โครงการพัฒนาระบบการผลิตและพืชพันธุ์เพื่อความมั่นคงของชุมชน

แบบเสนอโครงการ
โครงการพัฒนาระบบการผลิตและพืชพันธุ์เพื่อความมั่นคงของชุมชน

1. ชื่อโครงการ

โครงการพัฒนาระบบการผลิตและพืชพันธุ์เพื่อความมั่นคงของชุมชนกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นคณะศึกษาศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นชุมชนโนนหนองลาดนายสวาท อุปฮาด174 ม.7 ตำบลบ้านขาม อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น 401400611439940นายเดชา ต้นกันยา
นายูชาติ รักษาเคน
นางสาวสมเพชร อุสาย
นางสาวสุนันทา บุญคง
นางอมรรัคน์ อ่อนศรี
นางสำราญ ศรีพลลา

2. พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
ขอนแก่น น้ำพอง บ้านขาม

3. รายละเอียดชุมชน

ชุมชนโนนหนองลาดเป็นคุ้มหนึ่งของบ้านโนนเชือก หมู่ที่ 7 ตำบลบ้านขาม อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น มีบ้านเรือนรวมกันทั้งสิ้น 36 หลังคาเรือน มีประชากรทั้งสิ้น 130 คน สภาพทั่วไปของพื้นที่เป็นที่ลุ่มติดบึง เรียกว่า บึงปากเขื่อน อยู่ทางทิศตะวันออก ในทิศตะวันตกเป็นลำห้วย เรียกว่า ห้วยหนองปลา ลำน้ำทั้งสองไหลลงสู่ลำน้ำพอง ประชาชนในชุมชนส่วนใหญ่ปรนะกอบอาชีพเกษตรกรรม ร้อยละ 95 รองลงมาคือ รับจ้าง ร้อยละ 5พื้นที่ชุมชนโนนหนองลาดเป็นพื้นที่รองรับน้ำเป็นพื้นที่ชุมชนโนนหนองลาดเป็นแก้มลิงของลำน้ำพอง ทำให้ชุมชนกลายเป็นพื้นที่เสี่ยงถูกน้ำท่วมซ้ำซากและกลายเป็นปัญหาของชุมชนมาโดยตลอดเป็ชุมชนที่ขาดความมั่นคงทั้งระบบน้ำและระบบการผลิตอาหารพืชผัก ปีไหนเกิดภัยพิบัติน้ำท่วมก็จะทำให้เกิดปัญหาอย่างรุนแรง ไม่มีอาหารเพียงพอ และไม่มีรายได้อื่นมาทดแทนขาดปัจจัยการผลิตทั้งเมล็ดพันธ์ุและระบบน้ำ ทำให้หลายครอบครัวต้องอพยพไปทำงานต่างถิ่น ระบบการผลิตในชุมชนที่มีอยู่จึงเป็นปัญหาที่จะส่งผลต่อีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในชุมชนดังนั้น การพัฒนาระบบการผลิตและเมล็ดพันธุ์พืชผักจึงเป็นความต้องการที่สำคัญที่สุดของประชาชนในพื้นที่ ซึ่งจะช่วยให้ประชาชนมีหลักประกันในการดำเนินชีวิตสามารถผลิตสินค้า และสร้างรายได้ของครอบครัวได้อย่างพอเพียง เนื่องจากจะช่วยให้ชุมชนมีปัจจัยการผลิตที่เหมาะสมเป็นของชุมชนเอง ซึ่งจะนำไปสู่การพึ่งตนเองของประชาชนในชุมชนได้อย่างยั่งยืนในที่สุด

4. ประเด็นปัญหาหลัก

5. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

6. องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

การจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อการเกษตร และธนาคารเมล็ดพันธุ์พืชเพื่อสร้างความสามารถในการพึ่งตนเองทางการการเกษตร และความมั่นคงทางด้านอาหารของประชาชนในชุมชน

7. วัตถุประสงค์

วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาระบบการผลิตพืชผักโดยองค์กรชุมชน

ประชาชนในชุมชนทุกคนสามารถเข้าถึงแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรได้อย่างยั่งยืน

50.00 1.00
2 เพื่อพัฒนาธนาคารเมล็ดพันธุ์พืชผักในชุมชน

ประชาชนสามารถนำเอาเมล็ดพันธุ์พืชผักไปหมุนเวียนใช้ในการเพาะปลูกของตนเองได้ตลอดทั้งปี

50.00 1.00

8. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ประชาชนทุกหลังคาเรือนในชุมชน 130

9. ระยะเวลา

10. วิธีดำเนินงาน

กิจกรรมที่ 1 การพัฒนาระบบน้ำเพื่อการเกษตรในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
การพัฒนาระบบน้ำเพื่อการเกษตรในชุมชน
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อพัฒนาระบบการผลิตพืชผักโดยองค์กรชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม
1.จัดทำระบบแทงค์น้ำ จำนวน 1 ชุด. เป็นเงิน15,000.- บาท
2.จัดทำระบบปั๊มน้ำไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ จำนวน 1 ชุด. เป็นเงิน100,000.- บาท
3.ขุดบ่อน้ำตื้น จำนวน 1 บ่อ. เป็นเงิน25,000.- บาท
4.การพัฒนาระบบการบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตร. เป็นเงิน50,000.-
ระยะเวลาดำเนินงาน
2 ธันวาคม 2562 ถึง 31 มีนาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
ผลผลิต: ชุมชนมีระบบน้ำสนับสนุนการเพาะปลูกอย่างพอเพียงตลอดทั้งปี จำนวน 1 ระบบ

