การยกระดับการแปรรูปผลิตภัณฑ์ชุมชนสู่การผลิตที่สะอาดด้วยนวัตกรรมขยายผลปงยางคกโมเดล "ระบบกึ่งอัตโนมัติสำหรับตู้อบแห้งแบบความร้อนร่วม"

แบบเสนอโครงการ
การยกระดับการแปรรูปผลิตภัณฑ์ชุมชนสู่การผลิตที่สะอาดด้วยนวัตกรรมขยายผลปงยางคกโมเดล "ระบบกึ่งอัตโนมัติสำหรับตู้อบแห้งแบบความร้อนร่วม"

1. ชื่อโครงการ

การยกระดับการแปรรูปผลิตภัณฑ์ชุมชนสู่การผลิตที่สะอาดด้วยนวัตกรรมขยายผลปงยางคกโมเดล "ระบบกึ่งอัตโนมัติสำหรับตู้อบแห้งแบบความร้อนร่วม"กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมสาขาวิชาเทคโนโลยีพลังงาน คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปางสำนักงานพลังงานจังหวัดลำปางบ้านทุ่งบ่อแป้น ต.ปงยางคก อ.ห้างฉัตร จ.ลำปางผศ.ดร.รวิภา ยงประยูร599 หมู่9 บ้านเวียงสวรรค์ แม่เมาะ ลำปาง0819986523นายจารุเกียรติ ปัญญาดี

2. พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
ลำปาง งาว บ้านโป่ง
ลำปาง แม่พริก แม่ปุ ชนบท
ลำปาง แม่เมาะ นาสัก ชนบท
ลำปาง ห้างฉัตร ปงยางคก ชานเมือง
เชียงใหม่ สารภี ยางเนิ้ง ในเมือง
ลำปาง วังเหนือ ร่องเคาะ ชนบท
ลำปาง แม่ทะ สันดอนแก้ว ชนบท
ลำปาง แม่ทะ บ้านกิ่ว ชานเมือง

