การบูรณาการพัฒนาดินปลูกพืชปลอดสารพิษ และการสร้างมูลค่าเพิ่มผักพื้นบ้านเพื่อยกระดับรายได้ของเกษตรกรผู้ปลูกผักบ้านเหล่าใหญ่ ตำบลฆ้องชัยพัฒนา อำเภอฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์

แบบเสนอโครงการ
การบูรณาการพัฒนาดินปลูกพืชปลอดสารพิษ และการสร้างมูลค่าเพิ่มผักพื้นบ้านเพื่อยกระดับรายได้ของเกษตรกรผู้ปลูกผักบ้านเหล่าใหญ่ ตำบลฆ้องชัยพัฒนา อำเภอฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์

1. ชื่อโครงการ

การบูรณาการพัฒนาดินปลูกพืชปลอดสารพิษ และการสร้างมูลค่าเพิ่มผักพื้นบ้านเพื่อยกระดับรายได้ของเกษตรกรผู้ปลูกผักบ้านเหล่าใหญ่ ตำบลฆ้องชัยพัฒนา อำเภอฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามคณะเทคโนโลยีการเกษตรศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย อำเภอฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์บ้านเหล่าใหญ่ ตำบลฆ้องชัยพัฒนา อำเภอฆ้องชัยผศ.ดร.พรพรรณ พัวไพบูลย์ ผศ.ทวีทรัพย์ ไชยรักษ์ นางสาวมนันยา นันทสารสาขาวิชาเทคโนโลยีการอาหาร สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ สาขาวิชาบริหารธุรกิจเกษตร เลขที่ 80 ถนนนครสวรรค์ ตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม 44000085-002-4943 081-346-5396089-555-7725อาจารย์ที่ปรึกษาโครงการผศ.ดร.พรพรรณ พัวไพบูลย์ ผศ.ทวีทรัพย์ ไชยรักษ์ นางสาวมนันยา นันทสาร
นักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ
1. นายวิศรุต ดียัง หมายเลขบัตรประชาชน 1400900283542สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ รายวิชาเทียบโอน 5002392 ปัญหาพิเศษทางพืชศาสตร์ จำนวนหน่วยกิต 3
2. น.ส.กานติมา ศรีศิลป์ หมายเลขบัตรประชาชน 1469900435421 สาขาวิชาเกษตรศาสตร์รายวิชาเทียบโอน 5002392 ปัญหาพิเศษทางพืชศาสตร์ จำนวนหน่วยกิต 3
3. น.ส.นริศรา สีผักผ่องหมายเลขบัตรประชาชน 1409901780661 สาขาวิชาเกษตรศาสตร์รายวิชาเทียบโอน 5002392 ปัญหาพิเศษทางพืชศาสตร์ จำนวนหน่วยกิต 3
4. นายอทิรัตน์แก้วทุ่งหมายเลขบัตรประชาชน 1441100025752 สาขาวิชาเกษตรศาสตร์รายวิชาเทียบโอน 5002392 ปัญหาพิเศษทางพืชศาสตร์ จำนวนหน่วยกิต 3
5. นายธนพงษ์เกษรมาลา หมายเลขบัตรประชาชน 1104300055103 สาขาวิชาเทคโนโลยีการอาหาร รายวิชาเทียบโอน 5007492 ปัญหาพิเศษทางเทคโนโลยีการอาหาร 1 จำนวนหน่วยกิต3
6. น.ส. หฤทัย แสนชัย หมายเลขบัตรประชาชน1440400150888สาขาวิชาเทคโนโลยีการอาหาร รายวิชาเทียบโอน 5007492 ปัญหาพิเศษทางเทคโนโลยีการอาหาร 1 จำนวนหน่วยกิต 3
7. น.ส.จิตรดาพร สุครีพ หมายเลขบัตรประชาชน1400900279103สาขาวิชาบริหารธุรกิจเกษตร รายวิชาเทียบโอน 5013380 ระเบียบวิธีวิจัยทางบริหารธุรกิจเกษตร จำนวนหน่วยกิต 3
8. น.ส.ฉวีวรรณมะกา หมายเลขบัตรประชาชน1400900278131 สาขาวิชาบริหารธุรกิจเกษตร รายวิชาเทียบโอน5013380 ระเบียบวิธีวิจัยทางบริหารธุรกิจเกษตร จำนวนหน่วยกิต 3

2. พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
กาฬสินธุ์ ฆ้องชัย

3. รายละเอียดชุมชน

บ้านเหล่าใหญ่ ตำบลฆ้องชัยพัฒนาอำเภอฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์ มีลักษณะพื้นที่ของหมู่บ้านติดกับที่ราบลุ่มริมแม่น้ำชี ซึ่งจะมีพื้นที่บริเวณที่ราบน้ำท่วมถึง หรือมีบึงโค้งของแม่น้ำชี ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า กุดโดน เนื่องจากลักษณะพื้นที่ติดริมน้ำ ที่เอื้อให้เกษตรกรในหมู่บ้านประกอบอาชีพปลูกผักเป็นอาชีพเสริมจากการทำนา และทำมาเป็นระยะเวลายาวนาน โดยปลูกผักตามฤดูกาล เช่นกวางตุ้ง คะน้า ผักชี ผักชีลาว ผักชีฝรั่ง ต้นหอม กะหล่ำ พริก งาดำ สลัด สะระแหน่ เป็นต้น มีสมาชิก ที่รวมกลุ่มประมาณ 30 คนจากการลงพื้นที่ พบว่า ในปัจจุบันได้มีการนำพื้นที่สาธารณะประโยชน์ของชุมชน มาจัดสรรให้สมาชิกทำการปลูกผักเพิ่มขึ้นนอกเหนือจากพื้นที่ของเกษตรกรเอง เนื่องจากเกษตรกรมีความเชี่ยวชาญในการปลูกผักมาช้านาน แต่ในอดีต การปลูกผักเป็นการใช้ปุ๋ยเคมีเพื่อเร่งการผลิต จากการให้ความรู้เบื้องต้นจากศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย อำเภอฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์ ได้มีการนำไปศึกษาดูงานด้านการผลิตผักปลอดสารพิษ ในพื้นที่จังหวัดมุกดาหาร กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกผัก จึงมีความสนใจในการพัฒนาและปรับเปลี่ยนรูปแบบการผลิตจากการใช้ปุ๋ยเคมี มาผลิตแบบพืชผักปลอดภัย เนื่องจากมีศักยภาพของแหล่งน้ำในพื้นที่ และความเชี่ยวชาญในการปลูกผักของเกษตรกรเป็นทุนเดิมแล้วนั้น จึงมีความคิดเห็นร่วมกันว่า หากปรับรูปแบบการผลิตเป็นแบบเกษตรปลอดภัยนั้น คาดว่าเกษตรกรจะสามารถทำได้และเป็นผลดีต่อสมาชิกในครอบครัวที่บริโภคผัก และผู้บริโภคอีกด้วย ส่วนด้านการตลาดนั้น จะมีแม่ค้าเข้ามารับซื้อผักในชุมชน หรือเกษตรกรในหมู่บ้านจะนำผักไปจำหน่ายยังตลาดชุมชนของหมู่บ้านเองตามแต่รอบการผลิต ซึ่งเกษตรกรจะมีรายได้ประมาณ 400 บาทต่อคนต่อสัปดาห์ประเด็นปัญหาคือปลูกได้แค่ ปีละครั้ง ไม่สามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี ชาวบ้านอยากมีรายได้ ปลูกได้ตลอดทั้งปีประเด็นปัญหาหลักของเกษตรกรผู้ปลูกผัก คือ เนื่องจากในปัจจุบันสามารถปลูกผักได้แต่ในฤดูหนาวเท่านั้น ไม่สามารถปลูกผักได้ตลอดทั้งปี เกษตรกรต้องการมีรายได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งปัญหาดังกล่าวเกิดจากการขาดองค์ความรู้ด้านการจัดการคุณภาพดินปลูกโดยไม่ใช้สารเคมี ขาดปัจจัยการผลิตด้านการความคุมคุณภาพดิน โรคและแมลง อีกทั้งในฤดูหนาวจะมีผลผลิตผักล้นตลาดเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้ราคาผักตกต่ำ หากมีองค์ความรู้ในด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าผัก สามารถส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการแปรรูปได้อีกช่องทางหนึ่งหากมีองค์ความรู้ในด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าผัก สามารถส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการแปรรูปได้อีกช่องทางหนึ่ง จากการศึกษาศักยภาพการผลิตชนิดของผัก ร่วมกับองค์ความรู้ด้านการแปรรูปของเกษตรกรในชุมชนแล้ว พบว่า เกษตรกรมีความสามารถในการแปรรูปผักด้วยวิธีการหมักดองเป็น ผักดองพื้นบ้าน (ส้มผัก) ซึ่งเป็นภูมิปัญญาพื้นบ้านของคนอีสานเพื่อยืดอายุการเก็บรักษาอาหาร อีกทั้งด้านการตลาดในชุมชน ผู้บริโภคให้ความนิยมรับประทานส้มผักเป็นจำนวนมาก ซึ่งการแปรรูปนี้ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องจักรและเทคโนโลยีขั้นสูงในการผลิต เกษตรกรสามารถทำในครัวเรือนได้ อีกทั้งจากงานวิจัยศึกษา พบว่า ส้มผักจากผักพื้นบ้าน เช่น ต้นหอม ผักกาดเขียวปลี กะหล่ำปลี เป็นอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายโดยมีเชื้อแบคทีเรียที่มีประโยชน์เปผ้นจำนวนมาก โดยเฉพาะในส้มผักจากต้นหอม (หนังสือพิมพ์คม ชัด ลึก, 2556) แต่จากปัญหาที่พบในด้านคุณภาพของผลิตภัณฑ์ คือ มาตรฐานการผลิตที่ด้อยคุณภาพ จึงส่งผลให้ผู้บริโภคยังไม่ให้การยอมรับ เนื่องจากบางรายเมื่อรับประทานเข้าไปแล้วเกิดอาการท้องเสีย ดังนั้น สาขาเทคโนโลยีการอาหาร จึงมีแนวคิดในการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ส้มผักดองพื้นบ้าน โดยการนำเอาเชื้อแบคทีเรียจากกรดแลคติกที่มีประโยชน์ และสามารถควบคุมคุณภาพ และความสะอาดของผลิตภัณฑ์ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคต่อผลิตภัณฑ์ที่มาจากภูมิปัญญาของท้องถิ่น ให้เกิดการยอมรับในวงกว้างเพิ่มมากขึ้น

