา ชีววิทยา
5.นางสาวกนกวรรณ น้อยสงวน นักศึกษาสาขา ชีววิทยา
6.นางสาวบังอร พันนาม นักศึกษาสาขา ชีววิทยา
7.นายดนัย ชื่นชอบ นักศึกษาสาขา ฟิสิกส์
8.นายนิศวัสดิ์นาคเขียว นักศึกษาสาขา วิทยาศาสตร์การกีฬา
9.นายภูมิภัทรพุทธระสุ นักศึกษาสาขา วิทยาศาสตร์การกีฬา
10.นายภูษิตทศพรนักศึกษาสาขา วิทยาศาสตร์การกีฬา

2. พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
สุรินทร์ ท่าตูม ทุ่งกุลา

3. รายละเอียดชุมชน

1.1 ที่ตั้งของหมู่บ้านหรือตำบล
องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งกุลาอำเภอท่าตูมจังหวัดสุรินทร์ ตั้งอยู่ที่บ้านตานบ หมู่ที่ ๔อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของอำเภอท่าตูมห่างจากอำเภอท่าตูมระยะทางประมาณ๑๖ กิโลเมตรตามเส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข๒๑๔ห่างจากศาลากลางจังหวัดสุรินทร์ระยะทางประมาณ๖๙กิโลเมตรมีอาณาเขตติดต่อกับตำบลต่างๆดังต่อไปนี้
ทิศเหนือ ติดกับ อำเภอสุวรรณภูมิอำเภอเกษตรวิสัยจังหวัดร้อยเอ็ด
ทิศใต้ ติดกับ แม่น้ำมูลเขตตำบลท่าตูมอำเภอท่าตูมจังหวัดสุรินทร์
ทิศตะวันออก ติดกับ ตำบลโพนครกอำเภอท่าตูมจังหวัดสุรินทร์
ทิศตะวันตก ติดกับ ตำบลพรมเทพ อำเภอท่าตูม และตำบลไพรขลา อำเภอชุมพลบุรี

1.2 ลักษณะภูมิประเทศ
ตำบลทุ่งกุลามีเนื้อที่ประมาณ ๖๗ตารางกิโลเมตรหรือประมาณ41,875ไร่มีลักษณะเป็นที่ราบสภาพหมู่บ้านแต่ละหมู่บ้านอยู่ห่างไกลกันซึ่งเป็นพื้นที่ทำการเกษตรและเป็นที่อยู่อาศัย

1.3 ลักษณะภูมิอากาศ
สภาพภูมิอากาศของตำบลทุ่งกุลามี๓ ฤดูคือ ฤดูหนาวร้อนฝนน้ำฝนน้อยไม่พอแก่การเพาะปลูกขาดระบบการชลประทานที่ดี

1.4 ลักษณะของดิน
ลักษณะของดินในพื้นที่เป็นดินร่วน ดินเหนียว พื้นราบเหมาะแก่การเพาะปลูกข้าว

1.5 ลักษณะของแหล่งน้ำ
มีแหล่งน้ำธรรมชาติไหลผ่านได้แก่ แม่น้ำลำพลับพลาแม่น้ำน้ำมูล

1.6 ลักษณะของไม้และป่าไม้
ในพื้นที่อยู่ในเขตป่าไม้เสื่อมโทรมบางส่วน
1. ประชากร

1.1 ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากร
ตำบลทุ่งกุลา มีประชากรจำนวนทั้งสิ้น๕,๒24คน เป็นชาย ๒,๖17 คนเป็นหญิง ๒,607คนจำนวนครัวเรือนบ้าน๑,๓87ครัวเรือนประชากรมีความหนาแน่นเฉลี่ย๗8 คน/ตารางกิโลเมตร ข้อมูลณ เดือนพฤษภาคม พ.ศ.๒๕62

