การแสวงหาแนวทางการจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธี กรณีบึงใหญ่ ชุมชนคำบง

แบบเสนอโครงการ
การแสวงหาแนวทางการจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธี กรณีบึงใหญ่ ชุมชนคำบง

1. ชื่อโครงการ

การแสวงหาแนวทางการจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธี กรณีบึงใหญ่ ชุมชนคำบงมหาวิทยาลัยขอนแก่นวิทยาลัยการปกครองท้องถิ่นเทศบาลตำบลคำบงชุมชนคำบง1. ดร.ศิริศักดิ์ เหล่าจันขาม อาจารย์ประจำ วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่นมหาวิทยาลัยขอนแก่น 123 หมู่16ถนนมิตรภาพ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 400020432031241 นางสาวพัชรีภรณ์ ภูรี การปกครองท้องถิ่น 1103702742392
2 นางสาวรัชดาภรณ์ สนิทนิตย์ การปกครองท้องถิ่น
3 นายสุริยา สมทรัพย์ การปกครองท้องถิ่น 1459900706409
4 นางสาวณิชาวัลย์ คำสิงคะ การปกครองท้องถิ่น 1419901750436
5 นายอรุณเทพ เลพล การปกครองท้องถิ่น 1449900499918
6 นางสาวพิมพิดา บัวแพ การจัดการการคลัง 1409800386801
7 นางสาวจนิสตา อาภาแสงเพชร การจัดการการคลัง 1102003071668
8 นางสาวศิริลักษณ์ ภู่วาว การจัดการการคลัง 1479900400024
9 นางสาวพรรณนภา สอนสุภาพ การจัดการการคลัง 1679900437856
10 นางสาวชญาพร เเสนโชติ การจัดการงานช่างและผังเมือง 1471200380210
11 นางสาวจิราภรณ์ เสาร์ศรีรัตน์ การจัดการงานช่างและผังเมือง 1409901780769
12 นายอลงกต ผุยผาย การจัดการงานช่างและผังเมือง 1409901777407

จำนวนหน่วยกิตที่สามารถเทียบโอนได้ เทียบเท่า 1 ภาคการศึกษา จำนวน 18 หน่วยกิต

สาขาการปกครองท้องถิ่น
002229 สันติศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น
002231 การบริหารการศึกษาท้องถิ่น
002232 การบริหารงานสาธารณูปโภคท้องถิ่น
002233 การบริหารจัดการสาธารณสุขท้องถิ่น
002235 การบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชน
002321 สถิติสำหรับนักบริหารท้องถิ่น

สาขาการจัดการงานช่างและผังเมือง
00121 การปฏิบัติการผังเมือง
001316 การจัดการขยะและของเสียอันตราย
001319 วิศกรรมธรณีเทคนิคขั้นแนะนำ
001420 การจัดการงานก่อสร้าง
002232 การบริหารงานสาธารณูปโภคท้องถิ่น

สาขาการจัดการการคลัง
002311 สถิติสำหรับนักบริหารท้องถิ่น
002342 กลยุทธ์การจัดการวิสาหกิจชุมชน วิสาหกิจเชิงสังคมและสหกรณ์
003312 การจัดการงานผลิตและบริการเพื่อการพัฒนา
003315 การจัดการพัสดุและสำนักงาน
003364 ตลาดการเงินเพื่อการจัดหาเงินทุน
003482 การวางแผนการจัดการทรัพยากรในองค์กรของรัฐ

2. พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
กาฬสินธุ์ ห้วยผึ้ง คำบง ชนบท