4. ประเด็นปัญหาหลัก

5. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

6. องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม มีการจัดการเรียนการสอนในสาขาวิชาเกษตรศาสตร์สัตวศาสตร์ เทคโนโลยีการอาหาร เทคโนโลยีสารสนเทศการเกษตร บริหารธุรกิจเกษตร ในระบบการผลิตทางการเกษตร ซึ่งมีความหลากหลายในกระบวนการผลิตบัณฑิตตั้งแต่กระบวนการต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ซึ่งนักศึกษาจะได้รับความรู้ทั้งภาคทฤษฏีและปฏิบัติภายในพื้นที่ของมหาวิทยาลัยเท่านั้นการบูรณาการการเรียนการสอนในรูปแบบโครงการ (Project) ร่วมกับชุมชน จะช่วยให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้ตั้งแต่สภาพปัญหาของชุมชนและเรียนรู้ที่จะนำความรู้ที่ได้เรียนมาจากมหาวิทยาลัยเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาจากสภาพจริง เป็นการเรียนรู้ที่สามารถต่อยอดทางความคิดและนำเอาทรัพยากรที่มีในท้องถิ่น เกิดการแลกเปลี่ยนภูมิปัญญาด้านการเกษตร และนำไปสู่การเรียนรู้อย่างยั่งยืนทั้งกับตัวนักศึกษาเองและเกษตรกรในชุมชน อีกทั้งยังสามารถที่จะสร้างอาชีพให้กับนักศึกษาได้ในอนาคตด้วย โดยกิจกรรมที่ 1 คือ การพัฒนาดินปลูกพืชปลอดสารพิษ นักศึกษาสาขาเกษตรศาสตร์จะต้องเข้าไปเรียนรู้กับชุมชนเพื่อหาแนวทางแก้ปัญหาดิน โดยการจัดการธาตุอาหารในดินสำหรับปลูกพืชผักพื้นบ้านปลอดสารเคมี เพื่อให้ได้ดินปลูกพืชที่มีคุณภาพดี มีธาตุอาหารที่เหมาะสมสำหรับการปลูกผักพื้นบ้าน เพื่อลดการใช้สารเคมีในชุมชนพร้อมถ่ายทอดองค์ความรู้ที่ได้รับให้กับเกษตรกรในชุมชนกิจกรรมที่ 2 คือ การสร้างมูลค่าเพิ่มผักพื้นบ้าน ด้วยการนำวิทยาศาสตร์เข้ามาช่วยในกระบวนการแปรรูปผักพื้นบ้าน เป็นผักดองพื้นบ้าน (ส้มผัก) ด้วยกล้าเชื้อแบคทีเรียกรดแลคติก สามารถควบคุมคุณภาพ และความสะอาดของผลิตภัณฑ์ เพื่อพัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์ที่มาจากภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งยังรวมถึงการสำรวจความคิดเห็นของกลุ่มผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการพัฒนาจากโครงการนี้ โดยนักศึกษาสาขาบริหารธุรกิจเกษตร ดำเนินการสำรวจความต้องการของตลาด เป็นกิจกรรมในส่วนของปลายน้ำของโครงการ

7. วัตถุประสงค์

วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อพัฒนาดินปลูกสำหรับผักพื้นบ้านปลอดสารเคมี ที่เหมาะสมกับบริบทในพื้นที่บ้านเหล่าใหญ่ อ.ฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์

1.ได้ผลิตภัณฑ์ดินปลูกที่เหมาะสมสำหรับการปลูกพืชปลอดสารพิษ จำนวน 3 สูตร 2. เกษตรกรร้อยละ 50 นำองค์ความรู้ที่ได้รับการถ่ายทอดไปปฏิบัติ

0.00 3.00
2 2. เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ผักดองพื้นบ้าน (ส้มผัก) ที่ได้จากกระบวนการปลูกแบบปลอดสารเคมี ในพื้นที่บ้านเหล่าใหญ่ อ.ฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์

ได้ผลิตภัณฑ์ส้มผัก (ส้มผักกาด ส้มผักต้นหอม ส้มผักแป้น ส้มผักแป้นใส่กะหล่ำปลี) ที่ผลิตจากกล้าเชื้อแบคทีเรียกรดแลคติก 4 ชนิดผลิตภัณฑ์ ได้บรรจุภัณฑ์สำหรับบรรจุส้มผัก (อะลูมิเนียมฟอยด์ซิปล้อค กระป๋องพลาสติกแบบฝาดึงเปิด กล่องพลาสติกใส) 3 บรรจุภัณฑฺ์

