โครงการเสริมสร้างศักยภาพการผลิตและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรเพื่อสร้างรายได้และเศรษฐกิจชุมชน ตำบลเชียงเครือ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์

แบบเสนอโครงการ
โครงการเสริมสร้างศักยภาพการผลิตและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรเพื่อสร้างรายได้และเศรษฐกิจชุมชน ตำบลเชียงเครือ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์

1. ชื่อโครงการ

โครงการเสริมสร้างศักยภาพการผลิตและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรเพื่อสร้างรายได้และเศรษฐกิจชุมชน ตำบลเชียงเครือ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมสาขาเกษตรศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามคณะเทคโนโลยีการเกษตร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ม.ราชภัฏมหาสารคาม,คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์,สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองกาฬสินธุ์, สาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์, องค์การบริหารส่วนตำบลเชียงเครือ, มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแกเปะ ตำบลเชียงเครือ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ตำบลเชียงเครือ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ผู้ช่วยศาสตราจารย์นภาพร เวชกามาสาขาเกษตรศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 80 ถนนนครสวรรค์ ตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม 44000080-1841014ผศ.รัชชานันท์ ศรีสุภักดิ์ สาขาสาธารณสุขชุมชน คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.ราชภัฏมหาสารคาม
อ.นุจรีใจประนบ สาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ม.ราชภัฏมหาสารคาม
อ.เกียรติพงษ์ เจริญจิตต์ สาขาเทคโนโลยีการอาหาร คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
นางสาววีรญา มาศงามเมือง นักศึกษาสาขาวิชาเกษตรศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการเกษตร ม.ราชภัฏมหาสารคาม
นางสาววรรณพร พันตัน นักศึกษาสาขาวิชาเกษตรศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการเกษตร ม.ราชภัฏมหาสารคาม
นางสาวสุภาวรรณ เขตชมภู นักศึกษาสาขาวิชาเกษตรศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการเกษตร ม.ราชภัฏมหาสารคาม
นายภานุวัฒน์ ไชยศิริ นักศึกษาสาขาวิชาเกษตรศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการเกษตร ม.ราชภัฏมหาสารคาม
นายวิทูรย์ วรรณสุทธิ์ นักศึกษาสาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ม.ราชภัฏมหาสารคาม
นายวราเทพ มะหันต์ นักศึกษาสาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ม.ราชภัฏมหาสารคาม
น.ส.ยุพิน ประเศรษฐา นักศึกษาสาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ม.ราชภัฏมหาสารคาม
นายวิศรุต ปัญญา นักศึกษาสาขาสาธารณสุขชุมชน คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.ราชภัฏมหาสารคาม
นางสาวชนิดา จิตตะกูล นักศึกษาสาขาสาธารณสุขชุมชน คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.ราชภัฏมหาสารคาม
นางสาวปิยกุล สัจจานักศึกษาสาขาสาธารณสุขชุมชน คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.ราชภัฏมหาสารคาม

2. พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
กาฬสินธุ์ เมืองกาฬสินธุ์ เชียงเครือ ชานเมือง