ผลลัพธ์: ประชาชนมีรายได้หมุนเวียนเพื่อใช้จ่ายในครัวเรือยได้ตลอดทั้งปีและสามารถลดปัญหาความยากจนและภาวะหนี้สินของประชาชนทุกหลังคาเรือนลงได้
ทรัพยากรอื่น ๆ
ภาคีร่วมสนับสนุน
ประชาชนในพื้นที่ทุกหลังคาเรือนร่วมสนับสนุนแรงงานในการพัฒนาาระบบน้ำเพื่อการเกษตร
รายละเอียดงบประมาณ
ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
รวมค่าใช้จ่าย 0

กิจกรรมที่ 2 การพัฒนาธนาคารเมล็ดพันธ์

ชื่อกิจกรรม
การพัฒนาธนาคารเมล็ดพันธ์
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อพัฒนาธนาคารเมล็ดพันธุ์พืชผักในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม
จัดซื้อเมล็ดพันธุ์พืชผัก จำนวน 10 ชนิดๆ ละ 5,000.- บาท. รวมเป็นเงิน 50,000.- บาท
จัดซื้ออุปกร์จัดเ้ก็บเมล็ดพันธ์ุ. จำนวน 2 ชุดๆ ละ 10,000.- บาท รวมเป็นเงิน 20,000.- บาท
จัดซื้ออุปกรณ์บรรจุภัณฑ์เป็นเงิน. 20,000.- บาท
การพัฒนาการบริหารงานระบบการบริหารงานธนาคารเมล็ดพันธ์ุ.เป็นเงิน.150,000.- บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
2 ธันวาคม 2562 ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
ผลผลิต: มีธนาคารเมล็ดพันธุ์ในชุมชน เพื่อสนับสนุนการเพาะผลูกของประชาชนอย่างเพียงพอตลอดทั้งปี จำนวน 1 แห่ง
ผลลัพธ์: ประชาชนสามารถลดต้นทุนในการเพาะปลูกและช่วยให้ประชาชนมีรายไดเ้หมุนเวียนจากการเพาะปลูกได้ตลอดทั้งปี ซึ่งจะช่วยให้ประชาชนสามารถลดภาระหนี้สินของครัวเรือนลงได้อีกด้วย
ทรัพยากรอื่น ๆ
ภาคีร่วมสนับสนุน
คณะวิชาต่างๆ ส่งผู้เชี่ยวชาญไปให้ความรู้ในการพัฒนาการดำเนินงานธนาคารเมล็ดพันธุ์ให้แก่ประชาชนในชุมชน
รายละเอียดงบประมาณ
ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
รวมค่าใช้จ่าย 0

รวมงบประมาณทุกกิจกรรมของแผนการดำเนินงาน จำนวน 430.00 บาท

รวมเงิน
ค่าใช้จ่าย (บาท) 0.00
เปอร์เซ็นต์ (%) 100.00%

11. งบประมาณ

430,000.00บาท

12. การติดตามประเมินผล

ต่อชุมชนต่อนักศึกษา
ผลผลิต (Output) ชุมชนมีระบบน้ำและธนาคารเมล็ดพันธ์สำหรับสนุนการเพาะปลูกพืชผักของประชาชนในชุมชทุกหลังคาเรือนอย่างเพียงพอและครอบคลุมตลิดทั้งปี นักศึกษาเกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาระบบการบริหารงานของชุมชนและการพัฒนาวิสาหกิจชุมชน
ผลลัพธ์ (Outcome) ประชาชนสามารถลดต้นทุนในการเพาะปลูกพืชผักลงได้ และจะช่วยให้ประชาชนมีรายได้จากการเพาะปลูกพืชผักตลอดทั้งปี นักศึกษาสามารถนำเอาความรู้ความเข้าใจดังกล่าวมาใช้ในการเตรียมความพร้อมของตนเองสำหรับการเป็นผู้ประกอบการทางสังคม (Social Enterprise) ต่อไปได้
ผลกระทบ (Impact) ช่วยให้ประชาชนในชุมชนทุกคนสามารถเข้าถึงปัจจัยการผลิตที่สำคัญในการเพาะปลูกพืชผักได้อย่างเท่าเทียมกัน นอกจากนี้ การที่ประชาชนสสามารถมีรายได้เพิ่มมากขึ้นจากการเพราะปลูกจะช่วยลดปัญหาความยากจนและภาวะหนี้สินของประชาชนลงได้เป็นอย่างดี นักศึกษามีทักษะในการทำงานที่ยึดโยงกับประโยชน์สาธารณะของสังคมได้ดียิ่งขึ้น และสามารถพัฒนตนเองให้เป็นบุคลากรที่มีความรู้ความเข้าใจในการทำงานเพื่อประโชน์สุขของสังคมได้เพิ่มมากขึ้น
นำเข้าสู่ระบบโดย Sataro Sataro เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2562 20:39 น.