โครงการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคชุมชนบ้านโคกพยอม จ.สงขลา

แบบเสนอโครงการ
โครงการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคชุมชนบ้านโคกพยอม จ.สงขลา

1. ชื่อโครงการ

โครงการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคชุมชนบ้านโคกพยอม จ.สงขลากระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมคณะเทคนิคการแพทย์ ม.สงขลานครินทร์คณะแพทยศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์บ้านโคกพยอมดร.จิดาภา เซคเคย์คณะเทคนิคการแพทย์ ม.สงขลานครินทร์ ต.คอหงส์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา0851999712ผศ.ดร. ดารินต์ณัฏ บัวทอง
ผศ.ดร. ธีรกมล เพ็งสกุล
นาย วีระพันธ์ รักช้าง

2. พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
สงขลา คลองหอยโข่ง ทุ่งลาน

3. รายละเอียดชุมชน

1. มีครัวเรือนทั้งหมด 174 ครัวเรือน ประชากร 695 คน ชาย 334 คน หญิง 361 คน คนต่างด้าวที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้าน 21 คน
2. แหล่งน้ำ มีบ่อน้ำตื้นส่วนตัวที่ใช้งานได้ 40 บ่อ มีน้ำสะอาดดื่มบริโภคตลอดปี ร้อยละ 100 มีน้ำใช้เพียงพอตลอดปี ร้อยละ 100 น้ำเพื่อการเกษตร เพียงพอเฉพาะฤดูฝน
3. มีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 1 แห่ง และศูนย์การเรียนรู้ชุมชน 1 แห่ง
4. ประกอบอาชีพเพาะปลูก 144 ครัวเรือน พื้นที่ทำนาทั้งหมด 20 ไร่ ทำนา 3 ครัวเรือน พื้นที่ทำไร่อายุสั้นทั้งหมด 20 ไร่ ทำไร่อายุสั้น 20 ครัวเรือน พื้นที่ทำสวนผัก 40 ไร่ ทำสวนผัก 40 ครัวเรือน พื้นที่ทำสวนยาง 1,627 ไร่ ทำสวนยาง 140 ครัวเรือน
5. สุขภาวะและอนามัย เมื่อมีอาการเจ็บป่วยเล็กน้อย คนส่วนมากเริ่มรักษา ตามอาการโดยไปสาธารณสุขชุมชน โรงพยาบาลอำเภอ และคลินิก
การมีส่วนร่วมของชุมชน
1. มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมสาธารณะ 174 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 100
2. หมู่บ้านนี้มีผู้รู้ 7 คน มีศูนย์การเรียนรู้ 1 แห่ง
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
1. ใช้ประโยชน์ที่ดินทำการเพาะปลูกหรือเลี้ยงสัตว์ ระหว่างร้อยละ 75-90 ของพื้นที่
2. ใช้ปุ๋ยธรรมชาติอย่างเดียวในการเพาะปลูก 73 ครัวเรือน
3. มีแหล่งน้ำผิวตินจำนวน 2 แห่ง คุณภาพของแหล่งน้ำผิวดิน ไม่เหมาะสม
4. มีพื้นที่ทำการเกษตรทั้งหมด 2,300 ไร่
5. มีปัญหาขยะมูลฝอย
6. คุณภาพอากาศไม่ถูกสุขลักษณะ
แหล่งที่อยู่ของชาวบ้านในชุมชนอยู่ใกล้โรงงานอุตสาหกรรมร้อยละ 23 และใกล้แหล่งเกษตรกรรมที่มีการใช้สารเคมีในการทำการเกษตรร้อยละ 29 ยังพบว่าชุมชนดังกล่าวเป็นแหล่งระบาดของโรคไข้เลือดออก พบประวัติการเกิดไข้เลือดออกร้อยละ 20 อีกทั้งประชาชนยังขาดความรู้ในด้านการป้องกันตนเองและการเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออก เนื่องจาก ลักษณะของบ้านไม่มีมุ้งลวดอยู่ที่ร้อยละ 75 และไม่นอนกางมุ้งอยู่ที่ร้อยละ 60 ไม่เคยสำรวจภาชนะที่มีน้ำขัง ร้อยละ 30 ไม่เคยมีการสำรวจลูกน้ำยุงร้อยละ 19 และไม่เคยกำจัดเศษวัสดุที่จะเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงร้อยละ 20จากปัญหาแหล่งที่อยู่ในพื้นที่และการขาดความรู้ ชุมชนโคกพยอมจึงมีความต้องการทราบระดับยาฆ่าแมลงในเลือดของประชาชนในหมู่บ้านเพื่อประเมินความปลอดภัยของอาหารที่บริโภคและการได้รับยาฆ่าแมลงจากพื้นที่ที่ทำการเกษตร ประชาชนต้องการที่จะได้รับความรู้ในการป้องกันตนเองจากโรคไข้เลือดออก เนื่องจากประชาชนอาศัยอยู่ในแหล่งระบาดของโรคดังกล่าว