1.2 ช่วงอายุและจำนวนประชากร
ประชากรส่วนใหญ่อยู่ในวัยทำงาน 35 – 55 ปี

2. สภาพทางสังคม

2.1 การศึกษา
โรงเรียนประถมศึกษา 5แห่ง (อนุบาล-ประถมศึกษาปีที่ 6) ได้แก่
1.โรงเรียนบ้านปอหมัน จำนวนนักเรียนประมาณ 86 คน
2.โรงเรียนบ้านตานบ จำนวนนักเรียนประมาณ101 คน
3.โรงเรียนบ้านน้ำอ้อม จำนวนนักเรียนประมาณ 51 คน
4.โรงเรียนบ้านโนนระเวียง จำนวนนักเรียนประมาณ 67คน
5.โรงเรียนบ้านตาฮะ จำนวนนักเรียนประมาณ 105คน
โรงเรียนมัธยมศึกษา(ขยายโอกาส) 2แห่ง (มัธยมศึกษาปีที่ 1-3) ได้แก่
1. โรงเรียนบ้านปอหมัน จำนวนนักเรียนประมาณ37คน
2. โรงเรียนทุ่งกุลาพิทยาคม จำนวนนักเรียนประมาณ87คน
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนวัยเรียน4แห่ง ได้แก่
1. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านปอหมันจำนวนนักเรียนประมาณ48คน
2. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านตานบจำนวนนักเรียนประมาณ38คน
3. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโนนระเวียงจำนวนนักเรียนประมาณ18คน
4. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโนนตาฮะจำนวนนักเรียนประมาณ20คน

ในพื้นที่มีการศึกษานอกระบบ(กศน.ตำบลทุ่งกุลา)1แห่ง

2.2 สาธารณสุข
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งกุลา 1 แห่ง
ศูนย์สาธารณสุขมูลฐานชุมชน 1 แห่ง

2.3 อาชญากรรม
ตำบลทุ่งกุลาอำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ ไม่มีการก่ออาชญากรรมในพื้นที่

2.3 ยาเสพติด
ปัญหายาเสพติด มีพื้นที่เฝ้าระวัง คือ พื้นที่ทั้ง10หมู่ในตำบลทุ่งกุลา

2.4 การสังคมสงเคราะห์
องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งกุลาได้มีการนำเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุผู้พิการและผู้ป่วยเอดส์ไปให้ถึงมือผู้รับในแต่ละเดือนครบตามจำนวน

3. ระบบบริการพื้นฐาน

3.1 การคมนาคมขนส่ง
การเดินทางสู่ตำบลทุ่งกุลา๒เส้นทาง ถนนสาย๒๑๔ถนนสาย ๔๐๐๑ ปัจจุบันการคมนาคมถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาในทุกๆด้านไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจการเกษตรกรรมการศึกษาการเมืองการปกครอง ฯลฯตำบลทุ่งกุลายังขาดการคมนาคมที่จะตอบสนองความต้องการในด้านนี้อยู่อย่างมากจึงทำให้การพัฒนาทุกๆด้านที่กล่าวมาไม่สามารถตอบสนองได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยเฉพาะความต้องการคมนาคมสายหลักๆเพื่อการติดต่อค้าขายกับตำบลอื่น และเพื่อการศึกษาของเยาวชนรวมทั้งด้านการเกษตร
3.2 การไฟฟ้า
มีระบบไฟฟ้าครบทุกหมู่บ้านจำนวน1,387 ครัวเรือนแต่ยังมีปัญหาในด้านการขยายเขตไฟฟ้าเพื่อการพัฒนาด้านการเกษตรกรรมเพราะพื้นที่การเกษตรอยู่ห่างจากชุมชนและปัญหาไฟฟ้าเพื่อแสงสว่างเพื่อป้องกันการโจรกรรมหรืออาชญากรรม

3.3 การประปา
มีระบบประปาหมู่บ้านครบ 10 หมู่บ้านโดยหมู่ที่ 1,2,3 ใช้ระบบประปาร่วมกันและหมู่ที่8,9ใช้ระบบประปาร่วมกัน และในฤดูร้อนเขตพ้นที่ส่งผลให้น้ำประปาในช่วงหน้าแล้งไม่เพียงพอต่อการอุปโภค-บริโภค

