การพัฒนาการเชิงพื้นที่เพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรเชิงท่องเที่ยวจากศักยภาพและภูมิปัญญา ตำบลวังหมี อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา

แบบเสนอโครงการ
การพัฒนาการเชิงพื้นที่เพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรเชิงท่องเที่ยวจากศักยภาพและภูมิปัญญา ตำบลวังหมี อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา

1. ชื่อโครงการ

การพัฒนาการเชิงพื้นที่เพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรเชิงท่องเที่ยวจากศักยภาพและภูมิปัญญา ตำบลวังหมี อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมากระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานสถาบันวิจัยและพัฒนากลุ่มส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ @ View Share Farmผศ.ดุษฎี เทียมเทศ บุญมาสูงทรงดร.พรทิพย์ รอดพ้นสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ถนนสุรนารายณ์ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา 30000081-547-6552ดร.พรทิพย์ รอดพ้น
ดร.ธนาวัฒน์ ปัทมฤทธิกุล
อ.ปุริม หนุนนัด
อ.กัลยารัตนจันทร์
นางสาวปิยาภรณ์ แทนพลกรัง
นายธนาวุฒิลี้โชติ
นางสาวปนัดดา ด้วงกลาง
นางสาวสุมาลี มงกุฏเพชร
นางสาวสุภาภรณ์ ดู่หมื่นไวย
นางสาวสุพัฒตรา เทพทะเล
นายภัคพล พรหมมาโนช
นายวราวุฒิ สินจะโปะ
นางสาวกนกพร พิทักษ์ธานินทร์
นางสาว ยุพารัตน์ ประจิต

2. พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ชนบท

3. รายละเอียดชุมชน

คนพิการกลุ่มหนึ่งที่รวมตัวกันออกมาทำงานเป็นต้นแบบ ด้วยการพลิกพื้นที่ป่าข้าวโพด 20 ไร่ บนที่ลาดเชิงเขาให้เป็นแปลงเกษตรผสมผสานและฟาร์มสเตย์ในชื่อ ‘View Share Farm’ ที่รองรับนักท่องเที่ยวได้ทุกกลุ่มคน ฟาร์มเกษตรผสมผสาน พร้อมบ้านพักสำหรับการท่องเที่ยว ที่บริหารและดำเนินการโดยกลุ่มคนพิการและผู้ดูแลคนพิการในเขตจังหวัดนครราชสีมา ได้รับการสนับสนุนอาชีพคนพิการจากผู้ประกอบการตามมาตรา 35 ของพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 โดยใน พ.ศ. 2558 กลุ่มเครือข่ายคนพิการในจังหวัดนครราชสีมา จึงร่วมกันบุกเบิกเส้นทางใหม่เพื่อให้เกิดการสนับสนุนงานและอาชีพตามมาตรา 35 ให้เป็นจริงได้ กลุ่มคนพิการจำนวน 18 คน โดยสำเภา จงเยือกกลาง เจ้าของที่ดิน 20 ไร่ที่นำมาพัฒนาเป็น View Share Farm ร่วมกันพัฒนาเป็นฟาร์มสเตย์ ต้องการสร้างเป็นแหล่งท่องเที่ยว แหล่งสร้างรายได้ให้กับผู้พิการในจังหวัดนครราชสีมา โดยได้รับการสนับสนุนจากคุณณรงค์ ผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรบุคคลของ บริษัท เฮชจีเอสที ให้เงินทุนตามสิทธิ์คนพิการของกลุ่มจำนวน 10 คน มาตั้งต้นทำอาชีพตามโครงการให้สำเร็จ จากป่าข้าวโพดแห้งๆ สำหรับเลี้ยงสัตว์ ที่ไม่มีใครมองออกว่าจะเป็นพื้นที่ทำเกษตรได้อย่างไร ยิ่งลักษณะผืนดินแห่งนี้น่าจะยิ่งทวีความท้าทายสำหรับความสามารถของคนพิการ ในที่สุดพื้นที่แห่งนี้ก็กลายเป็นพื้นที่เกษตรผสมผสานได้อย่างลงตัว มีการแบ่งแปลงปลูกสำหรับพืชหลายชนิด รวมถึงการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ ปรับแปลงเพาะปลูกแห่งนี้โดยลดการใช้เคมีลงไปเรื่อยๆ เพื่อให้ผลผลิตในฟาร์มผ่านมาตรฐานอาหารเกษตรปลอดภัย เมื่อพื้นที่การเกษตรเห็นผลน่าชื่นใจ สร้างความมั่นใจให้คนพิการและผู้ประกอบการได้ สมาชิกในกลุ่มจึงขยายเพิ่มเป็น 71 คน พร้อมเพิ่มพื้นที่เกษตรของกลุ่มอีก 2 แห่ง ในอำเภอพิมายและอำเภอโนนชัย จังหวัดนครราชสีมา โครงการของ View Share Farm ได้รับเงินสนับสนุนตามมาตรา 35 ตามสิทธิ์คนพิการเพิ่มขึ้น ปัจจุบันสมาชิกในกลุ่มคิดต่อยอดมาก พวกเขาต้องการพัฒนางานและหารายได้เลี้ยงกลุ่มให้ได้ โดยต้องการพัฒนาเป็นการทำการเกษตรเชิงท่องเที่ยว ให้เป็นที่ท่องเที่ยว ไปพร้อมกับเป็นสถานที่ดูงาน และศูนย์การเรียนรู้ สร้างผลิตภัณฑ์แปรรูปทางการเกษตรให้มีมูลค่าเพิ่ม และนำเก็บไว้รอการจำหน่ายได้นานขึ้น ซึ่งถือเป็นการสร้างอาชีพเพื่อคนพิการที่ยั่งยืนเลี้ยงตัวเองให้ได้จุดเด่นของวังน้ำเขียวคือ อากาศดี เป็นแหล่งโอโซนอันดับ 7 รวมถึงสถานที่เป็นของกลุ่มผู้พิการไม่ต้องเสียค่าเช่า เพราะเป็นของสำเภา จงเยือกกลาง สมาชิกผู้บุกเบิก View Share Farm รวมถึงสภาพภูมิอากาศที่เอ้ื้ออำนวยในการทำการเกษตรทั้งเกษตรอินทรีย์ ที่ปลูกผักและผลไม้ได้ตลอดปี และการเกษตรเชิงท่องเที่ยว อีกทั้งยังมีหน่วยงานภาคเอกชนให้การสนับสนุนจาก มาตรา 35 และความมุ่งมั่นตั้งใจของสมาชิกที่ต้องการ "ลดความเห็นใจ ขยายความเท่าเทียม" สร้างความมั่นใจและความภาคภูมิใจให้กลุ่มคนผู้พิการกลุ่มมีการปลูกต้นหม่อนแบบอินทรีย์ได้รับมาตรฐาน GAP ต้นหม่อนใช้เวลาปลูก 8 เดือน สามารถเก็บผลผลิตได้ ผลจากลูกหม่อนจะออกพร้อมๆ กันจำนวนมาก ทำให้แปรรูปไม่ทัน จึงต้องนำไปแช่แข็ง แต่อย่างไรก็ตาม ปริมาณตู้แช่แข็งก็ไม่เพียงพอสำหรับการเก็บรักษาผลผลิตไว้เพื่อการแปรรูปในระยะเวลานาน บางส่วนของผลผลิตจึงต้องปล่อยให้ร่วงทิ้ง ทางผู้ประกอบการจึงอยากที่จะนำผลลูกหม่อนแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เก็บไว้เพื่อการจำหน่ายให้นานขึ้นสภาพความพิการของสมาชิก การขาดองค์ความรู้ในการบริหารจัดการในด้านการเกษตรและการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ผลผลิตทางการเกษตรขาดการแปรรูปที่ถือว่าเป็นการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ ขาดการทำตลาดและการสื่อสารการตลาดอย่างต่อเนื่อง (การตลาดเชิงรุก)สมัยใหม่จากการบริการวิชาการในปี 2562 ทำให้ทราบถึงสภาพถึงปริมาณการผลิตสินค้าเกษตร ที่ถ้าไม่ได้มาตรฐานการจำหน่ายจะไม่ได้ราคา ราคาถูกกำหนดโดยคนกลาง กลุ่มจึงต้องการแปรรูปผลิตภัณฑ์ให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น สร้างแบรนด์ สร้างบรรจุภัณฑ์ รวมถึงการทำตลาดเชิงรุกให้กับผลิตภัณฑ์ และสร้างกลุ่มที่มีจุดเด่น ฟาร์มสเตย์ ในพื้นที่ที่สุดยามสู่การเป็นการเกษตรเชิงท่องเที่ยว ต่อไป

