โครงการต้นแบบการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วม:เทศบาลเมืองคอหงส์ เทศบาลสีเขียว 3Rs (Reduce Reuse Recycle)

แบบเสนอโครงการ
โครงการต้นแบบการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วม:เทศบาลเมืองคอหงส์ เทศบาลสีเขียว 3Rs (Reduce Reuse Recycle)

1. ชื่อโครงการ

โครงการต้นแบบการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วม:เทศบาลเมืองคอหงส์ เทศบาลสีเขียว 3Rs (Reduce Reuse Recycle)มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ศูนย์บริการวิชาการมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์1. คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม 2. คณะวิทยาการจัดการเทศบาลเมืองคอหงส์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลารองศาสตราจารย์ ดร.มิตรชัย จงเชี่ยวชำนาญ ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์อาคารศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ฯ (LRC) อาคาร 1ชั้น 10 เลขที่ 15 ถนนกาญจนวนิชย์อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 90110หมายเลขโทรศัพท์ 0-7428-6972-7 หมายเลขโทรสาร 0-7428-69711.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิเวศน์ อรุณเบิกฟ้า รองผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการ ม.สงขลานครินทร์
2.ดร.สิริวิท อิสโรภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ ม.สงขลานครินทร์

2. พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
สงขลา หาดใหญ่ คอหงส์

3. รายละเอียดชุมชน

1. ด้านกายภาพ
1.1 ที่ตั้งตำบลคอหงส์
ลักษณะที่ตั้ง
ที่ตั้งเทศบาลเมืองคอหงส์ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของเทศบาลนครหาดใหญ่ ห่างจากที่ว่าการอำเภอ 2.5 กิโลเมตร ห่างจากจังหวัดสงขลาประมาณ 30 กิโลเมตร ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 1,125 กิโลเมตร
อาณาเขต
เทศบาลเมืองคอหงส์ มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่ใกล้เคียง ดังนี้
o ทิศเหนือติดต่อกับ เทศบาลเมืองคลองแห และเทศบาลตำบลน้ำน้อย
o ทิศใต้ติดต่อกับ เทศบาลเมืองบ้านพรุ และเทศบาลตำบลบ้านไร่
o ทิศตะวันออกติดต่อกับ องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งใหญ่ และองค์การบริหารส่วนตำบลนาหม่อม
o ทิศตะวันตกติดต่อกับ เทศบาลนครหาดใหญ่ และเทศบาลเมืองควนลัง
o เทศบาลเมืองคอหงส์ ประกอบไปด้วยชุมชน จำนวนทั้งสิ้น 30 ชุมชน* ได้แก่

1. ชุมชนบ้านคลองเตย 1 จำนวนประชากร (คน)1,274
2. ชุมชนบ้านคลองเตย 2 จำนวนประชากร (คน) 1,841
3. ชุมชนบ้านคลองเตย 3 จำนวนประชากร (คน) 2,417
4. ชุมชนบ้านคลองเตย 4 จำนวนประชากร (คน) 877
5. ชุมชนบ้านคลองเตย 5 จำนวนประชากร (คน) 1,288
6. ชุมชนบ้านคลองเตย 6 จำนวนประชากร (คน) 2,157
7. ชุมชนบ้านคอหงส์ 1 จำนวนประชากร (คน) 327
8. ชุมชนบ้านคอหงส์ 2 จำนวนประชากร (คน) 3,054
9. ชุมชนบ้านคอหงส์ 3 จำนวนประชากร (คน) 1,263
10.ชุมชนบ้านคอหงส์ 4 จำนวนประชากร (คน) 747
11.ชุมชนบ้านคอหงส์ 5 จำนวนประชากร (คน) 1,479
12.ชุมชนบ้านคอหงส์ 6 จำนวนประชากร (คน) 3,086
13.ชุมชนบ้านทุ่งรี 1 จำนวนประชากร (คน) 2,360
14.ชุมชนบ้านทุ่งรี 2 จำนวนประชากร (คน) 912
15.ชุมชนบ้านทุ่งรี 3 จำนวนประชากร (คน) 655
16.ชุมชนบ้านทุ่งรี 4 จำนวนประชากร (คน) 634
17.ชุมชนบ้านทุ่งรี 5 จำนวนประชากร (คน) 274
18.ชุมชนบ้านคลองเปล 1 จำนวนประชากร (คน) 1,354
19.ชุมชนบ้านคลองเปล 2 จำนวนประชากร (คน) 798
20.ชุมชนบ้านคลองเปล 3 จำนวนประชากร (คน) 737
21.ชุมชนบ้านคลองหวะ 1 จำนวนประชากร (คน) 1,390
22.ชุมชนบ้านคลองหวะ 2 จำนวนประชากร (คน) 1,068
23.ชุมชนบ้านคลองหวะ 3 จำนวนประชากร (คน) 2,079
24.ชุมชนบ้านคลองหวะ 4 จำนวนประชากร (คน) 1,662
25.ชุมชนบ้านทุ่งโดน 1 จำนวนประชากร (คน) 1,131
26.ชุมชนบ้านทุ่งโดน 2 จำนวนประชากร (คน) 1,445
27.ชุมชนบ้านทุ่งโดน 3 จำนวนประชากร (คน) 822
28.ชุมชนบ้านทุ่งโดน 4 จำนวนประชากร (คน) 969
29.ชุมชนบ้านปลักธง จำนวนประชากร (คน) 1,278
30.ชุมชนบ้านในไร่ จำนวนประชากร (คน) 872

1.2 ลักษณะภูมิประเทศ และการตั้งถิ่นฐานของชุมชน
ภูมิประเทศ
เทศบาลเมืองคอหงส์ มีขนาดพื้นที่ 34.57 ตารางกิโลเมตร หรือ 21,606.3 ไร่

1. การใช้ประโยชน์ของที่ดิน
ประเภทของการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ของเทศบาลเมืองคอหงส์ ประกอบด้วยกิจกรรมต่างๆ หลายประเภท โดยลักษณะกิจกรรมมีความแตกต่างตามกลุ่มชุมชนและสภาพสังคมที่ประชาชนอาศัยอยู่ ประกอบด้วย
(1) ที่อยู่อาศัย
ที่อยู่อาศัยในเขตเทศบาลเมืองคอหงส์กระจายอยู่ทั่วไปในเขต พื้นที่โดยส่วนมากอยู่บริเวณตามแนวถนนหลัก (ทางหลวงหมายเลข 407) ซึ่งเป็นถนนสายหลักสายเดียวของชุมชนที่เชื่อมระหว่างชุมชนทางทิศเหนือ และชุมชนทางทิศใต้ โดยการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยมีพื้นที่ 8,969.11 คิดเป็นร้อยละ 14.12 ของพื้นที่ทั้งหมด
(2) พาณิชยกรรม
การใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทพาณิชยกรรม จะอยู่บริเวณตอนกลางของพื้นที่บริเวณถนนปุณณกัณฑ์ เนื่องจากมีอาคารร้านค้า อยู่เป็นจำนวนมาก นอกจากนั้นมีการใช้ประโยชน์แบบผสม คือ พาณิชยกรรมและพักอาศัย โดยการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทนี้มีพื้นที่ 58.88 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 0.09 ของพื้นที่ทั้งหมด
(3) อุตสาหกรรม
อุตสาหกรรมในพื้นที่เทศบาลเมืองคอหงส์ เป็นพื้นที่ต่อเนื่องกับเทศบาลเมืองบ้านพรุและอำเภอนาหม่อมโดยปัจจุบัน พื้นที่ตั้งโรงงานอุตสาหกรรมอยู่บริเวณทางด้านทิศใต้ของพื้นที่ โดยพื้นที่ทั้งหมด 534.84 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 0.84 ของพื้นที่ทั้งหมด
(4) พื้นที่รองรับระบบสาธารณูปโภค
ได้แก่การสาธารณประโยชน์โดยส่วนร่วมเช่น ถนน คลอง โดยคิดเป็นพื้นที่ทั้งหมด 2,328.01 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 5.39 ของพื้นที่ทั้งหมด
(5) สถาบันการศึกษา
สถาบันการศึกษาในพื้นที่ชุมชนมีทุกระดับการศึกษา ตั้งแต่อนุบาลจนถึงระดับมหาวิทยาลัย มีพื้นที่ทั้งหมด 204.90 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 0.47 ของพื้นที่ทั้งหมด
(6) สถาบันศาสนา
เช่นเดียวกับสถาบันการศึกษา กระจายอยู่ทั่วไป ตามแหล่งชุมชนในเขตพื้นที่โดยมีพื้นที่ทั้งหมด 9.30 ไร่คิดเป็นร้อยละ 0.02 ของพื้นที่ทั้งหมด (วัด, สำนักสงฆ์และศาลเจ้า)
(7) สถาบันราชการ
สถาบันราชการเป็นสถานที่ที่สำหรับให้บริการกับชุมชน โดยพื้นที่ดังกล่าวตั้งอยู่ตามแหล่งชุมชนโดยทั่วไปของพื้นที่ตามลักษณะของการตั้งถิ่นฐานชุมชน มีพื้นที่ทั้งหมด 945.92 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 2.19 ของพื้นที่ทั้งหมด
(8) พื้นที่นันทนาการและสิ่งแวดล้อม
เป็นพื้นที่เปิดโล่งทั้งหมดของเมือง รวมถึงพื้นที่ที่เป็นริมคลองสาธารณะหลักของเมืองด้วย ทั้งนี้เทศบาลเมืองคอหงส์เป็นชุมชนที่มีลักษณะทางกายภาพเป็นเขา ดังนั้นพื้นที่ที่ควรรักษาเพื่อสิ่งแวดล้อมจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง มีพื้นที่ทั้งหมด 1,357.11 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 3.14 ของพื้นที่ทั้งหมด
(9) พื้นที่เกษตรกรรม *
พื้นที่เกษตรกรรมในเขตเทศบาลเมืองคอหงส์ มีพื้นที่รวม 2,736 ไร่โดยจำแนกตามประเภทของการเกษตรกรรม ได้แก่
1. พื้นที่ปลูกไม้ผล มีพื้นที่จำนวน101ไร่
2. พื้นที่ปลูกยางพารา มีพื้นที่จำนวน2,612ไร่
3. พื้นที่ปลูกพืชผัก มีพื้นที่จำนวน10ไร่
4. พื้นที่ปลูกไม้ดอกมีพื้นที่จำนวน13ไร่

