โครงการจิตอาสาพัฒนากลุ่มเด็กเปราะบาง ชุมชนบ้านกลาง อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก

แบบเสนอโครงการ
โครงการจิตอาสาพัฒนากลุ่มเด็กเปราะบาง ชุมชนบ้านกลาง อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก

1. ชื่อโครงการ

โครงการจิตอาสาพัฒนากลุ่มเด็กเปราะบาง ชุมชนบ้านกลาง อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลกมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามสาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามสมาคมสุขปัญญาตำบลบ้านกลาง อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลกดร.ธัญณ์ณภัทร์ เจริญพานิชสาขาวิชารัฐศาสตร์ วิทยาลัยการจัดการและพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม09463497511. นางสาวปิยฉัตร ศรีสวัสดิ์
2. นางสาวสโรชา คงเกษม
3.นางสาวอทิตยา ศรีสุข
4.นายภูมินทร์ ทองบุดดา
5.ธนวัตน์ สาดอ่ำ
6.นายบุญญฤทธิ์ พรมเสือ
7.นายอนุชา บุญถิ่น
8.นายสหรัฐ สุรีย์วงศ์
9.นางสาวกัญญาณัฐ คำยัง
10.นางสาวสุธาวัลณ์ ขุมทรัพย์

2. พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
พิษณุโลก วังทอง บ้านกลาง

