โครงการพัฒนาทักษะสำหรับศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนเพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

แบบเสนอโครงการ
โครงการพัฒนาทักษะสำหรับศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนเพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

1. ชื่อโครงการ

โครงการพัฒนาทักษะสำหรับศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนเพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศมหาวิทยาลัยขอนแก่นสาขาวิชาคณิตศาสตรศึกษา, สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา, สาขาวิชาศิลปศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นโรงเรียนในโครงการพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา (Education Sandbox) และโรงเรียนในโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา (Partnership School Project)1. โรงเรียนคูคำพิทยาสรรพ์ อำเภอซำสูง จังหวัดขอนแก่น 2. โรงเรียนบ้านบึงเนียมบึงใคร่นุ่นท่าหิน อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น3. โรงเรียนบ้านโนนแสนคำหนองศาลาศรีสะอาด อำเภอกันทรลักษณ์ จังหวัดศรีสะเกษ4. โรงเรียนบ้านโนนคูณ อำเภอโนนคูณ จังหวัดศรีสะเกษ 5. โรงเรียนบ้านโพนข่า (วินิตวิทยาคาร) อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ 6. โรงเรียนบ้านรุงสมบูรณ์ อำเภอกันทรลักษณ์ จังหวัดศรีสะเกษผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นฤมล ช่างศรีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 123 หมู่ 16 ตำบลในเมือง อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น 40002โทรศัพท์ 043-203165, 085-75105601. รองศาสตราจารย์ ดร. ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์
2. รองศาสตราจารย์เอื้อจิตร พัฒนจักร สาขาวิชาคณิตศาสตรศึกษา
3. อาจารย์ ดร. นิศากร บุญเสนา สาขาวิชาคณิตศาสตรศึกษา
4. อาจารย์ณัฐธิดา นามบุดดี สาขาวิชาคณิตศาสตรศึกษา
5. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ร่มเกล้า จันทราษี สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา
6. อาจารย์ ดร.ปาริชาติ แสนนา สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา
7. อาจารย์ ดร.จิรดาวรรณ หันตุลา สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา
8. อาจารย์ ดร.อะรุณี แสงสุวรรณ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา
9. ผู้ช่วยศาสตราจารย์เขม เคนโคก สาขาวิชาศิลปศึกษา
10. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปิยะศักดิ์ ปักโคทานัง สาขาวิชาศิลปศึกษา

2. พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ขอนแก่น เมืองขอนแก่น บึงเนียม ชานเมือง
ขอนแก่น ซำสูง ชนบท
ศรีสะเกษ เมืองศรีสะเกษ โพนข่า ชานเมือง
ศรีสะเกษ กันทรลักษ์ บึงมะลู ชนบท
ศรีสะเกษ กันทรลักษ์ รุง ชนบท

