โครงการบูรณาการการจัดการเรียนการสอน การวิจัยและบริการวิชาการเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์น้ำจืดในพื้นที่หนองเลิงเปือย จังหวัดกาฬสินธุ์

แบบเสนอโครงการ
โครงการบูรณาการการจัดการเรียนการสอน การวิจัยและบริการวิชาการเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์น้ำจืดในพื้นที่หนองเลิงเปือย จังหวัดกาฬสินธุ์

1. ชื่อโครงการ

โครงการบูรณาการการจัดการเรียนการสอน การวิจัยและบริการวิชาการเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์น้ำจืดในพื้นที่หนองเลิงเปือย จังหวัดกาฬสินธุ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติคณะทรัพยากรธรรมชาติและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนครคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, มูลนิธิปิดทองหลังพระสืบสานแนวพระราชดำริชุมชนร่องคำ ตำบลร่องคำ อำเภอร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์ผศ.สิทธิชัย ฮะทะโชติ, ผศ.ดร.เกตุนภัส ศรีไพโรจน์, ดร.พิชาศิษฐ์ แสงเมฆคณะทรัพยากรธรรมชาติและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร0897109757ผศ.ดร.กรรณิการ์ วงษ์พานิชย์/สัตวศาสตร์
ผศ.ดร.ปานชีวัน ปอนพังงา/ปฐพีวิทยา
ดร.สุขกฤช นิมิตรกุล/เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
นายณัฐพงษ์ ปานขาว/ประมง
ผศ. สมหมาย เจนกิจการ/ชีววิทยาประมง
รายชื่อนิสิตภาควิชาเกษตรและทรัพยากร (สาขาประมง,สาขาสัตวศาสตร์, สาขาการจัดการการผลิต, สาขาทรัพยากรเกษตร)
1 6140100022 นายเกริกเกียรติ มหาโคตร
2 6140100394 นางสาวกาญจนาพร ศรีมุล
3 6140100634 นางสาวชัญญานุช ลายเมฆ
4 6140101186 นายนันทวัฒน์ อินธิจักร์
5 6140101236 นางสาวนิตยา ศิรินา
6 6140101525 นายพชรพล อ้นรอด
7 6140102028 นายวรินทร อุปคุณ
8 6140102226 นางสาวศยามล อ่อนนอ
9 6140102242 นายศรายุทธ แพนสมบัติ
10 6140102259 นายศราวุธ มณีรัตน์
11 6140102333 นางสาวศิรประภา เณรน้อย
12 6140102390 นางสาวศิริวรรณ ดอกจันทร์
13 6140102663 นางสาวสุธิรา วรนุช
14 6140102739 นายสุรเชษฐ์ อารมณ์
15 6140102994 นายอัครชัย น้อยบำเหน็จ
16 6140103034 นางสาวอัจฉริยา ประจันเต
17 6140103075 นายอิทธิ มณีรัตน์

2. พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
กาฬสินธุ์ ร่องคำ ร่องคำ

3. รายละเอียดชุมชน

หนองเลิงเปือยตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ ตำบลร่องคำ ตำบลสามัคคี และตำบลเหล่าอ้อย ในอำเภอร่องคำและตำบลโพนงาม อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ ตั้งอยู่ที่พิกัด (UTM) 360000E และ 1801000N อยู่ห่างจาก อ.เมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ไปทางตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 24.5 กิโลเมตร และอยู่ทางใต้ของเขื่อนลำปาว ประมาณ 47 กิโลเมตรหนองเลิงเปือยเป็นหนองน้ำธรรมชาติ ในลุ่มน้ำสาขาลำปาวตอนล่าง ของลุ่มน้ำชี ในอดีตนั้น หนองเลิงเปือยประกอบด้วยหนองน้ำ เล็กๆ ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า “เลิง” จำนวน 6 แห่ง ได้แก่ หนองเลิงน้อย, คอหนองเลิงน้อย, หนองเลิงใหญ่, เลิงบ้านใต้, หนองปลาไหลเผือก, และห้วยขี้นาคมีพื้นที่รวมประมาณ 887 ไร่ มีประชากรรวม 24,170 คน (5,538 ครัวเรือน)

