โครงการ อาสาประชารัฐ “ยกระดับรายได้เกษตรกรสวนยางด้วยเกษตรผสมผสาน”

แบบเสนอโครงการ
โครงการ อาสาประชารัฐ “ยกระดับรายได้เกษตรกรสวนยางด้วยเกษตรผสมผสาน”

1. ชื่อโครงการ

โครงการ อาสาประชารัฐ “ยกระดับรายได้เกษตรกรสวนยางด้วยเกษตรผสมผสาน”กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมคณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลาผู้นำเกษตรกร ว่าที่ร้อยตรี ภิรมย์ ประทุมทองตำบลทุ่งลาน อ.คลองหอยโข่ง จ.สงขลา

2. พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่

3. รายละเอียดชุมชน

ปัญหาความยากจนของประเทศไทยเป็นปัญหาเชิงระบบและโครงสร้างระดับชาติที่สั่งสมกันมานานซึ่งหลายรัฐบาลและหลายหน่วยงานได้พยายามแก้ไขผลการพัฒนาที่ผ่านมาได้ชี้ให้เห็นถึงจำนวนประชากรครัวเรือนยากจนยังคงมีสัดส่วนที่สูงภายใต้กระแสการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วทั้งจากภายในและภายนอกประเทศ ขณะที่สภาพแวดล้อมทางการเมืองเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปได้ส่งผลให้ปัญหาความยากจนมีความสลับซับซ้อน และมีความเหลื่อมล้ำที่ขยายตัวมากขึ้นจนกระทั่งรัฐบาลได้กำหนดยุทธศาสตร์ชาติในการแก้ปัญหาความยากจนและต้องได้รับการแก้ไขอย่างเป็นระบบแบบเป็นองค์รวม (Holistic) โดยอาศัยการเชื่อมโยงมิติต่างๆเข้าด้วยกันการดำเนินงานพัฒนาครัวเรือนผู้ด้อยโอกาสและยากจน ไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยการส่งเสริมกิจกรรมสร้างรายได้แต่อย่างเดียวจำเป็นต้องนำภูมิคุ้มกันที่มีอยู่พร้อมทั้งสร้างภูมิคุ้มกันใหม่ เพื่อสร้างความพร้อมให้กับชุมชนและครัวเรือนยากจน ต้องบูรณาการความรู้ทุกมิติทั้งด้านสังคม เทคนิควิธีการผลิตและการบริโภคที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การป้องกันดูแลรักษาสุขภาพและสวัสดิการชุมชน รวมทั้งการจัดการทรัพยากรธรรมชาติที่เหมาะสมกับชุมชนเป้าหมายนอกจากนี้ยังต้องมีระยะเวลาดำเนินการเพียงพอสำหรับการพัฒนาศักยภาพครัวเรือนและชุมชนเป้าหมายให้สามารถดำเนินการพัฒนาด้วยตนเองได้อย่างต่อเนื่อง
ชาวบ้านในเขตตำบลทุ่งลาน อ.คลองหอยโข่ง จ.สงขลา ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกร ทำสวนยางพารา แต่เนื่องจากสถานการณ์การตกต่ำของราคายางพารา ซึ่งพบว่าในปี 2554 ราคายางแผ่นดิบชั้น 3 ราคาเฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ 132.43 บาท/กิโลกรัม และในปี 2558 ราคาเฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ 53.44 บาท/กิโลกรัม (สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร) ส่งผลให้รายได้ของเกษตรลดลงประมาณ 60% ส่งผลต่อดำรงชีวิตอันเนื่องมาจากรายได้ลดลง แต่รายจ่ายของครอบครัวไม่ได้ลดลงไปด้วยจากสภาพการณ์ดังกล่าว เกษตรกรจึงได้มีการปรับตัวเพื่อหารายได้เสริม นอกจากรายได้หลักที่มาจากการทำสวนยางพารา
