การถ่ายทอดความรู้ เสริมสร้างกิจกรรม และพัฒนาอุปกรณ์สำหรับคัดกรองและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านข้าวหลาม ตำบลกมลไสย

แบบเสนอโครงการ
การถ่ายทอดความรู้ เสริมสร้างกิจกรรม และพัฒนาอุปกรณ์สำหรับคัดกรองและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านข้าวหลาม ตำบลกมลไสย

1. ชื่อโครงการ

การถ่ายทอดความรู้ เสริมสร้างกิจกรรม และพัฒนาอุปกรณ์สำหรับคัดกรองและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านข้าวหลาม ตำบลกมลไสยกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามสำนักงานสาธารณสุขอำเภอกมลาไสยบ้านข้าวหลามผศ.ดร.พูนศักดิ์ ศิริโสมคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามโทรศัพท์ 081-3804954Email: poonsaksirisom@gmail.comนางเบญจมาภรณ์ศิริโสม สำนักงานสาธารสุขอำเภอกมลาไสย
ภญ.ดร.อรนุช วงศ์วัฒนาเสถียร อาจารย์ประจำสาขาสาธารสุขชุมชนมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
นายชัชวาลย์ลิ้มรัชตะกุล อาจารย์ประจำสาขาปฐมวัยมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
นางสาวชลธิชา ไชยดิษฐ นักศึกษาสาขาสถิติศาสตร์ประยุกต์
นางสาวศรัญญา ปะนะภูเต นักศึกษาสาขาสถิติศาสตร์ประยุกต์
นางสาวกาจญนา พัสโสดา นักศึกษาสาขาสถิติศาสตร์ประยุกต์
นางสาวฐานิดา เหล่าวงษี นักศึกษาสาขาปฐมวัย
นางสาววิยดา พิมทำมา นักศึกษาสาขาปฐมวัย
นายชาญชัย ปรามุทานักศึกษาสาขาปฐมวัย
นางสาวปิยะฉัตร ปานเรือนแสน นักศึกษาสาขาสาธารณสุขชุมชน
นางสาวราณี ภูจอมแก้ว นักศึกษาสาขาสาธารณสุขชุมชน
นายศราวุฒิ ไชยศรี นักศึกษาสาขาสาธารณสุขชุมชน

2. พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
กาฬสินธุ์ กมลาไสย กมลาไสย