4. ประเด็นปัญหาหลัก

5. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

6. องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

องค์ความรู้ด้านเกษตร องค์ความรู้ด้านการแปรรูปอาหาร องค์ความรู้ด้านการท่องเที่ยว องค์ความรู้บรรจุภัณฑ์ องค์ความรู้ด้านการสร้างแบรนด์ และการตลาดสมัยใหม่

7. วัตถุประสงค์

วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากหม่อนแบบอินทรีย์
  1. จำนวนผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการยอมรับ จำนวน 2 ผลิตภัณฑ์
  2. องค์ความรู้การแปรรูปการจัดการสถานที่ผลิตตามหลักการ Primary GMP
2.00 2.00
2 การพัฒนาแบรนด์ สร้างช่องทางการจัดจำหน่าย สร้างการรับรู้ พัฒนาช่องทางการตลาด และพัฒนาระบบการตลาดสมัยใหม่
  1. แบรนด์ 1 แบรนด์ ที่มีอัตลักษณ์ของกลุ่มผู้พิการ
  2. ช่องทางการตลาดออนไลน์
  3. ช่องทางการสือสารทางการตลาดเพิ่มขึ้น
1.00 1.00

8. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
นักศึกษา สาขาวิชาการจัดการ 2
นักศึกษา สาขาวิชาการตลาด 2
นักศึกษา สาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม 2
นักศึกษา สาขาวิชาการเกษตรและสิ่งแวดล้อม 2
สมาชิกกลุ่มส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ @ View Share farm 71

9. ระยะเวลา

10. วิธีดำเนินงาน

กิจกรรมที่ 1 ศึกษาหาข้อมูลเพื่อวิเคราะห์และวางแผน

ชื่อกิจกรรม
ศึกษาหาข้อมูลเพื่อวิเคราะห์และวางแผน
วัตถุประสงค์
    รายละเอียดกิจกรรม
    ลงพื้นที่สำรวจ สัมภาษณ์ สังเกต เพื่อนำมาวิเคราะห์วางแผน เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูป สร้างแบรนด์ ช่องทางการจำหน่าย การสื่อสารการตลาด และการทำตลาดเชิงรุก และการเกษตรเชิงการท่องเที่ยว
    ระยะเวลาดำเนินงาน
    1 พ.ค. 2563 ถึง
    ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
    ข้อมูล แผน ในการพัฒนาพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูป สร้างแบรนด์ ช่องทางการจำหน่าย การสื่อสารการตลาด การทำตลาดสมัยใหม่่ ละการเกษตรเชิงการท่องเที่ยว
    ทรัพยากรอื่น ๆ
    คอมพิวเตอร์ กล้องถ่ายรูป เครื่องมือในการสัมภาษณ์
    ภาคีร่วมสนับสนุน
    บริษัท เฮชจีเอสที
    รายละเอียดงบประมาณ
    ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
    ค่าตอบแทนวิทยากร 6 คน 500 6 18,000
    ค่าอาหาร 20 คน 200 3 12,000
    ค่าพาหนะเดินทาง - รถตู้เช่า 1 เที่ยว 2,500 6 15,000
    ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้ 20 คน 300 1 6,000
    ค่าวัสดุสำนักงาน

