โครงการนิสิตอาสาประชารัฐเพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนาชุมชนบ้านสาขลา ตำบลนาเกลือ อำเภอ พระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ

แบบเสนอโครงการ
โครงการนิสิตอาสาประชารัฐเพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนาชุมชนบ้านสาขลา ตำบลนาเกลือ อำเภอ พระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ

1. ชื่อโครงการ

โครงการนิสิตอาสาประชารัฐเพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนาชุมชนบ้านสาขลา ตำบลนาเกลือ อำเภอ พระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี1. องค์การบริหารส่วนตำบลนาเกลือ2. สำนักงานเกษตรอำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการบ้านสาขลา ตำบลนาเกลือ อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการอาจารย์พิมพงา เพ็งนาเรนทร์172 ม.ราชภัฏธนบุรี ถ.อิสรภาพ แขวงวัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี กทม. 10600089-2046034อาจารย์อรรถชัย วงศ์อุดมมงคล
อาจารย์สุระพงษ์ สีหมอก
อาจารย์ ดร.ชนิดา จันทร์งาม
อาจารย์แสนชัย ลิขิตธีรวุฒิ

2. พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
สมุทรปราการ พระสมุทรเจดีย์ นาเกลือ พื้นที่เฉพาะ:ลุ่มน้ำ

3. รายละเอียดชุมชน

สภาพพื้นที่หมู่บ้านสาขลา ตำบลนาเกลือ ตั้งอยู่ท่ามกลางป่าชายเลน มีความแปลกกว่าที่อื่นอย่างเห็นได้ชัด เพราะสาขลาเป็นบ้านสามน้ำ สามป่า สามนาและสามหอย โดยมีความหมายมาจากทรัพยากรต่างๆ ที่เป็นองค์ประกอบของบ้านสาขลา ดังนี้
ที่ตั้ง
ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลบ้านคลองสวน อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ
ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลแหลมฟ้าผ่า อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลแหลมฟ้าผ่า
และตำบลในคลองบางปลากด อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร

