โครงการขยายผลรูปแบบการดำเนินงานบูรณาการระบบอาหารในระดับตำบล อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์

แบบเสนอโครงการ
โครงการขยายผลรูปแบบการดำเนินงานบูรณาการระบบอาหารในระดับตำบล อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์

1. ชื่อโครงการ

โครงการขยายผลรูปแบบการดำเนินงานบูรณาการระบบอาหารในระดับตำบล อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์ทุกตำบลในอำเภอสมเด็จ จ.กาฬสินธุ์ดร.เพ็ญ สุขมากสถาบันการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ชั้น 10 สำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลง อรรถกระวีสุนทร (อาคาร 1 ตึก LRC) ม.สงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110นางสาวฮามีด๊ะ หวันนุรัตน์

2. พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
กาฬสินธุ์ สมเด็จ

3. รายละเอียดชุมชน

อำเภอสมเด็จ ประกอบด้วย 8 ตำบล ได้แก่ ต.สมเด็จ ต.หนองแวง ต.แซงบาดาล ต.มหาไชย ต.หมู่ม่น ต.ผาเสวย ต.ศรีสมเด็จ และ ต.ห้วยหลัว มีประชากร (ข้อมูล ณ ธันวาคม 2561) จำนวน 55,183 คนแยกเป็นชาย 27,352 คน หญิง 27,831 คนมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 9 แห่ง 1) ทต.สมเด็จ 2) ทต.ลำห้วยหลัว 3)ทต.มหาไชย 4) ทต.ผาเสวย 5) ทต.แซงบาดาล 6) อบต.สมเด็จ 7) อบต.หนองแวง 8) อบต.หมูม่น และ 9) อบต.ศรีสมเด็จ ในแต่ละ อปท.จะมีกองทุนหลักประกันสุขภาพ สปสช.รับผิดชอบ ซึ่งมีการดำเนินงานด้านโภชนาการสมวัย การส่งเสริมและป้องกันโรค ยาเสพติด และการเฝ้าระวังเรื่องอาหารปลอดภัยการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ เป็นยุทธศาสตร์เร่งด่วนของการพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต และการส่งเสริมคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น จึงมีความจำเป็นในการจัดทำโครงการการขยายผลรูปแบบการดำเนินงานบูรณาการระบบอาหารในระดับตำบล เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตตามยุทธศาสตร์ชาติ ดังนี้
- ในยุทธศาสตร์ชาติ ยุทธศาสตร์ที่ 3: การพัฒนาและเสริมสร้าง ศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ กลยุทธ์ 3.2 การพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต 3.2.1 ช่วงการตั้งครรภ์ / แรกเกิด / ปฐมวัย ในการส่งเสริมการให้สารอาหารที่จำเป็นต่อสมองเด็ก กลยุทธ์ 3.5 การเสริมสร้างให้คนไทยมีสุขภาวะที่ดี 3.5.2 การป้องกันและควบคุมปัจจัยเสี่ยงที่คุกคามสุขภาพ ในลดภัยคุกคามที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาสุขภาวะคนไทย เช่น มลพิษทางสิ่งแวดล้อม อาหารที่ให้โทษต่อสุขภาพ
- แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12: ยุทธศาสตร์ 1 การเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์ กลยุทธ์: ลดปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพ การส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยมีการพัฒนาทักษะทางสมอง และยุทธศาสตร์ 9 การพัฒนาภูมิภาค เมือง และพื้นที่เศรษฐกิจ: ภาคใต้เป็นเศรษฐกิจสีเขียว ได้มาตรฐานสากล เกษตรกรผลิตได้ขายเป็น ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ มีกลุ่มธุรกิจเข้มแข็ง มีคุณภาพชีวิตดีขึ้น กลยุทธ์: ยกระดับการผลิตสินค้าเกษตรและอาหารเข้าสู่มาตรฐาน
- แผนแม่บท 23 ประเด็น : ประเด็นที่ 3 การเกษตร ประเด็นเร่งด่วน เรื่องเศรษฐกิจฐานราก
ต้องการพัฒนาและเสริมสร้างทรัพยากรมนุษย์ทรัพยากรมนุษย์ โดยเน้นเรื่องการจัดการระบบอาหารผ่านกลไกกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ระดับตำบล ซึ่งมี 9 แห่ง ในอำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ อันจะจำไปสู่การมีสุขภาวะที่ดี สร้างความเข้มแข็งในระดับตำบล สู่การขยายผลเชิงนโยบายและการจัดการแก้ไขปัญหาความยากจนในขุั้นตอนต่อไป