3. รายละเอียดชุมชน

ชุมชนตำบลบ้านกลางเป็นชุมชนหนึ่งในอำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก ประกอบไปด้วย 27 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่1 บ้านหนองปรือ หมู่ที่ 2 บ้านกลาง หมู่ที่ 3 บ้านน้ำริม หมู่ที่4 บ้านเนินสว่าง หมู่ที่ 5 บ้านนาพราน หมู่ที่ 6 บ้านใหม่ชัยเจริญ หมู่ที่ 7 บ้านน้ำยาง หมู่ที่ 8 บ้านหินประกาย หมู่ที่9 บ้านชุมแสง หมู่ที่ 10 บ้านดำหวาย หมู่ที่ 11 บ้านใหม่พนมทอง หมู่ที่12 บ้านทุ่งเอี้ยง หมู่ที่ 13 บ้านซำทองพัฒนา หมู่ที่ 14 บ้านป่าขนุน หมู่ที่15 บ้านเขาชี หมู่ที่16 บ้านซำต้อง หมู่ที่ 17 บ้านตานม หมู่ที่ 18 บ้านทรัพย์คลองกลาง หมู่ที่ 19 บ้านนาเหนือ หมู่ที่ 20 บ้านทรัพย์สมบูรณ์ หมู่ที่ 21 บ้านสะพานสาม หมู่ที่ 22 บ้านเนินพัฒนา หมู่ที่ 23 บ้านไพรงาม หมู่ที่ 24 บ้านใหม่ชัยมงคล หมู่ที่ 25 บ้านน้ำริม 2 หมู่ที่ 26 บ้านใหม่ชำเตย หมู่ที่ 27 บ้านปลายนา ทั้งนี้จากข้อมูลพื้นฐานของกองทุนความเสมอภาคทางการศึกษาจังหวัดพิษณุโลกพบว่า มีประชากรที่เป็นเด็กและเยาวชนในช่วงอายุระหว่าง 6-21 ปี จำนวนเ 4,151 คน ในอำเภอวังทองที่ออกนอกระบบการศึกษาและไม่ได้รับโอกาสทางการศึกษาจากสภาพปัญหาความยากจน ครองครัว ร่างกายและความห่างไกลของพื้นที่ โดยในตำบลบ้านกลางเป็นชุมชนที่พบว่ามีจำนวนของเด็กที่ออกนอกระบบการศึกษาหรือกลุ่มเด็กเปราะบางมากที่สุด คือ 650 คน จากพื้นที่ชุมชน 11 ตำบล โดยจากข้อมูลพื้นฐานของกองทุนความเสมอภาคเพื่อการศึกษาพบว่าจำนวนของเด็กในชุมชนที่ต้องการศึกษาและพัฒนาตนเองในด้านการศึกษาและอาชีพยังยังมีอยู่น้อยมากเมื่อเทียบกับจำนวนที่สำรวจ คือ 94 คน หรือคิดเป็นเพียง 14.46% เท่านั้น ทำให้พื้นที่ชุมชนตำบลบ้านกลางจึงเป็นพื้นที่หนึ่งที่มีปัญหาด้านความเลื่อมล้ำทางการศึกษาและความยากจนมากที่สุดพื้นที่หนึ่งของอำเภอวังทองและจังหวัดพิษณุโลกในพื้นที่ชุมชมตำบลบ้านกลาง อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก เป็นพื้นที่หนึ่งที่มีศักยภาพในการพัฒนาทางด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ โดยเฉพาะด้านการท่องเที่ยวและการเกษตร จากการที่มีทรัพยากรทางธรรมชาติที่หลากหลาย เช่น แก่งถ้ำหมี แก่งตานม แก่งคันนา แก่งเจ็ดแคว และเป็นแหล่งปลูกมะม่วงพันธุ์โชคอนันต์ และไม้เศรษฐกิจต่างๆ เช่น สัก เป็นต้น และด้วยสภาพภูมิศาสตร์ของตำบลบ้านกลางที่เป็นที่ราบลุ่มลาดเอียงจากทิศเหนือไปทิศใต้ โดยมีคลองตานมไหลผ่านบริเวณกลางตำบลเป็นที่ราบในหุบเขา อีกทั้งยังมีแม่น้ำแควน้อยและคลองตามธรรมชาติไหลผ่านหลายสาย ทำให้คนในพื้นที่ประกอบอาชีพหลักที่หลากหลาย ได้แก่ ทำนา ทำสวน ทำไร่ ส่วนอาชีพเสริม คือ รับจ้างเเละเลี้ยงสัตว์ ดังนั้น ด้วยศักยภาพและทรัพยากรของพื้นที่ถือได้ว่าตำบลบ้านกลาง อำเภอวังทอง เป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพดี หากแต่ขาดการได้รับการศึกษาและพัฒนาในกลุ่มประชากรที่มีความเสี่ยงในพื่นที่ คือ กลุ่มเด็กเปราะบางหรือเด็กที่ออกนอกระบบการศึกษาด้วยปัจจัยต่างๆ ทางเศรษฐกิจ สังคม สุขภาพและสิ่งแแวดล้อม ทั้งนี้ ได้มีกองทุนความเสมอภาคทางการศึกษาที่ได้ลงไปทำการศึกษาในพื้นที่โดยสำรวจจำนวนกลุ่มเด็กที่ออกนอกระบบเหล่านี้ตามข้อมูลพื้นฐานข้างต้น และได้พยายามที่จัดทำแผนการช่วยเหลือเด็กออกนอกระบบการศึกษาในพื้นที่นี้ด้วยการจัดสรรงบประมาณจำนวนหนึ่งเพื่อช่วยเหลือเด็กเป็นรายกรณีที่ผ่านการคัดกรอง และประสานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและสถาบันทางการศึกษาต่างๆ เพื่อทำการช่วยเหลือและพัฒนาศักยภาพเด็กซึ่งถือเป็นแรงเสริมด้านศักยภาพและทรัพยากรในประเด็นนี้ อย่างไรก็ตาม ด้วยจำนวนเด็กที่มีจำนวนมากและการต้องใช้เวลาในการศึกษาและทำความเข้าใจความต้องการและแนวทางการพัฒนาศักยภาพของเด็กกลุ่มนี้ที่แท้จริง จึงจำเป็นต้องอาศัยบุคลากรและทรัพยากรจำนวนหนึ่งในการผลักดันส่งเสริม