การวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วมของเด็กและเยาวชนบ้านแม่ใจใต้ อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่

แบบเสนอโครงการ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วมของเด็กและเยาวชนบ้านแม่ใจใต้ อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่

1. ชื่อโครงการ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วมของเด็กและเยาวชนบ้านแม่ใจใต้ อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ภาควิชาการพัฒนาชุมชน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่-บ้านแม่ใจใต้ ตำบลเวียง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่อาจารย์พจนา มณฑีรรัตน์125 หมู่ 3 ตำบลป่าบง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ 50140083-2048281เด็กและเยาวชนบ้านแม่ใจใต้ ที่สนใจเข้าร่วมเป็นนักวิจัย

2. พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
เชียงใหม่ ฝาง เวียง

3. รายละเอียดชุมชน

บ้านแม่ใจใต้ หมู่ที่ 7 ตำบลเวียง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ได้มีการตั้งถิ่นฐานในบริเวณดังกล่าวมาเป็นระยะเวลาประมาณร้อยกว่าปี โดยการย้ายถิ่นฐานเข้ามาของประชากรจากบ้านบ่อหิน อำเภอดอยสะเก็ด อำเภอแม่ริม อำเภอสันทราย และอำเภอสันป่าตอง มาตั้งถิ่นฐานที่ที่ลำน้ำใจ และได้ก่อตั้งขึ้นเป็นหมู่บ้านแม่ใจป่าจวาก ตำบลเวียง อำเภอฝาง ซึ่งขณะนั้นอำเภอฝางยังอยู่ในเขตการปกครองของจังหวัดเชียงราย โดยยึดชื่อหมู่บ้านมาจากชื่อวัดป่าจวาก ซึ่งปัจจุบัน คือ วัดศรีดอนชัย และได้เปลี่ยนชื่อจากบ้านแม่ใจป่าจวาก ตำบลเวียง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ในปี พ.ศ.2475 และเปลี่ยนชื่ออีกครั้งเป็นหมู่บ้านแม่ใจใต้ เนื่องจากที่ตั้งของหมู่บ้านอยู่ใต้ลำน้ำใจ จนถึงปัจจุบันหมู่บ้านแม่ใจใต้ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของตัวอำเภอฝาง ห่างจากตัวอำเภอฝางเป็นระยะทาง 2 กิโลเมตร และอยู่ทางทิศเหนือของตัวจังหวัดเชียงใหม่ เป็นระยะทาง 150 กิโลเมตร พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม เนื่องจากอยู่ติดกับริมน้ำแม่ใจ จากการสังเกต พบว่า ลักษณะการตั้งถิ่นฐานของชุมชนจะเป็นการสร้างบ้านเรือนเรียงรายตามถนนของหมู่บ้าน มีพื้นที่ประมาณ 300 ไร่ โดยมีอาณาเขตติดต่อดังนี้
ทิศเหนือ ติดกับลำน้ำแม่ใจ บ้านศรีดอนชัย หมู่ที่ 18 ตำบลเวียง
ทิศใต้ ติดกับบ้านสันป่าไหน่ หมู่ที่ 9 ตำบลเวียง
ทิศตะวันออก ติดกับบ้านสวนดอก หมู่ที่ 4 ตำบลเวียง
ทิศตะวันตก ติดกับบ้านแม่ใจเหนือ หมู่ที่ 8 ตำบลเวียง
1. ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
1) แหล่งน้ำธรรมชาติ 1 สาย คือ ลำน้ำแม่ใจ
2) แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น บ่อน้ำตื้น 120 แห่ง ประปาหมู่บ้าน 1 แห่ง
3) พืชพรรณ/สมุนไพร 1 แห่ง
4) พื้นที่สาธารณะ 3 แห่ง ได้แก่ ลานกีฬาประจำหมู่บ้าน สถาบันการเงินชุมชนบ้านแม่ใจใต้ และศาลาอเนกประสงค์บ้านแม่ใจใต้
5) แหล่งท่องเที่ยว 1 แห่ง ได้แก่ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจชุมชนเชิงคุณธรรมประจำตำบลเวียง

