การผลิตปุ๋ยหมักอินทรีย์แบบเติมอากาศสำหรับเกษตรกรใช้ในชุมชน

แบบเสนอโครงการ
การผลิตปุ๋ยหมักอินทรีย์แบบเติมอากาศสำหรับเกษตรกรใช้ในชุมชน

1. ชื่อโครงการ

การผลิตปุ๋ยหมักอินทรีย์แบบเติมอากาศสำหรับเกษตรกรใช้ในชุมชนกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมศูนย์วิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามบ้านหัวงัว หมู่ 7,8 ตำบลหัวงัว อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ผศ.ดร.พรณรงค์ สิริปิยะสิงห์80 ถนนนครสวค์ ตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม 44000siripiyasing@gmail.com โทร. 043-742620 มือถือ 0619353935ผศ.ดร.เนตรชนก จันทร์สว่าง
ผศ.ดร.ยุวดี อินสำราญ

2. พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
กาฬสินธุ์ ยางตลาด ยางตลาด

3. รายละเอียดชุมชน

ลักษณะพื้นที่ ไม่ใช่ที่ดอน ฤดูฝนพื้นที่ส่วนใหญ่จะเกิดน้ำท่วม มีระบบชลประทานสะดวก เหมาะกับการทำนาปรัง การเลี้ยงสัตว์ประชากรส่วนใหญ่ในหมู่บ้านมีที่ดิน และที่ทำกินเป็นของตนเอง มีแหล่งน้ำคลองที่ส่งมาจากเขื่อนลำปาว อาชีพหลักคือ การทำนา โดยเฉพาะการทำนาปรัง และอาชีพเสริมคือ การเลี้ยงสัตว์พื้นที่การทำนาหรือทำการเกษตรของเกษตรกรส่วนใหญ่ยังใช้ปุ๋ยเคมีกันมาก จึงต้องการลดการใช้ปุ๋ยและสารเคมี และหันมาใช้ปุ๋ยหมักอินทรีย์ที่ผลิตได้เองโดยเกษตรกรในชุมชนประชาชนในหมู่บ้านต้องการลดการใช้สารเคมีในการทำนา หรือการปลูกพืชผัก โดยผ่านการเรียนรู้แลกเปลี่ยนจากผู้รู้ หรือภูมิปัญญาในท้องถิ่นอันจะทำให้มีการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยการถ่ายทอดเรียนรู้ร่วมกัน “ให้มีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโดยใช้ปุ๋ยหมักอินทรีย์ในแปลงนา หรือสวนพืชผัก ซึ่งจะช่วยลดปัญหาทางด้านสารเคมีและลดต้นทุนในการผลิต การผลิตปุ๋ยหมักแบบเติมอากาศจึงเป็นอีกแนวทางหนึ่งสำหรับการผลิตปุ๋ยหมักของกลุ่มเกษตรกรที่จะรวมกลุ่มกันผลิตปุ๋ยอินทรีย์ไว้ใช้เองเพื่อลดต้นทุนการผลิตในการทำนา ทำสวนพืชผัก ซึ่งการผลิตปุ๋ยหมักแบบเติมอากาศเป็นกระบวนการหมักเริ่มขึ้นหลังจากนำส่วนผสมวัสดุอินทรีย์ตามสูตร คือ มูลไก่แกลบ 3 ส่วน มูลวัว 3 ส่วน และเศษวัสดุ 1 ส่วน โดยน้ำหนัก ที่ระดับความชื้นใกล้เคียงกัน ได้ผสมเข้าเป็นเนื้อเดียวกันดีแล้วพร้อมกับปรับความชื้นให้ได้ในระดับ 60 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก หรือเปียกชุ่มแต่ไม่แฉะ หรือเมื่อใช้มือกำจะเป็นก้อนแต่ต้องไม่มีน้ำไหลออกมาจากวัสดุและเมื่อใช้นิ้วบี้จะแตกออกโดยง่าย การปรับความชื้นมีความสำคัญเพราะมีผลต่อช่องว่างในกองปุ๋ยหมัก ช่องว่างที่เหมาะสมมีผลทำให้อากาศในกองปุ๋ยหมักมีการหมุนเวียนเติมออกซิเจนให้กับจุลินทรีย์ในกองปุ๋ยหมักอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้ภายในกองปุ๋ยไม่เกิดสภาวะขาดออกซิเจน และช่วยปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ และน้ำจากการหายใจของจุลินทรีย์ และสะสมความร้อนในกองปุ๋ยหมักให้มีความสมดุลกับจุลินทรีย์ย่อยสลายซึ่งชอบอุณหภูมิสูง สร้างเสริมกระบวนการหมักให้ประสิทธิภาพสูงเร่งการย่อยสลายให้เร็วขึ้นสม่ำเสมอทั่วทั้งกอง ลดการสูญเสียไนโตรเจน และการเกิดแก๊สมีเทนกับไนตรัสออกไซด์มีน้อยลง ซึ่งภายในกองปุ๋ยหมักจะมีการเปลี่ยนแปลงสมบัติต่างๆ ดังนี้