3. รายละเอียดชุมชน

ศูนย์วิจัยและพัฒนาพลังงานสู่ชุมชน คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง (Energy Community Research and Development Center) มีภารกิจในการถ่ายทอดความรู้ด้านพลังงานของบุคลากรของคณะ ไปสู่ชุมชนและกลุ่มบุคคลที่มีความสนใจ อีกทั้งยังสร้างกลไกการทำงานในลักษณะเครือข่ายร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนในการขยายงานไปสู่รูปธรรมในเชิงพาณิชย์ให้มากขึ้นตั้งแต่ปี 2553 และในช่วงระยะเวลาระหว่างปีงบประมาณ 2560 - 2561 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. รวิภา ยงประยูร ประธานกรรมการ ได้ประสานงานร่วมกับเครือข่ายพันธมิตรในการจัดกิจกรรมบริการวิชาการ ภายในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งรวบรวมประเด็นความต้องการทางด้านเทคโนโลยีของชุมชน ได้เป็นความต้องการรับการถ่ายทอดและการปรับปรุงเทคโนโลยีทางด้านพลังงานทดแทนและด้านการแปรรูปทางการเกษตร ผ่านประเด็นหัวข้อบริการวิชาการ ได้แก่
- โครงการบริการวิชาการของสาขาวิชาเทคโนโลยีพลังงาน ปี2560 อบรมหลักสูตรการบำรุงรักษาเครื่องผลิตแก๊สเชื้อเพลิงจากชีวมวลแบบไหลลง “รุ่นสุดพลัง” ใน 6 อำเภอภายใต้ความร่วมมือกับสำนักงานพลังงานจังหวัดลำปาง จำนวนทั้งสิ้น 12 เครื่อง
- โครงการศูนย์วิจัยและพัฒนาพลังงานสู่ชุมชน ปี 2560 หัวข้อ จัดอบรมหลักสูตรการติดตั้งและบำรุงรักษาเตานึ่งเห็ดประหยัดฟืน ณ อิศรฟาร์ม เครือข่ายกลุ่มอาชีพเพาะเห็ดของกลุ่มวิสาหกิจเพาะเห็ดบ้านเวียงหงส์ อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง นำไปสู่การขยายผลในการบริการวิชาการระดับมหาวิทยาลัยภายใต้โครงการ Engagement พันธกิจสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปางกับชุมชน/สังคม หัวข้อ การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเห็ดของกลุ่มวิสาหกิจเพาะเห็ดและแปรรูปเห็ดบ้านสวนแม่ทะ จ.ลำปางด้วยเตานึ่งก้อนเห็ดแบบใช้ความร้อนแบบ 3 กลับ
- โครงการบริการวิชาการของสาขาวิชาเทคโนโลยีพลังงาน ปี2561 หัวข้อ โครงการเสริมความเข้มแข็งของ
เครือข่ายเดิมในการเรียนรู้ด้านพลังงานด้วยการติดตั้งและบำรุงรักษาเตานึ่งเห็ดประหยัดฟืน ณ กลุ่มส่งเสริมอาชีพเศรษฐกิจพอเพียงบ้านโป่ง อ.งาว จ.ลำปาง, กลุ่มผลิตและแปรรูปเห็ด อ.แจ้ห่ม จ.ลำปาง, กลุ่มแปรรูปผลผลิตเกษตรบ้านเข้าซ้อน อ.เกาะคา จ.ลำปาง และ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มอาชีพเพาะเห็ด บ้านทุ่งบ่อแป้น อ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง
- โครงการศูนย์วิจัยและพัฒนาพลังงานสู่ชุมชน ปี 2561 หัวข้อ การประเมินศักยภาพการนำเศษวัสดุที่ใช้เพาะเห็ดแล้วมาทำเป็นเชื้อเพลิงอัดแท่งทดแทนฟืน โดยเป็นการทำงานร่วมกันกับภาคีเครือข่าย ได้แก่ กลุ่มส่งเสริมอาชีพเศรษฐกิจพอเพียงบ้านโป่ง , คณะครูหมวดวิทยาศาสตร์ โรงเรียนประชารัฐธรรมคุณ และ คณะทำงานกลุ่มถ่านอัดแท่งจากเศษไม้ไผ่ขององค์การบริหารส่วนตำบลปงเตา อ.งาว จ.ลำปาง
- โครงการบริการวิชาการร่วมกันระหว่าง สถาบันไทย-เยอรมัน กับ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ปี 2561 หัวข้อ โครงการพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปด้วยเทคโนโลยีระบบอัตโนมัติ กิจกรรมพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีอัตโนมัติ ระหว่างวันที่ 18-19, 25-26 สิงหาคม 2561 และ 1-2 กันยายน 2561
1.กลุ่มอาชีพ/ชุมชน ที่มีเครื่องอบแห้งเดิมจากศูนย์วิจัยและพัฒนาพลังงานสู่ชุมชน
-กลุ่มส่งเสริมอาชีพเศรษฐกิจพอเพียงบ้านโป่ง อ.งาว จ.ลำปาง และเครือข่ายสมาชิก
-กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มอาชีพเพาะเห็ดบ้านทุ่งบ่อแป้น ต.ปงยางคก อ. ห้างฉัตร จ.ลำปาง
-กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเพาะเห็ดในเรือนโรงบ้านเวียงหงษ์ อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง
-กลุ่มวิสาหกิจชุมชนหัวใจผักกาดตากแห้ง ต.ร่องเคาะ อ.วังเหนือ จ.ลำปาง
-ชมรมผู้สูงอายุเทศบาลตำบลยางเนิ้ง ต.ยางเนิ้ง อ.สารภี จ.เชียงใหม่
2.กลุ่มอาชีพ/ชุมชน ที่ไม่มีเครื่องอบแห้งเดิมจากศูนย์วิจัยและพัฒนาพลังงานสู่ชุมชน
-กลุ่มวิสาหกิจเพาะเห็ดและแปรรูปเห็ดบ้านสวนแม่ทะ อ.แม่ทะ จ.ลำปาง
-กลุ่มฮักน้ำจาง อ.แม่ทะ จ.ลำปาง
-อิศรฟาร์ม ต.นาสัก อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง
-บ้านไร่ธรรมะรักษา ต.บ้านแม่ปุ อ.แม่พริก จ.ลำปาง
การยกระดับการแปรรูปเห็ดสู่ผลิตภัณฑ์สะอาดด้วยระบบกึ่งอัตโนมัติสำหรับตู้อบแห้งแบบความร้อนร่วม เกิดจากการใช้งานเครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์เรือนกระจกในช่วงฤดูฝนและมีปริมาณผลผลิตเห็ดสูงในชุมชนที่ประกอบอาชีพการเพาะเห็ด แต่เนื่องจากเครื่องอบแห้งดังกล่าวต้องใช้แหล่งพลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์เพียงอย่างเดียวจึงไม่สามารถตอบสนองความต้องการใช้งานของชุมชนได้ในช่วงเวลาดังกล่าว ทำให้ไม่สามารถยกระดับการผลิตและแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรได้อย่างเต็มที่ตามนโยบายภาครัฐที่มุ่งเน้นให้นำนวัตกรรมมาใช้กระบวนการผลิตกรณี มีเครื่องอบแห้งเดิมจากศูนย์วิจัยและพัฒนาพลังงานสู่ชุมชน กลุ่มอาชีพ/ชุมชนต้องการการปรับปรุงเครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบเรือนกระจกฯ ที่มีความจุ 10 กิโลกรัม ด้วยการออกแบบ ติดตั้ง ทดสอบ และใช้งานจริง ของระบบกึ่งอัตโนมัติ ณ กลุ่มอาชีพเพาะเห็ดและเครือข่ายสมาชิก
กรณี ไม่มีเครื่องอบแห้งเดิมจากศูนย์วิจัยและพัฒนาพลังงานสู่ชุมชน กลุ่มอาชีพ/ชุมชนต้องการองค์ความรู้จากการเรียนรู้ที่จะยกระดับซึ่งการจัดหาวัสดุมาประกอบเป็นเครื่องอบนั้น ชุมชนจะต้องเป็นผู้จัดหาเอง
ทั้งนี้ เพื่อนำไปสู่การขยายความสามารถในการแปรรูปผลผลิตเห็ดแห้งได้เฉลี่ยต่อวันตั้งแต่ 2 กิโลกรัม ได้สม่ำเสมอตลอดทั้งปี