2. การใช้ประโยชน์อาคาร
ลักษณะการใช้ประโยชน์อาคารในพื้นที่ต่างๆ ของเทศบาลเมืองคอหงส์ ซึ่งสภาพการใช้ประโยชน์อาคารในพื้นที่มีดังนี้
(1) ที่อยู่อาศัย
การใช้ประโยชน์อาคารประเภทที่อยู่อาศัยในพื้นที่เทศบาลเมืองคอหงส์ ถือได้ว่าเป็นการใช้ประโยชน์อาคารเพื่อการอยู่อาศัยเป็นหลัก เมื่อเทียบกับการใช้ประโยชน์อาคารประเภทอื่นๆ โดยมีพื้นที่ทั้งหมด 907,892.67 ตร.ม. คิดเป็นร้อยละ 62.22 ของการใช้ประโยชน์อาคารทุกประเภท
(2) พาณิชยกรรม
กระจายอยู่ทั่วไปตามแหล่งชุมชนต่างๆ ในเขตพื้นที่โดยมีพื้นทีทั้งหมด 56,191.18 ตร.ม. คิดเป็นร้อยละ 3.85 ของพื้นที่ทั้งหมด
(3) การใช้ประโยชน์แบบผสม
เป็นรูปแบบของการใช้อาคารที่มีอยู่ทุกชุมชนของเทศบาล ทั้งเป็นการใช้อาคารเพื่อการพาณิชย์และพักอาศัย โดยลักษณะจะเป็นอาคารพาณิชยกรรม ชั้นล่างเพื่อการค้าขาย ส่วนชั้นบนเพื่อพักอาศัย มีพื้นที่ทั้งหมด 20,540.63 ตร.ม.
(4) อุตสาหกรรม
อยู่ทางด้านทิศใต้ของเทศบาลเมืองคอหงส์ เชื่อมต่อกับอำเภอนาหม่อมและเทศบาลเมืองบ้านพรุ มีการใช้ประโยชน์อาคาร 110,076.45 ตร.ม. คิดเป็นร้อยละ 7.54 ของพื้นที่อาคารทั้งหมด
3. การขยายตัวของชุมชนเมือง
เนื่องจากพื้นที่เทศบาลเมืองคอหงส์เป็นพื้นที่รองรับการขยายตัวการพัฒนาทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และการปกครอง ประชาชนที่เพิ่มขึ้นจากการขยายตัวของเมืองหาดใหญ่ส่งผลกระทบที่ตามมา เช่น ปริมาณความต้องการพื้นที่บริการด้านการขนส่งไม่ว่าจะเป็นร้านซ่อมรถ โกดังเก็บสินค้า ขยะ น้ำเสีย มีปริมาณเพิ่มมากขึ้น และปัจจุบันเทศบาลฯ ยังไม่มีพื้นที่บ่อกำจัดขยะและบ่อบำบัดน้ำเสียของตนเอง
* (ฝ่ายส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ : กองสวัสดิการสังคม, 2559)

4. สภาพอาคารและสถาปัตยกรรม
จุดเด่นและเอกลักษณ์ที่ดีงามของอาคาร สิ่งปลูกสร้างและองค์ประกอบถนนและรูปแบบของอาคารโดยรวมนั้นไม่มีรูปแบบทาง สถาปัตยกรรมดูได้จากอาคารบ้านเรือนที่ยังคงเหลืออยู่ซึ่งมีไม่มาก สภาพอาคารโดยรวมนั้นมีสภาพอาคารอยู่ในสภาพใช้งานได้ปานกลาง รูปแบบโครงสร้างของอาคารแบ่งเป็น 3 ลักษณะ คือ
4.1 อาคารโครงสร้างประเภทตึก
4.2 อาคารโครงสร้างประเภทครึ่งตึกครึ่งไม้
4.3 อาคารโครงสร้างประเภทไม่ถาวร
5. ลักษณะย่านกิจกรรมในชุมชน
1. กิจกรรมย่านพื้นที่พักอาศัย
พื้นที่ที่เป็นลักษณะย่านกิจกรรมพักอาศัยในพื้นที่ชุมชนเทศบาลเมืองคอหงส์ประกอบด้วยย่านพักอาศัยที่เป็นกลุ่มพักอาศัยดั้งเดิม ที่มีการก่อตั้งชุมชนควบคู่กับการพัฒนาชุมชนเมืองหาดใหญ่ รวมทั้งพื้นที่พักอาศัยบางบริเวณที่เป็นพื้นที่ชุมชนขยายตัว รองรับกลุ่มแรงงานระดับกลางและระดับล่าง เช่น
- พื้นที่ชุมชนย่านพักอาศัยบริเวณ บ้านคลองเตย เป็นกลุ่มชุมชนที่กำลังเกิดการขยายตัวรองรับแรงงานส่วนที่ทำงานในพื้นที่และชุมชนเมืองหาดใหญ่ ลักษณะการก่อสร้างอาคารที่เพิ่มจากอาคารบ้านเดี่ยวที่มีอยู่เดิมจะเน้นที่อาคารบ้านแถวชั้นเดียวรวมอยู่ด้วย
- พื้นที่ชุมชนพักอาศัยบริเวณ บ้านทุ่งรี ปัจจุบันสภาพชุมชนพักอาศัยบริเวณดังกล่าว ถือเป็นชุมชนที่มีความหนาแน่นของกิจกรรมพอสมควรเนื่องจากเป็นพื้นที่รองรับ การพักอาศัยของประชาชนระดับแรงงานและรองรับนักศึกษาของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสถาบันการศึกษาอื่น ๆ ดังนั้นสภาพกลุ่มอาคารจึงเป็นกลุ่มอาคารที่พักอาศัยมีหลายขนาด
- พื้นที่ชุมชนบริเวณ บ้านคลองหวะ เป็นชุมชนที่มีลักษณะเป็นย่านพักอาศัยที่ประกอบด้วยอาคารบ้านเดี่ยวเป็นหลัก แต่ปัจจุบันเริ่มมีกลุ่มอาคารห้องแถวรองรับแรงงานระดับกลางเพิ่มขึ้นบางส่วน
- พื้นที่ชุมชนพักอาศัยที่เกิดขึ้นใหม่ในลักษณะหมู่บ้านจัดสรร รองรับกลุ่มแรงงานระดับสูง ซึ่งกำลังขยายตัวในพื้นที่บริเวณเชิงเขาของชุมชน บ้านในไร่บางส่วน และบ้านทุ่งโดน ลักษณะอาคารเป็นกลุ่มบ้านเดี่ยวเป็นส่วนใหญ่ แต่สภาพที่ตั้งที่บางส่วนตั้งอยู่บริเวณเชิงเขา
2. กิจกรรมย่านพาณิชยกรรม
พื้นที่ที่เป็นลักษณะย่านกิจกรรมพาณิชยกรรมในพื้นที่เทศบาลเมืองคอหงส์ ส่วนใหญ่เป็นกิจกรรมพาณิชยกรรมบริการ ชุมชนพักอาศัยในพื้นที่ส่วนต่างๆ ลักษณะจะเป็นร้านค้าขนาดย่อม เช่น
- พื้นที่บริเวณชุมชนบ้านทุ่งรี โดยเฉพาะส่วนที่ติดกับมหาวิทยาลัย กลุ่มกิจกรรมพาณิชยกรรมจะมีความเข้มแข็งมากกว่าบริเวณอื่น เนื่องจากกลุ่มผู้ใช้พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มนักศึกษาที่มีที่พักอยู่ในบริเวณดังกล่าว ซึ่งการบริการจะเน้นที่ร้านอาหาร เครื่องดื่ม ร้านถ่ายเอกสารและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการเรียน เป็นต้น
- พื้นที่ย่านพาณิชยกรรมบริเวณ บ้านเกาะหมี ซึ่งเป็นบริเวณตลาดสดและตลาดนัดตามช่วงเวลา และยังมีร้านค้าบางส่วนที่เปิดบริการชุมชน
- ย่านพาณิชยกรรมบริเวณริมถนนสายหลัก (ทางหลวงแผ่นดินสาย 407) ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นของเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ ถือได้ว่ามีอิทธิพลต่อพื้นที่เทศบาลเมืองคอหงส์ เนื่องจากเป็นพื้นที่ต่อเนื่อง ลักษณะกิจกรรมส่วนใหญ่เป็นกิจกรรมบริการชุมชนและการสัญจรไปมาของคนเดินทาง
3. กิจกรรมย่านราชการและสถาบันการศึกษา
กิจกรรมย่านราชการและสถาบันการศึกษาในพื้นที่เทศบาลเมืองคอหงส์ ถือเป็นย่านที่มีความสำคัญต่อแนวทางการขยายตัวเมืองเป็นอย่างมาก กิจกรรมด้านสถาบันการศึกษาที่สำคัญในพื้นที่ ได้แก่ สถาบันการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย (มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, มหาวิทยาลัยหาดใหญ่, วิทยาลัยเทคนิคหาดใหญ่)