0.00 4.00
3 3.เพื่อยกระดับรายได้ของเกษตรกรผู้ปลูกผักในพื้นที่บ้านเหล่าใหญ่ อ.ฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์

มีรายได้จากการขายผักเพิ่มมากขึ้น 42,000 บาทต่อปีต่อคน มีรายได้จากการขายผักดองเพิ่มมากขึ้น 36,000 บาทต่อปีต่อคน

0.00

8. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)

9. ระยะเวลา

10. วิธีดำเนินงาน

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1. การพัฒนาดินปลูกพืชปลอดสารพิษ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1. การพัฒนาดินปลูกพืชปลอดสารพิษ
วัตถุประสงค์
    รายละเอียดกิจกรรม
    กิจกรรมที่ 1. การพัฒนาดินปลูกพืชปลอดสารพิษ
    ขั้นตอน/วิธีดำเนินการ ระยะเวลา กลุ่มเป้าหมาย สถานที่ดำเนินงาน
    1.ประชุมเตรียมความพร้อมพฤศจิกายน2562
    2. สำรวจพื้นที่เพื่อวางแผน ธันวาคม 2562
    3. ค้นคว้าเอกสาร รวบรวมข้อมูล มกราคม 2563
    4. สำรวจข้อมูล คัดเลือกและเก็บตัวอย่างดินก่อนศึกษา กุมภาพันธ์ 2563
    5. ดำเนินโครงการ โดยนักศึกษาและอาจารย์ที่ปรึกษาดำเนินกิจกรรมในพื้นที่ของชุมชนตามโครงการที่นำเสนอเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์และตัวชี้วัด โดยการทดสอบเพื่อปรับปรุงแร่ธาตุสารอาหารในดิน และทดสอบการผลิตแบบแปลงปลูกที่มีการควบคุม เช่น ระบบแปลงยกสูง หรือแปลงที่ควบคุมปัจจัยการผลิต เช่นการทำแปลงแบบรองพื้น เพื่อแก้ไขปัญหาการผลิตในฤดูฝนที่จะมีโรคและแมลงจำนวนมากมีนาคม-มิ.ย. 2563
    6. ติดตามและประเมินผล โดยนักศึกษาลงตรวจงานของพื้นที่ในชุมชน และนำเสนอรายงาน โครงการเพื่อประเมินผลการดำเนินกิจกรรมโครงงานกรกฏาคม 2563
    7. ประชุมสรุปผลการประเมินโครงการและเผยแพร่สู่สาธารณะ สิงหาคม -กันยายน 2563
    ระยะเวลาดำเนินงาน
    20 พฤศจิกายน 2562 ถึง 30 กันยายน 2563
    ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
    ผลผลิตเชิงปริมาณ
    - ผลิตภัณฑ์ดินปลูก 3 สูตร
    - รายได้จากการขายผักและดินปลูกเพิ่มขึ้น 42,000 บาทต่อคนต่อปี
    เชิงคุณภาพ
    - ด้านเศรษฐกิจ เกิดการสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้แก่สมาชิกในชุมชนเพิ่มมากขึ้น
    - ด้านสังคมและชุมชน ก่อให้เกิดการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน ช่วยกันลดการใช้สารเคมีในชุมชน เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

    ผลลัพธ์ของโครงงานต่อนักศึกษา และต่อชุมชน (การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นก่อนและหลังรวมถึงความยั่งยืนที่เกิดจากการดำเนินโครงการ)
    สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ โดยอาจารย์ประจำสาขาวิชา ร่วมกับนักศึกษาสาขาวิชาเกษตรศาสตร์ ชั้นปีที่ 3 จำนวน 2 คน ลงพื้นที่เพื่อดำเนินโครงการพัฒนาด้านการเกษตรในเรื่องของปัจจัยการผลิต (ดินปลูก) ด้านการเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ลดการใช้สารเคมีทางการเกษตร มุ่งเน้นการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่ปลอดภัยในด้านการผลิต และก่อให้เกิดความปลอดภัยต่อผู้ผลิตและผู้บริโภค
    นักศึกษาได้เรียนรู้การทำงานร่วมกับคนในชุมชน เรียนรู้การแก้ไขปัญหา ทั้งในเชิงวิชาการ และเชิงสังคม
    ทรัพยากรอื่น ๆ
    ห้องปฏิบัติการด้านดิน คณะเทคโนโลยีการเกษตร
    ภาคีร่วมสนับสนุน
    กศน. อำเภอฆ้องชัย
    สวนปันบุญ เกษตรอินทรีย์วิถีสุขภาพ
    ไร่คุณพ่อ
    รายละเอียดงบประมาณ
    ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
    ค่าวัสดุสำนักงาน

    ค่าวัสดุสำนักงาน กระดาษ หมึกปริ้น

    1 ชุด 400 10 4,000
    ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้

    - ค่าวัสดุในการอบรมเชิงปฏิบัติการถ่ายเทคโนโลยี ถุงดำ แกลบดิบ แกลบดำ หัวเชื้อจุลินทรีย์ กากน้ำตาล ขี้อ้อย พลาสติกดำปูพื้น แสลนบังแสง พลาสติกคลุมแปลง

    30 คน 500 1 15,000
    อื่น ๆ

    - ค่าวัสดุทางการเกษตร ในการทดลอง แกลบดิบ 1 รถ x 6,000 บ. แกลบดำ 1 รถ x 6,000 บ. ขี้อ้อย 1 รถ x 8,000 บ.

