แบบเสนอโครงการ
การบริหารจัดการขยะในชุมชน

1. ชื่อโครงการ

การบริหารจัดการขยะในชุมชนมหาวิทยาลัยขอนแก่นวิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่นเทศบาลตำบลคำใหญ่ อ.ห้วยเม็ก จ.กาฬสินธุ์หมู่ 7 บ้านคำใหญ่ (พื้นที่บริเวณบ่อขยะเทศบาล) เทศบาลตำบลคำใหญ่ อ.ห้วยเม็ก จ.กาฬสินธุ์รองศาสตราจาย์ ดร.ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุมหาวิทยาลัยขอนแก่น 123 หมู่16ถนนมิตรภาพ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 4000204320 3124นักศึกษาวิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น สาขาการจัดการปกครองท้องถิ่น จำนวน 3 คน
นักศึกษาวิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น สาขาการจัดการเมืองและโครงสร้างพื้นฐาน จำนวน 3 คน
นักศึกษาวิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น สาขาการจัดการการคลังจำนวน2 คน

2. พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
กาฬสินธุ์ ห้วยเม็ก คำใหญ่

3. รายละเอียดชุมชน

ที่ตั้งของหมู่บ้านในเขตเทศบาลตำบลคำใหญ่ ประกอบด้วย หมู่ที่๒บ้านคำเจริญ หมู่ที่๓บ้านชัยศรี หมู่ที่๗บ้านคำใหญ่ หมู่ที่๘บ้านคำถาวร (บางส่วน) หมู่ที่๙บ้านโพธิ์ทอง หมู่ที่๑๐บ้านโคกป่ากุงหมู่ที่๑๑บ้านคำใหญ่หมู่ที่๑๒บ้านคำเจริญ
ลักษณะภูมิประเทศ พื้นที่ส่วนมากเป็นที่ราบสูงลุ่มดอนดินร่วนปนทรายไม่อุ้มน้ำบางส่วนเป็นที่ราบแหล่งน้ำลำธารที่สำคัญได้แก่ห้วยสายบาตรซึ่งเป็นแนวแบ่งเขตระหว่างอำเภอห้วยเม็กจังหวัดกาฬสินธุ์กับอำเภอกระนวนจังหวัดขอนแก่นนอกจากนั้นมีหนองสิมหนองกุงหนองฝายบ้านและห้วยขวางที่สามารถกักเก็บน้ำไว้ใช้ตลอดปี
เดิมเป็นสุขาภิบาลคำใหญ่ด้วยกระทรวงมหาดไทยได้พิจารณาเห็นว่าท้องถิ่นบางส่วนของตำบลคำใหญ่อำเภอห้วยเม็กจังหวัดกาฬสินธุ์มีสภาพอันสมควรยกฐานะเป็นสุขาภิบาลตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่๔สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๔ ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่ม๙๘ตอนที่๑๘๗ลงวันที่๑๐พฤศจิกายน๒๕๒๔ และได้เปลี่ยนแปลงฐานะจากสุขาภิบาลเป็นเทศบาลตำบลตามพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ประกาศในราชกิจจานุเบกษาฉบับกฤษฎีกา เล่ม ๑๑๖ตอนที่ ๙ ก.ลงวันที่๒๔กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๒ เป็นเทศบาลตำบลคำใหญ่ในวันที่๒๕พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๒มีพื้นที่ ๑๐ตารางกิโลเมตรหรือ๖,๒๕๐ ไร่ระยะห่างจากตัวจังหวัดกาฬสินธุ์๕๖กิโลเมตร
การดำเนินงานเพื่อจัดการขยะมูลฝอยที่ผ่านมา ท้องถิ่นส่วนใหญ่สามารถให้บริการเก็บรวบรวมขยะมูลฝอยได้มากขึ้น ทำให้ปัญหาขยะตกค้างน้อยลง แต่ยังมีปัญหากำจัดขยะมูลฝอยไม่ถูกสุขลักษณะอยู่มากตกค้างน้อยลง แต่ยังมีปัญหากำจัดขยะมูลฝอยไม่ถูกสุขลักษณะอยู่มาก แม้จะมีการจัดสรรงบประมาณ เพื่อก่อสร้างระบบกำจัดที่ถูกสุขลักษณะมากขึ้น แต่ยังมีหลายพื้นที่ที่ยังไม่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณ และยังมีท้องถิ่นหลายแห่งที่มีระบบแล้วก็ไม่สามารถกำจัดขยะมูลฝอยได้ถูกสุขลักษณะตามที่ได้ออกแบบไว้ได้ และบางแห่งได้รับการต่อต้านคัดค้านจากประชาชนจนไม่สามารถเข้าใช้พื้นที่ได้
ทั้งนี้เนื่องจากการทำโครงการที่ผ่านมามักไม่ได้คำนึงถึงการเตรียมพร้อมที่จะดำเนินงานดูแลรักษาระบบอย่างต่อเนื่องทำให้มีข้อจำกัดทางด้านบุคลากรและองค์กรบริหารจัดการที่ชัดเจน นอกจากนี้การดำเนินงานที่ผ่านมา ส่วนใหญ่มีลักษณะต่างคนต่างทำ ทำให้มีสถานที่กำจัดมูลฝอยที่ไม่ถูกสุขลักษณะขนาดต่าง ๆ กันกระจายทั่วไป ทำให้สิ้นเปลืองงบประมาณโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจของประเทศ มีผลทำให้การจัดสรรงบประมาณจากส่วนกลางมีจำกัดและไม่ต่อเนื่องซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการจัดการขยะมูลฝอย
ในการบริหารการจัดการขยะให้ประสบผลสำเร็จนั้นจึงจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือ จากประชาชนและหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะเป็น ส่วนหนึ่งของการจัดการขยะที่ประสบผลสำเร็จ การดำเนินการดังกล่าวจึงจำเป็นต้องกำหนดแนวทาง และทิศทางในการดำเนินงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานของรัฐคือ เทศบาลตำบลหลุบอ.เมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ และ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในทุกภาคส่วน เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมในการแก้ไขปัญหาและป้องกัน ผลกระทบอันเนื่องจากการบริหารจัดการขยะที่ไม่มีประสิทธิภาพ จากปัญหาดังกล่าว ผู้วิจัยจึงมีความสนใจศึกษาสภาพปัญหาขยะของเทศบาลตำบลคำใหญ่ อ.ห้วยเม็ก จ.กาฬสินธุ์ ในการจัดการขยะ และตลอดจนหาแนวทางการแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องในการจัดการขยะ เพื่อพัฒนาการบริหารจัดการขยะ แบบมีส่วนร่วมเทศบาลตำบลคำใหญ่ อ.ห้วยเม็ก จ.กาฬสินธุ์ และเป็นแนวทางในการส่งเสริมให้เกิดการบริหารจัดการขยะในชุมชนได้อย่างถูกต้องเหมาะสม โดยให้ประชาชนในพื้นที่และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการดำเนินการบริหารจัดการขยะ เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาขยะอย่างยั่งยืนและเป็นการเตรียมความพร้อมต่อการเจริญเติบโตของชุมชนในอนาคตต่อไป

