โครงการพัฒนาโรงเลี้ยงไหมอัจฉริยะเพื่อส่งเสริมนวัตกรรมห่วงโซ่ธุรกิจผ้าไหมแพรวาตำบลนาบอน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์

แบบเสนอโครงการ
โครงการพัฒนาโรงเลี้ยงไหมอัจฉริยะเพื่อส่งเสริมนวัตกรรมห่วงโซ่ธุรกิจผ้าไหมแพรวาตำบลนาบอน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์

1. ชื่อโครงการ

โครงการพัฒนาโรงเลี้ยงไหมอัจฉริยะเพื่อส่งเสริมนวัตกรรมห่วงโซ่ธุรกิจผ้าไหมแพรวาตำบลนาบอน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์มหาวิทยาลัยศรีปทุม บางเขนคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะบัญชี คณะวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาลัยการบินและคมนาคม1. กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม 2. สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) 3. สมาคมผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย 4. กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย 5. พัฒนาการชุมชนจังหวัดกาฬสินธุ์ 6. พัฒนาการชุมชนอำเภอคำม่วงตำบลนาบอน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ดร.สุรชัย ทองแก้ว คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ ผศ.จิโรจน์ จริตควร คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ อาจารย์ชัยสรรค์ รังคะภูติ คณะบัญชี ดร.วนายุทธ์ แสนเงิน คณะวิศวกรรมศาสตร์ อาจารย์เสมา พัฒน์ฉิม คณะวิศวกรรมศาสตร์ อาจารย์ วีรภัทร เกศะรักษ์ วิทยาลัยการบินและคมนาคมมหาวิทยาลัยศรีปทุม 2410/2 ถนนพหลโยธิน แขวงเสนานิคม เขตจตุจักร กทม. 109000651969951นาย การันต์ เศรษฐี สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
น.ส. ณัฐมล กอเซ็ม สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
นาย ชนกันต์ อิ่มใจ สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
นาย กิตติ นนทะสันต์ สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
นาย สุรศักดิ์ แสงกลม สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
นาย พช​นนท์​ หว่าง​พัฒน์​ สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
นางสาว อารีรัตน์ ปริตวา สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
นางสาว ปานทอง อินทะดก สาขาการบัญชี
นางสาว ศิชา นามสง่า สาขาการบัญชี

2. พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
กาฬสินธุ์ คำม่วง นาบอน

3. รายละเอียดชุมชน

ตำบลนาบอน มีที่ตั้งอยู่ใกล้กับเทือกเขาภูพาน อย่างห่างจากอำเภอคำม่วงไปทางทิศตะวันออก ประมาณ ๗ กิโลเมตรอยู่ห่างจากจังหวัดกาฬสินธุ์ ประมาณ ๘๕ กิโลเมตรลักษณะภูมิประเทศ เป็นที่ราบสูงเชิงเขามีลำห้วยปอล้ำห้วยสมอทบ และลำห้วยแก้งไหลผ่าน มีเนื้อที่ทั้งหมด๙๗ตารางกิโลเมตร สภาพดินเป็นดินร่วนปนทรายมีพื้นที่เป็นป่าเขามีภูเขาอยู่รอบพื้นที่บริเวณทางทิศเหนือ และทิศตะวันออกของตำบล จำนวน๗ลูกมีเนื้อที่ประมาณ๑๕,๐๐๐ ไร่ ประกอบด้วย ภูพรานยอด ภูปอ ภูผักหวาน ภูโป่ง ภูหินปูน ภูตุ่น และ ภูถ้ำพระซึ่งเป็นป่า
ที่ยังมีสภาพที่อุดมสมบูรณ์มีอาหารป่าให้ชาวบ้านสามารถนำมาเป็นอาหารเลี้ยงครอบครัว และสร้างรายได้ให้กับชุมชนหมุนเวียนตลอดปี เช่น หน่อไม้ผักหวาน ดอกกระเจียวเห็ด และหอยหอม เป็นต้น ด้านทิศตะวันออกของตำบลมีแนวเขตติดต่อกับอุทยานแห่งชาติภูพาน
ทิศเหนือ จดตำบลดินจี่
ทิศใต้ จดตำบลโพนตำบลเนินยาง
ทิศตะวันออก จดตำบลดินจี่อำเภอคำม่วง และตำบลแซงบาดาล อำเภอสมเด็จ
ทิศตะวันตก จดตำบลโพนตำบลทุ่งคลอง
มีหมู่บ้านในเขตปกครอง จำนวน11หมู่บ้านประกอบด้วย
หมู่ 1 บ้านนาบอน นายอ่อนสาภูแดนไกร ผู้ใหญ่บ้าน
หมู่ 2 บ้านนาบอน นายผาศักดิ์คำออน ผู้ใหญ่บ้าน
หมู่ 3 บ้านสะพานหินนายสมบัติ อรรถประจง ผู้ใหญ่บ้าน
หมู่ 4 บ้านคำสมบูรณ์ นายอมร จำปารา ผู้ใหญ่บ้าน
หมู่ 5 บ้านคำเมย นายชูวิทย์ สุรันนา ผู้ใหญ่บ้าน
หมู่ 6 บ้านหัวนาคำ นายวิชัย ภูล้ำผา ผู้ใหญ่บ้าน
หมู่ 7 บ้านโนนศรีสวัสดิ์ส.ต.สุปัน สุรัญณา ผู้ใหญ่บ้าน
หมู่ 8 บ้านทุ่งมน นายสมบูรณ์สุพรรณธนาผู้ใหญ่บ้าน
หมู่ 9บ้านบะเอียด นายสุระพล คาดีวี ผู้ใหญ่บ้าน
หมู่ 10บ้านนาอุดม นายจรัญ โคตรรักษา ผู้ใหญ่บ้าน
หมู่ 11บ้านนาเจริญ นายบุญจัน จันทวิสา กำนันตำบลนาบอน
กลุ่มอาชีพ
- กลุ่มวิสาหกิจชุมชนทอผ้าไหมมัดหมี่บ้านนาบอน หมู่ 2 ได้แก่ ผ้าไหมมัดหมี่ ผ้าไหมแพรวา ผ้าทอ
พื้นบ้านอื่นๆ
- กลุ่มแปรรูปสมุนไพรบ้านนาบอน หมู่ 2ได้แก่ ขิงผงกระชายผง มะตูมผงลูกยอผง
- กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรฟื้นฟูเศรษฐกิจบ้านนาเจริญหมู่ 11ได้แก่ เทียนหอมสมุนไพรแซมพู ครีมนวด
พิมเสน
- กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรทอผ้าไหมแพรวาบ้านโนนศรีสวัสดิ์
- กลุ่มวิสาหกิจเพาะเห็ดบ้านคำเมยหมู่ 5
- กลุ่มสตรีทอผ้าไหมมัดหมี่บ้านนาบอน หมู่ 1
- กลุ่มเตาอั่งโล่บ้านนาบอน หมู่ 2 และบ้านคำสมบูรณ์ หมู่ 4
- กลุ่มผักปลอดสารบ้านสะพานหิน หมู่ 3
- กลุ่มจักสานบ้านสะพานหิน หมู่ 3
- กลุ่มทอผ้าพื้นเมืองบ้านสะพานหิน หมู่ 3
- กลุ่มแปรรูปกระเป๋าและเนตคลุมผมบ้านสะพานหิน หมู่ 3
ประเด็นปัญหาหลัก
1. ความยั่งยืนของกระบวนการพัฒนาและส่งเสริมชุมชนเพื่อเป็นศูนย์กลางในการเรียนรู้
2. มีความเหลื่อมล้ำของคุณภาพชีวิตประชาชนทั้งในด้านอาชีพ ด้านรายได้ และการเข้าถึงการพัฒนาองค์ความรู้
3. ขาดองค์ความรู้ด้านนวัตกรรมและงบประมาณในการพัฒนาห่วงโซ่ธุรกิจ ด้านมาตรฐานผลิตภัณฑ์ การแปรรูปผลิตภัณฑ์ และบรรจุภัณฑ์

ประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้อง
1. ไม่มีงบประมาณในการปรับปรุงและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี
2. การใช้สารเคมีในภาคการเกษตร การทำเกษตรเชิงเดี่ยว
3. ไม่มีนักท่องเที่ยวเข้าไปเที่ยวในพื้นที่
4. ไม่มีสื่อและงบประมาณในการประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยว
5. ขาดการสร้างกลในการพัฒนาและส่งเสริมนวัตกรรมห่วงโซ่ธุรกิจผ้าไหมแพรวา
6. ขาดการนำระบบบัญชีที่ดีเพื่อนำไปใช้ในการดำเนินธุรกิจ
1.ความต้องการในการพัฒนาท้องถิ่น
2.ความต้องการในารพัฒนาทางด้านครัวเรือน
3.การพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน

4. ประเด็นปัญหาหลัก

5. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

6. องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน
การจัดการการเรียนการสอนเพื่อปรับเปลี่ยนและหรือเพิ่มสมรรถนะความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่ตอบโจทย์เฉพาะสถานประกอบการในชุมชน ดำเนินการบูรณาการใช้ Team Teaching Method โดยทีมคณาจารย์จากมหาวิทยาลัยศรีปทุมร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิและภาคอุตสาหกรรมที่ทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงจะมีการประชุมร่วมกันเพื่อกำหนด Learning Outcome และออกแบบการเรียนการสอนโดยเน้นใช้ (Community-based Learning Program: CBL) ผ่านโครงงานที่ตอบสนอง ต่อปัญหาและความต้องการเชิงพื้นที่ของชุมชน (Area-based) ดังนี้
- การเรียนการสอนเน้นการลงมือปฏิบัติ เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้จากพื้นที่จริง
- การเรียนการสอนเน้นกิจกรรมกลุ่ม Group Discussion และ Work Shop โดยใช้โจทย์ปัญหาจริงจากชุมชน
- การเรียนการสอนเน้นผลลัพธ์เป็นชิ้นงาน (Project Based) ที่สามารถนำไปแก้ปัญหาในชุมชนได้จริง (Problem Based)
- การประเมินและวัดผล (Learning Outcome) จะดำเนินการร่วมกันระหว่างทีมคณาจารย์และผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกจากภาคอุตสาหกรรม
- การศึกษาภาคปฏิบัติร่วมกับกรมการพัฒนาชุมชนและชุมชนตัวอย่างที่พร้อมขับเคลื่อนสู่อุตสาหกรรม 4.0
- การบูรณาการองค์ความรู้เพื่อออกแบบนวัตกรรมทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านการบัญชีด้านวิศวกรรม และ ด้านเทคโนโลยีการบิน เข้าด้วยกันเพื่อสร้างนวัตกรรมสู่ชุมชน
รายละเอียดโครงการ/หลักการและเหตุผล
การกำหนดวิสัยทัศน์ “ประเทศที่มีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” ดังยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579) เพื่อนำไปสู่การพัฒนาให้คนไทยมีความสุข และตอบสนองต่อผลประโยชน์แห่งชาติ ในการพัฒนาคุณภาพชีวิต สร้างรายได้ระดับสูง เป็นประเทศพัฒนาแล้ว และสร้างความสุขของคนไทย สังคมมีความมั่นคง เสมอภาคและเป็นธรรม ประเทศสามารถแข่งขันในระบบเศรษฐกิจ ในยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ กำหนดให้มีการปรับเปลี่ยนค่านิยมและวัฒนธรรม เพื่อสร้างคนไทยที่มี คุณภาพ คุณธรรม จริยธรรม มีระเบียบวินัย เคารพกฎหมาย พัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต ปฎิรูปการเรียนรู้แบบพลิกโฉม (Transformative of Learning) สอดคล้องกับแผนการศึกษาแห่งชาติ ที่ยึดหลักการจัดการศึกษาเพื่อปวงชน (Education for all) ความเท่าเทียมและทั่วถึง (Inclusive Education) หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy) และหลักการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน (All for Education)