3.4 โทรศัพท์
ปัจจุบันทุกหมู่บ้าน ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นส่วนใหญ่

3.5 ไปรษณีย์หรือการสื่อสารหรือการขนส่ง และวัสดุ ครุภัณฑ์
ที่ทำการไปรษณีย์ที่ใกล้ที่สุด ได้แก่ ไปรษณีย์ท่าตูม ตั้งอยู่ ตำบลท่าตูม อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ ห่างจากตำบลทุ่งกุลาอำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ ไปทางทิศใต้ประมาณ 16 กิโลเมตร

4. ระบบเศรษฐกิจ

4.1 การเกษตร
ราษฎรส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 90 ประกอบอาชีพทำการเกษตรกรรมได้แก่ทำนา ปลูกข้าวที่เหลือประกอบอาชีพส่วนตัวและรับจ้าง

4.2 การประมง
ตำบลทุ่งกุลามีการเลี้ยงปลาในบ่อเพื่อบริโภคเองภายในครัวเรือน

4.3 การปศุสัตว์
ตำบลทุ่งกุลามีการปศุสัตว์ คือ การเลี้ยงโค และการเลี้ยงสุกร ในทุกหมู่บ้านของ ตำบลทุ่งกุลา อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์

4.4 การบริการ
บริการนวดพื้นบ้าน ที่กลุ่มนวดพื้นบ้าน หมู่ที่ 4 บ้านตานบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งกุลา
มีร้านบริการทำผม เสริมสวย พื้นที่ จำนวน5แห่ง
มีโรงสีข้าวขนาดใหญ่ในพื้นที่จำนวน1แห่ง
มีโรงสีข้าวขนาดเล็กในพื้นที่ จำนวน 51 แห่ง
มีโรงสับไม้จำนวน1แห่ง

4.5 การท่องเที่ยว
ตำบลทุ่งกุลาอำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ ไม่มีแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่

6.6 อุตสาหกรรม
ตำบลทุ่งกุลาอำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ ไม่มีโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่

4.7 การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ
- กลุ่ม ธกส. 1 กลุ่ม
- กลุ่มออมทรัพย์ 10 กลุ่ม
- กลุ่มเกษตร 1 กลุ่ม
- กลุ่มสตรีทอผ้าไหม 10 กลุ่ม
- กลุ่มออมทรัพย์ 10 กลุ่ม
- กลุ่มสหกรณ์การเกษตร 1 กลุ่ม

4.8 แรงงาน
ราษฎรส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 90 ประกอบอาชีพทำการเกษตรกรรมได้แก่ทำนา ปลูกข้าว ที่เหลือประกอบอาชีพส่วนตัวและรับจ้าง
ตารางแสดง อัตราสิ่งที่ได้จากการสีข้าวเปลือก 1,000 กก.
สิ่งที่ได้จากการสีจำนวนเฉลี่ยเป็นกิโลกรัม ร้อยละ
ข้าวสาร 423.1742.32
ปลายข้าว 239.8923.99
รำ 101.88 10.19
แกลบ 235.0623.50
รวม1,000100
ที่มา : http://www.arda.or.th/kasetinfo/rice/rice_product/rice-product4_1.html

จากการสีข้าวเปลือกในแต่ละครั้งนอกจากจะได้ข้าวสาร แล้วยังได้ปลายข้าว รำ และแกลบ ข้าวสารนำมารับประทานหรือขาย โดยส่วนใหญ่ชาวบ้านจะนำส่วนอื่นๆ มาใช้ประโยชน์ในการเลี้ยงสัตว์ เป็นอาหารให้สัตว์ คือ ปลายข้าวเป็นอาหารให้ไก่ รำเป็นอาหารให้หมู และแกลบใช้ในการปลูกพืช ใส่ดินเป็นปุ๋ย นอกจากใช้ประโยชน์ด้านการเกษตรแล้ว ยังสามารถนำมาแบ่งขายสร้างรายได้ แต่ได้ไม่มากนัก และการสีข้าวในแต่ละครั้งก็มีค่าใช้จ่าย ซึ่งถ้าเราสามารถนำปลายข้าว รำ แกลบ มาแปรรูป ทำเป็นผลิตภัณฑ์ สร้างมูลค่าเพิ่ม ก็จะสามารถเพิ่มรายได้ได้มากขึ้น ใช้ประโยชน์ได้อย่างสูงสุด และคุ้มค่าที่สุด
ชุมชนมีการปลูกข้าวหอมมะลิเป็นจำนวนมาก ซึ่ง