4. กิจกรรมย่านอุตสาหกรรม
ลักษณะพื้นที่กิจกรรมอุตสาหกรรมในพื้นที่ยังไม่มีการกระจายตัว ส่วนใหญ่จะเกาะกลุ่มตั้งอยู่บริเวณพื้นที่รับถนนทางหลวงแผ่นดินสาย 43 ซึ่งเป็นเส้นทางสำคัญเชื่อมต่อไปสู่พื้นที่จังหวัดปัตตานี ที่เป็นที่ตั้งของนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ กิจกรรมของโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่ส่วนใหญ่ จะเป็นโรงงานที่กิจการเกี่ยวกับการแปรรูปอาหารต่างๆ

2. สภาพสังคม
กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ในเขตพื้นที่เทศบาลเมืองคอหงส์
ตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ อาทิเช่น กิจการที่เกี่ยวกับปศุสัตว์ กิจการที่เกี่ยวกับสัตว์และผลิตภัณฑ์ กิจการที่เกี่ยวกับอาหาร กิจการที่เกี่ยวกับยาเวชภัณฑ์ เครื่องสำอาง กิจการเกี่ยวกับการเกษตร กิจการที่เกี่ยวกับโลหะ กิจการที่เกี่ยวกับเครื่องยนต์ กิจการที่เกี่ยวกับไม้ กิจการที่เกี่ยวกับการบริการ กิจการที่เกี่ยวกับสิ่งทอ กิจการที่เกี่ยวกับหิน ดิน ซีเมนต์ กิจการที่เกี่ยวกับปิโตรเลียม ถ่านหิน สารเคมี กิจการอื่นๆ เช่น พิมพ์หนังสือ สะสมของเก่า ซ่อมอิเลคทรอนิกส์ การพิมพ์แบบ พิมพ์เขียว ฯลฯ จะต้องมีการขออนุญาตเพื่อประกอบกิจการ โดยในพื้นที่เทศบาลเมืองคอหงส์มีกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพในประเภทต่างๆ ตาม พรบ.การสาธารณสุขฯ จำนวนดังนี้
-กิจการตาม พรบ.การสาธารณสุขฯ (ไม่รวมร้านเสริมสวย)จำนวน 410 ราย
-กิจการตาม พรบ.การสาธารณสุขฯ เฉพาะกิจการร้านเสริมสวย จำนวน 95 ราย

สถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร
-จำหน่ายอาหาร (พื้นที่ไม่เกิน 200 ตร.ม.) จำนวน 147 ราย
-สะสมอาหาร (พื้นที่ไม่เกิน 200 ตร.ม.) จำนวน 119 ราย

ชมรมผู้ประกอบการร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหาร
-ศรีตรัง 32 ราย
-โรงช้าง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 30 ราย
-ทุ่งรี-โคกวัด 24 ราย
-คลองหวะ 22 ราย
-ปุณณกัณฑ์ 21 ราย
-คลองเตย 21 ราย
-ค่ายเสนาณรงค์ 19 ราย
-โชติวัฒน์ 11 ราย
-มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ 10 ราย
-คณะพยาบาล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 8 ราย
-คองหงส์ 5 ราย

ร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหารที่ขึ้นทะเบียน 150 ราย
ร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหารที่ได้รับป้าย27 ราย
Clean Food Good Taste (CFGT)

ตลาดสดในเขตพื้นที่เทศบาลเมืองคอหงส์
ในเขตเทศบาลเมืองคอหงส์ มีตลาดสดจำนวน 4 แห่ง ได้แก่...
1. ตลาดเกาะหมี
2. ตลาดเกษตร มอ.
3. ตลาดคลองเตย
4. ตลาดนัดคลอง ร.5 (บริษัท ฮาร์โมนิค จำกัด)
โดยมีตลาดที่เป็นตลาดสดน่าซื้อจำนวน 1 แห่ง คือ ตลาดเกษตร มอ.
ระบบกำจัดขยะและปริมาณขยะมูลฝอย
เทศบาลเมืองคอหงส์มีปริมาณขยะที่จัดเก็บได้เฉลี่ยวันละ 45 ตัน/วัน โดยเทศบาลมีการจัดเก็บขยะมูลฝอยครอบคลุมทุกพื้นที่ทั้ง 30 ชุมชน โดยเฉลี่ย 7 ครั้งต่อสัปดาห์ต่อชุมชน ทั้งนี้ ปัจจุบันเทศบาลยังไม่มีพื้นที่สำหรับทิ้งและเผาขยะเป็นของตนเอง
อย่างไรก็ตาม การดำเนินการจัดการขยะจะมีการขนย้ายขยะเพื่อนำออกไปกำจัด โดยเทศบาลมีพาหนะสำหรับการจัดการขยะ ดังนี้
1. รถบรรทุกขยะ 6 ล้อ คอนเทนเนอร์ จำนวน 2 คัน
(ขนาดความจุ 10 ลูกบาศก์เมตร)
2. รถบรรทุกขยะ 6 ล้อ แบบอัดท้ายจำนวน 11 คัน
(ขนาดความจุ 10 ลูกบาศก์เมตร)
3. รถบรรทุกขยะ 6 ล้อเล็ก แบบอัดท้าย จำนวน 1 คัน
(ขนาดความจุ 5 ลูกบาศก์เมตร)
4. รถบรรทุกขยะ 4 ล้อ เปิดข้าง-เทท้าย จำนวน 2 คัน
(ขนาดความจุ 5 ลูกบาศก์เมตร)
5. รถจักรยานยนต์ประกอบพ่วง จำนวน 16 คัน
(ขนาดความจุ 2 ลูกบาศก์เมตร)

กิจกรรมทางด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม มีดังนี้
• กิจกรรมการพัฒนาความสะอาดและปรับปรุงสภาพแวดล้อมครอบคลุมพื้นที่ทั้ง 30 ชุมชน
• กิจกรรมส่งเสริมการลดปริมาณและการคัดแยกขยะมูลฝอย จัดขึ้นปีละ 3 กิจกรรม ได้แก่
- กิจกรรมที่ 1 : การทอดผ้าป่าขยะรีไซเคิล
- กิจกรรมที่ 2 : กิจกรรมขยะแลกไข่
- กิจกรรมที่ 3 : ประชาคมด้านการจัดการขยะ
• กิจกรรมวันรักษ์เขาคอหงส์ จัดขึ้นปีละ 1 ครั้ง
พื้นที่สีเขียวในเขตเทศบาลเมืองคอหงส์
ปัจจุบันเทศบาลเมืองคอหงส์มีพื้นที่สีเขียวเพื่อการบริการ จำนวน 1 แห่ง คือ บึงโล๊ะส้าน โดยมีขนาดพื้นที่คิดเป็น 3,718 ม.2

3. ระบบบริการพื้นฐาน
3.1 การคมนาคมขนส่ง (ทางบก, ทางน้ำ, ทางราง, ฯลฯ)
ถนน สะพาน ทางระบายน้ำ
เทศบาลเมืองคอหงส์เป็นชุมชนชานเมืองขนาดใหญ่ มีถนนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 43 (สายจะนะ-หาดใหญ่) และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 407 (ถนนกาญจนวนิช) เป็นเส้นทางหลัก นอกจากนี้ยังมีถนนสายรองและระบบสาธารณูปการอื่นๆ ดังนี้
1) ถนนทางหลวงท้องถิ่น ถนนภายในเขตเทศบาล รวมทั้งถนนที่สร้างเพิ่มในปีงบประมาณที่ผ่านมา มีจำนวน 462 สาย ประกอบด้วย ถนนสายหลักจำนวน 27 สาย และถนนสายรองจำนวน 435 สาย ได้แก่...
1.1 ถนน ค.ส.ล.
1.2 ถนนแอสฟัลท์ติก
1.3 ถนนหินคลุก
1.4 ถนนลูกรัง
โดยจำนวนถนนที่ได้รับการลงทะเบียนเป็นทางหลวงท้องถิ่นแล้วนั้น มีจำนวน 74 สาย

2) ทางหลวงขององค์การบริหารส่วนจังหวัดจำนวน 4 สาย ได้แก่
2.1 ถนนปุณณกัณฑ์
2.2 ถนนพลพิชัย–บ้านพรุ
2.3 ถนนบ้านปลักธง–ควนจง
2.4 ถนนบ้านในไร่-ควนจง
จากการก่อสร้างถนนทางหลวงชนบทและถนนทางหลวงท้องถิ่น ตลอดจนทางหลวงขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ซึ่งได้ครอบคลุมไปถึง 80% ของถนนทั้งหมดที่อยู่ในเขตเทศบาล