3. รายละเอียดชุมชน

ตำบลเชียงเครือ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ มีระยะทางห่างจากอำเภอเมืองกาฬสินธุ์ ประมาณ 13 กิโลเมตร ตำบลเชียงเครือ มีเนื้อที่ประมาณ37,706.25ไรปัจจุบันมีหมู่บ้านในการปกครอง จำนวน 1๑ หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ 1 บ้านเชียงเครือ, หมู่ที่2บ้านเชียงเครือ,หมู่ที่3บ้านเชียงเครือ, หมู่ที่4บ้านเหล่าค้อ, หมู่ที่5บ้านแกเปะ, หมู่ที่6บ้านแกเปะน้อย, หมู่ที่7บ้านแกเปะ, หมู่ที่8บ้านแกเปะ, หมู่ที่9บ้านแซงอุดม, หมู่ที่10 บ้านแกเปะน้อยและหมู่ที่11บ้านเหล่ากลาง ตำบลเชียงเครือมีครัวเรือนจำนวน 1,683ครัวเรือน มีประชากรจำนวนทั้งสิ้น 7,137 คน มีสภาพทางกายภาพเป็นที่ราบลุ่ม สภาพดินเป็นดินร่วนปนทรายและดินเหนียว พื้นที่อยู่ในเขตชลประทานเขื่อนลำปาว เหมาะแก่การทำการเกษตร โดยเฉพาะการทำนา ทำสวน ทำไร่ ประชากรส่วนใหญ่ในพื้นที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมประมาณร้อยละ80 และมีแปลงสมุนไพรในครัวเรือนที่ได้รับการส่งเสริมการผลิตจากสำนักงานเกษตรจังหวัดและผลิตได้ตลอดทั้งปี จุดเด่นของประชากรในพื้นที่ตำบลเชียงเครือ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ คือประชาชนสนใจเข้าร่วมกิจกรรมที่ภาครัฐให้การสนับสนุนงานและกิจกรรมงานของทางราชการเป็นอย่างดี มีความรัก สามัคคีและการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เกื้อกูลกัน ทั้งในหมู่บ้านและตำบล อีกทั้งมีการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีและสิ่งแวดล้อมอย่างเหนียวแน่น ทั้งประชาชนยังให้ความสนใจและมีความต้องการองค์ความรู้ด้านการผลิต การแปรรูป และการพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรท้องถิ่น เพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ประจำตำบล- มีสภาพทางกายภาพเป็นที่ราบลุ่ม สภาพดินเป็นดินร่วนปนทรายและดินเหนียว พื้นที่อยู่ในเขตชลประทานเขื่อนลำปาว เหมาะแก่การทำการเกษตร โดยเฉพาะการทำนา ทำสวน ทำไร่
- ประชากรส่วนใหญ่ในพื้นที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมประมาณร้อยละ80
- ชุมชนมีแปลงสมุนไพรในครัวเรือนที่ได้รับการส่งเสริมการผลิตจากสำนักงานเกษตรจังหวัดและผลิตได้ตลอดทั้งปี
- จุดเด่นของประชากรในพื้นที่ตำบลเชียงเครือ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ คือประชาชนสนใจเข้าร่วมกิจกรรมที่ภาครัฐให้การสนับสนุนงานและกิจกรรมงานของทางราชการเป็นอย่างดี มีความรัก สามัคคีและการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เกื้อกูลกัน ทั้งในหมู่บ้านและตำบล อีกทั้งมีการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีและสิ่งแวดล้อมอย่างเหนียวแน่น
- มีการรวมกลุ่มของประชาชนเช่น กลุ่มเกษตรกรทำนา กลุ่มเกษตรกรทำไร่ กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มผลิตหน่อไม้ฝรั่ง กลุ่มปลูกสมุนไพ
- ประชากรส่วนใหญ่ในพื้นที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมประมาณร้อยละ80 พบว่าประชากรกว่าร้อยละ ๗๐ ประสบปัญหาหนี้สินและมีการกู้ยืมเงินนอกระบบมาใช้จ่ายในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม
- การทำนาปรังทำให้ต้นทุนการผลิตสูง
- ปัญหาความยากจน
- ขาดการส่งเสริมและองค์ความรู้ในการพัฒนาและสร้างอาชีพ
1) ความรู้ด้านการผลิตและแปรรูปสมุนไพร
2) ความรู้ในการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่เป็นอัตลักษณ์ของชุมชน
3) ช่องทางการตลาดและการจำหน่าย
4) การสร้างอาชีพและลดปัญหาหนี้สิน

