การบูรณาการด้านศิลปกรรมเพื่อพัฒนา ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน ตำบลหัวเขา อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา

แบบเสนอโครงการ
การบูรณาการด้านศิลปกรรมเพื่อพัฒนา ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน ตำบลหัวเขา อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา

1. ชื่อโครงการ

การบูรณาการด้านศิลปกรรมเพื่อพัฒนา ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน ตำบลหัวเขา อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลากระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลากลุ่มสตรีชุมชนตำบลหัวเขาบ้านสวนจันทร์ , เทศบาลเมืองสิงหนครและกลุ่มวิสาหกิจชุมชนEco Tourism Songkhlaชุมชนหัวเขา ตำบลหัวเขา อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลาดร.พีรพงษ์พันธะศรีคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา เลขที่ 160 ถนนกาญจนวนิชตำบลเขารูปช้าง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา074-260264,089-7898112อาจารย์ ชัยวัฒนภัทรเลาสัตย์/การออกแบบ
อาจารย์ ศศิธรวิศพันธ์/การออกแบบ
ดร.เกรียงศักดิ์รักษาเดช/ทัศนศิลป์
อาจารย์ วารีแสงสุวอ/ทัศนศิลป์
อาจารย์ รัชยาวีรการณ์/นาฏศิลป์
อาจารย์ ตถาตาสมพงศ์
ดร.กรฤตนิลวานิช/ดนตรี
อาจารย์ วงศ์วรุตม์อินตะนัย/การออกแบบ

2. พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
สงขลา สิงหนคร หัวเขา

3. รายละเอียดชุมชน

ตำบลหัวเขา อ.สิงหนคร ที่ตั้งกลุ่มบ้าน เป็นที่ราบสูงเลียบทะเลสาบ ชาวชุมชนสร้างบ้านเรือนบนเนินเขา สถานที่ชาวบ้านเรียกว่า "หน้าเขา" สมัยก่อนเรียกสถานที่นี้ว่า "เมืองสิงขร" เป็นเมืองเก่า และภูเขาเหล่านี้ เมื่อมองระยะห่างจากที่อื่น จะเห็นดินสีแดง ทุกคนจะเรียกภูเขาบริเวณนี้ว่า "หัวเขาแดง" และในปัจจุบันเป็นที่ตั้งของตำบล "หัวเขา" อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา ชาวชุมชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพประมง ตั้งบ้านเรือนเป็นกลุ่มหนาแน่น นับถือศาสนาอิสลาม 90% นับถือศาสนาพุทธ 10% เขตพื้นที่ ทิศเหนือ จรด ต.สทิงหม้อ ทิศใต้ จรด ต.ทะเลสาบสงขลา ทิศตะวันออก จรด ทะเลสาบสงขลาและอ่าวไทย ทิศตะวันตก จรด ทะเลสาบสงขลา
ตำบลหัวเขา อ.สิงหนคร ปัจจุบันกำลังได้รับการเสนอชื่อให้เป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่ในการเสนอเพื่อขอเป็นเมืองมรดกโลกของสงขลา โดยมีโบราณสถานเก่าแก่ ของเมืองเก่าสงขลายุคที่ 1 - 2 ที่เก่าแก่ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา โดยได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งโบราณสถานจากกรมศิลปกร อทิเช่น ป้อมปืนหมายเลข 9 เจดีย์องค์ขาว-องค์ดำ วัดสุวรรณคีรี เป็นต้น ซึ่งถือเป็นแหล่งทรัพยากรทางวัฒนธรรมที่สำคัญยิ่งของชุมชนและมีศักยภาพอย่างยิ่งในการพัฒนาสู่การเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในอนาคตด้วยศักยภาพดังกล่าวปัจจุบันชาวชุมชนจึงเกิดความพยายามในการรวมตัวจัดตั้งเป็นวิสาหกิจชุมชน โดยมีความต้องการในการพัฒนาด้วยแนวคิดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ (Creative Tourism) โดยเปิดเป็นเส้นทางท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เน้นการท่องเที่ยวเพื่อสนับสนุนให้นักท่องเที่ยวได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อทำความเข้าใจในคุณค่าทางสังคม วัฒนธรรม และสภาพแวดล้อมของพื้นที่ท่องเที่ยวอย่างลึกซึ้งโดยผ่านประสบการณ์ตรงร่วมกับเจ้าของพื้นที่หรือเจ้าของวัฒนธรรม โดยพัฒนาผ่านวิสาหกิจชุมชน จดทะเบียนในชื่อ “Eco Tourism Songkhla”
ศักยภาพที่น่าสนใจอีกสิ่งหนึ่งของชุมชน คือ การร่วมกลุ่มเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว โดยชุมชนได้มีการจัดตั้งกลุ่มสตรีชุมชนตำบลหัวเขาบ้านสวนจันทร์ บ้านบนเหมือง หมู่ที่ 7 ต.หัวเขา ก่อตั้งกลุ่มโดยประธานสตรีชุมชนบ้านสวนจันทร์ โดยการเชิญชวนสมาชิกกรรมการสตรีชุมชน, แม่บ้าน และ อสม. ในพื้นที่ รวม 20 คนรวมกลุ่มกันเพื่อจดแจ้งเป็นวิสาหกิจชุมชน วัตถุประสงค์หลักคือพัฒนาสินค้าในชุมชน มาจำหน่ายเพื่อรองรับการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์วิถีชุมชนในตำบลหัวเขา และเป็นแหล่งเรียนรู้ วิถีชุมชน และพัฒนาเพิ่มศักยภาพของสมาชิกกลุ่มในการส่งเสริมอาชีพ ขณะนี้อยู่ระหว่างจดแจ้งกลุ่มเป็นวิสาหกิจชุมชน โดยผลิตภัณฑ์ของกลุ่ม ได้แก่ มะม่วงเบาแช่อิ่ม น้ำมะม่วงเบา น้ำพริกมะม่วง สมุดโน้ตปกผ้าปาเต๊ะ พวงกุญแจจากเศษผ้าปาเต๊ะ ปลาเกร็ดขาวทรงเครื่องขมิ้น ปลาเกร็ดขาวสามรส ปลาข้างเหลืองหวาน และกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรทะเลสาบสงขลา บ้านแหลมสน หมู่ที่ 2 ต.หัวเขา จำนวน 20 คนโดยผลิตภัณฑ์หลักของทางกลุ่ม ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ไข่ครอบ ปลากรอบสามรส ปลากระพงแดดเดียว หลังจากขอขึ้นทะเบียนโอท็อปได้พัฒนารูปแบบต่างๆเรื่อยมา จนเมื่อปี 2552 สามารถขึ้นทะเบียนเป็นโอท็อประดับ 2 ดาว และสินค้ามีมาตรฐานได้รับตราสัญลักษณ์จากสถาบันมาตรฐานฮาลาลแห่งประเทศไทย กอจ.กบ.ฮล.C006/2554 และรับรองคุณภาพ อย.90-2-01351-2-0001 และยกระดับเป็นผลิตภัณฑ์ OTOP 3 ดาวในปี พศ. 2559
ชุมชนมีกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่เข้มแข็ง เช่น กลุ่มสตรีชุมชนตำบลหัวเขาบ้านสวนจันทร์ กลุ่มวิสาหกิจแปรรูปอาหารทะเลพื้นบ้าน นอกจากนี้ผู้นำชุมชนและหน่วยงานราชการในท้องถิ่นยังมีนโยบายสนับสนุนในการที่จะให้ชุมชนหัวเขาเป็นหนึ่งในแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดสงขลาอีกด้วย1.พื้นที่ชุมชนหัวเขา ยังไม่เป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวต่างถิ่นมากนัก ประกอบกับภูมิทัศน์โดยรอบชมชนยังขาดการบริหารจัดการในเรื่องของการใช้พื้นที่สำหรับสร้างเป็นจุดสนใจให้แก่นักท่องเที่ยว
2.ชุมชนยังขาดผลิตภัณฑ์ของใช้ของที่ระลึกที่แสดงถึงอัตลักษณ์ชุมชน
3.ชุมชนยังขาดกิจกรรมที่แสดงถึงบริบทท้องถิ่นทั้งด้านศิลปวัฒนธรรม เช่น ศิลปะ ดนตรี นาฏศิลป์และศิลปะการแสดง มาพัฒนาต่อยอดเป็นกิจกรรมเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวในรูปแบบต่าง ๆ