3. รายละเอียดชุมชน

โรงเรียนคูคำพิทยาสรรพ์ อำเภอซำสูง จังหวัดขอนแก่นและโรงเรียนบ้านบึงเนียมบึงใคร่นุ่นท่าหิน อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น เริ่มเข้าร่วมโครงการของศูนย์วิจัยคณิตศาสตรศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น ตั้งแต่ปี 2549 และ 2550 ตามลำดับ ในโครงการโรงเรียนในฝันเพาะปัญญาภายใต้ความร่วมมือของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและสำนักบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (OKMD) และต่อมา ภายใต้ชื่อโครงการวิจัยและพัฒนารูปแบบการคิดทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนด้วยวิธีการศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิด
โดยตั้งแต่ปี 2557 มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้สนับสนุนให้คณะศึกษาศาสตร์ และศูนย์วิจัยคณิตศาสตรศึกษา ดำเนินโครงการพัฒนาการคิดขั้นสูงทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภายใต้โครงการแก้ไขปัญหาสาธารณสุขและการศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม มหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งครอบคลุมโรงเรียนในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือกว่า 120 โรงเรียน
จากนั้น ในปี 2562 มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้เข้าร่วมโครงการพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา (Education Sandbox) ดูแลโรงเรียนในโครงการ ได้แก่ โรงเรียนบ้านโนนแสนคำหนองศาลาศรีสะอาด อำเภอกันทรลักษณ์ จังหวัดศรีสะเกษ โรงเรียนบ้านโนนคูณ อำเภอโนนคูณ จังหวัดศรีสะเกษ โรงเรียนบ้านโพนข่า (วินิตวิทยาคาร) อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ และโรงเรียนบ้านรุงสมบูรณ์ อำเภอกันทรลักษณ์ จังหวัดศรีสะเกษและในปีเดียวกันนี้ มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้เข้าร่วมโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา (Partnership School Project) โดยมหาวิทยาลัยขอนแก่น ดูแลโรงเรียนในโครงการจำนวน 4 โรงเรียน ประกอบด้วย โรงเรียนคูคำพิทยาสรรพ์ จังหวัดขอนแก่น โรงเรียนบ้านบึงเนียมบึงใคร่นุ่นท่าหิน จังหวัดขอนแก่น โรงเรียนบ้านโนนแสนคำหนองศาลาศรีสะอาด จังหวัดศรีสะเกษ และโรงเรียนบ้านโนนคูณ จังหวัดศรีสะเกษ
มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยรองศาสตราจารย์ ดร. ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ได้ทำการวิจัยเพื่อพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษาและใช้นวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิด ในระหว่างปี 2546-2556 เพื่อยกระดับคุณภาพชั้นเรียนคณิตศาสตร์ และในโรงเรียนภายใต้โครงการแก้ไขปัญหาทางการศึกษาและสาธารณสุขเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมในระหว่างปีงบประมาณ 2557-2561 จากนั้นมหาวิทยาลัยขอนแก่นได้เข้าร่วมโครงการพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา (Education Sandbox) รับผิดชอบโรงเรียนในจังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งโครงการมีวัตถุประสงค์เพื่อลดความเหลื่อมล้ำด้านคุณภาพการศึกษา และร่วมมือกับทุกภาคส่วนในการจัดการศึกษาและการพัฒนา การขยายผลนวัตกรรมการศึกษา นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้เข้าร่วมโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา (Partnership School Project) รับผิดชอบโรงเรียนในจังหวัดขอนแก่น โดยโครงการมีแนวคิดการสร้างนวัตกรรมการบริหารจัดการสถานศึกษาภายใต้บทบาทความร่วมมือระหว่างกระทรวงศึกษาธิการ และบริษัทมูลนิธิองค์กร หรือสถาบันที่สนับสนุนทรัพยากรและมีส่วนร่วมในการบริหารให้กับสถานศึกษาซึ่งเป็นส่วนขยายของโรงเรียนประชารัฐ โดยมุ่งเน้นการยกระดับคุณภาพการศึกษาด้านต่างๆ ดังนั้น การเข้าร่วมโครงการอาสาประชารัฐ จะเป็นการดำเนินการต่อเนื่องจากการดำเนินการเพื่อพัฒนาการศึกษาที่มีมากว่า 15 ปี อันจะเป็นการต่อยอดการพัฒนาเพื่อลดความเหลื่อมล้ำด้านคุณภาพการศึกษาในการพัฒนาเศรษฐกิจในศตวรรษที่ 21 นี้ ได้มีการกำหนดวิสัยทัศน์ของกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจ APEC (Asia-Pacific Economic Cooperation) ที่ได้เสนอแนะว่าตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 20 จนกระทั่งเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 ควรให้ความสำคัญในเรื่องทักษะที่จำเป็นของเยาวชนและแรงงานในสังคม ซึ่งจำเป็นต้องใช้ทักษะที่ก่อให้เกิดผลงานอย่างมีประสิทธิภาพ ต้องการทักษะขั้นสูงที่มีความจำเป็น เช่น การคิดขั้นสูง ทักษะการสื่อสารที่สลับซับซ้อน ทำให้หลักสูตรในประเทศในกลุ่มความร่วมมือจำเป็นต้องตอบสนองต่อความต้องการนี้ และเพื่อการตอบสนองต่อการก่อตั้งกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน AEC (ASEAN Economics Community) ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งจะมีการจะเปิดกว้างด้านการกระจายแรงงานในประเทศในกลุ่มประชาคม จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่บุคลากรของประเทศเหล่านี้จะต้องได้รับการเตรียมความพร้อมให้มีความรู้ มีทักษะการคิดขั้นสูง มีสมรรถนะที่จะส่งเสริมศักยภาพในการแข่งขันของประเทศไทยในตลาดงานและก้าวทันการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา จึงมีความจำเป็นต้องผลิตนักศึกษาครูที่สามารถจัดการเรียนการสอน โดยใช้นวัตกรรมเพื่อพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 ตามความต้องการของประเทศ และเพื่อพัฒนาทักษะสำหรับศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนอันจะเป็นการยกระดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศเพื่อพัฒนาทักษะสำหรับศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนซึ่งจะนำไปสู่การยกระดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