4. ประเด็นปัญหาหลัก

5. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

6. องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

1) ใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้อง ทั้งประชากรในชุมชน นักศึกษา คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ หน่วยงานราชการ สถาบันการศึกษาโดยร่วมกันพัฒนาระบบการผลิต การแปรรูปและพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อสร้างให้เกิดการเรียนรู้และร่วมพัฒนาเพื่อการแก้ไขปัญหาความยากจนโดยใช้ศักยภาพของชุมชนเป็นกลไกในการขับเคลื่อนกระบวนการทำงานและพัฒนาให้เป็นตำบลสมุนไพรแบบสู่การสร้างอาชีพและรายได้
2) องค์ความรู้การผลิตสมุนไพรที่ถูกต้องตามระบบการผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัย
3) เครื่องอบสมุนไพรโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์
4) นวัตกรรมการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร เช่น ผลสมุนไพร ลูกประคบ น้ำมันหอม เครื่องบดสมุนไพร

7. วัตถุประสงค์

วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ความรู้และส่งเสริมศักยภาพการผลิต การเก็บเกี่ยวสมุนไพรที่ถูกต้องตามระบบการผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัยแก่ประชาชนในพื้นที่ ตำบลเชียงเครือ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ และนักศึกษาสาขาวิชาเกษตรศาสตร์ และสาธารณสุขชุมชน

ร้อยละผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้จากผลการทดสอบ ก่อนและหลัง

1.00 1.00
2 เพื่อให้ความรู้และร่วมพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปจากสมุนไพรแก่ประชาชนในพื้นที่ ตำบลเชียงเครือ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ และนักศึกษา สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ และสาธารณสุขชุมชน

จำนวนผลิตภัณฑ์แปรรูปจากโครงการ 5 ผลิตภัณฑ์

1.00 1.00
3 เพื่อให้นักศึกษาสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้การพัฒนาชุมชนสมุนไพรครบวงจร ตั้งแต่ต้นน้ำ คือ กระบวนการผลิตวัตถุดิบ กลางน้ำ คือ การแปรรูปผลิตภัณฑ์และสร้างบรรจุภัณฑ์ และปลายน้ำ คือ ช่องทางการตลาดให้กับชุมชน

ชุมชนต้นแบบสมุนไพรครบวงจร 1 ชุมชน

1.00 1.00
4 เพื่อนำเสนอผลการดำเนินงานโครงการและกิจกรรมเปิดบ้านชุมขนสมุนไพรครบวงจรให้ประชาชนในชุมชนและนักศึกษาสามารถสร้างความตระหนักในการดูแลสุขภาพและใช้ประโยชน์จากสมุนไพรในชุมชน

ร้อยละความพึงพอใจของประชาชนและนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจมากว่า ร้อยละ 80

110.00 110.00

8. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ประชาชนในชุมชนตำบลเชียงเครือ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ 110
อาจารย์และนักศึกษา 15

9. ระยะเวลา

10. วิธีดำเนินงาน

กิจกรรมที่ 1 ประชุมเพื่อเตรียมความพร้อมและประชาสัมพันธ์ แนะนำคณะทำงาน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมเพื่อเตรียมความพร้อมและประชาสัมพันธ์ แนะนำคณะทำงาน
วัตถุประสงค์
    รายละเอียดกิจกรรม
    ประชุมเพื่อแนะนำคณะทำงาน นักศึกษา ชี้แจงวัตถุประสงค์ และแผนการดำเนินงาน
    ระยะเวลาดำเนินงาน
    1 กุมภาพันธ์ 2563 ถึง 1 กุมภาพันธ์ 2563
    ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
    ได้แผนการดำเนินงานโดยชุมชน คณาจารย์และนักศึกษา มีส่วนร่วมในการดำเนินและวางแผนกิจกรรม
    ทรัพยากรอื่น ๆ
    ภาคีร่วมสนับสนุน
    คณะเทคโนโลยีการเกษตร ม.ราชภัฏมหาสารคาม
    องค์การบริหารส่วนตำบลเชียงเครือ,
    มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์,
    โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแกเปะ ตำบลเชียงเครือ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์
    รายละเอียดงบประมาณ
    ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
    ค่าอาหาร 20 คน 150 1 3,000
    ค่าถ่ายเอกสาร 20 ชุด 50 1 1,000
    ค่าพาหนะเดินทาง - รถตู้เช่า 1 เที่ยว 1,800 1 1,800
    ค่าจ้างทำป้ายประชาสัมพันธ์ 1 ชิ้น 1,500 1 1,500
    ค่าตอบแทนผู้เข้าร่วมประชุม 20 คน 200 1 4,000
    อื่น ๆ

