การวิเคราะห์หาปริมาณโลหะหนักจากแหล่งน้ำผิวดินบริเวณพื้นที่ประกอบการคัดแยกขยะอิเล็กทรอนิกส์ เขตตำบลโคกสะอาด อำเภอฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์ ที่จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพประชากรที่อาศัย

แบบเสนอโครงการ
การวิเคราะห์หาปริมาณโลหะหนักจากแหล่งน้ำผิวดินบริเวณพื้นที่ประกอบการคัดแยกขยะอิเล็กทรอนิกส์ เขตตำบลโคกสะอาด อำเภอฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์ ที่จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพประชากรที่อาศัย

1. ชื่อโครงการ

การวิเคราะห์หาปริมาณโลหะหนักจากแหล่งน้ำผิวดินบริเวณพื้นที่ประกอบการคัดแยกขยะอิเล็กทรอนิกส์ เขตตำบลโคกสะอาด อำเภอฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์ ที่จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพประชากรที่อาศัยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติคณะสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ตำบลโคกสะอาด อำเภอฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์นางสาวกมลชนกแดนประโคม59 ม.1 ต.เชียงเครือ อ.เมือง จ.สกลนคร 47000083-4594521อาจารย์อนาวิน ภัทรภาคินวรกุล
นายพงษ์พัฒน์ ภะวะ

2. พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
กาฬสินธุ์

3. รายละเอียดชุมชน

ตำบลโคกสะอาด มีภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่มพื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะสำหรับการทำการเกษตร พื้นที่ทำการเกษตรประมาณครึ่งหนึ่งของพื้นที่ทั้งหมดอยู่ในเขตชลประทานจากเขื่อนลำปาวและโครงการสูบน้ำด้วยพลังงานไฟฟ้าจากลำน้ำชี พื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลโคกสะอาดมีแหล่งน้ำที่สำคัญในการเพาะปลูก คือกุดไส้จ่อและแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 12 หมู่บ้าน องค์การบริหารส่วนตำบลโคกสะอาด มี 3 ฤดูกาล คือ
1. ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือน มีนาคม ถึงเดือน พฤษภาคม อากาศร้อนจัด
2. ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน ถึงเดือนตุลาคม
3. ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์อากาศหนาว
สภาพแวดล้อม
1. ด้านเศรษฐกิจการลงทุนพื้นที่มีการลงทุนทางอุตสาหกรรมทางการเกษตรจำนวนมาก
2. ด้านแรงงาน แรงงานมีไม่เพียงพอ อพยพแรงงานออกนอกพื้นที่ กลับมาเฉพาะฤดูกาลเก็บเกี่ยว มีแต่เด็ก และคนชรา
จำนวนหมู่บ้าน 12 หมู่บ้าน ดังนี้
รายชื่อหมู่บ้านองค์การบริหารส่วนตำบลโคกสะอาด มี 12 หมู่บ้าน แยกได้ดังต่อไปนี้
1. หมู่ที่ 1 บ้านโนนชัย
2. หมู่ที่ 2 บ้านสะอาด
3. หมู่ที่ 3 บ้านหนองบัว
4. หมู่ที่ 4 บ้านหนองเม็ก
5. หมู่ที่ 5 บ้านโคกประสิทธิ์
6. หมู่ที่ 6 บ้านดอนข่า
7. หมู่ที่ 7 บ้านน้อย
8. หมู่ที่ 8 บ้านหนองมะทอ
9. หมู่ที่ 9 บ้านหนองเรือ
10. หมู่ที่ 10 บ้านโคกประสิทธิ์
11. หมู่ที่ 11 บ้านหนองบัว
12. หมู่ที่ 12 บ้านโคกประสิทธิ์
จำนวนประชากร
1. ตำบลโคกสะอาด มีจำนวนครัวเรือนในพื้นที่ 1,829 ครัวเรือน
2. จำนวนประชากรทั้งหมด 7,586 คน แยกเป็น ชาย 3,704 คน หญิง 3,882 คน
3. มีความหนาแน่นเฉลี่ยจำนวน 238 คน/ตารางกิโลเมตร
รายชื่อหมู่บ้านและผู้นำหมู่บ้าน องค์การบริหารส่วนตำบลโคกสะอาด มี 12 หมู่บ้าน แยกได้ดังต่อไปนี้
1. หมู่ที่ 1 บ้านโนนชัย
2. หมู่ที่ 2 บ้านสะอาด
3. หมู่ที่ 3 บ้านหนองบัว
4. หมู่ที่ 4 บ้านหนองเม็ก
5. หมู่ที่ 5 บ้านโคกประสิทธิ์
6. หมู่ที่ 6 บ้านดอนข่า
7. หมู่ที่ 7 บ้านน้อย
8. หมู่ที่ 8 บ้านหนองมะทอ
9. หมู่ที่ 9 บ้านหนองเรือ นายลือเลิศ
10. หมู่ที่ 10 บ้านโคกประสิทธิ์
11. หมู่ที่ 11 บ้านหนองบัว
12. หมู่ที่ 12 บ้านโคกประสิทธิ์
จำนวนประชากร
1. ตำบลโคกสะอาด มีจำนวนครัวเรือนในพื้นที่ 1,829 ครัวเรือน
2. จำนวนประชากรทั้งหมด 7,586 คน แยกเป็น ชาย 3,704 คน หญิง 3,882 คน
3. มีความหนาแน่นเฉลี่ยจำนวน 238 คน/ตารางกิโลเมตร
“ขยะอิเล็กทรอนิกส์” คือ ซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ต่างๆที่ไม่ใช้แล่วในชีวิตประจำวัน เช่น โทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ และโทรศัพท์มือถือเป็นต้น ในขณะที่ขยะอิเล็กทรอนิกส์สามารถสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำ ช่วยให้ความเป็นอยู่และฐานะทางเศรษฐกิจมั่นคงมากขึ้น แต่อันตรายจากขยะอิเล็กทรอนิกส์ก็มีไม่น้อย ทำอย่างไรให้ผู้ที่อยู่ในวิถึเช่นนี้ อยู่ได้อย่างปลิดภัยต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม และไม่เกิดผลกระทบในระยะยาว (ที่มา : มติชนออนไลน์. วันพฤหัสบดีที่ 31 ตุลาคม 2562, “บ้านโคกสะอาด”กับการจัดการสุขภาพประชาชนที่ทำอาชีพคัดแยก “ขยะอิเล็กทรอนิกส์”.)