    1 คน 20,000 1 20,000
    ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้

    ค่าวัสดุวิทยาศาสตร์ ในห้องปฏิบัติการ สารเคมี

    1 คน 6,600 1 6,600
    ค่าตอบแทนการประสานงาน

    - ค่าเบี้ยเลี้ยงอาจารย์ที่ปรึกษาและอาจารย์นิเทศน์ (3 คน x 30 วัน x 240 บาท=21,600)

    3 คน 240 30 21,600
    ค่าตอบแทนการประสานงาน

    - ค่าเบี้ยเลี้ยงนักศึกษา (4 คน x 90 วัน x 180 บาท=64,800)

    4 คน 180 90 64,800
    ค่าที่พักตามจริง

    ค่าที่พัก ค่าอาหาร ในชุมชน 30 วันๆ ละ 70 บาท จำนวน 4 คน (8,400)

    4 คน 70 30 8,400
    ค่าวัสดุสำนักงาน

    ค่าจัดทำรายงานนำเสนอโครงงาน

    1 ชุด 3,000 1 3,000
    ค่าพาหนะเดินทาง - รถยนต์ส่วนบุคคล

    ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง 20 ครั้งๆ ละ 500 บาท

    20 ครั้ง 500 1 10,000
    ค่าอาหาร

    - ค่าอาหารกลางวัน ผู้เข้ารับการอบรม 10 ครั้ง จำนวน 30 คน ราคา 100 บาท (10x30x100=30,000)

    30 คน 100 10 30,000
    ค่าอาหาร

    - ค่าอาหารว่าง ผู้เข้ารับการอบรม 10 ครั้ง จำนวน 30 คน ราคา 50 บาท (10x30x50=15,000)

    30 คน 50 10 15,000
    อื่น ๆ

    ค่าตรวจวิเคราะห์ ต่างๆ ค่าจ้างเหมาบริการ (ค่าจ้างเหมาวิเคราะห์คุณสมบัติทางภายภาพและเคมีของดินเบื้องต้น และสิ้นสุดการทดลอง) (4 ชุด X 6,000 = 24,000 บาท)

    4 ชุด 6,000 1 24,000
    ค่าถ่ายเอกสาร

    ค่าจ้างจัดทำเอกสารประกอบการฝึกอบรม+แผ่นป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ 10 ครั้ง จำนวน 30 คน ราคา 25 บาท (10x30x25 = 7500 บาท)

    30 คน 25 10 7,500
    ค่าตอบแทนการประสานงาน

    ค่าจ้างเหมาการจัดประชุมทีมวิจัย เตรียมแผนงาน ติดตามงาน และสรุปผลการดำเนินงาน เดินทางไปราชการ จำนวน 10 ครั้งๆ ละ 2,500 บาท (10X2,500=25,000)

    1 ครั้ง 2,500 10 25,000
    รวมค่าใช้จ่าย 254,900

    กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2. การแปรรูปส้มผัก (ผักดอง) จากกล้าเชื้อแบคทีเรียกรดแลคติก

    ชื่อกิจกรรม
    กิจกรรมที่ 2. การแปรรูปส้มผัก (ผักดอง) จากกล้าเชื้อแบคทีเรียกรดแลคติก
    วัตถุประสงค์
      รายละเอียดกิจกรรม
      1. ประชุมเตรียมความพร้อม
      ประชุมคณะกรรมการดำเนินงาน ประกอบด้วยอาจารย์ที่ปรึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีการอาหาร และทีมนักศึกษาที่จะลงพื้นที่ปฏิบัติงาน ชั้นปีที่ 3 จำนวน 3 คน เพื่อคัดเลือกกลุ่มชุมชนที่มีคุณสมบัติ เข้าร่วมโครงงาน

      1.1 ลงพื้นที่เพื่อสำรวจความต้องการ
      นักศึกษาและอาจารย์ที่ปรึกษา ลงพื้นที่ครั้งที่ 1 เพื่อศึกษาข้อมูลบริบทชุมชน บ้านเหล่าใหญ่ ตำบลฆ้องชัยพัฒนา อำเภอฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์ และนำโจทย์ปัญหามาแก้ปัญหา

      1.2 นักศึกษาจัดทำโครงร่างโครงงานเสนออาจารย์ที่ปรึกษา
      - เสนอโครงงานเพื่อขออนุมัติ
      - เตรียมดำเนินโครงงาน: เตรียมวัตถุดิบ กล้าเชื้อ วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ
      - ประสานเตรียมสถานที่
      2. ดำเนินโครงการ
      2.1 ประชาสัมพันธ์โครงการ โดยนักศึกษาลงพื้นที่ครั้งที่ 2 ร่วมกับตัวแทนชุมชนบ้านเหล่าใหญ่ ตำบลฆ้องชัยพัฒนา อำเภอฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์ เพื่อเข้าไปประชาสัมพันธ์โครงการให้คนในชุมชนได้รับทราบ สร้างความเข้าใจร่วมกันกับสมาชิกในชุมชนถึงการจัดโครงการในครั้งนี้