ในการแข่งขัน ที่มุ่งเน้นการพัฒนาภาคการผลิตและบริการให้สามารถแข่งขันได้ เกิดความยั่งยืน ประชาชนมีคุณภาพชีวิต และมีรายได้ที่ดีขึ้น รวมทั้งแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12
(พ.ศ. 2560-2564) ยุทธศาสตร์ที่ 3 การสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและแข่งขันได้อย่างยั่งยืน มีแนวทางเสริมสร้างขีดความสามารถการแข่งขันในเชิงธุรกิจของภาคบริการ และพันธกิจกระทรวงมหาดไทย ข้อ 4. เสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและเศรษฐกิจฐานราก โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตลอดจนภารกิจอำนาจหน้าที่ของกรมการพัฒนาชุมชน ในการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้และการมีส่วนร่วมของประชาชน ส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนฐานรากให้มีความมั่นคงและมีเสถียรภาพ รวมทั้งเสริมสร้างความสามารถและความเข้มแข็งของชุมชน
จากวิสัยทัศน์และแนวทางตามยุทธศาสตร์ชาติ อุดมศึกษาจึงเป็นหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อน ยุทธศาสตร์ชาติ ดังที่กำหนดไว้ในแผนอุดมศึกษาระยะยาว 20 ปี พ.ศ. 2561 - 2580 โดยการดำเนินงาน ผ่านกระบวนการการจัดการเรียนการสอนที่ตอบโจทย์การพัฒนาประเทศและการสร้างองค์ความรู้ที่สอดคล้อง กับความต้องการของภาคสังคม ชุมชน และท้องถิ่น ซึ่งเป็นกลไกสำคัญของการขับเคลื่อนประเทศให้สามารถ ลดความเหลื่อมล้ำทั้งทางสังคมและเศรษฐกิจของคนไทยได้อย่างเป็นระบบและเป็นรูปธรรมอย่างยั่งยืน ประกอบกับ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมได้มีนโยบายด้าน การอุดมศึกษาให้สร้างและพัฒนาคนไทยเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life Long Learning) ขับเคลื่อนหลักสูตรอุดมศึกษายุคใหม่ให้เข้ากับอาชีพแห่งอนาคต สร้างบัณฑิตสู่โลกใบใหม่ แห่งศตวรรษที่ 21 และขับเคลื่อนการพัฒนาทักษะแห่งอนาคตอย่างเป็นรูปธรรม รวมถึงการใช้ศักยภาพ ของสถาบันอุดมศึกษาในการขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาลด้วยการบูรณาการนโยบายเศรษฐกิจ บีซีจี โมเดล (BCG Model) เพื่อการปรับเปลี่ยนประเทศด้วยปัญญาจากฐานรากและเพิ่มขีดความสามารถของชุมชนท้องถิ่น
การจัดการเทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรมเป็นพื้นฐานสำคัญที่จะนำไปสู่ประเทศไทย 4.0 ด้วยการเน้นการเพิ่มมูลค่า (Value Added) ของสินค้าและบริการ ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม ดังนั้นเมื่อภาคอุตสาหกรรมมีทิศทางขับเคลื่อนไปสู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0 กิจกรรมต่างๆ ซึ่งรวมถึงอาชีพใหม่ที่เกิดขึ้นเป็นผลมาจากการพัฒนาสู่ยุค “ดิจิทัล 4.0” สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (2560-2564) และแผนยุทธศาสตร์ 20ปี (พ.ศ. 2561 - 2579)
แผนภาพที่ 1 ตัวเลขที่ผู้ประกอบการต้องรู้เพื่อใช้ในการต่อยอดทางธุรกิจ
แหล่งที่มา https://www.marketingoops.com/news/ecommerce/e-commerce-shapes-logistics/