จำนวนประชากรมีทั้งหมด 1,167 คน 429 ครัวเรือน
ประชาชนโดยส่วนใหญ่ประกอบอาชีพประมงเป็นอาชีพหลัก และบางส่วนประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป รับราชการและทำงานบริษัทเอกชน
กลุ่มอาชีพ ทั้งหมด 7 กลุ่มคือ
- กลุ่มปูรามเกียรติ์
- กลุ่มพัฒนาอาชีพปูสต๊าฟ
- กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรนาเกลือพัฒนา
- กลุ่มอาชีพสตรีบ้านสาขลา
- กลุ่มอาชีพสตรีพัฒนา
- กลุ่มแม่บ้านสตรีพัฒนา
- กลุ่มพัฒนาอาชีพบ้านนาเกลือ
จากการศึกษาปัญหาหลักพบว่าบ้านสาขลาสมัยก่อนเป็นชุมชนนาเกลือแต่จากการท่วมถึงของน้ำทะเลทำให้ทำนาเกลือไม่ได้ และการขายเกลือมีรายได้น้อยจึงเปลี่ยนเป็นชุมชนประมง ลักษณะที่อยู่อาศัยส่วนใหญ่ในชุมชนเป็นบ้านสองชั้น ลักษณะทางสังคมเป็นชุมชนบท ชาวบ้านส่วนใหญ่มีการศึกษาน้อยและมีรายได้ปานกลางถึงค่อนข้างต่ำ ประกอบอาชีพรับจ้างอยู่ในชุมชน จุดเด่นคือเป็นชุมชนที่มีความสามัคคี และเป็นชุมชนที่มีศักยภาพในการมีส่วนร่วมของชาวชุมชน ตัวอย่างเช่นการจัดการด้านแหล่งน้ำบริโภค-อุปโภคในหมู่บ้าน โดยจัดตั้งเป็นคณะกรรมการประปาหมู่บ้านดูแลกันเอง ปัญหาในการอยู่อาศัยในชุมชน ได้แก่ บ้านจมลงทุกปี เนื่องจากดินบริเวณนั้นเป็นดินเลน ต้องทำการดีดบ้านซึ่งราคาดีดบ้านอยู่ที่ 50,000-300,000 บาทต่อหนึ่งหลัง ปัญหาน้ำเสียเพิ่มขึ้นทำให้ผลผลิตทางการเกษตรน้อยลง ปัญหาน้ำท่วม และขยะก็เป็นอีกปัญหาหนึ่ง มีปรากฏให้เห็นทั่วไปในชุมชน เพราะว่าไม่มีการจัดเก็บอย่างต่อเนื่อง และชาวบ้านก็เคยชินกับการทิ้งขยะลงในคลองและที่ว่างหรือข้างทางเดิน ดังนั้นในการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยเพื่อให้สอดคล้องกับการประกอบอาชีพ ก็คือการรักษาสภาพแวดล้อม ต้องมีการจัดการสภาพแวดล้อมในชุมชน ควรมุ่งแก้ไขและลดผลกระทบที่เกิดขึ้น เช่น ปัญหาการดีดบ้านควรมีการจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อการดีดบ้านสำหรับผู้มีรายได้น้อย การจัดการขยะในชุมชน การฟื้นฟูสภาพป่าชายเลน การจัดการทรัพยากรน้ำ การพัฒนาพื้นที่ ต้องมุ่งเน้นที่การเร่งสร้างจิตสำนึกในชุมชน และการสนับสนุนการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรและแก้ไขปัญหา การให้ความรู้แก่ประชาชนในการให้ความสำคัญต่อทรัพยากรธรรมชาติโดยที่ยังคงให้กิจกรรมต่างๆ ดำเนินต่อไปได้ โดยเฉพาะการประมงซึ่งเป็นอาชีพหลักของชุมชน รวมถึงแนวทางในการดำเนินชีวิตของครัวเรือนและชุมชนที่เป็นรูปธรรม ขาดการรวมกลุ่มในการพัฒนาอาชีพเพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชน ขาดความต่อเนื่องและขาดองค์ความรู้ใหม่ๆ ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน ส่วนด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนจะพบปัญหาด้านคุณภาพสินค้าไม่สม่ำเสมอมีรูปแบบผลิตภัณฑ์ซ้ำๆ มีการลอกเลียนแบบกันมากจากปัญหาของชุมชนที่เกิดขึ้นดังกล่าวคณะฯ จึงเลือกชุมชนบ้านสาขาที่จะให้นิสิตและอาจารย์ได้ลงไปพัฒนาและแก้ไขให้ตอบสนองกับวัตถุประสงค์ของโครงการอาสาประชารัฐแนวทางในการดำเนินชีวิตของครัวเรือนและชุมชนที่เป็นรูปธรรม ขาดการรวมกลุ่มในการพัฒนาอาชีพเพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชน ขาดความต่อเนื่องและขาดองค์ความรู้ใหม่ๆ ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน ส่วนด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนจะพบปัญหาด้านคุณภาพสินค้าไม่สม่ำเสมอมีรูปแบบผลิตภัณฑ์ซ้ำๆ มีการลอกเลียนแบบกันมากจากปัญหาของชุมชนที่เกิดขึ้นดังกล่าวคณะฯ จึงเลือกชุมชนบ้านสาขาที่จะให้นิสิตและอาจารย์ได้ลงไปพัฒนาและแก้ไขให้ตอบสนองกับวัตถุประสงค์ของโครงการอาสาประชารัฐ

4. ประเด็นปัญหาหลัก

5. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

6. องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

การพัฒนาองค์ความรู้และนวัตกรรมทางธุรกิจมาประยุกต์ใช้ในการวางแผนและแก้ไขปัญหา ประกอบด้วย
1. ความรู้ที่เกี่ยวกับกฎหมายที่ชุมชนใช้ในชีวิตประจำวัน
2. ความรู้เกี่ยวกับการจัดทำแผนกลยุทธ์เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน
3. ความรู้เกี่ยวกับการประดิษฐ์ท่ารำที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชน
4. ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาอาชีพเสริมเพื่อเพิ่มรายได้ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
5. ความรู้เกี่ยวกับพัฒนาบรรจุภัณฑ์และโลโก้สินค้าที่เป็นอัตลักษณ์ท้องถิ่นของชุมชน