      2.2 นักศึกษาดำเนินโครงการ “การแปรรูปส้มผัก (ผักดอง) จากกล้าเชื้อแบคทีเรียกรดแลคติก” โดยใช้วัตถุดิบจากชุมชน บ.เหล่าใหญ่ และนำองค์ความรู้ทางเทคโนโลยีการอาหาร การแปรรูปอาหารหมักด้วยกล้าเชื้อบริสุทธิ์มาช่วยพัฒนาผลิตภัณฑ์โดยมีอาจารย์ที่ปรึกษาคอยให้คำปรึกษา
      2.2.1 นักศึกษาลงพื้นที่ครั้งที่ 3 ในการฝึกปฏิบัติให้ชุมชนมีการปฏิบัติอย่างถูกต้องภายหลังการเก็บเกี่ยวพืชผัก
      2.2.2 นักศึกษาและอาจารย์ที่ปรึกษานำองค์ความรู้เรื่องวิธีควบคุมและใช้เชื้อจุลินทรีย์บริสุทธิ์กลุ่มแบคทีเรียกรดแลคติกในการผลิตส้มผัก (ผักดอง) มาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของชุมชน ด้วยการ:
      - ผลิตกล้าเชื้อผงจากแบคทีเรียกรดแลคติก แลคโตบาซิลลัส แพลนทารัม (Lactobacillus plantarum)
      - พัฒนาสูตรส้มผัก (ผักดอง) ให้เหมาะสมกับวัตถุดิบที่มีในชุมชน ได้แก่ ส้มผักจาก ต้นหอม ผักกาดเขียวปลี ส้มผักเสี้ยน (ผักเสี้ยนดอง) ส้มผักแป้น (ผักกุ่ยช่ายดอง) ส้มผักแป้นใส่กะหล่ำปลี โดยนักศึกษาร่วมพัฒนากับชุมชน
      - พัฒนาส้มผักของชุมชนให้สามารถเป็นผลิตภัณฑ์ที่จำหน่ายได้ มีคุณภาพและปลอดภัย จากการจัดให้สถานที่ผลิตของชุมชนมีหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตอาหาร (GMP (Good Manufacturing Practice)
      - พัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมในการบรรจุส้มผัก เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ส้มผักมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค มีรูปแบบที่ทันสมัยดึงดูดใจผู้บริโภค โดยนักศึกษาร่วมพัฒนากับชุมชน
      -ขั้นตอนการสำรวจความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์ใหม่ และโอกาสทางการตลาด (โดยนักศึกษา สาขาบริหารธุรกิจเกษตร ชั้นปีที่ 3 จำนวน 2 คน)
      3. ติดตามผลและประเมินผล
      3.1 นักศึกษานำเสนอรายงานโครงงาน ในรูปแบบรายงาน
      Video และ Power Point ต่ออาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อประเมินผลการดำเนินกิจกรรมโครงงาน 50 คะแนน สามารถเทียบโอนในรายวิชาปัญหาพิเศษทางเทคโนโลยีการอาหาร 1
      3.2 มหาวิทยาลัยร่วมกับคณะกรรมการ สป.อว. ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมเยียนชุมชนเพื่อประเมินผลตามตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ
      4. ประชุมสรุปผลการประเมินผลโครงการและเผยแพร่สู่สาธารณะ
      ระยะเวลาดำเนินงาน
      20 พฤศจิกายน 2562 ถึง 30 กันยายน 2563
      ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
      ผลผลิตเชิงปริมาณ
      - ได้ผลิตภัณฑ์ส้มผัก (ส้มผักกาด ส้มผักต้นหอม ส้มผักแป้น ส้มผักแป้นใส่กะหล่ำปลี) ที่ผลิตจากกล้าเชื้อแบคทีเรียกรดแลคติก 4 ผลิตภัณฑ์
      - ได้บรรจุภัณฑ์สำหรับบรรจุส้มผัก (อะลูมิเนียมฟอยด์ซิปล้อค กระป๋องพลาสติกแบบฝาดึงเปิด กล่องพลาสติกใส) 3 ชนิดบรรจุภัณฑ์
      - ครัวเรือนมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการแปรรูปส้มผักจำหน่าย 36,000 บาทต่อปีต่อครัวเรือน
      - ผลสำรวจด้านการตลาดถึงความต้องการของผู้บริโภคที่มีต่อผักดองพื้นบ้าน และโอกาสทางการตลาดของผลิตภัณฑ์ใหม่
      เชิงคุณภาพ
      - ผลิตภัณฑ์ส้มผักของชุมชนที่ได้มีคุณภาพ ยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ส้มผักของชุมชน มีประโยชน์ต่อผู้บริโภค ปลอดภัย ได้รับการยอมรับจากผู้บริโภค
      - บรรจุภัณฑ์ส้มผักที่ปลอดภัย สะอาด ได้มาตรฐานที่ผู้บริโภคยอมรับ
      ผลลัพธ์
      1) ชุมชนได้นำพืชผักที่ปลูกเพื่อจำหน่ายอย่างเดียวมาแปรรูปเป็นส้มผัก ช่วยความเสี่ยงจากราคาพืชผักตกต่ำ และเกิดการเน่าเสียเมื่อจำหน่ายไม่หมด
      2) ชุมชนได้แปรรูปส้มผักจากกล้าเชื้อแบคทีเรียกรดแลคติก ช่วยเพิ่มคุณภาพและมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์
      3) ชุมชนมีช่องทางหารายได้เสริมจากการแปรรูปส้มผักจำหน่าย นอกเหนือจากการปลูกพืชผักจำหน่าย

