แบบเสนอโครงการ
ลดการเผา ลด PM2.5 โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน

1. ชื่อโครงการ

ลดการเผา ลด PM2.5 โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมบ้านโนนเขวา ตำบลฆ้องชัยพัฒนา อำเภอฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์อาจารย์ชมภู่เหนือศรีสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคามโทร 0868571427อาจารย์เมตตาเก่งชูวงศ์
อาจารย์รติกรแสงห้าว

2. พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
กาฬสินธุ์ ฆ้องชัย

3. รายละเอียดชุมชน

บ้านโนนเขวาประกอบไปด้วย 2 หมู่บ้าน คือหมู่ที่4 และหมู่ที่5มีประชากรทั้งสองหมู่บ้านจำนวน 1,233 คน 253 ครัวเรือนประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนาทั้งนาปี และนาปรังประชาชนในพื้นที่ตำบลฆ้องชัยพัฒนาประกอบด้วยอาชีพ ดังนี้
อาชีพหลักได้แก่การทำนาจำนวน850 ครัวเรือน
อาชีพรองได้แก่ -ทำไร่ ส่วนใหญ่ได้แก่มันสำปะหลัง จำนวน 50 ครัวเรือน
- ทำสวน ส่วนใหญ่ได้แก่ 1.พืชผัก จำนวน23 ครัวเรือน
2.ไม้ดอก ไม้ประดับจำนวน3 ครัวเรือน
- อาชีพเลี้ยงสัตว์ได้แก่
1.โค -กระบือ จำนวน290 ครัวเรือน
2.สุกร จำนวน 60 ครัวเรือน
3.เป็ด – ไก่ จำนวน150ครัวเรือน
- อาชีพค้าขาย
ส่วนมากมีรายได้เฉลี่ยครัวเรือนละ20,000บาท/ปี
เนื่องด้วยอาชีพหลักของประชาชนในพื้นที่เป็นอาชีพเกษตรกรรมโดยทำนาเป็นหลัก และมีการทำนาอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง จึงมีการเผาตอซังข้าวในช่วงฤดูหลังเก็บเกี่ยวเพื่อเตรียมพื้นที่เพาะปลูกชุมชนต้องการองค์ความรู้ด้านการจัดการตอซังข้าวในกรณีที่ไม่เผาจะสามารถดำเนินการได้อย่างไร และไม่ส่งผลกระทบต่อการทำการเกษตรของประชาชน

4. ประเด็นปัญหาหลัก

5. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

6. องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

ด้านการจัดการมลพิษทางอากาศ และการทำเกษตรที่ยั่งยืน
นวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงการ
ขับเคลื่อนกิจกรรมโดยการถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของผู้รู้ในท้องถิ่น ประชาชน อาจารย์ นักศึกษา ครู และนักเรียน

7. วัตถุประสงค์

วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนาชุมชนในการพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยการนำองค์ความรู้ที่หลากหลายในสถาบันอุดมศึกษาหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และกิจกรรมโดยการถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของผู้รู้ในท้องถิ่น ประชาชน อาจารย์ นักศึกษา ครู นักเรียน มาบูรณาการในการแก้พัฒนาคุณภาพชีวิตให้เกิดความยั่งยืน

จำนวนของเกษตรกรที่มีการลดการเผาตอซังข้าว

15.00 30.00
2 เพื่อนำองค์ความรู้ เกี่ยวกับ การลดการเผาในที่โล่งมาใช้ประโยชน์ในการส่งเสริมให้ชุมชนร่วมกับนักเรียน นักศึกษา แก้ไขปัญหาการเผาตอซังข้าว เพื่อลดปัญหาฝุ่นละออง PM2.5 ในชุมชน

 