เพื่อเป็นปัจจัยเสริมศักยภาพและทรัพยากรอีกที โครงการจิตอาสาพัฒนากลุ่มเด็กเปราะบางชุมชนตำบลบ้านกลาง อำเภอวังทอง จึงพยายามและตั้งใจที่จะเป็นปัจจัยเสริมทางด้านนี้เพื่อช่วยเหลือกลุ่มเด็กเปราะบางที่ขาดโอกาสและประสบกับปัญหาความเลื่อมล้ำทางการศึกษาและเศรษฐกิจกลุ่มเด็กเปราะบางหรือกลุ่มเด็กที่มีความอ่อนแอ มีความสุ่มเสี่ยงสูงที่จะถูกชักจูง ครอบงำ และคุกคามจากปัจจัยเสี่ยงด้านต่างๆ เช่น วงจรชีวิต สุขภาพ สังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และภัยพิบัติทางธรรมชาติต่างๆ ตลอดจน การขาดศักยภาพในการจัดการกับปัจจัยเสี่ยงที่เผชิญอยู่และผลกระทบที่ตามมา เช่น กลุ่มเด็กที่ด้อยโอกาสทางเศรษฐกิจ ผู้ไม่มีหลักประกันสุขภาพ เด็กในครัวเรือนยากจน เด็กกำพร้า เด็กที่พิการมาตั้งแต่กำเนิด หรือพิการทางอุบัติเหตุ และครอบครัวมีปัญหา ส่งผลให้เด็กเหล่านี้ขาดโอกาสทางการศึกษาและประสบกับปัญหาความเลื่อมล้ำในทางสังคมและเศรษฐกิจ และถือเป็นประชาชนคนไทยอีกกลุ่มใหญ่กลุ่มหนึ่งที่มีความต้องการเพิ่มศักยภาพและคุณภาพในการดำเนินชีวิต
ทั้งนี้ จากข้อมูลของกองทุนความเสมอภาคทางการศึกษาพบว่า ความยากจนเป็นสาเหตุทำให้เด็กไทยมากกว่า 5 แสนคน หลุดออกนอกระบบการศึกษา และอีก 2 ล้านคน มีแนวโน้มไม่ได้เรียนต่อ และมีเยาวชนเพียง 5% จากครอบครัวยากจนอีก 20% ล่าสุดของประเทศที่มีโอกาสเรียนต่อในระดับอุดมศึกษา ซึ่งปัญหานี้เกิดจากครอบครัวของเด็กและเยาวชนกลุ่มนี้ต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาสูงมาก เมื่อเทียบกับรายได้ทั้งหมดนี้ส่งผลให้ประเทศไทยเสียโอกาสทางเศรษฐกิจสูงถึง 2 แสนล้านบาทต่อปี และเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการพัฒนาศักยภาพมนุษย์ รวมทั้ง การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านการศึกษา โดยในส่วนของจังหวัดพิษณุโลก เป็นหนึ่งจังหวัดหนึ่งที่พบว่ามีเด็กที่หลุดออกจากระบบการศึกษาเป็นจำนวนมากซึ่งมีสาเหตุมาจากความยากจนทางเศรษฐกิจ ครอบครัวมีปัญหา เด็กที่เกิดมามีความพิการหรือเกิดการพิการทางอุบัติเหตุ ทำให้เด็กเหล่านี้จึงขาดโอกาสในด้านการศึกษา เพราะเกิดความยากลำบากในการเดินทางไปศึกษา และครอบครัวขาดทุนทรัพย์ในการจ่ายค่าเทอมหรือค่าอาหารเด็ก และค่าอุปกรณ์การเรียน โดยคณะกรรมการกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาของจังหวัดพิษณุโลก ได้มีการสำรวจแบ่งตามพื้นที่การศึกษาทั้งหมดสามเขต ได้แก่ อำเภอบางระกำ อำเภอพรหมพิราม และอำเภอวังทอง และพบว่าอำเภอวังทอง มีจำนวนเด็กออกนอกระบบหรือเด็กกลุ่มเปราะบางมากที่สุด คือ4,151 คนในช่วงอายุระหว่าง 6-21 แต่ กสศ. สามารถทำการสำรวจได้เพียง 559 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2562)ทั้งนี้ ยังคงเป็นประเด็นปัญหาสำคัญอยู่ว่า กลุ่มเด็กเปราะบางเหล่านี้มีความต้องการอย่างไรและต้องการที่จะพัฒนาตนเองและได้รับการช่วยเหลือเพื่อพัฒนาศักยภาพของตนเองให้เป็นคนไทยที่มีคุณภาพ ไม่เป็นภาระต่อสังคม สามารถแสวงหาโอกาสและสามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดีชึ้นได้อย่างไร
ดังนั้น โครงการจิตอาสาพัฒนากลุ่มเด็กเปราะบาง ชุมชนบ้านกลาง อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักศึกษาเข้าไปศึกษาวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการของกลุ่มเด็กเปราะบางเหล่านี้ในชุมชน โดยสามารถประมวลผลปัญหา และประสานงาน ปฏิบัติให้ความช่วยเหลือในการยกระดับคุณภาพชีวิตของคนกลุ่มนี้ในชุมชนตำบลบ้านกลาง อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก ต่อไป
ความค้องการในปรับเปลี่ยนวิธีคิดและทัศนคติในการดำเนินชีวิต และความต้องการที่จะได้รับโอกาสในการพัฒนาตนเองและศึกษาต่อทั้งในระบบและด้านอาชีพของกลุ่มเด็กเปราะบาง ตำบลบ้านกลาง อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก

4. ประเด็นปัญหาหลัก

5. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

6. องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

การวิจัยแบบมีส่วนร่วมเชิงปฏิบัติการในพื้นที่ชุุมชนร่วมกับคนชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (participatory action research) โดยการออกแบบกระบวนการมีส่วนร่วมในชุมชน (community-based participatory process) ในการแก้ไขปัญหากลุ่มเด็กเปราะบางในชุมชน และรูปแบบของการแก้ไขปัญหาที่เป็นระบบและสามารถเป็นแนวทางหรือนโยบายแบบมีสาธารณะแบบมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหากลุ่มเด็กเปราะบางให้กับในพื้นที่และขยายต่อกับชุมชนอื่นๆ ได้

7. วัตถุประสงค์

วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อศึกษาความต้องการและแรงจูงใจของกลุ่มเด็กเปราะบางในพื้นที่ชุมชนตำบลบ้านกลาง อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก

เด็กเปราะบางได้รับการศึกษาด้านความต้องการและแรงจูงใจอย่างน้อยร้อยละ 80 ของกลุ่มเด็กเปราะบางทั้งหมดที่สำรวจได้

80.00 80.00
2 เพื่อพัฒนาแนวทางการช่วยเหลือและพัฒนากลุ่มเด็กเปราะบางได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

ร้อยละของกลุ่มเด็กเปราะบางในชุมชนได้รับการช่วยเหลือและพัฒนาร้อยละ 80

80.00 80.00

8. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
กลุ่มเด็กเปราะบางในชุมชนบ้านกลาง 150

9. ระยะเวลา

10. วิธีดำเนินงาน

กิจกรรมที่ 1 ศึกษาความต้องการและแรงจูงใจของกลุ่มเด็กเปราะบางในชุมชม

ชื่อกิจกรรม
ศึกษาความต้องการและแรงจูงใจของกลุ่มเด็กเปราะบางในชุมชม
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อศึกษาความต้องการและแรงจูงใจของกลุ่มเด็กเปราะบางในพื้นที่ชุมชนตำบลบ้านกลาง อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก
รายละเอียดกิจกรรม
1.ลงพื้นที่สำรวจกลุ่มเด็กเปราะบางในชุมชนตำบลบ้านกลางเพื่อศึกษาความต้องการและแรงจูงใจของเด็ก โดยกระบวนการวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพควบคู่กัน
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2563 ถึง 29 กุมภาพันธ์ 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
ทราบความต้องการและแรงจูงใจของกลุ่มเด็กเปราะบางในพื้นที่ชุมชนตำบลบ้านกลาง อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก
ทรัพยากรอื่น ๆ
ภาคีร่วมสนับสนุน
สมาคมสุขปัญญาและกองทุนความเสมอภาคทางการศึกษา จังหวัดพิษณูโลก กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดพิษณูโลก และองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกลาง วิธีการสนับสนุน คือ สถานที่และสิ่งของอำนวยความสะดวก
รายละเอียดงบประมาณ
ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
ค่าพาหนะเดินทาง - รถยนต์ส่วนบุคคล

ค่าเดินทางไปกลับระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามและตำบลบ้านกลาง อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 10 เที่ยว

1 เที่ยว 500 10 5,000
ค่าตอบแทนการประสานงาน

ค่าใช้จ่ายในการติดต่อประสานงานในพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูล

2 คน 1,000 1 2,000
ค่าอาหาร

ค่าอาหารสำหรับทีมงานในการลงพืนที่ ประมาณ 10 ครั้ง เพื่อสำรวจและศึกษากลุ่มเป้าหมายในพื้นที่

10 คน 300 10 30,000
ค่าถ่ายเอกสาร 650 คน 10 1 6,500
ค่าวัสดุสำนักงาน 10 คน 200 1 2,000
ค่าที่พักตามจริง 10 คน 750 4 30,000
รวมค่าใช้จ่าย 75,500