การวิเคราะห์ศักยภาพของชุมชน หมู่ 7 บ้านแม่ใจใต้ ตำบลเวียง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่นั้น ได้ทำการวิเคราะห์โดยอาศัยข้อมูล 2 ระดับ คือ 1) ข้อมูลปฐมภูมิ (primary sources) โดยการสนทนากลุ่ม ซึ่งมีผู้เข้าร่วมกระบวนการดังกล่าวอันประกอบด้วยคณะกรรมการหมู่บ้านและตัวแทนของกลุ่มและองค์กรต่างๆในชุมชน และ 2) ข้อมูลทุติยภูมิ (secondary sources) โดยอาศัยข้อมูลจากแผนชุมชน (แผนพัฒนาหมู่บ้าน) ปี 2560
จากการเก็บรวบรวมข้อมูลในเบื้องต้น พบว่า ชุมชนบ้านแม่ใจใต้ เป็นชุมชนต้นแบบที่มีศักยภาพด้านการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น และเป็นชุมชนที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็น “หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ” และเป็นชุมชนที่เรียกได้ว่าเป็น “ชุมชนเข้มแข็ง” เนื่องจากความสามารถในการพึ่งตนเองได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในมิติของ “องค์กรชุมชนด้านการเงิน” จากการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน รวมถึงข้อมูลที่ได้จากการสนทนากลุ่ม (focus group) พบว่า เงื่อนไขของการพัฒนาในพื้นที่หมู่บ้านแม่ใจใต้ คือ การที่หมู่บ้านดังกล่าวมี “สถาบันการเงินชุมชนบ้านแม่ใจใต้” ที่เข้มแข็งอันเป็นผลลัพธ์ที่มาจากทุนทางสังคมและวัฒนธรรมภายในชุมชนเป็นสำคัญ โดยเฉพาะอย่างการมีผู้นำที่มีความสามารถในการเป็นผู้นำทางความคิด ผู้นำทางการประสานทรัพยากรภายในและภายนอกชุมชนและความสำเร็จของการดำเนินงานสถาบันการเงินชุมชนบ้านแม่ใจใต้ ยังนำไปสู่การพัฒนาสวัสดิการของชุมชนในด้านต่างๆ อีกมากมาย ปัจจุบันสถาบันการเงินชุมชนบ้านแม่ใจใต้ยังเป็นแหล่งเรียนรู้ ศึกษาดูงาน และได้รับรางวัลชนะเลิศการบริหารจัดการสถาบันการเงินชุมชนดีเด่น ประจำปี 2557 ระดับประเทศ รางวัลศูนย์เรียนรู้กองทุนแม่ของแผ่นดินระดับจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งผู้ดำเนินโครงการได้ทำการวิเคราะห์ศักยภาพของชุมชน พบว่า ศักยภาพดังกล่าวของชุมชนเกิดจากปัจจัยเงื่อนไข 2 ระดับ คือ 1) ทุนภายในชุมชน ที่สำคัญหลายประการได้แก่ ค่านิยมของคนในชุมชน ภูมิปัญญาและความเชื่อ การมีส่วนร่วมของคนในชุมชนในการทำกิจกรรมต่างๆ กลุ่ม องค์กรและเครือข่ายภายในชุมชน และ 2) ทุนภายนอก / โอกาสในการได้รับการสนับสนุนจากภายนอกชุมชน ภายนอก เช่น รัฐบาล กรมการพัฒนาชุมชน กองทุนฟื้นฟูเกษตรกร องค์การบริหารส่วนตำบล พัฒนาจังหวัดเชียงใหม่ เครือข่ายพระสงฆ์ รวมถึงหน่วยงานต่างๆ ยังมีส่วนสำคัญที่ช่วยในการสนับสนุนต่อยอดการพัฒนาจากทุนภายในที่มีอยู่ ปัจจุบันหมู่บ้านแม่ใจใต้ยังเป็นแหล่งเรียนรู้ ศึกษาดูงาน และได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับชุมชนต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เป็นประจำสม่ำเสมอ
จากการลงพื้นที่เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาและความต้องการพัฒนาในพื้นที่เป้าหมายตามข้อตกลงความร่วมมือกับจังหวัดเชียงใหม่ พบว่า บ้านแม่ใจใต้ หมู่ที่ 7 ตำบลเวียง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ได้มีการตั้งถิ่นฐานในบริเวณดังกล่าวมาเป็นระยะเวลาประมาณร้อยกว่าปี ปัจจุบันเป็นชุมชนต้นแบบที่มีศักยภาพด้านการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น และเป็นชุมชนที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็น “หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ” และเป็นชุมชนที่เรียกได้ว่าเป็น “ชุมชนเข้มแข็ง” เนื่องจากความสามารถในการพึ่งตนเองได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในมิติของ “องค์กรชุมชนด้านการเงิน” หากแต่ความเข้มแข็งดังกล่าวนำมาซึ่งสิ่งที่เป็นความกังวลของคนในชุมชนปัจจุบัน คือ กระบวนการสืบทอดค่านิยม ความเชื่อ วัฒนธรรมและสำนึกของความเป็นชุมชนไปสู่คนในรุ่นอนาคต ทั้งนี้เชื่อว่าสำหรับคนในรุ่นปัจจุบันที่กำลังขับเคลื่อนชุมชนอยู่ล้วนแต่มีศักยภาพดังที่กล่าวไปในข้างต้น หากแต่คนรุ่นใหม่ที่ได้มีโอกาสไปศึกษาเล่าเรียน รวมถึงไปทำงานใช้ชีวิตนอกชุมชนมีเพียงส่วนน้อยที่จะกลับมาสานต่องานที่คนในรุ่นปัจจุบันได้ทำอยู่ และเมื่อได้ดำเนินโครงการ การสร้างสำนักร่วมแห่งความเป็นชุมชนของเด็กและเยาวชนบ้านแม่ใจใต้ ตำบลเวียง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ มาเป็นระยะเวลา 1 ปี พบว่า เด็กและเยาวชนเกิดความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับชุมชน และมีความเข้าใจในชุมชนของตนเองดีขึ้นเมื่อเทียบกับผลการประเมินแบบเสริมพลังก่อนที่จะมีการดำเนินโครงการ อย่างไรก็ตามเมื่อมีการประเมินแบบเสริมพลังก่อนสิ้นสุดโครงการผู้ดำเนินโครงการ พบว่า นอกจากความรู้พื้นฐานดังกล่าวเด็กและเยาวชนที่เข้าร่วมโครงการยังคงมีความสนใจที่จะเรียนรู้ในเครื่องมือต่าง ๆ เพื่อทำความเข้าใจในชุมชนของตนเองและพัฒนาศักยภาพของตนเองเพื่อเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นของตนเองต่อไปจากการสรุปบทเรียนร่วมกันระหว่างแกนนำชุมชนรวมถึงเด็กและเยาวชนในพื้นที่ ส่วนใหญ่เห็นว่าควรมีการวางแผนและออกแบบกิจกรรมเพื่อการพัฒนาในระยะยาวอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำไปสู่การสืบทอดแนวทางการพัฒนาชุมชนเข้มแข็งจากคนรุ่นปัจจุบันไปสู่คนรุ่นใหม่ในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ

4. ประเด็นปัญหาหลัก

5. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

6. องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

1) การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research : PAR)
2) การประเมินแบบเสริมพลัง (Empowerment Evaluation)
การวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วมของเด็กและเยาวชนบ้านแม่ใจ้ใต้ ตำบลเวียง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นโครงการขยายผล สืบเนื่องมาจากโครงการ "การสร้างสำนึกร่วมแห่งความเป็นชุมชนของเด็กและเยาวชนบ้านแม่ใจ้ใต้ ตำบลเวียง อำเภอฝางจังหวัดเชียงใหม่" ซึ่งดำเนินการแล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ.2562 โดยมีการออกแบบโครงการเพื่อให้เด็กและเยาวชนได้เรียนรู้ชุมชนของตนเอง อาศัยเครื่องมือการศึกษาชุมชน จำนวน 5 เครื่องมือ ในการที่จะให้เด็กและเยาวชนเกิดความรู้ ความเข้าใจในบริบทและทรัพยากรที่สำคัญของชุมชน ซึ่งในส่วนของโครงการขยายผลจะเป็นการต่อยอดและยกระดับการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชนสู่การเป็นนักวิจัยชุมชน โดยอาศัยองค์ความรู้และฐานคิดของการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research : PAR) โดยแบ่งการดำเนินงานออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ 1) ระยะก่อนดำเนินการวิจัย ผู้ดำเนินโครงการจะใช้การประเมินแบบเสริมพลังอำนาจ (Empowerment Evaluation) เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้ประเมินความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการทำวิจัย และนำไปสู่การเผยแพร่ความรู้ด้านการวิจัยแก่ผู้เด็กและเยาวชนที่เข้าร่วมโครงการ รวมถึงการแบ่งบทบาทหน้าที่ 2) ระยะการดำเนินการวิจัย เด็กและเยาวชนที่เข้าร่วมโครงการจะดำเนินการตามขั้นตอนของกระบวนการวิจัย โดยการวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการของชุมชน การออกแบบการวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูลและการนำเสนอปัญหาต่อชุมชน 3) ระยะการจัดทำแผน การให้ความรู้แก่ทีมวิจัยเด็กและเยาวชนในการวางแผน การกำหนดโครงการแก้ไขปัญหาที่ได้จากการวิเคราะห์ ซึ่งในกระบวนการทุกขั้นตอนผู้ดำเนินโครงการหลัก คือ เด็กและเยาวชนที่เข้าร่วมโครงการ โดยผู้เสนอโครงการจะทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยง ติดตาม ประเมินผลการดำเนินงานโดยอาศัยเทคนิคการประเมินแบบเสริมพลัง