    แบบประเมิน ก่อน-หลัง เข้าร่วมโครงการ

    110 คน 5 2 1,100
    รวมค่าใช้จ่าย 12,400

    กิจกรรมที่ 2 ให้ความรู้และส่งเสริมศักยภาพการผลิต การเก็บเกี่ยวสมุนไพรที่ถูกต้องตามระบบการผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัย

    ชื่อกิจกรรม
    ให้ความรู้และส่งเสริมศักยภาพการผลิต การเก็บเกี่ยวสมุนไพรที่ถูกต้องตามระบบการผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัย
    วัตถุประสงค์
    1. เพื่อให้ความรู้และส่งเสริมศักยภาพการผลิต การเก็บเกี่ยวสมุนไพรที่ถูกต้องตามระบบการผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัยแก่ประชาชนในพื้นที่ ตำบลเชียงเครือ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ และนักศึกษาสาขาวิชาเกษตรศาสตร์ และสาธารณสุขชุมชน
    รายละเอียดกิจกรรม
    1) บรรยายให้ความรู้เรื่องการปลูกและหลักการผลิต และการเก็บเกี่ยว
    2) บรรยายระบบการผลิตสินค้าปลอดภัย
    3) การเลือกชนิดพืชสมุนไพรเพื่อการผลิต
    4) การเตรียมแปลงปลูก
    5) การปลูกและการดูแลรักษา
    6) การเก็บเกี่ยวและระยะเวลาในการเก็บเกี่ยวที่เหมาะสมของสุมนไพรแต่ละชนิด
    ระยะเวลาดำเนินงาน
    10 กุมภาพันธ์ 2563 ถึง 11 กุมภาพันธ์ 2563
    ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
    1) เกษตรได้ความรู้และคู่มือการปลูกและหลักการผลิต และการเก็บเกี่ยว
    2) เกษตรกรทราบระบบการผลิตสินค้าปลอดภัย
    3)ได้ชนิดพืชสมุนไพรในการผลิต
    4) ได้วิธีเตรียมแปลงปลูก
    5) เกษตรกรทราบกลักการดูแลรักษา
    6) เกษตรทราบวิธีการเก็บเกี่ยวและระยะเวลาในการเก็บเกี่ยวที่เหมาะสมของสุมนไพรแต่ละชนิด
    ทรัพยากรอื่น ๆ
    เครื่องอบสมุนไพรจากพลังงานแสงอาทิตย์ ตู้อบลมร้อน Hot air oven
    ภาคีร่วมสนับสนุน
    คณะเทคโนโลยีการเกษตร ม.ราชภัฏมหาสารคาม
    สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองกาฬสินธุ์
    องค์การบริหารส่วนตำบลเชียงเครือ
    รายละเอียดงบประมาณ
    ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
    ค่าตอบแทนวิทยากร 6 คน 600 3 10,800
    ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้

    ครั้งที่ 1 การเตรียมแปลงและย้ายกล้าปลูก ครั้งที่ 2 การเก็บเกี่ยวผลผลิต

    110 ชุด 200 2 44,000
    ค่าอาหาร

    ครั้งที่ 1 บรรยายพร้อมวางแผนการผลิต ครั้งที่ 2 การเตรียมแปลงและย้ายกล้าปลูก ครั้งที่ 3 การเก็บเกี่ยวผลผลิต

    110 คน 150 3 49,500
    ค่าพาหนะเดินทาง - รถตู้เช่า 2 เที่ยว 1,800 3 10,800
    ค่าวัสดุสำนักงาน 1 ครั้ง 10,000 1 10,000
    ค่าพาหนะเดินทาง - รถยนต์ส่วนบุคคล 6 คน 1,000 1 6,000
    อื่น ๆ

