การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตยางพาราแผ่นดิบกลุ่มผู้ผลิตยางพาราบ้านหนองป่าอ้อย

แบบเสนอโครงการ
การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตยางพาราแผ่นดิบกลุ่มผู้ผลิตยางพาราบ้านหนองป่าอ้อย

1. ชื่อโครงการ

การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตยางพาราแผ่นดิบกลุ่มผู้ผลิตยางพาราบ้านหนองป่าอ้อยกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยกาสินธุ์เทศบาลตำบลลำห้วยหลัว อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์บ้านหนองป่าอ้อย หมู่ 1 ตำบลลำห้วยหลัว อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์นายสุริยัณห์ สมศรีมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ 62/1 ถ.เกษตรสมบูรณ์ ต.กาฬสินธุ์ อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์ 4ุ600008500804511. นายภานุวัฒน์ โยธาพล นักศึกษาหลักสูตร อส.บ.เทคโนโลยีเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
2. นายปริญญา หงษ์สาหิน นักศึกษาหลักสูตร อส.บ.เทคโนโลยีเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
3. นายสมพงษ์ พันธ์สิ่ว นักศึกษาหลักสูตร วศ.บ.วิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
4. นายทัศนัย รัดชำ นักศึกษาหลักสูตร วศ.บ.วิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
5. นางสาวจิราภรณ์ มาลากอง นักศึกษาหลักสูตร วท.บ.พืชศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
6. นางสาวฉัตรนารี เดชประเสริฐ นักศึกษาหลักสูตร วท.บ.พืชศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
7. นายไชยยา วะละคำ นักศึกษาหลักสูตร วท.บ.พืชศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
8. นางสาวหนึ่งฤทัย พลเยี่ยม นักศึกษาหลักสูตร วท.บ.พืชศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
9. นางสาวพรพรรณ แก้วก่อง นักศึกษาหลักสูตร บธ.บ.การจัดการ คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
10. นางสาวหงษ์ลดา แก้วกาสี นักศึกษาหลักสูตร บธ.บ.การจัดการ คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
11. นายสุริยัณห์ สมศรี อาจารย์ที่ปรึกษา สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
12. ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุรสิทธิ์ พ่อค้า อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
13. นายอภิชน มุ่งชู อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
14. ผู้ช่วยศาสตราจารย์สายัญ พันธุ์สมบูรณ์ อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม สาขาวิชาพืชศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
15. ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุกัญญา ดวงอุปมา อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม สาขาวิชาการจัดการ คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์

2. พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
กาฬสินธุ์ สมเด็จ ลำห้วยหลัว

