โครงการ อาสาประชารัฐ “การผลิตเมล็ดพันธุ์และการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์จากข้าวไร่พื้นเมือง”

แบบเสนอโครงการ
โครงการ อาสาประชารัฐ “การผลิตเมล็ดพันธุ์และการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์จากข้าวไร่พื้นเมือง”

1. ชื่อโครงการ

โครงการ อาสาประชารัฐ “การผลิตเมล็ดพันธุ์และการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์จากข้าวไร่พื้นเมือง”กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลาสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.),มูลนิธิรวมใจพัฒนา,มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาพิษณุโลก,เกษตรกรผู้ผลิตข้าว ตำบลทุ่งตำเสา อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลาดร.ภัทรพร ภัคดีฉนวน สาขาเกษตรศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลาคณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา 160 หมู่ที่ 4 ตำบลเขารูปช้าง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา 90000โทรศัพท์ : 074-260272 ,089-7356965 โทรสาร : 074-260273 Email Address : agri@skru.ac.th.ดร. ธิติมา พานิชย์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร
ดร.อดิศรา ตันตสุทธิกุล สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร
นางขนิษฐา พันชูกลาง สาขาวิชาการผลิตและการจัดการผลิตภัณฑ์อาหาร

2. พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
สงขลา หาดใหญ่ ทุ่งตำเสา

3. รายละเอียดชุมชน

สืบเนื่องจากการลงพื้นที่สำรวจของทีมอาจารย์จากคณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ร่วมกับ สวทช. และคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ใน “โครงการการเพิ่มศักยภาพกลุ่มผู้ผลิตข้าวแบบครบวงจรด้วยกระบวนการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพื้นที่จังหวัดสงขลา” พบว่า กลุ่มเกษตรกรในพื้นที่เป้าหมาย (เกษตรกรผู้ปลูกข้าวเหนียวดำไร่ ตำบลทุ่งตำเสา อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา) มีการปลูกข้าวพื้นเมืองหลากหลายสายพันธุ์ ซึ่งเกษตรกรยังไม่ได้ให้ความสำคัญกับการคัดเลือกพันธุ์ข้าวและเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์อย่างถูกวิธี ทำให้ผลผลิตที่ได้ค่อนข้างต่ำ ข้าวที่ได้ไม่มีความสม่ำเสมอทางด้านคุณภาพ ดังนั้นการคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ให้มีความบริสุทธิ์จะช่วยทำให้ข้าวมีคุณภาพดี และลดต้นทุนการผลิตได้ อีกทั้งเกษตรกรมีความต้องการปรับเปลี่ยนวิธีการปลูกเป็นแบบอินทรีย์อีกด้วย นอกจากนี้จากการสำรวจเบื้องต้นพบว่าทางกลุ่มเกษตรกรได้มีการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากข้าวเหนียวดำไร่ ซึ่งได้แก่ ข้าวหมาก ออกวางจำหน่ายในชุมชนแต่ยังประสบปัญหาในเรื่องของคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ จึงทำให้มีการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ภายในชุมชนเท่านั้น ดังนั้นทางกลุ่มเกษตรจึงมีความต้องการที่จะยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ข้าวหมากให้ดียิ่งขึ้น และต้องการที่จะนำข้าวหมากมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ชนิดอื่น ซึ่งจะช่วยให้ทางกลุ่มเกษตรกรมีผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายออกวางจำหน่ายในท้องตลาดเพื่อเพิ่มทางเลือกให้กับผู้บริโภคมากขึ้นตลอดจนเพิ่มรายได้และช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรให้ดียิ่งขึ้น
ทางคณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ได้เล็งเห็นความสำคัญ ในการสนับสนุน การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้าวอินทรีย์ ตลอดจนการสร้างผลิตภัณฑ์จากข้าวอินทรีย์ เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับพันธุ์ข้าวพื้นเมืองเฉพาะถิ่นนำไปสู่การเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรและเพิ่มศักยภาพเศรษฐกิจชุมชน จึงต้องการที่จัดกิจกรรมผ่านโครงการ โดยมีกลุ่มนักศึกษาและอาจารย์ของคณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ทำงานร่วมกับชุมชนกลุ่มเป้าหมาย เพื่อมุ่งหวังที่จะสร้างองค์ความรู้และทักษะปฏิบัติงานให้แก่เกษตรกรให้สามารถคัดเลือกพันธุ์ข้าวและเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ข้าวพื้นเมืองอย่างถูกวิธี ตลอดจนมีการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากข้าว โดยผ่านกระบวนการการจัดการเรียนการสอนที่บูรณาการร่วมกับการบริการวิชาการและการวิจัย ร่วมกับการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีร่วมกับภูมิปัญญาชาวบ้าน ซึ่งเป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ฝึกประสบการณ์การทำงานและพัฒนาทักษะวิชาชีพตรงตามศาสตร์สาขาวิชา โดยมีชุมชนเป็นฐานการนำความรู้สู่การปฏิบัติเชิงพื้นที่ ในการแก้ปัญหา