3) สะพาน จำนวน 20 แห่ง ได้แก่
3.1 สะพานถนนซอย 16 (บ้านคลองเตย)
3.2 สะพานข้ามคลอง ร.5 ปลายซอย 6 กาญจนวนิช (บ้านคอหงส์)
3.3 สะพานถนน ซ.5(บ้านทุ่งรี)
3.4 สะพานถนนซอยไชยประภาอุทิศ (บ้านทุ่งรี)
3.5 สะพานข้ามคลอง ร.5 หมู่บ้านปริญญา (บ้านคลองเปล)
3.6 สะพานถนนรพช. 4119 (บ้านคลองเปล)
3.7 สะพานถนนกาญจนวนิช (บ้านคลองเปล)
3.8 สะพานถนนพลพิชัย–บ้านพรุ (บ้านคลองหวะ)
3.9 สะพานถนนกาญจนวนิช (บ้านคลองหวะ)
3.10 สะพานถนนประชาอุทิศ (บ้านคลองหวะ)
3.11 สะพานถนนทุ่งรี–โคกวัด (บ้านทุ่งโดน)
3.12 สะพานถนนปุณณกัณฑ์–ทุ่งโดน (บ้านทุ่งโดน)
3.13 สะพานซอย 13 ปุณณกัณฑ์–ทุ่งโดน (บ้านทุ่งโดน)
3.14 สะพานซอย 1/2 โคกวัด–ทุ่งรี (บ้านทุ่งโดน)
3.15 สะพานถนนรพช. 11117 (บ้านปลักธง)
3.16 สะพานถนนเอียดอุทิศ (บ้านปลักธง)
3.17 สะพานถนนถวิลบูรณะ (บ้านปลักธง)
3.18 สะพานถนนบ้านในไร่ (บ้านในไร่)
3.19 สะพาน ซอย 1/1 (บ้านในไร่)
3.20 สะพานถนนซอย 13 ปุณณกัณฑ์–บ้านในไร่(บ้านในไร่)

4) คลองระบายน้ำ จำนวน 5 สาย ได้แก่
4.1 คลองระบายน้ำ 5
4.2 คลองระบายน้ำ 6
4.3 คลองแม่เรียน
4.4 คลองหวะ
4.5 คลองอู่ตะเภา

5) รางระบายน้ำ มีจำนวน 445 สาย ซึ่งอยู่ในเขตเทศบาลเมืองคอหงส์ โดยปัจจุบันเป็นรางระบายน้ำที่มีฝาปิดจำนวน 387 สาย

การระบายน้ำและพื้นที่ที่มีปัญหาเสี่ยงภัย
กรมชลประทานได้สร้างคลองตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จำนวน 2 แห่ง ได้แก่...
1. คลอง ร.5 อยู่บริเวณชุมชนบ้านคลองเตย ชุมชนบ้านคอหงส์ และชุมชนบ้านคลองเปล
2. คลอง ร.6 อยู่บริเวณชุมชนบ้านปลักธง

สำหรับท่อขนส่งน้ำ เทศบาลเมืองคอหงส์มีการออกแบบพร้อมทั้งตั้งงบประมาณ เพื่อก่อสร้างท่อขนส่งน้ำ (จนถึงปี พ.ศ. 2556) โดยได้ดำเนินการก่อสร้างท่อขนส่งน้ำแล้ว รวมความยาว 12,380 ม. ยังคงเหลือท่อขนส่งน้ำที่ออกแบบไว้และยังไม่ดำเนินการก่อสร้างอีก 14,404 ม.
- ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
1. น้ำ*
- คลองระบายน้ำที่ 5
เป็นคลองระบายน้ำจากบริเวณสามแยกคอหงส์ ออกทะเลสาบสงขลา ผ่านคลองระบายน้ำร.4 และ ร.3 ตามลำดับ ความยาว 2,660 กิโลเมตร สามารถระบายน้ำได้ 30 ลูกบาศก์เมตร/วินาที
- คลองระบายน้ำที่ 6
เป็นคลองผันน้ำจากคลองเรียนและแก้มลิงของเทศบาลนครหาดใหญ่ ไปลงคลองหวะ เพื่อระบายน้ำลงสู่ทะเลสาบสงขลา ผ่านคลองระบายน้ำที่ 1 ช่วยบรรเทาอุทกภัยพื้นที่ตอนล่างของคลองเรียน ความยาว 3,160 กิโลเมตร สามารถระบายน้ำได้ 50 ลูกบาศก์เมตร/วินาที
- คลองหวะ
เป็นคลองธรรมชาติ ที่มาต้นน้ำมาจากอำเภอนาหม่อม ไหล่ผ่านพื้นที่หมู่ 7 และหมู่ 5 ของตำบลคอหงส์ ลงสู่คลองอู่ตะเภาบริเวณข้างมหาวิทยาลัยหาดใหญ่ มีพื้นที่รับน้ำประมาณ 124.9 ตารางกิโลเมตร
คลองเรียน
เป็นลำน้ำขนาดเล็ก พื้นที่รับน้ำประมาณ 34.2 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 1.6% ของพื้นที่รับน้ำฝน ไหลเข้าตัวเมืองหาดใหญ่ น้ำไหลจากทางทิศตะวันออกไปทางทิศตะวันตก บรรจบกับคลองเตยทางตอนใต้ของเมือง แล้วรวมกันเป็นคลองเตยไหลผ่านเมืองและรวมกับคลองอู่ตะเภาอีกครั้ง ก่อนไหลลงสู่ทะเลสาบสงขลา
2 ป่าไม้และภูเขา
- ป่าเขาคอหงส์
เขาคอหงส์ ตั้งอยู่ในเขตอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคอหงส์และตำบลทุ่งใหญ่ ทอดตัวในแนวเหนือ–ใต้ มีความยาวตามแนวสันเขาจากเหนือสุดบริเวณบ้านเกาะหมีถึงใต้สุดติดถนนปุณณกัณฑ์ บริเวณอ่างเก็บน้ำแก้มลิง ประมาณ 6.75 กิโลเมตร ส่วนที่กว้างที่สุดจากบริเวณทิศเหนือของอ่างเก็บน้ำภายในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ไปทางตะวันออกที่บ้านทุ่งงายประมาณ 3.5 กิโลเมตร ยอดที่สูงที่สุด เรียกว่า “เขาคอหงส์” สูงประมาณ 375 กิโลเมตร
เขาคอหงส์ มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 7,577.60 ไร่ (คำนวณจากระดับ 50 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลขึ้นไป ซึ่งเป็นระดับที่เมืองหาดใหญ่ขยายไปถึง) โดยจำแนกเป็นพื้นที่ป่าทดแทน 2,824.88 ไร่ ป่าดั้งเดิม 1,548.26 ไร่ สวนยางพารา 2,757.35 ไร่ เขตอาคารสถานที่ 104.82 ไร่ และพื้นที่เปิดโล่ง 342.29 ไร่
ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดผ่านเขาคอหงส์ในช่วงเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนมกราคม ส่วนลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ พัดผ่านในช่วงกลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม ส่งผลให้มีฤดูกาล 2 ฤดู คือ ฤดูร้อน (กุมภาพันธ์–กรกฎาคม) และฤดูฝน (สิงหาคม–มกราคม) อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 28.6 ºc และปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยในรอบปี 2,118 มิลลิเมตร ฝนตกมากที่สุดในเดือนตุลาคม–ธันวาคม
ป่าบริเวณเขาคอหงส์ มีลักษณะผสมระหว่างป่าดิบแล้งกับป่าดิบชื้น พรรณไม้หลากหลายชนิดเป็นไม้ผลัดใบ ที่มีคุณค่าทางอ้อมต่อนิเวศวิทยาของโลกอย่างประเมินค่าไม่ได้
เขาคอหงส์ เป็นผืนป่าขนาดใหญ่ผืนสุดท้ายที่อยู่ใกล้กับนครหาดใหญ่ที่สุด เป็นแหล่งบริการทางนิเวศวิทยาที่สำคัญของชุมชน โดยรอบแนวเขาที่มีความสูงไม่ถึง 400 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลนี้ เป็นต้นน้ำที่สำคัญและขาดไม่ได้ของเมืองหาดใหญ่ ทำหน้าที่หล่อเลี้ยงชีวิตของผู้คนราวสองแสนคน ตลอดเส้นทางที่สายน้ำไหลผ่านทั้งชุมชนในเขตคอหงส์ คลองแห ทุ่งใหญ่ หาดใหญ่ น้ำน้อย และชุมชนเล็กๆ ใกล้เคียงภูเขาและผืนป่า ช่วยกักน้ำฝนเก็บความชื้นก่อนจะปลดปล่อยหยดน้ำลงสู่ลำธารและน้ำตก แล้วรวมกันเป็นลำคลองหลายสายที่สำคัญ ทั้งในด้านการบริโภคและเกษตรกรรม เช่น คลองเรียน คลองเตย และคลองสายย่อยที่ไหลลงสู่คลองอู่ตะเภาและน้ำจากเขาคอหงส์บางส่วนยังไหลไปรวมกับคลองแห
นอกจากนี้ หน่วยงานที่ตั้งอยู่โดยรอบเขาคอหงส์ ยังกักเก็บน้ำเพื่อใช้ประโยชน์ เช่น ค่ายเสนาณรงค์และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และที่สำคัญป่าที่สมบูรณ์บนเขาคอหงส์ ยังช่วยชะลอความเร็วของน้ำในฤดูฝน ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดน้ำท่วมฉับพลัน และลดความเสี่ยงการเกิดภัยแล้งอีกด้วย
หลักการและเหตุผล
ขยะนับเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีความสำคัญและต้องการความร่วมมือร่วมใจของทุกฝ่ายและทุกหน่วยงานในการร่วมกันรณรงค์เพื่อลดภาระให้กับสังคมและโลก มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยในส่วนภูมิภาค ภาคใต้ มีนโยบายหลักและกำหนดยุทธศาสตร์ที่จะแก้ปัญหาและพัฒนาสังคมด้วยงานวิชาการในลักษณะบูรณาการศาสตร์ที่ชุมชนมีส่วนร่วมในการกำหนดโจทย์/ปัญหาเพื่อนำไปสู่การแก้ไปสู่การแก้ปัญหาชุมชนอย่างแท้จริง สร้างความเข้มแข็งและยั่งยืนให้กับชุมชนโดยยึดหลัก เข้าใจ เข้าถึงและพัฒนาจึงกำหนดจัดกิจกรรมเพื่อความรับผิดชอบต่อสังคมส่วนรวมในการลดภาระปริมาณขยะต่อชุมชนในเขตเทศบาลเมืองคอหงส์ โดยจะพัฒนาเป็นชุมชนต้นแบบด้านสิ่งแวดล้อมให้เป็นตัวอย่างแก่หน่วยงานต่างๆ ต่อไป
- เทศบาลเมืองคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา พื้นที่ตั้งอยู่บริบทรอบๆ มหาวิทยาลัยสงขลา นครินทร์ มีพื้นที่ 34.57 ตารางกิโลเมตร มีประชากรทั้งสิ้น 45,353 คน และเป็นเขตที่มีประชากรหนาแน่น โดยเฉลี่ย 1,300 คนต่อตารางกิโลเมตร และยังมีประชากรแฝงอีก ประชากรแฝงส่วนหนึ่งเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ด้วย และมีแนวโน้มว่าเทศบาลเมืองคอหงส์จะมีประชากรเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สาเหตุจากการขยายเมือง มีโครงการบ้านจัดสรรที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเป็นสาเหตุส่งผลให้มีปริมาณขยะที่เกิดจากบ้านพักที่อยู่อาศัย หอพัก ร้านค้าและร้านอาหารเพิ่มมากขึ้น ทำให้เกิดปัญหาการจัดเก็บขยะไม่ว่าจะเป็นจำนวนเจ้าหน้าที่จัดเก็บรถเก็บขยะสถานที่ทิ้งขยะและวิธีการทำลายขยะในเบื้องต้นเทศบาล คอหงส์ก็มีแผนการจัดการอยู่ด้วยแล้ว
- อย่างไรก็ตามเพื่อให้เกิดการพัฒนารูปแบบการจัดการขยะภายในเขตเทศบาลเมืองคอหงส์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จึงมีความประสงค์จะเข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนาให้เทศบาลเมืองคอหงส์เป็นเทศบาลต้นแบบด้านสิ่งแวดล้อม“เทศบาลสีเขียว” ให้มีความยั่งยืน ครบวงจรและเกิดประสิทธิภาพสูงสุดโดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์จะนำทฤษฏี ด้าน 3Rs มาประยุกต์ใช้ได้แก่ Reduce - ลดการใช้,Reuse - ใช้ซ้ำ,Recycle - นำมาใช้ใหม่ให้เข้ากับระบบบริหารจัดการขยะมูลฝอยของเทศบาลเมืองคอหงส์ โดยเป้าหมายสูงสุดของการดำเนินงาน 3Rs ได้แก่ การส่งเสริมให้มีการลด คัดแยกและใช้ประโยชน์จากขยะมูลฝอยให้ได้มากที่สุดก่อนการกำจัดทิ้งในขั้นสุดท้าย ได้แก่ ลดการเกิดขยะมูลฝอย (Waste Reduction) มีการคัดแยกและการนำขยะมูลฝอยมาใช้ประโยชน์ (Waste Recovery) ให้เพิ่มมากขึ้น ในแต่ละรูปแบบ เช่น การคัดแยกและนำกลับคืนขยะรีไซเคิล (Material Recovery) ในชุมชน การใช้ประโยชน์วัสดุรีไซเคิลแต่ละประเภท ในรูปแบบการใช้ซ้ำ (Reuse) และการแปรรูปใหม่ (Recycle) รวมทั้งการใช้ประโยชน์ขยะอินทรีย์ (Biodegradable Recovery) ในรูปแบบของปุ๋ยหมัก(Composting) และก๊าซชีวภาพ (Biogas) และการใช้ประโยชน์ขยะด้านพลังงาน (Energy Recovery) ของเศษวัสดุเหลือใช้อื่นๆ ซึ่งในการดำเนินโครงการนี้จำเป็นต้องได้รับความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยและทุกชุมชนในเขตพื้นที่เทศบาลเมืองคอหงส์ในการที่จะสร้างความเข้าใจและถ่ายทอดองค์ความรู้ ตลอดจนการกำหนดแนวทางร่วมกันสร้าง “ต้นแบบ”เพื่อให้เทศบาลเมืองคอหงส์เกิดระบบการจัดการขยะอย่างมีประสิทธิภาพและมีสภาพแวดล้อมที่ดีนำไปสู่การเป็น “เทศบาลสีเขียว” ที่ยั่งยืนต่อไป