4. ประเด็นปัญหาหลัก

5. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

6. องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

1 ใช้โปรแกรม Epicollect 5 ซึ่งเป็นโปรแกรมออนไลน์ สำหรับใช้ในการสร้างแบบสอบถามด้านสุขภาพและใช้ในการสัมภาษณ์สมาชิกในชุมชนเกี่ยวกับพฤติกรรมการบริโภคและความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก
2 ใช้องค์ความรู้เกี่ยวกับการตรวจหายาฆ่าแมลงในเลือด การเก็บสิ่งส่งตรวจ การตรวจวิเคราะห์ และการแปลผลการตรวจ
3 ใช้องค์ความรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก ในการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับพาหะนำโรคไข้เลือดออก อาการของโรค การรักษา ความเสี่ยงในการเกิดโรค การป้องกันตัวและการลดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงพาหะของโรคไข้เลือดออก

7. วัตถุประสงค์

วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนในหมู่บ้านทราบระดับยาฆ่าแมลงในเลือด

ร้อยละของผู้ที่อยู่ในแหล่งที่มีความเสี่ยงได้รับการตรวจวัดระดับยาฆ่าแมลงในเลือด

52.00 80.00
2 เพื่อเพิ่มพูนความรู้ในการป้องกันตนจากการได้รับยาฆ่าแมลง

ร้อยละของผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรมได้รับความรู้ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง

50.00 80.00
3 เพื่อเพิ่มพูนความรู้ในการป้องกันตนและเฝ้าระวังการเกิดไข้เลือดออกในชุมชน

ร้อยละของผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรมได้รับความรู้ในการป้องกันตนและเฝ้าระวังการเกิดไข้เลือดออกในชุมชน

50.00 80.00

8. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
นักเรียนโรงเรียนบ้านโคกพยอม 60
สมาชิก ชุมชนบ้านโคกพยอม หมู่ที่ 5 250