4. ประเด็นปัญหาหลัก

5. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

6. องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

เพื่อพัฒนาและยกระดับการแปรรูปผลผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ และผลพลอยได้จากผลผลิตข้าวหอมมะลิ ให้มีการเพิ่มมูลค่าผลผลิตของข้าวหอมมะลิ ให้กับชุมชนในกลุ่มนาแปลงใหญ่ให้มี กระบวนการผลิตและแปรรูปสินค้าเกษตร เพิ่มปริมาณและคุณภาพผลผลิตตลอดจนช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ส่งเสริมการทำเกษตรอย่างยั่งยืนและเพื่อให้สอดรับกับนโยบายรัฐบาลมุ่งสู่การพัฒนาเศรษฐกิจและพัฒนาพื้นที่ชุมชน

7. วัตถุประสงค์

วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์จากข้าวและผลพลอยได้จากข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาให้มีรูปแบบ และผลิตภัณฑ์ที่สร้างรายได้ให้กับชุมชน โดยนักศึกษามีส่วนร่วมในการดำเนินการ

ผู้เข้าร่วมโครงการมีการพัฒนา ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากข้าวหอมมะลิเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิมอย่างน้อย 5 ชนิด

70.00 80.00

8. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)

9. ระยะเวลา

10. วิธีดำเนินงาน

กิจกรรมที่ 1 พัฒนาผลิตภัณฑ์จากข้าวและผลพลอยได้จากข้าวหอมมะลิทุ่งกุลา

ชื่อกิจกรรม
พัฒนาผลิตภัณฑ์จากข้าวและผลพลอยได้จากข้าวหอมมะลิทุ่งกุลา
วัตถุประสงค์
    รายละเอียดกิจกรรม
    โครงการมีขั้นตอนดำเนินการ ดังนี้
    1. การวางแผนการดำเนินการ (P_Plan)
    (1) ขออนุมัติโครงการ
    (2) แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินโครงการ
    (3) ประชุมเพื่อวางแผนการดำเนินโครงการ
    (4) ประชาสัมพันธ์/รับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการ/หนังสือขอรับการบริการทางวิชาการ
    จากผู้ร้องขอ
    2. การดำเนินงานตามแผน (D_Do)
    (1) ติดต่อวิทยากร/คณะฯ ออกหนังสือเชิญวิทยาการ
    (2) เตรียมเอกสารจัดซื้อจัดจ้าง/สัญญายืมเงิน
    (3) เตรียมเอกสารประกอบการบรรยายและเอกสารประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติ
    (4) ทำการจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือในการอบรม
    (5) เตรียมความพร้อมของผู้ช่วยวิทยากร (นักศึกษา) โดยจัดการฝึกปฏิบัติจริง เพื่อให้นักศึกษาเกิดทักษะและการเรียนรู้เกี่ยวกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้
    (6) ดำเนินโครงการบริการทางวิชาการตามระยะเวลาที่กำหนดไว้
    (7) ประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการต่อการดำเนินโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ
    3. การติดตาม และประเมินผลการดำเนินงาน (C_Check)
    (1) ติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน 1 เดือน หลังการอบรมเชิงปฏิบัติการ
    (2) เครื่องที่ใช้ในการติดตามผล ได้แก่ แบบสอบถามหรือแบบประเมิน
    (3) รายงานผลการดำเนินการโครงการเมื่อเสร็จสิ้นโครงการ
    4. การปรับปรุง/พัฒนา/แก้ไขจากผลการติดตาม (A_Action) (กรณีเป็นโครงการต่อเนื่อง)
    ระยะเวลาดำเนินงาน
    11 พฤศจิกายน 2562 ถึง
    ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
    การพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ และแปรรูปผลิตภัณฑ์ผลพลอยได้จากข้าวหอมมะลิ ให้ชุมชนสามารถเพิ่มรายได้ แบบยั่งยืน
    ทรัพยากรอื่น ๆ
    -
    ภาคีร่วมสนับสนุน
    ภายใต้โครงการอาสาประชารัฐและองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งกุลา ต.ทุ่งกุลา อ.ท่าตูม จ.สุรินทร์
    รายละเอียดงบประมาณ
    ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
    ค่าตอบแทนวิทยากร

