โครงการการถ่ายทอดความรู้และพัฒนาระบบคัดกรองผู้ป่วยอัจฉริยะสำหรับแผนกผู้ป่วยนอก (OPD) (Smart Easy OPD) เพื่อคุณภาพการให้บริการทางการแพทย์แก่ชุมชน โดยใช้เทคโนโลยี IoT for Smart Hospital และชุมชนเป็นฐาน

แบบเสนอโครงการ
โครงการการถ่ายทอดความรู้และพัฒนาระบบคัดกรองผู้ป่วยอัจฉริยะสำหรับแผนกผู้ป่วยนอก (OPD) (Smart Easy OPD) เพื่อคุณภาพการให้บริการทางการแพทย์แก่ชุมชน โดยใช้เทคโนโลยี IoT for Smart Hospital และชุมชนเป็นฐาน

1. ชื่อโครงการ

โครงการการถ่ายทอดความรู้และพัฒนาระบบคัดกรองผู้ป่วยอัจฉริยะสำหรับแผนกผู้ป่วยนอก (OPD) (Smart Easy OPD) เพื่อคุณภาพการให้บริการทางการแพทย์แก่ชุมชน โดยใช้เทคโนโลยี IoT for Smart Hospital และชุมชนเป็นฐานมหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ชลบุรี ขอนแก่น บางเขนคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ วิทยาเขตชลบุรี บางเขน และวิทยาเขตขอนแก่น มหาวิทยาลัยศรีปทุมชุมชนเขตกาฬสินธุ์ อำเภอคำม่วง ต.นาบอนผศ.ดร.เศรษฐชัย ชัยสนิทอ.สิริรัตน์ มัชฌิมาดิลก อ.ภาณุวัฒน์ เรืองกุลทรัพย์คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ วิทยาเขตชลบุรี บางเขน และวิทยาเขตขอนแก่น มหาวิทยาลัยศรีปทุม0851557656นายภควัฒน์งามวงศ์วาน นักศึกษาสาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
นายนนทวัฒน์ส้มดี นักศึกษาสาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
นายภูวนนท์ทรัพย์สิน นักศึกษาสาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
นายฐาปกรณ์พฤทธิสาริกร นักศึกษาสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ
นายชัยสิทธิ์ เส็งสูนย นักศึกษาสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ

2. พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
กาฬสินธุ์ คำม่วง นาบอน

3. รายละเอียดชุมชน

ภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานสำคัญของอำเภอคำม่วง ต.นาบอน
1.สภาพทั่วไป
1.1ที่ตั้ง
• อำเภอคำม่วงตั้งอยู่ทางทิศเหนือของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
• ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอวังสามหมอ (จังหวัดอุดรธานี) และอำเภอกุดบาก (จังหวัดสกลนคร)
• ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอภูพาน (จังหวัดสกลนคร) และอำเภอสมเด็จ
• ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอสมเด็จและอำเภอสหัสขันธ์
• ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอสามชัย
2.การแบ่งเขตการปกครอง เป็น 10 หมู่บ้าน
ประกอบด้วยหมู่บ้าน หมู่1 บ้านนาบอน , หมู่2 บ้านสะพานหิน , หมู่3 บ้านคำสมบูรณ์ , หมู่4 บ้านคำเมย , หมู่5 บ้านหัวนาคำ , หมู่6 บ้านโนนศรีสวัสดิ์ , หมู่7 บ้านทุ่งมน , หมู่8 บ้านบะเอียด , หมู่9 บ้านนาอุดม , หมู่10 บ้านนาทัน
3. จำนวนประชากรใน ตำบลนาบอน
จำนวนหลังคาเรือน : 1,297 หลังคาเรือน
จำนวนประชากร : 5,972 คน จำนวนผู้สูงอายุ : 588 คน
จำนวนเด็กแรกเกิด ถึง 6 ปี : 436 คน จำนวนผู้สูงอายุ ที่ป่วยเป็นโรคเรื้อรัง : 116 คน
จำนวนสตรีตั้งครรภ์ : 21 คน จำนวนผู้สูงอายุ ที่ช่วยตนเองไม่ได้ : 12 คน
จำนวนสตรีอายุ 35 ปี ขึ้นไป :383 คน จำนวนผู้พิการ : 57 คน
4.ลักษณะภูมิศาสตร์
ตำบลขมิ้นมีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบสูงสลับกับที่ราบลุ่มป่าไม้ส่วนใหญ่เป็นป่าเสื่อมโทรมเนื่องจากการตัดไม้เพื่อทำไร่ของราษฎรสภาพแวดล้อมโดยทั่วไปเป็นพื้นที่ป่าไม้หลักในเขตที่สำคัญๆ คือ ป่าโคกตาบอดประมาณ1,500 ไร่ และป่าไม้ตามแหล่งชุมชน ตามที่ดอนตามแหล่งทำการเกษตร สถานที่ราชการ วัด รวมพื้นที่ป่าไม้ประมาณ 10 % ของพื้นที่ตำบลขมิ้น
-พื้นที่ที่เป็นแหล่งชุมชน สถานที่ราชการ มีพื้นที่ประมาณ 15%
-พื้นที่ทำการเกษตร มีพื้นที่ประมาณ 75%
สภาพภูมิอากาศมีสามฤดู คือ
-ฤดูร้อนเริ่มตั้งแต่ เดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนเมษายนมีสภาพอากาศที่ร้อนมาก
-ฤดูฝนเริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม มีฝนตกชุกเป็นบางช่วง และไม่ตรงตามฤดูกาล
-ฤดูหนาวเริ่มตั้งแต่ เดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนกุมภาพันธุ์ มีอากาศหนาวและแห้งแล้ง
ระบบสาธารณสุข
มีโรงพยาบาลประจำตำบล 1 แห่ง มีจำนวนบุคลกรทางการแพทย์จำนวนไม่เพียงพอ
มีประชาชนจำนวนมาก มีผู้สูงอายุและพบการเจ็บป่วยส่งผลให้มีปัญหาด้านการบริการทางการแพทย์
ระบบการจัดการด้านสุขภาพและการให้บริการทางการแพทย์ และมีบุคลากรทางการแพทย์ ไม่เพียงพอต่อความต้องการของชุมชนที่มีผู้ใชบริการกว่า 6000 คนการเจ็บป่วยนั้นเป็นภาวะวิกฤตของชีวิต หากไม่ได้รับการช่วยเหลือรักษาอย่างทันท่วงทีแล้ว อาจทำให้เกิดการสูญเสียชีวิต หรือเกิดความบกพร่องในการทำงานของอวัยวะสำคัญต่าง ๆ ของร่างกาย รวมทั้งอาจทำให้เจ็บป่วยรุนแรงมากขึ้นและเกิดความทุกข์ทรมาน ดังนั้นผู้ป่วยจึงจำเป็นต้องได้รับการประเมิน การจัดการและการบำบัดรักษาอย่างรวดเร็ว ถูกต้องเหมาะสม เพื่อป้องกันการเสียชีวิต หรือลดความรุนแรงของการบาดเจ็บหรืออาการป่วยนั้นลง (พ.ร.บ.การแพทย์ฉุกเฉิน, 2551) ปัญหาที่พบจากการที่ผู้ป่วยมาใช้บริการแผนกผู้ป่วยนอกและแผนกฉุกเฉินนั้นมีปริมาณมากในแต่ละวันทำให้ต้องมีระบบคัดกรองผู้ป่วย เพื่อแบ่งระดับความเจ็บป่วย และบริหารจัดการความเสี่ยงให้กับผู้ป่วยอย่างมีประสิทธิภาพ (Emergency Nurses Association., 2005) และส่งผลให้เกิดการบริหารจัดการทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดกับผู้ป่วยที่ตามความเหมาะสมอีกด้วย เพราะฉะนั้นการคัดกรองผู้ป่วยจึงต้องการความถูกต้องและรวดเร็วระบบการจัดการด้านสุขภาพและการให้บริการทางการแพทย์ และมีบุคลากรทางการแพทย์ ไม่เพียงพอต่อความต้องการของชุมชนที่มีผู้ใชบริการกว่า 6000 คน