4. ประเด็นปัญหาหลัก

5. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

6. องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

ใช้องค์ความรู้การทำงานร่วมกับกลไกกองทุนสุขภาพตำบลทั้ง 9 แห่งในอำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์

7. วัตถุประสงค์

วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการกองทุน พี่เลี้ยงกองทุน และผู้เกี่ยวข้องในการจัดทำแผนงาน โครงการด้านระบบอาหาร ทั้งประเด็นความั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัย ในกองทุนตำบล 9 แห่ง ของอำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์
  1. มีการพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการกองทุนและพี่เลี้ยง ในการเขียนโครงการขอรับงบกองทุนตำบลในประเด็นความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัย ทั้ง 9 อปท.
  2. มีผู้เข้าร่วมพัฒนาศักยภาพ อปท.ละ 10 คน รวมทั้งอำเภอจำนวน 90 คน
  3. เกิดแผนงาน โครงการด้านระบบอาหารในหน่วยงานองค์กรปกครองท้องถิ่น ในอำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 9 แห่ง อย่างน้อย 20 โครงการ
100.00 80.00
2 2.เพื่อให้กองทุนตำบลในอำเภอสมเด็จ สนับสนุนงบประมาณจากงบกองทุนตำบลในการดำเนินงานโครงการด้านระบบอาหาร ทั้งเรื่องความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัย

มีโครงการได้รับงบสนับสนุนจากกองทุนตำบลในเด็นการสร้างเสริมสุขภาพ ด้านความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัย อย่างน้อยกองทุนตำบลละ 10 โครงการ รวมทั้งอำเภอ 90 โครงการ

80.00 80.00
3 3. เพื่อพัฒนาพื้นที่ต้นแบบด้านการจัดการระบบอาหาร ในพื้นที่เป้าหมาย
  1. เกิดพื้นที่ต้นแบบในการจัดการระบอาหาร อย่างน้อย 5 แห่ง
  2. เกิดเกิดนโยบายสาธารณะ ข้อตกลง กฏกติกา ที่เกี่ยวกับระบบอาหารในพื้นที่ อย่างน้อย 5 เรื่อง
50.00 30.00
4 4.เพื่อให้นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ที่ทำวิจัยเพื่อวิทยานิพนธ์เรื่องระบบอาหารมีความรู้และสามารถพัฒนาโครงร่างวิจัยด้านระบบอาหารได้

นักศึกษา ระดับบัณฑิตศึกษา สามารถพัฒนาโครงร่างข้อเสนอโครงการในการออกแบบการจัดการระบบอาหารในระดับตำบลได้

80.00 50.00

8. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
1.คณะกรรมการกองทุนตำบลละ 3 คน ทั้งหมด 9 กองทุน 27
2. พี่เลี้ยงกองทุนตำบลละ 3 คน ทั้งหมด 9 กองทุน 27
3. ผู้เกี่ยวข้องในการทำโครงการ ตำบลละ 10 คน 90
4. นักศึกษาระดับ ป.โท จาก มรภ.กาฬสินธุ์ และ ม.อ 10
5. ทีมวิชาการจาก มรภ.กาฬสินธุ์ และ ม.สงขลานครินทร์ 5

9. ระยะเวลา

10. วิธีดำเนินงาน

กิจกรรมที่ 1 1. 1. ประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพพี่เลี้ยงกองทุนตำบล และคณะทำงานด้านระบบอาหารในระดับตำบล ด้านการจัดทำแผนงาน โครงการระบบอาหาร ทั้งเรื่องความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัย

ชื่อกิจกรรม
1. 1. ประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพพี่เลี้ยงกองทุนตำบล และคณะทำงานด้านระบบอาหารในระดับตำบล ด้านการจัดทำแผนงาน โครงการระบบอาหาร ทั้งเรื่องความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัย
วัตถุประสงค์
  1. 1.เพื่อพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการกองทุน พี่เลี้ยงกองทุน และผู้เกี่ยวข้องในการจัดทำแผนงาน โครงการด้านระบบอาหาร ทั้งประเด็นความั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัย ในกองทุนตำบล 9 แห่ง ของอำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์
  2. 2.เพื่อให้กองทุนตำบลในอำเภอสมเด็จ สนับสนุนงบประมาณจากงบกองทุนตำบลในการดำเนินงานโครงการด้านระบบอาหาร ทั้งเรื่องความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัย
  3. 4.เพื่อให้นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ที่ทำวิจัยเพื่อวิทยานิพนธ์เรื่องระบบอาหารมีความรู้และสามารถพัฒนาโครงร่างวิจัยด้านระบบอาหารได้
รายละเอียดกิจกรรม
จัดประชุมจำนวน 2 วัน มีกระบวนการ ดังนี้
วันที่ 8 มกราคม 63
1. ประชุมผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อชี้แจงกระบวนการทำโครงการ ประกอบด้วย
- ผู้อำนวยการ สปสช.เขต 7 หรือผู้แทน จำนวน 2 คน
- ผู้บริหาร อปท.9 แห่ง และคณะกรรมการกองทุน (3คนX9กองทุน) จำนวน 27 คน
- พี่เลี้ยงกองทุน 9 แห่ง แห่งละ 5 คน จำนวน 45 คน
- นักวิชาการจาก มรภ.กาฬสินธุ์ และ ม.สงขลานครินทร์ จำนวน 5 คน
- นักศึกษา ป.โท จำนวน 9 คน
2. พัฒนาศักยภาพ คณะกรรมการกองทุน และพี่เลี้ยงกองทุน ด้านการจัดทำแผนงาน โครงการระบบอาหารในประเด็น ความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัย ผ่านการลงข้อมูลทางเว็บไซต์ที่พัฒนาโดย ม.สงขลานครินทร์ ให้สามารถเป็นที่ปรึกษาของคนในชุมชนที่มีความต้องการเขียนโครงการของบกองทุนตำบลได้

วันที่ 9 มกราคม 62
1. พัฒนาศักยภาพผู้เกี่ยวข้องการทำโครงการ (ครูโรงเรียน ศพด./ผู้ใหญ่บ้าน/กลุ่มแม่บ้าน/อสม./เกษตรกร หรือผู้สนใจ) ใน 8 ตำบล จำนวน 80 คน ในการเขียนโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนจากงบกองทุนตำบล โดยแบ่งกลุ่มเป็นตำบล (ทุกกลุ่มมีคณะกรรมการและพี่เลี้ยงกองทุนคอยแนะนำอย่างใกล่ชิด)
2. ฝีกปฎิบัติการการเขียนโครงการในเว็บไซต์กองทุนตำบล
3. นำเสนอโครงการโดยชุมชน และมีคณะกรรมการและพี่เลี้ยงให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิด
4. สรุปการจัดประชุม และวางแผนการติดตามโครงการให้ได้รับการสนับสนุนจากงบกองทุนตำบล
ระยะเวลาดำเนินงาน
8 มกราคม 2563 ถึง 9 มกราคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
ผลผลิต
1. เกิดแผนงาน โครงการ ด้านระบบอาหาร ทั้งประเด็น ความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัย ในหน่วยงานองค์กรปกครองท้องถิ่น ของอำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 9 แห่ง อย่างน้อยแห่งละ 10 โครงการ รวมทั้งอำเภออย่างน้อย 90 โครงการ

ผลลัพธ์
1. คณะกรรมการกองทุน และพี่เลี้ยงตำบล มีความเข้าใจในการเป็นที่ปรึกษา (พี่เลี้ยง) การเขียนโครงการให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องในชุมชน
2. ได้แผนการติดตามของพี่เลี้ยง ในการติดตามโครงการให้ได้รับการสนับสนุนจากงบกองทุนตำบล
ทรัพยากรอื่น ๆ
ภาคีร่วมสนับสนุน
- สปสช.เขต 7 ขอนแก่น
- อปท. 9 แห่งในอำเภอสมเด็จ
- นักวิชาการจาก มรภ.กาฬสินธุ์ และ ม.สงขลานครินทร์
รายละเอียดงบประมาณ
ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
ค่าตอบแทนวิทยากร