3. รายละเอียดชุมชน

1. ข้อมูลทั่วไป
ลักษณะที่ตั้งตำบลลำห้วยหลัวตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของอำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ ห่างจากอำเภอสมเด็จประมาณ 5 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากจังหวัดกาฬสินธุ์ ประมาณ 45 กิโลเมตร อยู่ระหว่างอำเภอสมเด็จกับอำเภอห้วยผึ้ง มีถนนทางหลวงหมายเลข 12 (AH 12) หรือ 2042 เดิม เป็นถนนทางหลวงแผ่นดินเชื่อมระหว่างจังหวัดกาฬสินธุ์กับจังหวัดมุกดาหารเป็นเส้นทางการคมนาคมโดยเป็นจุดยุทธศาสตร์หลักที่สำคัญของจังหวัด ภูมิภาคและประเทศในปัจจุบันและอนาคต
2. อาณาเขตติดต่อ
สภาพพื้นที่ของตำบลลำห้วยหลัว มีเขตติดต่อกับพื้นที่ใกล้เคียงดังนี้
- ด้านเหนือ ติดต่อกับองค์การบริหารส่วนตำบลผาเสวย อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์
- ด้านตะวันออก ติดต่อกับเทศบาลตำบลคำบง อำเภอห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์
- ด้านใต้ ติดต่อเทศบาลตำบลสงเปลือยและเทศบาลตำบลยอดแกง อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์
- ด้านตะวันตก ติดต่อกับเทศบาลตำบลสมเด็จ/อบต.สมเด็จ อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์
3. ที่ตั้งและอาณาเขต
พื้นที่เทศบาลตำบลลำห้วยหลัว มีพื้นที่โดยประมาณ 30 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 19,230 ไร่
4. สภาพภูมิประเทศ
เทศบาลตำบลลำห้วยหลัว มีภูมิประเทศเป็นที่ราบรุ่ม แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 10 หมู่บ้าน
1. จำนวนประชากร
แบ่งการปกครองออกเป็น 10 หมู่บ้าน มีจำนวนประชากรรวมทั้งสิ้น จำนวน 6,165 คน แยกเป็นชาย จำนวน 3,033 คน เป็นหญิง จำนวน 3,132 คน จำนวนครัวเรือน รวม 1,109 ครัวเรือน มีความหนาแน่นเฉลี่ย จำนวน 205 คนต่อตารางกิโลเมตร
2. สภาพทางเศรษฐกิจ (อาชีพ)
- ร้อยละ 80 ของครัวเรือนทั้งหมด ประกอบอาชีพทางการเกษตร
- ร้อยละ 10 ของครัวเรือนทั้งหมด ประกอบอาชีพค้าขายและรับราชการ
- ร้อยละ 10 ของครัวเรือนทั้งหมด ประกอบอาชีพรับจ้างและอื่น ๆ
ซึ่ง ใน 10 หมู่บ้าน มีการประกอบอาชีพทางการเกษตรร้อยละ 80 ของครัวเรือนทั้งหมด โดยในร้อยละ 80 มีการทำเกษตรสวนยางอยู่ประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งบ้านหนองป่าอ้อย ได้มีการรวมกลุ่มกันทำยางพาราแผ่นดิบไว้เพื่อจำหน่ายเป็นรายได้ให้กับครอบครัว แต่การทำยางพาราแผ่นดิบ ยังประสบปัญหาในเรื่องของการอบแห้งที่ยังคงมีความชื้นเหลือในยางแผ่นสูง เนื่องจากการไล่ความชื้นออกจากยางพาราแผ่นของกลุ่มเกษตรกรจะใช้การผึ่งแดด จึงทำให้ความร้อนที่ได้รับไม่สม่ำเสมอ สีของแผ่นยางไม่สวยงาม ความชื้นคงเหลือในแผ่นสูงกว่ายางแผ่นดิบมาตรฐาน ทำให้ราคาต่ำ ส่งผลต่อกำไรของกลุ่มเกษตรกร
ปัจจุบันเกษตรกรสวนยางพารา พบปัญหาหลายด้านในการทำยางแผ่น โดยเฉพาะปัญหายางแผ่นไม่ได้คุณภาพ ที่ยังคงเป็นปัญหาต่อเกษตรกรในจังหวัดกาฬสินธุ์ ปกติเกษตรจะทำยางแผ่นโดยการรีดเป็นแผ่นบาง ๆ และนำไปผึ่งแดดที่ราวตาก ซึ่งจะใช้ระยะเวลาในการทำยางแผ่นหลายวันและยุ่งยาก การทำยางแผ่นของเกษตรด้วยวิธีดังกล่าว ต้องประสบกับปัญหาหลายประการ เช่น ฝุ่นละอองที่ลอยอยู่ในอากาศเกาะยางแผ่น อุณหภูมิของแสงแดดที่ไม่เหมาะสมในขณะผึ่งแผ่นยาง ต้องเก็บและนำยางแผ่นมาผึ่งแดดทุกวันจนกว่ายางแผ่นจะได้ความชื้นที่เหมาะสม ซึ่งจะทำให้ยุ่งยาก ถ้าช่วงหน้าฝนเกษตรกรต้องพบปัญหาหนักคือไม่สามารถนำยางแผ่นมาผึ่งแดดได้ ทำให้ยางแผ่นเกิดเชื้อรา ซึ่งทำให้ราคาของยางแผ่นลดลงและส่งผลต่อกำไรของเกษตรกรด้วย
สำหรับขั้นตอนการลดความชื้นยางแผ่นดิบในระดับชุมชนส่วนใหญ่ของภาคอีสานจะนิยมใช้วิธีการตากผึ่งอากาศในที่ร่มและมีอากาศถ่ายเทได้สะดวก เช่น บ้าน หรือโรงเรือนภายในสวนยางพาราแต่วิธีการตากผึ่งอากาศนี้ จะมีปัญหาในด้านของการใช้ระยะเวลานาน ซึ่งใช้เวลาประมาณ 15 วัน และความชื้นของแผ่นยางดิบก็ยังไม่สามารถลดลงถึงระดับที่มีความปลอดภัยต่อการไม่เกิดเชื้อราระหว่างการเก็บรักษาได้ จึงส่งผลทำให้แผ่นยางดิบเกิดเชื้อราได้ง่าย สาเหตุเนื่องมาจากอากาศแวดล้อมที่อยู่รอบ บริเวณที่ตากแผ่นยางดิบภายในสวนยางพารามีความชื้นสัมพันธ์ (relative humidity) สูง จึงส่งผลทำให้การพาความชื้นจากแผ่นยางดิบไปสู่อากาศแวดล้อมที่อยู่รอบ ๆ บริเวณที่ตากแผ่นยางได้ค่อนข้างช้ามาก และใช้เวลาการลดความชื้นนาน ดังนั้น ในปัจจุบันจึงได้มีการแก้ไขปัญหาของวิธีการตากผึ่งอากาศในที่ร่มด้วยการสร้างโรงอบแห้งยางแผ่นดิบโดยใช้ความร้อนจากพลังงานแสงอาทิตย์ขึ้นมาทดแทน เนื่องจากประเทศไทยมีแสงอาทิตย์เกือบทั้งปี และเป็นพลังงานที่มีศักยภาพสูงสำหรับประเทศไทยโดยมีค่าพลังงานแสงอาทิตย์ประมาณ 17 เมกะจูลต่อตารางเมตรต่อวัน ซึ่งมีศักยภาพเพียงพอที่จะนำมาใช้ในการลดความชื้นยางแผ่นดิบ โดยทั่วไปโรงอบแห้งยางแผ่นดิบด้วยพลังงานแสงอาทิตย์จะทำให้อากาศที่ใช้อบแห้งยางแผ่นดิบมีอุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้นประมาณ 50 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นอุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการลดความชื้นของยางแผ่นดิบ และสามารถลดความชื้นของยางแผ่นดิบลงต่ำได้กว่า 3 เปอร์เซ็นต์มาตรฐานเปียก โดยใช้เวลาการลดความชื้นหรือเวลาอบแห้งประมาณ 3 ถึง 4 วัน แต่อย่างไรก็ตาม อุณหภูมิของอากาศที่ใช้อบแห้งยางแผ่นดิบภายในโรงอบแห้งดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้เฉพาะเวลาที่มีแสงแดดเพียงพอเท่านั้น ซึ่งถ้าเวลาที่ไม่มีแสงแดด หรือเวลาที่มีแสงแดดไม่เพียงพอ เช่น เวลาฝนตกหรือเวลากลางคืน อุณหภูมิของอากาศที่ใช้อบแห้งยางแผ่นดิบภายในโรงอบแห้งดังกล่าวจะมีอุณหภูมิภายในโรงอบแห้งไม่เกิน 40 องศาเซลเซียส จึงเป็นสาเหตุทำให้โรงอบแห้งยางแผ่นดิบด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ใช้เวลาในการลดความชื้นยางแผ่นดิบนานประมาณ 6 ถึง 7 วัน ซึ่งปัญหาดังกล่าวนี้เป็นข้อจำกัดของโรงอบแห้งยางแผ่นดิบด้วยพลังงานแสงอาทิตย์
บ้านหนองป่าอ้อย หมู่ 1 ตำบลลำห้วยหลัว อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นกลุ่มที่มีการทำยางพาราแผ่นดิบ โดยการทำยางแผ่นจะน้ำยางที่ได้จากการกรีด มาผ่านขบวนการรีดขึ้นรูปเป็นแผ่นยางสด จากนั้นจะนำยางสดไปแขวนที่ราวไม้ เพื่อผึ่งแดดไล่ความชื้นออกจากแผ่นยาง ซึ่งกลุ่มทำยางจะประสบปัญหาในการทำยางแผ่นคือ อุณหภูมิของแสงแดดไม่เหมาะสม ไม่คงที่สม่ำเสมอ จึงส่งผลให้ยางแผ่นมีความชื้นสูงกว่ายางแผ่นมาตรฐาน สีของยางแผ่นไม่สวยงาม ส่งผลให้มีราคาต่ำกว่าปกติ จากข้อมูลดังกล่าว ทีมงานผู้วิจัยได้ไปพบปะ พูดคุยเพื่อหาแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำยางแผ่นให้มีคุณภาพ และเพิ่มมูลค่ายางแผ่นให้สูงขึ้น โดยกลุ่มทำยางแผ่นพาราบ้านหนองป่าอ้อย หมู่ 1 มีความต้องอยากได้โรงอบแห้งยางพาราที่อบยางให้ได้คุณภาพ มีความชื้นคงเหลือเป็นไปตามมาตรฐานยางแผ่นดิบ และมีสีของแผ่นยางสวยงาม ทางผู้วิจัยและทีมงานจึงได้เสนอที่จะออกแบบและสร้างโรงอบแห้งยางพาราแผ่นแบบพาราโบลาโดมที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ร่วมกับเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนแบบท่อเทอร์โมไซฟอนที่ใช้ชีวมวลเป็นเชื้อเพลิง โดยจะให้โรงอบแห้งยางพาราแผ่นแบบพาราโบลาโดมรับพลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์ในตอนกลางวันและอาศัยหลักการทำงานของท่อเทอร์โมไซฟอนมาช่วยในการแลกเปลี่ยนความร้อนจากเชื้อเพลิงชีวมวลไปเข้าสู่โรงอบแห้งยางพาราแผ่นแบบพาราโบลาโดมในตอนกลางคืน ซึ่งจะทำให้อุณหภูมิภายในโรงอบแห้งสม่ำเสมอ และควบคุมอุณหภูมิได้ดี ประหยัดเชื้อเพลิง คุณภาพยางแผ่นดีขึ้น