3. รายละเอียดชุมชน

ประวัติความเป็นมา เดิมตำบลคำบง มีลักษณะการปกครองท้องถิ่น และมีหมู่บ้านอยู่ในความปกครอง 15 หมู่ บ้าน ต่อมาได้ยกฐานะขึ้นเป็นเทศบาลตำบลคำบง ตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติเทศบาลและประกาศกระทรวงมหาดไืทยเรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลคำบง อำเภอห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์เป็นเทศบาลตำบลคำบง เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 เทศบาลตำบลคำบง มีหมู่บ้านอยู่ในความปกครอง จำนวน 15 หมู่บ้าน
สภาพทั่วไปของตำบล ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม เหมาะแก่การทำการเกษตร มีภูเขา มีแหล่งน้ำธรรมชาติ อ่างเก็บน้ำห้วยสะทด อยู่ในความดูแลรักษาของกรมชลประทาน
จำนวนประชากรในเขตเทศบาลตำบลคำบง 10,580 คน และจำนวนหลังคาเรือน 2,577 หลังคาเรือน
พื้นที่ตำบลคำบง อำเภอห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นพื้นที่ที่มีการตั้งโรงงานแป้งมันกาฬสินธุ์ ซึ่งเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ได้มีชาวบ้านไปร้องเรียนผ่านสื่อมวลชนและต่อหน่วยงานราชการในท้องที่ว่า โรงงานแป้งมันกาฬสินธุ์ได้ปล่อยน้ำเสียลงลำห้วยบึงใหญ่ มานานนับ 10 ปี โดยสถานการณ์ที่เกิดขึ้น คือ ชาวบ้านโคกศรี ตำบลคำบง อำเภอห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์ ได้รวมตัวร้องเรียนกับศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดกาฬสินธุ์ว่า มีโรงงานแป้งมันในพื้นที่ปล่อยน้ำเสียลงลำห้วยกุดแข้-หนองบึงใหญ่ ทำให้ระบบนิเวศเสียหาย และยังส่งกลิ่นเหม็นจนชาวบ้านเดือดร้อน ชาวบ้านป่วยด้วยโรคทางเดินหายใจและโรคผิวหนัง ซึ่งปัญหานี้เกิดขึ้นมานานกว่า 10 ปีแล้ว ที่ผ่านมายังไม่มีการแก้ไขปัญหานี้อย่างจริงจัง แม้ชาวบ้านจะมีหลักฐานการปล่อยน้ำเสียของโรงงานแป้งมัน และนำไปร้องเรียนกับหน่วยงานที่กำกับดูแลโดยตรง แต่ก็ดูเหมือนว่าจะไม่ได้รับการเอาใจใส่ จนทำให้สุขภาพชาวบ้านย่ำแย่ ผลผลิตทางการเกษตรก็เสียหาย ส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่เป็นอย่างมาก
เมื่อปลายเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ทางจังหวัดสั่งการให้สำนักงานอุตสาหกรรม ออกหนังสือคำสั่งแจ้งให้โรงงานแป้งมัน หยุดประกอบกิจการชั่วคราวเป็นเวลา 7-10 วัน เพื่อปรับปรุงระบบบำบัดน้ำเสีย พร้อมตั้งคณะกรรมการตรวจสอบเพื่อเอาผิดกับทางโรงงาน และติดตามผลการแก้ไขให้เป็นไปตามระเบียบ นอกจากนี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ยังสั่งให้วางแนวทางฟื้นฟูระบบนิเวศในลำห้วยกุดแข้ และได้ให้อำเภอห้วยผึ้ง ประสานกับทางโรงงานแป้งมัน เพื่อเร่งดำเนินการเยียวยาชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบ ในอนาคตจะมีการตั้งคณะกรรมการไตรภาคี เพื่อร่วมกันตรวจสอบและป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาซ้ำอีก
ทั้งนี้ในการประชุมมีตัวแทนชาวบ้านเข้ารับฟัง และมีนายสมพงษ์ ชนะศึก ผจก.โรงงานแป้งมันกาฬสินธุ์ พร้อมเจ้าหน้าที่โรงงานชี้แจง พร้อมยืนยันว่า ทางโรงงานไม่ได้ปล่อยน้ำเสีย และได้ดำเนินการบำบัดน้ำเสียตามขั้นตอน 100 เปอร์เซ็นต์แต่เมื่อเจ้าหน้าที่ได้สุ่มลงพื้นที่ตรวจสอบบ่อบำบัดน้ำเสียบริเวณหลังโรงงานดังกล่าว จากการตรวจสอบเบื้องต้นพบว่า บ่อบำบัดน้ำเสียบ่อที่ 2 และบ่อที่ 3 ที่มีสภาพน้ำเน่าเหม็นมีสีขุ่น และอยู่ติดคลองน้ำริมถนนสาธารณะ มี ซึ่งชาวบ้านยืนยันว่าทั้งสองจุดนี้เป็นจุดที่มีการปล่อยน้ำเสียและไหลไปสู่ลำห้วยกุดแข้ จากนั้นเจ้าหน้าที่ได้เข้าตรวจสอบน้ำในลำห้วยกุดแข้ บริเวณบ้านโคกศรี ม.2 ต.คำบง อ.ห้วยผึ้ง พบว่า สภาพน้ำมีสีน้ำตาลอมดำ มีคราบมัน ส่งกลิ่นเหม็นเป็นระยะทางหลายกิโลเมตร ซึ่งผิดธรรมชาติ ในน้ำพบว่ามีปลา และสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในน้ำตายจำนวนมาก ซึ่งชาวบ้านในละแวกนี้ไม่กล้าที่จะลงน้ำ เนื่องจากเกรงได้รับอันตรายและสารพิษ นอกจากนี้ยังพบต้นข้าวของเกษตรกรที่อยู่บริเวณโดยรอบลำห้วยกุดแข้ล้มตาย และไม่ออกรวงอีกจำนวนมากเช่นกัน