ค่าตอบแทนวิทยากร 600 บาท X 2 ชม. X 5 คน X 2 วัน

5 คน 1,200 2 12,000
ค่าอาหาร

ค่าอาหารว่าง 80 คน X 35 บาท X 2 มื้อ X 2 วัน

80 คน 70 2 11,200
ค่าอาหาร

ค่าอาหารเที่ยง 80 คน X 120 บาท X 2 วัน

80 คน 120 2 19,200
ค่าพาหนะเดินทาง - ค่าเดินทางในพื้นที่

ค่าเดินทางผู้เข้าร่วมประชุม 75 คน เฉลี่ยคนละ 200 บาท จำนวน 2 วัน

75 คน 200 2 30,000
ค่าพาหนะเดินทาง - เครื่องบิน

ค่าเดินทางทีมนักวิชาการ ม.สงขลานครินทร์ 3 คน เฉลี่ยคนละ 5000 บาท

3 คน 5,000 1 15,000
ค่าเช่ารถ

ค่าเช่ารถวันละ 2000 บาท จำนวน 2 วัน

1 ครั้ง 2,000 2 4,000
อื่น ๆ

ค่าน้ำมันรถ

1 ครั้ง 1,500 1 1,500
ค่าที่พักตามจริง

ค่าที่พักจำนวน 3 คน คนละ 1200 บาท

3 คน 1,200 1 3,600
ค่าถ่ายเอกสาร

ค่าถ่ายเอกสาร

1 ครั้ง 2,000 1 2,000
ค่าตอบแทนผู้เข้าร่วมประชุม

ค่าตอบแทนพี่เลี้ยงกองทุน 27 คน X 500 บาท

27 คน 500 1 13,500
รวมค่าใช้จ่าย 112,000

กิจกรรมที่ 2 2. 2. คณะทำงานระดับตำบลเก็บข้อมูลสถานการณ์ด้านความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัย และจัดทำ mapping พื้นที่อาหารในระดับตำบล

ชื่อกิจกรรม
2. 2. คณะทำงานระดับตำบลเก็บข้อมูลสถานการณ์ด้านความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัย และจัดทำ mapping พื้นที่อาหารในระดับตำบล
วัตถุประสงค์
  1. 3. เพื่อพัฒนาพื้นที่ต้นแบบด้านการจัดการระบบอาหาร ในพื้นที่เป้าหมาย
  2. 4.เพื่อให้นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ที่ทำวิจัยเพื่อวิทยานิพนธ์เรื่องระบบอาหารมีความรู้และสามารถพัฒนาโครงร่างวิจัยด้านระบบอาหารได้
รายละเอียดกิจกรรม
แบ่งการดำเนินงานออกเป็น 2 ครั้ง คือ
ครั้งที่ 1 เก็บรวบรวมข้อมูลสถานการณ์ด้านอาหารในอำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์
1. พัฒนาเครื่องมือการเก็บข้อมูลสถานการณ์ระบบอาหาร จำนวน 3 ด้าน ได้แก่ ความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัย โดยนักศึกษา ป.โท ร่วมกับนักวิชาการ มรภ.กาฬสินธุ์ และ ม.สงขลานครินทร์
2. นักศึกษา ป.โท ลงพื้นที่ร่วมกับพี่เลี้ยงกองทุน ผู้แทน อปท. และผู้นำชุมชน ทั้ง 8 ตำบล เพื่อเก็บข้อมูลสถานการณ์ด้านระบบอาหารจำนวน 3 ด้าน โดยใช้แบบสอบถาม การจัดเวทีสนทนากลุ่ม การศึกษาข้อมูลจากเอกสารและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
3. รวบรวมข้อมูลระบบอาหารทั้ง 8 ตำบล ทำการวิเคราะห์และเรียบเรียงข้อมูลเป็นเอกสาร

ครั้งที่ 2 จัดเวทีวิเคราะห์ข้อมูลด้านสถานการณ์อาหารในระดับตำบล จัดทำ mapping ร่วมกับคนในชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ใน 8 ตำบล แบ่งการจัดเวทีออกเป็น 2 ครั้ง ครั้งละ 4 ตำบล
- ผู้เข้าร่วมตำบลละ 30 คน รวม 8 ตำบล จำนวน 240 คน
ระยะเวลาดำเนินงาน
21 มกราคม 2563 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
ผลผลิต
1. ได้ข้อมูลสถานการณ์ระบบอาหารในอำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 3 ด้าน คือ ความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และด้านโภชนาการสมวัย อันจะนำไปสู่การวางแผนในการแก้ไขปัญหาด้านสุขภาวะและความยากจนได้

ผลลัพธ์
1. นักศึกษาได้เรียนรู้การทำงานพัฒนาชุมชน และหนุนเสริมความต้องการของชุมชนได้ตรงกับปัญหาและความต้องการของคนในชุมชน
2. ท้องถิ่นและหน่วยงานอื่น ๆ สามารถนำข้อมูลที่ได้ไปวิเคราะห์และวางแผนในการทำงานร่วมกับชุมชน โดยเฉพาะการหนุนเสริมความต้องการของชุมชนในการแก้ไขปัญหาความยากจนและปัญหาด้านสุขภาวะได้
ทรัพยากรอื่น ๆ
ภาคีร่วมสนับสนุน
-
รายละเอียดงบประมาณ
ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
ค่าตอบแทนการประสานงาน