4. ประเด็นปัญหาหลัก

5. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

6. องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

1. องค์ความรู้
- การผลิตยางแผ่นสด ทำได้โดยการนำน้ำยางสดมากรองแยกสิ่งสกปรก แล้วทำให้จับตัวด้วยกรดฟอร์มิคหรืออะซิติค จากนั้นนำมาทำนวดและรีดด้วยจักรรีดยางจนยางมีแผ่นหนาประมาณ 2-3 มิลลิเมตรแล้วนำไปผึ่งไว้ในที่ร่มจะได้ยางแผ่นดิบ
- ในการอบแห้งผลิตภัณฑ์ส่วนที่สำคัญที่สุดคือ อุณหภูมิและระยะเวลาในการอบแห้งที่เหมาะสม จึงจะทำให้ผลิตภัณฑ์ที่ได้ออกมามีคุณภาพ สีสันสวยงาม สะอาดปลอดภัย โดยในงานวิจัยนี้จะออกแบบและสร้างโรงอบยางพาราแบบพาราโบลาโดม ซึ่งห้องอบลักษณะพาราโบลาโดมจะทำให้ห้องอบรับแสงอาทิตย์ตลอดทั้งวัน และรูปทรงของห้องยังลดแรงต้านของลม โดยห้องอบจะใช้แผ่นโพลีคาร์บอเนต (polycarbonate sheet) ชนิดใส ไม่มีสี เพื่อจะทำให้แสงอาทิตย์ผ่านเข้าไปภายในห้องอบแห้งให้ได้มากที่สุด ซึ่งแผ่นโพลีคาร์บอเนตจะยอมให้แสงอาทิตย์ส่งผ่านได้ดี แต่รังสีความร้อนที่แผ่ภายในห้องอบแห้งจะผ่านออกมาได้น้อย จึงทำให้เกิดผลเรือนกระจก (greenhouse effect) ภายในห้องอบแห้ง ซึ่งจะทำให้ความร้อนส่วนใหญ่ถูกกักเก็บอยู่ภายในห้องอบแห้ง ถ้าช่วงท้องฟ้าปราศเมฆจะทำให้ห้องอบแห้งมีอุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ในช่วง 60-75 องศาเซลเซียส ซึ่งอุณหภูมิจะเหมาะแก่การอบแห้งยางพาราแผ่น และห้องอบแห้งแบบพาราโบลาโดมยังกักเก็บความร้อนจนถึงช่วงเวลาประมาณ 21.00 น.
- ท่อความร้อนแบบเทอร์โมไซฟอน (Thermosyphon) เป็นอุปกรณ์ชนิดหนึ่งที่สามารถถ่ายโอนความร้อนได้ โดยไม่ต้องอาศัยพลังงานภายนอก ทำงานโดยใช้หลักการส่งถ่ายความร้อนจากความร้อนแฝงของสารทำงานภายในท่อ ซึ่งสารทำงานภายในท่อจะระเหยโดยการรับความร้อนจากแหล่งความร้อนและถ่ายเทความร้อนโดยการควบแน่น ท่อความร้อนแบบเทอร์โมไซฟอนเป็นระบบปิดภายในท่อเป็นสุญญากาศที่มีสารทำงานบรรจุอยู่ โดยมีหลักการทำงานคือ ความร้อนจากส่วนทำระเหยจะทำให้สารทำงาน ซึ่งมีสภาวะเป็นของเหลวอิ่มตัวเปลี่ยนสถานะกลายเป็นไอ และลอยขึ้นสู่ด้านบนไปยังส่วนควบแน่นซึ่งมีอุณหภูมิต่ำกว่าเกิดการควบแน่นและไหลกลับสู่ส่วนทำระเหยด้วยแรงโน้มถ่วงของโลก เนื่องจากความร้อนแฝงของการกลายเป็นไอของสารทำงานมีค่าสูงมาก ดังนั้นสารทำงานจึงสามารถถ่ายเทความร้อนจากปลายด้านหนึ่งไปสู่อีกด้านหนึ่งได้ โดยที่อุณหภูมิระหว่างส่วนทำระเหยและส่วนควบแน่นแตกต่างกันเพียงเล็กน้อยความสามารถในการส่งผ่านความร้อนของท่อเทอร์โมไซฟอนนั้น ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยด้วยกัน เช่น ขนาดท่อ ชนิดของท่อ ลักษณะการติดตั้ง ชนิดของสารทำงาน อุณหภูมิของแหล่งรับความร้อนและมุมในการทำงาน
- การค้าปลีกสมัยใหม่ คือ รูปแบบการค้าปลีกที่มีกระบวนการจัดจำหน่าย ที่มุ่งเน้นในการนำเสนอสินค้าที่มีความหลากหลาย มีระบบการจัดการ โดยอาศัยความรู้ความชำนาญและเทคโนโลยีมาช่วยในการตอบสนองความต้องการของลูกค้า นำไปสู่ความสัมพันธ์ที่เชื่อมโยงกันระหว่าง ผู้ผลิต ผู้ค้าปลีกและลูกค้า
- ถ้านำองค์ความรู้การอบแห้งกับหลักการของท่อความร้อนมาประยุกต์ใช้ก็จะเกิดเป็นนวัตกรรมโรงอบแห้งแบบพลังงานร่วม โดยใช้ชีวมวลร่วมกับพลังงานแสงอาทิตย์