      ผลลัพธ์ของโครงงานต่อนักศึกษา และต่อชุมชน (การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นก่อนและหลังรวมถึงความยั่งยืนที่เกิดจากการดำเนินโครงการ)
      ด้านนักศึกษา: ได้เกิดการเรียนรู้จริง ฝึกปฏิบัติจริง นำองค์ความรู้ที่มีมาใช้จริง ในการนำโจทย์ปัญหาจากชุมชนมาแก้ปัญหาด้วยองค์ความรู้ในสาขาวิชาที่กำลังศึกษา เกิดภาวะความเป็นผู้นำ มีทักษะการทำงานเป็นทีมระหว่างทีมนักศึกษาและชุมชน เกิดทักษะการเป็นผู้ประกอบการที่สามารถพัฒนาเป็นอาชีพสร้างรายได้ได้ ตระหนักและเห็นคุณค่าของชุมชนท้องถิ่น
      ด้านชุมชน: เพิ่มช่องทางสร้างรายได้และอาชีพจากการแปรรูปวัตถุดิบที่ปลูกให้มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น ลดความเสี่ยงต่อการขาดรายได้จากการปลูกพืชผักขายเมื่อสินค้ามีราคาตกต่ำและเน่าเสีย ได้ผลิตสินค้าที่มีนวัตกรรม มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค มีศักยภาพในการแข่งขันทางการตลาดได้สูง เกิดทักษะการเป็นผู้ประกอบการ ที่ช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจของชุมชนให้ยั่งยืนต่อไป
      ทรัพยากรอื่น ๆ
      ห้องปฏิบัติการด้านเชื้อทางเทคโนโลยีการอาหาร
      ภาคีร่วมสนับสนุน
      สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม
      รายละเอียดงบประมาณ
      ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
      ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้

      ค่าสายพันธุ์จุลินทรีย์ (4,000) - ค่าอาหารเลี้ยงเชื้อ (6,000) - ค่าสารเคมี (9,000) - วัตถุดิบ (8,000) - ค่าอุปกรณ์ เครื่องมือ (20,000)

      1 ชุด 47,000 1 47,000
      ค่าถ่ายเอกสาร

      ค่าจัดทำเอกสารคู่มือประกอบการอบรม 30 ชุดๆ ละ 50 บาท (1,500)

      30 ชุด 50 1 1,500
      อื่น ๆ

      - ค่าตรวจวิเคราะห์คุณภาพผลิตภัณฑ์ 4 ผลิตภัณฑ์ (ทางเคมี กายภาพ จุลินทรีย์ และประสาทสัมผัส)

      4 ชุด 5,000 1 20,000
      ค่าอาหาร

      ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 10 วันๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 100 บาท จำนวน 30 คน (10*100*30) (30,000)

      30 คน 100 10 30,000
      ค่าอาหาร

      ค่าอาหารว่าง จำนวน 10 วันๆ ละ 2 มื้อๆ ละ 30 บาท จำนวน 30 คน (10*2*30*30) (18,000)

      30 คน 60 10 18,000
      ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้

      ค่าวัสดุ (ต่างๆที่ใช้ในการถ่ายทอด ทั้งของโครงงานนักศึกษาและวัสดุที่ใช้ในแต่ละกิจกรรม) - เครื่องครัว (10,000) - บรรจุภัณฑ์ (11,800)

      1 ชุด 21,800 1 21,800
      ค่าตอบแทนการประสานงาน

      ค่าอาหาร และค่าที่พักในชุมชน 30 วันๆ ละ 70 บาท จำนวน 4 คน (8,400)

      4 คน 70 30 8,400
      ค่าตอบแทนการประสานงาน

      ค่าเบี้ยเลี้ยงนักศึกษาลงพื้นที่ (5 คน*120 วัน*180 บาท) (64,800)

      4 คน 180 90 64,800
      ค่าตอบแทนการประสานงาน

      ค่าเบี้ยเลี้ยอาจารย์ที่ปรึกษาและอาจารย์นิเทศน์ 3 คนๆ ละ 240 บาท 30 วัน (3*240*30 วัน) (21,600)