7. วัตถุประสงค์

วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1) เพื่อสร้างการรวมกลุ่มของเด็กและเยาวชนบ้านแม่ใจใต้ อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่
  1. เกิดกลุ่มของเด็กและเยาวชนอย่างน้อย 1 กลุ่ม
  2. มีเด็กและเยาวชนเข้าร่วมเป็นสมาชิกกลุ่มอย่างน้อย 25 คนในระยะแรกของการดำเนินโครงการ
0.00 0.00
2 2) เพื่อพัฒนาทักษะด้านการวิจัยแก่เด็กและเยาวชนบ้านแม่ใจใต้ ตำบลเวียง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่
  1. เด็กและเยาวชนสามารถกำหนดประเด็นปัญหาหรือความต้องการของชุมชนได้
  2. เด็กและเยาวชนสามารถออกแบบการวิจัยเกี่ยวกับประเด็นปัญหาหรือความต้องการของชุมชนได้

    2.1 เด็กและเยาวชนสามารถจัดทำเครื่องมือเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลได้

    2.2 เด็กและเยาวชนสามารถเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้เครื่องมือที่จัดทำขึ้นมาได้

    2.3 เด็กและเยาวชนสามารถนำเสนอข้อมูลต่อคนในชุมชนได้

0.00
3 3) เพื่อพัฒนาทักษะด้านการวางแผนพัฒนาชุมชนสำหรับเด็กและเยาวชนบ้านแม่ใจใต้ ตำบลเวียง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่

เกิดแผนงานและโครงการเพื่อการแก้ไขปัญหาของชุมชน อย่างน้อย 1 แผนงาน

0.00

8. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)

9. ระยะเวลา

10. วิธีดำเนินงาน

กิจกรรมที่ 1 1. สรุปบทเรียนการเรียนรู้จากโครงการ การสร้างจิตสำนึกแห่งความเป็นชุมชน

ชื่อกิจกรรม
1. สรุปบทเรียนการเรียนรู้จากโครงการ การสร้างจิตสำนึกแห่งความเป็นชุมชน
วัตถุประสงค์
  1. 1) เพื่อสร้างการรวมกลุ่มของเด็กและเยาวชนบ้านแม่ใจใต้ อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่
รายละเอียดกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 การสรุปบทเรียนจะเป็นการให้เด็กและเยาวชนที่รับผิดชอบในแต่ละเครื่องมือศึกษาชุมชน ได้แก่ แผนที่เดินดิน ประวัติศาสตร์ชุมชน ประวัติบุคคลสำคัญ ปฏิทินชุมชน (ประเพณี/การเพาะปลูก) และ โครงสร้างองค์กรชุมชนได้นำเสนอบริบทของชุมชนบ้านแม่ใจใต้
ระยะเวลาดำเนินงาน
7 มีนาคม 2563 ถึง 7 มีนาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
1. ชุดข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับบริบทของชุมชน
ทรัพยากรอื่น ๆ
ภาคีร่วมสนับสนุน
รายละเอียดงบประมาณ
ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
ค่าเช่ารถ