สภาพภูมิประเทศโดยทั่วไปบริวณหนองเลิงเปือยนั้น มีลักษณะเป็นที่ราบทุ่งนา ลูกเนิน และหนองน้ำ ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่ เป็นทุ่งนา และ บางส่วนเป็นที่ดอน หรือ เนินสูง ซึ่งประกอบด้วย สวน ไร่ ป่าโปร่ง ป่าละเมาะ ระดับพื้นดินบริเวณรอบหนองเลิงเปือยนี้ เป็นที่ต่ำโดยมีค่าระดับความสูง อยู่ระหว่าง 130 – 142 เมตร (รทก.) ดังนั้นจึงเป็นพื้นที่รับน้ำ หรือแก้มลิงธรรมชาติในช่วงฤดูฝน โดยน้ำจะไหลจากห้วย และลำน้ำธรรมชาติ ทางทิศเหนือ และตะวันออกเฉียงเหนือได้แก่ ห้วยเลิงเปือย ห้วยอังคะ ห้วยนาเรียง และห้วยขี้นาค ไหลลงหนองเลิงเปือยและลงสู่หนองน้ำธรรมชาติอื่นๆซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของหนอง อาทิ กุดเป่ง กุดเวียงน้อย หนองทราย และ หนองกุดนามวงศ์และไหลลงแม่น้ำลำปาวตอนล่าง และลำน้ำชี ตามลำดับ (มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2558)
ภายหลังการขุดลอกตะกอนในหนองเลิงเปือยแล้วเสร็จ ทำให้หนองเลิงเปือยสามารถเพิ่มความจุกักเก็บน้ำเป็น 6.8 ล้านลูกบาศก์เมตร สามารถใช้ในการชลประทานพื้นที่โดยรอบประมาณ 5,900 ไร่ มีประสิทธิภาพของพื้นที่ในการบรรเทาภัยแล้งและอุทกภัย มีการพัฒนาระบบชลประทานโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน และส่งเสริมการประกอบอาชีพเกษตรกรรมอย่างเป็นระบบ ทรัพยากรในพื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์โดยเฉพาะน้ำซึ่งในบางปีอาจมีมากจนเกิดน้ำท่วม แต่ยังเป็นน้ำที่มีคุณภาพระดับดีถึงเสื่อมโทรมน้อย ตามมาตรฐานแหล่งน้ำผิวดินของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2537)ลักษณะผิวดินบริเวณหนองเลิงเปือย ส่วนใหญ่เป็นดินตะกอนธารน้ำพาที่ประกอบด้วยทรายหรือดินเหนียวที่เกิดจากการสะสมตัวตามลำน้ำและที่ชั้นหินโคลน หินทรายแป้งสีแดงอิฐ ในบริเวณทิศเหนือและทิศตะวันออกของหนองเลิงเปือย เป็นที่ราบน้ำท่วมถึงจะพบตะกอนตะพักลำน้ำ กรวด ทราย แม่รัง ทางทิศเหนือของหนอง ดินมีหลายกลุ่มชุดดินและมีแนวทางปรับปรุงดินในแต่ละประเภทได้ จากการศึกษาข้อมูลด้านการเกษตรของพื้นที่พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่ปลูกข้าวจ้าว ข้าวเหนียว ยางพารา และมันสำปะหลังเป็นหลัก และพื้นที่ส่วนใหญ่นั้นอยู่นอกเขตชลประทาน โดยอาศัยน้ำฝนเป็นหลัก บางครัวเรือนมีการเลี้ยงไก่ โค สุกร หมู และปลา (มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2558) ทรัพยากรสัตว์น้ำภายในหนองเลิงเปือยถือว่ามีความหลากหลายทางชีวภาพของปลาในระดับปานกลางถึงมาก โดยพบปลาเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ ปลาตะเพียน ปลากระสูบ ปลากะมัง ปลาเนื้ออ่อน ปลากดเหลือง เป็นต้น (มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2562)จากปัญหาความเดือดร้อนของราษฎร ในพื้นที่ อ.ร่องคำ และ อ.กมลาไสย จ.กาฬสินธุ์ ที่ประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ สำหรับอุปโภคและบริโภค ทำการเกษตรกรรม รวมทั้งปัญหาอุทกภัยมาตลอดทุกปีจนราษฎรถวายฎีกาขอพระราชทานโครงการขุดลอกหนองเลิงเปือย และซ่อมแซมอาคารและระบบชลประทาน ในปี พ.ศ. 2553 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 10 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯรับโครงการดังกล่าวไว้เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2554 สถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ ร่วมกับ มูลนิธิอุทกพัฒน์ในพระบรมราชูปถัมภ์ กองทัพบก กระทรวงมหาดไทย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) และจังหวัดกาฬสินธุ์ จึงร่วมกันดำเนินโครงการ “พัฒนาพื้นที่แก้มลิงหนองเลิงเปือยอันเนื่องมาจากพระราชดำริ” โดยโครงการฯดังกล่าว ประกอบด้วยการขุดลองหนองเลิงเปือย ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 887 ไร่ (1.42 ตารางกิโลเมตร) และการก่อสร้างประตูระบายน้ำและปรับปรุงระบบชลประทานเพื่อเชื่อมโยงกับลำน้ำลำปาว และระบบชลประทานของลุ่มน้ำย่อยลำปาวตอนล่าง โครงการฯได้เริ่มดำเนินการเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2556 และขุดลอกแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2557 โดยสามารถช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของราษฎร ได้ 4 ตำบล คือ ตำบลสามัคคี ตำบลเหล่าอ้อย ตำบลร่องคำ อำเภอร่องคำ และตำบลโพนงาม อำเภอกมลาไสย รวม 4,753 ครัวเรือน (มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2558)นอกจากประโยชน์ในด้านชลประทานแล้ว ยังมีการบูรณาการเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนโดยรอบหนองเลิงเปือยอย่างมากมาย โดยเฉพาะภาคการเกษตร ซึ่งถือเป็นอาชีพหลักของผู้คนในพื้นที่ ทำให้ที่ดินโดยรอบโครงการฯ สามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด รวมถึงกิจกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในพื้นที่รอบหนองเลิงเปือย ซึ่งเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการลดรายจ่ายครัวเรือน สร้างรายได้และส่งเสริมอาชีพอย่างยั่งยืน ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาจึงมีการศึกษาเบื้องต้นด้านทรัพยากรประมงและสิ่งแวดล้อมทางน้ำในโครงการพัฒนาแก้มลิงหนองเลิงเปือย รวมทั้งสำรวจส่งเสริมกิจกรรมเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของเกษตรกรในบริเวณโดยรอบ โดยผลการศึกษาที่ผ่านมานั้นแสดงให้เห็นว่าพื้นที่แก้มลิงหนองเลิงเปือยสามารถพัฒนาไปสู่การเป็นแหล่งทรัพยากรประมงที่มีความอุดมสมบูรณ์ได้ในอนาคต อย่างไรก็ตาม การเลี้ยงสัตว์น้ำของเกษตรกรที่ผ่านมานั้นเกือบทั้งหมดเป็นการเลี้ยงแบบดั้งเดิมซึ่งปล่อยปลาเอาไว้ในบ่อให้เติบโตตามธรรมชาติและจับมาบริโภคในครัวเรือน ไม่ได้มีการจัดการการเลี้ยงและใช้องค์ความรู้เทคโนโลยีในการเลี้ยงที่เป็นรูปธรรม จึงทำให้ไม่ได้ผลผลิตเต็มศักยภาพ ดังนั้น เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการอาหารโปรตีนคุณภาพและการลดภาระรายจ่ายเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงปลา จึงต้องมีการส่งเสริมและติดตามผลการดำเนินงานด้านการเลี้ยงสัตว์น้ำอย่างมีระบบแบบแผน ผ่านการบริการวิชาการเชิงบูรณาการร่วมกับองค์กรเครือข่าย เช่น มูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ สำนักงานประมงจังหวัด เพื่อถ่ายทอด ให้คำแนะนำองค์ความรู้ นวัตกรรมและเทคโนโลยีการเลี้ยงสัตว์น้ำแก่เกษตรกรรวมทั้งอาสาสมัครพัฒนา การดำเนินงานมีการสนับสนุนสายพันธุ์สัตว์น้ำที่มีคุณภาพ การเตรียมบ่อเลี้ยง การให้อาหาร การติดตามการเติบโตและผลผลิตสัตว์น้ำ การตรวจวัดคุณภาพน้ำ โรคและสุขภาพสัตว์น้ำในพื้นที่เลี้ยง เพื่อให้การเลี้ยงสัตว์น้ำมีประสิทธิภาพมากที่สุดโดยเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