7. วัตถุประสงค์

วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อออกแบบและสร้างโรงอบแห้งยางพาราแผ่นแบบพาราโบลาโดมที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ร่วมกับเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนแบบท่อเทอร์โมไซฟอนที่ใช้ชีวมวลเป็นเชื้อเพลิง

ได้โรงอบแห้งยางพาราแผ่นแบบพาราโบลาโดมที่มีประสิทธิภาพในการอบแห้งยางพาราแผ่น

1.00 1.00
2 เพื่อหาสมรรถนะของโรงอบแห้งยางพาราแผ่นแบบพาราโบลาโดม

ยางพาราแผ่นที่ผ่านการอบแห้งจากโรงอบแห้งยางพาราแผ่นแบบพาราโบลาโดมมีมาตรฐานเทียบเท่ากับมาตรฐานของยางแผ่นดิบคุณภาพ

100.00 80.00
3 เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพของยางพาราแผ่นที่อบโรงอบแห้งยางพาราแผ่นแบบพาราโบลาโดมเปรียบเทียบกับเกษตรกร และเปรียบเทียบกับมาตรฐานของยางแผ่นดิบคุณภาพ

ยางพาราแผ่นที่ผ่านการอบแห้งจากโรงอบแห้งยางพาราแผ่นแบบพาราโบลาโดมมีราคาเพิ่มสูงกว่าการอบแห้งแบบเดิม

100.00 99.00
4 เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับกลุ่มเกษตรกรทำยางพาราแผ่นดิบบ้านหนองป่าอ้อย

เกษตรกรกลุ่มทำยางพาราแผ่นมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการขายยางพาราแผ่น

30.00 20.00
5 เพื่อให้นักศึกษาเกิดองค์ความรู้ใหม่ และเกิดทักษะด้านอื่น ๆ จากนอกห้องเรียน

นักศึกษามีความรู้ ความสามารถ ในการผลิตยางแผ่นดิบ และมีทักษะในการออกแบบและสร้างโรงอบแห้ง

100.00 80.00

8. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
นางสาวจิราภรณ์ มาลากอง 1461400096388 1
นางสาวฉัตรนารี เดชประเสริฐ 1469900414556 1
นางสาวพรพรรณ แก้วก่อง 1461400089161 1
นางสาวหงษ์ลดา แก้วกาสี 1469900403171 1
นางสาวหนึ่งฤทัย พลเยี่ยม 1469900422788 1
นายทัศนัย รัดชำ 1459900493359 1
นายปริญญา หงษ์สาหิน 1440800241473 1
นายภานุวัฒน์ โยธาพล 1461400098038 1
นายสมพงษ์ พันธ์สิ่ว 1480400090672 1
นายไชยยา วะละคำ 1411001165548 1
บ้านหนองป่าอ้อย หมู่ 1 ต.ลำห้วยหลัว อ.สมเด็จ 30

9. ระยะเวลา

10. วิธีดำเนินงาน

กิจกรรมที่ 1 ศึกษาปัญหา ค้นคว้าข้อมูลการทำยางพาราแผ่น

ชื่อกิจกรรม
ศึกษาปัญหา ค้นคว้าข้อมูลการทำยางพาราแผ่น
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อออกแบบและสร้างโรงอบแห้งยางพาราแผ่นแบบพาราโบลาโดมที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ร่วมกับเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนแบบท่อเทอร์โมไซฟอนที่ใช้ชีวมวลเป็นเชื้อเพลิง
รายละเอียดกิจกรรม
โครงการวิจัยนี้เป็นโครงการวิจัยที่ลงสู่ชุมชน ดังนั้นต้องทราบข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มเกษตรกรสวนยาง จึงได้นำนักศึกษาไปลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูล ขั้นตอนและวิธีการเกี่ยวกับการทำยางพาราแผ่นดิบ เพื่อให้ทราบปัญหาในการทำยางแผ่นดิบ
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2563 ถึง 15 มกราคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
1. นักศึกษาได้รับข้อมูลของขั้นตอนและวิธีการเกี่ยวกับการทำยางพาราแผ่นดิบ และทราบปัญหาในการทำยางแผ่นดิบ
ทรัพยากรอื่น ๆ
ภาคีร่วมสนับสนุน
รายละเอียดงบประมาณ
ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
ค่าตอบแทนวิทยากร