ซึ่งปัญหาข้อพิพาทระหว่างชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากการปล่อยน้ำเสียนี้ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม ส่งผลต่อสุขภาพอนามัยและทำให้ผลผลิตทางการเกษตรของชาวบ้านเสียหาย และในอนาคตหากโรงงานต้องปิดกิจการไปก็จะส่งผลกระทบ เช่น ทำให้คนว่างงาน กิจการร้านค้ายหยุดชะงัก การจัดเก็บภาษีได้น้อยลง ดังนั้น ซึ่งการหยุดดประกอบกิจการนั้นส่งผลทำให้แรงงานในพื้นที่ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนในชุมชนต้องขาดรายได้โดยไม่มีการชดเชย กิจการอื่นที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ การขนส่ง การค้าขายสินค้าและอาหาร จำเป็นต้องหยุดพักไปด้วย ซึ่งปัญหานี้ได้ส่งผลกระทบเป็นวงกว้างและเป็นวงจรทั่วทั้งระบบ ดังนั้น หากเราสามารถค้นหาแนวทางแก้ไขปัญหา ที่เป็นความต้องการของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมาวางแผนเพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งร่วมกัน เพื่อมิให้มีฝ่ายใดต้องเสียประโยชน์ไปซึ่งการนำแนวทางการจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธี เข้ามาช่วยแก้ไขนั้น จะเป็นการแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุและจะช่วยให้มีการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเพื่อให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่ายได้รับประโยชน์เท่าเทียมกัน จะช่วยให้เกิดความสงบและเกิดสันติสุขตามแนวทางสันติวิธี
โดยแนวทางการดำเนินงาน ประกอบด้วย
1) นักศึกษาศึกษาตรวจสอบสถานการณ์จากข่าว รายงาน สำรวจข้อมูลจากชุมชน และผู้เกี่ยวข้อง
2) นักศึกษาค้นหาแกนนำชุมชน และอาสาสมัครชุมชนและองค์กรชุมชนเพื่อร่วมกันดำเนินงาน
3) นักศึกษาและแกนนำชุมชนแจ้งให้ประชาชนในหมู่บ้าน/ชุมชนทราบถึงประโยชน์และรายละเอียดของการดำเนินงาน
4) นักศึกษาศึกษาเชิงลึกถึงกรณีศึกษา การแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง ในพื้นที่อื่น ๆ ที่มีบริบทใกล้เคียงกัน
5) จัดเวทีเพื่อให้หมู่บ้าน/ชุมชนมีส่วนร่วมในการวิเคราะห์ข้อมูลปัญหาสิ่งแวดล้อมในชุมชน เพื่อประเมินความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม และจัดลำดับความสำคัญของปัญหาเพื่อดำเนินการแก้ไขร่วมกัน
6) นักศึกษาศึกษาข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ประกอบด้วย ชาวบ้าน แรงงานในโรงงาน พนักงานขับรถ ร้านค้าในพื้นที่ และผู้ประกอบกิจการเกี่ยวเนื่อง (เช่น ร้านอาหาร ผู้ประกอบการที่พัก ปั๊มน้ำมัน เป็นต้น) และหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง
7) นำข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์มาวิเคราะห์ สังเคราะห์อย่างเป็นระบบโดยคำแนะนำของอาจารย์ที่ปรึกษาและพี่เลี้ยงโครงการ เพื่อจัดทำเป็นรายงานข้อเสนอของชุมชนในการจัดการปัญหาความขัดแย้งโดยสันติเวที
8) จัดเวทีประชาคม เพื่อนำเสนอแผนงานข้อเสนอของชุมชน ในการจัดการปัญหาความขัดแย้งโดยสันติเวทีโดยประสานไปยังผู้ประกอบการและหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำเสนอปัญหาและความต้องการของชุมชนและหาแนวทางในการดำเนินงานร่วมกัน

