การสร้างชุมชนแข้มแข็งในการจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชนโดยการมีส่วนร่วมของประชาชน

แบบเสนอโครงการ
การสร้างชุมชนแข้มแข็งในการจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชนโดยการมีส่วนร่วมของประชาชน

1. ชื่อโครงการ

การสร้างชุมชนแข้มแข็งในการจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชนโดยการมีส่วนร่วมของประชาชนมหาวิทยาลัยขอนแก่นวิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่นมูลนิธิปิดทองหลังพระ,สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดกาฬสินธุ์ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสมเด็จ เทศบาลตำบลสมเด็จ อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์เขตพื้นที่เทศบาลตำบลสมเด็จ1. อ.สุรเดช ทวีแสงสกุลไทยมหาวิทยาลัยขอนแก่น 123 หมู่16ถนนมิตรภาพ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 400020432031241 นายขจรศักดิ์ ญวนกระโทก การปกครองท้องถิ่น 1300201234730
2 นายรักแท้ ลาภภิญโญ การปกครองท้องถิ่น 1309902633094
3 นายวิทยา บุบผา การปกครองท้องถิ่น 1419901772758
4 นายราชย์ หล้าคำ การปกครองท้องถิ่น
5 นายอธิวัฒน์ คำพรมมา การปกครองท้องถิ่น 1479900388539
6 นางสาวปัทมพร ยุทธพงศ์ไพศาล การจัดการการคลัง 1341500309228
7 นางสาวมนัสวี ศรีราช การจัดการการคลัง
8 นายกานต์พิชชา ธานี การจัดการการคลัง 1349900968129
9 นายสุกฤษฏิ์ สืบปรุ การจัดการการคลัง 1309902666758
10 นางสาวจุฑาทิพย์ คำถาเครือ การจัดการงานช่างและผังเมือง 1409600251473
11 นางสาวรุจิรา ลันไธสง การจัดการงานช่างและผังเมือง
12 นายภัทรพันธุ์ พลไชย การจัดการงานช่างและผังเมือง

จำนวนหน่วยกิตที่สามารถเทียบโอนได้ เทียบเท่า 1 ภาคการศึกษา จำนวน 18 หน่วยกิต

สาขาการปกครองท้องถิ่น
002229สันติศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น
002231 การบริหารการศึกษาท้องถิ่น
002232 การบริหารงานสาธารณูปโภคท้องถิ่น
002233 การบริหารจัดการสาธารณสุขท้องถิ่น
002235 การบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชน
002321 สถิติสำหรับนักบริหารท้องถิ่น

สาขาการจัดการงานช่างและผังเมือง
00121 การปฏิบัติการผังเมือง
001316 การจัดการขยะและของเสียอันตราย
001319 วิศกรรมธรณีเทคนิคขั้นแนะนำ
001420 การจัดการงานก่อสร้าง
002232 การบริหารงานสาธารณูปโภคท้องถิ่น

สาขาการจัดการการคลัง
002311 สถิติสำหรับนักบริหารท้องถิ่น
002342 กลยุทธ์การจัดการวิสาหกิจชุมชน วิสาหกิจเชิงสังคมและสหกรณ์
003312 การจัดการงานผลิตและบริการเพื่อการพัฒนา
003315 การจัดการพัสดุและสำนักงาน
003364 ตลาดการเงินเพื่อการจัดหาเงินทุน
003482 การวางแผนการจัดการทรัพยากรในองค์กรของรัฐ

2. พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
กาฬสินธุ์ สมเด็จ สมเด็จ