ค่าประสานงานกับชุมชนเพื่อเก็บข้อมูล

2 คน 600 8 9,600
ค่าอาหาร

ค่าอาหารว่างในระหว่างเก็บข้อมูล จำนวน 15 คน X 35 บาท X 2 มื้อ X 16 ครั้ง

15 คน 70 16 16,800
ค่าอาหาร

ค่าอาหารเที่ยง 15 คน X 120 บาท X 16 ครั้ง

15 คน 120 16 28,800
ค่าถ่ายเอกสาร

ค่าถ่ายเอกสารแบบสอบถามการเก็บข้อมูล

1 ครั้ง 2,000 1 2,000
ค่าตอบแทนวิทยากร

ค่าวิทยากรเวทีวิเคราะห์ข้อมูล 600 บาท X 3 ชม. X 4 คน X 2 ครั้ง

4 คน 1,800 2 14,400
ค่าอาหาร

ค่าอาหารว่าง 120 คน X 35 บาท X 2 ครั้ง

120 คน 35 2 8,400
ค่าอาหาร

ค่าอาหารเที่ยง นศ./พี่เลี้ยง 15 คน X 120 บาท X 2 ครั้ง

15 คน 120 2 3,600
ค่าพาหนะเดินทาง - ค่าเดินทางในพื้นที่

ค่าเดินทาง นศ./พี่เลี้ยง 15 คน X 200 บาท x 2 ครั้ง

15 คน 200 2 6,000
ค่าพาหนะเดินทาง - เครื่องบิน

ค่าเดินทางทีม ม.สงขลานครินทร์ 3 คน เฉลี่ยคนละ 5000 บาท X 2 ครั้ง

3 คน 5,000 2 30,000
ค่าที่พักตามจริง

ค่าที่พัก 3 คน X 1200 บาท X 2 ครั้ง

3 คน 1,200 2 7,200
ค่าถ่ายเอกสาร

ค่าถ่ายเอกสาร

1 ครั้ง 3,000 1 3,000
ค่าวัสดุสำนักงาน

ค่าวัสดุในการจัดเวที (กระดาษบรู๊ฟ ปากกาเคมี ฯลฯ)

1 ครั้ง 4,000 1 4,000
ค่าเช่ารถ

ค่าเช่ารถ จำนวน 2 ครั้ง ครั้งละ 2000 [km

1 ครั้ง 2,000 2 4,000
อื่น ๆ

ค่าน้ามันรถจำนวน 2 ครั้ง

1 ครั้ง 1,000 2 2,000
ค่าตอบแทนการประสานงาน

ค่าตอบแทนพี่เลี้ยงกองทุน 27 คน X 500 บาท

27 คน 500 1 13,500
รวมค่าใช้จ่าย 153,300

กิจกรรมที่ 3 3. เวทีคืนข้อมูลและจัดทำแผนปฏิบัติการ โดยพี่เลี้ยงกองทุนแต่ละพื้นที่ที่สนับสนุนกระบวนการจัดประชุมปฏิบัติการเพื่อจัดทำแผนงาน โครงการด้านระบบอาหารของพื้นที่

ชื่อกิจกรรม
3. เวทีคืนข้อมูลและจัดทำแผนปฏิบัติการ โดยพี่เลี้ยงกองทุนแต่ละพื้นที่ที่สนับสนุนกระบวนการจัดประชุมปฏิบัติการเพื่อจัดทำแผนงาน โครงการด้านระบบอาหารของพื้นที่
วัตถุประสงค์
  1. 1.เพื่อพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการกองทุน พี่เลี้ยงกองทุน และผู้เกี่ยวข้องในการจัดทำแผนงาน โครงการด้านระบบอาหาร ทั้งประเด็นความั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัย ในกองทุนตำบล 9 แห่ง ของอำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์
  2. 2.เพื่อให้กองทุนตำบลในอำเภอสมเด็จ สนับสนุนงบประมาณจากงบกองทุนตำบลในการดำเนินงานโครงการด้านระบบอาหาร ทั้งเรื่องความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัย
  3. 3. เพื่อพัฒนาพื้นที่ต้นแบบด้านการจัดการระบบอาหาร ในพื้นที่เป้าหมาย
  4. 4.เพื่อให้นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ที่ทำวิจัยเพื่อวิทยานิพนธ์เรื่องระบบอาหารมีความรู้และสามารถพัฒนาโครงร่างวิจัยด้านระบบอาหารได้
รายละเอียดกิจกรรม
1. จัดเวทีคืนข้อมูล โดยเชิญผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและหน่วยงานที่รับผิดชอบ มาร่วมเวทีเพื่อเติมเต็มข้อมูลที่ขาดหาย และจัดทำแผนปฏิบัติการในการแก้ไขปัญหาด้านระบบอาหาร ด้านการสร้างเสริมสุขภาวะของคนในอำเภอสมเด็จ และการแก้ไขปัญหาความยากจน ผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 200 คน ประกอบด้วย
- นายอำเภอสมเด็จ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
- ผู้บริหาร อปท.ทั้ง 9 แห่ง
- สาธารณสุขอำเภอ
- ผู้นำชุมชนทั้ง 8 ตำบล
- ผู้อำนวยการ สปสช.เขต 7 ขอนแก่น
- คณะกรรมการกองทุน 9 แห่ง
- พี่เลี้ยงกองทุนตำบล
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนในอำเภอสมเด็จ
- นักวิชาการ มรภ.กาฬสินธุ์ และ ม.สงขลานครินทร์
- นักศึกษา ป.โท