4. ประเด็นปัญหาหลัก

5. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

6. องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

โครงการมีจุดมุ่งหมายที่จะถ่ายทอดความรู้พื้นฐานและนำเทคโนโลยีตลอดจนนวัตกรรมการเลี้ยงสัตว์น้ำเข้าไปช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิตของเกษตรกรรอบหนองเลิงเปือย โดยใช้การถ่ายทอดของผู้เชี่ยวชาญในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำหลากหลายสาขา เช่นการเตรียมสถานที่เลี้ยง การทำอาหารสัตว์น้ำเบื้องต้น ความรู้ความเข้าใจในพฤติกรรมเบื้องต้นของสัตว์น้ำ การเข้าถึงลูกพันธุ์ที่ได้คุณภาพราคาถูก ตลอดจนมีการติดตามการเลี้ยง มีระบบให้คำปรึกษาผ่านทางแอพลิเคชั่น การตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำ การป้องกันรักษาโรค การจดบันทึกการเลี้ยง และการคำนวณต้นทุนผลตอบแทน เป็นต้น

7. วัตถุประสงค์

วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนานิสิตให้มีทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21

นิสิตผู้ร่วมโครงการได้รับการพัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับศตวรรษที่ 21

30.00 90.00
2 เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรในพื้นที่แก้มลิงหนองเลิงเปือย จังหวัดกาฬสินธุ์

เกษตรกรได้มีความรู้ และใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับพื้นที่ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำได้อย่างเหมาะสม

20.00 90.00
3 เพื่อพัฒนาเจ้าหน้าที่อาสาพัฒนา (อสพ) และเกษตรกร ให้มีความรู้ความเข้าใจเชิงวิชาการที่ถูกต้องในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

เจ้าหน้าที่อาสาพัฒนาและเกษตรกรมีความรู้ความเข้าใจเชิงวิชาการที่ถูกต้องในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสามารถถ่ายทอดสู่เกษตรกรได้อย่างเหมาะสมแม่นยำ

50.00 100.00

8. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
นิสิิตคณะทรัพยากรธรรมชาติและอุตสาหกรรมเกษตร 20
อาจารย์ นักวิชาการ นักวิทยาศาสตร์ของคณะ ทอ 10
เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์น้ำรอบหนองเลิงเปือย 34
เจ้าหน้าที่อาสาพัฒนา (อสพ) 5