ค่าตอบแทนวิทยากร ค่าตอบแทนอาจารย์ที่ปรึกษาลงพื้นที่ 5 คน x 180 บาท x 5 ครั้ง

5 คน 180 5 4,500
ค่าตอบแทนวิทยากร

ค่าตอบแทนนักศึกษา 10 คน x 120 บาท x 5 ครั้ง

10 คน 120 5 6,000
ค่าตอบแทนผู้เข้าร่วมประชุม

ค่าอาหาร และอาหารว่าง 30 คน x 150 บาท x 5 ครั้ง

30 คน 150 5 22,500
ค่าตอบแทนการประสานงาน

ค่าตอบแทนผู้ประสานงานกลุ่มยาง 2 คน x 1,000 บาท x 5 ครั้ง

2 คน 1,000 5 10,000
ค่าพาหนะเดินทาง - รถยนต์ส่วนบุคคล

ค่าชดเชยยานพาหนะ

1 เที่ยว 500 5 2,500
ค่าเช่ารถ

ค่าเช่ารถพานักศึกษาไปลงพื้นที่

1 เที่ยว 500 5 2,500
ค่าวัสดุสำนักงาน

ปากกา ยางลบ ดินสอ น้ำยาลบคำผิด

1 ชุด 500 1 500
ค่าจ้างทำป้ายประชาสัมพันธ์ 1 ชิ้น 1,000 1 1,000
รวมค่าใช้จ่าย 49,500

กิจกรรมที่ 2 แนวทางในการแก้ปัญหาของการทำยางแผ่นดิบ

ชื่อกิจกรรม
แนวทางในการแก้ปัญหาของการทำยางแผ่นดิบ
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อออกแบบและสร้างโรงอบแห้งยางพาราแผ่นแบบพาราโบลาโดมที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ร่วมกับเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนแบบท่อเทอร์โมไซฟอนที่ใช้ชีวมวลเป็นเชื้อเพลิง
รายละเอียดกิจกรรม
1. นำเอาปัญหาในการทำยางแผ่นดิบมาวิเคราะห์ เพื่อจะหาแนวทางในการแก้ปัญหา
2. นำเอาเทคโนโลยี และนวัฒกรรมเข้าไปช่วยแก้ไขปัญหาในการทำยางแผ่นดิบ
3. ออกแบบและพัฒนาโรงอบแห้งยางพาราแผ่นแบบพาราโบลาโดมที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ร่วมกับเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนแบบท่อเทอร์โมไซฟอนที่ใช้ชีวมวลเป็นเชื้อเพลิง
ระยะเวลาดำเนินงาน
16 มกราคม 2563 ถึง 31 มกราคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
1. ผู้วิจัยและนักศึกษา ทราบถึงปัญหาในการทำยางแผ่นดิบ
2. ได้เทคโนโลยี และนวัฒกรรมที่สามารถแก้ไขปัญหาในการทำยางแผ่นดิบ
ทรัพยากรอื่น ๆ
ภาคีร่วมสนับสนุน
รายละเอียดงบประมาณ
ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
ค่าตอบแทนวิทยากร

ค่าตอบแทนอาจารย์ที่ปรึกษา 5 คน x 180 บาท x 5 ครั้ง (ทีมวิจัยร่วมประชุมหารือ)

5 คน 180 5 4,500
ค่าตอบแทนวิทยากร

ค่าตอบแทนนักศึกษา 10 คน x 120 บาท x 5 ครั้ง (ทีมวิจัยร่วมประชุมหารือ)

10 คน 120 5 6,000
รวมค่าใช้จ่าย 10,500

กิจกรรมที่ 3 ขั้นตอนการสร้างโรงอบแห้งยางพาราแผ่นแบบพาราโบลาโดม

ชื่อกิจกรรม
ขั้นตอนการสร้างโรงอบแห้งยางพาราแผ่นแบบพาราโบลาโดม
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อออกแบบและสร้างโรงอบแห้งยางพาราแผ่นแบบพาราโบลาโดมที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ร่วมกับเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนแบบท่อเทอร์โมไซฟอนที่ใช้ชีวมวลเป็นเชื้อเพลิง
รายละเอียดกิจกรรม
1. สร้างโรงอบแห้งยางพาราแผ่นแบบพาราโบลาโดม ขนาด กว้าง 2 เมตร ยาว 3.5 เมตร สูง 2.5 เมตร ใช้ท่อเหล็กขนาด 2 นิ้ว ดัดโครงสร้างให้เป็นลักษณะพาราโบลา จากนั้นใช้แผ่นโพลีคาร์บอเนตแบบใสทำหลังคา และปิดทุกด้านของโรงอบแห้ง ภายในโรงอบแห้งเทพื้นด้วยปูนซีเมนต์และทาพื้นสีดำเพื่อให้ดูดกลืนรังสีแสงอาทิตย์
2. สร้างเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนแบบท่อเทอร์โมไซฟอน โดยท่อเทอร์โมไซฟอนทำมาจากท่อเหล็กกล้าไร้สนิมนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 25.4 มิลลิเมตร หนา 2 มิลลิเมตร ความยาวในส่วนรับความร้อน 200 มิลลิเมตร ส่วนคายความร้อน 400 มิลลิเมตร จากนั้นเติมสารทำงาน นำท่อเทอร์โมไซฟอนที่ได้ทั้งหมดจากการคำนวณไปติดตั้งกับห้องเผาไหม้
3. ทำการประกอบติดตั้งอุปกรณ์ทุกชิ้นเพื่อทำการทดสอบ
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2563 ถึง 29 กุมภาพันธ์ 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
1. ได้โรงอบแห้งยางพาราแผ่นแบบพาราโบลาโดม
ทรัพยากรอื่น ๆ
ภาคีร่วมสนับสนุน
รายละเอียดงบประมาณ
ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
ค่าตอบแทนวิทยากร