พื้นที่ ตำบลโคกสะอาด อำเภอฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นชุมชนที่ประกอบอาชีพการคัดแยกขยะอิเล็กทรอนิกส์ พบว่าประชาชนมีการประกอบอาชีพคัดแยกขยะและซากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมู่บ้าน โดยทำเป็นอาชีพเสริมจากการทำนา มาเป็นระยะเวลากว่า 20 ปีแล้ว และเนื่องจากขยะนี้มีสารอันตรายและโลหะหนักหลายชนิด อาทิ ตะกั่ว ปรอท แคดเมียม รวมทั้งโลหะมีค่าและแร่ธาตุที่หายากหลายชนิด จึงต้องจัดการอย่างเหมาะสม เพื่อป้องกันผลต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ซึ่งที่ผ่านมาได้มีหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ได้ดำเนินการเฝ้าระวังและตรวจคัดกรองสุขภาพประชาชนในพื้นที่ รวมถึงเฝ้าระวังการปนเปื้อนของสารเคมีอันตรายในดินและแหล่งน้ำอย่างต่อเนื่อง จากข้อมูลล่าสุดในปี 2559 ของสำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค ในการคัดกรองสุขภาพผู้ประกอบอาชีพคัดแยกขยะอิเล็กทรอนิกส์ในพื้นที่ ตำบลโคกสะอาด จำนวน 194 ราย พบว่า มีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อเนื่องจากการยกของหนัก มากที่สุด ร้อยละ 71.1 รองลงมาคือมีอาการผื่นคันผิวหนัง/คัดจมูกเนื่องจากสัมผัสฝุ่น ร้อยละ 47.9 มีการบาดเจ็บเล็กน้อยเนื่องจากอุบัติเหตุจากการถอดแยกชิ้นส่วนขยะอิเล็กทรอนิกส์ ร้อยละ 38.7 ตามลำดับ นอกจากนี้ยังมีการเก็บตัวอย่างปัสสาวะกลุ่มผู้ประกอบอาชีพคัดแยกขยะอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะบ้านที่มีการคัดแยกชิ้นส่วนจอทีวี คอมพิวเตอร์ แผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์มาเป็นเวลานาน จำนวน 173 ราย เพื่อตรวจหาสารแคดเมี่ยมในร่างกาย พบว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติทุกราย จังหวัดกาฬสินธุ์มีการจัดการปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ในพื้นที่แบบครบวงจรและบูรณาการทุกภาคส่วน ขับเคลื่อนผ่านกลไกของคณะกรรมการสาธารณสุขระดับจังหวัด โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน และมีศูนย์วิชาการระดับเขต เครือข่ายคณาจารย์จากภาคสถาบันการศึกษาต่างๆ ร่วมเป็นที่ปรึกษาด้านวิชาการ โดยกำหนดยุทธศาสตร์ในการแก้ไขปัญหา 7 ยุทธศาสตร์ ดังนี้ 1) พัฒนาระบบการดูแลเฝ้าระวังและแก้ไขปัญหาสุขภาพของประชาชน2) พัฒนาระบบเฝ้าระวัง ป้องกัน แก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมจากปัญหามลพิษขยะอิเล็กทรอนิกส์ 3) สร้างความรู้ ทักษะที่ถูกต้องนำสู่การเกิดจิตสำนึกและวินัยของประชาชนและผู้ประกอบการในการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ 4) พัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรมและรูปแบบการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ 5) สร้างความเข้มแข็งขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์และมาตรการทางกฎหมาย 6) สร้างกลไกการบูรณาการความร่วมมือทุกภาคส่วนในการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์โดยใช้พื้นที่เป็นฐาน และ 7) ส่งเสริมอาชีพเสริมและอาชีพทางเลือกที่มั่นคงทั้งผู้ประกอบการและประชาชน ซึ่งยุทธศาสตร์ทั้งหมดมีเป้าหมายเพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพดี สิ่งแวดล้อมในชุมชนปลอดภัยและเป็นศูนย์เรียนรู้ในการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศต่อไปในอนาคต (ที่มา : ข่าวสดออนไลน์. วันที่ 12 มิถุนายน 2561, กรมควบคุมโรคลงพื้นที่กาฬสินธุ์ ดูพื้นที่ตัวอย่างการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์) ข้อมูลจากกรมควบคุมมลพิษระบุว่า เมื่อปี 2561 มีของเสียอันตรายเกิดขึ้นในประเทศไทยประมาณ 