9. ระยะเวลา

10. วิธีดำเนินงาน

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 คัดเลือกเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 คัดเลือกเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อพัฒนานิสิตให้มีทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21
  2. เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรในพื้นที่แก้มลิงหนองเลิงเปือย จังหวัดกาฬสินธุ์
  3. เพื่อพัฒนาเจ้าหน้าที่อาสาพัฒนา (อสพ) และเกษตรกร ให้มีความรู้ความเข้าใจเชิงวิชาการที่ถูกต้องในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
รายละเอียดกิจกรรม
ลงพื้นที่หนองเลิงเปือย ตำบลร่องคำ อำเภอร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์ ที่ประสบปัญหาด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และอยู่ภายใต้การดูแลของมูลนิธิปิดทองหลังพระอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เพื่อให้นิสิตได้ลงพื้นที่ในการแสวงหาปัญหาของเกษตรกรเพื่อนำมาซึ่งการวางแผนการดำเนินงานภายใน ระยะเวลา 4 เดือน เพื่อแก้ปัญหาให้กับเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ มุ่งเน้นประสิทธิภาพในการเลี้ยง ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยใช้งบประมาณในการลงพื้นที่คัดเลือกเกษตรกร เป็นจำนวนเงิน 17,140 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
15 มกราคม 2563 ถึง 31 มกราคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
ได้เกษตรกรที่ประสบปัญหาในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเข้าร่วมโครงการจำนวนไม่น้อยกว่า 34 ราย
ทรัพยากรอื่น ๆ
แบบสอบถามเกษตรกรโดยการลงพื้นที่ของนิสิตโดยมีอาจารย์คอยเป็นโค้ชในการคัดเลือกเกษตรกร
ภาคีร่วมสนับสนุน
มูลนิธิปิดทองหลังพระสืบสานแนวพระราชดำริ สนับสนุนสถานที่ในการคัดเลือกเกษตรกร
รายละเอียดงบประมาณ
ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
ค่าตอบแทนวิทยากร

ค่าตอบแทนปฏิบัติการนอกเวลาในวันหยุดราชการ (420บาทx 3คนx 5วัน)

3 คน 420 5 6,300
ค่าพาหนะเดินทาง - รถตู้เช่า

ค่ายานพาหนะในการคัดเลือกเกษตรกร (2,500บาทx 2 วัน)

2 ครั้ง 2,500 1 5,000
ค่าถ่ายเอกสาร

ค่าจ้างเหมาถ่ายเอกสาร (เบิกจ่ายตามจริง)

1 ครั้ง 2,000 1 2,000
ค่าตอบแทนผู้ทรงคุณวุฒิ

ค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางไปราชการ (240บาทx2วันx3คน)

3 คน 240 2 1,440
ค่าที่พักตามจริง

ค่าที่พัก (800บาท x 1คืน x 3คน)

3 คน 800 1 2,400
รวมค่าใช้จ่าย 17,140

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2 ตรวจสอบความเหมาะสมของบ่อเลี้ยงของเกษตรกร

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 ตรวจสอบความเหมาะสมของบ่อเลี้ยงของเกษตรกร
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อพัฒนานิสิตให้มีทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21
  2. เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรในพื้นที่แก้มลิงหนองเลิงเปือย จังหวัดกาฬสินธุ์
  3. เพื่อพัฒนาเจ้าหน้าที่อาสาพัฒนา (อสพ) และเกษตรกร ให้มีความรู้ความเข้าใจเชิงวิชาการที่ถูกต้องในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
รายละเอียดกิจกรรม
ลงพื้นตรวจสอบความเหมาะสมของบ่อเลี้ยงของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการเพื่อตรวจสอบคุรภาพของบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำก่อนการเลี้ยงปลา ใช้งบประมาณ 21,500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2563 ถึง 29 กุมภาพันธ์ 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
ได้ข้อมูลสภาพบ่อเลี้ยงของเกษตรกรแต่ละรายที่เข้าร่วมโครงการเพื่อประเมินการใช้เทคโนโลยีปูนและเทคโนโลยีปุ๋ยสั่งตัดในการปรับสภาพบ่อเลี้ยงให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสมก่อนเริ่มเลี้ยงปลา
ทรัพยากรอื่น ๆ
เครื่องมือตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำแบบหลายปัจจัย
ภาคีร่วมสนับสนุน
มูลนิธิปิดทองหลังพระสืบสานแนวพระราชดำริ สนับสนุนรถยนต์ขับเคลื่อน 4 ล้อ ในการลงพื้นที่ตรวจวิเคราะห์สภาพบ่อเลี้ยงของเกษตรกร
รายละเอียดงบประมาณ
ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
ค่าตอบแทนวิทยากร

ค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางไปราชการ (240บาทx5วันx5คน)

5 คน 240 5 6,000
ค่าพาหนะเดินทาง - รถตู้เช่า

ค่ายานพาหนะในการเดินทาง (2,500บาท x 3 ครั้ง )

3 ครั้ง 2,500 1 7,500
ค่าตอบแทนวิทยากร

(3) ค่าที่พัก (800บาท x 2คืน x 3คน)

3 คน 800 2 4,800
รวมค่าใช้จ่าย 18,300

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมที่ 3 อบรมเชิงปฏิบัติการ ความรู้พื้นฐานด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ปศุสัตว์ และการปลูกพืช