4. ประเด็นปัญหาหลัก

5. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

6. องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

1. แนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์เน้นการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ให้นักท่องเที่ยวได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อทำความเข้าใจในคุณค่าทางสังคม วัฒนธรรม และสภาพแวดล้อมของพื้นที่ท่องเที่ยวอย่างลึกซึ้งโดยผ่านประสบการณ์ตรงร่วมกับเจ้าของพื้นที่หรือเจ้าของวัฒนธรรม ใช้ศิลปวัฒนธรรม และบริบทท้องถิ่นทั้งด้าน ศิลปะ ดนตรี นาฏศิลป์และศิลปะการแสดง มาพัฒนาต่อยอดเป็นกิจกรรมเพื่อสนับสนุนการและสร้างมูลค่าเชิงสร้างสรรค์ให้กับการท่องเที่ยวชุมชนในรูปแบบต่าง ๆ
2. การวิจัยเพื่อพัฒนาเชิงพื้นที่โดนเน้นการมีส่วนร่วม ABC (Area-Based Collaborative Research)โดยเน้นการสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน ทั้งด้านการพัฒนาคนและสังคมคู่กับการพัฒนาเศรษฐกิจ และพัฒนากลไกจัดการความรู้ที่เป็น "ข้อต่อ" เชื่อมประสานงานความร่วมมือของหลายหน่วยงานที่มีภารกิจต่างกัน ให้เกิดความร่วมมือเพื่อนำไปสู่การบูรณาการทรัพยากรและกำหนด ทิศทางการพัฒนาหรือแก้ปัญหาสำคัญของประชาชนในพื้นที่ร่วมกัน เพราะตระหนักว่ากิจกรรมการพัฒนาใน แต่ละ "พื้นที่" ต่างมีเงื่อนไขภาวะแวดล้อมที่มีปัญหาและศักยภาพที่หลากหลายแตกต่างกันหากมองจากจุดเน้นของงานวิจัยเพื่อพัฒนาพื้นที่แล้ว จะเห็นได้ว่าเป็นงานวิจัยประเภทที่หวังผลให้เกิดความต่อเนื่องและยั่งยืนในพื้นที่

7. วัตถุประสงค์

วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มรายได้ร้อยละ 20 ให้กับชุมชนโดยการส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน และนำองค์ความรู้ด้านศิลปกรรมมาพัฒนาด้านการท่องเที่ยวของชุมชนหัวเขา อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา
  1. เกิดเส้นทางท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของชุมชน และมีการบริหารจัดการโดยเน้นการมีส่วน ร่วมอย่างเป็นระบบจำนวน 1 เส้นทาง
  2. เกิดฐานข้อมูลโบราณสถาน อัตลักษณ์ทางศิลปวัฒนธรรมของชุมชน เกิดนักเล่าเรื่องและผู้นำเที่ยวในชุมชนที่มีศักยภาพและสามารถนำองค์ความรู้ไปให้ในการนำเที่ยวในพื้นที่ จำนวน 1 ข้อมูล
  3. ชุมชนมีผลิตภัณฑ์เชิงวัฒนธรรม เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ สามารถอนุรักษ์ วัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชนให้คงอยู่ กับชุมชนได้อย่างยั่งยืน จำนวน 1 ผลิตภัณฑ์
  4. สามารถเพิ่มรายได้ให้กับประชาชนในชุมชน ผู้ประกอบการด้านท่องเที่ยวและบริการที่อยู่ในชุมชน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 20
20.00 20.00

8. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
นักศึกษาหลักสูตรการออกแบบ คณะศิลปกรรมศาสตร์ 10
นักศึกษาหลักสูตรนาฏศิลป์และการแสดง คณะศิลปกรรมฯ 10
นักศึกษาหลักสูตรประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ฯ 10
นักศึกษาหลักสูตรพัฒนาชุมชน คณะมนุษยศาสตร์ฯ 10

9. ระยะเวลา

10. วิธีดำเนินงาน

กิจกรรมที่ 1 การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ และพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์และสื่อประชาสัมพันธ์