7. วัตถุประสงค์

วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนนชุมชน ส่งเสริมการสร้างอาชีพเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับชุมชนมาเพิ่มมูลค่าจากกระบวนการอย่างมีส่วนร่วม

ชุมชนเกิดการเรียนรู้ มีความเข้าใจ ตระหนักในความสำคัญและสามารถนำไปคิดต่อยอดองค์ความรู้เองได้ ทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้นอย่างยั่งยืนและมั่นคง

0.00
2 เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ให้กับนักศึกษาในศตวรรษที่ 21 เพื่อการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ในศาสตร์ของตนเองในการปฏิบัติงานจริง

สามารถพัฒนาหลักสูตรที่มีประสิทธิภาพตอบโจทย์ชุมชนและตลาดแรงงาน

0.00
3 เพื่อนำองค์ความรู้หรือนวัตกรรมของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มาใช้ประโยชน์ในการส่งเสริมให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองและจัดการตนเองได้

ชุมชนเกิดการเรียนรู้ มีความเข้าใจ ตระหนักในความสำคัญและสามารถนำไปคิดต่อยอดองค์ความรู้เองได้ ทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้นอย่างยั่งยืนและมั่นคง

0.00

8. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ชุมชน 50
นักศึกษา 10
อาจารย์ 5

9. ระยะเวลา

10. วิธีดำเนินงาน

กิจกรรมที่ 1 การวางแผน (Plan)

ชื่อกิจกรรม
การวางแผน (Plan)
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนนชุมชน ส่งเสริมการสร้างอาชีพเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับชุมชนมาเพิ่มมูลค่าจากกระบวนการอย่างมีส่วนร่วม
  2. เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ให้กับนักศึกษาในศตวรรษที่ 21 เพื่อการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ในศาสตร์ของตนเองในการปฏิบัติงานจริง
  3. เพื่อนำองค์ความรู้หรือนวัตกรรมของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มาใช้ประโยชน์ในการส่งเสริมให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองและจัดการตนเองได้
รายละเอียดกิจกรรม
ประชุมเตรียมความพร้อมคณะดำเนินงานอาจารย์ที่ปรึกษาและทีมนักศึกษา
- ลงพื้นที่เพื่อสำรวจความต้องการ เพื่อศึกษาข้อมูลบริบทของชุมชนบ้านสาขลา ตำบลนาเกลือ อำเภอ
พระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ
- นักศึกษาทำร่างโครงการเสนออาจารย์ที่ปรึกษา
- เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ
- ประสานงานติดต่อวิทยากร
- ประสานเตรียมสถานที่
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พ.ค. 2563 ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
โครงการ
ทรัพยากรอื่น ๆ
ภาคีร่วมสนับสนุน
-
รายละเอียดงบประมาณ
ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
รวมค่าใช้จ่าย 0

กิจกรรมที่ 2 2. การดำเนินงาน (Do)