4. ประเด็นปัญหาหลัก

5. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

6. องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

การเจ็บป่วยนั้นเป็นภาวะวิกฤตของชีวิต หากไม่ได้รับการช่วยเหลือรักษาอย่างทันท่วงทีแล้ว อาจทำให้เกิดการสูญเสียชีวิต หรือเกิดความบกพร่องในการทำงานของอวัยวะสำคัญต่าง ๆ ของร่างกาย รวมทั้งอาจทำให้เจ็บป่วยรุนแรงมากขึ้นและเกิดความทุกข์ทรมาน ดังนั้นผู้ป่วยจึงจำเป็นต้องได้รับการประเมิน การจัดการและการบำบัดรักษาอย่างรวดเร็ว ถูกต้องเหมาะสม เพื่อป้องกันการเสียชีวิต หรือลดความรุนแรงของการบาดเจ็บหรืออาการป่วยนั้นลง (พ.ร.บ.การแพทย์ฉุกเฉิน, 2551) ปัญหาที่พบจากการที่ผู้ป่วยมาใช้บริการแผนกผู้ป่วยนอกและแผนกฉุกเฉินนั้นมีปริมาณมากในแต่ละวันทำให้ต้องมีระบบคัดกรองผู้ป่วย เพื่อแบ่งระดับความเจ็บป่วย และบริหารจัดการความเสี่ยงให้กับผู้ป่วยอย่างมีประสิทธิภาพ (Emergency Nurses Association., 2005) และส่งผลให้เกิดการบริหารจัดการทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดกับผู้ป่วยที่ตามความเหมาะสมอีกด้วย
เพราะฉะนั้นการคัดกรองผู้ป่วยจึงต้องการความถูกต้องและรวดเร็วระบบการคัดกรองผู้ป่วยได้รับการพัฒนาเรื่อยมา จนล่าสุดที่ใช้เป็นมาตรฐานในสหรัฐอเมริกาก็คือระบบ ESI ตั้งแต่ปี 2005 เป็น version 4 (สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ, 2554 ) เน้นการคัดกรองผู้ป่วยหนักหรือมีความเสี่ยงที่ต้องการดูแลเร่งด่วนโดยใช้ ESI scale (Fan J, Darrab A, Eva K, et al., 2005) และเน้นความลื่นไหลในการทำงาน ลดความแออัดในแผนกผู้ป่วยนอกและแผนกฉุกเฉิน โดยพิจารณาจากทรัพยากรที่ต้องใช้ในผู้ป่วยแต่ละราย โดยไม่ได้กำหนดกรอบเวลาไว้ตายตัวเหมือนระบบคัดกรองอื่นๆ อย่างไรก็ตามเนื่องจากทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดและข้อจำกัดด้านอุปกรณ์การแพทย์ อาทิ เครื่องวัดความดัน (BP) เครื่องวัดน้ำหนักส่วนสูง (Scale) เครื่องวัดอุณหภูมิ (Thermometer) ที่มีอยู่อย่างจำกัดรวมไปถึงการบริหารจัดการข้อมูลที่ต้องดำเนินการบันทึกข้อมูลต่าง ๆ ด้วยมือ เข้าระบบเพื่อส่งต่อข้อมูลไปยังแผนกที่เหมาะสมต่อไป ส่งผลให้การดำเนินการคัดแยกผู้ป่วยเกิดความล่าช้าและยุ่งยาก สร้างภาระให้บุคลากรทางการแพทย์ที่มีจำนวนน้อยอยู่แล้วเกิดภาระงานเพิ่มเติมอย่างมีนัยสำคัญ