4. ประเด็นปัญหาหลัก

5. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

6. องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

1.การออกแบบ พัฒนา และประยุกต์ใช้งานระบบกึ่งอัตโนมัติสำหรับตู้อบแห้งแบบสองระบบในการตอบสนองความต้องการของกลุ่มให้สามารถแปรรูปผลผลิตเห็ดแห้งของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน/กลุ่มอาชีพในชุมชน
2.การประเมินกระบวนการการผลิตที่สะอาดของการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร
3.การยกระดับผลผลิตทางการเกษตร ตลอดจนมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน

7. วัตถุประสงค์

วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อออกแบบ และพัฒนา ระบบกึ่งอัตโนมัติสำหรับตู้อบแห้งแบบสองระบบในการตอบสนองความต้องการของกลุ่มให้สามารถแปรรูปผลผลิตเห็ดแห้งของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน/กลุ่มอาชีพในชุมชน

ร้อยละของความพึงพอใจจากการใช้งานตู้อบแห้งแบบสองระบบที่มีระบบกึ่งอัตโนมัติ

60.00 80.00
2 เพื่อประเมินกระบวนการการผลิตที่สะอาดของการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร

ร้อยละกระบวนการการผลิตที่สะอาดขึ้น

20.00 10.00
3 เพื่อยกระดับผลผลิตทางการเกษตร ตลอดจนมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน

ร้อยละของผลผลิตของกลุ่มที่เข้าสู่มาตรฐานชุมชน

20.00 10.00

8. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
กลุ่มวิสาหกิจชุมชนหัวใจผักกาดตากแห้ง 20
กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเพาะเห็ดในเรือนโรงบ้านเวียงหงษ์ 10
กลุ่มวิสาหกิจเพาะเห็ดและแปรรูปเห็ดบ้านสวนแม่ทะ 10
กลุ่มส่งเสริมอาชีพเศรษฐกิจพอเพียงบ้านโป่ง 20
กลุ่มฮักน้ำจาง อ.แม่ทะ 30
ชมรมผู้สูงอายุเทศบาลตำบลยางเนิ้ง 30
บ้านไร่ธรรมะรักษา ต.บ้านแม่ปุ อ.แม่พริก 10
อิศรฟาร์ม ต.นาสัก อ.แม่เมาะ 10

