การพัฒนานวัตกรรม ผลิตภัณฑ์สมุนไพร สร้างเสริมสุขภาพชุมชน สู่การพัฒนาคุณภาพชีวิต สุขภาพดี ชีวีมีสุข

แบบเสนอโครงการ
การพัฒนานวัตกรรม ผลิตภัณฑ์สมุนไพร สร้างเสริมสุขภาพชุมชน สู่การพัฒนาคุณภาพชีวิต สุขภาพดี ชีวีมีสุข

1. ชื่อโครงการ

การพัฒนานวัตกรรม ผลิตภัณฑ์สมุนไพร สร้างเสริมสุขภาพชุมชน สู่การพัฒนาคุณภาพชีวิต สุขภาพดี ชีวีมีสุขมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีคณะเทคโนโลยีการเกษตรบ้านเปลือย ตำบลหนองโก อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคามผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สมสงวน ปัสสาโกสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 80 ถนนนครสวรรค์ ตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคามsomsanguan_c@yahoo.com โทร 043-742620 มือถือ 089-27736451. ผศ.ดร. สรรพสิทธิ์ แก้วเฮ้า คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
โทร 091-0569505
2. อาจารย์อังศุมา ก้านจักร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
โทร 087-6403526
3. อาจารย์วิรุณ โมนะตระกูล คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม โทร 094-0548321
4. นางสาวสุกจิตต์ ภูมิพระบุ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
โทร 082-1227864

2. พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่

3. รายละเอียดชุมชน

ชุมชนบ้านเปลือย ตำบลหนองโก อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม ที่ประชาชนส่วนใหญ่ในชุมชนใหญ่มีอาชีพทำการเกษตรกรรม มีที่ดินเป็นของตนเอง อาชีพหลักของคนในพื้นที่คือ การทำนา ทำไร่อาชีพเสริมคือทำการประมง เนื่องจากมีอ่างเก็บน้ำเพื่อทำการเกษตร มีไฟฟ้าใช้ทุกครัวเรือน ในหมู่บ้านไม่มีกลุ่มรวมตัวผลิตสินค้า OTOP ดังนั้น สินค้าส่วนใหญ่มักจะซื้อจากที่อื่นชุมชนบ้านเปลือยมีทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ ได้แก่ ป่าชุมชน อ่างเก็บน้ำร่องหัวช้าง พื้นที่ทำนา ทำไรมันสำปะหลัง ประชาชนมีอาชีพเกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่ อาชีพเสริมคือการทำประมงพื้นบ้านประชาชนในชุมชนส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ โดยลูกหลานวัยหนุ่มสาวจะเข้าไปทำงานต่างจังหวัด โดยเฉพาะที่กรุงเทพมหานคร ผู้สูงอายุส่วนใหญ่จะดูแลลูกหลานมักจะป่วยเป็นโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวานโรคความดันโลหิตสูง อาการวิงเวียนศีรษะทำให้ต้องเดินทางไปหาหมอที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหรือโรงพยาบาลประจำอำเภอบรบือ เพื่อทำการรักษา ซึ่งทำให้มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นปัจจุบันสังคมมีการตื่นตัวเรื่องสุขภาพ และผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติอย่างมากเพราะเป็นสิ่งที่ใกล้ตัวและมีความปลอดภัยทั้งส่วนบุคคลและสิ่งแวดล้อม พืชสมุนไพรเป็นตัวเลือกหนึ่งที่มนุษย์ให้ความสนใจ นิยมกันอย่างกว้างขวางและเป็นจำนวนมาก โดยถูกนำมาใช้ประโยชน์ทั้งในด้านอาหาร ยารักษาโรค อาหารเสริมสุขภาพ และเป็นส่วนผสมในเครื่องสำอาง ดังนั้น พืชสมุนไพรกับสุขภาพ จึงเป็นสิ่งที่มีความสัมพันธ์กันในด้านการนำไปใช้เกื้อกูลประโยชน์ต่อกันมานับเป็นเวลานาน ทำให้เกิดองค์ความรู้สั่งสมกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษสืบทอดจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง จึงได้พบว่าพืชสมุนไพรอยู่คู่มากับชีวิตของชุมชนชนบทมาอย่างยาวนานที่เรียกว่า ภูมิปัญญาท้องถิ่น
จากที่กล่าวถึงประโยชน์ของสมุนไพรและความสัมพันธ์ต่อด้านสุขภาพ สมุนไพรจึงได้ถูกนำมาทำเป็นเครื่องยาและสมุนไพรมักจะถูกดัดแปลงในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ถูกหั่นให้เป็นชิ้นเล็กลง บดเป็นผงละเอียด หรืออัดเป็นแท่ง เป็นต้น สมุนไพรจึงเป็นยาพื้นบ้านแผนโบราณของไทย สำหรับรูปแบบการใช้สมุนไพรในการรักษานั้นมีความหมายหลากหลายแตกต่างกันไปตามแต่ละสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งสามารถตอบสนองต่อความต้องการทางด้านการรักษาสุขภาพ หรือการดูแลสุขภาพของประชาชน
ดังนั้น ในการพัฒนาสุขภาพของคนในชุมชน เพื่อให้สมาชิกของคนในชุมชนมีสุขภาพดี โดยอาศัยสมุนไพร ภูมิปัญญาท้องถิ่นของคนในท้องถิ่นเข้ามามีบทบาท โดยให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการพัฒนา เสริมพลังบริการด้านสุขภาพให้ไวต่อปัญหาและความต้องการเป็นการเพิ่มศักยภาพในการดูแลตนเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกันให้กับสมาชิกของชุมชน ชุมชนมีความเอื้ออาทร ลดความเห็นแก่ตัว โรคภัยไข้เจ็บลดลงซึ่งแนวทางการดำเนินงานในการพัฒนาสุขภาพในชุมชนดังกล่าว สอดคล้องตามยุทธศาสตร์ชาติ 20ปี โดยได้กำหนดวิสัยทัศน์ประเทศไทยให้มีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง และมีเป้าหมายในภาพรวมเพื่อให้ประเทศชาติมั่นคง ประชาชนมีความสุข เศรษฐกิจพัฒนาอย่างต่อเนื่อง สังคมเป็นธรรม ฐานทรัพยากรธรรมชาติยั่งยืน โดยเฉพาะยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้างทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งมุ่งให้คนไทยมีคุณภาพ พร้อมสำหรับวิถีชีวิตในศตวรรษที่ 21