638,000 ตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2560 หรือร้อยละ 3.2 โดยร้อยละ 65 เป็นซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 414,600 ตัน และร้อยละ 35 เป็นของเสียอันตรายจากชุมชนประเภทอื่น ๆ เช่น แบตเตอรี่ถ่านไฟฉาย ภาชนะบรรจุสารเคมีอีก 223,400 ตัน เอกสารวิชาการของสภาผู้แทนราษฎรเรื่อง ขยะอิเล็กทรอนิกส์ มหันตภัยร้ายจากเทคโนโลยี สรุปสถานการณ์นำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์และเศษพลาสติกในปี 2561 ว่า มีใบขออนุญาตนำเข้าเศษพลาสติกจากต่างประเทศกว่า 2 แสนตัน สูงกว่าปี 2560 ที่มีกว่า 1 แสน 4 หมื่นตัน การลงพื้นที่ของเจ้าหน้าที่จากกรมควบคุมมลพิษ ที่ ต.โคกสะอาด อ.ฆ้องชัย จ.กาฬสินธุ์ เมื่อเดือนมิถุนายน 2561 ที่ผ่านมาได้ทำรายชื่อผู้ประกอบการคัดแยกขยะไว้ในฐานข้อมูลมีทั้งสิ้น 181 คน ส่วนใหญ่รับซื้อขยะอิเล็กทรอนิกส์จากบ้านเรือนทั่วประเทศเพื่อนำมาคัดแยก สร้างรายได้ให้กับผู้ประกอบการไม่ต่ำกว่าเดือนละ 2 หมื่นบาทต่อครัวเรือน (ที่มา : The Isaan Record. วันที่ 24 กันยายน 2562, “กาฬสินธุ์” แหล่งรวมขยะอิเล็กทรอนิกส์ ?) ตำบลโคกสะอาด มีภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่มพื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะสำหรับการทำการเกษตร พื้นที่ทำการเกษตรประมาณครึ่งหนึ่งของพื้นที่ทั้งหมดอยู่ในเขตชลประทานจากเขื่อนลำปาว และโครงการสูบน้ำด้วยพลังงานไฟฟ้าจากลำน้ำชี อีกทั้งเป็นแหล่งน้ำสำคัญที่ชุมชนบริเวณโดยรอบใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำ ทั้งในการอุปโภคและบริโภค การเกษตรกรรม เช่นการปลูกข้าว เป็นต้น และใช้ในการเลี้ยงสัตว์ การปล่อยน้ำเสียชุมชนและ/หรือจากสถานประกอบการลงสู่แหล่งน้ำ ทำให้เกิดการปนเปื้อนของโลหะหนักสู่สิ่งแวดล้อมทางดิน ทางน้ำ และทางอากาศ ก่อให้เกิดความเสียหายและเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต (นัยนา และคณะ, 2560) โลหะหนัก คือโลหะที่มีความหนาแน่นเกินกว่า 5 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร เช่น ปรอท ตะกั่ว สารหนู และแคดเมียม เป็นต้น โลหะหนักที่เกิดการปนเปื้อนสู่แหล่งน้ำ หากประชาชนได้รับในปริมาณที่มากเกิน ค่ามาตรฐานจะสามารถทำให้ก่อเกิดโรคได้ เช่น โรคมินามาตะ เกิดจากการที่ร่างกายได้รับสารปรอทมากเกินไป โรคโลหิตจางจากการได้รับสารตะกั่ว สารหนูเป็นสาเหตุก่อให้เกิดมะเร็งที่ผิวหนัง แคดเมียมถูกจัดเป็นสารก่อมะเร็งโดยเฉพาะมะเร็งปอด สารพิษเหล่านี้เมื่อสะสมอยู่ในร่างกายจนถึงระดับหนึ่งก็จะแสดงอาการออกมาให้เห็น ซึ่งผลของความเป็นพิษของโลหะหนักต่อกลไกระดับเซลล์มี 5 แบบคือ 1. ทำให้เซลล์ตาย 2. เปลี่ยนแปลงโครงสร้างและการทำงานของเซลล์ 3. เป็นตัวการทำให้เกิดมะเร็ง 4. เป็นตัวการทำให้เกิดความผิดปกติทางพันธุกรรม 5. ทำความเสียหายต่อโครโมโซม ซึ่งเป็นปัจจัยทางพันธุกรรม (ขนิษฐ, 2550) จากปัญหาที่เกิดขึ้นสามารถส่งผลกระทบต่อชุมชนที่ใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ที่จะทำการศึกษาคุณภาพน้ำผิวดินบริเวณพื้นที่ประกอบการคัดแยกขยะอิเล็กทรอนิกส์ เขตตำบลโคกสะอาด อำเภอฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์ เพื่อให้ทราบถึงคุณภาพน้ำ และการปนเปื้อนของน้ำ เปรียบเทียบกับค่ามาตรฐานกรมควบคุมมลพิษ ที่อาจจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณโดยรอบพื้นที่ เพื่อที่จะได้นำไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการเฝ้าระวังปัญหามลพิษที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต

4. ประเด็นปัญหาหลัก

5. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

6. องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

กระบวนการในการถ่ายทอดเทคนิควิธีการวิเคราะห์ด้วยเครื่องมือที่ใช้เทคนิคขั้นสูง Atomic Absorption Spectroscopy

7. วัตถุประสงค์

วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อศึกษาคุณภาพน้ำผิวดินทางด้านกายภาพ และทางด้านเคมี วิเคราะห์หาปริมาณตะกั่ว และแคดเมี่ยม
  1. รายงานผลการวิเคราะห์คุณภาพน้ำผิวดินทางด้านกายภาพ และทางด้านเคมี วิเคราะห์หาปริมาณตะกั่ว และแคดเมี่ยม
  2. ข้อมูลการศึกษาการก่อโรคที่เกิดจากการปนเปื้อนโลหะหนักจากธรรมชาติสู่มนุษย์
100.00 50.00
2 เพื่อศึกษาการก่อโรคที่เกิดจากการปนเปื้อนโลหะหนักจากธรรมชาติสู่มนุษย์

 

0.00
3 เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการเฝ้าระวังปัญหามลพิษที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต

 

0.00

8. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)

9. ระยะเวลา

10. วิธีดำเนินงาน

กิจกรรมที่ 1 สำรวจพื้นที่ และเก็บตัวอย่างน้ำดิบ ตำบลโคกสะอาด อำเภอฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์

ชื่อกิจกรรม
สำรวจพื้นที่ และเก็บตัวอย่างน้ำดิบ ตำบลโคกสะอาด อำเภอฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์
วัตถุประสงค์
    รายละเอียดกิจกรรม
    ลงสำรวจพื้นที่ชุมชนโดยรอบ ตำบลโคกสะอาด อำเภอฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์
    ระยะเวลาดำเนินงาน
    4 พฤศจิกายน 2562 ถึง 29 กุมภาพันธ์ 2563
    ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
    ได้ข้อมูลพื้นที่/มีข้อมูลพื้นที่
    ทรัพยากรอื่น ๆ
    -
    ภาคีร่วมสนับสนุน
    - เครื่องตรวจค่าความเป็นกรด-ด่าง
    - เครื่องตรวจค่า DO
    - เครื่องตรวจวัดค่าความขุ่น
    - ชุดอุปกรณ์ในการเก็บน้ำตัวอย่าง
    รายละเอียดงบประมาณ
    ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
    ค่าพาหนะเดินทาง - รถยนต์ส่วนบุคคล 3 ครั้ง 5,000 4 60,000
    ค่าตอบแทนการประสานงาน 5 คน 1,000 4 20,000
    ค่าอาหาร 5 คน 300 1 1,500
    ค่าที่พักตามจริง 5 คน 1,000 1 5,000
    รวมค่าใช้จ่าย 86,500

    กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้ เรื่อง โรคที่เกิดจากการปนเปื้อนโลหะหนักลงสู่ชุมชน

    ชื่อกิจกรรม
    อบรมให้ความรู้ เรื่อง โรคที่เกิดจากการปนเปื้อนโลหะหนักลงสู่ชุมชน
    วัตถุประสงค์
      รายละเอียดกิจกรรม
      ระยะเวลาดำเนินงาน
      1 มีนาคม 2563 ถึง 30 มิถุนายน 2563
      ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
      ประชาชนได้รับความรู้ ความเข้าใจต่ออันตรายที่เกิดจากการปนเปื้อนของโลหนะหนักที่เกิดจากขยะอิเล็กทรอนิกส์/ประชาชนเกิดการป้องกันตนเองต่ออันตรายที่จะเกิดขึ้นจากการปนเปื้อนของโลหะหนัก
      ทรัพยากรอื่น ๆ
      ภาคีร่วมสนับสนุน
      เทศบาลตำบลโคกสะอาด อำเภอฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์
      รพ.สต.ตำบลโคกสะอาด อำเภอฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์
      รายละเอียดงบประมาณ
      ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
      ค่าตอบแทนวิทยากร 2 คน 10,000 1 20,000
      ค่าตอบแทนการประสานงาน 4 คน 1,000 1 4,000
      ค่าจ้างทำป้ายประชาสัมพันธ์ 1 ชิ้น 1,500 1 1,500
      ค่าเช่าสถานที่ 1 ครั้ง 2,000 1 2,000
      ค่าอาหาร 120 คน 200 1 24,000
      ค่าวัสดุสำนักงาน 120 ชุด 100 1 12,000
      ค่าถ่ายเอกสาร 120 ชุด 100 1 12,000
      ค่าตอบแทนผู้เข้าร่วมประชุม 120 คน 100 1 12,000
      ค่าพาหนะเดินทาง - รถยนต์ส่วนบุคคล 2 เที่ยว 5,000 1 10,000
      ค่าที่พักตามจริง 5 คน 5,000 1 25,000
      รวมค่าใช้จ่าย 122,500