    วัสดุสำนักงาน

    1 ครั้ง 3,000 1 3,000
    รวมค่าใช้จ่าย 54,000

    กิจกรรมที่ 2 อบรมเชิงปฏิบัติการแปรรูปจากหม่อน

    ชื่อกิจกรรม
    อบรมเชิงปฏิบัติการแปรรูปจากหม่อน
    วัตถุประสงค์
      รายละเอียดกิจกรรม
      อบรมการทำน้ำหม่อน แยมหม่อน กรรมวิธีการแปรรูปอาหารและการจัดการสถานที่ตามหลักเกณฑ์ของ Primary GMP และการบรรจุภัณฑ์สำหรับน้ำหม่อน และแยมหม่อน
      ระยะเวลาดำเนินงาน
      18 พ.ค. 2563 ถึง
      ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
      ผลิตภัณฑ์น้ำหม่อน และแยมหม่อน องค์ความรู้ในการทำผลิตภัณฑ์จาหหม่อน และ Primary GMP
      ทรัพยากรอื่น ๆ
      บรรจุภัณฑ์ในการผลิตน้ำหม่อนและแยมหม่อน
      ภาคีร่วมสนับสนุน
      บริษัท เฮชจีเอสที
      รายละเอียดงบประมาณ
      ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
      ค่าตอบแทนวิทยากร 3 คน 2,400 3 21,600
      ค่าอาหาร 20 คน 200 1 4,000
      ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้ 1 คน 300 3 900
      อื่น ๆ

      ค่าบรรจุภัณฑ์

      400 ชิ้น 20 2 16,000
      รวมค่าใช้จ่าย 42,500

      กิจกรรมที่ 3 การจัดทำแบรนด์ จัดทำสื่อสารทางการตลาดพัฒนาช่องทางการตลาด

      ชื่อกิจกรรม
      การจัดทำแบรนด์ จัดทำสื่อสารทางการตลาดพัฒนาช่องทางการตลาด
      วัตถุประสงค์
        รายละเอียดกิจกรรม
        การจัดทำแบรนด์แบบมีส่วนร่วม การอบรมเชิงปฏิบัตการการตลาดสมัยใหม่ การพัฒนาช่องทางการตลาด การจัดทำสื่อเพื่อการสื่อสารการตลาดสมัยใหม่
        ระยะเวลาดำเนินงาน
        1 มิถุนายน 2563 ถึง
        ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
        แบรนด์ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากหม่อน ช่องทางการตลาดออนไลน์ สื่อสิ่งพิมพ์ โบว์ชัวร์ ในการสื่อสารการตลาดผลิตภัณฑ์แปรรูปจากหม่อน และการเกษตรเชิงท่องเที่ยว
        ทรัพยากรอื่น ๆ
        ภาคีร่วมสนับสนุน
        รายละเอียดงบประมาณ
        ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
        ค่าตอบแทนวิทยากร 3 คน 2,400 3 21,600
        ค่าพาหนะเดินทาง - รถตู้เช่า 1 คน 2,500 3 7,500
        อื่น ๆ

        ค่าพิมพ์สื่อสิ่งพิมพ์ เพื่อการสื่อสารทางการตลาด

        500 ชิ้น 5 5 12,500
        ค่าอาหาร 20 คน 200 3 12,000
        ค่าวัสดุสำนักงาน 1 ครั้ง 4,000 1 4,000
        รางวัลเพื่อการยกย่อง

        รางวัลในการออกแบบสื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์

        1 ครั้ง 39,000 1 39,000
        ค่าที่พักตามจริง 10 คน 500 1 5,000
        อื่น ๆ