จากการลงพื้นที่พบปะกับสมาชิกของประชาชนในชุมชนบ้านเปลือย พบว่ามีความต้องการที่จะดูแลสุขภาพตนเองเป็นพื้นฐานก่อนที่จะเข้าไปรักษาในโรงพยาบาล หรือ คลินิกหมอ โดยอาศัยสมุนไพรที่มีอยู่ในท้องถิ่นที่สามารถปรุงเป็นยารักษาโรค หรือนำมาเป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่จะสามารถใช้ได้ในครัวเรือน มีผลดีต่อสุขภาพ อีกทั้งเป็นการลดค่าใช้จ่ายในการรักษา และยังสามารถที่จะประยุกต์เป็นผลิตภัณฑ์ด้านสุขภาพของชุมชนที่จะสร้างเสริมรายได้ ดังนั้น จากความต้องการของคนในชุมชน การสืบสานสมุนไพรในท้องถิ่นเพื่อดูแลสุขภาพของคนในชุมชนจึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่จะต้องมีการฟื้นฟู สืบสาน ส่งเสริม ในระดับหมู่บ้าน การมีส่วนร่วมของชุมชนจึงเป็นความรับผิดชอบส่วนหนึ่งที่จะต้องนำมาปฏิบัติให้สัมฤทธิ์ผล การรื้อฟื้นให้ชุมชนสุขภาพดีจึงจะต้องดำเนินควบคู่กับวิถีชีวิต การสร้างความรู้ด้านสุขภาพโดยการใช้ประโยชน์จากสมุนไพรเป็นการสร้างองค์ความรู้จากการปฏิบัติ การจัดการความรู้ การแลกเปลี่ยนความรู้ การสั่งสมความรู้และประสบการณ์ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการเสริมสร้างสุขภาพของคนในชุมชน สร้างความเข้มแข็ง สู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดี

โดยในปัจจุบัน ตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และแผนอุดมศึกษาระยะยาว 20 ปี พ.ศ. 2561 – 2580 และแผนปฏิรูประบบการอุดมศึกษา ซึ่งมุ่งเน้นบทบาทของการมีส่วนร่วมของภาครัฐ ภาคเอกชน ท้องถิ่น ครอบครัว และชุมชนในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การพัฒนาทักษะนอกห้องเรียน และการส่งเสริมให้ชุมชนเป็นฐานในการสร้างสุขภาวะที่ดีในทุกพื้นที่ โดยการสนับสนุนบทบาทของอุดมศึกษาในการเป็นองค์กรหลักในการสร้างสรรค์นวัตกรรม แสวงหาทางเลือกใหม่ และสร้างรากฐานการวิจัยเพื่อขับเคลื่อนชุมชนและสังคมโดยสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาสามารถสนับสนุนการดำเนินการเพื่อพัฒนาชุมชนและสังคม ผ่านการจัดการเรียนการสอนและบรรยากาศที่ส่งเสริมการสร้างองค์ความรู้ให้มีความลึกซึ้งและกว้างขวาง พร้อมกับการพัฒนาบุคคลให้มีคุณธรรม จริยธรรม ตลอดจนการสนับสนุนการวิจัยและการบริการวิชาการ

ดังนั้น การพัฒนานวัตกรรม สร้างเสริมสุขภาพชุมชน เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชุมชน สู่การพัฒนาคุณภาพชีวิต สุขภาพดี ชีวีมีสุข จึงเป็นโครงการที่มีประโยชน์ที่มีประโยชน์ต่อชุมชนโดยตรง อีกทั้งโครงการนี้เป็นโครงการที่เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้มีบทบาทในการนำองค์ความรู้ที่มีอยู่ไปใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม สามารถเรียนรู้วิถีชีวิตของคนในชุมชนจากพื้นที่ ได้ร่วมกิจกรรมในการพัฒนาท้องถิ่น ตามปณิธานของมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่น

4. ประเด็นปัญหาหลัก

5. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

6. องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับสมุนไพรที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาบูรณาการพัฒนาเป็นนวัตกรรมและผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรเพื่อสุขภาพและคุณภาพที่ดี ได้แก่ การพัฒนาการผลิตภัณฑ์ลูกประคบสมุนไพร ฟ้าทะลายโจรแคปซูล ชาสมุนไพรผักเชียงคา ชาสมุนไพรใบหม่อน ยาหม่องสมุนไพร ยาดมสมุนไพร น้ำมันไพลสด สบู่น้ำผึ้ง เพื่อใช้ประโยชน์ในการดูแลสุขภาพ