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 3 อบรมเชิงปฏิบัติการ ความรู้พื้นฐานด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ปศุสัตว์ และการปลูกพืช
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรในพื้นที่แก้มลิงหนองเลิงเปือย จังหวัดกาฬสินธุ์
  2. เพื่อพัฒนาเจ้าหน้าที่อาสาพัฒนา (อสพ) และเกษตรกร ให้มีความรู้ความเข้าใจเชิงวิชาการที่ถูกต้องในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
รายละเอียดกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการ ความรู้พื้นฐานด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การทำปศุสัตว์ และการปลูกพืชให้กับเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ โดยมุ่งเน้นปรับเปลี่ยนแนวความคิดการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำแบบเดิมๆ ให้มี่การนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ได้จากงานวิจัยทางด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเพื่อแก้ปัญหาเชิงพื้นที่
ระยะเวลาดำเนินงาน
15 กุมภาพันธ์ 2563 ถึง 29 กุมภาพันธ์ 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
เกษตรกรได้รับความรู้ และเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับพื้นที่ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำการทำปศุสัตว์ และการปลูกพืชได้อย่างเหมาะสม ลดรายจ่ายและเพิ่มร่ายได้จากการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
ทรัพยากรอื่น ๆ
ใช้สิ่งอำนวยความสะดวก เครื่องมือวิทยาศาสตร์ และพื้นที่ฟาร์มประมง คณะทรัพยากรธรรมชาติและอุตสาหกรรมเกษตรในการฝึกอบรมเกษตรกร
ภาคีร่วมสนับสนุน
คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สนับสนุนวิทยากรในการฝึกอบรม
ภาควิชาประมง คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น สนับสนุนวิทยากรในการฝึกอบรม
รายละเอียดงบประมาณ
ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
ค่าตอบแทนวิทยากร

ค่าตอบแทนวิทยากรภายใน (600บาท x 6ชั่วโมง x 2วัน x 3คน)

3 คน 600 12 21,600
ค่าที่พักตามจริง

ค่าที่พัก (800บาท x 1คืน x 3คน)

3 คน 800 1 2,400
ค่าพาหนะเดินทาง - รถตู้เช่า

ค่าจ้างเหมารถตู้ (2,500บาท x 2วัน)

2 ครั้ง 2,500 1 5,000
ค่าถ่ายเอกสาร

ค่าจ้างเหมาถ่ายเอกสารประกอบการฝึกอบรม (100บาท x50คน)

50 คน 100 1 5,000
ค่าอาหาร

ค่าอาหารกลางวันของผู้รับการอบรมและทีมงาน (150บาท x50คน x 2วัน)

50 คน 150 2 15,000
ค่าอาหาร

ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (35บาท x 50 คน x 2มื้อ x 2วัน)

50 คน 35 4 7,000
ค่าตอบแทนการประสานงาน

ค่าเบี้ยเลี้ยงนิสิตช่วยงาน (210บาทx2วันx5คน)

5 คน 210 2 2,100
ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้

ค่าจ้างเหมาจัดทำคู่มือการเลี้ยงสัตว์น้ำจืด (50บาทx40ชุด)

40 ชุด 50 1 2,000
ค่าวัสดุสำนักงาน

ค่าวัสดุสำนักงาน ได้แก่ กระดาษA4 สำหรับพิมพ์งาน (5,000บาท)

1 ชุด 5,000 1 5,000
ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้

ค่าวัสดุโฆษณาเผยแพร่ และประชาสัมพันธ์ (2,000บาท)

1 ชุด 2,000 1 2,000
ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้

ค่าวัสดุเกษตรสำหรับฝึกอบรม ประกอบด้วยวัตถุดิบอาหารสัตว์น้ำสำหรับสาธิตการผลิตอาหารปลาต้นทุนต่ำ ค่าวัสดุปูน ปุ๋ย

1 ชุด 30,000 1 30,000
รวมค่าใช้จ่าย 97,100

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมที่ 4 ตรวจติดตามการปรับสภาพบ่อเลี้ยงของเกษตรกรให้เหมาะสม

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 4 ตรวจติดตามการปรับสภาพบ่อเลี้ยงของเกษตรกรให้เหมาะสม
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อพัฒนานิสิตให้มีทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21
  2. เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรในพื้นที่แก้มลิงหนองเลิงเปือย จังหวัดกาฬสินธุ์
  3. เพื่อพัฒนาเจ้าหน้าที่อาสาพัฒนา (อสพ) และเกษตรกร ให้มีความรู้ความเข้าใจเชิงวิชาการที่ถูกต้องในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
รายละเอียดกิจกรรม
การลงพื้นที่ตรวจติดตามผลการดำเนินงานของเกษตรโดยการนำเทคโนโลยีปูนและปุ๋ยสั่งตัดในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำไปใช้ในพื้นที่หนองเลิงเปือย โดยการแบ่งกลุ่มนิสิตเพื่อรับผิดชอบการเป็นที่ปรึกษาให้กับเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ โดยทีมอาจารย์ นักวิชาการและนิสิต ลงพื้นที่ตรวจติดตามเกษตรกรทุกเดือนเพื่อให้คำปรึกษา เก็บข้อมูลการเจริญเติบโดของปลาที่เลี้ยง แลกเปลี่ยนเรียนรู้ปัญหาจากหน้างานจริง
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2563 ถึง 30 มิถุนายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
- ได้ข้อมูลการปรับสภาพบ่อเลี้ยงของเกษตรกรจากนำเทคโนโลยีปูนและปุ๋ยสั่งตัดในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำไปใช้ในพื้นที่หนองเลิงเปือย
- นิสิตมีทักษะในการติดต่อ สื่อสาร ประสานงาน การเก็บข้อมูล และการแก้ปัญหาให้กับเกษตรกร รวมทั้งการคิดวิเคราะห์วางแผนการดำเนินงานให้เกษตรที่อยู่ในความดูแลประสบผลสำเร็จในการเลี้ยงปลา
ทรัพยากรอื่น ๆ
เครื่องมือและอุปกรณ์ตรวจวิเคราะห์สภาพบ่อเลี้ยงของคณะทรัพยากรธรรมชาติและอุตสาหกรรมเกษตร
ภาคีร่วมสนับสนุน
มูลนิธิปิดทองหลังพระสืบสานแนวพระราชดำริ สนับสนุนสถานที่ในการประชุมและตรวจติดตามผลการดำเนินงาน และสนับสนุนรถยนต์ขับเคลื่อน 4 ล้อในการลงตรวจติดตามสภาพการเลี้ยงของเกษตรกร
รายละเอียดงบประมาณ
ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
ค่าตอบแทนวิทยากร