จากภาพพบว่าภาพรวมของธุรกิจอีคอมเมิร์ซในประเทศไทยมีแนวโน้มเติบโตมากขึ้น โดยมีมูลค่ารวมประมาณ 2.8 ล้านล้านบาท ซึ่งมูลค่า E-Retail เป็นของธุรกิจในไทย 1% จากการคาดการณ์ในแต่ละภูมิภาคทั่วโลกเฉลี่ยอยู่ที่ 8.6% แสดงให้เห็นว่าธุรกิจ E-Retail ยังมีโอกาสขยายการเติบโตได้อีก
รัฐบาลปัจจุบัน มีนโยบายลดความเหลื่อมล้ำของสังคมที่มุ่งเน้นสร้างรายได้และความเจริญความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ โดยให้ภาคเอกชนและภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมดำเนินการร่วมกับภาครัฐเพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ซึ่งสอดคล้องกับการดำเนินงานโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์(OTOP) ที่เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 ในทุกภูมิภาคทั่วประเทศ โดยมีการแต่งตั้งคณะกรรมการระดับประเทศคือ คณะกรรมการอำนวยการ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์แห่งชาติ (กอ.นตผ.) เป็นผู้ขับเคลื่อน และมอบหมายให้กรมการพัฒนาชุมชน เป็นผู้รับผิดชอบหลักส่งเสริมการดำเนินงาน OTOP จนถึงปัจจุบัน โดยร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ สนับสนุนส่งเสริม ยกระดับผลิตภัณฑ์ และพัฒนาช่องทางการตลาดที่หลากหลายเพื่อให้ขายได้ มุ่งปรับตัวสู่การค้าแบบสากล ทำให้ผลิตภัณฑ์ของคนในชุมชนส่วนใหญ่ไม่สามารถแข่งขันได้ต้องออกไปขายสินค้าตามที่ต่าง ๆ ไม่มีความสุข รายได้ไปตกอยู่แก่ผู้ประกอบการคนเดียว หรือบางกลุ่มเล็กไม่กระจายถึงประชาชนกลุ่มใหญ่ในชุมชนอย่างแท้จริง ทำให้การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนฐานราก ไม่ประสบผลสัมฤทธิ์เท่าที่ควร รายได้จากการท่องเที่ยวที่เป็นกระแสหลักของประเทศ ส่วนใหญ่ตกไปอยู่ในกลุ่มทุนเอกชน เช่น โรงแรม ร้านอาหาร ห้างร้านใหญ่ๆ กรุ๊ปทัวร์ ไม่ลงไปถึงฐานรากเช่นเดียวกัน
ดังนั้นจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนผ่านยุคการผลักดันขายสินค้า OTOP(ผ้าไหมแพรวา) ออกจากชุมชนเพียงด้านเดียวสู่การเพิ่มช่องทางสร้างรายได้ตามความต้องการ (Demand Driven Local Economy) โดยการขายสินค้า(ผ้าไหมแพรวา) ซึ่งเป็นสินค้าที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชน โดยใช้เสน่ห์ ภูมิปัญญา วิถีชีวิต วัฒนธรรม และความคิดสร้างสรรค์แปลงเป็นรายได้ ทั้งนี้ครอบครัวและลูกหลานยังอยู่ร่วมกัน ไม่ต้องแข่งขันนำผลิตภัณฑ์ออกไปขายนอกชุมชนเป็นชุมชนท่องเที่ยวที่เป็นเจ้าบ้านที่ดี ชวนกันคิด ชวนกันทำ ผลิตสินค้าและบริการ รวมทั้งมีการเชื่อมโยงเส้นทางท่องเที่ยวระดับชุมชน ที่มีเสน่ห์ดึงดูด และมีคุณค่าเพียงพอให้นักท่องเที่ยวเข้ามาเยี่ยมเยือนและใช้จ่ายเงินในทุกกิจกรรมของชุมชน ซึ่งรายได้จะกระจายอยู่กับคนในชุมชน ทุกคนมีความสุข เป็นการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน (Strength with in) และเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากอย่างแท้จริง
จากความสำคัญข้างต้นหลักคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะบัญชีและ วิทยาการบินและคมนาคม มหาวิทยาลัยศรีปทุม ได้มุ่งเน้นการผลิตบัณฑิตในศตวรรษที่ 21 ที่มีคุณภาพและสร้างนวัตกรรม องค์ความรู้ใหม่ ด้วยการบูรณาการการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษากับการปฏิบัติงานจริง ลดระยะเวลา เรียนในชั้นเรียนให้น้อยลง มุ่งเน้นการปฏิบัติงานจริงมากขึ้น เพื่อให้นักศึกษาได้ฝึกประสบการณ์ การทำงานตรงตามสาขาวิชาและองค์ความรู้ที่เรียน โดยมีชุมชนเป็นฐานในการนำองค์ความรู้ทางวิชาชีพ ในสาขาที่เรียนสู่การปฏิบัติ (Community-based Learning Program: CBL) ผ่านโครงงานที่ตอบสนอง ต่อปัญหาและความต้องการเชิงพื้นที่ของชุมชน (Area-based) และมุ่งเน้นผลลัพธ์ของการแก้ปัญหาด้าน ความยากจน ความเหลื่อมล้ำ และปัญหาคุณภาพชีวิต โดยได้ตระหนักถึงความสําคัญของการพัฒนาตัวเองและพัฒนาสังคมควบคู่กัน ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการพัฒนาชุมชนอย่างเป็นระบบ และเป็นรูปธรรมอย่างยั่งยืนต่อไปตามนโยบายประเทศไทย 4.0
คำสำคัญ
นวัตกรรม, ชุมชน, การเรียนรู้, เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตออฟติงส์, บัญชีครัวเรือน