นอกจากนี้ยังมีอีกหนึ่งปัจจัยที่ส่งผลให้ผู้วิจัยต้องพัฒนาระบบคัดกรองผู้ป่วยอัจฉริยะสำหรับแผนกผู้ป่วยนอก (OPD) (Smart Easy OPD) เนื่องจากประเทศไทยเข้าสู่สังคมสูงอายุ (aging society) ทำตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 (สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, 2560) โดยในปี พ.ศ. 2560 มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปประมาณ 11 ล้านคนหรือคิดเป็นร้อยละ 17 ของประชากรทั้งประเทศ


เมื่อเปรียบเทียบจำนวนผู้สูงอายุในกลุ่มประเทศอาเซียน พบว่า ประเทศไทยมีจำนวนผู้สูงอายุมากเป็นอันดับที่ 2 รองจากประเทศสิงคโปร์ และเป็นอันดับที่ 3 ของเอเชียรองจากประเทศญี่ปุ่นและสิงค์โปร์


และคาดการณ์ว่าในอีกไม่เกิน 2 ปีข้างหน้าหรือราว พ.ศ. 2564 ประเทศไทยจะกลายเป็นสังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์ (complete-aged society) คือมีประชากรสูงอายุร้อยละ 20 และประมาณปี พ.ศ. 2579 จะเป็นสังคมสูงอายุระดับสุดยอด (super-aged society) ซึ่งหมายถึงการมีสัดส่วนประชากรผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่าร้อยละ 30 ของประชากรทั้งหมด (สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, 2560) จากแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้สูงอายุอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ในหลายประเทศเริ่มให้ความสำคัญกับนโยบายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ โดยเฉพาะด้านสุขภาพ เนื่องจากผู้สูงอายุเป็นวัยที่มีความเสื่อมถอยของร่างกาย อวัยวะต่างๆ สูญเสียหน้าที่ ก่อให้เกิดความเจ็บป่วย และความผิดปกติมากขึ้นทำให้มีความต้องการการดูแลรักษาด้านสุขภาพเพิ่มขึ้น รวมถึงความต้องการในการใช้บริการทางการแพทย์ รวมไปถึงระบบดูแลสุขภาพที่มีความแม่นยำ มีระบบช่วยเหลือในการวิเคราะห์และวินิจฉัยในเชิงป้องกันได้เป็นอย่างดี
จากปัญหาดังกล่าวคณะทำ จึงได้สนใจที่จะทำการพัฒนาระบบคัดกรองผู้ป่วยอัจฉริยะสำหรับแผนกผู้ป่วยนอก (OPD) (Smart Easy OPD) เพื่อลดภาระงานให้กับบุคลากรทางการแพทย์ซึ่งทั้งในระดับชุมชนและในระดับประเทศนั้นมีจำนวนไม่เพียงพอ ช่วยในการบริหารทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยระบบดังกล่าวจะสามารถบันทึกค่าต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการคัดกรองผู้ป่วยนอก (OPD) ได้อย่างเหมาะสม สามารถส่งต่อข้อมูลไปยังแผนกที่เกี่ยวข้องได้อย่างอัตโนมัติทั้งค่าความดัน (BP) ค่าน้ำหนักส่วนสูง (Scale) ค่าอุณหภูมิร่างกาย (Thermometer) เป็นแพลตฟอร์มที่สามารถรับค่าจากอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องได้ทุกโมเดลและส่งต่อเข้าสู่ระบบสารสนเทศของโรงพยาบาลได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้องแม่นยำและอัตโนมัติ ส่งผลให้ช่วยลดความผิดพลาดและลดเวลาการให้บริการการคัดกรองผู้ป่วยได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 และในส่วนของการนำไปใช้งานกับสังคมผู้สูงอายุระบบดังกล่าวสามารถเชื่อมต่อกับแอปพลิเคชันและระบบคลาวคอมพิวติ่ง เพื่อเก็บข้อมูลค่าการคัดกรองต่าง ๆ ไว้เป็นข้อมูลส่วนบุคคล สามารถเข้าดูประวัติเพื่อการวินิจฉัยที่มีประสิทธิภาพได้มากขึ้น ดังนั้นคระทำงานจึงเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนานวัตกรรมเพื่อการบริการและดูแลผู้ป่วยรวมไปถึงผู้สูงอายุ ที่สามารถช่วยในการคัดกรองและการวินิจฉัยที่ถูกต้อง รวดเร็ว และง่ายแก่การใช้งาน จึงได้พัฒนานวัตกรรมการคัดกรองผู้ป่วยอัจฉริยะสำหรับแผนกผู้ป่วยนอก (OPD) (Smart Easy OPD)เพื่อให้ทั้งเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์และผู้สูงอายุสามารถประเมินผู้ป่วยและตนเองได้อย่างถูกต้องรวดเร็ว เพื่อคุณภาพของการดูแล และพัฒนาระบบการให้บริการให้ดียิ่งขึ้นต่อไป และสามารถระบุตัวตนคนไข้ได้ถูกต้อง พร้อมทั้งเปรียบเทียบจำนวนระดับความพึงพอใจของเจ้าหน้าที่ที่ใช้นวัตกรรม เพื่อผลการวิจัยที่ได้จะช่วยการพัฒนาคุณภาพการบริการแก่ผู้ป่วยและสังคมผู้สูงอายุของไทยได้อย่างยั่งยืน