1) อุณหภูมิและความชื้น เป็นปัจจัยที่ต้องตรวจสอบและควบคุม ในช่วงแรกทำให้เกิดความร้อนสะสมขึ้นในกองปุ๋ยหมัก จะเริ่มมีอุณหภูมิสูงขึ้นจากความร้อนสะสมที่ขับออกมาจากการหายใจของจุลินทรีย์ในกองปุ๋ยหมักภายใน 3 วัน และจะเพิ่มเรื่อยๆไปจนถึงระดับที่ควบคุม 55-65 องศาเซลเซียส อย่างน้อย 21 วัน (หากอุณหภูมิสูงเกินไปจุลินทรีย์ย่อยสลายบางชนิดจะถูกทำลาย) ความร้อนสูงในระดับนี้ จะช่วยฆ่าเชื้อโรคของคน สัตว์ และพืช รวมทั้งทำลายการงอกของวัชพืชและสารพิษบางชนิดที่ตกค้างในวัสดุอินทรีย์ จึงทำให้กองปุ๋ยหมักปลอดภัยจากเชื้อโรคและวัชพืช เมื่อครบ 30 วัน จึงย้ายออกจากซองหมักระบบเติมอากาศ เพื่อให้เกิดการย่อยสลายต่อเนื่อง และเมื่ออุณหภูมิในกองปุ๋ยลดต่ำลงเท่ากับอุณหภูมิในอากาศ ปุ๋ยหมักก็จะเข้าสู่ระยะที่มีการย่อยสลายสมบูรณ์
2) อินทรียวัตถุและอัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจน ปุ๋ยหมักเป็นวัสดุอินทรีย์ที่สำคัญที่ให้อินทรียวัตถุแก่ดิน ซึ่งอินทรียวัตถุในปุ๋ยหมักเป็นอินทรียวัตถุที่ผ่านการย่อยสลายจนคงตัวในรูปของฮิวมัส ปริมาณอินทรียวัตถุในปุ๋ยหมักจะมีมากหรือน้อยจะขึ้นอยู่กับวัสดุอินทรีย์ที่เป็นองค์ประกอบในปุ๋ยหมัก ความคงตัวของปุ๋ยหมักวัดจากอัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจน ซึ่งอัตราส่วนจะลงลงน้อย หรือการย่อยสลายจะน้อยมาก ปริมาณอินทรียวัตถุจะคงที่หลังจากมีการลดความชื้นให้ต่ำลง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดวัสดุอินทรีย์ที่นำมาใช้ทำปุ๋ยหมัก
3) การเปลี่ยนแปลงของค่าปฏิกิริยากรด-ด่าง ในกองปุ๋ยหมัก ปฏิกิริยากรด-ด่างของวัสดุอินทรีย์ในกองปุ๋ยหมักจะค่อยๆ เปลี่ยนสภาพเป็นกรด ค่าปฏิกิริยากรด-ด่าง อาจต่ำถึง 4.5-5 และเมื่อปุ๋ยหมักย่อยสลายสมบูรณ์ ค่าปฏิกิริยากรด-ด่าง มากกว่า 7.5
4) การแปรสภาพของธาตุอาหารพืชในกองปุ๋ยหมัก ธาตุอาหารพืชในปุ๋ยหมักมาจากแร่ธาตุที่ปนมากับวัสดุ และการแปรสภาพในกระบวนการย่อยสลายหรือกระบวนการปุ๋ยหมัก ปลดปล่อยสารอนินทรีย์ในรูปอิออนต่างๆที่พืชดูดใช้ได้ เช่นเดียวกับรูปอิออนแร่ธาตุในปุ๋ยเคมี แต่ได้มาจากกาย่อยสลายจากวัสดุอินทรีย์ จึงทำให้ปุ๋ยหมักมีข้อดีที่ประกอบด้วยแร่ธาตุอาหารที่จำเป็นกับพืชเกือบทุกชนิดทั้งธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรองและธาตุอาหารเสริม รวมทั้งยังมีสารอินทรีย์ที่ยังย่อยสลายแปรสภาพเป็นแร่ธาตุยังไม่หมดจะค่อยๆ แปรสภาพเป็นแร่ธาตุที่พืชดูดไปใช้ได้ปลดปล่อยออกมาทีหลังใส่ให้กับพืช
5) การย่อยสลายสมบูรณ์ของปุ๋ยหมัก เป็นตัวชี้วัดความเป็นประโยชน์ของปุ๋ยหมักต่อพืชโดยตรง เนื่องจากเป็นการวัดปริมาณสารพิษที่มีผลกระทบต่อการงอก ได้แก่ แก๊สแอมโมเนียและแก๊สไฮโดรเจนซัลโฟด์หรือแก๊สไข่เน่า กรมวิชาการเกษตร (2558 : 5-6)
ข้อดีของปุ๋ยหมักแบบเติมอากาศ คือ ให้ธาตุอาหารอยู่ในรูปที่เป็นประโยชน์ ทำลายเมล็ดวัชพืชและเชื้อที่ก่อให้เกิดโรค สะดวกในการเก็บรักษา ขนส่งและนำไปใช้ ช่วยลดต้นทุนการกลับกองปุ๋ยหมักและขั้นตอนในการดำเนินงาน และระยะเวลาในการหมักสั้น ดังนั้นการทำปุ๋ยหมักแบบเติมอากาศก็จะช่วยเพิ่มมูลค่าเศษวัสดุเหลือใช้และเพิ่มรายได้จากการผลิตปุ๋ยจำหน่ายรวมถึงการช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อม จึงน่าจะเป็นแนวทาง หรือทางเลือกหนึ่งสำหรับเกษตรกรที่จะรวมกลุ่มกันผลิตปุ๋ยหมักอินทรีย์ไว้ใช้เองหรือจำหน่ายอย่างจริงจัง