    ค่าสารเคมีในการวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการและองค์ประกอบทางเคมีของผลิตภัณฑ์สมุนไพรของกลุ่ม 2 ผลิตภัณฑ์ เช่น ชาและผลิตภัณฑ์อาหาร

    2 ครั้ง 15,000 1 30,000
    รวมค่าใช้จ่าย 161,100

    กิจกรรมที่ 3 ให้อบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้และร่วมพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปจากสมุนไพร

    ชื่อกิจกรรม
    ให้อบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้และร่วมพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปจากสมุนไพร
    วัตถุประสงค์
    1. เพื่อให้ความรู้และร่วมพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปจากสมุนไพรแก่ประชาชนในพื้นที่ ตำบลเชียงเครือ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ และนักศึกษา สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ และสาธารณสุขชุมชน
    รายละเอียดกิจกรรม
    1) บรรยายให้ความรู้เรื่องการแปรรูปสมุนไพร
    2) ร่วมแปรรูปสมุนไพร เช่น ลูกประคบ ยาหม่อง ยาหอม ถุงปรับอากาศจากสมุนไพร ชา เป็นต้น
    3) ออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่เป็นอัตลักษณ์ของชุมชนตำบลเชียงเครือ
    ระยะเวลาดำเนินงาน
    30 มีนาคม 2563 ถึง 31 มีนาคม 2563
    ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
    1) ประชาชนได้ความรู้เรื่องการแปรรูปสมุนไพร
    2) ได้ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากสมุนไพรอย่างน้อย 5 ผลิตภัณฑ์ เช่น ลูกประคบ ยาหม่อง ยาหอม ถุงปรับอากาศจากสมุนไพร ชา เป็นต้น
    3) ได้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นอัตลักษณ์ของชุมชนตำบลเชียงเครือ
    ทรัพยากรอื่น ๆ
    เครืองบดสมุนไพร และเครื่องชิลสูญญากาศ
    ภาคีร่วมสนับสนุน
    คณะเทคโนโลยีการเกษตร ม.ราชภัฏมหาสารคาม
    สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองกาฬสินธุ์
    สาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์
    องค์การบริหารส่วนตำบลเชียงเครือ
    มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
    โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแกเปะ ตำบลเชียงเครือ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์
    รายละเอียดงบประมาณ
    ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
    ค่าตอบแทนวิทยากร 3 คน 1,000 2 6,000
    ค่าอาหาร 110 คน 150 2 33,000
    ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้ 110 คน 200 2 44,000
    ค่าพาหนะเดินทาง - รถตู้เช่า 2 ครั้ง 1,800 2 7,200
    ค่าถ่ายเอกสาร 110 คน 50 2 11,000
    ค่าตอบแทนการประสานงาน 1 คน 2,000 2 4,000
    ค่าพาหนะเดินทาง - รถยนต์ส่วนบุคคล 5 คน 1,000 1 5,000
    ค่าที่พักตามจริง 3 คน 1,000 1 3,000
    อื่น ๆ

    ค่าออกแบบบรรจุภัณฑ์ และตราสัญลักษณ์ที่เป็นอัตลักษณ์ของชุมชน

    5 ชิ้น 5,000 1 25,000
    รวมค่าใช้จ่าย 138,200

    กิจกรรมที่ 4 ถ่ายทอดองค์ความรู้การพัฒนาชุมชนสมุนไพรครบวงจร และช่องทางการตลาดให้กับชุมชน