9. ระยะเวลา

10. วิธีดำเนินงาน

กิจกรรมที่ 1 1. การประชุมเพื่อชี้แจงโครงการและกำหนดข้อตกลงร่วมกับชุมชน/กลุ่มเป้าหมาย พร้อมทวนสอบ พร้อมจำแนกความต้องการรับการถ่ายทอดเทคโนโลยี/นวัตกรรมพลังงานของชุมชน/กลุ่มเป้าหมาย

ชื่อกิจกรรม
1. การประชุมเพื่อชี้แจงโครงการและกำหนดข้อตกลงร่วมกับชุมชน/กลุ่มเป้าหมาย พร้อมทวนสอบ พร้อมจำแนกความต้องการรับการถ่ายทอดเทคโนโลยี/นวัตกรรมพลังงานของชุมชน/กลุ่มเป้าหมาย
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อออกแบบ และพัฒนา ระบบกึ่งอัตโนมัติสำหรับตู้อบแห้งแบบสองระบบในการตอบสนองความต้องการของกลุ่มให้สามารถแปรรูปผลผลิตเห็ดแห้งของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน/กลุ่มอาชีพในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม
เพื่อทวนสอบ พร้อมจำแนกกลุ่มชุมชน ตามความต้องการรับการถ่ายทอดเทคโนโลยี/นวัตกรรมพลังงานของชุมชน
ระยะเวลาดำเนินงาน
2 กุมภาพันธ์ 2563 ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
ผลผลิต: รายละเอียดสถานการณ์ปัจจุบันของชุมชนกลุ่มเป้าหมาย
ผลลัพธ์: การกำหนดกรอบงานและการวางแผนการทำงานร่วมกับชุมชนกลุ่มเป้าหมาย นำไปสู่การสร้างการมีส่วนร่วมและความตระหนักในการแก้ปัญหา
ทรัพยากรอื่น ๆ
สถานที่ประชุมของมหาวิทยาลัย พร้อมอุปกรณ์อำนวยความสะดวกในการจัดประชุม
ภาคีร่วมสนับสนุน
สำนักงานพลังงานจังหวัดลำปาง อนุเคราะห์วิทยากรร่วมกิจกรรม
รายละเอียดงบประมาณ
ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
ค่าพาหนะเดินทาง - รถยนต์ส่วนบุคคล

ค่าเดินทางผู้เข้าร่วมโครงการเดินทางมาประชุมที่มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

10 ชุด 2,000 1 20,000
ค่าอาหาร

ค่าอาหารกลางวัน 1 มื้อ

50 คน 120 1 6,000
ค่าอาหาร

ค่าอาหารว่าง 1 มื้อ

50 คน 30 1 1,500
ค่าถ่ายเอกสาร

ค่าถ่ายเอกสารประกอบการประชุม

50 ชุด 30 1 1,500
ค่าจ้างทำป้ายประชาสัมพันธ์

ป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ

1 ชิ้น 1,000 1 1,000
รวมค่าใช้จ่าย 30,000

กิจกรรมที่ 2 จัดสร้างเทคโนโลยี/นวัตกรรม พร้อมติดตั้งในที่ตั้งของชุมชน/กลุ่มเป้าหมาย

ชื่อกิจกรรม
จัดสร้างเทคโนโลยี/นวัตกรรม พร้อมติดตั้งในที่ตั้งของชุมชน/กลุ่มเป้าหมาย
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อออกแบบ และพัฒนา ระบบกึ่งอัตโนมัติสำหรับตู้อบแห้งแบบสองระบบในการตอบสนองความต้องการของกลุ่มให้สามารถแปรรูปผลผลิตเห็ดแห้งของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน/กลุ่มอาชีพในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม
ติดตั้งและทดสอบ เทคโนโลยี/นวัตกรรม ในที่ตั้งของชุมชน/กลุ่มเป้าหมาย ในกรณีชุมชนที่มีตู้อบแห้งแบบสองระบบเดิมของศูนย์วิจัยฯอยู่แล้ว
ระยะเวลาดำเนินงาน
2 มีนาคม 2563 ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
ผลผลิต: ตู้อบแห้งแบบสองระบบในชุมชน ถูกพัฒนาด้วยการใช้งานร่วมกับระบบกึ่งอัตโนมัติ
ผลลัพธ์: ชุมชน/กลุ่มสามารถแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรได้เฉลี่ยต่อวันตั้งแต่ 2 กิโลกรัม ได้สม่ำเสมอตลอดทั้งปี
ทรัพยากรอื่น ๆ
ตู้อบแห้งแบบสองระบบเดิมในชุมชน
ภาคีร่วมสนับสนุน
1.ตู้อบแห้งแบบสองระบบเดิมในชุมชน
2.กลุ่มอาชีพที่เข้าร่วมโครงการต้องดูแลอาหารและอาหารว่างแก่คณะทำงานที่เข้าไปปรับปรุงระบบ
รายละเอียดงบประมาณ
ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้