7. วัตถุประสงค์

วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อพัฒนาชุมชนให้ประชาชนมีสุขภาพดี เป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตโดยการนำองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสมุนไพร จากสถาบันอุดมศึกษา หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ปราชญ์ในท้องถิ่น ประชาชน อาจารย์ นักศึกษา อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน มาบูรณาการในการพัฒนานวัตกรรมและผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดี และเกิดความยั่งยืน 2. เพื่อนำองค์ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาการผลิตลูกประคบสมุนไพร ฟ้าทะลายโจรแคปซูลชาสมุนไพรผักเชียงคา ชาสมุนไพรใบหม่อน ยาหม่องสมุนไพร ยาดมสมุนไพร น้ำมันไพลสด สบู่น้ำผึ้ง เพื่อใช้ประโยชน์ในการดูแลสุขภาพ ส่งเสริมให้ชุมชนสามารถผลิตเพื่อใช้เองหรือจำหน่ายเพื่อสร้างรายได้ให้แก่ครัวเรือน 3. เพื่อให้นักศึกษาได้ประยุกต์องค์ความรู้ในการปฏิบัติงานจริงร่วมกับชุมชน มีความสามารถในการค้นคว้า คิดวิเคราะห์ มีความคิดสร้างสรรค์สามารถออกแบบการทำงาน ประมวลผล และสามารถนำเอาทักษะที่ได้มาใช้ในการทำการวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์/วิทยาศาสตร์สุขภาพได้ และมีจิตอาสา จิตสาธารณะ เป็นบุคคลที่มีคุณภาพและพร้อมที่จะออกไปรับใช้สังคม
  1. เอกสารรายงานประวัติชุมชน ข้อมูลสมุนไพรในชุมชน ปราชญ์ ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสมุนไพร
  2. จำนวนนวัตกรรม/ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ 2.1 ลูกประคบสมุนไพร 2.2 ฟ้าทะลายโจรแคปซูล 2.3 ชาสมุนไพรผักเชียงคา 2.4 ชาสมุนไพรใบหม่อน 2.5 ยาหม่องสมุนไพร 2.6 ยาดมสมุนไพร 2.7 น้ำมันไพลสด 2.8 สบู่น้ำผึ้ง
  3. ระดับความสำเร็จในการถ่ายทอดองค์ความรู้ จนเกิดการพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อสุขภาพ
  4. หลักฐานการดำเนินของนักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรม มีการพัฒนาทักษะการทำงานร่วมกับชุมชน
  5. เอกสารบทเรียนชุมชน สื่ออิเล็กทรอนิกส์ การพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อสุขภาพ
  6. นักศึกษาเลือกนวัตกรรม/ผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วมของชุมชนจำนวน 1 รายการ เพื่อดำเนินการวิจัย
0.00

8. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
นักศึกษา 10
ประชาชน/อสม./จนท.รพ.สต. 50

9. ระยะเวลา

10. วิธีดำเนินงาน

กิจกรรมที่ 1 การอบรมปฏิบัติการ “การพัฒนานวัตกรรม ผลิตภัณฑ์สมุนไพร สร้างเสริมสุขภาพชุมชน สู่การพัฒนาคุณภาพชีวิต สุขภาพดี ชีวีมีสุข”

ชื่อกิจกรรม
การอบรมปฏิบัติการ “การพัฒนานวัตกรรม ผลิตภัณฑ์สมุนไพร สร้างเสริมสุขภาพชุมชน สู่การพัฒนาคุณภาพชีวิต สุขภาพดี ชีวีมีสุข”
วัตถุประสงค์
    รายละเอียดกิจกรรม
    ลักษณะกิจกรรม
    1. ลงพื้นที่สำรวจข้อมูลเบื้องต้นและเก็บข้อมูลสมุนไพรเพื่อจัดทำฐานข้อมูล
    วิธีการดำเนินงาน
    1. นักศึกษา อาจารย์ ลงสำรวจพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลชุมชน ประวัติชุมชน ข้อมูลสมุนไพรในชุมชน
    2. เข้าพบผู้นำชุมชน ผู้ที่มีบทบาทเกี่ยวข้องด้านสุขภาพเพื่อชี้แจงวัตถุประสงค์ และขอเข้าสำรวจศึกษาการใช้สมุนไพรในการส่งเสริมรักษาสุขภาพ และประโยชน์ด้านต่าง ๆ3. สัมภาษณ์ปราชญ์ชาวบ้าน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) เกี่ยวกับองค์ความรู้ด้านสมุนไพรในชุมชน สรรพคุณของสมุนไพร วิธีการนำสมุนไพรมาใช้ในการรักษาโรค และประโยชน์ด้านอื่น ๆ4. จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์สำหรับใช้ดำเนินงาน