ชื่อกิจกรรม
การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ และพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์และสื่อประชาสัมพันธ์
วัตถุประสงค์
    รายละเอียดกิจกรรม
    1.กิจกรรมรวบรวมข้อมูลบริบทชุมชน
    2.ประชุมกลุ่มชุมชนเพื่อชี้แจงโครงการ รับทราบปัญหาและสำรวจความต้องการในการพัฒนา
    3.การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์
    4.กิจกรรมพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์และสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ การทำสื่อประชาสัมพันธ์ทั้งรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์
    5.กิจกรรมการใช้ศิลปวัฒนธรรม และบริบทท้องถิ่นทั้งด้าน ศิลปะ ดนตรี นาฏศิลป์และศิลปะการแสดง มาพัฒนาต่อยอดเป็นกิจกรรมเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวในรูปแบบต่าง ๆของชุมชน
    ระยะเวลาดำเนินงาน
    1 เมษายน 2563 ถึง 30 กันยายน 2563
    ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
    ผลลัพธ์ที่เกิดกับนักศึกษา
    1.นักศึกษาได้ประสบการณ์การทำงานร่วมกับชุมชน โดยมีการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ด้านศิลปกรรมมาใช้ในการแก้ปัญหาให้กับชุมชน ซึ่งเป็นการฝึกกระบวนการคิด วิเคราะห์ประมวลผลผลและความคิดสร้างสรรค์อีกทางหนึ่งด้วย
    ผลลัพธ์ที่เกิดกับชุมชน
    1. เกิดเส้นทางท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของชุมชน และมีการบริหารจัดการโดยเน้นการมีส่วน
    ร่วมอย่างเป็นระบบ
    2. เกิดฐานข้อมูลโบราณสถาน อัตลักษณ์ทางศิลปวัฒนธรรมของชุมชน เกิดนักเล่าเรื่องและผู้นำเที่ยวในชุมชนที่มีศักยภาพและสามารถนำองค์ความรู้ไปให้ในการนำเที่ยวในพื้นที่
    3. ชุมชนมีผลิตภัณฑ์เชิงวัฒนธรรม เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ สามารถอนุรักษ์วัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชนให้คงอยู่ กับชุมชนได้อย่างยั่งยืน
    4. สามารถเพิ่มรายได้ให้กับประชาชนในชุมชน ผู้ประกอบการด้านท่องเที่ยวและบริการที่อยู่ในชุมชน
    ทรัพยากรอื่น ๆ
    ภาคีร่วมสนับสนุน
    กลุ่มสตรีชุมชนตำบลหัวเขาบ้านสวนจันทร์ , เทศบาลเมืองสิงหนครและกลุ่มวิสาหกิจชุมชน
    Eco Tourism Songkhla
    รายละเอียดงบประมาณ
    ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
    ค่าตอบแทนวิทยากร

    ค่าตอบแทนวิทยากรกิจกรรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการกลุ่ม เวทีพัฒนาท้องถิ่น ยกระดับผลิตภัณฑ์ จำนวน 2 คน 6 ชั่วโมงๆละ 600 บาท (2x6x600=7,200)

    2 คน 600 6 7,200
    ค่าตอบแทนวิทยากร

    ค่าตอบแทนวิทยากร อบรมเชิงปฏิบัติการ ถ่ายทอดองค์ความรู้ ด้านศิลปกรรม เพื่อการท่องเทียวเชิงวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวสร้างสรรค์ 20 วัน จำนวน 2 คนๆละ 6 ชม.ๆ ละ 600 บาท

    2 คน 3,600 20 144,000
    ค่าตอบแทนวิทยากร

    ค่าตอบแทนวิทยากร สัมมนาการติดตาม ประเมินผลและเผยแพร่ผลการดำเนินโครงการจำนวน 4 คนๆละ 6 ชม.ๆละ 600 บาท (2x6x600=14,400)

    4 คน 3,600 1 14,400
    ค่าตอบแทนวิทยากร

    หมวดค่าใช่สอย 10,000 บาท - ค่าอาหารกลางวัน กิจกรรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการกลุ่ม เวทีพัฒนาท้องถิ่น ยกระดับ ผลิตภัณฑ์ จำนวน 1 มื้อๆละ 75 บาท จำนวน 40 คน (1x75x40=3,000) - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม กิจกรรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการกลุ่ม เวทีพัฒนาท้องถิ่น ยกระดับ ผลิตภัณฑ์ จำนวน 2 มื้อๆละ 25 บาท จำนวน 40 คน (2x25x40=2,000) - ค่าอาหารกลางวัน สัมมนาการติดตาม ประเมินผลและเผยแพร่ผลการดำเนินโครงการ 1 วันๆละ 1 มื้อๆละ 75 บาท จำนวน 40 คน (1x1x75x40=3,000) - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สัมมนาการติดตาม ประเมินผลและเผยแพร่ผลการดำเนิน โครงการ 1 วันๆละ 2 มื้อๆละ 25 บาท จำนวน 40 คน (1x2x25x40=2,000)