4. ประเด็นปัญหาหลัก

5. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

6. องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

1) การคัดเลือกพันธุ์ข้าว จัดการปลูกเพื่อเพิ่มผลผลิต และได้พันธุ์ข้าวบริสุทธิ์
2) เพิ่มมูลค่าของผลผลิตจากการแปรรูปข้าวเหนียวดำไร่อินทรีย์ เช่น การทำแป้งข้าวหมาก การทำน้ำข้าวหมากพร้อมดื่ม และผลิตภัณฑ์อื่นๆ จากการแปรรูปแป้งข้าวหมาก เป็นต้น

7. วัตถุประสงค์

วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อปฏิรูปการเรียนการสอน ให้บัณฑิตสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ และถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่ชุมชน

จำนวนกิจกรรมของโครงการที่บูรณาการเพื่อคัดเลือกสายพันธุ์ข้าวพื้นเมืองแบบเกษตรกรมีส่วนร่วม

10.00 10.00
2 เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาชุมชน ให้มีสินค้าหรือผลิตภัณฑ์แปรรูปจากข้าวที่มีคุณภาพ โดยการนำความรู้ทางด้านเกษตร และวิทยาศาสตร์ทางอาหารในการแก้ปัญหาในมิติต่างๆ

จำนวนผลิตภัณฑ์จากข้าวไร่อินทรีย์จำหน่ายในชุมชน

3.00 3.00
3 เพื่อส่งเสริมให้ชุมชนมีรายได้จากการจำหน่ายสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพและพึ่งพาตนเองได้

จำนวนครัวเรือนที่ได้รับการพัฒนา

11.00 11.00

8. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
เกษตรกรผู้ผลิตข้าว ตำบลทุ่งตำเสา อำเภอหาดใหญ่ จังห 11

9. ระยะเวลา

10. วิธีดำเนินงาน

กิจกรรมที่ 1 การบรรยาย สาธิต ให้แก่กลุ่มเกษตรกรและประชาชนผู้สนใจเข้าร่วมโครงการเกิดการเรียนรู้ร่วมกัน เตรียมเพาะกล้าแบบวางรวง และสำรวจผลิตภัณฑ์จากข้าวอินทรีย์ในพื้นที่ ผู้นำกลุ่มเกษตรกร