ระบบเกษตรผสมผสาน (Integrated Farming System) เป็นระบบการเกษตรที่มีการเพาะปลูกพืชหรือการเลี้ยงสัตว์ต่างๆชนิดอยู่ในพื้นที่เดียวกันภายใต้การเกื้อกูล ประโยชน์ต่อกันและกันอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยอาศัยหลักการอยู่รวมกันระหว่างพืช สัตว์ และสิ่งแวดล้อมการอยู่รวมกันอาจจะอยู่ในรูปความสัมพันธ์ระหว่างพืชกับพืชพืชกับสัตว์ หรือสัตว์กับสัตว์ก็ได้โดยให้ความสำคัญต่อกิจกรรม แต่ละชนิดอย่างเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมทางกายภาพ เศรษฐกิจ สังคม มีการใช้แรงงาน เงินทุน ที่ดิน ปัจจัย การผลิตและทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนรู้จักนำวัสดุเหลือใช้จากการผลิตชนิดหนึ่งมาหมุน เวียนใช้ประโยชน์กับการผลิตอีกชนิดหนึ่งกับการผลิตอีกชนิดหนึ่งหรือหลายชนิดภายในไร่นาแบบครบวงจร
จากข้อมูลดังกล่าวชี้ให้เห็นว่า การปรับรูปแบการทำเกษตรกรรมในรูปแบบการผลิตเชิงเดี่ยว มาเป็นเกษตรผสมผสานจะช่วยให้เกษตรกรมีความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น เนื่องจากสามารถลดความผันผวนทางด้านราคา คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ตระหนักถึงความสำคัญของการมีบทบาทสนับสนุนด้านวิชาการและปฏิบัติงานร่วมกับหน่วยงานและองค์กรท้องถิ่นในการแก้ไขปัญหาความยากจนโดยกระบวนการวิจัยและพัฒนาความมั่นคงของประเทศจากฐานรากให้บังเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม จึงได้กำหนดให้มีการจัดทำ “โครงการแก้ไขปัญหาความยากจนของเกษตรกร โดยใช้เกษตรผสมผสานตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจแบบพอเพียง” ขึ้น โดยการคัดเลือกพื้นที่ ในเขต อ.คลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา เพื่อลดปัญหาอันเนื่องมาจากราคายางตกต่ำ โดยโครงการนี้ กลุ่มนักศึกษา และอาจารย์ของคณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ร่วมกับชุมชน ปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำเกษตรเชิงเดี่ยว (ยางพารา) มาเป็นการรูปแบบเกษตรผสมผสาน โดยใช้การจัดการเรียนการสอนบูรณาการร่วมกับการบริการวิชาการและการวิจัย โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาช่วยในการแก้ไขปัญหา อันซึ่งจะช่วยให้นักศึกษาได้ฝึกประสบการณ์การทำงานและพัฒนาทักษะวิชาชีพ โดยใช้ชุมชนเป็นห้องปฏิบัติการซึ่งเป็นการแก้ปัญหาตรงตามความต้องการของชุมชน