การถ่ายทอดความรู้และพัฒนาระบบคัดกรองผู้ป่วยอัจฉริยะสำหรับแผนกผู้ป่วยนอก (OPD) (Smart Easy OPD) เพื่อลดภาระงานให้กับบุคลากรทางการแพทย์ ช่วยในการบริหารทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยระบบดังกล่าวจะสามารถบันทึกค่าต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการคัดกรองผู้ป่วยนอก (OPD) ได้อย่างเหมาะสม สามารถส่งต่อข้อมูลไปยังแผนกที่เกี่ยวข้องได้อย่างอัตโนมัติทั้งค่าความดัน (BP) ค่าน้ำหนักส่วนสูง (Scale) ค่าอุณหภูมิร่างกาย (Thermometer) เป็นแพลตฟอร์มที่สามารถรับค่าจากอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องได้ทุกโมเดลและส่งต่อเข้าสู่ระบบสารสนเทศของโรงพยาบาลได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้องแม่นยำและอัตโนมัติ ส่งผลให้ช่วยลดความผิดพลาดและลดเวลาการให้บริการการคัดกรองผู้ป่วยได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 และในส่วนของการนำไปใช้งานกับสังคมผู้สูงอายุระบบดังกล่าวสามารถเชื่อมต่อกับแอปพลิเคชันและระบบคลาวคอมพิวติ่ง เพื่อเก็บข้อมูลค่าการคัดกรองต่าง ๆ ไว้เป็นข้อมูลส่วนบุคคล สามารถเข้าดูประวัติเพื่อการวินิจฉัยที่มีประสิทธิภาพได้มาก ทั้งนี้ระบบคัดกรองผู้ป่วยอัจฉริยะสำหรับแผนกผู้ป่วยนอก (Smart Easy OPDประกอบด้วยระบบ 3 ระบบดังนี้

องค์ประกอบของแอปพลิเคชันระบบคัดกรองผู้ป่วยอัจฉริยะสำหรับแผนกผู้ป่วยนอก (Smart Easy OPD)