2. แบ่งกลุ่มออกเป็น 8 ตำบล จัดทำแผนการแก้ไขปัญหาด้านระบบอาหาร ที่ประกอบด้วย ความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัย ซึ่งเป็นแผนที่สอดคล้องกับการแก้ไขปัญหาคุณภาพชีวิต การสร้างเสริมสุขภาวะ และการแก้ไขปัญหาความยากจน
3. สรุปและประมวลผล จัดทำเป็นเอกสารยุทธศาสตร์ระบบอาหารในระดับอำเภอสมเด็จ เพื่อการแก้ไขปัญหาคุณภาพชีวิต และส่งมอบให้ทางอำเภอสมเด็จ และ อปท.ทั้ง 8 นำไปขับเคลื่อนปฏิบัติการในต่อไป
ระยะเวลาดำเนินงาน
18 มีนาคม 2563 ถึง 19 มีนาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
ผลผลิต
1. ได้ยุทธศาสตร์ระบบอาหารในระดับอำเภอสมเด็จ และมีแผนปฏิบัติการจำนวน 3 ด้าน คือ ความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัย
2. มีการจัดตั้งคณะทำงานเพื่อขับเคลื่อนตามแผนปฏิบัติการ โดยใช้งบท้องถิ่น หรือ งบกองทุนตำบลในการปฏิบัติการตามแผนทั้ง 3 ด้าน หรือใช้งบของหน่วยงานในระดับอำเภอที่สอดคล้องกับแผนที่พื้นที่ได้ร่วมกันทำ

ผลลัพธ์
1. มีการจัดทำ บุคคล ครัวเรือน หน่วยงานต้นแบบ เช่น โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ต้นแบบในการจัดการระบบอาหารในประเด็น ความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัย ในระดับชุมชน
2. เกิดนโยบายสาธารณะ ข้อตกลง กฏกติกา ที่เกี่ยวกับระบบอาหารในพื้นที่
ทรัพยากรอื่น ๆ
ภาคีร่วมสนับสนุน
ท้องถิ่นทั้ง 9 แห่งในอำเภอสมเด็จ และ สปสช.เขต 7 ขอนแก่น
รายละเอียดงบประมาณ
ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
ค่าตอบแทนวิทยากร

ค่าวิทยากร 600 บาท X 4 ชม.X 5 คน

5 คน 2,400 1 12,000
ค่าอาหาร

ค่าอาหารว่าง 200 คน X 35 บาท X 2 มื้อ

200 คน 70 1 14,000
ค่าอาหาร

ค่าอาหารเที่ยง 200 คน X 120 บาท

200 คน 120 1 24,000
ค่าพาหนะเดินทาง - ค่าเดินทางในพื้นที่

ค่าเดินทางผู้เข้าร่วมประชุม 200 คน เฉลี่ยคนละ 150 บาท

200 คน 150 1 30,000
ค่าพาหนะเดินทาง - เครื่องบิน

ค่าเดินทางทีม ม.สงขลานครินทร์ 3 คน เฉลี่ยคนละ 5000 บาท

3 คน 5,000 1 15,000
ค่าที่พักตามจริง

ค่าที่พักทีม ม.สงขลานครินทร์ 4 คน X 1,200 บาท

4 คน 1,200 1 4,800
ค่าเช่ารถ

ค่าเช่ารถ 2 วัน X 2,000 บาท

2 เที่ยว 2,000 1 4,000
อื่น ๆ

ค่าน้ำมันรถ

1 ครั้ง 1,500 1 1,500
ค่าถ่ายเอกสาร

ค่าถ่ายเอกสาร

1 ครั้ง 5,000 1 5,000
ค่าวัสดุสำนักงาน

(กระดาษ ปากกา เทปกาว ฯลฯ)