ค่าวัสดุประกอบเป็นกึ่งอัตโนมัติสำหรับตู้อบแห้งแบบสองระบบ

5 ชุด 10,000 1 50,000
ค่าพาหนะเดินทาง - รถยนต์ส่วนบุคคล

ค่าพาหนะเดินทางไปติดตั้งและปรับปรุงระบบในกลุ่มอาชีพ 5 กลุ่ม ที่มีระบบเดิมอยู่แล้ว

5 ครั้ง 2,000 1 10,000
รวมค่าใช้จ่าย 60,000

กิจกรรมที่ 3 การฝึกอบรมและการทดลองใช้งาน ตู้อบแห้งสองระบบที่มีระบบกึ่งอัตโนมัติ

ชื่อกิจกรรม
การฝึกอบรมและการทดลองใช้งาน ตู้อบแห้งสองระบบที่มีระบบกึ่งอัตโนมัติ
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อประเมินกระบวนการการผลิตที่สะอาดของการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร
  2. เพื่อยกระดับผลผลิตทางการเกษตร ตลอดจนมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม
การทดลองใช้งาน พร้อมทำการจดบันทึกข้อมูลการใช้งาน แลกเปลี่ยนปัญหาและแนวทางการใช้งานจากตู้อบแห้งสองระบบที่มีระบบกึ่งอัตโนมัติ ของกลุ่ม ผ่านLine Group หรือ เพจ FB โครงการ
ระยะเวลาดำเนินงาน
2 มีนาคม 2563 ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
ผลผลิต: กลุ่มอาชีพในชุมชนเรียนรู้ที่จะพัฒนากระบวนการผลิต
ผลลัพธ์: นำไปสู่ความยั่งยืนในการใช้งานนวัตกรรมของกลุ่มอาชีพในชุมชน
ทรัพยากรอื่น ๆ
การใช้Line Group หรือ เพจ FB โครงการในการทำงานร่วมกัน
ภาคีร่วมสนับสนุน
-สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด/อำเภอ ในการเข้ามาตรวจประเมินผลิตภัณฑ์ในการเข้าสู่มาตรฐานชุมชน
-สำนักงานพลังงานจังหวัด พัฒนาชุมชนจังหวัด/อำเภอและสาธารณสุขจังหวัด/อำเภอ ในการเข้ามาร่วมประเมินกระบวนการผลิตที่สะอาดขึ้น
รายละเอียดงบประมาณ
ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
ค่าพาหนะเดินทาง - รถยนต์ส่วนบุคคล

ค่าพาหนะเดินทางไปประเมินผลิตภัณฑ์และกระบวนการของกลุ่มอาชีพในชุมชน

5 ชุด 3,000 1 15,000
รางวัลเพื่อการยกย่อง

รางวัลสำหรับกลุ่มที่ได้รับคะแนนประเมินสูงสุด

1 คน 10,000 1 10,000
รวมค่าใช้จ่าย 25,000

กิจกรรมที่ 4 การสอนงานโดยวิทยากรตัวคูณของชุมชน/กลุ่มเป้าหมายขยายต่อไปยังผู้รับประโยชน์ในอัตราทวีคูณ