7. วัตถุประสงค์

วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อจัดการเรียนรู้ให้นักศึกษาในศตวรรษที่ 21 สามารถประยุกต์ใช้องค์ความรู้ในการปฏิบัติงานจริง มีความสามารถในการค้นคว้า คิด วิเคราะห์ ประมวลผล มีความคิดสร้างสรรค์

นักศึกษาอธิบายกระบวนการในการขับเคลื่อนนวัตกรรมชุมชนได้อย่างเหมาะสม

0.00 0.00
2 เพื่อบูรณาการองค์ความรู้ที่หลากหลายในการแก้ปัญหาและพัฒนาชุมชนในมิติต่างๆ ให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองและจัดการตนเองได้

นักศึกษาคิดเชิงงวิพากษ์และแก้ปัญหาชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

0.00
3 เพื่อศึกษาความต้องการของตลาดโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน

นักศึกษาและชุมชนอธิบายความต้องการอย่างแท้จริงของตลาดได้อย่างเหมาะสม

0.00
4 เพื่อพัฒนาและส่งเสริมนวัตกรรมห่วงโซ่ธุรกิจผ้าไหมแพรวาอย่างยั่งยืนสู่ชุมชน

ผู้ประกอบการธุรกิจไหมในชุมชนมีระบบในการพัฒนาสินค้าโดยใช้นวัตกรรมห่วงโซ่ในการชับเคลื่อนได้อย่างเหมาะสม

0.00
5 เพื่อสร้างสำนึกในความเป็นธรรม และมีจิตสาธารณะ รวมทั้งมีความใฝ่รู้อันจะก่อให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต

นักศึกษาและชุมชนมีความร่วมมือ โดยผ่านกิจกรรมจิตสาธารณะรวมทั้งเกิดพฤติกรรมในการเรียนรู้ตลอดชีวิต

0.00

8. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ผู้ที่อยู่ในห่วงโซ่ธุรกิจเลี้ยงไหม 100

9. ระยะเวลา

10. วิธีดำเนินงาน

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมสำรวจกระบวนการของห่วงโซ่ธุรกิจผ้าไหมแพรวาและความต้องการของชุมชนโดยอาจารย์อำนวยการสอนออกแบบการเรียนรู้ร่วมกับสถานประกอบการเพื่อเป็นโจทย์ในนักศึกษาได้ทดลองและจัดทำเป็นโครงงาน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมสำรวจกระบวนการของห่วงโซ่ธุรกิจผ้าไหมแพรวาและความต้องการของชุมชนโดยอาจารย์อำนวยการสอนออกแบบการเรียนรู้ร่วมกับสถานประกอบการเพื่อเป็นโจทย์ในนักศึกษาได้ทดลองและจัดทำเป็นโครงงาน
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อจัดการเรียนรู้ให้นักศึกษาในศตวรรษที่ 21 สามารถประยุกต์ใช้องค์ความรู้ในการปฏิบัติงานจริง มีความสามารถในการค้นคว้า คิด วิเคราะห์ ประมวลผล มีความคิดสร้างสรรค์
  2. เพื่อบูรณาการองค์ความรู้ที่หลากหลายในการแก้ปัญหาและพัฒนาชุมชนในมิติต่างๆ ให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองและจัดการตนเองได้
  3. เพื่อศึกษาความต้องการของตลาดโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน
  4. เพื่อสร้างสำนึกในความเป็นธรรม และมีจิตสาธารณะ รวมทั้งมีความใฝ่รู้อันจะก่อให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต
รายละเอียดกิจกรรม
มหาวิทยาลัยร่วมกับชุมชนในการสำรวจพื้นที่ เพื่อเป็นโจทย์ในนักศึกษาได้ทดลองและจัดทำเป็นโครงงาน ลงพื้นที่พร้อมกับกรมการพัฒนาชุมชน โดยนำโมเดลที่มีอยู่เดิมมาเป็นแนวทางในการพัฒนาให้เหมาะสมกับพื้นที่ โดยการสำรวจแบ่งออกเป็น การสำรวจในส่วนของการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวสถานที่พักการพัฒนานวัตกรรมชุมชุน และการทำการตลาดออนไลน์และ สรุปประเด็นในการดำเนินงาน
ระยะเวลาดำเนินงาน
5 มกราคม 2563 ถึง 31 มกราคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
1.เพื่อค้นหาโมเดลที่เหมาะสมในการทำงาน
2.เพื่อให้สามารถวางแผนในการออกแบบนวัตกรรมเพื่อชุมชนได้ถูกต้อง
ทรัพยากรอื่น ๆ
ภาคีร่วมสนับสนุน
1. กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
2. สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
3. สมาคมผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย
4. กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย
5. พัฒนาการชุมชนจังหวัดกาฬสินธุ์
6. พัฒนาการชุมชนอำเภอคำม่วง
รายละเอียดงบประมาณ
ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
ค่าเช่ารถ

รถตู้พร้อมน้ำมันเหมาจ่าย 7 วัน

7 ครั้ง 3,000 1 21,000
ค่าอาหาร 13 คน 450 7 40,950
ค่าที่พักตามจริง

เหมาจ่าย 6 คืน

13 คน 600 6 46,800
ค่าวัสดุสำนักงาน

ค่าวัสดุเหมาจ่าย

1 ชุด 10,000 1 10,000
ค่าตอบแทนวิทยากร 5 คน 1,000 1 5,000
ค่าตอบแทนการประสานงาน 1 คน 3,000 1 3,000
อื่น ๆ