4. ประเด็นปัญหาหลัก

5. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

6. องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยรองศาสตราจารย์ ดร. ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ ได้มีการดำเนินการเพื่อยกระดับคุณภาพชั้นเรียน และมุ่งแก้ไขปัญหาสาธารณสุขและการศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม ตลอดจนการพยายามสร้างนวัตกรรมการบริหารจัดการสถานศึกษาภายใต้บทบาทความร่วมมือระหว่างกระทรวงศึกษาธิการ และบริษัทมูลนิธิองค์กร หรือสถาบันที่สนับสนุนทรัพยากรและมีส่วนร่วมในการบริหารให้กับสถานศึกษา โดยดำเนินการมากว่า 15 ปี ผ่านโครงการต่างๆ อาทิเช่น โครงการพัฒนาการคิดขั้นสูงทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภายใต้โครงการแก้ไขปัญหาสาธารณสุขและการศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม มหาวิทยาลัยขอนแก่น โครงการพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา (Education Sandbox) และโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา (Partnership School Project) ซึ่งล้วนเป็นโครงการสำคัญของรัฐบาล เพื่อร่วมมือกันพัฒนาคุณภาพการศึกษาไทย โดยมีนวัตกรรมทางการศึกษาคือการศึกษาชั้นเรียน (Lesson Study) และวิธีการแบบเปิด (Open Approach) ซึ่งเป็นนวัตกรรมการพัฒนาวิชาชีพครูที่เน้นการทำงานร่วมกันของครูเพื่อทำให้ชั้นเรียนเป็นชั้นเรียนที่เน้นกระบวนการแก้ปัญหา เน้นให้นักเรียนคิดด้วยตนเอง นอกจากนี้ มีแนวคิดในการพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักศึกษา/นักเรียนด้วยกิจกรรมต่างๆ เพื่อสร้างค่านิยมหลัก (Core Values) เป็นการปลูกฝังให้นักศึกษา/นักเรียนมีนิสัยในการเรียนรู้จากการร่วมมือกันทำงาน (Building Collaboration) มีจิตสาธารณะ (Public Concern) มีเจตคติที่เปิดกว้างในการทำงาน (Open-minded Attitudes) และเน้นการเรียนรู้ทั้งจากกระบวนการทำงานและผลลัพธ์ที่ได้ (Product-Processes Approach) อันจะเป็นการพัฒนาศักยภาพนักศึกษา/นักเรียนและการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

7. วัตถุประสงค์

วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อยกระดับขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศด้วยการพัฒนาทักษะสำหรับศตวรรษที่ 21 ของนักเรียน

นักเรียนร้อยละ 80 มีทักษะสำหรับศตวรรษที่ 21

100.00 80.00
2 เพื่อส่งเสริมนักศึกษาครูให้สามารถจัดการเรียนการสอน โดยใช้นวัตกรรมเพื่อพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21

นักศึกษาครูร้อยละ 80 สามารถจัดการเรียนการสอน โดยใช้นวัตกรรมเพื่อพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21

100.00 80.00
3 เพื่อพัฒนาชุมชนการเรียนรู้เชิงวิชาชีพของครู (Professional Learning Community) โดยใช้นวัตกรรม

ได้โรงเรียนในฐานะที่เป็นชุมชนการเรียนรู้เชิงวิชาชีพในพื้นที่ต่าง ๆ

100.00 80.00

8. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
นักศึกษาปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 20
นักเรียนในพื้นที่ 600
ประชาชนในชุมชน 600
ผู้บริหารโรงเรียนและครู 90
อาจารย์มหาวิทยาลัย 11
โรงเรียน (โรง) 6

