พัฒนาและยกระดับภูมิปัญญาในการแก้ไขปัญหาความยากจนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง บ้านสำโรง หมู่ 3 ตำบลท่าสว่าง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์

แบบเสนอโครงการ
พัฒนาและยกระดับภูมิปัญญาในการแก้ไขปัญหาความยากจนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง บ้านสำโรง หมู่ 3 ตำบลท่าสว่าง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์

1. ชื่อโครงการ

พัฒนาและยกระดับภูมิปัญญาในการแก้ไขปัญหาความยากจนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง บ้านสำโรง หมู่ 3 ตำบลท่าสว่าง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์โ่รงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสำโรง-โคกเพชรบ้านสำโรงหมู่3 ตำบลท่าสว่างอำเภอเมือง จังหวัุดสุรินทร์พัชรินทร์ โชคอำนวย186 หมู่1 (มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์) ถนนสุรินทร์-ปราสาท ตำบลนอกเมือง อำเภอเมืองจังหวัดสุรินทร์ 320000819990699นายชัย สมรภูมิ(อาจารย์สาขาพัฒนาสังคม)
นายดำเกิงโถทอง(อาจารย์สาขาสังคมศึกษา)
นางสุขสิน เอกา(พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ)
นายพีรวัสคิดกล้า (ผู้ใหญ่บ้าน)
นักศึกษาสาขาพัฒนาสังคม นายภานุพงษ์บุญเลิศ
นักศึกษาสาขาพัฒนาสังคม นายสมชายโสริโย
นักศึกษาสาขาพัฒนาสังคม นายอนุชาก้านอินทร์
นักศึกษาสาขาพัฒนาสังคม นายวันเฉลิม สุภาพ
นักศึกษาสาขาพัฒนาสังคม นายวุฒิชัย ชาวสวน
นักศึกษาสาขาพัฒนาสังคม นายชวกร บุญเจริญ
นักศึกษาสาขาสังคมศึกษา นายธนเดช เกลียวศรี
นักศึกษาสาขาสังคมศึกษา นายสายัณต์ศรีธรรม
นักศึกษาสาขาสังคมศึกษา นายจตุพรสิงห์ชา

2. พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
สุรินทร์ เมืองสุรินทร์ ท่าสว่าง

3. รายละเอียดชุมชน

บ้านสำโรงเป็นชุมชนที่ห่างจากตัวเมืองสุรินทร์ประมาณ 8.5 กิโลเมตร ลักษณะของพื้นที่ เป็นที่ราบ มีเนินดินบางส่วน จะเป็นพื้นที่ลาดลุ่มไปทางทิศตะวันตกจนจรดลำน้ำชี มีพื้นที่ทั้งหมด 3,500 ไร่ แบ่งออกเป็นที่อยู่อาศัย 100 ไร่ มีพื้นที่ทำนาและสวนอีกประมาณ 2,200 ไร่ ที่เหลือ คือ เขตพื้นที่ป่าชุมชนที่มีความอุดมสมบูรณ์อย่างมาก
บ้านสำโรง มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้
ทิศเหนือ ติดกับบ้านโคกเพชร หมู่ที่ 4
ทิศใต้ ติดกับบ้านโคกจ๊ะ หมู่ที่ 15
ทิศตะวันออก ติดกับบ้านจะแกโกน หมู่ที่ 5
ทิศตะวันตก ติดกับตำบลชุมแสง จังหวัดบุรีรัมย์
คณะกรรมการหมู่บ้าน
๑. นายพีรวัศ คิดกล้า ตำแหน่ง ผู้ใหญ่บ้าน ๑๑. นายสมจิตร ชาวพงษ์ตำแหน่งป่าชุมชนและสิ่งแวดล้อม
๒. นายเตือนคิดกล้า ตำแหน่ง ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน๑๒. นายพล บุญชู ตำแหน่ง วัฒนธรรม
๓. นางสุนัยเสียงวังเวง ตำแหน่งผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน๑๓. นางละออง คิดกล้า ตำแหน่ง สาธารณสุข
๔. นายประเสริฐ แย้มศรี ตำแหน่ง แผนชุมชน๑๔. นางฉวี มีโชค ตำแหน่ง สาธารณสุข
๕. นายสมบูรณ์ คิดกล้า ตำแหน่ง แผนชุมชน๑๕. นางเตือย มีโชค ตำแหน่ง สาธารณสุข
๖. นายสุทัศน์ ยอดพรหม ตำแหน่งเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม
๗. นายอุดม อุ่นจิต ตำแหน่งเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม
๘. นายจิรวัฒน์ เสนาะวาที ตำแหน่ง ศึกษา
๙. นายนึง หอมนวล ตำแหน่งป่าชุมชนและสิ่งแวดล้อม
๑๐. นายเยะ นาคสุข ตำแหน่งป่าชุมชนและสิ่งแวดล้อม