3. รายละเอียดชุมชน

จากผลการสำรวจระดับสติปัญญาเด็กนักเรียนไทย ปี 2554 รายจังหวัด แบ่งเป็น 3 กลุ่มจังหวัด ตามค่าเฉลี่ยระดับสติปัญญา พบว่า จังหวัดส่วนใหญ่ นักเรียนมีค่าเฉลี่ย IQ ต่ำกว่าเกณฑ์ (38 จังหวัด) และส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดภาคอีสาน เด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี สามารถอ่านหนังสือได้ เพียงร้อยละ 60.2 เท่านั้น โดยการดำเนินการให้เกิดการพัฒนาตามวัยที่เหมาะสม เราทำได้โดยการเฝ้าระวัง คัดกรอง และส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก อย่างต่อเนื่อง ด้วยกระบวนการ ซึ่ง 7 ข้อที่ควรรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาการเด็กมีดังนี้ ข้อ 1. อาหาร (ธาตุเหล็ก และไอโอดีน) 2. การให้เด็กได้ฝึกทำกิจกรรมด้วยตนเอง 3. การเลือกของเล่นเด็ก ต้องเลือกให้เหมาะสมกับอายุ 4. การตอบสนองของพ่อแม่ เมื่อเด็กแสดงพฤติกรรมก้าวร้าว 5 การเล่านิทาน สร้างสังคมได้ด้วยการอ่าน6. การเลี้ยงลูกให้สูงดี สมส่วน และฟันดี และ 7.หากพบว่าลูกมีพัฒนาการล่าช้าจงตระหนักไว้ว่า เราสามารถกระตุ้นให้เด็กกลับคืนเป็นปกติได้ด้วยตนเองหรือให้ อสม. ร่วมกับผู้ปกครองช่วยกันกระตุ้นพัฒนาการเด็กแต่หากฝึกพัฒนาการแล้วภายใน 1 เดือน เด็กยังไม่สามารถ ทำได้พ่อแม่ควรนำบุตรหลานของท่านมาพบหมอ เพื่อช่วยฝึก และกระตุ้นให้เด็กมีพัฒนาการตามเกณฑ์อายุอย่างเร่งด่วน
เด็กปฐมวัยคือวัยตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 ปี ซึ่งจัดได้ว่าเป็นระยะที่สำคัญที่สุดของชีวิตมนุษย์ทั้งด้าน ร่างกาย จิตใจ สังคม บุคลิกภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านสติปัญญา และพัฒนาการต่างๆทั้งนี้คลินิกตรวจพัฒนาการจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการคัดกรองประเมินพัฒนาการเด็กตามช่วงวัย ซึ่งหากพบพัฒนาการสงสัยล่าช้าจะได้ให้คำแนะนำพ่อแม่หรือผู้ปกครองในการส่งเสริมและกระตุ้นพัฒนาการเด็กได้อย่างเหมาะสม แต่ผู้ปกครองยังไม่เห็นความสำคัญในการนำเด็กมามาประเมินพัฒนาการเท่าที่ควร เนื่องจากขาดปัจจัยหลายๆอย่าง เช่น วันนัดประเมินพัฒนาการที่มองเห็นได้ยากและไม่ชัดเจนหรือเด็กส่วนใหญ่ไม่มีคู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยประจำตัวจึงทำให้ผู้ปกครองไม่ทราบว่าในแต่ละช่วงวัยเด็กควรมีพัฒนาการในแต่ละด้านอย่างไรบ้าง ผู้ปกครองจึงไม่ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการนำเด็กมาประเมินพัฒนาการตามช่วงวัย
จากรายงานผลการดำเนินงานพัฒนาการเด็กตามเกณฑ์มาตรฐานตั้งแต่ ปี 2559-2562 (1 ต.ค.-31 พ.ค.2562) ใน HDC จังหวัดกาฬสินธุ์มีแนวโน้มผลลัพธ์การดำเนินงานพัฒนาการเด็กตามเกณฑ์มาตรฐานส่วนใหญ่ดีขึ้นและในปี 2562 บรรลุเป้าหมายทุกตัวชี้วัด พบว่า เด็กอายุ 0-5 ปี มีพัฒนาการสมวัย ร้อยละ 90.50, 95.60, 97.30 และ 91.89 ตามลำดับ เมื่อพิจารณารายตัวชี้วัดผลลัพธ์ พบว่า มีแนวโน้มสูงขึ้นและบรรลุเป้าหมายทุกตัวชี้วัด ได้แก่ 1) เด็กอายุ 0-5 ปี ได้รับการคัดกรองพัฒนาการ ร้อยละ 14.38, 89.66, 93.42 และ 95.83 ตามลำดับ2) เด็ก 0-5 ปี ได้รับการคัดกรองพัฒนาการพบสงสัยล่าช้า ร้อยละ 18.89, 21.50, 26.95 และ 27.66 ตามลำดับ และ 3) เด็กอายุ 0-5 ปี ที่มีพัฒนาการสงสัยล่าช้าได้รับการติดตาม ร้อยละ 53.99, 80.64, 77.59 และ 94.47 ตามลำดับ เมื่อวิเคราะห์ผลการดำเนินงานรายอำเภอ ทั้ง 18 อำเภอ พบว่า 1) เด็กอายุ 0-5 ปี ได้รับการคัดกรองพัฒนาการผ่านค่าเป้าหมายเกือบทุกอำเภอ ยกเว้น อ.สหัสขันธ์ (89.33%) และ อ.หนองกุงศรี (85.69%) โดยอำเภอที่มีผลงานสูงสุด 3 ลำดับแรก คือ อ.ฆ้องชัย (99.77%) อ.ท่าคันโท (99.33%) และ อ.ห้วยผึ้ง (๙๙.๐๑%) 2) เด็กอายุ 0-5 ปี ได้รับการคัดกรองพัฒนาการพบสงสัยล่าช้าผ่านเป้าหมายทุกอำเภอ โดยอำเภอที่มีผลงานสูงสุด 3 ลำดับแรก คือ อ.ฆ้องชัย (34.11%) อ.สหัสขันธ์ (33.63%) และ อ.ร่องคำ (32.73%) และ 3) เด็กอายุ 0-5 ปี ที่พัฒนาการสงสัยล่าช้าได้รับการติดตามกระตุ้นผ่านหมายเกือบทุกอำเภอ ยกเว้นคือ อ.สหัสขันธ์ (89.91%) อ.ร่องคำ (88.89%) อ.สามชัย (88.49%) อ.คำม่วง (89.35%) อ.หนองกุงศรี (86.23%) และ อ.กุฉินารายณ์ (86.84%) โดยอำเภอที่มีผลงานสูงสุด 3 ลำดับแรก คือ อ.นามน (99.04%) อ.เมือง (98.66%) และ อ.กมลาไสย (98.39%) ในพื้นที่ๆ ผลงานไม่บรรลุค่าเป้าหมายเนื่องจากมีการปรับเปลี่ยนบุคลากรผู้รับผิดชอบ (ย้ายไป/ มารับงานใหม่) ทำให้ขาดความต่อเนื่องของการดำเนินงาน การลงรายงานข้อมูลในระบบไม่ทันตามรอบเวลา และไม่สามารถติดตามเด็กได้เนื่องจากเด็กไม่อยู่ในพื้นที่เพราะติดตามผู้ปกครองไปทำงานต่างจังหวัด
การบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กของเทศบาลในจังหวัดกาฬสินธุ์ ดำเนินการตาม พระราชบัญญัติกำหนด
แผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น พุทธศักราช 2542 ซึ่งออกตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ได้บัญญัติอำนาจหน้าที่ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทุกประเภท รับผิดชอบการจัดบริการสาธารณะให้แก่ประชาชนในพื้นที่ ซึ่งรวมถึงการจัดการศึกษา ด้วย และพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 มาตรา 41 ได้บัญญัติให้องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น มีสิทธิ จัดการศึกษาระดับใดก็ได้ตามความพร้อมความเหมาะสมและความต้องการของ ประชาชนให้ท้องถิ่นนั้นๆ ตามที่กฎหมายบัญญัติการจัดการศึกษา ในฐานะหน่วยงาน ซึ่งมีภารกิจหน้าที่รับผิดชอบด้านการพัฒนาเด็กตามระเบียบกฎหมายที่กล่าวมาแล้ว นั้น ซึ่งปัจจุบันเทศบาลในจังหวัดกาฬสินธุ์มีศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทั้งสิ้น 207 แห่ง ใน 18 อำเภอ โดยเป็นศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่มีความแตกต่างกัน ทั้งในด้านศักยภาพ บุคลากรและงบประมาณ จึงประสบปัญหาต่างๆ หลายด้าน โดยเฉพาะปัญหาด้าน การดำเนินงานการบริหาร
บ้านข้าวหลามซึ่งเป็นพื้นที่การวิจัยมีประชากรในพื้นที่รับผิดชอบจำนวน 5,336 คน จำนวนหลังคาเรือน 1403 หลังคาเรือน จำนวนประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปจำนวน 961 คน และจำนวนเด็กที่มีอายุ 0-5 ปี จำนวน 251 คนประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตกรรมเป็นหลัก