ค่าตอบแทนอาจารย์ที่ปรึกษาในการสร้างชุดทดลอง 5 คน x 180 บาท x 10 ครั้ง

5 คน 180 10 9,000
ค่าตอบแทนวิทยากร

ค่าตอบแทนนักศึกษาในการสร้างชุดทดลอง 10 คน x 120 บาท X 15 ครั้ง

10 คน 120 15 18,000
ค่าเช่าสถานที่

ค่าที่พักนักศึกษา 1 เดือน x 5,000 บาท

1 ครั้ง 5,000 1 5,000
ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้

ท่อเหล็กกล้าไร้สนิมขนาด 1 นิ้ว หนา 2 มม. (10 เส้น x 6 เมตร x 600บาท)

10 ชิ้น 3,600 1 36,000
ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้

ท่อเหล็กกล้าไร้สนิมขนาด 2 นิ้ว หนา 2 มม. (5 เส้น x 6 เมตร x 1,200 บาท)

5 ชิ้น 7,200 1 36,000
ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้

แผ่นเหล็กขนาด 1.2×2.4 ม. หนา 10 มม. (1 แผ่น x 5,000)

1 ชิ้น 5,000 1 5,000
ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้

แผ่นเหล็กขนาด 1.2×2.4 ม. หนา 2 มม. (2 แผ่น x 2,000)

2 ชิ้น 2,000 1 4,000
ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้

เหล็กกล่องขนาด 1 นิ้ว x 1 นิ้ว หนา 2 มม. (10 เส้น ×500 บาท)

10 ชิ้น 500 1 5,000
ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้

ท่อเหล็กขนาด 1 นิ้ว หนา 2 มม. (10 เส้น x 1,000 บาท)

10 ชิ้น 1,000 1 10,000
ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้

เหล็กฉากขนาด 1 นิ้ว x 1 นิ้ว หนา 2 มม. (10 เส้น x 1,200 บาท)

10 ชิ้น 1,200 1 12,000
ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้

เหล็กเส้นกลม ขนาด 5 มม. (10 เส้น x 500 บาท)

10 คน 500 1 5,000
ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้

ปืนยิงกาวซิลิโคน+กาวซิลิโคน (10 อัน × 250 บาท)

10 คน 250 1 2,500
ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้

สารทำงานสำหรับท่อความร้อน (20 ขวด × 350 บาท)

20 ชิ้น 350 1 7,000
ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้

ยางพาราแผ่นสด (100 แผ่น x 200 บาท) ตลอดการทดลอง

100 คน 200 1 20,000
ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้

แผ่นโพลีคาร์บอเนต (20 แผ่น x 1,500 บาท)

20 ชิ้น 1,500 1 30,000
ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้

พัดลมดูดอากาศ (4 ตัว x 2,000 บาท)

4 ชิ้น 2,000 1 8,000
ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้

แผงโชล่าเซลล์ขนาด 150 วัตต์ (1 แผง ×5,000 บาท)

1 ชิ้น 5,000 1 5,000
ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้

แบตเตอรี่แบบ deep circle (1 ลูก × 7,000 บาท)

1 คน 7,000 1 7,000
ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้

ลวดเชื่อม 2.6 มม. (4 ห่อ × 250 บาท)

4 คน 250 1 1,000
ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้

ลวดเชื่อม 3.2 มม. (4 ห่อ × 350 บาท)

4 คน 350 1 1,400
ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้

สายเทอร์โมคัปเปิ้ล ย่านการวัด -50 ถึง 1200 °C (1 ม้วน × 20,000 บาท)

1 ชุด 20,000 1 20,000
ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้

สร้างชุดควบอุณหภูมี ชุดควบคุมความเร็วลม

1 ชุด 10,000 1 10,000
ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้

ค่าปรับพื้นที่ทำลาน เทปูน ขนาดกว้าง 3 x 5 ม. สำหรับสร้างโรงอบ

1 ชุด 10,000 1 10,000
ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้

ค่าฉนวนกันความร้อน

1 ชุด 10,000 1 10,000
ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้

ค่าอุปกรณ์ในการทำยางแผ่นสด

1 ชุด 10,000 1 10,000
ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้

ปืนยิงรีเว็ตและลูกยิงรีเว็ต

1 ชุด 1,500 1 1,500
ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้

เทปกาวอลูมีเนียม 5 ชิ้น x 200 บาท

5 ชิ้น 200 1 1,000
ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้

สายไฟแบบล้อม้วนเก็บ 2 ชิ้น x 1,500 บาท

2 ชิ้น 1,500 1 3,000
ค่าพาหนะเดินทาง - รถยนต์ส่วนบุคคล

ค่าชดเชยยานพาหนะ

10 เที่ยว 500 1 5,000
ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้

แผ่นเหล็กขนาด 1.2×2.4 ม. หนา 3 มม. (2 แผ่น x 2,500)

2 ชิ้น 2,500 1 5,000
ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้

ชุดดอกสว่าน 1 กล่อง x 1,500 บาท

1 ชุด 1,500 1 1,500
ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้

เหล็กแบนขนาด 2 นิ้ว หนา 2.5 มม. (10 เส้น x 500 บาท)