4. ประเด็นปัญหาหลัก

5. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

6. องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

- การทำปุ๋ยหมักอินทรีย์แบบเติมอากาศ
- การใช้วัสดุเหลือใช้จากการเกษตรมาผลิตปุ๋ยหมักอินทรีย์

7. วัตถุประสงค์

วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1 เพื่อพัฒนาชุมชนในการพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยการนำองค์ความรู้ที่หลากหลายใน สถาบันอุดมศึกษาหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และกิจกรรมโดยการถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของผู้รู้ในท้องถิ่น ประชาชน อาจารย์ นักศึกษา ครู นักเรียน มาบูรณาการในการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้เกิดความยั่งยืน

 

0.00
2 2 เพื่อนำองค์ความรู้ เกี่ยวกับ ปุ๋ยหมักอินทรีย์แบบเติมอากาศมาใช้ประโยชน์ในการส่งเสริม ใน ชุมชนร่วมกับนักเรียน นักศึกษา ผลิตเพื่อนำมาใช้เองในชุมชน หรือจำหน่ายเพื่อสร้างรายได้ให้กับครัวเรือน

 

0.00
3 3 เพื่อให้นักศึกษาได้ประยุกต์องค์ความรู้ในการปฏิบัติงานจริง มีความสามารถในการค้นคว้า คิด วิเคราะห์ ประมวลผล มีความคิดสร้างสรรค์ สามารถออกแบบระบบงาน จนสามารถทำการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ได้ และสามารถปรับตัวให้เข้ากับสังคม และมีจิตสาธารณะ รวมทั้งมีความใฝ่รู้อันจะก่อให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต

 

0.00
4 4 เพื่อให้นักเรียนและนักศึกษา ได้ร่วมกันทำงานการศึกษา วางแผนการสำรวจ ทดลอง จัดกระทำข้อมูล และนำเสนอผลการศึกษา โดยใช้เทคโนโลยีกับชุมชน ทำให้ได้กระบวนการได้มาซึ่งองค์ความรู้โดยวิธีการสำรวจ ค้นคว้า และกระบวนการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ ส่งผลให้พัฒนาทักษะกระบวนการคิด และกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

