การพัฒนาอาชีพครอบครัวผู้พิการด้วยการเสริมทักษะตัดเย็บกระเป๋าจากเสื้อผ้ามือสอง

แบบเสนอโครงการ
การพัฒนาอาชีพครอบครัวผู้พิการด้วยการเสริมทักษะตัดเย็บกระเป๋าจากเสื้อผ้ามือสอง

1. ชื่อโครงการ

การพัฒนาอาชีพครอบครัวผู้พิการด้วยการเสริมทักษะตัดเย็บกระเป๋าจากเสื้อผ้ามือสองมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์สมาคมอาสาสร้างสุขเทศบาลนครหาดใหญ่น.ส. นัสรินทร์ เเซสะคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี อ.เมือง จ.ปัตตานี0862975966นายนิพนธ์ รัตนาคมนายนิพนธ์ รัตนาคม, นายอุบัยดิลละห์ หาแว, น.ส. ไอร์นี แอดะสง, น.ส. อาซีมะ ดามาลอ, น.ส. มารียา เจ๊ม๊ะ, นายอานัต หวังกุหลำ, น.ส. มาซือเตาะ มูซอ

2. พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
ภาคใต้
สงขลา หาดใหญ่ หาดใหญ่ ในเมือง

3. รายละเอียดชุมชน

• ประชากรกลุ่มเปราะบาง ถือเป็นผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือที่ภาครัฐให้ความสำคัญ ตามแนวทาง “ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง” โดยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กำหนดให้ประชากรกลุ่มเปราะบาง อาทิ ผู้ต้องขัง ผู้สูงอายุ คนพิการ กลุ่มคนไร้บ้าน และคนไทยที่ไม่มีบัตรประชาชน เป็นเป้าหมายที่ต้องเร่งส่งเสริมให้เข้าถึงบริการสุขภาพ ตามยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 4
• เฉพาะในจังหวัดสงขลา ปี 60 มีจำนวนคนพิการที่ขึ้นทะเบียนคนพิการ ทั้งสิ้น 28,887 คน
ซึ่งหน่วยงานภาครัฐในพื้นที่ต่างให้ความช่วยเหลือดูแลคนกลุ่มนี้อย่างเต็มที่ อย่างไรก็ตาม ชุมชนและสังคมก็ควรมีส่วนร่วมสนับสนุนการทำงานเพื่อพัฒนาชีวิตผู้ยากไร้ในพื้นที่ด้วยเช่นกัน
• ผู้เสนอโครงการ และกับสมาคมอาสาสร้างสุขทำงานร่วมกับภาคีเครือข่ายผู้พิการในจังหวัดสงขลาทำให้พบว่ามีผู้พิการและครอบครัวผู้พิการจำนวนมากที่ยังต้องการความช่วยเหลือทางด้านอาชีพที่เหมาะสม จนพบว่ามีผู้พิการจำนวนมากที่มีทักษะการตัดเย็บผ้า และพร้อมจะผลิตสินค้าจากเสื้อผ้ามือสอง ภายใต้การดูแลและสนับสนุนจากทีมงานร้านผ้าสร้างสุข
• จากการให้ครอบครัวผู้พิการทดสอบผลิตกระเป๋าผ้าต้นแบบกว่า300 ชิ้น แล้วนำไปทดสอบตลาด พบว่า กลุ่มเป้าหมายให้ความสนใจสินค้าต้นแบบอย่างมาก ยินดีซื้อ และเสนอราคาที่สามารถจ่ายได้ ซึ่งเป็นราคาที่เหมาะสม อีกทั้งยังแนะนำเรื่องการออกแบบสินค้าให้หลากหลายมากขึ้น
• จากงานวิจัย "สุขภาพจิตและความต้องการของคนพิการทางกาย หรือการเคลื่อนไหว : กรณีศึกษาศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพคนงาน" โดยอรอนงค์สงเจริญ วิทยาลัยราชสุดามหาวิทยาลัยมหิดล ระบุว่า ผู้พิการส่วนมากมีความต้องการด้านบริการทางด้านอาชีพ คือ จัดให้มีการฝึกอาชีพ (ร้อยละ84.0) จัดบริการปรึกษาแนะแนวอาชีพ (ร้อยละ 76.6) จัดหางาน (ร้อยละ 66) โดยต้องการมีอาชีพที่เหมาะสมกับตนเอง สามารถสร้างรายได้เอง ไม่เป็นภาระกับครอบครัวมากนัก ภายใต้การสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
• คนพิการและกลุ่มเปราะบางจำนวนมากยังมีศักยภาพและความต้องการที่จะดูแลตนเอง ซึ่งงานวิจัยหลายชิ้นยืนยันว่าผู้พิการที่มีอาชีพของตนเองช่วยส่งเสริมสุขภาพและพัฒนาการทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ ช่วยให้ผู้พิการมีความมั่นใจในตนเองจากการที่สามารถเลี้ยงดูตนเองได้ ดูแลสุขภาพตนเองได้ และกล้าเข้าสังคมมากขึ้น
จากฐานข้อมูลชุมชน Imed@home โดยมูลนิธิชุมชนสงขลา (https://communeinfo.com/imed/app/mobile) ที่ได้เก็บรวบรวมข้อมูลประชากรกลุ่มเปราะบางในภาคใต้ ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคประชาสังคม ภาคเอกชน และอาสาสมัครมีประชากรกลุ่มเปราะบางในสงขลา 3,822 คน ที่ร่วมให้ข้อมูล (31 ตุลาคม 2562) พบว่า ประชากรกลุ่มเปราะบางที่ยังขาดอาชีพและต้องการรายได้มีมากถึง 36%และมีผู้พิการมากถึง 26 %