10 คน 500 1 5,000
ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้

เหล็กรางน้ำขนาด 3 นิ้ว 5 มม. (4 เส้น x 2,500 บาท)

4 ชิ้น 2,500 1 10,000
ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้

หล็กรางน้ำขนาด 4 นิ้ว 5 มม. (2 เส้น x 3,500 บาท)

2 ชิ้น 3,500 1 7,000
ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้

เหล็กกล้าไร้สนิม 1.2×2.4 ม. หนา 3 มม. (1 แผ่น x 5,000)

1 ชิ้น 5,000 1 5,000
รวมค่าใช้จ่าย 330,900

กิจกรรมที่ 4 การทดสอบโรงอบแห้งยางพาราแผ่นแบบพาราโบลาโดม

ชื่อกิจกรรม
การทดสอบโรงอบแห้งยางพาราแผ่นแบบพาราโบลาโดม
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อหาสมรรถนะของโรงอบแห้งยางพาราแผ่นแบบพาราโบลาโดม
รายละเอียดกิจกรรม
1. ให้นักศึกษาและกลุ่มสวนยางทำการเตรียมขึ้นรูปยางแผ่นสด
2. นำยางแผ่นสดที่เตรียมไว้เข้าโรงอบแห้งเพื่อทดสอบสมรรถนะโรงอบแห้ง
3. ทำการอบแห้งที่ระยะเวลา 24, 48, 72 และ 96 ชั่วโมง
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2563 ถึง 31 มีนาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
1. ได้โรงอบแห้งยางพาราแผ่นแบบพาราโบลาโดมที่มีประสิทธิภาพ
ทรัพยากรอื่น ๆ
ภาคีร่วมสนับสนุน
รายละเอียดงบประมาณ
ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
ค่าตอบแทนวิทยากร

ค่าตอบแทนอาจารย์ที่ปรึกษาในการวิเคราะห์ผล 5 คน x 180 บาท x 5 ครั้ง

5 คน 180 15 13,500
ค่าตอบแทนวิทยากร

ค่าตอบแทนนักศึกษาในการวิเคราะห์ผล 10 คน x 120 บาท x 10 ครั้ง

10 คน 120 20 24,000
ค่าพาหนะเดินทาง - รถยนต์ส่วนบุคคล

ค่าชดเชยยานพาหนะอาจารย์ที่ปรึกษา 5 คน ไปวิเคราะห์ผลการทดลอง

1 เที่ยว 500 5 2,500
ค่าที่พักตามจริง

ค่าที่พักสำหรับนักศึกษา 1 เดือน x 5,000 บาท

1 ครั้ง 5,000 1 5,000
ค่าเช่ารถ

ค่าเช่ารถสำหรับนักศึกษา

2 เที่ยว 500 1 1,000
ค่าวัสดุสำนักงาน

กระดาษ A4 4 รีม x 150 บาท

4 ชิ้น 150 1 600
ค่าวัสดุสำนักงาน

แฟ้มเก็บข้อมูล 10 ชิ้น x 100 บาท

10 คน 100 1 1,000
รวมค่าใช้จ่าย 47,600

กิจกรรมที่ 5 วิเคราะห์ผลการทดลอง

ชื่อกิจกรรม
วิเคราะห์ผลการทดลอง
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพของยางพาราแผ่นที่อบโรงอบแห้งยางพาราแผ่นแบบพาราโบลาโดมเปรียบเทียบกับเกษตรกร และเปรียบเทียบกับมาตรฐานของยางแผ่นดิบคุณภาพ
  2. เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับกลุ่มเกษตรกรทำยางพาราแผ่นดิบบ้านหนองป่าอ้อย
รายละเอียดกิจกรรม
1. วิเคราะห์หาความชื้นที่คงเหลือในยางแผ่นแต่ละการทดลอง
2. เปรียบเทียบคุณภาพของยางแผ่นที่อบแห้งจากโรงอบแห้งยางพาราแผ่นแบบพาราโบลาโดมกับเกษตรกร และเปรียบเทียบกับมาตรฐานของยางแผ่นดิบคุณภาพ (เปรียบเทียบความชื้นและสีของอย่างแผ่นดิบ)
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2563 ถึง 16 เมษายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
1. ได้ยางแผ่นดิบที่มีคุณภาพสูงกว่าแบบเดิมของเกษตรกรสวนยาง มีคุณภาพเทียบเท่ากับมาตรฐานของยางแผ่นดิบคุณภาพ
2. กลุ่มเกษตรกรสวนยางขายยางแผ่นดิบในราคาสูงกว่าเดิม
3. เกษตรกรสวนยางมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการขายยางพาราแผ่นดิบ
4. นักศึกษาได้จัดระบบการขายยางแผ่นดิบกับผู้รับซื้อยางแผ่นดิบ
ทรัพยากรอื่น ๆ
ภาคีร่วมสนับสนุน
รายละเอียดงบประมาณ
ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
ค่าตอบแทนวิทยากร