        ค่าสติกเกอร์แบรนด์

        500 ชิ้น 20 1 10,000
        รวมค่าใช้จ่าย 111,600

        กิจกรรมที่ 4 อบรมการเป็นผู้ประกอบการท่องเที่ยวเชิงเกษตร

        ชื่อกิจกรรม
        อบรมการเป็นผู้ประกอบการท่องเที่ยวเชิงเกษตร
        วัตถุประสงค์
          รายละเอียดกิจกรรม
          จัดอบรม การต้อนรับ การจัดโต๊ะ การปูผ้า การให้บริการต่าง ๆ การสร้างเส้นทางการท่องเที่ยว การคิดต้นทุน การกำหนดราคา
          ระยะเวลาดำเนินงาน
          22 มิถุนายน 2563 ถึง
          ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
          เส้นทางการท่องเที่ยว ราคาเส้นทางการท่องเที่ยว การเป็นผู้ประกอบการการท่องเที่ยว
          ทรัพยากรอื่น ๆ
          ภาคีร่วมสนับสนุน
          รายละเอียดงบประมาณ
          ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
          ค่าตอบแทนวิทยากร 3 คน 2,400 4 28,800
          ค่าพาหนะเดินทาง - รถตู้เช่า 1 ครั้ง 2,500 4 10,000
          ค่าอาหาร 20 คน 200 4 16,000
          ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้

          ค่าวัสดุ ดอกไม้ กระดาษ ผ้า วัสดุสำนักงาน

          1 ครั้ง 10,000 1 10,000
          อื่น ๆ

          ค่าโบว์ชัวร์เส้นทางท่องเที่ยวเชิงเกษตร

          1,000 ชิ้น 5 2 10,000
          รางวัลเพื่อการยกย่อง

          รางวัลแข่งขันการจัดทำ คลิปโฆษณา การท่องเที่ยง @View share farm

          1 ครั้ง 39,000 1 39,000
          รวมค่าใช้จ่าย 113,800

          รวมงบประมาณทุกกิจกรรมของแผนการดำเนินงาน จำนวน 321,900.00 บาท

          ค่าตอบแทนค่าใช้สอยค่าวัสดุอื่น ๆรวมเงิน
          ค่าใช้จ่าย (บาท) 90,000.00 159,500.00 23,900.00 48,500.00 321,900.00
          เปอร์เซ็นต์ (%) 27.96% 49.55% 7.42% 15.07% 100.00%

          11. งบประมาณ

          321,900.00บาท

          12. การติดตามประเมินผล

          ต่อชุมชนต่อนักศึกษา
          ผลผลิต (Output) ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากหม่อน เส้นทางการท่องเที่ยวเชิงเกษตร บรรจุภัณฑ์ แบรนด์ สื่อโฆษณา ช่องทางการตลาดออนไลน์ ความรู้ด้านการเกษตร การออกแบบบรรจุภัณฑ์ การสร้างแบรนด์ การสื่อสารการตลาดสมสัยใหม่
          ผลลัพธ์ (Outcome) ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากหม่อนรูปแบบ วิธีการจัดแสดงสินค้า และการสื่อสารการตลาดสมัยใหม่ การตลาดเชิงรุก ในการเป็นผู้ประกอบการการท่องเที่ยวเชิงเกษตรและการจำหน่ายผลิตภัณฑ์แปรรูป นักศึกษาเกิดการคิดวิเคราะห์ ทำงานเป็นทีม การศึกษาจริงจากโจทย์ของชุมชน
          ผลกระทบ (Impact) กลุ่มผู้พิการ มีรายได้เพิ่ม ภาคภูมิใจ เกิดรายได้ที่มั่นคง และนำไปต่อยอดให้กับผู้พิการในกลุ่มอื่น ๆ ต่อไป มีความเข้าใจในผู้อื่น สร้างจิตสำนึกในการมีส่วนร่วมในการพัฒนาเชิงพื้นที่
          นำเข้าสู่ระบบโดย anndusadee anndusadee เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2562 19:09 น.