4. ประเด็นปัญหาหลัก

5. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

6. องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

โครงการผ้าสร้างสุข โดยสมาคมอาสาสร้างสุข ได้พัฒนากระบวนการฝึกอาชีพแก่กลุ่มเปราะบาง โดยใช้กลไกของการบริหารจัดการเสื้อผ้ามือสองที่ได้รับบริจาคมาเป็นจำนวน เพื่อนำไปใช้ส่งเสริมอาชีพแก่ผู้พิการ โดยมีองค์ความรู้ที่ได้พัฒนาในกลุ่มผู้พิการต้นแบบ ได้แก่
1. การระดมเสื้อผ้ามือสองในระดับประเทศ
2. การคัดเลือกประเภทผ้าที่เหมาะสมต่อการตัดเย็บกระเป๋าแต่ละประเภท
3. กระบวนการอบรมการตัดเย็บแก่ผู้พิการแต่ละประเภท
4. การเข้าถึงกลุ่มลุกค้าและการจัดจำหน่ายสินค้าที่เป็นผลผลิตจากผู้พิการ

7. วัตถุประสงค์

วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาทักษะอาชีพการตัดเย็บแก่ผู้พิการ หรือผู้ดูแลผู้พิการ

ผู้เข้าร่วมโครงการร้อยละ 80 มีทักษะการตัดเย็บที่เหมาะสม

60.00 60.00
2 สร้างเครือข่ายหน่วยงานที่สามารถสนับสนุนการประกอบอาชีพของผู้พิการ

หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีบทบาทสนับสนุนการส่งเสริมอาชีพแก่ผู้พิการ

20.00 20.00
3 เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีอาชีพและรายได้เพิ่มขึ้นจากการตัดเย็บกระเป๋า

ร้อยละ 60 ของผู้เข้าร่วมโครงการมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการตัดเย็บกระเป๋าผ้าจากเสื้อผ้ามือสอง

60.00 60.00

8. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ครอบครัวผู้พิการในพื้นที่เทศบาลนครหาดใหญ่ 40
นักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 40

9. ระยะเวลา

10. วิธีดำเนินงาน

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงาน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะทำงาน
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อพัฒนาทักษะอาชีพการตัดเย็บแก่ผู้พิการ หรือผู้ดูแลผู้พิการ
รายละเอียดกิจกรรม
ประชุมคณะทำงาน และผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 15 คน เพื่อวางแผนการดำเนินงาน
ระยะเวลาดำเนินงาน
5 มกราคม 2563 ถึง 30 เมษายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
- ประชุมคณะทำงาน และผู้เกี่ยวข้อง เข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเอง
- เกิดแผนการดำเนินงานของโครงการ
ทรัพยากรอื่น ๆ
ภาคีร่วมสนับสนุน
สมาคมอาสาสร้างสุข, กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพฯ​ อบจ. สงขลา, สมาคมคนพิการจังหวัดสงขลา, ชมรมเพื่อนช่วยเพื่อน, พม. สงขลา, ศูนย์การเรียนรู้และฝึกอาชีพ, ศูนย์บริบาลผู้สูงอายุฯ, ศูนย์อาสาสมัครเพื่อสังคม ม.อ., ตลาดกรีนเวย์หาดใหญ่, ฯลฯ
รายละเอียดงบประมาณ
ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
ค่าตอบแทนการประสานงาน