9. ระยะเวลา

10. วิธีดำเนินงาน

กิจกรรมที่ 1 การสร้างชุมชนการเรียนรู้เชิงวิชาชีพโดยใช้นวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียน (Lesson Study) และวิธีการแบบเปิด (Open Approach)

ชื่อกิจกรรม
การสร้างชุมชนการเรียนรู้เชิงวิชาชีพโดยใช้นวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียน (Lesson Study) และวิธีการแบบเปิด (Open Approach)
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อพัฒนาชุมชนการเรียนรู้เชิงวิชาชีพของครู (Professional Learning Community) โดยใช้นวัตกรรม
รายละเอียดกิจกรรม
โรงเรียนตั้งเป้าหมายในการพัฒนาชั้นเรียนร่วมกัน และตั้งทีมการศึกษาชั้นเรียนเพื่อดำเนินการตามขั้นตอนของนวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียนในแต่ละรายสัปดาห์ ได้แก่ การร่วมกันสร้างแผนการสอน การร่วมกันสังเกตชั้นเรียน และการสะท้อนผลร่วมกัน ทีมมหาวิทยาลัยทำการนิเทศติดตามการจัดการเรียนการสอนของนักศึกษาครูและทีมการศึกษาชั้นเรียน และการดำเนินงานของโรงเรียน และมีการ Coaching จากมหาวิทยาลัยในแต่ละเดือน โดยเป็นการให้คำปรึกษาและเป็นพี่เลี้ยง การเข้าไปร่วมการทำแผนการจัดการเรียนรู้ การอ่านหนังสือเรียน การสังเกตในชั้นเรียนตลอดทั้งคาบ และการร่วมสะท้อนผลกับทางทีมการศึกษาชั้นเรียนของโรงเรียนทุกทีม พร้อมทั้งให้คำปรึกษาอื่น ๆ
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พ.ค. 2563 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
โรงเรียนมีเป้าหมาย (Goal) ในพัฒนาตนเองทั้งระบบ (Whole School Approach) โดยการบูรณาการการบริหารจัดการระดับโรงเรียน (School Management) ด้วยนวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียน (Lesson Study) และด้านการบริหารจัดการในระดับชั้นเรียน (Classroom Management) ด้วยวิธีการแบบเปิด (Open Approach) เพื่อนำนวัตกรรมใช้ในโรงเรียน
ทรัพยากรอื่น ๆ
อาจารย์ นักวิจัย นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา จากมหาวิทยาลัยขอนแก่นและมหาวิทยาลัยเครือข่าย
ภาคีร่วมสนับสนุน
ศูนย์วิจัยคณิตศาสตรศึกษา มูลนิธิการศึกษาเพื่อการพัฒนาทักษะการคิด
รายละเอียดงบประมาณ
ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
ค่าวัสดุสำนักงาน

ชุดกระดานแม่เหล็ก

2 ชุด 20,000 6 240,000
ค่าวัสดุสำนักงาน

ชุดสื่อ Pattern Blocks และหนังสือ

12 ชุด 700 6 50,400
ค่าวัสดุสำนักงาน

หนังสือเรียนที่เน้นการแก้ปัญหา

10 ชุด 2,200 6 132,000
ค่าวัสดุสำนักงาน

วัสดุ อุปกรณ์อื่นๆ สำหรับใช้ในรายสัปดาห์

20 ครั้ง 1,000 6 120,000
รวมค่าใช้จ่าย 542,400

กิจกรรมที่ 2 การพัฒนาการสอนโดยใช้นวัตกรรมโดยวิธีการแบบเปิด (Open Approach)