1. Platform การเชื่อมต่ออุปกรณ์ OPD ประกอบด้วยระบบงานดังต่อไปนี้
- โมดูลการเชื่อมต่อ รับค่าและแปลงข้อมูลเครื่องวัดความดัน (BP) โดยการแปลงข้อมูลจาก RS232 และนำข้อมูลเข้าสู่ Computer ports และแปลงข้อมูลเข้าสู่ระบบฐานข้อมูล
- โมดูลการเชื่อมต่อ รับค่าและแปลงข้อมูลเครื่องวัดน้ำหนัก (Hight) โดยการแปลงข้อมูลจาก RS232 และนำข้อมูลเข้าสู่ Computer ports และแปลงข้อมูลเข้าสู่ระบบฐานข้อมูล
- โมดูลการเชื่อมต่อ รับค่าและแปลงข้อมูลเครื่องวัดส่วนสูง (Weight) โดยการแปลงข้อมูลจาก RS232 และนำข้อมูลเข้าสู่ Computer ports และแปลงข้อมูลเข้าสู่ระบบฐานข้อมูล
- โมดูลการเชื่อมต่อ รับค่าและแปลงข้อมูลเครื่องวัดอุณหภูมิ (Thermometer) โดยการแปลงข้อมูลจาก RS232 และนำข้อมูลเข้าสู่ Computer ports และแปลงข้อมูลเข้าสู่ระบบฐานข้อมูล
- โมดูลการเชื่อมต่อ รับค่าและแปลงข้อมูลอุปกรณ์อื่น ๆ

2. Application คัดกรองผู้ป่วยอัจฉริยะสำหรับแผนกผู้ป่วยนอก (Smart Easy OPD) ประกอบด้วยระบบงานดังต่อไปนี้
- ระบบระบุตัวตน โดยระบบสามารถจดจำใบหน้าผู้มารับบริการ เพื่อระบุตัวตนได้โดยไม่ต้องใช้บัตรประชาชน หรือประจำตัวบัตรผู้ป่วย
- ระบบยืนยันตัวตน โดยระบบสามารถยืนยันตัวตนผู้มารับบริการด้วยการสแกนบัตรประชาชน หรือบัตรประจำตัวบัตรผู้ป่วยได้
- ระบบแสดงข้อมูลเบื้องต้นของผู้มารับบริการนั้น เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง
- ระบบบันทึกข้อมูลการตรวจวัดความดัน น้ำหนัก และส่วนสูงเข้าสู่ระบบ Cloud เพื่อนำไปใช้วิเคราะห์เกี่ยวกับสุขภาพในครั้งต่อๆ ไป โดยข้อมูลนี้โรงพยาบาลต่างๆ จะสามารถดึงไปใช้ได้ด้วยเช่นกัน รวมไปถึงการเชื่อมต่อกับ Application Health Care Service เพื่อให้ผู้ใช้สามารถดูประวัติและส่งต่อสู่ระบบเพื่อวิเคราะห์สุขภาพได้
- ระบบสามารถรับส่ง รวมไปถึงการแปลงข้อมูลของผู้มารับบริการจากเครื่องมือต่าง ๆ และบันทึกเข้าระบบ HIS โดยอัตโนมัติ โดยแพทย์สามารถดึงข้อมูลของผู้มารับบริการไปดูได้ทันทีหลังจากทำการตรวจวัดโดยผ่านระบบ

3. Application Health Care Service ประกอบด้วยระบบงานดังนี้
- ระบบบริหารข้อมูลผู้ใช้
- ระบบบริหารข้อมูลสถานพยาบาล
- ระบบบริหาร Content ของ Platform
- ระบบ AI สำหรับวิเคราะห์ข้อมูลด้านสุขภาพ รวมไปถึงแนะนำการปฏิบัติตนที่เหมาะสม
- ระบบแสดงประวัติด้านสุขภาพ
- ระบบแจ้งเตือนข้อมูล
- ระบบค้นหาข้อมูล

7. วัตถุประสงค์

วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อถ่ายทอดความรู้และพัฒนาระบบคัดกรองผู้ป่วยอัจฉริยะสำหรับแผนกผู้ป่วยนอก (OPD) (Smart Easy OPD) เพื่อคุณภาพการให้บริการทางการแพทย์แก่ชุมชน โดยใช้เทคโนโลยี IoT for Smart Hospital และชุมชนเป็นฐาน