ชื่อกิจกรรม
การสอนงานโดยวิทยากรตัวคูณของชุมชน/กลุ่มเป้าหมายขยายต่อไปยังผู้รับประโยชน์ในอัตราทวีคูณ
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อออกแบบ และพัฒนา ระบบกึ่งอัตโนมัติสำหรับตู้อบแห้งแบบสองระบบในการตอบสนองความต้องการของกลุ่มให้สามารถแปรรูปผลผลิตเห็ดแห้งของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน/กลุ่มอาชีพในชุมชน
  2. เพื่อประเมินกระบวนการการผลิตที่สะอาดของการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร
  3. เพื่อยกระดับผลผลิตทางการเกษตร ตลอดจนมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม
การถ่ายทอดความรู้ให้กับกลุ่มอาชีพ/ชุมชน ที่เข้าร่วมโครงการ อีก 5 กลุ่มยังไม่มีระบบ
ระยะเวลาดำเนินงาน
3 สิงหาคม 2563 ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
ผลผลิต: เกิดการขยายองค์ความรู้สู่ชุมชนอื่น
ผลลัพธ์: เกิดความยั่งยืนทางความรู้ทั้งในวิทยากรชุมชน และชุมชนที่มารับความรู้
ทรัพยากรอื่น ๆ
นวัตกรรม “ตู้อบแห้งสองระบบ”ที่ถูกปรับปรุงในพื้นที่ของวิทยากรตัวคูณ
ภาคีร่วมสนับสนุน
สำนักงานพลังงานจังหวัด ร่วมประเมินศักยภาพของวิทยากรตัวคูณในโครงการ
รายละเอียดงบประมาณ
ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
ค่าพาหนะเดินทาง - รถยนต์ส่วนบุคคล

ค่าพาหนะเดินทางไปประเมินผลงานของวิทยากรตัวคูณ และชุมชนที่รับความรู้ในโครงการ

1 ชุด 3,000 5 15,000
รวมค่าใช้จ่าย 15,000

กิจกรรมที่ 5 การสัมมนาหรือแสดงนิทรรศการผลการจัดการเรียนรู้ของชุมชนเป้าหมาย

ชื่อกิจกรรม
การสัมมนาหรือแสดงนิทรรศการผลการจัดการเรียนรู้ของชุมชนเป้าหมาย
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อออกแบบ และพัฒนา ระบบกึ่งอัตโนมัติสำหรับตู้อบแห้งแบบสองระบบในการตอบสนองความต้องการของกลุ่มให้สามารถแปรรูปผลผลิตเห็ดแห้งของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน/กลุ่มอาชีพในชุมชน
  2. เพื่อประเมินกระบวนการการผลิตที่สะอาดของการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร
  3. เพื่อยกระดับผลผลิตทางการเกษตร ตลอดจนมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม
เผยแพร่ผลงาน และยกระดับเชิงสังคมให้กับกลุ่มอาชีพในชุมชน ทั้ง 10 กลุ่ม
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2563 ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
ผลผลิต: นวัตกรรมที่ถูกปรับปรุง กระบวนการผลิตที่มีประสิทธิภาพ และผลิตภัณฑ์ที่ถูกยกระดับ
ผลลัพธ์:
1.เกิดผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย จนสามารถนำไปจำหน่ายนอกพื้นที่ เป็นของฝากนักท่องเที่ยว
2.เกิดวิทยากรตัวคูณซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายที่มีความพร้อม นำองค์ความรู้ดังกล่าวไปใช้ประโยชน์ และถ่ายทอดเพื่อขยายผลต่อ ในพื้นที่ของชุมชนอื่น
3. เกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ไปสู่เชิงพาณิชย์หรืออุตสาหกรรม ในรูปแบบของมาตรฐานเทียบเคียง มผช.
ทรัพยากรอื่น ๆ
สถานที่จัดแสดงของมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง หรือเครือข่ายการทำงานที่ยินดีสนับสนุนพื้นที่ให้กับผลิตภัณฑ์ชุมชน
ภาคีร่วมสนับสนุน
เซนทรัลลำปางร่วมอนุเคราะห์พื้นที่ในการเผยแพร่ผลงาน
รายละเอียดงบประมาณ
ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
ค่าจ้างทำป้ายประชาสัมพันธ์