ค่าเช่าเหมารถตู้และน้ำมัน

1 คน 2,800 1 2,800
ค่าอาหาร 35 คน 150 1 5,250
ค่าที่พักตามจริง 1 ครั้ง 1,000 1 1,000
ค่าถ่ายเอกสาร 35 ชุด 30 1 1,050
ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้ 1 ครั้ง 500 1 500
รวมค่าใช้จ่าย 10,600

กิจกรรมที่ 2 2. การประเมินแบบเสริมพลัง เรื่อง ความรู้เกี่ยวกับการวิจัยชุมชน

ชื่อกิจกรรม
2. การประเมินแบบเสริมพลัง เรื่อง ความรู้เกี่ยวกับการวิจัยชุมชน
วัตถุประสงค์
  1. 1) เพื่อสร้างการรวมกลุ่มของเด็กและเยาวชนบ้านแม่ใจใต้ อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่
รายละเอียดกิจกรรม
การประเมินความรู้เบื้องต้นของเด็กและเยาวชนที่เข้าร่วมโครงการเกี่ยวกับการวิจัยชุมชน โดยจะแบ่งเด็กและเยาวชนออกเป็น 3 กลุ่ม แต่ละกลุ่มจะมีผู้เอื้อให้เกิดการเรียนรู้ (facilitator) ซึ่งทำหน้าที่ในการเป็นผู้ตั้งคำถามเพื่อให้เด็กและเยาวชนได้ประเมินตนเอง
ระยะเวลาดำเนินงาน
8 มีนาคม 2563 ถึง 8 มีนาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
ผลผลิต: ได้ทราบถึงระดับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการวิจัยชุมชน
ผลลัพธ์1: แนวทางการพัฒนาทักษะด้านการวิจัยชุมชนสำหรับเด็กและเยาวชน
ผลลัพธ์2: รายชื่อคณะทำงาน (นักวิจัยชุมชน)
ทรัพยากรอื่น ๆ
ภาคีร่วมสนับสนุน
รายละเอียดงบประมาณ
ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
ค่าตอบแทนวิทยากร

ค่าตอบแทนวิทยากรกระบวนการ จำนวน 3 คน x 2 ชั่วโมง x ชั่วโมงละ 500 บาท

3 คน 1,000 1 3,000
ค่าเช่ารถ

ค่าเช่าเหมารถตู้ + น้ำมัน

1 เที่ยว 2,800 1 2,800
ค่าตอบแทนวิทยากร 35 คน 150 1 5,250
ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้ 1 ครั้ง 500 1 500
รวมค่าใช้จ่าย 11,550

กิจกรรมที่ 3 3. การพัฒนาทักษะด้านการวิจัย

ชื่อกิจกรรม
3. การพัฒนาทักษะด้านการวิจัย
วัตถุประสงค์
  1. 2) เพื่อพัฒนาทักษะด้านการวิจัยแก่เด็กและเยาวชนบ้านแม่ใจใต้ ตำบลเวียง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่
รายละเอียดกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การวิจัยชุมชน
ระยะเวลาดำเนินงาน
4 เมษายน 2563 ถึง 5 เมษายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
ผลผลิต: เด็กและเยาวชนเกิดความรู้ความเข้าใจในการวิจัยชุมชน
ผลลัพธ์: แผนการดำเนินงานวิจัยแบบมีส่วนร่วมของเด็กและเยาวชน
ทรัพยากรอื่น ๆ
ภาคีร่วมสนับสนุน
รายละเอียดงบประมาณ
ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
ค่าตอบแทนวิทยากร

ค่าตอบแทนวิทยากรกระบวนการ จำนวน 2 คน x 2 วัน x วันละ 2 ชั่วโมง x ชั่วโมงละ 500 บาท

2 คน 1,000 2 4,000
ค่าเช่ารถ 2 เที่ยว 2,800 1 5,600
ค่าอาหาร 35 คน 150 2 10,500
รวมค่าใช้จ่าย 20,100