สรุปปัญหาและสาเหตุ การจัดการขยะมูลฝอยชุมชน โดย กรมควบคุมมลพิษ
1. การขาดแคลนที่ดินสำหรับใช้เป็นสถานที่กำจัด
2. การดำเนินการและดูแลรักษาระบบกำจัดไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร
3. ขาดบุคลากรระดับปฏิบัติที่มีความรู้ความชำนาญ
4. ข้อจำกัดด้านงบประมาณ
5. แผนการขยะมูลฝอยในระดับท้องถิ่นยังไม่มีการพิจารณาดำเนินการในลักษณะศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยรวม
6. ระเบียบและแนวทางปฏิบัติในเรื่องศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยรวมยังไม่เคยมีการกำหนดขึ้นอย่างชัดเจน
7. ยังมีการนำขยะมูลฝอยกลับมาใช้ประโยชน์น้อย
8. กฎหมายที่เกี่ยวข้องไม่เอื้ออำนวยต่อการจัดการ เช่น ระเบียบให้ท้องถิ่นลงทุนและดำเนินการจัดการขยะมูลฝอยร่วมกัน
9. ประชาชนในท้องถิ่นขาดจิตสำนึก ความเข้าใจ และทัศนคติที่มีต่อการจัดการขยะมูลฝอย
10. ประชาชนที่อยู่ในเขตพื้นที่ใกล้เคียงต่อต้านการก่อสร้างระบบกำจัดขยะมูลฝอย
มูลฝอยเป็นสิ่งของที่เหลือทิ้งจากการอุปโภค บริโภค ของมนุษย์เรา ซึ่งในอดีตนั้น การทิ้งขยะมูลฝอย โดยไม่มีการจัดการใดๆ ไม่ได้ก่อให้เกิดปัญหาต่อสังคมเท่าใดนัก เนื่องจากจำนวนประชากรยังมีน้อย และการตั้งบ้านเรือนยังไม่หนาแน่น พื้นที่ดินยังมีมากพอให้นำมูลฝอยไปทิ้งและปล่อยให้ย่อยสลายไปได้เองตามธรรมชาติ แต่เมื่อจำนวนประชากรมีมากขึ้นและมีการตั้งบ้านเรือนหนาแน่นขึ้น ปริมาณมูลฝอยก็จะเพิ่มมากขึ้นไปด้วย ในขณะที่ที่ดินที่จะรับมูลฝอยมีน้อยลง จึงจำเป็นต้องมีการจัดการกับมูลฝอยที่เกิดขึ้นให้เป็นที่เรียบร้อย

ในชุมชนที่มีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว มักจะมีปัญหาปริมาณมูลฝอยที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เกินกว่าขีดความสามารถของหน่วยงานที่รับผิดชอบ ในการเก็บและกำจัดจะดำเนินการได้ทัน ทำให้ชุมชนขาดความสะอาด และความเป็นระเบียบเรียบร้อย และยังก่อให้เกิดปัญหา อื่นๆ ตามมาอีกหลายประการ เช่น ปัญหา น้ำเสีย อากาศเสีย เป็นแหล่งเพาะพันธุ์และ แพร่กระจายของเชื้อโรค เป็นต้น ชุมชนที่มี ปัญหามูลฝอยอย่างเด่นชัดในขณะนี้ ได้แก่ ชุมชนเมืองที่มีประชากรหนาแน่น และเป็นเมือง ศูนย์กลางความเจริญหรือเป็นเมืองท่องเที่ยว เช่น กรุงเทพมหานคร เมืองเชียงใหม่ เมือง หาดใหญ่ เมืองภูเก็ต และเมืองพัทยา เป็นต้น

เทศบาลเมืองคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา พื้นที่ตั้งอยู่บริบทรอบๆ มหาวิทยาลัยสงขลา นครินทร์ มีพื้นที่ 34.57 ตารางกิโลเมตร มีประชากรทั้งสิ้น 45,353 คน และเป็นเขตที่มีประชากรหนาแน่น โดยเฉลี่ย 1,300 คนต่อตารางกิโลเมตร และยังมีประชากรแฝงอีก ประชากรแฝงส่วนหนึ่งเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ด้วย และมีแนวโน้มว่าเทศบาลเมืองคอหงส์จะมีประชากรเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สาเหตุจากการขยายเมือง มีโครงการบ้านจัดสรรที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเป็นสาเหตุส่งผลให้มีปริมาณขยะที่เกิดจากบ้านพักที่อยู่อาศัย หอพัก ร้านค้าและร้านอาหารเพิ่มมากขึ้น ทำให้เกิดปัญหาการจัดเก็บขยะไม่ว่าจะเป็นจำนวนเจ้าหน้าที่จัดเก็บรถเก็บขยะสถานที่ทิ้งขยะและวิธีการทำลายขยะในเบื้องต้นเทศบาล คอหงส์ก็มีแผนการจัดการขยะอยู่ด้วยแล้ว โดยมีการกำหนดโครงการไว้ในยุทธศาสตร์ด้านการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จำนวน 3 โครงการ ได้แก่
1. โครงการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการคัดแยกขยะ
2. โครงการสร้างการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะ
3. การจัดการขยะมูลฝอยชุมชน “จังหวัดสะอาด”

4. ประเด็นปัญหาหลัก

5. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

6. องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

ทฤษฎี 3rs
ขยะหรือมูลฝอย (Solid waste) คือ เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินค้า เศษวัตถุ ถุงพลาสติก ภาชนะที่ใส่อาหาร เถ้า มูลสัตว์ ซากสัตว์หรือสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากถนน ตลาด ที่เลี้ยงสัตว์หรือที่อื่น และหมายความรวมถึงมูลฝอยติดเชื้อ มูลฝอยที่เป็นพิษ หรืออันตรายจากชุมชนหรือครัวเรือน ยกเว้นวัสดุที่ไม่ใช้แล้วของโรงงานซึ่งมีลักษณะและคุณสมบัติที่กำหนดไว้ตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน

*กรมควบคุมมลพิษ. แนวทางและข้อกำหนดเบื้องต้น การลดและใช้ประโยชน์ขยะมูลฝอย. 1,000 เล่ม, พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: 2548.

ประเภทของขยะมูลฝอย ขยะมูลฝอย สามารถแบ่งตามลักษณะทางกายภาพของขยะได้เป็น 4 ประเภท ได้แก่

1. ขยะย่อยสลาย (Compostable waste) หรือ มูลฝอยย่อยสลาย คือ ขยะที่เน่าเสียและย่อยสลายได้เร็ว สามารถนำมาหมักทำปุ๋ยได้ เช่น เศษผัก เปลือกผลไม้ เศษอาหาร ใบไม้ เศษเนื้อสัตว์ เป็นต้น แต่จะไม่รวมถึงซากหรือเศษของพืช ผัก ผลไม้ หรือสัตว์ที่เกิดจากการทดลองในห้องปฏิบัติการ โดยที่ขยะย่อยสลายนี้เป็นขยะที่พบมากที่สุด คือ พบมากถึง 64% ของปริมาณขยะทั้งหมดในกองขยะ
2. ขยะรีไซเคิล (Recyclable waste) หรือ มูลฝอยที่ยังใช้ได้ คือ ของเสียบรรจุภัณฑ์ หรือวัสดุเหลือใช้ ซึ่งสามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ได้ เช่น แก้ว กระดาษ เศษพลาสติก กล่องเครื่องดื่มแบบ UHT กระป๋องเครื่องดื่ม เศษโลหะ อะลูมิเนียม ยางรถยนต์ เป็นต้น สำหรับขยะรีไซเคิลนี้เป็นขยะที่พบมากเป็นอันดับที่สองในกองขยะ กล่าวคือ พบประมาณ 30% ของปริมาณขยะทั้งหมดในกองขยะ
3. ขยะอันตราย (Hazardous waste) หรือ มูลฝอยอันตราย คือ ขยะที่มีองค์ประกอบหรือปนเปื้อนวัตถุอันตรายชนิดต่างๆ ซึ่งได้แก่ วัตถุระเบิด วัตถุไวไฟ วัตถุออกซิไดซ์ วัตถุมีพิษ วัตถุที่ทำให้เกิดโรค วัตถุกรรมมันตรังสี วัตถุที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม วัตถุกัดกร่อน วัตถุที่ก่อให้เกิดการระคายเคือง วัตถุอย่างอื่นไม่ว่าจะเป็นเคมีภัณฑ์หรือสิ่งอื่นใดที่อาจทำให้เกิดอันตรายแก่บุคคล สัตว์ พืช ทรัพย์สินหรือสิ่งแวดล้อม เช่น ถ่านไฟฉาย หลอดฟลูออเรสเซนต์ แบตเตอรี่โทรศัพท์เคลื่อนที่ ภาชนะบรรจุสารกำจัดศัตรูพืช กระป๋องสเปรย์บรรจุสีหรือสารเคมี เป็นต้น ขยะอันตรายนี้เป็นขยะที่มักจะพบได้น้อยที่สุด กล่าวคือ พบประมาณเพียง 3% ของปริมาณขยะทั้งหมดในกองขยะ
4. ขยะทั่วไป (General waste) หรือ มูลฝอยทั่วไป คือ ขยะประเภทอื่นนอกเหนือจากขยะย่อยสลาย ขยะรีไซเคิล และขยะอันตราย มีลักษณะที่ย่อยสลายยากและไม่คุ้มค่าสำหรับการนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ เช่น ห่อพลาสติกใส่ขนม ถุงพลาสติกบรรจุผงซักฟอก พลาสติกห่อลูกอม ซองบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ถุงพลาสติกเปื้อนเศษอาหาร โฟมเปื้อนอาหาร ฟอล์ยเปื้อนอาหาร เป็นต้น สำหรับขยะทั่วไปนี้เป็นขยะที่มีปริมาณใกล้เคียงกับขยะอันตราย กล่าวคือ จะพบประมาณ 3% ของปริมาณขยะทั้งหมดในกองขยะ
ความรู้เรื่องการลด คัดแยก และนำขยะมูลฝอยกลับมาใช้ใหม่ (Reduce Reuse and Recycle: 3Rs)

ท่านทราบหรือไม่ว่า ในปี 2550 มีปริมาณขยะมูลฝอยเกิดขึ้นในประเทศไทยสูงถึงประมาณ 14.72 ล้านตันหรือประมาณ 40,332 ตันต่อวัน* แต่มีการคัดแยกและนำขยะมูลฝอยกลับมาใช้ใหม่ โดยการนำไปใช้ซ้ำ ขายให้ซาเล้ง ร้านรับซื้อของเก่า เพื่อส่งไปแปรรูปยังโรงงานต่างๆ ประมาณ 3.25 ล้านตัน หรือประมาณร้อยละ 22 เท่านั้น ซึ่งนับว่าเป็นปริมาณที่น้อยมากเมื่อเทียบกับปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้น

* กรมควบคุมมลพิษ. รายงานสถานการณ์มลพิษของประเทศไทยปี 2550. กรุงเทพมหานคร: 2551.
ขยะมูลฝอยไปอยู่ไหน !!

การกำจัดขยะมูลฝอยในปัจจุบันองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้รับภาระนำไปกำจัดโดยวิธีฝังกลบอย่างถูกหลักสุขาภิบาลซึ่งมีเพียงร้อยละ 36 เท่านั้น* ส่วนที่เหลือมีการเทกองกลางแจ้งซึ่งจะส่งผลกระทบต่อปัญหาสิ่งแวดล้อม สุขภาพอนามัยของประชาชนในบริเวณใกล้เคียง

จากปัญหาดังกล่าวแนวคิดและแนวทางในการปฏิบัติเพื่อการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่า ก่อให้เกิดปริมาณขยะให้น้อยลง จึงมีการนำแนวทางการลด คัดแยก และนำขยะมูลฝอยกลับมาใช้ใหม่ (Reduce Reuse and Recycle: 3Rs) มาประยุกต์ใช้ โดยใช้วิธีการลดการใช้วัสดุ/ผลิตภัณฑ์เพื่อลดปริมาณขยะที่เกิดขึ้น (Reduce) มีการนำวัสดุ/ผลิตภัณฑ์ที่ยังสามารถใช้งานได้กลับมาใช้ซ้ำ (Reuse) และนำเศษวัสดุ/ผลิตภัณฑ์ที่ใช้งานแล้วมาแปรรูปเพื่อนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ (Recycle) โดยมีตัวอย่างและวิธีง่ายๆ ดังนี้

* กรมควบคุมมลพิษ. รายงานสถานการณ์มลพิษของประเทศไทยปี 2550. กรุงเทพมหานคร: 2551.