1 ครั้ง 5,000 1 5,000
ค่าตอบแทนผู้เข้าร่วมประชุม

ค่าตอบแทนพี่เลี้ยงกองทุน 27 คน X 500 บาท X 2 วัน

27 คน 500 2 27,000
ค่าอาหาร

ค่าอาหาร นศ./ทีมวิชาการในวันที่ 2 ประมวลข้อมูลจากเวที

15 คน 120 1 1,800
ค่าเช่าสถานที่ 1 ครั้ง 3,000 1 3,000
รวมค่าใช้จ่าย 147,100

กิจกรรมที่ 4 4. ติดตามหน่วยงาน องค์กรปกครองท้องถิ่น สนับสนุนงบประมาณเพื่อสร้างปฏิบัติการด้านระบบอาหารในพื้นที่ โดยใช้งบกองทุนตำบล และงบหน่วยงานอื่นที่สอดคล้องกับแผนทั้ง 3 ด้าน

ชื่อกิจกรรม
4. ติดตามหน่วยงาน องค์กรปกครองท้องถิ่น สนับสนุนงบประมาณเพื่อสร้างปฏิบัติการด้านระบบอาหารในพื้นที่ โดยใช้งบกองทุนตำบล และงบหน่วยงานอื่นที่สอดคล้องกับแผนทั้ง 3 ด้าน
วัตถุประสงค์
  1. 2.เพื่อให้กองทุนตำบลในอำเภอสมเด็จ สนับสนุนงบประมาณจากงบกองทุนตำบลในการดำเนินงานโครงการด้านระบบอาหาร ทั้งเรื่องความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัย
  2. 3. เพื่อพัฒนาพื้นที่ต้นแบบด้านการจัดการระบบอาหาร ในพื้นที่เป้าหมาย
  3. 4.เพื่อให้นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ที่ทำวิจัยเพื่อวิทยานิพนธ์เรื่องระบบอาหารมีความรู้และสามารถพัฒนาโครงร่างวิจัยด้านระบบอาหารได้
รายละเอียดกิจกรรม
1. ประชุมคณะกรรมการกองทุน พี่เลี้ยงกองทุน ทั้ง 9 แห่ง และคณะทำงานการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ระบบอาหาร เพื่อติดตามการปฏิบัติตามแผนงานระบบอาหารทั้ง 3 ด้าน ผู้เข้าร่วมจำนวน 70 คน ประกอบด้วย
- นักศีกษาและนักวิชาการจาก มรภ.กาฬสินธุ์ และ ม.สงขลานครินทร์ จำนวน 15 คน
- คณะกรรมการกองทุน และผู้บริหาร อปท. แห่งละ 3 คน จำนวน 27 คน
- พี่เลี้ยงกองทุน 27 คน
- ผู้แทนจากนายอำเภอสมเด็จ จำนวน 1 คน
2. ถอดบทเรียนการพัฒนาศักยภาพด้านการเขียนโครงการชุมชนเพื่อขอรับทุนจากกองทุนตำบลทั้ง 9 แห่ง สิ่งที่ต้องปรับปรุง และวางแผนการทำงานในระยะที่ 2 คือ การขยายผลไปยังอำเภอใกล้เคียง
3. ติดตามโครงการที่พัฒนาศักยภาพในช่วงแรก มีกี่โครงการที่ผ่านและได้รับงบสนับสนุนจากกองทุนตำบล
ระยะเวลาดำเนินงาน
21 เมษายน 2563 ถึง 22 เมษายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
1. หน่วยงานองค์กรปกครองท้องถิ่น ในพื้นที่เป้าหมายสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนตำบล เพื่อสนับสนุนปฏิบัติการตามโครงการด้านระบบอาหาร อย่างน้อยกองทุนตำบลละ 5 โครงการ รวมทั้งอำเภอไม่น้อยกว่า 45 โครงการ
2. เกิดพื้นที่ต้นแบบในการจัดการระบอาหาร อย่างน้อย 5 แห่ง

ผลลัพธ์
1. เกิดนโยบายสาธารณะ ข้อตกลง กฏกติกา ที่เกี่ยวกับระบบอาหารในพื้นที่ อย่างน้อย 5 เรื่อง
2. นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มีความรู้ และสามารถออกแบบการจัดการระบบอาหารแบบบูรณาการในระดับตำบล
ทรัพยากรอื่น ๆ
ภาคีร่วมสนับสนุน
สปสช.เขต 7 ขอนแก่น
รายละเอียดงบประมาณ
ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
ค่าตอบแทนผู้ทรงคุณวุฒิ