ชื่อกิจกรรม
การพัฒนาการสอนโดยใช้นวัตกรรมโดยวิธีการแบบเปิด (Open Approach)
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อส่งเสริมนักศึกษาครูให้สามารถจัดการเรียนการสอน โดยใช้นวัตกรรมเพื่อพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21
รายละเอียดกิจกรรม
จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการในช่วงก่อนใช้และระหว่างใช้นวัตกรรม เช่น เทคนิคการใช้กระดาน, การเขียนแผนแบบ Kyozai Kenkyu เป็นต้น การออกแบบแผนการสอนแนวใหม่โดยใช้นวัตกรรม Kyozaikenkyu กับทีมการศึกษาชั้นเรียน โดยใช้หนังสือเรียนที่เน้นการแก้ปัญหา สอนและร่วมสังเกตการสอนในชั้นเรียน ตามขั้นตอน 4 ขั้นตอนของ วิธีการแบบเปิด (Open Approach) ดำเนินกิจกรรมการสะท้อนผลหลังการสอนในทีมการศึกษาชั้นเรียน เป็นรายสัปดาห์ร่วมกับทีม และการนิเทศติดตามใช้นวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิดเพื่อพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 ในโรงเรียน
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พ.ค. 2563 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
ได้นักศึกษาครู และครูที่มีสมรรถนะการสอนโดยใช้นวัตกรรมในโรงเรียน
ทรัพยากรอื่น ๆ
อาจารย์ นักวิจัย นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา จากมหาวิทยาลัยขอนแก่นและมหาวิทยาลัยเครือข่าย
ภาคีร่วมสนับสนุน
ศูนย์วิจัยคณิตศาสตรศึกษา มูลนิธิการศึกษาเพื่อการพัฒนาทักษะการคิด
รายละเอียดงบประมาณ
ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้

-ค่าตอบแทนวิทยากร -ค่าเดินทาง -ค่าที่พัก -ค่าอาหาร -ค่าวัสดุ

2 ครั้ง 50,000 6 600,000
ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้

ค่าบริหารจัดการในการร่วมสร้างแผนการจัดการเรียนรู้ การสะท้อนผลหลังการสอนร่วมกัน รายสัปดาห์

20 ครั้ง 2,000 6 240,000
รวมค่าใช้จ่าย 840,000

กิจกรรมที่ 3 การพัฒนาการแก้ปัญหาร่วมกันของนักเรียนในชั้นเรียน (Collaborative Problem Solving in Classroom)

ชื่อกิจกรรม
การพัฒนาการแก้ปัญหาร่วมกันของนักเรียนในชั้นเรียน (Collaborative Problem Solving in Classroom)
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อยกระดับขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศด้วยการพัฒนาทักษะสำหรับศตวรรษที่ 21 ของนักเรียน
รายละเอียดกิจกรรม
การประเมินสมรรถนะของนักเรียน โดยนักเรียนได้รับการประเมินสมรรถนะจากการพัฒนาทางด้านการคิดขั้นสูง ได้แก่ การคิดวิเคราะห์ การคิดสร้างสรรค์ และทั้งมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้ และทักษะการแก้ปัญหาร่วมกันในชั้นเรียน
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พ.ค. 2563 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
นักเรียนในโรงเรียนอย่างน้อยร้อยละ 80 มีทักษะการคิดขั้นสูงสำหรับศตวรรษที่ 21 ได้แก่ การคิดวิเคราะห์ คิดสร้างสรรค์ เป็นต้น และมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้คณิตศาสตร์
ทรัพยากรอื่น ๆ
อาจารย์ นักวิจัย นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา จากมหาวิทยาลัยขอนแก่นและมหาวิทยาลัยเครือข่าย
ภาคีร่วมสนับสนุน
ศูนย์วิจัยคณิตศาสตรศึกษา มูลนิธิการศึกษาเพื่อการพัฒนาทักษะการคิด
รายละเอียดงบประมาณ
ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
ค่าตอบแทนผู้ทรงคุณวุฒิ

การนิเทศติดตามจากผู้เชี่ยวชาญและทีม

20 ครั้ง 3,000 6 360,000
ค่าตอบแทนการประสานงาน

ค่าจ้างเหมาเก็บรวบรวมข้อมูล

3 คน 5,000 6 90,000
รวมค่าใช้จ่าย 450,000

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมการเปิดชั้นเรียน (Open Class)