    ลักษณะกิจกรรม
    2. กระบวนการ พัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อสุขภาพ
    วิธีการดำเนินงาน
    1. พิธีเปิดการอบรม ชี้แจงรายละเอียดของโครงการให้แก่ผู้เข้าร่วมการอบรม
    2. นักศึกษาและทีมดำเนินงานจัดอบรมปฏิบัติการ “การพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพร สร้างเสริมสุขภาพชุมชน สู่การพัฒนาคุณภาพชีวิต สุขภาพดี ชีวีมีสุข”
    3. จัดอบรมปฏิบัติการ นวัตกรรมการจัดทำผลิตภัณฑ์ลูกประคบสมุนไพร สรรพคุณ ลดอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย
    4. จัดอบรมปฏิบัติการนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ฟ้าทะลายโจรแคปซูล สรรพคุณ การใช้รักษาอาการเจ็บคอ เป็นไข้
    5. จัดอบรมปฏิบัติการผลิตภัณฑ์ชาสมุนไพรผักเชียงคา สรรพคุณในการลดระดับน้ำตาลในเลือดผู้ป่วยโรคเบาหวาน
    6. จัดอบรมปฏิบัติการผลิตภัณฑ์ ชาสมุนไพรใบหม่อน สรรพคุณลดความอ้วนในผู้ป่วยที่มีน้ำหนักตัวมาก
    7. จัดอบรมปฏิบัติการ ผลิตภัณฑ์ยาหม่อง สรรพคุณระงับอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
    8. จัดอบรมปฏิบัติการ ผลิตภัณฑ์ยาดมสมุนไพร สรรพคุณบรรเทาอาการหวัด หน้ามืด ตาลาย
    9. อบรมปฏิบัติการผลิตภัณฑ์น้ำมันไพลสด สรรพคุณแก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
    10. อบรมเชิงปฏิบัติการผลิตภัณฑ์สบู่สมุนไพร สรรพคุณผิวพรรณไม่แห้งกร้าน

    ลักษณะกิจกรรม
    3. การสร้างบทเรียนชุมชนสื่ออิเล็กทรอนิกส์ นวัตกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อสุขภาพ
    วิธีดำเนินงาน
    1. นักศึกษาดำเนินการประชุมวางแผนจัดการเตรียมข้อมูลด้านสมุนไพร ประโยชน์ วิธีผลิต นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ที่จะผลิตจากสมุนไพรในท้องถิ่น2. นักศึกษาเสนอรูปแบบ องค์ประกอบรายละเอียดของบทเรียนชุมชน สื่ออิเล็กทรอนิกส์ แก่อาจารย์ ผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อตรวจสอบ และให้ข้อเสนอแนะเพื่อความสมบูรณ์ของบทเรียนชุมชนด้านสมุนไพรจากกระบวนการพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อส่งเสริมสุขภาพ

    ลักษณะกิจกรรม
    4. งานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์
    วิธีดำเนินงาน
    1.นักศึกษาแต่ละกลุ่มเลือกผลิตภัณฑ์จำนวน 1 รายการ มาดำเนินการทดลองเก็บข้อมูล และวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์
    ระยะเวลาดำเนินงาน
    16 เมษายน 2563 ถึง 15 กรกฎาคม 2563
    ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
    ผลผลิต (Outputs)
    1. ประวัติชุมชน ข้อมูลสมุนไพรในชุมชน ปราชญ์สมุนไพรในชุมชน
    2. ผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อสุขภาพ
    - ประชาชนได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรม แบบมีส่วนร่วมในการผลิตนวัตกรรมและผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ รวมถึงบรรจุภัณฑ์ออที่เหมาะสมของแต่ละผลิตภัณฑ์เหมาะสมกับการใช้ประโยชน์และเป็นช่องทางในการจัดจำหน่าย
    3.กลุ่มเป้าหมาย ประชาชน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เจ้าหน้าที่ -โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้ ด้านนวัตกรรม/ผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อสุขภาพ
    4. นักศึกษาได้รับการพัฒนาทักษะการทำงานร่วมกับชุมชนและสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้
    5. บทเรียนชุมชนเกี่ยวกับการพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อสุขภาพ
    6. การค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์สู่งานวิจัย