4. ประเด็นปัญหาหลัก

5. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

6. องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

องค์ความรู้ในด้านชุมชนสัมพันธ์
องค์ความรู้ในด้านการสร้างการรับรู้ของชุมชน
องค์ความรู้เกี่ยวกับการจัดทำขยะเปียกในรูปแบบต่าง ๆ
องค์ความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนและวิธีการกำจัดขยะในชุมชน
องค์ความรู้ในการทำปุ๋ยอินทรีย์เบื้องต้น
องค์ความรู้ในการคัดแยกขยะ

7. วัตถุประสงค์

วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อบริหารจัดการขยะในชุมชน

ขยะลดลงร้อยละ 60

100.00 60.00

8. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ชุมชน 100

9. ระยะเวลา

10. วิธีดำเนินงาน

กิจกรรมที่ 1 KKU 50 Model

ชื่อกิจกรรม
KKU 50 Model
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อบริหารจัดการขยะในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม
ทำความรู้จักและเข้าใจชุมชน ทำความเข้าใจปัญหาและกำหนดวัตถุประสงค์เป้าหมาย
เติมเต็มองค์ความรู้
การวิเคราะห์พื้นที่ และคัดเลือกกลุ่มเป้าหมาย ดำเนินการ
ระบบงานสนับสนุน การกำกับติดตาม หนุนเสริม
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
ทรัพยากรอื่น ๆ
ภาคีร่วมสนับสนุน
รายละเอียดงบประมาณ
ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
ค่าตอบแทนการประสานงาน

อาจารย์รับผิดชอบโครงการ

2 คน 15,000 4 120,000
ค่าตอบแทนการประสานงาน

ค่าเบี้ยเลี้ยงเจ้าหน้าที่ประสานงาน

2 คน 6,000 4 48,000
อื่น ๆ

ค่าเบี้ยเลี้ยงนักศึกษา

8 คน 5,000 4 160,000
ค่าที่พักตามจริง 2 ชุด 5,000 4 40,000
อื่น ๆ

ค่าเดินทาง

1 ครั้ง 20,000 1 20,000
ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้

ค่าวัสดุอุปกรณ์

1 ครั้ง 112,000 1 112,000
รวมค่าใช้จ่าย 500,000

รวมงบประมาณทุกกิจกรรมของแผนการดำเนินงาน จำนวน 500,000.00 บาท

ค่าตอบแทนค่าใช้สอยค่าวัสดุอื่น ๆรวมเงิน
ค่าใช้จ่าย (บาท) 168,000.00 40,000.00 112,000.00 180,000.00 500,000.00
เปอร์เซ็นต์ (%) 33.60% 8.00% 22.40% 36.00% 100.00%

11. งบประมาณ

500,000.00บาท

12. การติดตามประเมินผล

ต่อชุมชนต่อนักศึกษา
ผลผลิต (Output) ครัวเรือน มีถังขยะในครัวงเรือน นักศึกษาเป็นพลเมืองที่มีความรับผิดชอบ สร้างนักศึกษาที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม
ผลลัพธ์ (Outcome) การจัดเก็บขยะของเทศบาลลดน้อยลง นักศึกษาได้ทำจริง ผิดพลาดจริง และเรียนรู้จากประสบการณ์การทำงานจริง มีทักษะในการปรับตัวและทักษะในการแก้ปัญหา
ผลกระทบ (Impact)
นำเข้าสู่ระบบโดย วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัขอนแก่น วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัขอนแก่น เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2562 10:52 น.