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมการเปิดชั้นเรียน (Open Class)
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อยกระดับขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศด้วยการพัฒนาทักษะสำหรับศตวรรษที่ 21 ของนักเรียน
  2. เพื่อส่งเสริมนักศึกษาครูให้สามารถจัดการเรียนการสอน โดยใช้นวัตกรรมเพื่อพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21
  3. เพื่อพัฒนาชุมชนการเรียนรู้เชิงวิชาชีพของครู (Professional Learning Community) โดยใช้นวัตกรรม
รายละเอียดกิจกรรม
โรงเรียนจัดกิจกรรมเปิดชั้นเรียน (Open Class) ระดับโรงเรียนในรายวิชาคณิตศาสตร์ วิชาวิทยาศาสตร์ และวิชาศิลปะ และเชิญชุมชน รวมถึงหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องมาเพื่อเรียนรู้ร่วมกันในบริบทชั้นเรียนจริงแบบสดๆ (Live Classroom)
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พ.ค. 2563 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
โรงเรียนสามารถสร้างพื้นที่การเรียนรู้ร่วมกันของนักศึกษาครู ครู และผู้ปกครองได้ และมีการจัดทำวิดีทัศน์กิจกรรมเปิดชั้นเรียนของรายวิชาต่างๆ เพื่อเผยแพร่
ทรัพยากรอื่น ๆ
อาจารย์ นักวิจัย นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา จากมหาวิทยาลัยขอนแก่นและมหาวิทยาลัยเครือข่าย
ภาคีร่วมสนับสนุน
ศูนย์วิจัยคณิตศาสตรศึกษา มูลนิธิการศึกษาเพื่อการพัฒนาทักษะการคิด
รายละเอียดงบประมาณ
ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้

ค่าอุปกรณ์และสื่อในกิจกรรมเปิดชั้นเรียน

1 ครั้ง 10,000 6 60,000
ค่าตอบแทนวิทยากร

การนิเทศชั้นเรียนจากผู้เชี่ยวชาญและทีม

5 คน 4,000 6 120,000
ค่าอาหาร

ค่าอาหารว่างและอาหารกลางวัน

100 คน 200 6 120,000
ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้

-ค่าบริหารจัดการ -ค่าเดินทาง -ค่าเอกสาร

1 ครั้ง 50,000 6 300,000
รวมค่าใช้จ่าย 600,000

รวมงบประมาณทุกกิจกรรมของแผนการดำเนินงาน จำนวน 2,432,400.00 บาท

ค่าตอบแทนค่าใช้สอยค่าวัสดุรวมเงิน
ค่าใช้จ่าย (บาท) 570,000.00 120,000.00 1,742,400.00 2,432,400.00
เปอร์เซ็นต์ (%) 23.43% 4.93% 71.63% 100.00%

11. งบประมาณ

2.00บาท

12. การติดตามประเมินผล

ต่อชุมชนต่อนักศึกษา
ผลผลิต (Output) -การพัฒนาทักษะสำหรับศตวรรษที่ 21
-การพัฒนาครูโดยใช้นวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิด (Lesson Study & Open Approach)
-การสนับสนุนให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมกับโรงเรียน
-การพัฒนานักศึกษาครู โดยใช้นวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิด (Lesson Study & Open Approach)
-นักศึกษาได้เรียนรู้ผ่านการทำงานร่วมกับชุมชน
ผลลัพธ์ (Outcome) -ได้นักเรียนที่มีทักษะสำหรับศตวรรษที่ 21
-ได้โรงเรียนในฐานะที่เป็นชุมชนการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ
-ได้นักศึกษาครูที่มีศักยภาพในการสอนเพื่อพัฒนานักเรียนให้มีทักษะสำหรับศตวรรษที่ 21
-ได้นักศึกษาครูที่มีทักษะสำหรับศตวรรษที่ 21
ผลกระทบ (Impact) -นักเรียนมีทักษะสำหรับศตวรรษที่ 21 เพื่อยกระดับคุณภาพชั้นเรียนและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันสู่ระดับสากล
-มีการขยายการใช้นวัตกรรมเพื่อเป็นชุมชนการเรียนรู้ ขยายไปยังโรงเรียนในพื้นที่อื่นๆ
-นักศึกษามีทักษะสำหรับศตวรรษที่ 21 เพื่อยกระดับคุณภาพชั้นเรียนและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันสู่ระดับสากล
-มีการขยายการใช้นวัตกรรมเพื่อเป็นชุมชนการเรียนรู้ไปยังสาขาวิชาหรือคณะอื่นๆ
นำเข้าสู่ระบบโดย Nisakorn Nisakorn เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2562 22:56 น.