ค่าเบ็ดเตล็ด

1 ชุด 10,000 1 10,000
ค่าตอบแทนผู้ทรงคุณวุฒิ 2 คน 1,200 1 2,400
ค่าตอบแทนผู้ทรงคุณวุฒิ 3 คน 3,000 1 9,000
รวมค่าใช้จ่าย 148,150

กิจกรรมที่ 2 ทำความเข้าใจและออกแบบโครงงานตามความต้องการของชุมชน

ชื่อกิจกรรม
ทำความเข้าใจและออกแบบโครงงานตามความต้องการของชุมชน
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อจัดการเรียนรู้ให้นักศึกษาในศตวรรษที่ 21 สามารถประยุกต์ใช้องค์ความรู้ในการปฏิบัติงานจริง มีความสามารถในการค้นคว้า คิด วิเคราะห์ ประมวลผล มีความคิดสร้างสรรค์
  2. เพื่อบูรณาการองค์ความรู้ที่หลากหลายในการแก้ปัญหาและพัฒนาชุมชนในมิติต่างๆ ให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองและจัดการตนเองได้
  3. เพื่อศึกษาความต้องการของตลาดโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน
รายละเอียดกิจกรรม
นำผลจากการระดมความคิด แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ วางแผนการทำงานโดยคณะกรรรมการชุมชนและทีมงาน ตามกระบวนการ PDCA
ระยะเวลาดำเนินงาน
2 กุมภาพันธ์ 2563 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
แนวทางการออกแบบที่สามารถนำมาพัฒนาต่อยอดเพื่อชุมชน
ทรัพยากรอื่น ๆ
ภาคีร่วมสนับสนุน
รายละเอียดงบประมาณ
ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
ค่าตอบแทนวิทยากร

ประชุมวางแผน 3 ครั้ง

5 คน 1,000 3 15,000
ค่าตอบแทนการประสานงาน 1 คน 3,000 1 3,000
ค่าอาหาร 13 คน 450 3 17,550
ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้ 1 ชุด 3,000 3 9,000
รวมค่าใช้จ่าย 44,550

กิจกรรมที่ 3 พัฒนาโรงเลี้ยงไหมอัจฉริยะเพื่อส่งเสริมนวัตกรรมห่วงโซ่ธุรกิจผ้าไหมแพรวา

ชื่อกิจกรรม
พัฒนาโรงเลี้ยงไหมอัจฉริยะเพื่อส่งเสริมนวัตกรรมห่วงโซ่ธุรกิจผ้าไหมแพรวา
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อจัดการเรียนรู้ให้นักศึกษาในศตวรรษที่ 21 สามารถประยุกต์ใช้องค์ความรู้ในการปฏิบัติงานจริง มีความสามารถในการค้นคว้า คิด วิเคราะห์ ประมวลผล มีความคิดสร้างสรรค์
  2. เพื่อบูรณาการองค์ความรู้ที่หลากหลายในการแก้ปัญหาและพัฒนาชุมชนในมิติต่างๆ ให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองและจัดการตนเองได้
  3. เพื่อศึกษาความต้องการของตลาดโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน
  4. เพื่อพัฒนาและส่งเสริมนวัตกรรมห่วงโซ่ธุรกิจผ้าไหมแพรวาอย่างยั่งยืนสู่ชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม
นักศึกษาร่วมกับอาจารย์และชุมมชนในการพัฒนาโรงเลี้ยงไหมอัจฉริยะนวัตกรรมของห่วงโซ่ธุรกิจผ้าไหมแพรวาสู่ชุมชนตามโจทย์ความต้องการของชุมชนโดยใช้กระบวนการพัฒนาแบบมีส่วนร่วม
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2563 ถึง 31 มีนาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
สามารถพัฒนาต้นแบบโรงเลี้ยงไหมอัจฉริยะนวัตกรรมของห่วงโซ่ธุรกิจผ้าไหมแพรวา
ทรัพยากรอื่น ๆ
ภาคีร่วมสนับสนุน
รายละเอียดงบประมาณ
ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
ค่าตอบแทนวิทยากร 2 คน 1,000 4 8,000
ค่าตอบแทนการประสานงาน 1 คน 3,000 1 3,000
ค่าพาหนะเดินทาง - รถตู้เช่า