    ชื่อกิจกรรม
    ถ่ายทอดองค์ความรู้การพัฒนาชุมชนสมุนไพรครบวงจร และช่องทางการตลาดให้กับชุมชน
    วัตถุประสงค์
    1. เพื่อให้นักศึกษาสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้การพัฒนาชุมชนสมุนไพรครบวงจร ตั้งแต่ต้นน้ำ คือ กระบวนการผลิตวัตถุดิบ กลางน้ำ คือ การแปรรูปผลิตภัณฑ์และสร้างบรรจุภัณฑ์ และปลายน้ำ คือ ช่องทางการตลาดให้กับชุมชน
    รายละเอียดกิจกรรม
    1) ถ่ายทอดองค์ความรู้และผลที่ได้จากการผลิตและแปรรูปผลิตภัณฑ์สมุนไพร
    2) บรรยาการทำการตลาดสินค้าของชุมชน
    3) จัดทำช่องทางการจัดจำหน่ายออนไลน์
    4) อบรมเชิงปฏิบัติการใช้งานการขายสินค้าออนไลน์บนช่องทางที่พัฒนาขึ้นและการจัดส่งระยะเวลา 2 วัน
    5) ประชาสัมพันธ์ช่องทางการจัดจำหน่าย (ดำเนินการอย่างต่อเนื่องหลังจากอบรม)
    ระยะเวลาดำเนินงาน
    27 เมษายน 2563 ถึง 30 เมษายน 2563
    ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
    1) ได้ถ่ายทอดองค์ความรู้และผลที่ได้จากการผลิตและแปรรูปผลิตภัณฑ์สมุนไพร
    2) ประชาชนทราบการทำการตลาดสินค้าของชุมชน
    3) ชุมชนได้ช่องทางการจัดจำหน่ายออนไลน์
    ทรัพยากรอื่น ๆ
    อุปกรณืตรวจสุขภาพ
    ภาคีร่วมสนับสนุน
    สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการเกษตร
    สาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.ราชภัฏมหาสารคาม
    สาขาสาธารณสุขชุมชน คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.ราชภัฏมหาสารคาม
    โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแกเปะ ตำบลเชียงเครือ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์
    รายละเอียดงบประมาณ
    ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
    ค่าตอบแทนวิทยากร

    ครั้งที่ 1 การทำการตลาดสินค้าสมุนไพร ครั้งที่ 2 องค์ความรู้และการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากโครงการ

    2 คน 1,000 2 4,000
    ค่าอาหาร 50 คน 150 2 15,000
    ค่าวัสดุสำนักงาน 1 ครั้ง 10,000 2 20,000
    ค่าพาหนะเดินทาง - รถยนต์ส่วนบุคคล 2 คน 1,000 2 4,000
    ค่าพาหนะเดินทาง - รถตู้เช่า 2 เที่ยว 1,800 2 7,200
    ค่าตอบแทนการประสานงาน 2 คน 2,000 2 8,000
    อื่น ๆ

    ค่าจ้างออกแบบเพจเว็บไซด์ประชาสัมพันธ์และจำหน่ายผลิตภัณฑ์สมุนไพรชุมชนออนไลน์

    1 ครั้ง 40,000 1 40,000
    รวมค่าใช้จ่าย 98,200

    กิจกรรมที่ 5 นำเสนอผลการดำเนินงานโครงการและกิจกรรมเปิดบ้านชุมขนสมุนไพรครบวงจรตำบลบเชียงเครือ จังหวักาฬสินธุ์