บ้านสำโรง เดิมทีเป็นหมู่บ้านที่คล้ายกับสลัมชานเมือง มีปัญหาเชิงสังคมค่อนข้างรุนแรง ปัญหาเยาวชน ปัญหาคนติดเหล้า ยาเสพติด ปัญหาสุขภาพจากการใช้สารเคมีในการเกษตร การใช้ความรุนแรงในครอบครัว ปัญหาสิ่งแวดล้อมเรื่องของขยะ การเผาป่าชุมชนสภาพอากาศมีแต่กลิ่นยาฆ่าแมลงและฆ่าหญ้าเนื่องจากเป็นหมู่บ้านชานเมืองการทำเกษตรจึงอยู่ในบริเวณที่อยู่อาศัยและรอยต่อระหว่างหมู่บ้านที่อยู่ติดกัน

มีการแก้ไขปัญหาของชุมชน โดยได้รับทุนจาก สสส.ปี 2556 ถึง ปี 2558เกิดการพัฒนาและแก้ไขปัญหาได้โดยใช้เครื่องมือและกลไกการทำงานคือ สภาผู้นำชุมชน เป็นตัวขับเคลื่อนกระบวนการพัฒนาและแก้ไขปัญหาบนฐานข้อมูลและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สามารถแก้ไขปัญหาเรื่องขยะในชุมชนจัดการให้เกิดความสะอาดโดยมีการคัดแยก ขยะทุกคุ้ม ปัจจุบันเหลือเพียง 19 ครัวเรือนที่ยังไม่ผ่านเกณฑ์ครัวเรือนสะอาดน่าอยู่ที่ตกลงกัน และไม่มีการทิ้งขยะข้างทางและไม่มีการเผาขยะ ทําให้ปัญหาไข้เลือดออกถูกจัดการได้โดยในปี 2560 ไม่เกิดไข้เลือดออกในชุมชน และค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในบ้าน (HOUSE INDEX) ลดลงอย่างต่อเนื่องเหลือเพียง 18 หลังคาเรือนเท่านั้นที่พบลูกน้ำยุงลาย จากเดิมในปี 2556 ที่พบถึง 37 หลังคาเรือนสําหรับผลงานที่มุ่งแก้ปัญหาความไม่น่าอยู่ในภาพรวมของชุมชนที่สําคัญคือ การพัฒนาครัวเรือนน่าอยู่ มุ่งทําให้เกิดกติกาจัดการกับขยะและให้ทุกครัวเรือนปลูกส่วนประเด็นปัญหาป่าชุมชน ที่เดิมมีการลักลอบตัดไม้ทิ้งขยะในป่า มีการเผาป่าเพื่อล่าสัตว์หรือเพื่อเก็บของป่าทําให้เกิดไฟป่าทุกปี ปัจจุบันหลังจากมีกติกาการใช้ประโยชน์จากป่า ไม่ตัด ไม่ยิง ไม่ทิ้ง และห้ามบุคคลภายนอกเข้ามาตัดไม้ เกิดทีมจิตอาสาเฝ้าระวังป่าชุมชน 20 คน ปัจจุบันจึงพบปัญหาการละเมิดน้อยลง และเมื่อเริ่มโครงการมีการปลูกป่าทดแทนส่วนที่เสื่อโทรม แต่ในช่วงหลังไม่จําเป็นต้องปลูกป่าเพิ่มเติมแล้ว เนื่องจากธรรมชาติมีกลไกในการฟื้นฟูตัวเอง เพียงแค่ไม่เข้าไปรบกวนพื้นที่ป่า
สําหรับประเด็นเยาวชนที่เคยมีปัญหาการจับกลุ่มมั่วสุม สูบบุหรี่กินเหล้า แว้นท์ รถเสียงดัง และเกิดการยกพวกตีกัน ปัจจุบันสามารถสลายกลุ่มมั่วสุม ไม่มีการแว้นท์รถเสียงดัง ชุมชนสงบไม่เกิดการยกพวกตีกัน และทําให้ปัญหาวัยรุ่นท้องก่อนวัยอันควรลดลง จากปี 2556-2557 เคยมีกรณีท้องก่อนวัยปีละ 3 ราย ปี 2558 ไม่มีกรณี แต่ ปี 2559 มีท้องก่อนวัย 1 ราย ซึ่งเป็นเยาวชนที่มีปัญหายังไม่เข้าร่วมกิจกรรมของกลุ่มเยาวชน นอกจากนี้ปัจจุบันกลุ่มเยาวชนยังเริ่มรวมกลุ่มกันทํากิจกรรมออกกําลังกาย ทําอาชีพเสริมทําผลิตภัณฑ์จาก สมุนไพรที่ครัวเรือนปลูกในชุมชนแต่การรวมตัวของกลุ่มยังไม่เข้มแข็ง
ประเด็นปัญหาการลดใช้สารเคมีในการปลูกผัก ซึ่งเป็นประเด็นปัญหาสําคัญของหมู่บ้าน มีการส่งเสริมการปลูกผักปลอดสารเพื่อจําหน่าย มีผลลัพธ์การเปลี่ยนแปลงที่สําคัญ คือในปี 2560 มีจํานวนคนปลูกผักขายทั้งหมด 65 ราย สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการปลูกได้ทั้งหมด โดยกลุ่มที่เปลี่ยนไปปลูกผักอินทรีย์มีจํานวน 32 ราย คนปลูกผักโดยไม่ใช้ยาฆ่าแมลง(ปลอดสาร) 18 ราย และคนปลูกผักลดสารเคมี 15 ราย สามารถลดค่าใช้จ่ายสารเคมีในการปลูกผักเพื่อจําหน่าย จากปีละ 89,975 บาทต่อชุมชนในปี 2556 เหลือเพียง 5,240 บาทต่อชุมชนในปี 2560