 

0.00

8. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
นักศึกษา 8
นักเรียนหรือเยาวชน 25
ประชาชน/ครู/ผู้รู้ท้องถิ่น 37

9. ระยะเวลา

10. วิธีดำเนินงาน

กิจกรรมที่ 1 1 สร้างความตระหนักการใช้สารเคมี ปุ๋ยเคมีในการเกษตรและการหันมาผลิตและใช้ปุ๋ยหมักอินทรีย์ที่เติมอากาศ

ชื่อกิจกรรม
1 สร้างความตระหนักการใช้สารเคมี ปุ๋ยเคมีในการเกษตรและการหันมาผลิตและใช้ปุ๋ยหมักอินทรีย์ที่เติมอากาศ
วัตถุประสงค์
    รายละเอียดกิจกรรม
    1. ประชุมเพื่อสร้างความตระหนัก
    2. ขออาสาสมัครร่วมกิจกรรมการผลิตและใช้ปุ๋ยหมักอินทรีย์ที่เติมอากาศ
    ระยะเวลาดำเนินงาน
    15 มีนาคม 2563 ถึง 15 มีนาคม 2563
    ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
    ผลผลิต (Output) /
    1.ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้และตระหนักถึงโทษของสารเคมีและการหันมาผลิตและใช้ปุ๋ยหมักอินทรีย์ที่เติมอากาศ
    2. ประชาชน/นักเรียน ในพื้นที่ จำนวน 30 หลังคาเรือน หันมาผลิตและใช้ปุ๋ยหมักอินทรีย์ที่เติมอากาศโดยตัวเองหรือชุมชน
    3. นักเรียนและนักศึกษา นำเสนอข้อมูลปุ๋ยหมักอินทรีย์ที่เติมอากาศให้กับชุมชนว่ามีประโยชน์อย่างไร
    ผลลัพธ์ (Outcome)
    1. เกษตรกรผู้สนใจ เยาวชน นักเรียนและนักศึกษาร่วมกันทำกิจกรรมการเตรียม การผลิตและใช้ปุ๋ยหมักอินทรีย์ที่เติมอากาศโดยตัวเองหรือชุมชน
    2. นักเรียนและนักศึกษา ได้ร่วมกันทำงาน วางแผนการผลิตและใช้ปุ๋ยหมักอินทรีย์ที่เติมอากาศโดยตัวเองหรือชุมชนและนำเสนอผลการศึกษาโดยใช้เทคโนโลยีกับชุมชน
    3. นักเรียนและนักศึกษาได้กระบวนการได้มาซึ่งองค์ความรู้โดยวิธีการค้นคว้า และการได้ลงมือทำจริง
    ทรัพยากรอื่น ๆ
    ภาคีร่วมสนับสนุน
    องค์การบริหารส่วนตำบลหัวงัว อ.ยางตลาด จใกาฬสินธ์
    รายละเอียดงบประมาณ
    ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
    ค่าตอบแทนวิทยากร

    -ค่าตอบแทนวิทยากร (๒ คน x ๖๐๐ บาท x ๖ซม.) 7200 -ค่าตอบแทนผู้ช่วยวิทยากร 3 คน*300 5400

    2 คน 3,600 1 7,200
    ค่าตอบแทนการประสานงาน 3 คน 1,800 1 5,400
    ค่าอาหาร 70 คน 150 1 10,500
    ค่าพาหนะเดินทาง - ค่าเดินทางในพื้นที่ 13 คน 240 1 3,120
    ค่าถ่ายเอกสาร 70 ชุด 30 1 2,100
    ค่าวัสดุสำนักงาน 1 ครั้ง 1,000 1 1,000
    ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้ 1 ครั้ง 10,000 1 10,000
    ค่าเช่าสถานที่ 1 ครั้ง 1,000 1 1,000
    รวมค่าใช้จ่าย 40,320