กิจกรรมที่ 2 ประชุมเชิงปฏิบัติในพื้นที่ชุมชน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมเชิงปฏิบัติในพื้นที่ชุมชน
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อพัฒนาแนวทางการช่วยเหลือและพัฒนากลุ่มเด็กเปราะบางได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
รายละเอียดกิจกรรม
1.ประชุมเชิงปฏิบัติการในพื้นที่ชุมชนบ้านกลาง เพื่อสัมภาษณ์เชิงลึกและ focus group กลุ่มเด็กเปราะบาง ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญ นักศึกษา อาจารย์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2563 ถึง 31 มีนาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
แนวทางและรุปแบบการพัฒนาและช่วยเหลือกลุ่มเด็กเปราะบางในพื้นที่
ทรัพยากรอื่น ๆ
ภาคีร่วมสนับสนุน
สมาคมสุขปัญญา กลุ่ม we watch กองทุนความเสมอภาคทางการศึกษา กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดพิษณุโลก และอบต.บ้านกลาง สนับสนุนบุคลากร สิ่งของ และเข้าร่วมประชุมเชิงปฎิบัติการ
รายละเอียดงบประมาณ
ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
ค่าตอบแทนวิทยากร

ค่าตอบแทนวิทยากรและผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 4 คน สำหรับการประชุมเชิงปฏิบัติการและแบ่งกลุ่ม focus group

2 คน 3,600 1 7,200
ค่าตอบแทนการประสานงาน 2 คน 1,000 1 2,000
ค่าเช่าสถานที่

ค่าเช่าสถานที่ในการดำเนินการกิจกรรม

1 ครั้ง 2,000 1 2,000
ค่าอาหาร

ค่าอาหารกลางวันและอาหารว่าง

150 คน 250 1 37,500
ค่าพาหนะเดินทาง - ค่าเดินทางในพื้นที่

ค่าพาหนะเดินทางเหมาจ่ายในพื้นที่

15 คน 300 1 4,500
ค่าวัสดุสำนักงาน 1 ครั้ง 3,000 1 3,000
ค่าถ่ายเอกสาร 1 ครั้ง 2,000 1 2,000
ค่าตอบแทนผู้เข้าร่วมประชุม

เป็นค่าตอบแทนการมาเข้าร่วมประชุมและให้ข้อมูล

150 คน 300 1 45,000
รวมค่าใช้จ่าย 103,200

กิจกรรมที่ 3 การพัฒนาศักยภาพกลุ่มเด็กเปราะบางสู่เด็กต้นแบบในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
การพัฒนาศักยภาพกลุ่มเด็กเปราะบางสู่เด็กต้นแบบในชุมชน
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อพัฒนาแนวทางการช่วยเหลือและพัฒนากลุ่มเด็กเปราะบางได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
รายละเอียดกิจกรรม
อบรมพัฒนาศักยภาพกลุ่มเด็กเปราะบาง อายุ 12-18 ปี ด้วยกิจกรรมบำบัดและกิจกรรมเสริมทักษะศักยภาพ การค้นพบตัวเองและปรับเปลี่ยนทัศนคติ
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2563 ถึง 31 พ.ค. 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
เกิดกลุ่มเด็กเปราะบางต้นแบบที่ได้รับการพัฒนาศักยภาพ จำนวน 50 คน
ทรัพยากรอื่น ๆ
สถานที่ที่มีสิ่งแวดล่อมที่เหมาะสมต่อการอบรมและอุปกรณ์กิจกรรมบำบัด
ภาคีร่วมสนับสนุน
สมาคมสุขปัญญา กลุ่ม we watch มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม กองทุนความเสมอภาคทางการศึกษา กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดพิษณุโลก และอบต.บ้านกลาง ร่วมสนับสนุนกิจกรรม บุคลากร และองค์ความรู้
รายละเอียดงบประมาณ
ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
ค่าตอบแทนวิทยากร

ค่าตอบแทนวิทยากรจำนวน 3 ท่าน

3 คน 3,600 2 21,600
ค่าตอบแทนการประสานงาน 2 คน 2,000 1 4,000
ค่าเช่าสถานที่

ค่าเช่าสถานที่อบรมพัฒนาศักยภาพเด็ก

1 ครั้ง 5,000 1 5,000
ค่าอาหาร

ค่าอาหารกลางวันและอาหารว่าง รวมจำนวนนักศึกษา กลุ่มเป้าหมาย วิทยากรและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง

60 คน 300 2 36,000
ค่าวัสดุสำนักงาน 1 ครั้ง 5,000 1 5,000
ค่าถ่ายเอกสาร 1 ครั้ง 2,000 1 2,000
ค่าตอบแทนผู้เข้าร่วมประชุม 50 คน 200 2 20,000
ค่าพาหนะเดินทาง - ค่าเดินทางในพื้นที่ 15 คน 500 1 7,500
ค่าที่พักตามจริง 60 คน 800 1 48,000
รวมค่าใช้จ่าย 149,100