ทั้งนี้ปัจจัยที่กําหนดสุขภาพที่เปลี่ยนแปลงไปสําคัญๆคือ เกษตรกรรู้โทษภัยของสารเคมี มีความรู้เรื่องการบริหารจัดการทั้งการวางแผนการปลูกผักตามเนื้อที่ที่มีอยู่ เน้นปลูกผักแบบผสมผสานแทนที่ จะปลูกพืชเชิงเดี่ยว มีการรวมกลุ่มแลกเปลี่ยนข้อมูลและความรู้ซึ่งกันและกัน ทั้งการทดลองเทคนิคการปลูก การทําปุ๋ย/สารไล่แมลงไปจนถึงการเก็บข้อมูลเปรียบเทียบต้นทุนและผลผลิตที่เกิดขึ้น จนทําให้เกิดเกษตรกรตัวอย่างที่สามารถลดการใช้สารเคมี และสามารถลดหนี้สินของตัวเองจากการทําเกษตรลงได้
จากการพัฒนาอย่างต่อเนื่องดังกล่าว ปี 2559 โครงการสำนึกรักบ้านเกิด มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์เริ่มเข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนาแกนนำสภาผู้นำชุมชนเปิดโลกทัศน์การศึกษานอกพื้นที่ รวมถึงพัฒนาและทบทวนแผนแม่บทชุมชน หนุนเสริมแบบ "ทำร่วม" คือมหาวิทยาลัยและชุมชนระดมทุนในการพัฒนาตามประเด็นความต้องการที่ต้องทำอย่างเร่งด่วน ผลงานปี 2559 ในโครงการสำนึกรักบ้านเกิดได้บูรณาการร่วมกับวิชาการศึกษาทั่วไป วิชาวิถีไทย (2500102) ซึ่งมีนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์มีบ้านเกิดอยู่ที่บ้านสำโรง จึงได้ดำเนินการโครงการระดมแกนนำเยาวชน สามารถรวมกลุ่มเป็นสภาเยาวชนบ้านสำโรงทำกิจกรรมร่วมกับชุมชนจน และปี 2560 ได้ดำเนินการตามแผนชุมชนเรื่องพลังงานสร้างความรู้ โครงการสำนึกรักบ้านเกิด บูรณาการกับรายวิชาวิทยากรกระบวนการ ร่วมกับชุมชนจัดทำโครงการเทคนิคการเผาถ่านแบบไบโอชาร์ หลังจากการฝึกอบรมสิ่งที่ได้คือ ฐานการเรียนรู้การเผาถ่านโดยใช้เทคนิคการเผาถ่านแบบไบโอชาร์ มีการเก็บรวบรวมข้อมูลตั้งแต่วันแรกจนถึงปัจจุบัน ระยะแรกพบว่า เกิดการเรียนรู้ทักษะเพิ่มเติมจากการสังเกตวิธีการใช้วัตถุดิบต่างๆเปรียบเทียบกับการเผาถ่านแบบเตาผีการจำกัดขยะที่ต้องเผาทิ้งแต่สามารถนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงนำถ่านที่เผาผสมกับปุ๋ยเบญจคุณที่ทำอยู่ในชุมชนผ่านการวิจัยร่วมกับคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นสารอินทรีย์เพิ่มในดินสำหรับการปลูกพืชและการทำเกษตรมีการทดลองแปลงเพื่อเก็บข้อมูลคุณภาพและขยายผลสู่ชุมชนและโรงเรียนสำโรง-โคกเพชร
เดิมปี พ.ศ. 2560 โครงการสำนึกรักบ้านเกิด มีเป้าหมายหลักโครงการคือการพัฒนาหมู่บ้านที่เป็นบ้านเกิด/พิื้นถิ่นที่อยู่อาศัยของนักศึกษา และได้ดำเนิน หมู่บ้านต้นแบบชุมชนราชภัฏตามพระบรมราโชบาย : การพัฒนาศูนย์การเรียนรู้และการจัดการความรู้ชุมชนเข้มแข็ง ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงได้ดำเนินงานพัฒนาในพื้นที่ชุมชนที่เข้าร่วมโครงการต่อเนื่องเป็นปีที่3 ชุมชนมีความเข้มแข็งในระดับหนึ่งด้านการพัฒนาชุมชนแบบมีส่วนร่วม และจากการได้มีส่วนร่วมในการทำแผนชุมชนในประเด็นที่ต้องดำเนินการคือ ส่งเสริมให้มีพื้นที่ปฏิบัติการชุมชนSocial Lab เพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ทั้งของคณาจารย์ บุคลากรและชุมชนอื่นๆ โดยต้องพัฒนาให้มีความโดดเด่นในแต่ละด้านตามสภาวะแวดล้อมของแต่ละพื้นที่เป็นอัตลักษณ์ของแต่ละพื้นที่ได้โดยเฉพาะการน้อมนำศาสตร์พระราชามาเป็นแนวปฏิบัติให้เป็นรูปธรรมที่เป็นแบบอย่างได้ซึ่งพื้นที่ชุมชนราชภัฏบ้านสำโรง หมู่ 3 ตำบลท่าสว่าง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ โดยมีโครงการสำนึกรักบ้านเกิด คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ปฏิบัติงานในพีื้นที่และมีแผนชุมชนให้เข้าไปหนุนเสริมเป็นชุมชนต้นแบบ BestPracticeที่มีพื้นที่ปฏิบัติการชุมชนSocial Labมีแผนการดำเนินงานพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น และการทำเกษตรเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน มีแผนการหนุนเสริมแรงด้วยการทำหลักสูตรการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้วยชุดความรู้ที่น่าสนใจ เช่นเรื่อง เกษตรวิถี อาชีพ ผลิตภัณฑ์ ร่วมกับโรงเรียนสำโรง-โคกเพชร โดยน้อมนำศาสตร์พระราชาเป็นแนวทางปฏิบัติ วิถีพึ่งตนเองและแบ่งปันและมีคุณธรรม นอกจากนี้ยังมีเครื่องมือ คือ สภาผู้นำชุมชนที่เข้มแข็งที่กลไกในการขับเคลื่อนประเด็นงานพัฒนาตามแผนงาน1.ชุมชนจะเข้มแข็ง น่าอยู่ และพึ่งตนเองได้ ต้องอาศัยความรับผิดชอบ การเรียนรู้ ร่วมคิดร่วมทำ ตลอดจนอาศัยความร่วมมือและข้อมูลทางวิชาการจากหน่วยงานในท้องถิ่นไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานภาครัฐหรือเอกชน เพื่อปรับเปลี่ยนวิธีคิด ปรับพฤติกรรมการผลิตและการบริโภคโดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง รักษาสิ่งแวดล้อม เน้นการพึ่งตนเอง เป็นสังคมเอื้ออาทร พึ่งพาอาศัยกันได้ และไม่ทอดทิ้งกัน เป็นทางออกในการพัฒนาประเทศที่ต้องเริ่มต้นการพัฒนาที่ชุมชน ท้องถิ่น หรือการพัฒนาต้องเริ่มจากฐานรากของสังคมให้เข้มแข็ง จึงนำพาส่วนประกอบของสังคมอื่น ๆ ก้าวพ้นจากวงจรความยากจนได้
2. การเสริมสร้างการเรียนรู้และความเข้มแข็งของท้องถิ่นอย่างยั่งยืนและการพึ่งพาตนเองได้ ด้วยที่บ้านสำโรงมีวิทยากรประจำฐานการเรียน มีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง บทบาททางสังคมนอกจากเป็นผู้ถ่ายทอดประสบการณ์ แต่ต้องสามารถขับเคลื่อนการพัฒนาในประเด็นอื่นๆ คู่ขนานไปพร้อมกัน จำเป็นต้องยกระดับกระบวนการทำงานและกระบวนทัศน์ให้เกิดวิธีคิดที่เป็นระบบมากยิ่งขึ้น เพื่อแตกแขนงภูมิปัญญาให้ลุ่มลึกมากยิ่งขึ้น
3. การเตรียมความพร้อมให้กับเยาวชนให้รักถิ่นฐานบ้านเกิดและสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคม จึงได้เกิดประชุมร่วมกับครูโรงเรียนสำโรง-โคกเพชร ในการทำหลักสูตรการเรียนรู้ตลอดชีวิตจากชุดความรู้จากภูมิปัญญาของชุมชน เพื่อให้เยาวชนซึ่งเป็นลูกหลานของบ้านสำโรงและหมู่บ้านใกล้ ได้เรียนรู้และสร้างทักษะการพึ่งตนเองตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอย่างเป็นรูปธรรม
เป้าหมายที่ 1 พัฒนายกระดับภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านเศรษฐกิจพอเพียง (ยกระดับเกษตรกรต้นแบบ 10 คน)
เป้าหมายที่2พัฒนายกระดับด้านเศรษฐกิจพอเพียงกลุ่มเกษตรกร 10 ครัวเรือน (ยกระดับครัวเรือนยากจน 10 ครัวเรือน)
เป้าหมายที่ 3พัฒนาหลักสูตรการเรียนรู้ตลอดชีวิต (ขับเคลื่อนหลักสูตรโรงเรียนใช้ชุมชนเป็นฐาน)