กิจกรรมที่ 4 4. การกำหนดหัวข้องานวิจัยแบบมีส่วนร่วมของเด็กและเยาวชน

ชื่อกิจกรรม
4. การกำหนดหัวข้องานวิจัยแบบมีส่วนร่วมของเด็กและเยาวชน
วัตถุประสงค์
  1. 2) เพื่อพัฒนาทักษะด้านการวิจัยแก่เด็กและเยาวชนบ้านแม่ใจใต้ ตำบลเวียง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่
รายละเอียดกิจกรรม
- ฝึกปฏิบัติการวิเคราะห์ปัญหาชุมชน
- เรียงลำดับความสำคัญของปัญหา
- กำหนดหัวข้องานวิจัย (ปัญหาชุมชนที่ต้องการแก้ไข)
ระยะเวลาดำเนินงาน
25 เมษายน 2563 ถึง 26 เมษายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
ผลผลิต: เด็กและเยาวชนมีเกิดทักษะในการคิดวิเคราะห์ปัญหาของชุมชน
ผลผลัพธ์: โจทย์/หัวข้อการวิจัย
ทรัพยากรอื่น ๆ
ภาคีร่วมสนับสนุน
รายละเอียดงบประมาณ
ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
ค่าตอบแทนวิทยากร 1 คน 1,000 2 2,000
ค่าเช่ารถ

ค่าเช่ารถตู้ + น้ำมัน

1 เที่ยว 2,800 2 5,600
ค่าอาหาร 35 คน 150 2 10,500
ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้ 1 ครั้ง 500 1 500
ค่าที่พักตามจริง 1 ครั้ง 1,000 1 1,000
รวมค่าใช้จ่าย 19,600

กิจกรรมที่ 5 5. การจัดทำเครื่องมือเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล

ชื่อกิจกรรม
5. การจัดทำเครื่องมือเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล
วัตถุประสงค์
  1. 2) เพื่อพัฒนาทักษะด้านการวิจัยแก่เด็กและเยาวชนบ้านแม่ใจใต้ ตำบลเวียง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่
รายละเอียดกิจกรรม
- เด็กและเยาวชนได้เรียนรู้เกี่ยวกับการจัดทำเครื่องมือเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล
- เด็กและเยาวชนได้ออกแบบเครื่องมือที่เหมาะสมสำหรับการเก็บรวบรวมข้อมูล
ระยะเวลาดำเนินงาน
2 พ.ค. 2563 ถึง 31 พ.ค. 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
ผลผลิต: เด็กและเยาวชนเกิดทักษะในการจัดทำเครื่องมือเพื่อการเก็บรวบรวมข้อมูล
ผลลัพธ์: เด็กและเยาวชนสามารถสร้างเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้
ทรัพยากรอื่น ๆ
ภาคีร่วมสนับสนุน
รายละเอียดงบประมาณ
ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
ค่าเช่ารถ

ค่าเช่ารถตู้ +น้ำมัน

2 เที่ยว 2,800 4 22,400
ค่าตอบแทนวิทยากร 1 คน 1,000 4 4,000
ค่าอาหาร

ค่าอาหารและอาหารว่าง มื้อละ 150 บาท x 35 คน x ครั้งละ 2 วัน x 4 ครั้ง

35 คน 150 8 42,000
ค่าที่พักตามจริง 1 คน 1,000 4 4,000
รวมค่าใช้จ่าย 72,400

กิจกรรมที่ 6 6. การเก็บรวบรวมข้อมูล

ชื่อกิจกรรม
6. การเก็บรวบรวมข้อมูล
วัตถุประสงค์
  1. 2) เพื่อพัฒนาทักษะด้านการวิจัยแก่เด็กและเยาวชนบ้านแม่ใจใต้ ตำบลเวียง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่
รายละเอียดกิจกรรม
นักวิจัย (เด็กและเยาวชน) ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล
ระยะเวลาดำเนินงาน
6 มิถุนายน 2563 ถึง 30 สิงหาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
ผลผลิต: ได้ข้อมูลครบตามที่กำหนด
ผลลัพธ์: เด็กและเยาวชนเกิดความรู้ ความเข้าใจในปัญหาของชุมชน
ทรัพยากรอื่น ๆ
ภาคีร่วมสนับสนุน
รายละเอียดงบประมาณ
ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
ค่าตอบแทนวิทยากร