    วิทยากร 5 คน X 6 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 600 บาท จำนวน อบรม 5 ครั้ง

    5 คน 3,600 5 90,000
    ค่าจ้างทำป้ายประชาสัมพันธ์

    ป้ายไวนิล พร้อมออกแบบป้าย จำนวน 5 ป้าย ป้ายละ 800 บาท

    1 ชิ้น 800 5 4,000
    ค่าเช่าสถานที่

    ค่าเช่าสถานที่ในการจัดอบรม 5 ครั้ง ครั้งละ 1000 บาท

    1 ครั้ง 1,000 5 5,000
    ค่าอาหาร

    ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 100 คน x 100 บาท/มื้อ จำนวน 5 ครั้ง

    100 คน 100 5 50,000
    รางวัลเพื่อการยกย่อง

    ของที่ระลึก จำนวน 3 ชิ้น ราคา 2000 บาท/ชิ้น

    3 ชิ้น 2,000 1 6,000
    ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้

    ชุดอุปกรณ์ฝึกอบรมในการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากข้าวหอมมะลิ จำนวน 10 ชุด ชุดละ 4000 บาท จำนวน 5 ครั้ง

    10 ชุด 4,000 5 200,000
    ค่าวัสดุสำนักงาน

    ค่าเครื่องเขียน ปากกา หมึกพิมม์ กระดาษ ซองพลาสติก ฯลฯ

    1 ชุด 20,000 1 20,000
    ค่าถ่ายเอกสาร

    ค่าถ่ายเอกสารและจัดทำคู่มือ การอบรม จำนวน 600 ชุด ชุดละ 80 บาท

    120 ชุด 80 5 48,000
    ค่าพาหนะเดินทาง - รถยนต์ส่วนบุคคล

    รถยนต์สวนบุคคล จำนวน 2 คัน ระยะทางไป - กลับ 140 กิโลเมตร x กม.4 บาท จำนวน 10 ครั้ง

    2 คน 560 10 11,200
    ค่าตอบแทนผู้เข้าร่วมประชุม

    ค่าตอบแทนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 100 คน คนละ 100 บาท จำนวน 5 ครั้ง

    100 คน 100 5 50,000
    ค่าพาหนะเดินทาง - รถตู้เช่า

    ค่าเช่าเหมารถตู้ 1 คัน เหมาจ่าย วันละ 1800 บาท จำนวน 5 ครั้ง

    1 ครั้ง 1,800 5 9,000
    ค่าตอบแทนผู้ทรงคุณวุฒิ 2 คน 2,000 1 4,000
    รวมค่าใช้จ่าย 497,200

    รวมงบประมาณทุกกิจกรรมของแผนการดำเนินงาน จำนวน 497,200.00 บาท

    ค่าตอบแทนค่าจ้างค่าใช้สอยค่าวัสดุรวมเงิน
    ค่าใช้จ่าย (บาท) 144,000.00 4,000.00 129,200.00 220,000.00 497,200.00
    เปอร์เซ็นต์ (%) 28.96% 0.80% 25.99% 44.25% 100.00%

    11. งบประมาณ

    497,200.00บาท

    12. การติดตามประเมินผล

    ต่อชุมชนต่อนักศึกษา
    ผลผลิต (Output)
    ผลลัพธ์ (Outcome)
    ผลกระทบ (Impact)
    นำเข้าสู่ระบบโดย krit.p krit.p เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2562 08:21 น.