ค่าจ้างจัดทำนิทรรศการ ผลิตภัณฑ์ และสื่อประชาสัมพันธ์ของกลุ่มอาชีพทั้ง 10 กลุ่ม

10 ชุด 5,000 1 50,000
ค่าพาหนะเดินทาง - รถยนต์ส่วนบุคคล

ค่ายานพาหนะกลุ่มมาร่วมกิจกรรม ของกลุ่มอาชีพทั้ง 10 กลุ่ม

10 ชุด 3,000 1 30,000
ค่าตอบแทนผู้ทรงคุณวุฒิ

ตรวจประเมินผลการดำเนินงานของชุมชนทั้ง 10 กลุ่ม

10 คน 2,000 1 20,000
รางวัลเพื่อการยกย่อง

รางวัลระดับ 1,2 และ 3 แก่กลุ่มชุมชนที่เข้าร่วมโครงการ จากทั้งหมด 10 กลุ่ม

1 ชุด 20,000 1 20,000
รวมค่าใช้จ่าย 120,000

กิจกรรมที่ 6 จัดทำสรุปโครงการ

ชื่อกิจกรรม
จัดทำสรุปโครงการ
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อออกแบบ และพัฒนา ระบบกึ่งอัตโนมัติสำหรับตู้อบแห้งแบบสองระบบในการตอบสนองความต้องการของกลุ่มให้สามารถแปรรูปผลผลิตเห็ดแห้งของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน/กลุ่มอาชีพในชุมชน
  2. เพื่อประเมินกระบวนการการผลิตที่สะอาดของการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร
  3. เพื่อยกระดับผลผลิตทางการเกษตร ตลอดจนมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม
จัดทำสรุปกิจกรรมโครงการในรูปแบบสื่อสารสนเทศ พร้อมเผยแพร่ผ่านสื่อต่างๆ
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2563 ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
ผลผลิต: สื่อสารสนเทศประชาสัมพันธ์โครงการ
ผลลัพธ์: สื่อสารสนเทศประชาสัมพันธ์โครงการที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายระดับต่างๆ
ทรัพยากรอื่น ๆ
ข้อมูลจากกลุ่มอาชีพ 10 กลุ่ม ในการจัดทำสื่อสารสนเทศประชาสัมพันธ์
ภาคีร่วมสนับสนุน
สาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการการจัดการ ร่วมสนับสนุนคณะทำงานในการทำสื่อ
รายละเอียดงบประมาณ
ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้

ค่าวัสดุสำหรับการจัดทำสื่อสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพสื่อสารถึงเป้าหมาย

1 ชิ้น 20,000 1 20,000
อื่น ๆ

ค่าสาธารณูปโภค 10% หักเข้ามหาวิทยาลัย

1 ชิ้น 30,000 1 30,000
รวมค่าใช้จ่าย 50,000

รวมงบประมาณทุกกิจกรรมของแผนการดำเนินงาน จำนวน 300,000.00 บาท

ค่าตอบแทนค่าจ้างค่าใช้สอยค่าวัสดุอื่น ๆรวมเงิน
ค่าใช้จ่าย (บาท) 20,000.00 51,000.00 129,000.00 70,000.00 30,000.00 300,000.00
เปอร์เซ็นต์ (%) 6.67% 17.00% 43.00% 23.33% 10.00% 100.00%

11. งบประมาณ

300,000.00บาท

12. การติดตามประเมินผล

ต่อชุมชนต่อนักศึกษา
ผลผลิต (Output) 1.การยกระดับการแปรรูปผลิตภัณฑ์ชุมชน
2.ระบบกึ่งอัตโนมัติสำหรับตู้อบแห้งแบบความร้อนร่วมที่เหมาะกับชุมชน
1.เกิดการพัฒนาองค์ความรู้รายวิชาในหลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีพลังงาน
2.เกิดการเชื่อมโยงองค์ความรู้รายวิชาในหลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีพลังงาน
ผลลัพธ์ (Outcome) 1.การยกระดับรายได้จากผลิตภัณฑ์ชุมชน
2.เกิดวิทยากรตัวคูณจากระบบกึ่งอัตโนมัติสำหรับตู้อบแห้งแบบความร้อนร่วม
เกิดการเรียนรู้แบบบูรณาการศาสตร์สำหรับรายวิชา
ผลกระทบ (Impact) 1.ผลิตภัณฑ์ชุมชนเข้าสู่มาตรฐานชุมชน
2.เกิดการยอมรับทางสังคมในกลุ่มอาชีพที่เข้าร่วมโครงการ ทั้ง10กลุ่มอาชีพ
เกิดแหล่งเรียนรู้สำหรับรายวิชาสำหรับการใช้ในการเรียนการสอน
นำเข้าสู่ระบบโดย rawipha_lpru rawipha_lpru เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2562 15:28 น.