      กิจกรรมที่ 3 จัดทำเอกสารรายงานผลการวิเคราะห็ เพื่อเผยแพร่ให้กับชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

      ชื่อกิจกรรม
      จัดทำเอกสารรายงานผลการวิเคราะห็ เพื่อเผยแพร่ให้กับชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
      วัตถุประสงค์
        รายละเอียดกิจกรรม
        ระยะเวลาดำเนินงาน
        1 กรกฎาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2563
        ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
        ชุมชนได้รับทราบรายงานผลการวิเคราะห์คุณภาพน้ำในแหล่งน้ำ/ประชาชนมีความตระหนักกับการปนเปื้อนโลหะหนักสู่แหล่งน้ำ และการก่อโรค
        ทรัพยากรอื่น ๆ
        ภาคีร่วมสนับสนุน
        รายละเอียดงบประมาณ
        ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
        ค่าตอบแทนผู้ทรงคุณวุฒิ 1 คน 10,000 1 10,000
        ค่าถ่ายเอกสาร 100 ชุด 500 1 50,000
        ค่าพาหนะเดินทาง - รถยนต์ส่วนบุคคล 2 ครั้ง 5,000 1 10,000
        ค่าที่พักตามจริง 2 คน 1,000 1 2,000
        ค่าอาหาร 2 คน 300 1 600
        รวมค่าใช้จ่าย 72,600

        รวมงบประมาณทุกกิจกรรมของแผนการดำเนินงาน จำนวน 281,600.00 บาท

        ค่าตอบแทนค่าจ้างค่าใช้สอยค่าวัสดุรวมเงิน
        ค่าใช้จ่าย (บาท) 66,000.00 1,500.00 202,100.00 12,000.00 281,600.00
        เปอร์เซ็นต์ (%) 23.44% 0.53% 71.77% 4.26% 100.00%

        11. งบประมาณ

        281,600.00บาท

        12. การติดตามประเมินผล

        ต่อชุมชนต่อนักศึกษา
        ผลผลิต (Output) 1. เอกสารคู่มืออันตรายที่เกิดจากการปนเปื้อนโลหนะหนักที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ
        2. ข้อมูลคุณภาพน้ำผิวดินของชุมชน
        3. รายงานปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดโรคจากการปนเปื้อนของโลหะหนัก
        1. นิสิตได้องค์ความรู้ในการวิเคราะห์หาปริมาณโลหะหนักด้วยเครื่องมือ
        Atomic Absorption Spectroscopy
        2. นิสิตได้ฝึกกระบวนการการทำงานร่วมกับ ชุมชน
        3. นิสิตนำความรู้ทางวิชาการถ่ายทอดสู่ชุมชน
        ผลลัพธ์ (Outcome) 1. ประชาชนมีความตระหนักโรคจากการปนเปื้อนโลหะหนักที่เกิดจากขยะอิเล็กทรอนิกส์
        2. ประชาชนรู้จักวิธีป้องกันตนเองจากการปนเปื้อนโลหะหนักที่จะเข้าสู่ร่างกาย
        1. นิสิตสามารถวิเคราะห์หาปริมาณโลหะหนักด้วยเครื่อง Atomic Absorption Spectroscopy ได้
        ผลกระทบ (Impact) ประชาชนในพื้น ตำบลโคกสะอาด อำเภอฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์ มีปริมาณโลหนะหนักในร่างกายไม่เกินค่ามาตรฐานที่จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาว 1. นิสิตสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการพัฒนาชุมชน
        2. นิสิตเกิดกระบวนการเรียนรู้ที่สร้างสรรค์ในการจัดการสุขภาพของประชาชนในการป้องกันตนเองจากการปนเปื้อนโลหะหนัก
        นำเข้าสู่ระบบโดย pongpat8693 pongpat8693 เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2562 11:32 น.