1. ลดการใช้ (Reduce) ปฏิเสธหรือหลีกเลี่ยงสิ่งของหรือบรรจุภัณฑ์ที่จะสร้างปัญหาขยะ (Refuse) และเลือกใช้สินค้าที่สามารถส่งคืนบรรจุภัณฑ์สู่ผู้ผลิตได้ (Return)
2. ใช้ซ้ำ (Reuse) ใช้ซ้ำ เป็นหนึ่งในแนวทางการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่มีอยู่อย่างรู้คุณค่า การใช้ซ้ำเป็นการที่เรานำสิ่งต่างๆ ที่ใช้งานไปแล้ว และยังสามารถใช้งานได้ กลับมาใช้อีก เป็นการลดการใช้ทรัพยากรใหม่ รวมทั้งเป็นการลดปริมาณขยะที่จะเกิดขึ้นอีกด้วย
3. รีไซเคิล (Recycle) รีไซเคิล เป็นการนำวัสดุต่างๆ อย่างเช่น กระดาษ แก้ว พลาสติก เหล็ก อะลูมิเนียม ฯลฯ มาแปรรูปโดยกรรมวิธีต่างๆ เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ ซึ่งนอกจากจะเป็นการลดปริมาณขยะมูลฝอยแล้ว ยังเป็นการลดการใช้พลังงานและลดมลพิษที่เกิดกับสิ่งแวดล้อม

ที่มา : กรมควบคุมมลพิษ

7. วัตถุประสงค์

วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างความเข้าใจและความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยและชุมชนในเขตเทศบาลเมืองคอหงส์ในการนำทฤษฏี3Rs มาประยุกต์ใช้แบบบูรณาการ สนับสนุนการลดปริมาณขยะมูลฝอยที่แหล่งกำเนิดและการเพิ่มประสิทธิภาพการนำขยะมูลฝอยกลับมาใช้ใหม่
  1. ชุมชนในเขตเทศบาลเมืองคอหงส์เข้าร่วมโครงการไม่ต่ำกว่า 15 ชุมชน ๆ ละ 10 คน รวม 150 คน
150.00 150.00
2 เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของนักศึกษา ประชาชน ครู นักเรียน ในการดูแลรักษาสภาพแวดล้อมของเทศบาลเมืองคอหงส์ โดยการจัดกิจกรรมรณรงค์ การประกวดสิ่งประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้ พัฒนารูปแบบการจัดการขยะของเทศบาลเมืองคอหงส์ ให้ครบวงจรและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

นักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เข้าร่วมโครงการ ไม่ต่ำกว่า 50 คน

50.00 50.00
3 เพื่อกระตุ้นและปลูกฝังให้เยาวชน คนรุ่นใหม่ ตระหนักที่ปัญหาขยะ ที่สงผลสิ่งแวดล้อม มีความรู้ความเข้าใจและเกิดการนำทฤษฏี 3Rs มาประยุกต์ใช้แบบบูรณาการ

ครูและนักเรียนจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียนระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา ในเขตเทศบาลเมืองคอหงส์ เข้าร่วมโครงการ ไม่ต่ำกว่า 3 แห่ง  รวม 30 คน

30.00 30.00

8. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
นักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะวิทยากรจัดการ 50
ประชาชนจาก 15 ชุมชนในเขตเทศบาลเมืองคอหงส์ 150

9. ระยะเวลา

10. วิธีดำเนินงาน

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงานโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะทำงานโครงการ
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อสร้างความเข้าใจและความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยและชุมชนในเขตเทศบาลเมืองคอหงส์ในการนำทฤษฏี3Rs มาประยุกต์ใช้แบบบูรณาการ สนับสนุนการลดปริมาณขยะมูลฝอยที่แหล่งกำเนิดและการเพิ่มประสิทธิภาพการนำขยะมูลฝอยกลับมาใช้ใหม่
  2. เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของนักศึกษา ประชาชน ครู นักเรียน ในการดูแลรักษาสภาพแวดล้อมของเทศบาลเมืองคอหงส์ โดยการจัดกิจกรรมรณรงค์ การประกวดสิ่งประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้ พัฒนารูปแบบการจัดการขยะของเทศบาลเมืองคอหงส์ ให้ครบวงจรและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
  3. เพื่อกระตุ้นและปลูกฝังให้เยาวชน คนรุ่นใหม่ ตระหนักที่ปัญหาขยะ ที่สงผลสิ่งแวดล้อม มีความรู้ความเข้าใจและเกิดการนำทฤษฏี 3Rs มาประยุกต์ใช้แบบบูรณาการ
รายละเอียดกิจกรรม
- คณะทำงานประชุมเพื่อกำหนดแผนการทำงาน กำหนดปฏิทินกิจกรรมตามแผนดำเนินงาน จำนวน 3 ครั้ง ๆ ละ 1,500 บาท รวม 4,500 บาท
เดือนมกราคม 1 ครั้ง
เดือนกุมภาพันธ์ 1 ครั้ง
เดือนมีนาคม 1 ครั้ง
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2563 ถึง 31 มีนาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
-ได้แผนและปฏิบัติการดำเนินงานที่ชัดเจน จำนวน 1 แผน
ทรัพยากรอื่น ๆ
-
ภาคีร่วมสนับสนุน
-
รายละเอียดงบประมาณ
ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
ค่าอาหาร

ค่าอาหาร ค่าเอกสาร

3 ครั้ง 1,500 1 4,500
รวมค่าใช้จ่าย 4,500

กิจกรรมที่ 2 การจัดกิจกรรมแข่งขันระหว่างชุมชน เพื่อให้แต่ละชุมชนได้คิดสิ่งประดิษฐ์ที่ทำจากเศษวัสดุเหลือใช้หรือขยะมูลฝอย

ชื่อกิจกรรม
การจัดกิจกรรมแข่งขันระหว่างชุมชน เพื่อให้แต่ละชุมชนได้คิดสิ่งประดิษฐ์ที่ทำจากเศษวัสดุเหลือใช้หรือขยะมูลฝอย
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อสร้างความเข้าใจและความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยและชุมชนในเขตเทศบาลเมืองคอหงส์ในการนำทฤษฏี3Rs มาประยุกต์ใช้แบบบูรณาการ สนับสนุนการลดปริมาณขยะมูลฝอยที่แหล่งกำเนิดและการเพิ่มประสิทธิภาพการนำขยะมูลฝอยกลับมาใช้ใหม่
  2. เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของนักศึกษา ประชาชน ครู นักเรียน ในการดูแลรักษาสภาพแวดล้อมของเทศบาลเมืองคอหงส์ โดยการจัดกิจกรรมรณรงค์ การประกวดสิ่งประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้ พัฒนารูปแบบการจัดการขยะของเทศบาลเมืองคอหงส์ ให้ครบวงจรและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
  3. เพื่อกระตุ้นและปลูกฝังให้เยาวชน คนรุ่นใหม่ ตระหนักที่ปัญหาขยะ ที่สงผลสิ่งแวดล้อม มีความรู้ความเข้าใจและเกิดการนำทฤษฏี 3Rs มาประยุกต์ใช้แบบบูรณาการ
รายละเอียดกิจกรรม
จำนวน 1 ครั้ง งบประมาณเงินรางวัล 75,000 บาท
การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ
 การจัดกิจกรรมแข่งขันระหว่างชุมชน เพื่อให้แต่ละชุมชนได้คิดสิ่งประดิษฐ์ที่ทำจากเศษวัสดุเหลือใช้หรือขยะมูลฝอย เพื่อส่งเสริมการนำกลับมาใช้ใหม่ หรือการออกแบบสินค้าและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
 มหาวิทยาลัยร่วมกับเทศบาลเมืองคอหงส์ สำรวจข้อมูลปริมาณขยะแต่ละประเภท ภายในเขตเทศบาลเมืองคอหงส์ทั้งหมด เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาเปรียบเทียบปริมาณขยะที่เกิดขึ้นก่อนและหลังการรณรงค์โครงการ เทศบาลเมืองคอหงส์ 3Rs
 จัดทำเวทีแลกเปลี่ยนความรู้ เพื่อรวบรวมข้อมูลด้านการบริหารจัดการขยะ และกิจกรรมส่งเสริมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและพลังงานจากทุกชุมชนของเทศบาลเมืองคอหงส์ นำมาศึกษาและวิเคราะห์นำไปสู่การพัฒนาให้เทศบาลเมืองคอหงส์ เป็นเทศบาลต้นแบบด้านสิ่งแวดล้อม “เทศบาลสีเขียว”

วัตถุประสงค์
- เพื่อส่งเสริมการนำกลับมาใช้ใหม่ หรือการออกแบบสินค้าและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2563 ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
- ได้สินค้า สิ่งประดิษฐ์ บรรจุภัณฑ์ ที่สามารถพัฒนาเป็นอาชีพได้ อย่างน้อย 3 ผลงาน
ทรัพยากรอื่น ๆ
-
ภาคีร่วมสนับสนุน
สถาบันการศึกษา หน่วยงานภาคเอกชน ร้านค้า ร้านอาหาร ที่ประกอบกิจการในพื้นที่
รายละเอียดงบประมาณ
ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
รางวัลเพื่อการยกย่อง

รางวัลชนะเลิศ 20,000.00 บาท รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 15,000.00 บาท รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 10,000.00 บาท รางวัลชมเชย 1 5,000.00 บาท รางวัลชมเชย 2 5,000.00 บาท รางวัลชมเชย 3 5,000.00 บาท รางวัลชมเชย 4 5,000.00 บาท รางวัลชมเชย 5 5,000.00 บาท รางวัลชมเชย 6 5,000.00 บาท 75,000.00 บาท