ชื่อกิจกรรม
การบรรยาย สาธิต ให้แก่กลุ่มเกษตรกรและประชาชนผู้สนใจเข้าร่วมโครงการเกิดการเรียนรู้ร่วมกัน เตรียมเพาะกล้าแบบวางรวง และสำรวจผลิตภัณฑ์จากข้าวอินทรีย์ในพื้นที่ ผู้นำกลุ่มเกษตรกร
วัตถุประสงค์
    รายละเอียดกิจกรรม
    - การอนุรักษ์พันธุกรรมข้าวพื้นเมืองของชุมชนเกาะแต้ว: การคัดพันธุ์ข้าวพื้นเมืองแบบเกษตรกรมีส่วนร่วม
    - การฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการคัดพันธุ์ปนในแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวพื้นเมืองให้บริสุทธิ์ชั้นเมล็ดพันธุ์คัด
    - การฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการเก็บเกี่ยวและการปรับปรุงสภาพเมล็ดพันธุ์
    - การฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ข้าวพื้นเมืองอย่างถูกวิธี
    -ปรับปรุงคุณภาพผลิตภัณฑ์ข้าวหมากจากข้าวเหนียวดำไร่อินทรีย์
    - การเพิ่มมูลค่าของผลผลิตข้าวจากการแปรรูปตามความต้องการของชุมชน
    - ติดตามผลการดำเนินงาน
    ระยะเวลาดำเนินงาน
    1 November 2019 ถึง 31 October 2020
    ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
    ผลผลิต
    - จำนวนกิจกรรมของโครงการที่บูรณาการเพื่อคัดเลือกสายพันธุ์ข้าวพื้นเมืองแบบเกษตรกรมีส่วนร่วม 10 กิจกรร
    - จำนวนแปลงสาธิตผลิตเมล็ดพันธุ์ที่ดำเนินการร่วมกับเกษตรกรในชุมชน 10 แปลง
    - จำนวนครัวเรือนที่ได้รับการพัฒนา 11 ครัวเรือน
    - จำนวนผลิตภัณฑ์จากข้าวไร่อินทรีย์จำหน่ายในชุมชน 3 ผลิตภัณฑ์
    ผลลัพธ์
    - จำนวนแปลงสาธิตผลิตเมล็ดพันธุ์แบบเกษตรกรมีส่วนร่วม 2 แปลง
    -.จำนวนพันธุ์ข้าวพื้นเมืองที่ผลิตเป็นเมล็ดพันธุ์อินทรีย์คุณภาพดีตามมาตรฐาน 2 พันธ์
    - จำนวนรายวิชาในหลักสูตรที่มีการบูรณาการในการจัดการเรียนการสอนและแก้ปัญหาให้กับชุมชน 3 รายวิชา
    - จำนวนผลิตภัณฑ์ต้นแบบ 3 ผลิตภัณฑ์
    ทรัพยากรอื่น ๆ
    ภาคีร่วมสนับสนุน
    ที่ปรึกษาโครงการ
    1. นางสาวทิฆัมพร แสงโสภา
    นักวิชาการ ฝ่ายถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร
    สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
    โทร. 02-5647000 ต่อ 1702
    E mail: tikumporn.sangsopa@nstda.or.th
    2. ดร.กัญญณัช ศิริธัญญา
    นักวิชาการศึกษา มูลนิธิรวมใจพัฒนา
    โทร. 081-4847661
    E mail: pattama1960@hotmail.com
    3. ผศ.ดร.อรรณพ ทัศนอุดม
    มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาพิษณุโลก
    โทร. 086-9262662
    E mail: unnop_tas@rmutl.ac.th
    รายละเอียดงบประมาณ
    ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
    ค่าตอบแทนวิทยากร

    ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 4 คน ๆ ละ 6 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท จำนวน 6 ครั้ง = 86,400 บาท

    4 คน 3,600 6 86,400
    ค่าอาหาร

    ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับผู้เข้าอบรม วิทยากร และผู้ช่วยวิทยากร จำนวน 30 คน ๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 25 บาท จำนวน 6 ครั้ง =9000 บาท

    30 คน 50 6 9,000
    ค่าอาหาร

    ค่าอาหารกลางวัน สำหรับผู้เข้าอบรม วิทยากร และผู้ช่วยวิทยากร จำนวน 30 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 75 บาท* จำนวน 6 ครั้ง = 13500 บาท

    30 คน 75 6 13,500
    ค่าพาหนะเดินทาง - รถตู้เช่า

    ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง (กรณีรถราชการไม่สามารถให้บริการได้ ขอเบิกเป็นค่าเช่าเหมารถแทน จำนวน 1 คัน/วันๆ ละ 2,800 บาท*จำนวน 10 วัน) = 28000 บาท