9. ระยะเวลา

10. วิธีดำเนินงาน

กิจกรรมที่ 1 การตรวจวัดระดับยาฆ่าแมลงในเลือดและให้ความรู้ในการดูแลตนเองและเฝ้าระวังการเกิดไข้เลือดออกในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
การตรวจวัดระดับยาฆ่าแมลงในเลือดและให้ความรู้ในการดูแลตนเองและเฝ้าระวังการเกิดไข้เลือดออกในชุมชน
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อให้ประชาชนในหมู่บ้านทราบระดับยาฆ่าแมลงในเลือด
  2. เพื่อเพิ่มพูนความรู้ในการป้องกันตนจากการได้รับยาฆ่าแมลง
  3. เพื่อเพิ่มพูนความรู้ในการป้องกันตนและเฝ้าระวังการเกิดไข้เลือดออกในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม
1. สำรวจและวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพของชุมชนเป้าหมาย
1.1. ข้อมูลพื้นฐานของชุมชน
1.2. ข้อมูลวิเคราะห์แบบสอบถามการสำรวจสุขภาพของชุมชน
2. ประชุมและวางแผนการตรวจสุขภาพและให้ความรู้แก่ชาวบ้านร่วมกับผู้นำชุมชน
3. ชี้แจงโครงการ นักศึกษาลงชุมชนทำการสำรวจภาวะสุขภาพด้านการบริโภคอาหารและโรคไข้เลือดออก
4. นำข้อมูลจากการวิเคราะห์ชุมชนและความเสี่ยงการได้รับยาฆ่าแมลง และการเกิดโรคไข้เลือดออกมาวิเคราะห์เพื่อแก้ปัญหาและวางแผนการป้องกันโรคให้แก่ชุมชน
5. ดำเนินการตรวจสุขภาพครั้งที่ 1 และรายงานผลการตรวจระดับยาฆ่าแมลงในเลือดในแก่สมาชิกชุมชน มีกิจกรรมให้ความรู้ด้านการบริโภคอาหาร และการป้องกันตนเองจากการได้รับสารพิษจากอาหารที่บริโภค และมีกิจกรรมให้ความรู้เรื่องไข้เลือดออกและการป้องกันตนเองให้แก่นักเรียนโรงเรียนบ้านโคกพยอมและประชาชนในหมู่บ้าน
6. ดำเนินการตรวจสุขภาพครั้งที่ 2 ให้แก่ผู้ที่มีระดับยาฆ่าแมลงที่สูงเกินค่ามาตรฐาน เพื่อแสดงผลแนวโน้มด้านสุขภาพรายบุคคลและผลการปรับพฤติกรรมในการป้องกันตนเองจากการได้รับสารพิษจากอาหารให้คำปรึกษารายบุคคลแก่ผู้ที่พบความผิดปกติ
7. รายงานผลการตรวจโดยรวมให้แก่ชุมชนและโรงพยาบาลส่วนตำบล
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2563 ถึง 31 กรกฎาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
ผลผลิต
1. สมาชิกในชุมชนได้รับผลการตรวจวัดระดับยาฆ่าแมลงในเลือดอย่างทั่วถึงและได้รับผลการตรวจซ้ำภายหลังปรับพฤติกรรมการบริโภคอาหารหรือทราบวิธีการป้องกันตนจากการได้รับยาฆ่าแมลง
2. แผ่นพับความรู้และการเผยแพร่ความรู้ให้แก่ประชาชนด้านอาหารปลอดภัย
3. แผ่นพับความรู้และการเผยแพร่ความรู้ให้แก่ประชาชนด้านการป้องกันตนเองจากโรคไข้เลือดออก
4. เป็นกิจกรรมของนักศึกษาในรายวิชากิจกรรมเสริมหลักสูตร ที่ไม่เคยมีการดำเนินการมาก่อนในคณะ
ผลลัพธ์
ด้านชุมชน
1. ประชาชนตระหนักถึงการบริโภคอาหารปลอดภัยและการป้องกันตนเองจากการได้รับสารพิษจากอาหาร
2. ประชาชนมีความรู้ในการป้องกันตนเองจากโรคไข้เลือดออกและร่วมมือกันในการเฝ้าระวังแหล่งเพาะพันธุ์ยุงในพื้นที่ชุมชน
ด้านนักศึกษา
1. ฝึกทักษะการลงชุมชนและพบปะพูดคุยกับประชาชน ได้เห็นถึงปัญหาและเข้าใจการดำเนินชีวิตของคนในชุมชน
2. ฝึกการถ่ายทอดความรู้ด้วยภาษาถิ่น หรือภาษาที่เข้าใจง่ายสำหรับคนทั่วไป
3. ฝึกการวางแผน การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า การวิเคราะห์ข้อมูลการตรวจสุขภาพ และการอธิบายผลการตรวจพร้อมให้ความรู้แก่ผู้ป่วย
ผลกระทบ
1. การลดการใช้สารเคมีในพื้นที่การเกษตรของชุมชน
2. ประชาชนในพื้นที่มีส่วนร่วมในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก
3. ปลูกจิตสำนึกรักสุขภาพ
4. สร้างสัมพันธ์ภาพอันดีระหว่างชุมชนและสถาบันอุดมศึกษา
ทรัพยากรอื่น ๆ
ภาคีร่วมสนับสนุน
รายละเอียดงบประมาณ
ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
ค่าตอบแทนวิทยากร 2 คน 1,000 1 2,000
ค่าตอบแทนการประสานงาน 3 คน 500 2 3,000
ค่าอาหาร 30 คน 55 7 11,550
ค่าเช่ารถ 2 เที่ยว 6,200 7 86,800
ค่าวัสดุสำนักงาน