ชื่อกิจกรรม
2. การดำเนินงาน (Do)
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนนชุมชน ส่งเสริมการสร้างอาชีพเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับชุมชนมาเพิ่มมูลค่าจากกระบวนการอย่างมีส่วนร่วม
  2. เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ให้กับนักศึกษาในศตวรรษที่ 21 เพื่อการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ในศาสตร์ของตนเองในการปฏิบัติงานจริง
  3. เพื่อนำองค์ความรู้หรือนวัตกรรมของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มาใช้ประโยชน์ในการส่งเสริมให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองและจัดการตนเองได้
รายละเอียดกิจกรรม
- นักศึกษาและอาจารย์ที่ปรึกษาดำเนินกิจกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตและพัฒนาผลิตภัณฑ์ของชุมชนตามแนวทางการพัฒนาเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์และตัวชี้วัดของโครงการ
- ประชาสัมพันธ์โครงการ นักศึกษาลงพื้นที่ครั้งที่ 2 เพื่อไปประชาสัมพันธ์โครงการให้คนในชุมชนรับทราบ
- นักศึกษาลงพื้นที่ครั้งที่ 3 ร่วมกับอาจารย์ที่ปรึกษาและผู้นำชุมชนบ้านสาขลา เพื่อสร้างความเข้าใจกับคนในชุมชนเกี่ยวกับโครงการ
กิจกรรมที่ 1 การให้ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มผู้ประกอบการและชุมชนที่สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
กิจกรรมที่ 2 จัดทำแผนกลยุทธ์ร่วมกับชุมชนเพื่อลดปัญหาความเหลื่อมล้ำของคนในชุมชนและนำเสนอต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่รับผิดชอบเพื่อนำไปบรรจุในแผนพัฒนาท้องถิ่น
กิจกรรมที่ 3 ร่วมกับชุมชนพัฒนาการแสดงและประดิษฐ์ท่ารำที่เป็นอัตลักษณ์ของชุมชน
กิจกรรมที่ 4 แก้ปัญหาความยากจนโดยการพัฒนาอาชีพการปลูกต้นอ่อนผักบุ้ง การทำปุ๋ยมูลไส้เดือน
กิจกรรมที่ 5 ออกแบบโลโก้ที่เป็นอัตลักษณ์ของชุมชนและพัฒนาบรรจุภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์สินค้าโอทอปในชุมชน คือกุ้งแห้ง กุ้งเหยียด ปูรามเกียรติ์
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2563 ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
กิจกรรมที่ 1 การให้ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มผู้ประกอบการและชุมชนที่สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
กิจกรรมที่ 2 จัดทำแผนกลยุทธ์ร่วมกับชุมชนเพื่อลดปัญหาความเหลื่อมล้ำของคนในชุมชนและนำเสนอต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่รับผิดชอบเพื่อนำไปบรรจุในแผนพัฒนาท้องถิ่น
กิจกรรมที่ 3 ร่วมกับชุมชนพัฒนาการแสดงและประดิษฐ์ท่ารำที่เป็นอัตลักษณ์ของชุมชน
กิจกรรมที่ 4 แก้ปัญหาความยากจนโดยการพัฒนาอาชีพการปลูกต้นอ่อนผักบุ้ง การทำปุ๋ยมูลไส้เดือน
กิจกรรมที่ 5 ออกแบบโลโก้ที่เป็นอัตลักษณ์ของชุมชนและพัฒนาบรรจุภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์สินค้าโอทอปในชุมชน คือกุ้งแห้ง กุ้งเหยียด ปูรามเกียรติ์
ทรัพยากรอื่น ๆ
ภาคีร่วมสนับสนุน
1. ชุมชนบ้านสาขลา ตำบลนาเกลือ อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ
2. องค์การบริหารส่วนตำบลนาเกลือ อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ
3. สำนักงานเกษตรอำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ
รายละเอียดงบประมาณ
ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
ค่าตอบแทนวิทยากร

ค่าวิทยากร 600 บาท*6 ชม.*2 วัน*2 คน*5 กิจกรรม

2 คน 7,200 5 72,000
ค่าอาหาร

ค่าอาหารกลางวัน 10 วัน*100 บาท*50 คน

50 คน 100 10 50,000
ค่าอาหาร

ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 10 วัน*25 บาท*50 คน* 2 มื้อ