      3 คน 240 30 21,600
      ค่าวัสดุสำนักงาน

      ค่าจัดทำรายงาน

      1 ชุด 2,000 1 2,000
      ค่าพาหนะเดินทาง - รถยนต์ส่วนบุคคล

      ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง 20 ครั้งๆละ 500 บาท

      1 คน 500 20 10,000
      รวมค่าใช้จ่าย 245,100

      รวมงบประมาณทุกกิจกรรมของแผนการดำเนินงาน จำนวน 500,000.00 บาท

      ค่าตอบแทนค่าใช้สอยค่าวัสดุอื่น ๆรวมเงิน
      ค่าใช้จ่าย (บาท) 206,200.00 130,400.00 99,400.00 64,000.00 500,000.00
      เปอร์เซ็นต์ (%) 41.24% 26.08% 19.88% 12.80% 100.00%

      11. งบประมาณ

      500,000.00บาท

      12. การติดตามประเมินผล

      ต่อชุมชนต่อนักศึกษา
      ผลผลิต (Output) ผลิตภัณฑ์ดินปลูกสำหรับพืชปลอดสารพิษ 3 สูตร
      ผลิตภัณฑ์ผักดองพื้นบ้าน (ส้มผัก) ด้วยกล้าเชื้อแบคทีเรียกรดแลคติก จำนวน 4 ผลิตภัณฑ์ พร้อมบรรจุภัณฑ์
      ข้อมูลความต้องการของผู้บริโภค ทัศนคติ ความพึงพอใจ ที่มีต่อผลิตภัณฑ์ผักดองพื้นบ้าน (ส้มผัก)
      - นักศึกษาสาขาเกษตรศาสตร์ได้ทำการทดลอง แก้ไขปัญหาเพื่อปรับปรุงคุณภาพดินให้มีความเหมาะสมต่อศักยภาพเชิงพื้นที่และชนิดของผักในท้องถิ่น ได้องค์ความรู้ทางวิชาการ และการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับเกษตรกรในชุมชน
      - นักศึกษาสาขาเทคโนโลยีการอาหาร ได้องค์ความรู้ในการทดลองแปรรูปผักดองพื้นบ้าน โดยนำวิทยาศาสตร์ (กล้าเชื้อแบคทีเรียจากกรดแลคติก) เข้ามาช่วยในการควบคุมคุณภาพผลผลิต และสามารถถ่ายทอดให้เกษตรกรไปประกอบเป็นอาชีพ ต่อไปได้ เกิดการเรียนรู้แลกเปลี่ยนความรู้ของนักศึกษา และภูมิปัญญาของคนในชุมชน สามารถนำไปต่อยอดเป็นอาชีพได้ในอนาคต
      และสามารถเทียบโอนการปฏิบัติงาน ในรายวิชาปัญหาพิเศษ 1
      - นักศึกษาสาขาบริหารธุรกิจเกษตร ได้องค์ความรู้ด้านการตลาดของผลิตภัณฑ์ผักดองพื้นบ้าน ได้เห็นโอกาสทางการตลาดของผลิตภัณฑ์ที่มาจากภูมิปัญญาพื้นบ้าน สามารถนำไปพัฒนาเป็นอาชีพทางธุรกิจเกษตรต่อไปในอนาคต
      ผลลัพธ์ (Outcome) เกษตรกรสามารถปลูกผักได้ต่อเนื่อง ตลอดปี มีรายได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
      เกษตรกรมีความรู้ในการแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่า เป็นผักดอง (ส้มผัก) ที่ได้คุณภาพ ผู้บริโภคมั่นใจในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์จากเกษตรกรหมู่บ้านเหล่าใหญ่ สามารถพัฒนาเป็นสินค้าประจำหมู่บ้านได้ต่อไปในอนาคต
      นักศึกษาทุกสาขาวิชาเกิดความมั่นใจในการอยู่ร่วมกับชุมชน และการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการเกษตรให้กับเกษตรกรในชุม สามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่เกิดขึ้นได้ และนำไปปฏิบัติในชุมชนของตนเองต่อไปในอนาคต
      ผลกระทบ (Impact) เกษตรกรลดการใช้สารเคมีในการปลูกผัก สุขภาพของคนในชุมชนดีขึ้น สิ่งแวดล้อม แหล่งน้ำในชุมชนปลอดภัยจากสารเคมี ยาปราบศัตรูพืช จากการเข้าร่วมกิจกรรม จะสามารถนำความรู้ที่ได้จากสภาพปัญหาจริงไปใช้เทียบโอนในการคิดค้นหัวข้อในรายวิชาปัญหาพิเศษ 1 ที่ปัญหามาจากชุมชนและได้ลงมือปฏิบัติเพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ได้เรียนรู้การเรียนแบบ Project base ที่เป็นพื้นฐานของการทำงานร่วมกันในสังคม ก่อนที่จะจบการศึกษาออกไปปฏิบัติงานจริงในหน่วยงานต่างๆ ทั้งในและนอกภาคเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ
      นำเข้าสู่ระบบโดย manaya manaya เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2562 21:25 น.