    ตัวชี้วัดผลลัพธ์ (Outcomes)
    เชิงปริมาณ
    1. ประวัติชุมชน ข้อมูลสมุนไพร
    2. จำนวนนวัตกรรม/ผลิตภัณฑ์สมุนไพร เพื่อสุขภาพ
    3. ระดับความสำเร็จในการถ่ายทอดองค์ความรู้จนเกิดการพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่ส่งเสริมสุขภาพ
    4. จำนวนนักศึกษาร่วมกิจกรรมมีการพัฒนาทักษะการทำงาน
    5. เอกสาร/สื่ออิเล็กทรอนิกส์ บทเรียนชุมชน การพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพร เพื่อส่งเสริมสุขภาพ
    6. นักศึกษาเลือกนวัตกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพร ส่งเสริมสุขภาพแบบมีส่วนร่วมกับชุมชนจำนวน 1 รายการ เพื่อดำเนินการวิจัย

    เชิงคุณภาพ
    1. คุณภาพของนวัตกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อส่งเสริมสุขภาพ
    2. ความพึงพอใจของประชาชนต่อการผลิตนวัตกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อส่งเสริมสุขภาพ
    ทรัพยากรอื่น ๆ
    ภาคีร่วมสนับสนุน
    รายละเอียดงบประมาณ
    ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
    ค่าตอบแทนวิทยากร 2 คน 600 48 57,600
    ค่าตอบแทนผู้ทรงคุณวุฒิ

    ค่าตอบแทนอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ

    5 คน 15,000 1 75,000
    ค่าตอบแทนวิทยากร

    ค่าตอบแทนวิทยากรชุมน

    2 คน 200 30 12,000
    อื่น ๆ

    ค่าเบี้ยเลี้ยงนักศึกษา

    10 คน 200 15 30,000
    ค่าที่พักตามจริง

    ค่าที่พักนักศึกษา

    10 คน 120 15 18,000
    ค่าที่พักตามจริง

    ค่าที่พักอาจารย์ลงพื้นที่

    5 คน 800 10 40,000
    อื่น ๆ

    ค่าใช้จ่ายเข้าร่วมกิจกรรมส่วนกลางและมหาวิทยาลัย

    5 ครั้ง 10,000 1 50,000
    ค่าพาหนะเดินทาง - รถยนต์ส่วนบุคคล 2 เที่ยว 160 10 3,200
    ค่าจ้างทำป้ายประชาสัมพันธ์ 1 ชิ้น 1,500 1 1,500
    ค่าถ่ายเอกสาร 50 ชุด 50 10 25,000
    อื่น ๆ

    ค่าจ้างเหมาบริการทำเอกสารบทเรียนชุมชน

    50 ชุด 200 1 10,000
    ค่าอาหาร 65 คน 120 10 78,000
    ค่าอาหาร

    อาหารว่างและเครื่องดื่ม

    65 คน 35 20 45,500
    ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้

    ค่าวัตถุดิบ ส่วนผสม อุปกรณ์ การพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพร

    8 ชุด 2,500 1 20,000
    ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้

    ค่าวัสดุอบรมปฏิบัติการ

    10 ครั้ง 3,000 1 30,000
    อื่น ๆ

    ค่าจัดทำรายงานของนักศึกษา

    10 ชุด 20 1 200
    อื่น ๆ

    ค่าจัดทำรายงานโครงการ

    20 ชุด 200 1 4,000
    รวมค่าใช้จ่าย 500,000

    รวมงบประมาณทุกกิจกรรมของแผนการดำเนินงาน จำนวน 500,000.00 บาท

    ค่าตอบแทนค่าจ้างค่าใช้สอยค่าวัสดุอื่น ๆรวมเงิน
    ค่าใช้จ่าย (บาท) 144,600.00 1,500.00 209,700.00 50,000.00 94,200.00 500,000.00
    เปอร์เซ็นต์ (%) 28.92% 0.30% 41.94% 10.00% 18.84% 100.00%