ระบบคัดกรองผู้ป่วยอัจฉริยะสำหรับแผนกผู้ป่วยนอก (OPD) (Smart Easy OPD) สำหรับรพใชุมชน

1.00 0.40

8. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ผู้สูงอายุ ผู้ใช้บริการทางการแพทย์ บุคลากรทางการแพ 500

9. ระยะเวลา

10. วิธีดำเนินงาน

กิจกรรมที่ 1 ถ่ายทอดความรู้และพัฒนาระบบคัดกรองผู้ป่วยอัจฉริยะสำหรับแผนกผู้ป่วยนอก (OPD) (Smart Easy OPD) เพื่อคุณภาพการให้บริการทางการแพทย์แก่ชุมชน โดยใช้เทคโนโลยี IoT for Smart Hospital และชุมชนเป็นฐาน

ชื่อกิจกรรม
ถ่ายทอดความรู้และพัฒนาระบบคัดกรองผู้ป่วยอัจฉริยะสำหรับแผนกผู้ป่วยนอก (OPD) (Smart Easy OPD) เพื่อคุณภาพการให้บริการทางการแพทย์แก่ชุมชน โดยใช้เทคโนโลยี IoT for Smart Hospital และชุมชนเป็นฐาน
วัตถุประสงค์
    รายละเอียดกิจกรรม
    1. วิจัยและพัฒนาระบบคัดกรองผู้ป่วยอัจฉริยะสำหรับแผนกผู้ป่วยนอก (OPD) (Smart Easy OPD) เพื่อคุณภาพการให้บริการทางการแพทย์แก่ชุมชน โดยใช้เทคโนโลยี IoT for Smart Hospital และชุมชนเป็นฐาน
    2. ถ่ายทอดความรู้ให้กับชุมชน
    ระยะเวลาดำเนินงาน
    3 มกราคม 2563 ถึง
    ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
    ระบบคัดกรองผู้ป่วยอัจฉริยะสำหรับแผนกผู้ป่วยนอก (OPD) (Smart Easy OPD)
    การให้บริการทางการแพย์ที่สะดวกรวดเร็ว
    ลดปัญหาสุขภาพ
    ลดปัญหาความเหลือมล้ำ
    ทรัพยากรอื่น ๆ
    ภาคีร่วมสนับสนุน
    องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น , สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด
    รายละเอียดงบประมาณ
    ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
    รวมค่าใช้จ่าย 0

    รวมงบประมาณทุกกิจกรรมของแผนการดำเนินงาน จำนวน 500,000.00 บาท

    รวมเงิน
    ค่าใช้จ่าย (บาท) 0.00
    เปอร์เซ็นต์ (%) 100.00%

    11. งบประมาณ

    500,000.00บาท

    12. การติดตามประเมินผล

    ต่อชุมชนต่อนักศึกษา
    ผลผลิต (Output) ได้รับนวัตกรรมเพื่อลดปัญหาความเหลื่อมล้ำสำหรับชุมชน องค์ความรู้ด้านการวิจัยและพัฒนาอุปกรณ์ทางการแพย์
    ผลลัพธ์ (Outcome) ระบบคัดกรองผู้ป่วยอัจฉริยะสำหรับแผนกผู้ป่วยนอก (OPD) (Smart Easy OPD) เพื่อคุณภาพการให้บริการทางการแพทย์แก่ชุมชน โดยใช้เทคโนโลยี IoT for Smart Hospital และชุมชนเป็นฐาน ได้ฝึกถ่ายทอดความรู้และฝึกพัฒนานวัตกรรม
    ผลกระทบ (Impact) การให้บริการทางการแพย์ที่สะดวกรวดเร็ว
    ลดปัญหาสุขภาพ
    ลดปัญหาความเหลือมล้ำ
    ได้เข้าใจถึงปัญหาของชุมชน
    สำนึกรักบ้านเกิด
    นำเข้าสู่ระบบโดย kriangkrai.sa01 kriangkrai.sa01 เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2562 19:24 น.