ค่าวัสดุสำนักงาน เอกสารความรู้ แผ่นไวนิลให้ความรู้และป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ

1 ชุด 20,000 1 20,000
ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้

ค่าวัสดุและสารเคมีในการเจาะเลือดและน้ำยาตรวจสารฆ่าแมลง

1 ชุด 30,000 2 60,000
ค่าพาหนะเดินทาง - รถยนต์ส่วนบุคคล 1 เที่ยว 600 3 1,800
อื่น ๆ

ค่าจ้างเหมาบริการตรวจระดับยาฆ่าแมลงในเลือด

250 คน 300 2 150,000
รวมค่าใช้จ่าย 335,150

รวมงบประมาณทุกกิจกรรมของแผนการดำเนินงาน จำนวน 335,150.00 บาท

ค่าตอบแทนค่าใช้สอยค่าวัสดุอื่น ๆรวมเงิน
ค่าใช้จ่าย (บาท) 5,000.00 100,150.00 80,000.00 150,000.00 335,150.00
เปอร์เซ็นต์ (%) 1.49% 29.88% 23.87% 44.76% 100.00%

11. งบประมาณ

335.00บาท

12. การติดตามประเมินผล

ต่อชุมชนต่อนักศึกษา
ผลผลิต (Output) 1. สมาชิกในชุมชนได้รับผลการตรวจวัดระดับยาฆ่าแมลงในเลือดอย่างทั่วถึงและได้รับผลการตรวจซ้ำภายหลังปรับพฤติกรรมการบริโภคอาหารหรือทราบวิธีการป้องกันตนจากการได้รับยาฆ่าแมลง
2. แผ่นพับความรู้และการเผยแพร่ความรู้ให้แก่ประชาชนด้านอาหารปลอดภัย
3. แผ่นพับความรู้และการเผยแพร่ความรู้ให้แก่ประชาชนด้านการป้องกันตนเองจากโรคไข้เลือดออก
4. ข้อมูลพื้นฐานด้านสุขภาพของคนในชุมชน
เป็นผลงานกิจกรรมของนักศึกษาในรายวิชากิจกรรมเสริมหลักสูตร ที่ไม่เคยมีการดำเนินการมาก่อนในคณะ
ผลลัพธ์ (Outcome) 1. ประชาชนตระหนักถึงการบริโภคอาหารปลอดภัยและการป้องกันตนเองจากการได้รับสารพิษจากอาหาร
2. ประชาชนมีความรู้ในการป้องกันตนเองจากโรคไข้เลือดออกและร่วมมือกันในการเฝ้าระวังแหล่งเพาะพันธุ์ยุงในพื้นที่
1. ฝึกทักษะการลงชุมชนและพบปะพูดคุยกับประชาชน ได้เห็นถึงปัญหาและเข้าใจการดำเนินชีวิตของคนในชุมชน
2. ฝึกการถ่ายทอดความรู้ด้วยภาษาถิ่น หรือภาษาที่เข้าใจง่ายสำหรับคนทั่วไป
3. ฝึกการวางแผน การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า การวิเคราะห์ข้อมูลการตรวจสุขภาพ และการอธิบายผลการตรวจพร้อมให้ความรู้แก่ผู้ป่วย
ผลกระทบ (Impact) 1. การลดการใช้สารเคมีในพื้นที่การเกษตรของชุมชน
2. ประชาชนในพื้นที่มีส่วนร่วมในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก
3. ปลูกจิตสำนึกรักสุขภาพ
สร้างจิตสำนึกรักบ้านเกิด
เข้าใจวิถีชาวบ้านและเป็นส่วนร่วมในการสร้างความเข้มแข็งด้านสุขภาพให้กับประชาชน
สร้างสัมพันธ์ภาพอันดีระหว่างชุมชนและสถาบันอุดมศึกษา
นำเข้าสู่ระบบโดย jidapa.sz98 jidapa.sz98 เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2562 06:18 น.