4. ประเด็นปัญหาหลัก

5. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

6. องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

การนำความรู้ทางการเกษตรมาบูรณาการแก้ปัญหาราคายางพาราตกต่ำ

7. วัตถุประสงค์

วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาระบบการเรียนการสอน ให้บัณฑิตสามารถเรียนรู้จากปัญหาจริงในชุมชน

นักศึกษาคณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา เข้าไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ศึกษาวิเคราะห์ปัญหาของชุมชน ตลอดจนให้ความช่วยเหลือในการยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน จำนวน 15 คน

15.00 15.00
2 เพื่อยกระดับรายได้ของเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการ

เกษตรกร ในพื้นที่ อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา จำนวน 40 คน

40.00 40.00

8. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
นักศึกษาคณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขล 15
เกษตรกร ในพื้นที่ อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา 40

9. ระยะเวลา

10. วิธีดำเนินงาน

กิจกรรมที่ 1 การบรรยาย สาธิต ผู้ประสบความสำเร็จในการทำเกษตรผสมผสาน

ชื่อกิจกรรม
การบรรยาย สาธิต ผู้ประสบความสำเร็จในการทำเกษตรผสมผสาน
วัตถุประสงค์
    รายละเอียดกิจกรรม
    กิจกรรมต้นทาง
    - การบรรยาย สาธิต ศึกษาดูงาน ผู้ประสบความสำเร็จในการทำเกษตรผสมผสาน ให้แก่กลุ่มเกษตรกรและประชาชนผู้สนใจเข้าร่วมโครงการเกิดการเรียนรู้ร่วมกัน
    กิจกรรมกลางทาง
    - การปลูกพืชร่วมยาง
    - การเลี้ยงสัตว์ร่วมยาง
    กิจกรรมปลายทาง
    - การจัดจำหน่ายผลผลิต
    ระยะเวลาดำเนินงาน
    1 พฤศจิกายน 2562 ถึง 31 ตุลาคม 2563
    ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
    - จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ 40 คน
    - ความรู้ ความเข้าใจในเนื้อหาการอบรม ร้อยละ 70
    - จำนวนเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการดำเนินการปรับเปลี่ยนรูปแบบ ร้อยละ 70
    - เกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการมีรายได้เพิ่มขึ้น ร้อยละ 15
    ทรัพยากรอื่น ๆ
    ภาคีร่วมสนับสนุน
    รายละเอียดงบประมาณ
    ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
    ค่าตอบแทนวิทยากร

    ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 2 คน ๆ ละ 6 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท จำนวน 6 ครั้ง = 43200 บาท

    2 คน 3,600 6 43,200
    ค่าอาหาร

    ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับผู้เข้าอบรม วิทยากร และผู้ช่วยวิทยากร จำนวน 40 คน ๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 25 บาท จำนวน 6 ครั้ง = 12000 บาท

    40 คน 50 6 12,000
    ค่าอาหาร

    ค่าอาหารกลางวัน สำหรับผู้เข้าอบรม วิทยากร และผู้ช่วยวิทยากร จำนวน 40 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 75 บาท* จำนวน 6 ครั้ง = 18000 บาท

    40 คน 75 6 18,000
    ค่าเช่ารถ

    ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง (กรณีรถราชการไม่สามารถให้บริการได้ ขอเบิกเป็นค่าเช่าเหมารถแทน จำนวน 1 คัน/วันๆ ละ 2,800 บาท*จำนวน 30วัน = 84000 บาท

    1 ครั้ง 2,800 30 84,000
    อื่น ๆ

    ค่าเบี้ยเลี้ยงลงพื้นที่ ของนักศึกษา และอาจารย์ จำนวน 15 คน ๆ ละ 240 บาท จำนวน 20 วัน = 72000 บาท

    15 คน 240 20 72,000
    ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้

    วัสดุเกษตร เช่น ปุ๋ย ถุงเพาะ วัสดุปลูก เมล็ดพันธุ์ ฯลฯ 150,000 บาท วัสดุงานบ้านงานครัว เช่น เครื่องครัว ฯลฯ 10,000 บาท วัสดุวิทยาศาสตร์ 20,000 บาท วัสดุก่อสร้าง 80,000 บาท วัสดุบรรจุภัณฑ์ เช่น ถุงพลาสติก ฯลฯ 2,000 บาท

    1 ครั้ง 262,000 1 262,000
    รวมค่าใช้จ่าย 491,200

    รวมงบประมาณทุกกิจกรรมของแผนการดำเนินงาน จำนวน 491,200.00 บาท

    ค่าตอบแทนค่าใช้สอยค่าวัสดุอื่น ๆรวมเงิน
    ค่าใช้จ่าย (บาท) 43,200.00 114,000.00 262,000.00 72,000.00 491,200.00
    เปอร์เซ็นต์ (%) 8.79% 23.21% 53.34% 14.66% 100.00%

    11. งบประมาณ

    491.00บาท

    12. การติดตามประเมินผล

    ต่อชุมชนต่อนักศึกษา
    ผลผลิต (Output) จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ 40 คน นักศึกษาเข้าร่วมโครงการ 15 คน
    ผลลัพธ์ (Outcome) เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นจากฐานเดิมร้อยละ 10 นักศึกสามารถนำความรู้ทางวิชาชีพมาแก้ปัญหาตามความต้องการของชุมชนได้
    ผลกระทบ (Impact) ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น บัณฑิตมีคุณภาพเป็นไปตามอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัย
    นำเข้าสู่ระบบโดย SongkhlaRajabhat SongkhlaRajabhat เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2562 00:59 น.