4. ประเด็นปัญหาหลัก

5. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

6. องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

องค์ความรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และนวัตกรรม1 ไร่ 1 แสน หลุมพอเพียง แก้จน
ทฤษฎี “ทำกิน ๑ ไร่ ทำได้ ๑ แสน” ทำกิน 1 ไร่ ทำได้ 1 แสน เป็นการบริหารจัดการที่ดินในพื้นที่ 1 ไร่ ให้เกิดประโยชน์สูงสุดทุกตารางนิ้ว ซึ่งมีเครือข่าย ปราชญ์ชาวบ้านและพหุภาคีภาคอีสานที่ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และสำนักงานกองทุน สนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้แปรความคิดของเกษตรผสมผสานไปสู่การปฏิบัติที่สามารถรับรองผล หรืออีกนัยหนึ่ง เป็นการต่อยอดจากแนวคิดเกษตรทฤษฎีใหม่ โดยจะเป็นการทำการเกษตรในพื้นที่จำกัด เพียง 1 ไร่ ให้มีรายได้ที่ยั่งยืน
การทำเกษตรลักษณะนี้ เป็นแนวคิดที่คำนึงถึงระบบนิเวศน์ทางธรรมชาติ โดยมีขั้นตอนในการนำก้อน จุลินทรีย์มาปรับปรุงทั้งดิน และน้ำในแปลงเกษตร เพื่อสร้างความอุดมสมบูรณ์ให้กับพื้นดินและพื้นน้ำ การเกิดแพลงก์ตอนแดง แพลงก์ตอนเขียว อันจะเป็นจุดเริ่มต้นของห่วงโซ่อาหาร สำหรับสิ่งมีชีวิตในน้ำ เช่น ปลาดุก ปลานิล ปลาตะเพียน และกบ เป็นต้น ที่ถูกปล่อยลงไปในร่องน้ำ และเจริญเติบโตเพื่อเป็นอาหารของมนุษย์ เป็ดที่เลี้ยงไว้จะกินหอยเชอร์รี่ที่เป็นศัตรูของข้าวรวมถึงไข่หอยเชอร์รี่ มูลสัตว์ที่ถ่ายออกมาจะทำหน้าที่เป็นปุ๋ยและเป็น อาหารของปลา กุ้ง และหอย ปลาจะกินแพลงก์ตอน กบจะคอยกินแมลงที่กินต้นข้าว ซึ่งในวงจรของสัตว์เหล่านี้ จะพึ่งพาห่วงโซ่ อาหารตามวัฎจักรเป็นหลัก สิ่งที่ต้องคำนึง และระมัดระวังในการทำเกษตร คือ การต้องพึ่งพาตนเองเป็นหลัก ต้องสังเกต และมีวินัยในการ ดูแลพื้นที่อย่างจริงจัง จะส่งผลในระยะเวลาไม่นานนัก
1 ไร่ ได้เงิน 1 แสน ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งได้น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการทำนา เพื่อเป็นการสร้างหมู่บ้านทำเกษตรอินทรีย์ที่เป็นต้นแบบ ในการดำเนินชีวิต "แบบพอเพียงในยุคดิจิทัล"

7. วัตถุประสงค์

วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1 พัฒนายกระดับภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านเศรษฐกิจพอเพียง

1.ยกระดับเกษตรกรต้นแบบเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น 10 คน

10.00 0.00
2 2 พัฒนายกระดับด้านเศรษฐกิจพอเพียงกลุ่มเกษตรกร

2.ยกระดับครัวเรือนยากจน 10 ครัวเรือน

0.00
3 3 พัฒนาหลักสูตรการเรียนรู้ตลอดชีวิต

3.ขับเคลื่อนหลักสูตรโรงเรียนใช้ชุมชนเป็นฐานอย่างน้อย 1 หลักสูตร

0.00

8. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ชุมชนเครือข่ายชุมชนราชภัฏ 10
นักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาศาสตร์พระราชา 30
เกษตรกรครัวเรือนที่ต้องการแก้ไขปัญหาความยากจน 10
เกษตรกรต้นแบบที่ยกระดับเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น 10