ค่าตอบแทนที่ปรึกษา/ผู้เชี่ยวชาญ (800บาท x 12 ชั่วโมง x 2 คน)

2 คน 800 12 19,200
ค่าตอบแทนวิทยากร

ค่าจ้างเหมาเช่ายานพาหนะรถตู้ (2,500 x 3 วัน x 1 คัน)

3 ครั้ง 2,500 1 7,500
ค่าตอบแทนวิทยากร

ค่าห้องพัก (800บาท x 2คืน x 3 ห้อง )

3 ครั้ง 800 2 4,800
ค่าถ่ายเอกสาร

ค่าจ้างเหมาถ่ายเอกสาร (2,000 บาท)

1 ครั้ง 2,000 1 2,000
ค่าตอบแทนการประสานงาน

ค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางไปราชการ (240บาทx3วันx3คน)

3 คน 240 3 2,160
ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้

ค่าวัสดุปูนสำหรับปรับสถาพบ่อเลี้ยงเกษตรจำนวน 40 ราย (รายละประมาณ 1,000 บาท)

1 ครั้ง 40,000 1 40,000
ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้

ค่าวัสดุปุ๋ยเพื่อใช้ในการสร้างอาหารธรรมชาติในบ่อเลี้ยง เกษตรกรประมาณ 40 ราย

1 ครั้ง 40,000 1 40,000
รวมค่าใช้จ่าย 115,660

กิจกรรมที่ 5 กิจกรรมที่ 5 ผลิตลูกพันธุ์ปลานิลแปลงเพศคุณภาพเพื่อให้เกษตรกรนำไปเลี้ยง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 5 ผลิตลูกพันธุ์ปลานิลแปลงเพศคุณภาพเพื่อให้เกษตรกรนำไปเลี้ยง
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อพัฒนานิสิตให้มีทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21
  2. เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรในพื้นที่แก้มลิงหนองเลิงเปือย จังหวัดกาฬสินธุ์
  3. เพื่อพัฒนาเจ้าหน้าที่อาสาพัฒนา (อสพ) และเกษตรกร ให้มีความรู้ความเข้าใจเชิงวิชาการที่ถูกต้องในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
รายละเอียดกิจกรรม
ผลิตกิจกรรมที่ 5 ผลิตลูกพันธุ์ปลานิลแปลงเพศคุณภาพเพื่อให้เกษตรกรนำไปเลี้ยงในพื้นที่เป้าหมายและมอบหมายให้นิสิตในรายวิชาการเลี้ยงสัตว์น้ำจืดดูแลเกษตรกรจนเสร็จสิ้นกระบวนการเลี้ยง
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2563 ถึง 31 มีนาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
ได้ลูกพันธุ์ปลานิลแปลงเพศคุณภาพเพื่อให้เกษตรกรนำไปเลี้ยง นิสิตได้ฝึกประสบการณ์ในการวางแผนการผลิตลูกพันธุ์ปลานิลแปลงเพศเพื่อใช้ในโครงการ
ทรัพยากรอื่น ๆ
ใช้พื้นที่ฟาร์มประมง คณะทรัพยากรธรรมชาติและอุตสาหกรรมเกษตรในการผลิตลูกพันธุ์ปลานิลแปลงเพศสนับสนุนโครงการ
ภาคีร่วมสนับสนุน
ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดเขต 3 สกลนคร สนับสนุนการฝึกประสบการณ์การผลิตลูกปลานิลแปลงเพศ
สำนักงานประมงจังหวัดสกลนคร ให้ความช่วยเหลือในการติดต่อประสานงานนักวิชาการประมงในพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์
รายละเอียดงบประมาณ
ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้

ค่าพ่อแม่พันธุ์ปลานิลสำหรับผลิตลูกปลานิลแปลงเพศสนับสนุนโครงการ

1 ชุด 20,000 1 20,000
ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้

ค่าอาหารปลาพ่อแม่พันธุ์ปลานิล

1 ชุด 15,000 1 15,000
ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้

ค่าฮอร์โมนแปลงเพศปลานิลเพื่อผลิตลูกปลานิลแปลงเพศคุณภาพ

1 ชุด 7,000 1 7,000
ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้

ค่าอาหารลูกปลานิล ได้แก่ ปลาป่น อาหารลูกปลานิลผง อาหารเม็ดสำเร็จรูป ใช้ในการอนุบาลลูกปลานิลแปลงเพศก่อนส่งมอบให้เกษตรกร