0.00
3 เพื่อให้นักศึกษาได้ประยุกต์องค์ความรู้ในการปฏิบัติงานจริง มีความสามารถในการค้นคว้า คิด วิเคราะห์ ประมวลผล มีความคิดสร้างสรรค์ สามารถออกแบบระบบงาน จนสามารถทำการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ได้ และสามารถปรับตัวให้เข้ากับสังคม และมีจิตสาธารณะ รวมทั้งมีความใฝ่รู้อันจะก่อให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต

 

0.00
4 เพื่อให้นักเรียนและนักศึกษา ได้ร่วมกันทำงานการศึกษา วางแผนการสำรวจ ทดลอง จัดกระทำข้อมูล และนำเสนอผลการศึกษา โดยใช้เทคโนโลยีกับชุมชน ทำให้ได้กระบวนการได้มาซึ่งองค์ความรู้โดยวิธีการสำรวจ ค้นคว้า ส่งผลให้พัฒนาทักษะกระบวนการคิด และกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

 

0.00

8. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)

9. ระยะเวลา

10. วิธีดำเนินงาน

กิจกรรมที่ 1 ศึกษาข้อมูลการจัดการตอซังข้าวของเกษตรในชุมชนและข้อมูลการเผาในที่โล่ง

ชื่อกิจกรรม
ศึกษาข้อมูลการจัดการตอซังข้าวของเกษตรในชุมชนและข้อมูลการเผาในที่โล่ง
วัตถุประสงค์
    รายละเอียดกิจกรรม
    1. ประชุมเพื่อสร้างความตระหนัก
    2. ขออาสาสมัครร่วมกิจกรรมสำรวจข้อมูลการจัดการตอซังข้าวของเกษตรในชุมชนและข้อมูลการเผาในที่โล่ง
    ระยะเวลาดำเนินงาน
    16 มีนาคม 2563 ถึง
    ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
    1.ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้และตระหนักถึงความสำคัญของการเผาในที่โล่ง
    2. ประชาชน ในพื้นที่ จำนวน 253 หลังคาเรือน ให้ข้อมูลการจัดการตอซังข้าวและการเผาในที่โล่ง
    3. นักเรียนและนักศึกษาทำการสำรวจว่าแต่ละครัวเรียนมีการจัดการตอซังข้าวและการเผาในที่โล่งอย่างไร
    ทรัพยากรอื่น ๆ
    -
    ภาคีร่วมสนับสนุน
    เทศบาลตำบลฆ้องชัยพัฒนา
    รายละเอียดงบประมาณ
    ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
    ค่าตอบแทนวิทยากร 1 คน 3,600 1 3,600
    ค่าอาหาร 150 คน 160 1 24,000
    ค่าพาหนะเดินทาง - รถตู้เช่า 1 ครั้ง 1,800 5 9,000
    ค่าพาหนะเดินทาง - รถยนต์ส่วนบุคคล 1 เที่ยว 300 1 300
    อื่น ๆ

    แบบสอบถาม

    253 ชุด 3 1 759
    ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้ 1 ชุด 5,049 1 5,049
    ค่าตอบแทนการประสานงาน 10 คน 180 5 9,000
    รวมค่าใช้จ่าย 51,708

    กิจกรรมที่ 2 เวทีเสวนาการมีส่วนร่วมในการจัดการตอซังข้าว

    ชื่อกิจกรรม
    เวทีเสวนาการมีส่วนร่วมในการจัดการตอซังข้าว
    วัตถุประสงค์
      รายละเอียดกิจกรรม
      1. เสวนาแลกเปลี่ยนประสบการณ์การจัดการตอซังข้าว
      2. ประชาชนในชุมชนจำนวน 150 คน และวิทยากรจำนวน 3 คน
      ระยะเวลาดำเนินงาน
      1 เมษายน 2563 ถึง
      ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
      1.ชาวบ้าน จำนวน 150 คน ได้แลกเปลี่ยนแนวทางในการจัดการตอซังข้าว
      2. นักเรียน นักศึกษา ร่วมศึกษาแนวทางในการจัดการตอซังข้าว
      ทรัพยากรอื่น ๆ
      -
      ภาคีร่วมสนับสนุน
      คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
      รายละเอียดงบประมาณ
      ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
      ค่าตอบแทนวิทยากร 3 คน 3,600 1 10,800
      ค่าอาหาร 150 คน 160 1 24,000
      ค่าถ่ายเอกสาร 150 ชุด 50 1 7,500
      ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้ 150 ชุด 20 1 3,000
      ค่าพาหนะเดินทาง - ค่าเดินทางในพื้นที่ 1 ครั้ง 2,500 1 2,500
      ค่าตอบแทนการประสานงาน 10 คน 180 1 1,800
      รวมค่าใช้จ่าย 49,600