9. ระยะเวลา

10. วิธีดำเนินงาน

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมย่อย 1 พัฒนายกระดับภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านเศรษฐกิจพอเพียง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมย่อย 1 พัฒนายกระดับภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านเศรษฐกิจพอเพียง
วัตถุประสงค์
  1. 1 พัฒนายกระดับภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านเศรษฐกิจพอเพียง
รายละเอียดกิจกรรม
กิจกรรมย่อย 1 อบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาและยกระดับภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านเศรษฐกิจพอเพียง
1.1 ดูงานเศรษฐกิจพอเพียง และถอดบทเรียน วางแผนยกระดับตนเอง
1.2 ประชุมเกษตรกรต้นแบบ ร่วมกับ ครัวเรือนยากจน วางแผน และเสนอแผนยกระดับตนเอง และจับคู่Buddyในการพัฒนา และสนับสนุนงบประมาณในการพัฒนายกระดับตนเอง 10 คน
1.3 กำหนดหลักสูตร วิชา และรูปแบบการเรียนรู้ และประเมินผลร่วมกันระหว่างโรงเรียนและชุมชน
1.4. ดำเนินการตามแผนยกระดับเกษตรกรต้นแบบ พรัอมพัฒนาครัวเรือนยากจน และหลักสูตรโรงเรียนชุมชน
1.5 เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสะท้อนผลการดำเนินงานเพื่อปรับปรุงและพัฒนาทุก 2 เดือน จำนวน 4 ครั้ง
6. กิจกรรมสรุปบทเรียนและวางแผนขยายผล
ระยะเวลาดำเนินงาน
30 พฤศจิกายน 2562 ถึง 31 มีนาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
1. ยกระดับเกษตรกรต้นแบบ/ภูมิปัญญาท้องถิ่น จำนวน 10 คน
2.เกิดกลไกชุมชนและความร่วมมือพัฒนาความเข้มแข็งในการแก้ไขปัญหาความยากจนระดับครัวเรือนที่ต่อเนื่อง
3.เกิดบทเรียนเพื่อใช้ขยายผลได้
ทรัพยากรอื่น ๆ
ภาคีร่วมสนับสนุน
ค่าอาหารกลางวัน อาหารเย็น อาหารว่างและเครื่องดื่มจากโครงการlสนับสนุนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ : โครงการสำนึกรักบ้านเกิดหมู่บ้านต้นแบบชุมชนราชภัฏตามพระบรมราโชบาย : การพัฒนาศูนย์การเรียนรู้และการจัดการความรู้ชุมชนเข้มแข็ง ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
รายละเอียดงบประมาณ
ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
ค่าตอบแทนวิทยากร

5 คน x 5 ชั่วโมง x ุ600 บาท x 2 ครั้ง

3 คน 3,000 2 18,000
ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้

10 คน x 5000 บาท x 1 ครั้ง

10 คน 5,000 1 50,000
ค่าเช่ารถ

ค่าเช่ารถตู้ 1 คัน x 3 วัน x1,800 บาท

1 เที่ยว 1,800 3 5,400
อื่น ๆ

ค่านำ้มันเชื้อเพลิง 1,650 กิโลเมตร x 4 บาท

1 เที่ยว 6,600 1 6,600
รวมค่าใช้จ่าย 80,000

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมย่อย 2 พัฒนายกระดับด้านเศรษฐกิจพอเพียงกลุ่มเกษตรกร