    ชื่อกิจกรรม
    นำเสนอผลการดำเนินงานโครงการและกิจกรรมเปิดบ้านชุมขนสมุนไพรครบวงจรตำบลบเชียงเครือ จังหวักาฬสินธุ์
    วัตถุประสงค์
    1. เพื่อนำเสนอผลการดำเนินงานโครงการและกิจกรรมเปิดบ้านชุมขนสมุนไพรครบวงจรให้ประชาชนในชุมชนและนักศึกษาสามารถสร้างความตระหนักในการดูแลสุขภาพและใช้ประโยชน์จากสมุนไพรในชุมชน
    รายละเอียดกิจกรรม
    1)ทำการสำรวจความพึงพอใจภายหลังเข้าร่วมโครงการ
    2)จัดทำรายงานผลการดำเนินงานโครงการ
    3) นำเสนอผลงานชุมชนสมุนไพรต้นแบบครบวงจร
    4) เปิดบ้านแนะนำชุมชนสมุนไพรครบวงจรแก่หน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
    ระยะเวลาดำเนินงาน
    25 พ.ค. 2563 ถึง 29 พ.ค. 2563
    ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
    1) ทราบความพึงพอใจภายหลังเข้าร่วมโครงการ
    2) ได้รายงานผลการดำเนินงานโครงการ
    3) ได้นำเสนอผลงานชุมชนสมุนไพรต้นแบบครบวงจรและประชาสัมพันธุ์ผลิตภัณฑ์ชุมชนฃ
    4) ชุมชนมีความตระหนักในการดูแลสุขภาพและมีอาชีพและรายได้เพิ่มขึ้น
    ทรัพยากรอื่น ๆ
    ภาคีร่วมสนับสนุน
    ประชาสัมพันธ์จังหวัดกาฬสินธุ์
    สำนักงานเกษตรจังหวัดกาฬสินธุ์
    สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองกาฬสินธุ์
    สาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์
    องค์การบริหารส่วนตำบลเชียงเครือ
    มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
    มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
    โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแกเปะ ตำบลเชียงเครือ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์
    รายละเอียดงบประมาณ
    ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
    ค่าจ้างทำป้ายประชาสัมพันธ์ 10 ชิ้น 500 1 5,000
    ค่าเช่าสถานที่

    ห้องประชมจังหวัดกาฬสินธุ์

    1 ครั้ง 5,000 1 5,000
    ค่าพาหนะเดินทาง - รถยนต์ส่วนบุคคล 5 คน 1,000 1 5,000
    ค่าถ่ายเอกสาร 100 คน 30 1 3,000
    ค่าอาหาร 50 คน 150 1 7,500
    ค่าตอบแทนผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน 1,000 1 5,000
    ค่าพาหนะเดินทาง - รถตู้เช่า 2 เที่ยว 1,800 1 3,600
    อื่น ๆ

    ค่าสำรวจความพึงพอใจของประชาชนภายหลังเข้าร่วมโครงการ

    110 คน 50 1 5,500
    อื่น ๆ

    ค่าจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์

    1 ชิ้น 500 1 500
    รวมค่าใช้จ่าย 40,100

    รวมงบประมาณทุกกิจกรรมของแผนการดำเนินงาน จำนวน 450,000.00 บาท

    ค่าตอบแทนค่าจ้างค่าใช้สอยค่าวัสดุอื่น ๆรวมเงิน
    ค่าใช้จ่าย (บาท) 41,800.00 6,500.00 181,600.00 118,000.00 102,100.00 450,000.00
    เปอร์เซ็นต์ (%) 9.29% 1.44% 40.36% 26.22% 22.69% 100.00%

    11. งบประมาณ

    450,000.00บาท

    12. การติดตามประเมินผล

    ต่อชุมชนต่อนักศึกษา
    ผลผลิต (Output) -ได้ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากสมุนไพรอย่างน้อย 10 ผลิตภัณฑ์ - นักศึกษามีความรู้ในการทำงานแบบมีส่วนร่วมกับชุมชน
    - นักศึกษาได้ประเด็นในการวิจัยจากพื้นที่อย่างน้อย 3 คน
    - นักศึกษาสามารถแก้ปัญหาเองได้
    ผลลัพธ์ (Outcome) - ได้ช่องทางการจำหหน่ายผลิตภัณฑ์แปรรูปจากสมุนไพร
    - ได้นวัตกรรมจากการปลูกและแปรรูปสมุนไพร
    - นักศึกษาได้แนวทางในการสร้างอาชีพและรายได้จากการร่วมพัฒนาชุมชน
    ผลกระทบ (Impact) - ประชาชนมีอาชีพเพิ่มขึ้น
    - ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้น
    - ประชาชนลดการทำนาปรัง
    - ประชาชนมีหนี้สินลดลง
    - นักศึกษามีความรู้ในการทำงานในชุมชน
    นำเข้าสู่ระบบโดย napharporn Wetchakama napharporn Wetchakama เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2562 18:29 น.