การดำเนินการวิจัยกำหนดประเด็นปัญหาเพื่อมุ่งศึกษาพัฒนาการเด็กปฐมวัยให้เป็นไปคู่มือพัฒนาการตามช่วงอายุของกระทรวงสาธารณสุข โดยการถ่ายทอดความรู้ เสริมสร้างกิจกรรม และพัฒนาอุปกรณ์สำหรับคัดกรองพัฒนาเด็กปฐมวัย ของเด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านข้าวหลาม ตำบลกมลไสยที่กำหนดในวัยช่วงอายุ 9 เดือน คือการพัฒนาการของเด็กเรื่องการ 1) กระตุ้นประสาทสัมผัส2) เสริมกล้ามเนื้อเป็นอุปกรณ์ และ 3) การพัฒนาเพื่อเสริมสติปัญญา ช่วงอายุเด็ก 18 เดือน ช่วงวัยนี้ดำเนินกิจกรรมพัฒนาเด็กเรื่อง 1) เสริมสร้างกล้ามเนื้อและการประสานสัมพันธ์ 2) การเสริมสร้างความคิดและสติปัญญา ช่วงอายุเด็ก 30 เดือนเป้าหมายคือการพัฒนาเพื่อ 1) พัฒนาเสริมกล้ามเนื้อและการประสานสัมพันธ์ 2) การเสริมความคิดและสติปัญญาและ 3) การพัฒนาของการเสริมบทบาทสมมติ และอายุเด็ก 42 เดือนควรมี 1) การพัฒนาเสริมกล้ามเนื้อและการประสานสัมพันธ์ 2) มีการเสริมความคิดและสติปัญญา และ 3) การส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาบทบาทสมมติตามวัย โดยกระบวนวิจัยผ่านกิจกรรมที่เกิดจากการบูรณาด้านปฐมวัย ด้านสาธารณสุข และศิลปะวัฒนธรรมร่วมกัน และนอกจากนี้ยังรวมถึงการใช้อุปกรณ์สำหรับการคัดกรองการพัฒนาการเด็กที่ผู้ปกครอง และชุมชนร่วมกันสร้างขึ้น โดยใช้วัสดุในชุมชนมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามเป็นอุดมศึกษานอกเหนือภารกิจหลักเพื่อการผลิตบัณฑิตหลากลายสาขา และยังถูกกำหนดให้เป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อให้บริการวิชาการตามยุทธศาสตร์ชาติ ในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม และจังหวีดกาฬสินธุ์โดยมหาวิทยาลัยเองมีความพร้อมด้านมีบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญที่หลากหลายศาสตร์ หากพิจารณาการศึกษาวิจัย สำรวจ รวมถึงการบริการวิชาเรื่องการให้บริการการพัฒนาการเด็กปฐมวัยซึ่งมหาวิทยาลัยให้ทำการศึกษาวิจัยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 เป็นต้นมา เคยมีงานวิจัยที่ได้ดำเนินการไปแล้วเช่น การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น (2553) โดยทัศนีย์ นาคุณทรง และทีมงานคณะครุศาสตร์ รวมไปถึงงานวิจัย และสร้างองค์ความรู้ด้านการพัฒนาเด็กปฐมวัยจำนวนมากนอกจากนี้สาขาสาธารณสุขชุมชน คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ก็ได้ผลิตผลงานวิจัย และนวัตกรรมการดูแลสุขภาพสำหรับเด็กปฐม และผู้สูงอายุ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน โดย ภญ.ดร.อรนุช วงศ์วัฒนาเสถียร และทั้ง 2 คณะ ยังได้เข้าร่วมกับกับสำนักบริการวิชาการ ให้บริการวิชาการในด้านการดูแลสุขภาพเด็กปฐมวัย และผู้สูงวัยจนถึงปัจจุบัน ซึ่งจากข้อมูลจำนวนเด็กที่มีอายุ 0-5 ปี มีจำนวนถึง 251 คน บ้านข้าวหลาม ต.กมลาไสย การบูรณาการวิชาการสู่ชุมชนระหว่างสาขาปฐมวัย และสาธารณสุขชุมชนจึงได้มุ่งเน้นเพื่อการบูรณาตามความรู้ความเชี่ยวชาญตามศาสตร์ โดยร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขอำเภอกมลาไสย ได้ดำเนินกิจกรรมเพื่อร่วมการคัดกรองและส่งเสริมการพัฒนาเด็กปฐมวัย ตามช่วงอายุซึ่งคาดหวังว่าการพัฒนาคุณภาพของเด็กแรกเกิดช่วงอายุ 0-5 ปีให้มีการพัฒนาตามช่วงอายุตรงตามตามการดำเนินการแผนยุทธศาสตร์จังหวัดกาฬสินธุ์ ด้านสุขภาพของเด็กปฐมวัย