ตอบแทนเจ้าหน้าที่ประสานงาน

1 คน 1,000 5 5,000
ค่าเช่าสถานที่

ค่าเช่าห้องประชุม

1 ชุด 1,000 5 5,000
ค่าอาหาร

ค่าอาหารเที่ยง

15 คน 100 5 7,500
ค่าวัสดุสำนักงาน

ค่าจัดซื้ออุปกรณ์สำนักงาน

1 ครั้ง 3,000 1 3,000
ค่าถ่ายเอกสาร

ค่าถ่ายเอกสารการประชุม

15 ชุด 20 5 1,500
ค่าตอบแทนผู้เข้าร่วมประชุม 15 คน 300 5 22,500
ค่าพาหนะเดินทาง - ค่าเดินทางในพื้นที่ 15 คน 300 5 22,500
รวมค่าใช้จ่าย 67,000

กิจกรรมที่ 2 รับสมัครผู้พิการเข้าร่วมโครงการ

ชื่อกิจกรรม
รับสมัครผู้พิการเข้าร่วมโครงการ
วัตถุประสงค์
    รายละเอียดกิจกรรม
    รับสมัครผู้พิการที่สนใจเข้าร่วมโครงการ ผ่านสื่อและช่องทางต่าง ๆ
    ระยะเวลาดำเนินงาน
    6 มกราคม 2563 ถึง 31 มกราคม 2563
    ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
    มีผู้พิการสนใจสมัครเข้าร่วมโครงการ อย่างน้อย 100 คน
    ทรัพยากรอื่น ๆ
    ภาคีร่วมสนับสนุน
    สมาคมอาสาสร้างสุข, กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพฯ​ อบจ. สงขลา, สมาคมคนพิการจังหวัดสงขลา, ชมรมเพื่อนช่วยเพื่อน, พม. สงขลา, ศูนย์การเรียนรู้และฝึกอาชีพ, ศูนย์บริบาลผู้สูงอายุฯ, ศูนย์อาสาสมัครเพื่อสังคม ม.อ., ตลาดกรีนเวย์หาดใหญ่, ฯลฯ
    รายละเอียดงบประมาณ
    ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
    ค่าจ้างทำป้ายประชาสัมพันธ์ 5 ชิ้น 1,000 1 5,000
    ค่าถ่ายเอกสาร 300 ชุด 5 1 1,500
    รวมค่าใช้จ่าย 6,500

    กิจกรรมที่ 3 จัดกิจกรรมรับสมัครและชี้แจงนักศึกษาที่สนใจเข้าร่วมโครงการ

    ชื่อกิจกรรม
    จัดกิจกรรมรับสมัครและชี้แจงนักศึกษาที่สนใจเข้าร่วมโครงการ
    วัตถุประสงค์
      รายละเอียดกิจกรรม
      จัดกิจกรรมรับสมัครและชี้แจงนักศึกษาในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ที่สนใจเข้าร่วมโครงการ เพื่อทำความเข้าใจ ตอบข้อซักถาม และวางแผนร่วมกัน
      ระยะเวลาดำเนินงาน
      15 มกราคม 2563 ถึง 15 มกราคม 2563
      ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
      นักศึกษาจำนวน 40 คน เข้าร่วมรับฟังแนวทางของโครงการ
      ทรัพยากรอื่น ๆ
      ภาคีร่วมสนับสนุน
      กองกิจการนักศึกษา, สโมสรนักศึกษา
      รายละเอียดงบประมาณ
      ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
      ค่าจ้างทำป้ายประชาสัมพันธ์ 1 ชิ้น 500 1 500
      ค่าถ่ายเอกสาร 40 ชุด 10 1 400
      ค่าอาหาร 50 คน 50 1 2,500
      รวมค่าใช้จ่าย 3,400

      กิจกรรมที่ 4 เยี่ยมเยียนและสัมภาษณ์ผู้พิการที่สนใจเข้าร่วมโครงการ

      ชื่อกิจกรรม
      เยี่ยมเยียนและสัมภาษณ์ผู้พิการที่สนใจเข้าร่วมโครงการ
      วัตถุประสงค์
        รายละเอียดกิจกรรม
        ลงพื้นที่เพื่อสัมภาษณ์ผู้ที่สนใจเข้าร่วมโครงการแล้วผ่านการคัดเลือกเบื้องต้นเพื่อประเมินความเดือดร้อนจริง ความตั้งใจของผู้พิการ และความร่วมมือของครอบครัว
        ระยะเวลาดำเนินงาน
        20 มกราคม 2563 ถึง 15 กุมภาพันธ์ 2563
        ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
        - สามารถเยี่ยมเยียนและสัมภาษณ์ผู้ที่สมัครเข้าร่วมโครงการ อย่างน้อย 40-60 ราย
        - ได้ข้อมูลผลการคัดเลือกผู้ที่เหมาะสมเข้ารับการพัฒนาอาชีพในขั้นต่อไปจำนวน 40 ราย
        ทรัพยากรอื่น ๆ
        ภาคีร่วมสนับสนุน
        รายละเอียดงบประมาณ
        ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
        ค่าพาหนะเดินทาง - รถตู้เช่า