กิจกรรมที่ 4 ติดตามและประเมินผลโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ติดตามและประเมินผลโครงการ
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อพัฒนาแนวทางการช่วยเหลือและพัฒนากลุ่มเด็กเปราะบางได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
รายละเอียดกิจกรรม
1.ประชุมสรุปผลการดำเนินงาน
2.การติดตามการพัฒนาของกลุ่มเด็กเป้าหมายต้นแบบ
3.การประเมินผลลัพธ์และความสำเร็จ
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2563 ถึง 31 กรกฎาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
ต้นแบบของการพัฒนาศักยภาพกลุ่มเด็กเปราะบางในชุมชน เพื่อขยายต่อให้กับชุมชนอื่นๆ
ทรัพยากรอื่น ๆ
ภาคีร่วมสนับสนุน
สมาคมสุขปัญญา กลุ่ม we watch อบต.บ้านกลาง กองทุนความเสมอภาคทางการศึกษา และกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดพิษณูโลก
รายละเอียดงบประมาณ
ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
ค่าตอบแทนการประสานงาน 2 คน 1,000 1 2,000
ค่าเช่าสถานที่

ประชุมสรุปผลและติดตามงานโครงการ

1 ครั้ง 2,000 1 2,000
ค่าวัสดุสำนักงาน 1 ครั้ง 2,000 1 2,000
ค่าถ่ายเอกสาร

ค่าเอกสารการประชุม

1 ครั้ง 2,000 1 2,000
ค่าตอบแทนผู้เข้าร่วมประชุม

ค่าตอบแทนผู้เข้าร่วมประชุม รวมค่าเดินทางไปกลับแบบเหมาจ่าย

20 คน 500 1 10,000
ค่าอาหาร

ค่าอาหารกลางวันและอาหารว่าง

20 คน 300 1 6,000
รวมค่าใช้จ่าย 24,000

รวมงบประมาณทุกกิจกรรมของแผนการดำเนินงาน จำนวน 351,800.00 บาท

ค่าตอบแทนค่าใช้สอยค่าวัสดุรวมเงิน
ค่าใช้จ่าย (บาท) 113,800.00 226,000.00 12,000.00 351,800.00
เปอร์เซ็นต์ (%) 32.35% 64.24% 3.41% 100.00%

11. งบประมาณ

351,800.00บาท

12. การติดตามประเมินผล

ต่อชุมชนต่อนักศึกษา
ผลผลิต (Output) กลุ่มเด็กเปราะบางในชุมชนตำบลบ้านกลางอำเภอวังทอง ได้รับการพัฒนาศักยภาพและช่วยเหลือ นักศึกษาได้ฝึกกระบวนการวิจัยชุมชน ประสานงานและการศึกษาทำความเข้าใจกลุ่มเด็กเปราะบาง มีจิตสาธารณะและทำตนประโยชน์ต่อชุมชนท้องถิ่นและสังคม
ผลลัพธ์ (Outcome) เด็กและเยาวชนในชุมชนมีคุณภาพมากขึ้น ทั้งคุณภาพทางความคิด ปัญญา จิตใจและการพัฒนาคุณภาพชีวืตของตนเองให้เป็นคนไทยที่มีคุณภาพ นักศึกษาได้รับการพัฒนาศักยภาพทางความคิด ทักษะการแก้ปัญหา การคิดวิเคราะห์ และการทำงานร่วมกับผู้อื่น และสามารถประยุกต์ใช้องค์ความรู้ในการปฏิบัติงานหรือแก้ไขปัญหาในชุมชนได้
ผลกระทบ (Impact) การส่งต่อและขยายการศึกษาและแนวทางการพัฒนาช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาเด็กเปราะบางให้กับชุมชนอื่นๆ ในจังหวัดพิษณุโลกและประเทศไทย และเยาวชนไทยเติบโตเป็นคนไทยที่มีคุณภาพมากขึ้น เป็นบัณฑิตนักปฏิบัติที่สามารถประยุกต์ใช้องค์ความรู้ในการปฏิบัติงานจริงและช่วยเหลือแก้ไขปัญหาในชุมชนได้ มีความเป็นคนไทยที่มีคุณภาพ คุณธรรมและเป็นผู้นำให้กับชุมชนท้องถิ่นต่อไป
นำเข้าสู่ระบบโดย Thannapat Thannapat เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2562 22:38 น.