      กิจกรรมที่ 3 การทำน้ำหมักสำหรับย่อยตอซังข้าว

      ชื่อกิจกรรม
      การทำน้ำหมักสำหรับย่อยตอซังข้าว
      วัตถุประสงค์
        รายละเอียดกิจกรรม
        1. อบรมเชิงปฏิบัติการการทำน้ำหมักสำหรับย่อยตอซังข้าวทดแทนการเผาตอซังข้าว
        2. ขออาสาสมัครเป็นแกนนำในการทำน้ำหมักสำหรับย่อยตอซังข้าวจำนวน 15 ครัวเรือน
        3. นำน้ำหมักไปทดลองใช้ และนักศึกษาทำการเก็บข้อมูลทางกายภาพ เคมีของผลการทดลองใช้เป็นเวลา 30 วัน
        ระยะเวลาดำเนินงาน
        2 เมษายน 2563 ถึง
        ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
        1.ชาวบ้าน จำนวน 15 หลังคาเรือน ทำน้ำหมักไว้ใช้ย่อยตอซังข้าวทดแทนการเผาตอซังข้าว โดยความร่วมมือของนักเรียนและนักศึกษา
        2. นักเรียน นักศึกษา ศึกษาประสิทธิภาพของการใช้น้ำหมักย่อยตอซังข้าวทดแทนการเผาตอซังข้าว
        3. ได้กระบวนการในการศึกษาและทำวิจัยและนำไปทำโครงงานทางวิทยาศาสตร์
        ทรัพยากรอื่น ๆ
        -
        ภาคีร่วมสนับสนุน
        คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
        รายละเอียดงบประมาณ
        ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
        ค่าตอบแทนวิทยากร 4 คน 3,600 1 14,400
        ค่าอาหาร 150 คน 160 1 24,000
        ค่าถ่ายเอกสาร 150 ชุด 50 1 7,500
        ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้ 1 ชุด 20,000 1 20,000
        ค่าพาหนะเดินทาง - ค่าเดินทางในพื้นที่ 1 ครั้ง 2,500 30 75,000
        ค่าตอบแทนการประสานงาน 10 คน 180 30 54,000
        รวมค่าใช้จ่าย 194,900

        กิจกรรมที่ 4 ขยายผลการใช้น้ำหมักย่อยตอซังข้าว

        ชื่อกิจกรรม
        ขยายผลการใช้น้ำหมักย่อยตอซังข้าว
        วัตถุประสงค์
          รายละเอียดกิจกรรม
          1. นำเสนอผลการใช้น้ำหมักย่อยตอซังข้าว
          2. สำรวจความต้องการของชุนและความพร้อมของวัตถุดิบในชุมชนในการผลิตน้ำหมักใช้เอง
          3. เผยแพร่ข้อมูลและร่วมหาแนวทางการจัดการตอซังข้าวที่เหมาะสมการแก้ไขปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้น
          ระยะเวลาดำเนินงาน
          15 พ.ค. 2563 ถึง
          ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
          ผลผลิต (Output) / 1.ชาวบ้าน นักเรียนและนักศึกษา ได้ความรู้และร่วมเสนอแนวทางในการจัดการตอซังข้าวที่เหมาะสม
          ผลลัพธ์ (Outcome) ได้แกนนำในการจัดการตอซังข้าวด้วยวิธีการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
          ทรัพยากรอื่น ๆ
          -
          ภาคีร่วมสนับสนุน
          คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
          รายละเอียดงบประมาณ
          ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
          ค่าตอบแทนวิทยากร 1 คน 3,600 1 3,600
          ค่าอาหาร 150 คน 160 1 24,000
          ค่าถ่ายเอกสาร 150 ชุด 20 1 3,000
          ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้ 1 ชุด 3,000 1 3,000
          ค่าพาหนะเดินทาง - ค่าเดินทางในพื้นที่ 1 เที่ยว 2,500 1 2,500
          ค่าตอบแทนการประสานงาน 10 คน 180 1 1,800
          รวมค่าใช้จ่าย 37,900