3. รายละเอียดชุมชน

เทศบาลตําบลสมเด็จ เดิมมีฐานะเป็นสุขาภิบาล โดยการจัดตั้งตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลสี่แยก ในปี พ.ศ.2504 มีชื่อเรียกว่า "สุขาภิบาลสี่แยก" และมีอํานาจหน้าที่ตามมาตรา 4 และมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติสุขาภิบาล พ.ศ.2495 ในปี พ.ศ.2507 ได้มีการจัดตั้งกิ่งอําเภอสมเด็จ สุขาภิบาลสี่แยกยังขึ้นอยู่ในเขตการปกครองของอําเภอสหัสขันธ์ ต่อมาในปี พ.ศ.2512 กิ่งอําเภอสมเด็จได้ยกฐานะเป็นอําเภอสมเด็จ สุขาภิบาลสี่แยกจึงได้มาขึ้นอยู่ในการปกครองของอําเภอสมเด็จ และในปี พ.ศ. 2522 ได้เปลี่ยนชื่อจากสุขาภิบาลสี่แยกเป็นสุขาภิบาลสมเด็จ ประกอบด้วยบางส่วนของตําบลสมเด็จ อันได้แก่ท้องที่ในหมู่ 2,3,4,5,6,10 ของตําบลสมเด็จ จากการวัดพื้นที่ตามแนวหลักเขตตามประกาศกระทรวงมหาดไทย สุขาภิบาลสมเด็จมีพื้นที่ 4.5 ตารางกิโลเมตร และเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2542 กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศเปลี่ยนแปลงฐานะสุขาภิบาลเป็นเทศบาลทั่วประเทศสุขาภิบาลสมเด็จจึงได้ยกฐานะเป็นเทศบาล มีชื่อว่าเทศบาลตําบลสมเด็จ ตั้งแต่วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 เป็นต้นมา
จากการสำรวจของเทศบาลตำบลสมเด็จ ในปี พ.ศ. 2559 เทศบาลตำบลสมเด็จมีประชากรที่มีชื่อในทะเบียนบ้าน จํานวน 7,266 คน จํานวนครัวเรือน 3,108 ครัวเรือน ปริมาณความหนาแน่นของประชากรต่อตารางกิโลเมตร ต่อพื้นที่ทั้งหมด ซึ่งมีพื้นที่ 4.5 ตร.กม. คือ มีความหนาแน่น เท่ากับ 1,614.66 คนต่อตารางกิโลเมตร
ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมนับว่าเป็นปัญหาสำคัญของประเทศไทย เนื่องจากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมถูกนำไปใช้ในการพัฒนาและเกิดความเสื่อมโทรมลงอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศมีลักษณะรวมศูนย์ขาดการเชื่อมโยงกับพื้นที่ ส่งผลกระทบต่อปัญหาต่าง ๆ ได้แก่ พื้นที่ป่าไม้ลดลง ทรัพยากรดินเสื่อมโทรมทำให้ความหลากหลายทางชีวภาพถูกคุกคาม ระบบนิเวศชายฝั่งถูกทำลาย และทรัพยากรน้ำยังมีส่วนที่ไม่สามารถจัดสรรได้ตามความต้องการ ปัญหาสิ่งแวดล้อมจึงเพิ่มสูงขึ้นตามการขยายตัวของเศรษฐกิจ และชุมชนเมือง ภาวะความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมจากการใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติเพื่อการบริโภคและการผลิตของมนุษย์ พิจารณาได้จาก เมื่อการใชประโยชน์ด้านใดด้านหนึ่งเริ่มมีข้อจํากัดเกิดขึ้นข้อจํากัดดังกล่าวจะเป็นดัชนีที่บ่งชี้ถึงภาวการณ์เปลี่ยนแปลงของทรัพยากรธรรมชาติทั้งทางด้านปริมาณและคุณภาพจากที่เคยเป็นกับภาวะที่เป็นอยู่จริง แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 9 (2545-2549) ได้นําหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางโดยยุทธศาสตร์ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ให้ความสําคัญกับการปรับกลไกและกระบวนการจัดการเชิงบูรณาการที่เน้นการมีส่วนร่วมของท้องถิ่นปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของคนไทยให้มีจิตสํานึกในการอนุรักษ์สภาพแวดล้อมของชาติและเพิ่มประสิทธิภาพการบังคับใช้กฎหมายที่ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ
จากการวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการของประชาชนในเทศบาลตำบลสมเด็จ เมื่อปี พ.ศ. 2561 พบว่า ปัญหาในด้านสิ่งแวดล้อมของชุมชนเป็นปัญหาที่สำคัญปัญหาหนึ่ง ซึ่งข้อเสนอปัญหาและความต้องการของชุมชน ได้แก่