4. ประเด็นปัญหาหลัก

5. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

6. องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

องค์ความรู้ในด้านชุมชนสัมพันธ์
องค์ความรู้ด้านการจัดการความขัดแย้ง
องค์ความรู้ด้านการจัดการโรงงานอุตสาหกรม
องค์ความรู้ด้านการจัดทำแผนชุมชน
องค์ความรู้ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชน
องค์ความรู้ด้านการมีส่วนร่วมของชุมชน และแนวคิดการสร้างความเข้มแข็งชุมชน

7. วัตถุประสงค์

วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธีในชุมชน

ลดความขัดแย้งภายในชุมชน ร้อยละ 80

100.00 80.00

8. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ชุมชน 100

9. ระยะเวลา

10. วิธีดำเนินงาน

กิจกรรมที่ 1 ทำความรู้จักและเข้าใจชุมชนทำความเข้าใจปัญหาและกำหนดวัตถุประสงค์เป้าหมาย

ชื่อกิจกรรม
ทำความรู้จักและเข้าใจชุมชนทำความเข้าใจปัญหาและกำหนดวัตถุประสงค์เป้าหมาย
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธีในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม
ในชั้นตอนนี้ นักศึกษาจะทำความรู้จักกับชุมชน ที่นักศึกษาไปฝังตัวอยู่ด้วย โดยเจ้าหน้าที่เทศบาลร่องคำ จะเป็นพี่เลี้ยงหลัก ร่วมถึงกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ที่จำให้นักศึกษาได้คุ้นเคย กับพื้นที่ โดยจะใช้เวลาประมาณ 3 อาทิตย์ แรกของการลงพื้นที่ในช่วงเวลานี้นักศึกษาจะทำความเข้าใจกับปัญหาและสาเหตุของปัญหาอีกครั้ง แล้วแสวงหาวิธีการแก้ปัญหา (วิธีการแก้ปัญหาอาจมีการปรับเปลี่ยนจากระบุไว้ในโครงการ ถ้านักศึกษามีนวัตกรรมใหม่ นำเสนอเพื่อแก้ปัญหา) หลังจากนั้นนักศึกษาจะกำหนดวัตถุและเป้าหมายของการมาผังตัวในพื้นที่
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2563 ถึง 31 พ.ค. 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
ลดการเกิดความขัดแย้งในชุมชน
ทรัพยากรอื่น ๆ
ภาคีร่วมสนับสนุน
เทศบาลตำบลคำบง
รายละเอียดงบประมาณ
ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
ค่าตอบแทนการประสานงาน

ค่าเบี้ยเลี้ยงอาจารย์นิเทศและผู้ช่วย จำนวน 2 คน x 120 วัน x 240 บาท ถัวเฉลี่ยจ่ายทุกรายการ

2 คน 240 120 57,600
ค่าที่พักตามจริง

จำนวน 2 หลัง x 4 เดือน x 5,000 บาท ถัวเฉลี่ยจ่ายทุกรายการ

2 ชุด 5,000 4 40,000
อื่น ๆ

ค่าเบี้ยเลี้ยงนักศึกษา จำนวน 12 คน x 120 วัน x 180 บาท ถัวเฉลี่ยจ่ายทุกรายการ

12 คน 180 120 259,200
อื่น ๆ

ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง จำนวน 4 เดือน x 10,000 บาท ถัวเฉลี่ยจ่ายทุกรายการ

1 ครั้ง 10,000 4 40,000
อื่น ๆ

การจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง ถัวเฉลี่ยจ่ายทุกรายการ

4 ครั้ง 6,800 2 54,400
ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้

ค่าวัสดุอุปกรณ์ ถัวเฉลี่ยจ่ายทุกรายการ

2 ครั้ง 6,100 4 48,800
รวมค่าใช้จ่าย 500,000

รวมงบประมาณทุกกิจกรรมของแผนการดำเนินงาน จำนวน 500,000.00 บาท

ค่าตอบแทนค่าใช้สอยค่าวัสดุอื่น ๆรวมเงิน
ค่าใช้จ่าย (บาท) 57,600.00 40,000.00 48,800.00 353,600.00 500,000.00
เปอร์เซ็นต์ (%) 11.52% 8.00% 9.76% 70.72% 100.00%

11. งบประมาณ

500,000.00บาท

12. การติดตามประเมินผล

ต่อชุมชนต่อนักศึกษา
ผลผลิต (Output) เกิดกลุ่มแกนนำที่สามารถดำเนินงานต่อได้แม้ว่าทีมนักศึกษาพี่เลี้ยงจะไม่ได้อยู่ในชุมชนแล้ว อย่างน้อย 1 กลุ่มแกนนำ นักศึกษาเป็นพลเมืองที่มีความรับผิดชอบ สร้างนักศึกษาที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม
ผลลัพธ์ (Outcome) เกิดการยอมรับและคัดแยกขยะในชุมชน ชุมชนมีถังขยะเปียกใช้อย่างน้อยร้อยละ 60 ของครับเรือนทั้งหมดในเทศบาล คุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมในชุมชนดีขึ้น ชุมชน นักศึกษาได้ทำจริง ผิดพลาดจริง และเรียนรู้จากประสบการณ์การทำงานจริง มีทักษะในการปรับตัวและทักษะในการแก้ปัญหา
ผลกระทบ (Impact)
นำเข้าสู่ระบบโดย วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัขอนแก่น วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัขอนแก่น เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2562 09:10 น.