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมย่อย 2 พัฒนายกระดับด้านเศรษฐกิจพอเพียงกลุ่มเกษตรกร
วัตถุประสงค์
  1. 2 พัฒนายกระดับด้านเศรษฐกิจพอเพียงกลุ่มเกษตรกร
รายละเอียดกิจกรรม
1. รับสมัคร ประชาคม คัดเลือกคนยากจน 10 คนที่จะยกระดับ
2.ให้ความรู้ จากตัวอย่างคนต้นแบบ 10 คนในชุมชน และวางแผนกำหนดรูปแบบเพิ่มรายได้ร่วมกับแกนนำ นักศึกษาและ อาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
3 สนับสนุนงบประมาณและวัสดุดำเนินการ ตามแผนงาน พร้อมกับระดมทรัพยากรในชุมชนเพิ่ม
4.ติดตามสนับสนุน ให้คำแนะนำ กำลังใจ เพื่อทำต่อเนื่องโดยแกนนำชุมชนที่รับผิดชอบตามคุ้ม และโดยบุคคลต้นแบบ ทุกสัปดาห์ทุกเดือน และบันทึกผลลัพธ์ที่เกิด
5.เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันทุก 2 เดือน จำนวน 3 ครั้งโดย แกนนำ กลุ่มเป้าหมาย และ ทีมงานมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
6.เวทีสรุปผลและวางแผนขยายผล
ระยะเวลาดำเนินงาน
30 พฤศจิกายน 2562 ถึง 31 มีนาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
ผลผลิต
กิจกรรมที่ 1 มีตัวชี้วัด คือ ได้คนยากจน 10 คนที่ผ่านการรับรองจากประชาคม
กิจกรรมที่ 2 คนยากจน 10 คนมีความเข้าใจแนวทางและได้แผนพัฒนารายได้ตนเองเสนอเพื่อรับสนับสนุน
กิจกรรมที่ 3 คนยากจน 10 คนได้รับสนับสนุนงบทำตามแผนคนละ 5,000 จาก โครงการหรือ ม.รภ. และอื่นๆจากชุมชนสมทบ
กิจกรรม 4 เกิดกลไกการติดตามในชุมชนและทำต่อเนื่อง
กิจกรรม 5 ได้ข้อมูลความก้าวหน้า ได้บทเรียนการทำงาน มีแผนยกระดับปรับปรุงต่อเนื่อง
กิจกรรมที่ 6 ได้ชุดบทเรียนและผลความสำเร็จจากโครงการ
ผลลัพธ์
1. คนยากจน 10 คนมีรายได้เพิ่มคนละ 50 บาทต่อสัปดาห์ เดือนละไม่น้อยกว่า 200 บาท ปีละ 2400 บาท
2.เกิดกลไกชุมชนและความร่วมมือพัฒนาความเข้มแข็งและแก้ไขความยากจนที่ต่อเนื่อง
3.เกิดบทเรียนเพื่อใช้ขยายผลได้
ทรัพยากรอื่น ๆ
1.พันธุ์พืช
2.วัตถุดิบการทำจุลินทรีย์เบญจคุณ
3.วัตถุดิบการทำสมุนไพร8ชนิดไล่แมลงศัตรูพิช
ภาคีร่วมสนับสนุน
ค่าอาหาร ค่าวัสดุอุปกรณ์ ค่าพาหนะ โครงการสำนึกรักบ้านเกิด หมู่บ้านต้นแบบชุมชนราชภัฏตามพระบรมราโชบาย : การพัฒนาศูนย์การเรียนรู้และการจัดการความรู้ชุมชนเข้มแข็ง ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
รายละเอียดงบประมาณ
ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้

ครัวเรือนยากจน 10 ครัวเรือน x 5,000 x 1 ครั้ง

10 คน 5,000 1 50,000
รวมค่าใช้จ่าย 50,000

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมย่อย 3 พัฒนาหลักสูตรการเรียนรู้ตลอดชีวิต

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมย่อย 3 พัฒนาหลักสูตรการเรียนรู้ตลอดชีวิต
วัตถุประสงค์
  1. 3 พัฒนาหลักสูตรการเรียนรู้ตลอดชีวิต
รายละเอียดกิจกรรม
1. กิจกรรมดูงานโรงเรียนที่มีหลักสูตรโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน และถอดบทเรียน วางแผนพัฒนาหลักสูตร
2. กิจกรรมประชุมคณะกรรมการโรงเรียน ครู และนักเรียนที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย วางแผน และเสนอแผนการพัฒนา และสนับสนุนงบประมาณในการพัฒนาหลักสูตร
3. กิจกรรมกำหนดหลักสูตร วิชา และรูปแบบการเรียนรู้ และประเมินผลร่วมกันระหว่างโรงเรียน มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ และชุมชน
4. กิจกรรมดำเนินการตามแผนหลักสูตรโรงเรียนชุมชน
5. กิจกรรมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสะท้อนผลการดำเนินงานเพื่อปรับปรุงและพัฒนาทุก 2 เดือน จำนวน 4 ครั้ง
6. กิจกรรมสรุปบทเรียนและวางแผนขยายผลการขับเคลื่อนหลักสูตรโรงเรียนใช้ชุมชนเป็นฐาน
ระยะเวลาดำเนินงาน
30 พฤศจิกายน 2562 ถึง 31 มีนาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
ผลผลิต
1.มีอย่างน้อย 1 หลักสูตรการเรียนรู้ตลอดชีวิตโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน
2.พื้นที่ปฏิบัติการชุมชนSocial Lab ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อย่างน้อย 1 ฐาน
(ฐานการเรียนรู้เกษตรกรแก้ไขปัญหาความยากจน หรือฐานการเรียนรู้การพึ่งตนเองตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หรือ ฐานการเรียนรู้พลังงานทางเลือก)
ผลลัพธ์
1.เกิดการขยายผลองค์ความรู้การจัดการความรู้ให้ชุมชนที่เป็นเครือข่าย นักศึกษา และบุคลากรมหาวิทยาลัย
2. เกิดการขับเคลื่อนหลักสูตรโรงเรียนโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน
ทรัพยากรอื่น ๆ
ชุมชนสนับสนุนด้านการพัฒนาวิทยากรหรือภูมิปัญญา วัสดุอุปกรณ์ในการเรียนรู้ตามหลักสูตร
ภาคีร่วมสนับสนุน
ค่าเช่าเหมารถ ค่านำ้มันเชื้อเพลิง ค่าวิทยากร ค่าของที่ระลึก ค่าอาหารกลางวันและค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม โครงการสำนึกรักบ้านเกิด หมู่บ้านต้นแบบชุมชนราชภัฏตามพระบรมราโชบาย : การพัฒนาศูนย์การเรียนรู้และการจัดการความรู้ชุมชนเข้มแข็ง ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
รายละเอียดงบประมาณ
ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
ค่าที่พักตามจริง