4. ประเด็นปัญหาหลัก

5. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

6. องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

1. ความรู้การพัฒนาการเด็กปฐมวัยสู่ผู้ปกครองจากมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม และสำนักงานสาธารณสุขอำเภอกมลาไสย
2. กิจกรรมคัดกรองส่งเสริมพัฒนาการพัฒนาการของเด็กปฐมวัยจากสาขาวิชาปฐมวัย และสาขาสาธารณสุขชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
3. อุปกรณ์สำหรับคัดกรองพัฒนาการเด็กปฐมวัยที่สร้างจากวัสดุในชุมชม จากสาขาวิชาปฐมวัย และสาขาสาธารณสุขชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม และสำนักงานสาธารณสุขอำเภอกมลาไสย

7. วัตถุประสงค์

วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อถ่ายทอดความรู้ และเสริมสร้างกิจกรรม สำหรับคัดกรองพัฒนาเด็กในทักษะทั้ง 5 ด้าน ตามช่วงอายุ 2.เพื่อศึกษาพัฒนาอุปกรณ์เพื่อนำไปใช้การคัดกรองพัฒนาเด็ก โดยสามารถผลิตขึ้นได้อย่างง่ายจากวัตถุดิบในท้องถิ่นที่ นำไปใช้กับการพัฒนาของเด็ก ในทักษะทั้ง 5 ด้าน ตามช่วงอายุ 3.เพื่อให้เกิดการถ่ายทอดความรู้ และการบูรณาการระหว่างหน่วยงานของรัฐ เพื่อการศึกษาวิจัยการพัฒนาการของเด็กปฐมวัยตามช่วงอายุ 4.เพื่อให้อาจารย์ และให้นักศึกษาได้นำความรู้ได้ไปบูรณาการกับการวิจัย สร้างงานวิจัย นวัตกรรม และศิลปวัฒนธรรม ในการบูรณาการท้องถิ่นโดยประชากรในพื้นที่ได้มีส่วนร่วม

เชิงปริมาณ จำนวนผู้ปกครอง และเด็กเล็กของศูนย์เด็กเล็กบ้านข้าวหลามเข้าร่วมโครงการร้อยละ 80 ได้รูปแบบกิจกรรมพัฒนาการเด็กปฐมวัย มากกว่า 5 กิจกรรม ได้อุปกรณ์คัดกรองพัฒนาเด็กตามวัยมากกว่า 20 ชิ้น เชิงคุณภาพ การพัฒนาของเด็กตามวัย ร้อยละ 90 ขึ้นไป ชุมชนใช้เวลาร่วมกันมากขึ้น 15 ชั่วโมง/สัปดาห์ ลดงบประมาณซื้ออุปกรณ์คัดกรอง -1500 บาท/เดือน

0.00

8. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)

9. ระยะเวลา

10. วิธีดำเนินงาน

กิจกรรมที่ 1 การถ่ายทอดความรู้ เสริมสร้างกิจกรรม และพัฒนาอุปกรณ์คัดกรองพัฒนาเด็กปฐมวัยของเด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านข้าวหลาม ตำบลกมลไสย