5 ชิ้น 15,000 1 75,000
ค่าตอบแทนวิทยากร

ค่าวัสดุโฆษณาและประชาสัมพันธ์ 10,000 บาท

1 ครั้ง 10,000 1 10,000
รวมค่าใช้จ่าย 85,000

กิจกรรมที่ 3 สำรวจข้อมูลปริมาณขยะแต่ละประเภท

ชื่อกิจกรรม
สำรวจข้อมูลปริมาณขยะแต่ละประเภท
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อสร้างความเข้าใจและความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยและชุมชนในเขตเทศบาลเมืองคอหงส์ในการนำทฤษฏี3Rs มาประยุกต์ใช้แบบบูรณาการ สนับสนุนการลดปริมาณขยะมูลฝอยที่แหล่งกำเนิดและการเพิ่มประสิทธิภาพการนำขยะมูลฝอยกลับมาใช้ใหม่
  2. เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของนักศึกษา ประชาชน ครู นักเรียน ในการดูแลรักษาสภาพแวดล้อมของเทศบาลเมืองคอหงส์ โดยการจัดกิจกรรมรณรงค์ การประกวดสิ่งประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้ พัฒนารูปแบบการจัดการขยะของเทศบาลเมืองคอหงส์ ให้ครบวงจรและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
  3. เพื่อกระตุ้นและปลูกฝังให้เยาวชน คนรุ่นใหม่ ตระหนักที่ปัญหาขยะ ที่สงผลสิ่งแวดล้อม มีความรู้ความเข้าใจและเกิดการนำทฤษฏี 3Rs มาประยุกต์ใช้แบบบูรณาการ
รายละเอียดกิจกรรม
- เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาเปรียบเทียบปริมาณขยะที่เกิดขึ้นก่อนและหลังการรณรงค์โครงการ เทศบาลเมืองคอหงส์ 3Rs
รวบรวมข้อมูลด้านการบริหารจัดการขยะ และกิจกรรมส่งเสริมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและพลังงานจากทุกชุมชนของเทศบาลเมืองคอหงส์ นำมาศึกษาและวิเคราะห์นำไปสู่การพัฒนาให้เทศบาลเมืองคอหงส์ เป็นเทศบาลต้นแบบด้านสิ่งแวดล้อม “เทศบาลสีเขียว”
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2563 ถึง 31 มีนาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
-ได้ชุดข้อมูลเปรียบเทียบปริมาณขยะก่อนและหลังการดำเนินโครงการ
ทรัพยากรอื่น ๆ
-
ภาคีร่วมสนับสนุน
กองสาธารณสุข เทศบาลเมืองคอหงส์
คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม ม.สงขลานครินทร์
รายละเอียดงบประมาณ
ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
ค่าตอบแทนวิทยากร

ค่าวัสดุเชื้อเพลิงและหล่อลื่น 5,000 บาท

1 คน 5,000 1 5,000
รวมค่าใช้จ่าย 5,000

กิจกรรมที่ 4 จัดทำเวทีแลกเปลี่ยนความรู้ 3rs

ชื่อกิจกรรม
จัดทำเวทีแลกเปลี่ยนความรู้ 3rs
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อสร้างความเข้าใจและความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยและชุมชนในเขตเทศบาลเมืองคอหงส์ในการนำทฤษฏี3Rs มาประยุกต์ใช้แบบบูรณาการ สนับสนุนการลดปริมาณขยะมูลฝอยที่แหล่งกำเนิดและการเพิ่มประสิทธิภาพการนำขยะมูลฝอยกลับมาใช้ใหม่
  2. เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของนักศึกษา ประชาชน ครู นักเรียน ในการดูแลรักษาสภาพแวดล้อมของเทศบาลเมืองคอหงส์ โดยการจัดกิจกรรมรณรงค์ การประกวดสิ่งประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้ พัฒนารูปแบบการจัดการขยะของเทศบาลเมืองคอหงส์ ให้ครบวงจรและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
  3. เพื่อกระตุ้นและปลูกฝังให้เยาวชน คนรุ่นใหม่ ตระหนักที่ปัญหาขยะ ที่สงผลสิ่งแวดล้อม มีความรู้ความเข้าใจและเกิดการนำทฤษฏี 3Rs มาประยุกต์ใช้แบบบูรณาการ
รายละเอียดกิจกรรม
จำนวน 4 ครั้ง ๆ ละ 100,000 บาท รวม 400,000 บาท
วัตถุประสงค์
1. เพื่อรวบรวมข้อมูลด้านการบริหารจัดการขยะ และกิจกรรมส่งเสริมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและพลังงานจากทุกชุมชนของเทศบาลเมืองคอหงส์ นำมาศึกษาและวิเคราะห์นำไปสู่การพัฒนาให้เทศบาลเมืองคอหงส์ เป็นเทศบาลต้นแบบด้านสิ่งแวดล้อม “เทศบาลสีเขียว”
2. การสร้างจิตสำนึกให้กับประชาชน ในการลด คัดแยก และนำขยะมูลฝอยกลับมาใช้ใหม่ การเสริมสร้างสังคมรีไซเคิล การส่งเสริมการจัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
3. เพิ่มประสิทธิภาพการลด และใช้ประโยชน์ขยะมูลฝอย การส่งเสริมการคัดแยกขยะมูลฝอยจากแหล่งกำเนิด
ระยะเวลาดำเนินงาน
22 มกราคม 2563 ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
1. ประชาชนจาก 15 ชุมชนในเขตเทศบาลเมืองคอหงส์ ไม่ต่ำกว่า 150 คน
2. นักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะวิทยากรจัดการ หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ไม่ต่ำกว่า 50 คน
3. ครูและนักเรียนจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ไม่ต่ำกว่า 3 แห่ง จำนวนรวม 30 คน
ทรัพยากรอื่น ๆ
-
ภาคีร่วมสนับสนุน
-สถาบันการศึกษาในพื้นที่ บริษัท ห้างร้าน ผู้ประกอบการ
รายละเอียดงบประมาณ
ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
ค่าตอบแทนวิทยากร

ค่าจัดทำเวทีแลกเปลี่ยนความรู้ 3rs ต่อ 1 ครั้ง 1.ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 3 คนๆ 3 ชั่วโมงๆ ละ 1,200 บาท รวม 10,800.00 บาท 2.ค่าอาหารกลางวัน 110 คน *1 มื้อ * 200 บาท รวม 22,000.00 บาท 3.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 110 * 1 มื้อ * 60 บาท รวม 6,600.00 บาท 4.ค่าสื่อ/เอกสาร/คู่มื่อ 3rs จำนวน 110 เล่มๆ ละ 100 บาท รวม 11,000.00 บาท 5.ค่าผลิตวิดีทัศน์เพื่อเผยแพร่ความรู้เรื่อง 3rs (รวมการถ่ายทำและตัดต่อ) รวม 12,000.00 บาท 6.ค่าเดินทางผู้เข้าร่วมประชุมเหมาจ่าย จำนวน 100 คนๆ ละ 200 บาท รวม 20,000.00 บาท 7.ค่าเช่าห้องประชุม รวม 5,000.00 บาท 8.ค่าวัสดุ อุปกรณ์ ในการจัดกิจกรรมรณรงค์ รวม 12,600.00 บาท

4 ครั้ง 100,000 1 400,000
ค่าตอบแทนวิทยากร

ค่าวัสดุสำนักงาน 5,500 บาท

1 ชุด 5,500 1 5,500
รวมค่าใช้จ่าย 405,500

รวมงบประมาณทุกกิจกรรมของแผนการดำเนินงาน จำนวน 500,000.00 บาท

ค่าตอบแทนค่าใช้สอยรวมเงิน
ค่าใช้จ่าย (บาท) 420,500.00 79,500.00 500,000.00
เปอร์เซ็นต์ (%) 84.10% 15.90% 100.00%

11. งบประมาณ

500,000.00บาท

12. การติดตามประเมินผล

ต่อชุมชนต่อนักศึกษา
ผลผลิต (Output) ชุมชนสามารถการลด คัดแยก และนำขยะมูลฝอยกลับมาใช้ใหม่ ด้วยแนวคิด (ReduceReuseRecycle : 3Rs) ได้อย่างเป็นรูปธรรม นักศึกษา ประชาชน ครู นักเรียน ที่เข้าร่วมโครงการ มีความรู้ความเข้าใจ แนวคิด (ReduceReuseRecycle : 3Rs) สามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง
ผลลัพธ์ (Outcome) ชุมชนเกิดจิตสำนึกการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่าที่สุด นักศึกษาเกิดจิตสำนึกการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่าที่สุด
ผลกระทบ (Impact) เทศบาลเมืองคอหงส์มีประชาชนที่อยู่ในเขตพื้นที่มีเป้าหมายการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมโดยกำหนดเป้าหมายเพื่อการคัดแยกและนำขยะมารีไซเคิลเพื่อใช้งานอีกครั้งเพื่อการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ก่อให้เกิดการประหยัดงบประมาณและพลังงานในการจัดการขยะมูลฝอยทำให้เทศบาลเมืองคอหงส์เป็นเทศบาลต้นแบบ “เทศบาลสีเขียว” นักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการตระหนักถึงความสำคัญของระบบการจัดการขยะ ปฏิบัติตามและเผยแพร่แนวคิด (ReduceReuseRecycle : 3Rs) ไปสู่บุคคลรอบข้างได้อย่างถูกต้อง
นำเข้าสู่ระบบโดย outsearchcenter outsearchcenter เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2562 09:16 น.