ค่าตอบแทนอาจารย์ที่ปรึกษาในการวิเคราะห์ผล 5 คน x 180 บาท x 5 ครั้ง

5 คน 180 5 4,500
ค่าตอบแทนวิทยากร

ค่าตอบแทนนักศึกษาในการวิเคราะห์ผล 10 คน x 120 บาท x 10 ครั้ง

10 คน 120 10 12,000
ค่าพาหนะเดินทาง - รถยนต์ส่วนบุคคล

ค่าชดเชยยานพาหนะอาจารย์ที่ปรึกษา 5 คน ไปวิเคราะห์ผลการทดลอง

5 เที่ยว 500 1 2,500
ค่าเช่ารถ

ค่าเช่ารถให้นักศึกษา 10 คน ไปวิเคราะห์ผลการทดลอง

10 เที่ยว 500 1 5,000
รวมค่าใช้จ่าย 24,000

กิจกรรมที่ 6 สรุปผลการดำเนินโครงการ

ชื่อกิจกรรม
สรุปผลการดำเนินโครงการ
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อให้นักศึกษาเกิดองค์ความรู้ใหม่ และเกิดทักษะด้านอื่น ๆ จากนอกห้องเรียน
รายละเอียดกิจกรรม
1. จัดประชุมชี้แจงแนวทางการใช้งานและการบำรุงรักษาโรงอบแห้งยางพาราแผ่นแบบพาราโบลาโดม
ระยะเวลาดำเนินงาน
16 เมษายน 2563 ถึง 30 เมษายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
1. ได้รับทราบแนวทาง ข้อตกลงร่วมกันในการใช้งานและขั้นตอนการบำรุงรักษาโรงอบแห้งยางพาราแผ่นแบบพาราโบลาโดม
2. นักศึกษามีความรู้ ความสามารถในการทำยางแผ่นดิบ และสามารถออกแบบและสร้างโรงอบแห้งยางพาราแผ่นแบบพาราโบลาโดม
3. เกิดระบบการซื้อขายยางแผ่นที่ทันสมัยใหม่ เพื่อให้เกษตรกรไม่ถูกเอาเปรียบ
ทรัพยากรอื่น ๆ
ภาคีร่วมสนับสนุน
รายละเอียดงบประมาณ
ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
ค่าตอบแทนวิทยากร

ค่าตอบแทนอาจารย์ที่ปรึกษา 5 คน x 180 บาท

5 คน 180 2 1,800
ค่าตอบแทนวิทยากร

ค่าตอบแทนนักศึกษา 10 คน x 120 บาท

10 คน 120 2 2,400
ค่าจ้างทำป้ายประชาสัมพันธ์ 1 ชิ้น 1,000 1 1,000
ค่าเช่ารถ

ค่าเช่ารถให้นักศึกษา

1 เที่ยว 500 1 500
ค่าพาหนะเดินทาง - รถยนต์ส่วนบุคคล

ค่าชดเชยยานพาหนะอาจารย์ที่ปรึกษา

1 เที่ยว 500 1 500
ค่าตอบแทนผู้เข้าร่วมประชุม

ค่าอาหาร และอาหารว่าง

30 คน 150 1 4,500
ค่าตอบแทนการประสานงาน 2 คน 1,000 1 2,000
ค่าถ่ายเอกสาร

ค่าถ่ายเอกสารทำเล่มคู่มือการใช้งาน และการบำรุงรักษา

30 คน 300 1 9,000
ค่าถ่ายเอกสาร

ค่าจ้างทำเล่มสรุปผลดำเนินโครงการ 5 เล่ม x 500 บาท

5 ชิ้น 500 1 2,500
รวมค่าใช้จ่าย 24,200

รวมงบประมาณทุกกิจกรรมของแผนการดำเนินงาน จำนวน 486,700.00 บาท

ค่าตอบแทนค่าจ้างค่าใช้สอยค่าวัสดุรวมเงิน
ค่าใช้จ่าย (บาท) 145,200.00 2,000.00 43,500.00 296,000.00 486,700.00
เปอร์เซ็นต์ (%) 29.83% 0.41% 8.94% 60.82% 100.00%

11. งบประมาณ

486,700.00บาท

12. การติดตามประเมินผล

ต่อชุมชนต่อนักศึกษา
ผลผลิต (Output) 1. ได้โรงอบแห้งยางพาราแผ่นแบบพาราโบลาโดมที่มีประสิทธิภาพในการอบแห้งยางพาราแผ่น 1. นักศึกษาได้รับองค์ความรู้ใหม่ เกิดทักษะในด้านการทำยางพาราแผ่นดิบ และมีความรู้ ความสามารถในการออกแบบและสร้างโรงอบแห้ง
2. นักศึกษาที่ไปร่วมโครงการวิจัยครั้งนี่้สามารถเทียบโอนในรายวิชาได้ดังนี้
2.1 03-021-313 อุตสาหกรรมยาง 3(2-3-5)
2.2 08-035-402 สัมมนาทางเทคโนโลยีเครื่องกล 3(2-3-5)
2.3 08-035-407 โครงงานเทคโนโลย๊เครื่องกล 3(1-6-4)
2.4 05-052-306 เทคนิคการจัดการสมัยใหม่ 3(3-0-6)
ผลลัพธ์ (Outcome) 1. เกษตรกรสวนยางสามารถทำยางพาราแผ่นที่มีคุณภาพ และมีราคาต่อแผ่นสูงขึ้นกว่าเดิม
2. เกษตรกรสวนยางมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการขายยางพาราแผ่นดิบ
3. เกษตรกรสวนยางมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
1. นักศึกษาสามารถนำความรู้ด้านการทำยางพาราแผ่นดิบ การออกแบบและสร้างโรงอบแห้งไปประกอบอาชีพได้
2. นักศึกษาได้เพิ่มองค์ความรู้ในด้านการจัดการระบบการค้าสมัยใหม่
ผลกระทบ (Impact) 1. เกษตรกรสวนยางสามารถผลิตยางแผ่นที่มีคุณภาพ ตรงตามความต้องการของตลาด
2. เกิดระบบการซื้อขายยางแผ่นที่ทันสมัยใหม่ โดยอาศัยความรู้ความชำนาญและเทคโนโลยีมาช่วยในการตอบสนองความต้องการของลูกค้า นำไปสู่ความสัมพันธ์ที่เชื่อมโยงกันระหว่าง ผู้ผลิต ผู้ค้าปลีกและลูกค้า
1. นักศึกษาสามารถทำยางพาราแผ่นดิบ และออกแบบและสร้างโรงอบแห้งได้
2. นักศึกษาได้เพิ่มองค์ความรู้จากนอกห้องเรียน และได้เรียนรู้การใช้ชีวิตในสังคม
นำเข้าสู่ระบบโดย Suriyan_kit Suriyan_kit เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2562 13:12 น.