    1 ครั้ง 2,800 10 28,000
    อื่น ๆ

    ค่าจ้างพิมพ์เอกสารเอกสาร

    1 ครั้ง 4,000 1 4,000
    อื่น ๆ

    ค่าจ้างพิมพ์โปสเตอร์

    1 ครั้ง 5,000 1 5,000
    อื่น ๆ

    ค่าจ้างทดสอบทางประสาทสัมผัส

    1 ครั้ง 10,000 1 10,000
    อื่น ๆ

    ค่าจ้างออกแบบบรรจุภัณฑ์

    1 ครั้ง 3,000 1 3,000
    อื่น ๆ

    ค่าซ่อมบำรุงเครื่องมือวิทยาศาสตร์

    1 ครั้ง 50,000 1 50,000
    อื่น ๆ

    ค่าจ้างตรวจวิเคราะห์คุณภาพผลิตภัณฑ์

    1 ครั้ง 70,000 1 70,000
    ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้

    - วัสดุเกษตร เช่น ปุ๋ย ถุงเพาะ วัสดุปลูก ฯลฯ 50000 บาท - วัสดุงานบ้านงานครัว เช่น เครื่องครัว ฯลฯ 20000 บาท - วัสดุบริโภค เช่น ข้าว น้ำตาลทราย ฯลฯ 20000 บาท - ค่าโปสเตอร์ประชาสัมพันธ์ 6 ป้าย *1,000 บาท 6000 บาท - ค่าวัสดุบรรจุภัณฑ์ เช่น ถุงพลาสติก ฯลฯ 20000 บาท

    1 ชุด 116,000 1 116,000
    ค่าวัสดุสำนักงาน

    - ค่าถ่ายเอกสาร 3000 บาท - ค่าวัสดุวิทยาศาสตร์ 70000 บาท - ค่าวัสดุคอมพิวเตอร์ 3000 บาท - ค่าเข้าเล่มรายงาน 1000 บาท - ค่าวัสดุเชื้อเพลิงและหล่อลื่น (เช่น แก๊สหุงต้ม) 4100 บาท - ค่าธรรมเนียมอุดหนุนมหาวิทยาลัย อัตราร้อยละ 5 24000 บาท

    1 ชุด 105,100 1 105,100
    รวมค่าใช้จ่าย 500,000

    รวมงบประมาณทุกกิจกรรมของแผนการดำเนินงาน จำนวน 500,000.00 บาท

    ค่าตอบแทนค่าใช้สอยค่าวัสดุอื่น ๆรวมเงิน
    ค่าใช้จ่าย (บาท) 86,400.00 50,500.00 221,100.00 142,000.00 500,000.00
    เปอร์เซ็นต์ (%) 17.28% 10.10% 44.22% 28.40% 100.00%

    11. งบประมาณ

    500.00บาท

    12. การติดตามประเมินผล

    ต่อชุมชนต่อนักศึกษา
    ผลผลิต (Output) จำนวนพันธุ์ข้าวพื้นเมืองที่ผลิตเป็นเมล็ดพันธุ์อินทรีย์คุณภาพดีตามมาตรฐาน 2 พันธ์ จำนวนกิจกรรมของโครงการที่บูรณาการเพื่อคัดเลือกสายพันธุ์ข้าวพื้นเมืองแบบเกษตรกรมีส่วนร่วม 10 กิจกรรม
    ผลลัพธ์ (Outcome) ร้อยละของผลผลิตข้าวอินทรีย์ที่เพิ่มขึ้น 20 % ปฏิรูปการเรียนการสอน ให้บัณฑิตสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ และถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่ชุมชน
    ผลกระทบ (Impact) ร้อยละของรายได้ของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการเพิ่มขึ้น ร้อยละ 10 การยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน โดยนักศึกษาเข้าไปมีส่วนร่วม
    นำเข้าสู่ระบบโดย SongkhlaRajabhat SongkhlaRajabhat เมื่อวันที่ 1 November 2019 00:01 น.