          กิจกรรมที่ 5 ติดตามและนำเสนอผลการดำเนินโครงการ

          ชื่อกิจกรรม
          ติดตามและนำเสนอผลการดำเนินโครงการ
          วัตถุประสงค์
            รายละเอียดกิจกรรม
            หลังจากดำเนินกิจกรรมที่ 4 แล้ว ทำการติดตามผลโดยการสำรวจจำนวนผู้ที่เข้าร่วมโครงการสามารถนำไปขยายผลหรือถ่ายทอดได้มากน้อยเพียงใด โดยการติดตามผลโดยนักศึกษา
            ระยะเวลาดำเนินงาน
            20 มิถุนายน 2563 ถึง
            ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
            ผลผลิต (Output) / รายงานสรุปผลการดำเนินงาน
            ผลลัพธ์ (Outcome) จำนวนเกษตรกรที่ลดการเผาตอซังข้าว
            ทรัพยากรอื่น ๆ
            -
            ภาคีร่วมสนับสนุน
            เทศบาลตำบลฆ้องชัยพัฒนา
            รายละเอียดงบประมาณ
            ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
            ค่าวัสดุสำนักงาน 1 ชุด 10,000 1 10,000
            ค่าพาหนะเดินทาง - ค่าเดินทางในพื้นที่ 1 ครั้ง 2,500 1 2,500
            ค่าตอบแทนการประสานงาน 10 คน 180 1 1,800
            รวมค่าใช้จ่าย 14,300

            รวมงบประมาณทุกกิจกรรมของแผนการดำเนินงาน จำนวน 348,408.00 บาท

            ค่าตอบแทนค่าใช้สอยค่าวัสดุอื่น ๆรวมเงิน
            ค่าใช้จ่าย (บาท) 100,800.00 205,800.00 41,049.00 759.00 348,408.00
            เปอร์เซ็นต์ (%) 28.93% 59.07% 11.78% 0.22% 100.00%

            11. งบประมาณ

            348,408.00บาท

            12. การติดตามประเมินผล

            ต่อชุมชนต่อนักศึกษา
            ผลผลิต (Output) เกษตรกรในพื้นที่มีแนวทางการจัดการตอซังข้าวโดยไม่มีการเผา สามารถจัดการโดยใช้วิธีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม นักศึกษาได้ฝึกกระบวนการการทำงานร่วมกับชุมชน การเรียนรู้องค์ความรู้จากชุมชน และการนำความรู้ทางวิชาการถ่ายทอดสู่ชุมชน
            ผลลัพธ์ (Outcome) ชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ไม่มีมลพิษจากฝุ่นละอองที่เกิดจากการเผาตอซังข้าว นักศึกษาเกิดกระบวนการคิดวิเคราะห์ที่เป็นระบบ
            ผลกระทบ (Impact) ชุมชนมีระบบการจัดทำการเกษตรที่ยั่งยืน นักศึกษาเกิดกระบวนการเรียนรู้ที่สร้างสรรค์
            นำเข้าสู่ระบบโดย chompoo chompoo เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2562 19:59 น.