    กิจกรรมที่ 2 2 การผลิตปุ๋ยหมักอินทรีย์เติมอากาศและการนำไปใช้ประโยชน์จริง

    ชื่อกิจกรรม
    2 การผลิตปุ๋ยหมักอินทรีย์เติมอากาศและการนำไปใช้ประโยชน์จริง
    วัตถุประสงค์
      รายละเอียดกิจกรรม
      1. ให้ความรู้
      2. ขออาสาสมัครบ้านร่วมการผลิตปุ๋ยหมักอินทรีย์แบบเติมอากาศจำนวน 30 หลังคาเรือน
      ระยะเวลาดำเนินงาน
      20 มีนาคม 2563 ถึง 20 พ.ค. 2563
      ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
      ผลผลิต (Output)
      1.ชาวบ้าน จำนวน 30 หลังคาเรือน ผลิตปุ๋ยหมักอินทรีย์แบบเติมอากาศนำไปใช้นำไปทดลองใช้ในสวนพืชผักและแปลงนาในคราวต่อไป โดยความร่วมมือของนักเรียนและนักศึกษา
      2. นักเรียน นักศึกษา ศึกษาประสิทธิภาพของการใช้ปุ๋ยหมักอินทรีย์แบบเติมอากาศในการปลูกพืชผัก
      3. ได้กระบวนการในการศึกษาและทำโครงงานวิทยาศาสตร์
      ผลลัพธ์ (Outcome)
      1.ชาวบ้านเกษตรกร นักเรียนและนักศึกษาร่วมกันทำกิจกรรมการเตรียม การผลิตปุ๋ยหมักอินทรีย์แบบเติมอากาศ และการนำไปใช้กับพืชผักและแปลงนาข้าว
      2. นักเรียน นักศึกษา ได้ร่วมกันทำงาน วางแผนการติดตามผลการผลิตปุ๋ยหมักอินทรีย์แบบเติมอากาศ และการนำไปใช้กับพืชผักและแปลงนาข้าว จัดกระทำข้อมูล และนำเสนอข้อมูล
      ทรัพยากรอื่น ๆ
      ภาคีร่วมสนับสนุน
      สาขาชีววิทยา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
      รายละเอียดงบประมาณ
      ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
      ค่าตอบแทนวิทยากร 2 คน 3,600 1 7,200
      ค่าตอบแทนการประสานงาน 3 คน 1,800 1 5,400
      ค่าอาหาร 70 คน 150 1 10,500
      ค่าพาหนะเดินทาง - อื่น ๆ 13 คน 240 1 3,120
      ค่าถ่ายเอกสาร 70 ชุด 30 1 2,100
      ค่าเช่าสถานที่ 1 ครั้ง 1,000 1 1,000
      ค่าวัสดุสำนักงาน 1 ครั้ง 1,000 1 1,000
      ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้ 1 ครั้ง 80,000 1 80,000
      รวมค่าใช้จ่าย 110,320

      กิจกรรมที่ 3 3 การวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์

      ชื่อกิจกรรม
      3 การวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์
      วัตถุประสงค์
        รายละเอียดกิจกรรม
        1. นักศึกษาแบ่งกลุ่ม เสนอเค้าโครงการวิจัย (วางแผนการทดลอง)
        2. นำตัวอย่างปุ๋ยหมักที่ผลิตได้ไปวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ที่ห้องปฏิบัติการ ตามพารามิเตอร์ที่กำหนด
        ระยะเวลาดำเนินงาน
        20 พ.ค. 2563 ถึง
        ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
        ผลผลิต (Output)
        1. ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ เช่น ปริมาณธาตุอาหารต่างๆในปุ๋ย สมบัติทางกายภาพและเคมีของปุ๋ยหมักที่ผลิตได้ รวมทั้งสมบัติทางกายภาพและเคมีของดินหลังใช้ปุ๋ยหมักในแปลงสวนและแปลงนาข้าว เป็นต้น
        2. รายงานวิจัย จำนวน 1 เรื่อง
        ผลลัพธ์ (Outcome)
        บทความวิจัย จำนวน 2 เรื่อง เพื่อเผยแพร่ในการนำเสนอในที่ประชุมวิชาการระดับชาติ หรือตีพิมพ์เผยแพร่
        ทรัพยากรอื่น ๆ
        เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ ที่ใช้ในการวิเคราะห์
        ภาคีร่วมสนับสนุน
        คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
        รายละเอียดงบประมาณ
        ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
        อื่น ๆ