ค่าตอบแทนทีมวิชากร มรภ.กาฬสินธุ์ และ ม.อ.600 บาท X 6 ชม. X 5 คน

5 คน 3,600 1 18,000
ค่าอาหาร

ค่าอาหารว่าง 70 คน X 35 บาท X 2 มื้อ

70 คน 70 1 4,900
ค่าอาหาร

ค่าอาหารเที่ยง 70 คน X 120 บาท

70 คน 120 1 8,400
ค่าพาหนะเดินทาง - ค่าเดินทางในพื้นที่

ค่าเดินทางผู้เข้าประชุม 70 คน เฉลี่ยคนละ 200 บาท

70 คน 200 1 14,000
ค่าพาหนะเดินทาง - เครื่องบิน

ค่าเดินทางทีม ม.สงขลานครินทร์ 4 คน เฉลี่ยคนละ 5,000 บาท

4 คน 5,000 1 20,000
ค่าที่พักตามจริง

ค่าที่พัก 4 คน X 1200 บาท

4 คน 1,200 1 4,800
ค่าเช่ารถ

ค่าเช่ารถ 2 วัน X 2000 บาท

2 เที่ยว 2,000 1 4,000
อื่น ๆ

ค่าน้ำมัน

1 ครั้ง 1,500 1 1,500
ค่าถ่ายเอกสาร 1 ครั้ง 7,000 1 7,000
ค่าเช่าสถานที่ 1 ครั้ง 5,000 1 5,000
รวมค่าใช้จ่าย 87,600

รวมงบประมาณทุกกิจกรรมของแผนการดำเนินงาน จำนวน 500,000.00 บาท

ค่าตอบแทนค่าใช้สอยค่าวัสดุอื่น ๆรวมเงิน
ค่าใช้จ่าย (บาท) 120,000.00 364,500.00 9,000.00 6,500.00 500,000.00
เปอร์เซ็นต์ (%) 24.00% 72.90% 1.80% 1.30% 100.00%

11. งบประมาณ

500,000.00บาท

12. การติดตามประเมินผล

ต่อชุมชนต่อนักศึกษา
ผลผลิต (Output) 1. เกิดแผนงาน โครงการ ด้านระบบอาหาร ทั้งประเด็น ความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัย ในหน่วยงานองค์กรปกครองท้องถิ่น ของอำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 9 แห่ง อย่างน้อยแห่งละ 10 โครงการ รวมทั้งอำเภออย่างน้อย 90 โครงการ
2. หน่วยงานองค์กรปกครองท้องถิ่น ในพื้นที่เป้าหมายสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนตำบล เพื่อสนับสนุนปฏิบัติการตามโครงการด้านระบบอาหาร อย่างน้อยกองทุนตำบลละ 5 โครงการ รวมทั้งอำเภอไม่น้อยกว่า 45 โครงการ
1. นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มีความรู้ และสามารถออกแบบการจัดการระบบอาหารแบบบูรณาการในระดับตำบล
ผลลัพธ์ (Outcome) 1. ได้ข้อมูลสถานการณ์ระบบอาหารในอำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 3 ด้าน คือ ความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และด้านโภชนาการสมวัย อันจะนำไปสู่การวางแผนในการแก้ไขปัญหาด้านสุขภาวะและความยากจนได้
2. ท้องถิ่นและหน่วยงานอื่น ๆ สามารถนำข้อมูลที่ได้ไปวิเคราะห์และวางแผนในการทำงานร่วมกับชุมชน โดยเฉพาะการหนุนเสริมความต้องการของชุมชนในการแก้ไขปัญหาความยากจนและปัญหาด้านสุขภาวะได้
1. นักศึกษาได้เรียนรู้การทำงานพัฒนาชุมชน และหนุนเสริมความต้องการของชุมชนได้ตรงกับปัญหาและความต้องการของคนในชุมชน
ผลกระทบ (Impact) 1. ได้ยุทธศาสตร์ระบบอาหารในระดับอำเภอสมเด็จ และมีแผนปฏิบัติการจำนวน 3 ด้าน คือ ความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัย
2. เกิดพื้นที่ต้นแบบในการจัดการระบอาหาร อย่างน้อย 5 แห่ง
3. เกิดนโยบายสาธารณะ ข้อตกลง กฏกติกา ที่เกี่ยวกับระบบอาหารในพื้นที่ อย่างน้อย 5 เรื่อง
1. นักศึกษามีทักษะจากการทำงานร่วมกับชุมชน มีศักยภาพในการทำงานด้านพัฒนาชุมชน และมีความรู้ทางวิชาการ ตั้งแต่การวิเคราะห์ข้อมูล การจัดทำยุทธศาสตร์ และได้ฝึกปฏิบัติการทำแผนร่วมกับชุมชน
นำเข้าสู่ระบบโดย ฮามีด๊ะ หวันนุรัตน์ ฮามีด๊ะ หวันนุรัตน์ เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2562 09:49 น.