1 ชุด 10,000 1 10,000
ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้

ค่าวัสดุอุปกรณ์โรงเพาะฟัก ใช้ในกระบวนการผลิตลูกปลานิลแปลงเพศ เช่น สายออกซิเจน ถังออกซิเจน หัวทราย สวิง ถาดฟักไข่ กรวยฟักไข่ เป็นต้น

1 ชุด 18,000 1 18,000
ค่าตอบแทนการประสานงาน

ค่าจ้างนักวิชาการผลิตลูกพันธุ์ปลา 1 อัตรา (15000 บาทx 4 เดือน)

1 คน 15,000 4 60,000
รวมค่าใช้จ่าย 130,000

กิจกรรมที่ 6 กิจกรรมที่ 6 นำส่งลูกพันธุ์ปลานิลแปลงเพศคุณภาพให้กับเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 6 นำส่งลูกพันธุ์ปลานิลแปลงเพศคุณภาพให้กับเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อพัฒนานิสิตให้มีทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21
  2. เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรในพื้นที่แก้มลิงหนองเลิงเปือย จังหวัดกาฬสินธุ์
  3. เพื่อพัฒนาเจ้าหน้าที่อาสาพัฒนา (อสพ) และเกษตรกร ให้มีความรู้ความเข้าใจเชิงวิชาการที่ถูกต้องในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
รายละเอียดกิจกรรม
นำส่งลูกพันธุ์ปลานิลแปลงเพศคุณภาพให้กับเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการในพื้นที่ ตำบลร่องคำ อำเภอร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2563 ถึง 29 กุมภาพันธ์ 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการได้รับลูกพันธุ์ปลานิลแปลงเพศตามจำนวนที่เหมาะสมกับขนาดบ่อของเกษตรกรที่มีการเตรียมปรับสภาพพื้นที่บ่อเสร็จสิ้นเป็นที่เรียบร้อย
ทรัพยากรอื่น ๆ
ภาคีร่วมสนับสนุน
รายละเอียดงบประมาณ
ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
ค่าพาหนะเดินทาง - รถรับจ้าง/แท็กซี่

ค่าขนส่งลูกพันธ์ปลา (3 เที่ยวๆละ 10,000 บาท) กระจายให้กับเกษตรที่เข้าร่วมโครงการ

3 เที่ยว 10,000 1 30,000
รวมค่าใช้จ่าย 30,000

กิจกรรมที่ 7 กิจกรรมที่ 7 ลงพื้นที่ตรวจติดตามผลการเลี้ยงและคุณภาพน้ำในบ่อเลี้ยงทุกเดือนจนกระทั่งเก็บเกี่ยว

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 7 ลงพื้นที่ตรวจติดตามผลการเลี้ยงและคุณภาพน้ำในบ่อเลี้ยงทุกเดือนจนกระทั่งเก็บเกี่ยว
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อพัฒนานิสิตให้มีทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21
  2. เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรในพื้นที่แก้มลิงหนองเลิงเปือย จังหวัดกาฬสินธุ์
  3. เพื่อพัฒนาเจ้าหน้าที่อาสาพัฒนา (อสพ) และเกษตรกร ให้มีความรู้ความเข้าใจเชิงวิชาการที่ถูกต้องในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
รายละเอียดกิจกรรม
ลงพื้นที่ตรวจติดตามผลการเลี้ยงและคุณภาพน้ำในบ่อเลี้ยงทุกเดือนจนกระทั่งเก็บเกี่ยว
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2563 ถึง 30 มิถุนายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
ได้ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงของสภาพบ่อเลี้ยงตลอดการเลี้ยง ทราบข้อมูลการเจริญเติบโตของปลาที่เลี้ยง สามารถวางแผนการจัดการได้ถูกต้องแม่นยำ และสามารวางแผนการเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ตรงตามช่วงเวลาที่เหมาะสม เกษตรกรได้รับผลตอบแทนจากการเลี้ยงสูงที่สุด
ทรัพยากรอื่น ๆ
ใช้นิิสิตในการลงพื้นที่เก็บข้อมูล ตรวจติดตาม แก้ปัญหาหน้างานให้กับเกษตรกร โดยใช้ทรัพยากรครุภัณฑ์ต่างๆที่เกี่ยวข้องของสาขาประมง คณะทรัพยากรธรรมชาติและอุตสาหกรรมเกษตร
ภาคีร่วมสนับสนุน
มูลนิธิปิดทองหลังพระสืบสานแนวพระราชดำริให้การสนับสนุนรถยนต์ขับเคลื่อน 4 ล้อ ในการลงพื้นที่บ่อเลี้ยงของเกษตรกรรอบหนองเลิงเปือย
รายละเอียดงบประมาณ
ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
ค่าพาหนะเดินทาง - รถตู้เช่า

ค่าจ้างเหมาเช่ายานพาหนะรถตู้ (2,500 x 12 วัน x 1 คัน) ลงพื้นที่ตรวจติดตามการเลี้ยงของเกษตรกร