    1 ครั้ง 10,000 1 10,000
    ค่าวัสดุสำนักงาน

    วัสดุประกอบโครงการ (กระดาษวาดภาพ,สี,พู่กัน,กระดานรองเขียน,เทปกาว,กระดาษทราย แผ่นไม้กระดาน, ผ้า, กระดาษจั่ว ปัง, สติ๊กเกอร์,ผ้า,กรรไกร,ฯลฯ)

    1 ครั้ง 300,000 1 300,000
    ค่าจ้างทำป้ายประชาสัมพันธ์

    วัสดุโฆษณาเผยแพร่ (ป้ายไวนิล,สื่อสิ่งพิมพ์ประชาสัมพันธ์,โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์) 20000 บาท

    1 ครั้ง 20,000 1 20,000
    รวมค่าใช้จ่าย 495,600

    รวมงบประมาณทุกกิจกรรมของแผนการดำเนินงาน จำนวน 495,600.00 บาท

    ค่าตอบแทนค่าจ้างค่าวัสดุรวมเงิน
    ค่าใช้จ่าย (บาท) 175,600.00 20,000.00 300,000.00 495,600.00
    เปอร์เซ็นต์ (%) 35.43% 4.04% 60.53% 100.00%

    11. งบประมาณ

    495.00บาท

    12. การติดตามประเมินผล

    ต่อชุมชนต่อนักศึกษา
    ผลผลิต (Output) 1. เกิดเส้นทางท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของชุมชน และมีการบริหารจัดการโดยเน้นการมีส่วน
    ร่วมอย่างเป็นระบบจำนวน 1 เส้นทาง
    2. เกิดฐานข้อมูลโบราณสถาน อัตลักษณ์ทางศิลปวัฒนธรรมของชุมชน เกิดนักเล่าเรื่องและผู้นำเที่ยวในชุมชนที่มีศักยภาพและสามารถนำองค์ความรู้ไปให้ในการนำเที่ยวในพื้นที่ จำนวน 1 ข้อมูล
    3. ชุมชนมีผลิตภัณฑ์เชิงวัฒนธรรม เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ สามารถอนุรักษ์
    วัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชนให้คงอยู่ กับชุมชนได้อย่างยั่งยืน จำนวน 1 ผลิตภัณฑ์
    4. เพิ่มรายได้ให้กับประชาชนในชุมชน ผู้ประกอบการด้านท่องเที่ยวและบริการที่อยู่ในชุมชน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 20
    นักศึกษา 2 คณะ 4 สาขา ใช้ความรู้จากการเรียนการสอน ในการปฏิบัติกิจกรรมร่วมกับชุมชนจำนวน 40 คน
    ผลลัพธ์ (Outcome) 1. เกิดเส้นทางท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของชุมชน และมีการบริหารจัดการโดยเน้นการมีส่วนร่วมอย่างเป็นระบบ
    2. เกิดฐานข้อมูลโบราณสถาน อัตลักษณ์ทางศิลปวัฒนธรรมของชุมชน เกิดนักเล่าเรื่องและผู้นำเที่ยวในชุมชนที่มีศักยภาพและสามารถนำองค์ความรู้ไปให้ในการนำเที่ยวในพื้นที่
    3. ชุมชนมีผลิตภัณฑ์เชิงวัฒนธรรม เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ สามารถอนุรักษ์วัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชนให้คงอยู่ กับชุมชนได้อย่างยั่งยืน
    นักศึกษาได้ประสบการณ์การทำงานร่วมกับชุมชน โดยมีการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ด้านศิลปกรรมมาใช้ในการแก้ปัญหาให้กับชุมชน ซึ่งเป็นการฝึกกระบวนการคิด วิเคราะห์ประมวลผลผลและความคิดสร้างสรรค์อีกทางหนึ่งด้วย
    ผลกระทบ (Impact) ประชาชนในชุมชน ผู้ประกอบการด้านท่องเที่ยวและบริการที่อยู่ในชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น บัณฑิตของมหาวิทยาลัยมีคุณภาพตามอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัย
    นำเข้าสู่ระบบโดย SongkhlaRajabhat SongkhlaRajabhat เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2562 01:32 น.