ค่าที่พัก 20 คน ๆละ 350 บาท x 2 คืน

20 คน 350 2 14,000
ค่าอาหาร

ค่าอาหารกลางวัน ประชุม 4 ครั้ง x 30 คน x 100 บาท ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 2 มื้อ x 4 ครั้ง x 30 คน x 50 บาท

30 คน 150 4 18,000
รวมค่าใช้จ่าย 32,000

รวมงบประมาณทุกกิจกรรมของแผนการดำเนินงาน จำนวน 162,000.00 บาท

ค่าตอบแทนค่าใช้สอยค่าวัสดุอื่น ๆรวมเงิน
ค่าใช้จ่าย (บาท) 18,000.00 37,400.00 100,000.00 6,600.00 162,000.00
เปอร์เซ็นต์ (%) 11.11% 23.09% 61.73% 4.07% 100.00%

11. งบประมาณ

162,000.00บาท

12. การติดตามประเมินผล

ต่อชุมชนต่อนักศึกษา
ผลผลิต (Output) 1. ยกระดับเกษตรกรต้นแบบ/ภูมิปัญญาท้องถิ่น จำนวน 10 คน
2. มีครัวเรือนยากจนที่ได้รับการคัดเลือกร่วมโครงการ จำนวน 10 ครัวเรือน
3.มีอย่างน้อย 1 หลักสูตรการเรียนรู้ตลอดชีวิตโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน
4.พื้นที่ปฏิบัติการชุมชนSocial Lab ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อย่างน้อย 1 ฐาน
(ฐานการเรียนรู้เกษตรกรแก้ไขปัญหาความยากจน หรือฐานการเรียนรู้การพึ่งตนเองตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หรือ ฐานการเรียนรู้พลังงานทางเลือก)คน
1. นักศึกษาสาขาพัฒนาสังคมได้มีพื้นที่ดำเนินโครงการและกิจกรรม ในรายวิชาการจัดการโครงการเพื่อพัฒนาสังคม ในภาคเรียนที่ 2/2562 และเตรียมฝึกประสบการณ์ภาคเรียนที่ 1/2563
2. นักศึกษาสาขาสังคมศึกษาซึ่งเป็นสายครุศาสตร์ได้ร่วมเรียนรู้และมีประสบการณ์พัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น และสามารถดำเนินการอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับการสังเกตการสอนและฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ในภาคเรียนต่อไป
ผลลัพธ์ (Outcome) 1. คนยากจน 10 คนมีรายได้เพิ่มคนละ 50 บาทต่อสัปดาห์ เดือนละไม่น้อยกว่า 200 บาท ปีละ 2400 บาท
2.เกิดกลไกชุมชนและความร่วมมือพัฒนาความเข้มแข็งและแก้ไขความยากจนที่ต่อเนื่อง
1.นักศึกษาได้นำศาสตร์ที่เรียนรู้เชิงทฤษฏีนำมาระยุกต์ใช้ปฏิบัติงานได้ และมีการทำงานร่วมกับเครือข่ายองค์กรทางสังคม
2.นักศึกษาสามารถพัฒนาโครงการเพื่อขอทุนวิจัยได้
3.นักศึกษามีความตระหนักรู้ในการพัฒนาตนเอง ครอบครัว ชุมชนของตนเองอย่างต่อเนื่อง
ผลกระทบ (Impact) 1.เกิดการขยายผลองค์ความรู้การจัดการความรู้ให้ชุมชนที่เป็นเครือข่าย นักศึกษา และบุคลากรมหาวิทยาลัย
2.เกิดบทเรียนเพื่อใช้ขยายผลได้
3.เกิดการขับเคลื่อนหลักสูตรโรงเรียนโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน
1.มีพื้นที่ปฏิบัติการชุมชนSocial Lab ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ให้กับนักศึกษา อาจารย์และชุมชนอื่น ๆ ได้ศึกษาเรียนรู้
2.ได้ชุดความรู้เพื่อขยายผลให้กับชุมชน โรงเรียน และมหาวิทยาลัย
นำเข้าสู่ระบบโดย kob_019 kob_019 เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2562 15:50 น.