50 คน 50 10 25,000
อื่น ๆ

ค่าพัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์ 3 ผลิตภัณฑ์

3 ชิ้น 30,000 1 90,000
ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้

ค่าวัสดุ 5 กิจกรรม*10,000 บาท

5 ครั้ง 10,000 1 50,000
ค่าจ้างทำป้ายประชาสัมพันธ์

ค่าจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์

1 ครั้ง 20,000 1 20,000
อื่น ๆ

ค่าเบี้ยเลี้ยงอาจารย์ 5 คน*16วัน*240 บาท

5 คน 240 16 19,200
อื่น ๆ

ค่าเบี้ยเลี้ยงนักศึกษา 10 คน* วัน*240 บาท*40 วัน

10 คน 240 40 96,000
ค่าที่พักตามจริง

ค่าที่พักเหมาจ่าย 3,780 บาท*2 เดือน*5 ห้อง

5 ชิ้น 3,780 2 37,800
ค่าพาหนะเดินทาง - รถยนต์ส่วนบุคคล

ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงในการเดินทางของอาจารย์ 5 คน*2 เดือน*3,000 บาท

5 คน 3,000 2 30,000
ค่าวัสดุสำนักงาน

ค่าวัสดุในการจัดทำรายงาน

1 ชุด 10,000 1 10,000
รวมค่าใช้จ่าย 500,000

กิจกรรมที่ 3 3. การติดตามประเมินผล (Check)

ชื่อกิจกรรม
3. การติดตามประเมินผล (Check)
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนนชุมชน ส่งเสริมการสร้างอาชีพเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับชุมชนมาเพิ่มมูลค่าจากกระบวนการอย่างมีส่วนร่วม
  2. เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ให้กับนักศึกษาในศตวรรษที่ 21 เพื่อการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ในศาสตร์ของตนเองในการปฏิบัติงานจริง
  3. เพื่อนำองค์ความรู้หรือนวัตกรรมของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มาใช้ประโยชน์ในการส่งเสริมให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองและจัดการตนเองได้
รายละเอียดกิจกรรม
- นักศึกษานำเสนอรายงานโครงการเป็น VDO ต่ออาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อประเมินผลโครงการและให้คะแนนในรายวิชาที่สอน

- คณะกรรมการ สป.อว.และมหาวิทยาลัยลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมชุมชนเพื่อประเมินผลตามตัวชี้วัดเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2563 ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
รายงานโครงการ
ทรัพยากรอื่น ๆ
ภาคีร่วมสนับสนุน
คณะกรรมการ สป.อว.
รายละเอียดงบประมาณ
ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
รวมค่าใช้จ่าย 0

กิจกรรมที่ 4 4. ปรับปรุงโครงการ (Act)

ชื่อกิจกรรม
4. ปรับปรุงโครงการ (Act)
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนนชุมชน ส่งเสริมการสร้างอาชีพเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับชุมชนมาเพิ่มมูลค่าจากกระบวนการอย่างมีส่วนร่วม
  2. เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ให้กับนักศึกษาในศตวรรษที่ 21 เพื่อการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ในศาสตร์ของตนเองในการปฏิบัติงานจริง
  3. เพื่อนำองค์ความรู้หรือนวัตกรรมของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มาใช้ประโยชน์ในการส่งเสริมให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองและจัดการตนเองได้
รายละเอียดกิจกรรม
- ประชุมสรุปผลการดำเนินโครงการและเผยแพร่ผลการดำเนินโครงการ
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2563 ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
ผลการดำเนินโครงการ
ทรัพยากรอื่น ๆ
ภาคีร่วมสนับสนุน
ชุมชนบ้านสาขลา
รายละเอียดงบประมาณ
ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
รวมค่าใช้จ่าย 0

รวมงบประมาณทุกกิจกรรมของแผนการดำเนินงาน จำนวน 500,000.00 บาท

ค่าตอบแทนค่าจ้างค่าใช้สอยค่าวัสดุอื่น ๆรวมเงิน
ค่าใช้จ่าย (บาท) 72,000.00 20,000.00 142,800.00 60,000.00 205,200.00 500,000.00
เปอร์เซ็นต์ (%) 14.40% 4.00% 28.56% 12.00% 41.04% 100.00%