(1) การไม่มีท่อระบายน้ำหรือท่อระบายน้ำชํารุด ทําให้เกิดปัญหาน้ำท่วมขังจากน้ำทิ้งและน้ำเสียที่ใช้ตามบ้านเรือน ร้านค้า โรงงานขนาดเล็ก รวมทั้งมีน้ำท่วมขังจากสภาวะฝนตก ท่อระบายน้ำ และรางระบายน้ำ เนื่องด้วยลักษณะภูมิประเทศของเทศบาลตําบลสมเด็จ มีลักษณะเป็นพื้นที่ราบสลับเนิน และการถมดินที่สูงมากในการก่อสร้างอาคารบ้านเรือน รวมทั้งการวางผังเมืองที่ไม่ได้วางระบบการไหลของน้ำที่เกิดจากการใช้ในบ้านเรือน ร้านค้า โรงงาน และน้ำฝน ดังนั้น ปัญหาน้ำเน่าเสียและท่วมขังจึงเกิดขึ้น โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนซึ่งมีปริมาณน้ำท่วมขังมาก อันส่งผลกระทบต่อการดําเนินชีวิตของประชาชนอย่างไรก็ตามการก่อสร้างถนนของเทศบาลในอดีตไม่ได้ก่อสร้างท่อระบายน้ำพร้อมกันไปด้วย ทําให้เกิดปัญหาน้ำท่วมขังจากครัวเรือน ร้านค้าโดยทั่วไปและจากการขยายตัวของเมืองที่ออกไปสู่รอบนอกซึ่งส่วนใหญ่เป็นที่นา
(2) ปัญหาเรื่องความสะอาด ปัญหาขยะตกค้าง ถังขยะมีไม่ถั่วถึง ทิ้งขยะไม่เป็นระเบียบ การที่ประชาชนนอกเขตเทศบาลนําขยะเข้ามาทิ้งในพื้นที่เขตเทศบาลเป็นจํานวนมากทําให้เทศบาลต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายในการกําจัดขยะ ความสะอาด เทศบาลตําบลสมเด็จเป็นท้องถิ่นเป็นชุมชนที่มีความหนาแน่นและแออัด จํานวนประชากรเฉลี่ยต่อพื้นที่ค่อนข้างสูง ทําให้ขยะที่เกิดจากการใช้ชีวิตประจําวันมีจํานวนมากตามขึ้นไปด้วย ประกอบกับประชาชนของท้องถิ่นรอบนอกได้นําขยะเข้ามาทิ้งในเขตพื้นที่ของเทศบาล เมื่อขยะมูลฝอยมีจํานวนเพิ่มขึ้น ทําให้ส่งผลกระทบต่อการรักษาความสะอาดของชุมชน เกิดขยะตกค้างมากโดยเฉพาะในพื้นที่ที่เป็นชุมชนหนาแน่น เพราะเป็นที่ตั้งของบ้านเรือน ร้านค้า และตลาดสด
จากปัญหาทางด้านสภาพแวดล้อมชุมชน ดังที่กล่าวมาข้างต้น หากให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือหน่วยงานราชการเป็นผู้รับผิดชอบแก้ปัญหาเพียงฝ่ายเดียวจะจะไม่สามารถทำให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็งอย่างยั่งยืนได้ การพัฒนาชุมชนให้มีความเข้มแข็งจึงต้องสนับสนุนให้ชุมชนรู้เท่าทันสถานการณ์สิ่งแวดล้อมตามบริบทของพื้นที่ และสามารถจัดการปัญหาหรือความเสี่ยงสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดความยั่งยืนและก่อเกิดของการมีส่วนร่วมในชุมชน เกิดนวัตกรรมชุมชนที่สามารถเป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับชุมชนอื่น ๆ เกิดการสร้างภาคีเครือข่ายการทำงานสำหรับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม คือการที่ประชาชนในชุมชนมีความร่วมมือร่วมใจกันในการควบคุมการใช้และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เพื่อประโยชน์ทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของชุมชน โดยมีส่วนร่วมตั้งแต่การศึกษาประเด็นปัญหาต่าง ๆ ที่มีในชุมชน การหาสาเหตุของปัญหา การกำหนดแนวทางแก้ไข ปัญหา และแนวทางในการป้องกันปัญหา การตัดสินใจและการดำเนินการแก้ไขปัญหา สิ่งแวดล้อมของชุมชน ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากหลาย ๆ ฝ่ายในการช่วยกันแก้ไขปัญหา จะสามารถนำไปสู่ความยั่งยืนในอนาคต ซึ่งการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนนั้นต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีบทบาทในการดำเนินงานตั้งแต่เริ่มจนสิ้นสุดตั้งแต่การดำเนินงาน ไม่ว่าจะเป็นการร่วมกำหนดปัญหา วางแผนตัดสินใจ ระดมทรัพยากรบริหารจัดการ ติดตามประเมินผล และร่วมรับผลประโยชน์ที่เกิดขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหาให้ตรงกับความต้องการของคนในชุมชนอันจะสร้างความเข้มแข็งจากภายใน