12 ครั้ง 2,500 1 30,000
ค่าที่พักตามจริง

ค่าห้องพัก (800บาท x 6 คืน x 5 ห้อง )

5 คน 800 6 24,000
ค่าถ่ายเอกสาร

ค่าจ้างเหมาถ่ายเอกสาร (2,000 บาท)

1 ชุด 2,000 1 2,000
ค่าตอบแทนการประสานงาน

ค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางไปราชการ (240บาทx12วันx5คน)

5 คน 240 12 14,400
รวมค่าใช้จ่าย 70,400

กิจกรรมที่ 8 กิจกรรมที่ 8. จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถอดประสบการณ์ และสรุปผลการดำเนินโครงการ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 8. จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถอดประสบการณ์ และสรุปผลการดำเนินโครงการ
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อพัฒนานิสิตให้มีทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21
  2. เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรในพื้นที่แก้มลิงหนองเลิงเปือย จังหวัดกาฬสินธุ์
  3. เพื่อพัฒนาเจ้าหน้าที่อาสาพัฒนา (อสพ) และเกษตรกร ให้มีความรู้ความเข้าใจเชิงวิชาการที่ถูกต้องในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
รายละเอียดกิจกรรม
จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถอดประสบการณ์ ระหว่างเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ นิสิตที่ลงพื้นที่ดูแลเกษตรกร อาจารย์ นักวิชาการ และ อสพ และสรุปผลการดำเนินโครงการ
ระยะเวลาดำเนินงาน
22 มิถุนายน 2563 ถึง 26 มิถุนายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
- ได้มีการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถอดประสบการณ์ ระหว่างเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ นิสิตที่ลงพื้นที่ดูแลเกษตรกร อาจารย์ นักวิชาการ และ อสพ
- เกษตรกรรายอื่นๆสามารถนำบทเรียนและประสบการณืการเลี้ยงปลาจากบทสรุปโครงการไปใช้เป็นแนวทางในการปรับสภาพการเลี้ยงให้เหมาะสมและมีรายได้จาการเลี้ยงปลาสูงขึ้น
ทรัพยากรอื่น ๆ
ภาคีร่วมสนับสนุน
มูลนิธิปิดทองหลังพระสืบสานแนวพระราชดำริสนับสนุนสถานที่ในการจัดเวที่แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ถอดบทเรียน
รายละเอียดงบประมาณ
ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
อื่น ๆ

ค่าโทรศัพท์และค่าไปรษณีย์ (1,000 บาท x 6 เดือน(ติดตามการดำเนินการ))

1 ครั้ง 1,000 6 6,000
อื่น ๆ

ค่าใช้จ่ายในการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถอดประสบการณ์ เมื่อสิ้นสุดโครงการและจัดทำเล่มรายงานผลการดำเนินงานของโครงการ

1 ครั้ง 15,000 1 15,000
รวมค่าใช้จ่าย 21,000

รวมงบประมาณทุกกิจกรรมของแผนการดำเนินงาน จำนวน 499,600.00 บาท

ค่าตอบแทนค่าใช้สอยค่าวัสดุอื่น ๆรวมเงิน
ค่าใช้จ่าย (บาท) 150,300.00 139,300.00 189,000.00 21,000.00 499,600.00
เปอร์เซ็นต์ (%) 30.08% 27.88% 37.83% 4.20% 100.00%

11. งบประมาณ

499,600.00บาท

12. การติดตามประเมินผล

ต่อชุมชนต่อนักศึกษา
ผลผลิต (Output) เกษตรกรสามารถเลี้ยงปลาโดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมได้อย่างเหมาะสมกับสภาพพื้นที่การเลี้ยงของแต่ละคน นิสิตได้เรียนรู้การทำงานจริงในพื้นที่ ได้ลงมือปฏิบัติจริง ได้ประสบการณ์จริง
ผลลัพธ์ (Outcome) เกษตรกรมีรายได้ครัวเรือนสูงขึ้นจากการเลี้ยงปลา เกษตรกรมัทักษะการเลี้ยงปลาสูงขึ้น นิสิตสามารถออกไปทำงานจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้นำความรู้และประสบการณ์จริงไปใช้ในการทำงานในอนาคต นิสิตมีความสุขและสนุกกับการเรียนในรูปแบบ Active learning เรียนรู้จากโจทย์ที่เกิดขึ้นจริงในพื้นที่เกษตรกร
ผลกระทบ (Impact) ชุมชนมีความเข้มแข็ง สามารถเลี้ยงปลาเป็นอาชีพเสริมได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีการรวมกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงปลารอบหนองเลิงเปือยเพื่อขยายผลต่อไปสู่เกษตรกรรายอื่นๆ นิสิตที่เข้าร่วมโครงการมีทักษะในศตวรรษที่ 21 คิดเป็น วางแผนเป็น แก้ปัญหาได้ เป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพในสายงานประมง เป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน ช่วยขับเคลี่อนการพัฒนางานทางด้านการเกษตรของประเทศ
นำเข้าสู่ระบบโดย Assists prof. sittichai hatachote Assists prof. sittichai hatachote เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2562 15:08 น.