        เช่ารถตู้เพื่อเยี่ยมเยียนผู้ที่สนใจเข้าร่วมโครงการ จำนวน 10 วัน

        1 ชิ้น 2,000 14 28,000
        อื่น ๆ

        ค่าน้ำมันรถสำหรับการลงพื้นที่

        1 ชุด 1,500 14 21,000
        ค่าตอบแทนผู้เข้าร่วมประชุม

        ค่าตอบแทนทีมลงพื้นที่

        6 คน 300 14 25,200
        รวมค่าใช้จ่าย 74,200

        กิจกรรมที่ 5 จัดอบรมการจัดเย็บกระเป๋าจากเสื้อผ้ามือสอง

        ชื่อกิจกรรม
        จัดอบรมการจัดเย็บกระเป๋าจากเสื้อผ้ามือสอง
        วัตถุประสงค์
          รายละเอียดกิจกรรม
          นำผู้เข้าร่วมโครงการรับการอบรมการตัดเย็บกระเป๋าผ้า ฯ ศูนย์ฝึกอาชีพฯ รัตภูมิ ระยะเวลา 5 วัน
          ระยะเวลาดำเนินงาน
          18 กุมภาพันธ์ 2563 ถึง 22 กุมภาพันธ์ 2563
          ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
          > ผู้เข้าร่วมโครงการจำนวน 40 คน ผ่านการอบรม มีความรู้ทักษะผ่านเกณฑ์ที่กำหนด
          ทรัพยากรอื่น ๆ
          ภาคีร่วมสนับสนุน
          รายละเอียดงบประมาณ
          ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
          ค่าตอบแทนวิทยากร

          ค่าตอบแทนวิทยากร. วันละ 2 คน รวม 5 วัน

          2 คน 15,000 1 30,000
          ค่าเช่าสถานที่

          ค่าเช่าห้องประชุม วันละ 2,000 บาท 5 วัน

          5 ครั้ง 2,000 1 10,000
          ค่าอาหาร

          ค่าอาหารเที่ยง เย็น และอาหารว่าง รวม 5 วัน

          50 คน 400 5 100,000
          ค่าเช่ารถ

          ค่าเช่ารถรับ ส่ง ผู้พิการ ไปกลับศูนย์ฝึกอาชีพ 3 คัน 2 ครั้ง

          3 ชุด 2,000 2 12,000
          รวมค่าใช้จ่าย 152,000

          กิจกรรมที่ 6 นักศึกษาเชิญชวนผู้พิการร่วมวางแผนการผลิตและการจัดจำหน่าย

          ชื่อกิจกรรม
          นักศึกษาเชิญชวนผู้พิการร่วมวางแผนการผลิตและการจัดจำหน่าย
          วัตถุประสงค์
            รายละเอียดกิจกรรม
            นักศึกษาจัดกระบวนการเพื่อเชิญชวนผู้พิการที่เข้าร่วมโครงการวางแผนการผลิตและการจัดจำหน่ายหลังจากเสร็จสิ้นการอบรม
            ระยะเวลาดำเนินงาน
            20 กุมภาพันธ์ 2563 ถึง 20 กุมภาพันธ์ 2563
            ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
            - เกิดแผนการผลิตของผู้พิการแต่ละคนที่นักศึกษามีส่วนร่วมสนับสนุน
            ทรัพยากรอื่น ๆ
            ภาคีร่วมสนับสนุน
            รายละเอียดงบประมาณ
            ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
            รวมค่าใช้จ่าย 0

            รวมงบประมาณทุกกิจกรรมของแผนการดำเนินงาน จำนวน 303,100.00 บาท

            ค่าตอบแทนค่าจ้างค่าใช้สอยค่าวัสดุอื่น ๆรวมเงิน
            ค่าใช้จ่าย (บาท) 82,700.00 5,500.00 190,900.00 3,000.00 21,000.00 303,100.00
            เปอร์เซ็นต์ (%) 27.28% 1.81% 62.98% 0.99% 6.93% 100.00%

            11. งบประมาณ

            303,100.00บาท

            12. การติดตามประเมินผล

            ต่อชุมชนต่อนักศึกษา
            ผลผลิต (Output)
            ผลลัพธ์ (Outcome)
            ผลกระทบ (Impact)
            นำเข้าสู่ระบบโดย niponrattanakom niponrattanakom เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2562 20:16 น.