        ค่าสารเคมีและวัสดุการทดลอง

        1 ชุด 79,140 1 79,140
        รวมค่าใช้จ่าย 79,140

        กิจกรรมที่ 4 4. ติดตามและนำเสนอผลการวิจัย

        ชื่อกิจกรรม
        4. ติดตามและนำเสนอผลการวิจัย
        วัตถุประสงค์
          รายละเอียดกิจกรรม
          รายงานสรุปผลการดำเนินงาน
          ระยะเวลาดำเนินงาน
          20 พ.ค. 2563 ถึง
          ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
          ผลผลิต (Output)
          -รายงานการวิจัย
          ผลลัพธ์ (Outcome)
          บทความวิจัย จำนวน 1-2 เรื่อง เพื่อเผยแพร่ในการนำเสนอในที่ประชุมวิชาการระดับชาติ หรือตีพิมพ์เผยแพร่
          ทรัพยากรอื่น ๆ
          ภาคีร่วมสนับสนุน
          องค์การบริหารส่วนตำบลหัวงัว
          รายละเอียดงบประมาณ
          ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
          ค่าตอบแทนวิทยากร 2 คน 3,600 1 7,200
          ค่าตอบแทนการประสานงาน 3 คน 1,800 1 5,400
          ค่าอาหาร 80 คน 150 1 12,000
          ค่าพาหนะเดินทาง - อื่น ๆ 13 คน 240 1 3,120
          ค่าถ่ายเอกสาร 70 ชุด 100 1 7,000
          ค่าเช่าสถานที่ 1 ครั้ง 1,000 1 1,000
          ค่าวัสดุสำนักงาน 1 ครั้ง 1,500 1 1,500
          อื่น ๆ 1 ครั้ง 33,000 1 33,000
          รวมค่าใช้จ่าย 70,220

          รวมงบประมาณทุกกิจกรรมของแผนการดำเนินงาน จำนวน 300,000.00 บาท

          ค่าตอบแทนค่าใช้สอยค่าวัสดุอื่น ๆรวมเงิน
          ค่าใช้จ่าย (บาท) 37,800.00 56,560.00 93,500.00 112,140.00 300,000.00
          เปอร์เซ็นต์ (%) 12.60% 18.85% 31.17% 37.38% 100.00%

          11. งบประมาณ

          300,000.00บาท

          12. การติดตามประเมินผล

          ต่อชุมชนต่อนักศึกษา
          ผลผลิต (Output) 1 ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้และตระหนักถึงโทษของสารเคมีและการหันมาผลิตและใช้ปุ๋ยหมักอินทรีย์ที่เติมอาก 1 นักศึกษา นำเสนอข้อมูลปุ๋ยหมักอินทรีย์ที่เติมอากาศให้กับชุมชนว่ามีประโยชน์อย่างไร
          ผลลัพธ์ (Outcome) 1 เกษตรกรผู้สนใจ ร่วมกันทำกิจกรรมการเตรียม การผลิตและใช้ปุ๋ยหมักอินทรีย์ที่เติมอากาศโดยตัวเองหรือชุมชน
          2 เกษตรกร ในพื้นที่ จำนวน30 หลังคาเรือน หันมาผลิตและใช้ปุ๋ยหมักอินทรีย์ที่เติมอากาศโดยตัวเองหรือชุมชน
          1 นักศึกษา ได้ร่วมกันทำงาน วางแผนการผลิตและใช้ปุ๋ยหมักอินทรีย์ที่เติมอากาศโดยตัวเองหรือชุมชนและนำเสนอผลการศึกษาโดยใช้เทคโนโลยีกับชุมชน
          2 นักศึกษาได้กระบวนการได้มาซึ่งองค์ความรู้โดยวิธีการค้นคว้า และการได้ลงมือทำจริง
          ผลกระทบ (Impact) 1 เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยการนำองค์ความรู้ที่หลากหลายใน
          สถาบันอุดมศึกษาหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยการดำเนินกิจกรรมการถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของผู้รู้ในชุมชนท้องถิ่น
          1 นักศึกษาได้ประยุกต์องค์ความรู้ในการปฏิบัติงานจริง มีความสามารถในการค้นคว้า คิด วิเคราะห์ ประมวลผล มีความคิดสร้างสรรค์ สามารถออกแบบระบบงาน จนสามารถทำการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ได้ และสามารถปรับตัวให้เข้ากับสังคม และมีจิตสาธารณะ รวมทั้งมีความใฝ่รู้อันจะก่อให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต
          นำเข้าสู่ระบบโดย siripiyasing siripiyasing เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2562 16:33 น.