    11. งบประมาณ

    500,000.00บาท

    12. การติดตามประเมินผล

    ต่อชุมชนต่อนักศึกษา
    ผลผลิต (Output) 1.มีฐานข้อมูลด้านสมุนไพรของชุมชนเผยแพร่
    2.ประชาชนในพื้นที่จะได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้ และสนับสนุนเทคโนโลยีในการผลิตนวัตกรรม ผลิตภัณฑ์สมุนไพรในการส่งเสริมสุขภาพ
    3.เอกสารบทเรียนชุมชนด้านสมุนไพร การใช้ประโยชน์ การผลิตนวัตกรรม ผลิตภัณฑ์สมุนไพรส่งเสริมสุขภาพ
    1. นักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการได้พัฒนาทักษะการเรียนรู้ร่วมกับชุมชนและการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเป็นการบูรณาการศาสตร์ส่งผลต่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
    2. นักศึกษาได้ประสบการณ์ในการนำไปสู่การพัฒนา ผลิตนวัตกรรม และผลิตภัณฑ์สมุนไพร
    3. นักศึกษาสามารถสรุป สังเคราะห์ องค์ความรู้ออกมาเป็นบทเรียนชุมชนด้านสมุนไพร
    4. นักศึกษาสามารถนำเอาองค์ความรู้และประสบการณ์ต่อยอดในการศึกษาวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ โดยอาศัยกระบวนการวิทยาศาสตร์ในการศึกษาค้นคว้า
    ผลลัพธ์ (Outcome) 1. ได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างประชาชน อาจารย์ นักศึกษา ผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อสร้างสัมพันธ์ที่ดี
    2. ผลิตภัณฑ์สมุนไพร เพื่อส่งเสริมสุขภาพ
    3. ชุมชนได้ผลิตภัณฑ์หลากหลายชนิด
    4. ชุมชนได้ที่ปรึกษาในการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากนักศึกษาและอาจารย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
    1. นักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการได้ร่วมดำเนินการกับชุมชน และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินงานส่งผลให้นักศึกษามีประสบการณ์ และมีควาพร้อมในกาทำงานเมื่อสำเร็จการศึกษา
    2. นักศึกษาได้บูรณาการการเรียนในหลักสูตรสู่การพัฒนาชุมชนอย่างมีส่วนร่วม
    3. นักศึกษาได้รับการพัฒนาทักษะการะบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการค้นหาคำตอบ
    ผลกระทบ (Impact) 1. ประชาชน นักศึกษามีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน
    2. ประชาชนในชุมชนมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง มีคุณภาพชีวิตที่ดี
    3. ชุมชนสามารถลดค่าใช้จ่ายและอาจนำไปสู่การเพิ่มรายได้จากผลิตภัณฑ์ส่งเสริมสุขภาพ ทำให้เศรษฐกิจของชุมชนดีขึ้น
    4. ชุมชนมีความพึงพอใจ มีความสุขจากการที่มหาวิทยาลัยในท้องที่ลงพื้นที่ร่วมพัฒนาชุมชน
    1. นักศึกษาได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริงการใช้ชีวิตในชุมชน มีพลังในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นเข้าใจความเป็นอยู่ของชุมชนฐานราก มีความผูกพันกับชุมชนและเมื่อจบการศึกษา สามารถออกไปประกอบอาชีพอยู่ร่วมกับชุมชนได้
    2. นักศึกษามหาวิทยาลัยได้สร้างเครือข่ายความร่วมมือการจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของชุมชนให้ชุมชนยอมรับร่วมมือกันพัฒนาเพื่อให้ชุมชนน่าอยู่ ประชาชนมีสุขภาพแข็งแรงมีอาชีพมั่นคง
    3. นักศึกษาได้ผลงานประกอบการเทียบโอนในรายวิชาโครงการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ รหัส 2015323วิธีวิจัยวิทยาศาสตร์ 3 (2-2-5) และวิชาวิทยาระเบียบวิจัยสิ่งแวดล้อม รหัส 20193613 (3-0-6)
    นำเข้าสู่ระบบโดย somsanguan_16 somsanguan_16 เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2563 16:02 น.