ชื่อกิจกรรม
การถ่ายทอดความรู้ เสริมสร้างกิจกรรม และพัฒนาอุปกรณ์คัดกรองพัฒนาเด็กปฐมวัยของเด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านข้าวหลาม ตำบลกมลไสย
วัตถุประสงค์
    รายละเอียดกิจกรรม
    1.การสำรวจข้อมูลจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก พื้นที่ บ.ข้าวหลาม ต.กมลาไสย
    2.กำหนดแผนการถ่ายทอดให้ความรู้ กำหนดกิจกรรม และลักษณะอุปกรณ์ที่สำคัญเพื่อการคัดกรองพัฒนาการเด็กปฐมวัย
    3.การให้ความรู้ การนำกิจกรรมไปดำเนินการและสร้างอุปกรณ์สำหรับคัดกรองพัฒนาตามช่วงวัยของเด็กปฐมวัย
    4.ทำการประเมินผลการดำเนินโครงการ
    ระยะเวลาดำเนินงาน
    1 มีนาคม 2563 ถึง
    ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
    ผลผลิต ได้คือ
    1. การบูรณาการระหว่างสาขา
    2. การร่วมกันเป็นเครือข่ายของหน่วยงานรัฐ
    3. บทความวิชาการ
    ผลลัพธ์
    เชิงปริมาณ จำนวนผู้ปกครองเด็ก และเด็กปฐมวัยเข้าร่วมโครงการ ร้อยละ 80
    ได้รูปแบบกิจกรรมพัฒนาเด็กปฐมวัย มากกว่า 5 กิจกรรม
    ได้อุปกรณ์คัดกรองพัฒนาเด็กปฐมวัยตามช่วงอายุ มากกว่า 20 ชิ้น
    เชิงคุณภาพ การพัฒนาของเด็กตามวัย ร้อยละ 90 ขึ้นไป
    เชิงเวลา ชุมชนใช้เวลาร่วมกันมากขึ้น 15 ชั่วโมง/สัปดาห์
    เชิงต้นทุน/ค่าใช้จ่าย ลดงบประมาณซื้ออุปกรณ์คัดกรอง 1500 บาท/เดือน
    ทรัพยากรอื่น ๆ
    ภาคีร่วมสนับสนุน
    สำนักงานสาธารณสุขอำเภอกมลาไสย
    ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านข้าวหลาม ต.กมลาไสล
    รายละเอียดงบประมาณ
    ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
    ค่าพาหนะเดินทาง - อื่น ๆ

    ค่าเดินทางวิทยากร

    4 คน 2,500 10 100,000
    ค่าถ่ายเอกสาร 40 คน 250 1 10,000
    ค่าตอบแทนวิทยากร

    ค่าตอบแทนวิทยากร (4 คน x 600 บาท x 6 ชม. x 10 ครั้ง)

    4 คน 3,600 10 144,000
    ค่าเช่ารถ

    ค่าพาหนะ (1 คัน x 4000 บาท x 10 วัน)

    1 คน 4,000 10 40,000
    ค่าเช่าสถานที่

    ค่าเช่าสถานที่ (10 ครั้ง x 5000 บาท)

    1 คน 5,000 10 50,000
    ค่าวัสดุสำนักงาน 1 คน 20,000 1 20,000
    ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้ 1 คน 60,000 1 60,000
    ค่าตอบแทนผู้เข้าร่วมประชุม

    ค่าเบี้ยเลี้ยง (30 คน x 240 บาท x 10 วัน)

    30 คน 240 10 72,000
    รวมค่าใช้จ่าย 496,000

    รวมงบประมาณทุกกิจกรรมของแผนการดำเนินงาน จำนวน 496,000.00 บาท

    ค่าตอบแทนค่าใช้สอยค่าวัสดุรวมเงิน
    ค่าใช้จ่าย (บาท) 216,000.00 200,000.00 80,000.00 496,000.00
    เปอร์เซ็นต์ (%) 43.55% 40.32% 16.13% 100.00%

    11. งบประมาณ

    496.00บาท

    12. การติดตามประเมินผล

    ต่อชุมชนต่อนักศึกษา
    ผลผลิต (Output) การบูรณาการระหว่างมหาวิทยาลัย กับชุมชน
    การร่วมกันเป็นเครือข่ายของหน่วยงานรัฐ
    เกิดการบูรณาการระหว่างสาขาของนักศึกษา
    ผลลัพธ์ (Outcome) การพัฒนาคุณภาพเด็กปฐมวัยมีคุณภาพ ได้ร่วมสร้างนวัตกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในชุมชน
    ผลกระทบ (Impact) ข้อมูลการวิจัย หน่วยงานสาธารณสุขได้นำผลการดำเนินงานไปกำหนดแผนยุทธศาสตร์การเสริมสร้างพัฒนาการเด็กของชุมชน การมีจิตสำนึกต่อการพัฒนาชุมชน และท้องถิ่น ขณะที่สถาบันอุดมศึกษาได้นำความรู้เพื่อออกให้บริการวิชาการกับชุมชน นักศึกษาที่ร่วมบริการสามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมได้จากความรู้ที่เรียนรู้มา
    นำเข้าสู่ระบบโดย poonsak25102511 poonsak25102511 เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2562 18:35 น.