ค่าอาหารและอาหารว่าง จำนวน 35 คน x คนละ 150 บาท x ครั้งละ 2 วัน x 5 ครั้ง

35 คน 150 10 52,500
ค่าเช่ารถ

ค่าเช่ารถตู้+น้ำมัน

2 เที่ยว 2,800 5 28,000
รวมค่าใช้จ่าย 80,500

กิจกรรมที่ 7 7. การวิเคราะห์ข้อมูลและนำเสนอต่อคนในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
7. การวิเคราะห์ข้อมูลและนำเสนอต่อคนในชุมชน
วัตถุประสงค์
  1. 2) เพื่อพัฒนาทักษะด้านการวิจัยแก่เด็กและเยาวชนบ้านแม่ใจใต้ ตำบลเวียง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่
รายละเอียดกิจกรรม
เด็กและเยาวชน ร่วมวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้เก็บรวบรวมมา และนำเสนอต่อคนในชุมชน
ระยะเวลาดำเนินงาน
12 กันยายน 2563 ถึง 30 พฤศจิกายน 2562
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
ผลผลิต: ชุดข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาของชุมชน
ผลผลิต: ได้นำเสนอข้อมูลแก่คนในชุมชน
ผลลัพธ์: เด็กและเยาวชน รวมถึงคนในชุมชนเกิดความตระหนักในปัญหา
ทรัพยากรอื่น ๆ
ภาคีร่วมสนับสนุน
รายละเอียดงบประมาณ
ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
ค่าเช่ารถ

ค่าเช่ารถตู้ + น้ำมัน

2 เที่ยว 2,800 3 16,800
ค่าอาหาร

ค่าอาหารและอาหารว่าง จำนวน 35 คน x คนละ 150 บาท x ครั้งละ 2 มื้อ x 3 ครั้ง

35 คน 150 6 31,500
ค่าที่พักตามจริง 1 ครั้ง 1,000 3 3,000
รวมค่าใช้จ่าย 51,300

กิจกรรมที่ 8 8. การพัฒนาทักษะด้านการวางแผนสำหรับเด็กและเยาวชน

ชื่อกิจกรรม
8. การพัฒนาทักษะด้านการวางแผนสำหรับเด็กและเยาวชน
วัตถุประสงค์
  1. 3) เพื่อพัฒนาทักษะด้านการวางแผนพัฒนาชุมชนสำหรับเด็กและเยาวชนบ้านแม่ใจใต้ ตำบลเวียง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่
รายละเอียดกิจกรรม
การอบรมเชิงปฏิบัติการการวางแผนเพื่อแก้ไขปัญหาชุมชน และจัดทำแผนเพื่อการแก้ไขปัญหา รวมถึงการนำเสนองานแก่ผู้นำและสมาชิกในชุมชน
ระยะเวลาดำเนินงาน
5 ธันวาคม 2563 ถึง 20 กุมภาพันธ์ 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
ผลผลิต: เด็กและเยาวชนมีทักษะในการวางแผน
ผลลัพธ์: แผนงานและโครงการเพื่อการแก้ไขปัญหา
ผลลัพธ์: เด็กและเยาวชนได้เกิดทักษะในการนำเสนอแผนงานแก่ผู้นำและคนในชุมชน
ทรัพยากรอื่น ๆ
ภาคีร่วมสนับสนุน
รายละเอียดงบประมาณ
ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
ค่าเช่ารถ

ค่าเช่ารถตู้ + น้ำมัน

2 เที่ยว 2,800 4 22,400
ค่าอาหาร

ค่าอาหารและอาหารว่างจำนวน 35 คน x คนละ 150 บาท x ครั้งละ 2 มื้อ x 4 ครั้ง

35 คน 150 8 42,000
ค่าที่พักตามจริง 1 คน 1,000 4 4,000
ค่าถ่ายเอกสาร

ค่าจัดทำรูปเล่มฉบับสมบูรณ์ จำนวน 5 เล่ม

1 ชิ้น 500 5 2,500
รวมค่าใช้จ่าย 70,900

รวมงบประมาณทุกกิจกรรมของแผนการดำเนินงาน จำนวน 336,950.00 บาท

ค่าตอบแทนค่าใช้สอยค่าวัสดุรวมเงิน
ค่าใช้จ่าย (บาท) 70,750.00 264,700.00 1,500.00 336,950.00
เปอร์เซ็นต์ (%) 21.00% 78.56% 0.45% 100.00%

11. งบประมาณ

336,950.00บาท

12. การติดตามประเมินผล

ต่อชุมชนต่อนักศึกษา
ผลผลิต (Output)
ผลลัพธ์ (Outcome)
ผลกระทบ (Impact)
นำเข้าสู่ระบบโดย photchana-cmru_2019. photchana-cmru_2019. เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2562 01:30 น.