ค่ารถตู้เหมาจ่าย วันละ 2000 บาท นำมันเหมาจ่ายวันละ 1000 บาท จำนวน 14 วัน

13 คน 3,000 1 39,000
ค่าอาหาร

ค่าอาหารทีมงาน 13 คน คนละ 450 บาทต่อวัน รวม 14 วัน

13 คน 450 14 81,900
ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้ 1 ชุด 3,000 4 12,000
ค่าตอบแทนผู้ทรงคุณวุฒิ 3 คน 1,500 4 18,000
ค่าที่พักตามจริง 13 คน 600 13 101,400
อื่น ๆ

ค่าเบ็ดเตล็ด

1 ชุด 5,000 4 20,000
รวมค่าใช้จ่าย 283,300

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมสรุปผลและแสดงผลโครงงานร่วมกับชุมชนเป้าหมาย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมสรุปผลและแสดงผลโครงงานร่วมกับชุมชนเป้าหมาย
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อจัดการเรียนรู้ให้นักศึกษาในศตวรรษที่ 21 สามารถประยุกต์ใช้องค์ความรู้ในการปฏิบัติงานจริง มีความสามารถในการค้นคว้า คิด วิเคราะห์ ประมวลผล มีความคิดสร้างสรรค์
  2. เพื่อบูรณาการองค์ความรู้ที่หลากหลายในการแก้ปัญหาและพัฒนาชุมชนในมิติต่างๆ ให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองและจัดการตนเองได้
  3. เพื่อศึกษาความต้องการของตลาดโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน
  4. เพื่อพัฒนาและส่งเสริมนวัตกรรมห่วงโซ่ธุรกิจผ้าไหมแพรวาอย่างยั่งยืนสู่ชุมชน
  5. เพื่อสร้างสำนึกในความเป็นธรรม และมีจิตสาธารณะ รวมทั้งมีความใฝ่รู้อันจะก่อให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต
รายละเอียดกิจกรรม
นำเสนอกิจกรรมต่อชุมชน พร้อมทั้งระดมความคิดในครั้งสุดท้าย เพื่อให้ได้แนวคิดที่จะใช้ในการพัฒนาต่อไป
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2563 ถึง 30 เมษายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
บูรณาการองค์ความรู้จากการนำเสนอโครงงาน และการบูรณาการองค์ความรู้ข้ามศาสตร์
ทรัพยากรอื่น ๆ
ภาคีร่วมสนับสนุน
รายละเอียดงบประมาณ
ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
ค่าจ้างทำป้ายประชาสัมพันธ์

ป้ายสรุปผลโครงการและกิจกรรม

10 ชิ้น 1,500 1 15,000
อื่น ๆ

จัดทำเล่มรายงาน

1 ชุด 5,000 1 5,000
รางวัลเพื่อการยกย่อง 4 ชิ้น 1,000 1 4,000
รวมค่าใช้จ่าย 24,000

รวมงบประมาณทุกกิจกรรมของแผนการดำเนินงาน จำนวน 500,000.00 บาท

ค่าตอบแทนค่าจ้างค่าใช้สอยค่าวัสดุอื่น ๆรวมเงิน
ค่าใช้จ่าย (บาท) 66,400.00 15,000.00 352,600.00 31,000.00 35,000.00 500,000.00
เปอร์เซ็นต์ (%) 13.28% 3.00% 70.52% 6.20% 7.00% 100.00%

11. งบประมาณ

500,000.00บาท

12. การติดตามประเมินผล

ต่อชุมชนต่อนักศึกษา
ผลผลิต (Output) สามารถสร้างรายได้ในครัวเรือนให้เพิ่มมากขึ้น การวัดและประเมินผลด้านความสามารถ (Performance assessment) โดยการทดสอบก่อนและหลัง ประเมินจากโครงงาน และการนำเสนอ
ผลลัพธ์ (Outcome) คุณภาพชีวิตของคนในชุมชนที่ดีขึ้น การสุ่มตัวอย่างเพื่อสัมภาษณ์เชิงลึกและทำ Focus Group เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลเชิงคุณภาพ
ผลกระทบ (Impact) การสร้างความยั่งยืนให้เกิดขึ้นในชุมชน การวัดและประเมินผลภาคปฏิบัติ (Practical assessment) ประเมินจากโครงงาน และการนำเสนอ รวมทั้งสังเกตพฤติกรรมระหว่างร่วมโครงการและทำโครงงานที่ได้รับมอบหมาย
นำเข้าสู่ระบบโดย kriangkrai.sa01 kriangkrai.sa01 เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2562 20:12 น.