4. ประเด็นปัญหาหลัก

5. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

6. องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

องค์ความรู้ในด้านชุมชนสัมพันธ์
องค์ความรู้ในด้านการสร้างการรับรู้ของชุมชน
องค์ความรู้ด้านการจัดทำแผนชุมชน
องค์ความรู้ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชน
องค์ความรู้ด้านการจัดการโครงสร้างพื้นฐาน
องค์ความรู้ด้านการมีส่วนร่วมของชุมชน และแนวคิดการสร้างความเข้มแข็งชุมชน

7. วัตถุประสงค์

วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างชุมชนแข้มแข็งในการจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชนโดยการมีส่วนร่วมของประชาชน

การมีส่วนร่วมของชุมน

100.00 100.00

8. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ชุมชน 100

9. ระยะเวลา

10. วิธีดำเนินงาน

กิจกรรมที่ 1 KKU 50 Model

ชื่อกิจกรรม
KKU 50 Model
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อสร้างชุมชนแข้มแข็งในการจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชนโดยการมีส่วนร่วมของประชาชน
รายละเอียดกิจกรรม
ทำความรู้จักและเข้าใจชุมชนทำความเข้าใจปัญหาและกำหนดวัตถุประสงค์เป้าหมาย
เติมเต็มองค์ความรู้
การวิเคราะห์พื้นที่ และคัดเลือกกลุ่มเป้าหมาย
ดำเนินการ
ระบบงานสนับสนุน การกำกับติดตาม หนุนเสริม
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2563 ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
การมีส่วนร่วมของชุมชนในการแก้ไขปัญหา
ทรัพยากรอื่น ๆ
ภาคีร่วมสนับสนุน
เทศบาลตำบลสมเด็จ
รายละเอียดงบประมาณ
ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
ค่าตอบแทนการประสานงาน

ค่าเบี้ยเลี้ยงอาจารย์นิเทศและผู้ช่วย จำนวน 2 คน x 120 วัน x 240 บาท ถัวเฉลี่ยจ่ายทุกรายการ

2 คน 240 120 57,600
อื่น ๆ

ค่าเบี้ยเลี้ยงนักศึกษา จำนวน 12 คน x 120 วัน x 180 บาท ถัวเฉลี่ยจ่ายทุกรายการ

12 คน 180 120 259,200
ค่าที่พักตามจริง

ค่าเช่าที่พัก จำนวน 2 หลัง x 4 เดือน x 5,000 บาท ถัวเฉลี่ยจ่ายทุกรายการ

2 ชุด 5,000 4 40,000
อื่น ๆ

ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง

1 ครั้ง 10,000 1 10,000
อื่น ๆ

ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง จำนวน 4 เดือน x 10,000 บาท ถัวเฉลี่ยจ่ายทุกรายการ

1 ครั้ง 10,000 4 40,000
อื่น ๆ

การจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง ถัวเฉลี่ยจ่ายทุกรายการ

5 ครั้ง 10,000 1 50,000
อื่น ๆ

ค่าวัสดุอุปกรณ์ ถัวเฉลี่ยจ่ายทุกรายการ

1 ชุด 10,800 4 43,200
รวมค่าใช้จ่าย 500,000

รวมงบประมาณทุกกิจกรรมของแผนการดำเนินงาน จำนวน 500,000.00 บาท

ค่าตอบแทนค่าใช้สอยอื่น ๆรวมเงิน
ค่าใช้จ่าย (บาท) 57,600.00 40,000.00 402,400.00 500,000.00
เปอร์เซ็นต์ (%) 11.52% 8.00% 80.48% 100.00%

11. งบประมาณ

500,000.00บาท

12. การติดตามประเมินผล

ต่อชุมชนต่อนักศึกษา
ผลผลิต (Output) สภาพแวดล้อมของชุมชนมีความสะอาดเป็นระเบียบ นักศึกษาเป็นพลเมืองที่มีความรับผิดชอบ สร้างนักศึกษาที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม
ผลลัพธ์ (Outcome) ชุมชนเกิดการตระหนักรู้ และเกิดแนวปฏิบัติที่เป็นที่ยอมรับร่วมกันของชุมชนในเขตพื้นที่เทศบาล ทำให้คุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมในชุมชนดีขึ้น นักศึกษาได้ทำจริง ผิดพลาดจริง และเรียนรู้จากประสบการณ์การทำงานจริง มีทักษะในการปรับตัวและทักษะในการแก้ปัญหา
ผลกระทบ (Impact)
นำเข้าสู่ระบบโดย วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัขอนแก่น วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัขอนแก่น เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2562 11:49 น.