11. งบประมาณ

500,000.00บาท

12. การติดตามประเมินผล

ต่อชุมชนต่อนักศึกษา
ผลผลิต (Output) 1. ด้านเศรษฐกิจ : เกิดการสร้างงาน สร้างอาชีพสร้างรายได้ให้แก่สมาชิกในชุมชนเพิ่มมากขึ้น มี
ผลิตภาพ (Productivity) เพิ่มขึ้น/ ปริมาณการขายเพิ่มขึ้น รายได้เพิ่มขึ้น/ลดต้นทุน
2. ด้านสังคมและชุมชน : การมีส่วนร่วมของคนในชุมชน การช่วยเหลือเกื้อกูลกัน การจัด
สวัสดิการเพื่อประโยชน์ชุมชนเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
3. ด้านความยั่งยืน : ชุมชนเกิดการเรียนรู้ มีความเข้าใจ ตระหนักในความสำคัญและสามารถ
นำไปคิดต่อยอดองค์ความรู้ได้
- นักศึกษาได้เรียนรู้และเข้าใจถึงสภาพปัญหาชีวิตของประชาชนในชุมชนโดยที่นักศึกษาได้มี การร่วมกันระดมความคิดและนำเอาความรู้ที่ได้รับจากห้องเรียนมาแก้ไขปัญหาชุมชนได้อย่างตรงจุดนักศึกษา สามารถนำเอาประสบการณ์จากการทำงานจริงมาต่อยอดและปรับใช้กับชุมชนบ้านเกิดของนักศึกษาเองได้
ผลลัพธ์ (Outcome) สามารถยกระดับคุณภาพชีวิตรวมถึงพัฒนามูลค่าของผลิตผลให้เกิดมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ และสร้างมูลค่าเพิ่มในผลิตภัณฑ์ และบริการแก่กลุ่มองค์กรชุมชน ต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น และสร้างโอกาสทางการตลาดและการแข่งขัน ส่งผลต่อความเข้มแข็งของระบบเศรษฐกิจฐานรากอย่างยั่งยืนรวมถึงสามารถฝึกทักษะการเป็นผู้ประกอบการโดยผสมผสานภูมิปัญญาในท้องถิ่นกับความรู้ทางวิทยาการสมัยใหม่ เพื่อให้เกิดอาชีพและรายได้ที่มั่นคง ได้รับความรู้ความเข้าใจเห็นคุณค่าของทรัพยากรและภูมิปัญญาท้องถิ่น สามารถฝึกทักษะการเป็นผู้ประกอบการ โดยมีโอกาสพัฒนาเป็นอาชีพเพื่อให้มีรายได้เลี้ยงตนเองได้
ผลกระทบ (Impact) 1. ด้านเศรษฐกิจ
- เกิดการสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้กับสมาชิกชุมชนที่ว่างงาน และผู้ไม่มีรายได้
ทำให้เกิดรายได้ขึ้นในชุมชน
- ผลิตภัณฑ์ของชุมชนได้พัฒนารูปบรรจุภัณฑ์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์รวมถึงมี
ตราสัญลักษณ์ที่บ่งบอกถึงอัตลักษณ์ของชุมชน
2. ด้านสังคมและชุมชน
- ทำให้สมาชิกในชุมชนบ้านสาขลา ตำบลนาเกลือ อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัด
สมุทรปราการมีอาชีพและมีส่วนร่วมที่จะทำให้ชุมชนเกิดรายได้
3. ด้านความยั่งยืน
- คนในชุมชนมีความรู้ที่สามารถนำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้
-มีรายได้เพิ่มขึ้นอย่างยั่งยืนและมั่นคง
- มีความต่อเนื่องในการพัฒนาบรรจุภัณฑ์และโลโก้สินค้าที่เป็นอัตลักษณ์ท้องถิ่นของชุมชน
- คนในชุมชนมีช่องทางในการติดต่อสื่อสารกับหน่วยงานท้องถิ่น
นักศึกษาเห็นคุณค่าของทรัพยากรและภูมิปัญญาท้องถิ่น สามารถฝึกทักษะการเป็นผู้ประกอบการ โดยมีโอกาสพัฒนาเป็นอาชีพเพื่อให้มีรายได้เลี้ยงตนเองได้
นำเข้าสู่ระบบโดย alisa alisa เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2562 14:36 น.