การจัดการแหล่งท่องเที่ยวชุมชนเชิงสร้างสรรค์บนฐานการรักษาอัตลักษณ์วัฒนธรรมอย่างยั่งยืน

แบบเสนอโครงการ
การจัดการแหล่งท่องเที่ยวชุมชนเชิงสร้างสรรค์บนฐานการรักษาอัตลักษณ์วัฒนธรรมอย่างยั่งยืน

1. ชื่อโครงการ

การจัดการแหล่งท่องเที่ยวชุมชนเชิงสร้างสรรค์บนฐานการรักษาอัตลักษณ์วัฒนธรรมอย่างยั่งยืนกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์1.สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอสังขะ 2.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสังขะ 3.องค์การบริหารส่วนตำบลสังขะ 4.คณะนิเทศศาสตร์ 5.คณะวิทยาการจัดการ 6.คณะศึกษาศาสตร์ 7.สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ 8.สำนักงานท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดสุรินทร์บ้านแบกจาน ตำบลสังขะ อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ดร.ภัทระ อินทรกำแหง186 มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ถนนสุรินทร์-ปราสาท ตำบลนอกเมือง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ 3200009431055751.ดร.อิทธิวัตร ศรีสมบัติ อาจารย์ประจำหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสังคมศึกษา
2.ดร.ชาตรี เกษโพนทอง อาจารย์ประจำหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสังคมศึกษา
3.ดร.วิลาศ โพธิสาร นักวิชาการอิสระ และอาจารย์พิเศษ
4.นายปรพล บานเย็น นักวิชาการศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
5.นางสาวทองพันธ์ แพใหญ่ นักวิชาการศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
6.นักศึกษาสาขาสังคมศึกษา จำนวน 6 คน
ุ7.นักศึกษาสาขานาฎศิลป์ จำนวน 2 คน
8.นักศึกษาสาขาภาษาไทย จำนวน 2 คน

2. พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
สุรินทร์ สังขะ สังขะ

3. รายละเอียดชุมชน

1.1 ที่ตั้งของหมู่บ้าน
บ้านแบกจาน ตั้งอยู่ในตำบลสังขะ อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ ห่างจาก ที่ว่าการอำเภอสังขะ ไปทางทิศตะวันตกตามทางหลวงหมายเลข 2077 สุรินทร์–สังขะ ประมาณ 3 กิโลเมตร และห่างจากอำเภอเมืองสุรินทร์ 47 กิโลเมตร
1.2 ลักษณะภูมิประเทศ
บ้านแบกจาน ตำบลสังขะ มีลักษณะเป็นที่ราบลุ่ม ตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง
1.3 ลักษณะภูมิอากาศ
ลักษณะภูมิอากาศมีลักษณะร้อนชื้น อากาศเปลี่ยนแปลงไปตามฤดู ซึ่งมี 3 ฤดู คือ ฤดูหนาว ฤดูร้อนและฤดูฝน
1.4 ลักษณะของดิน
ลักษณะของดินในพื้นที่บ้านแบกจาน ตำบลสังขะส่วนใหญ่เป็นดินร่วมปนทราย ซึ่งเหมาะสำหรับการเพาะปลูกพืชผลทางการเกษตร เช่น ข้าว มันสาปะหลัง อ้อย และยางพารา เป็นต้น
1.5 ลักษณะของแหล่งน้ำ
บ้านแบกจาน และหมู่บ้านในเขตพื้นที่ตำบลสังขะ มีแหล่งน้ำสำหรับใช้อุปโภค บริโภค จำนวนมากแต่ไม่เพียงพอแก่การเพาะปลูกทางการเกษตรซึ่งแหล่งน้ำบางแห่งเป็นแหล่งน้ำที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติคือลำห้วยทับทัน และแหล่งน้ำที่มนุษย์สร้างขึ้น
1.6 ลักษณะของไม้และป่าไม้
ป่าไม้ในพื้นที่บ้านแบกจาน ส่วนใหญ่เป็นป่าชุมชน ซึ่งประชาชนสงวนไว้เพื่อใช้ประโยชน์ร่วมกัน โดยปัจจุบันไม่สามารถระบุอาณาเขตที่แน่ชัดได้ เนื่องจากยังไม่มีการสำรวจรังวัดอาณาเขตที่แน่นอน และมีส่วนที่เป็นทำเลเลี้ยงสัตว์ที่รกร้างว่างเปล่ามีจำนวน 12 ไร่ซึ่งปัจจุบันชาวบ้านได้รวมกลุ่มกันปลูกพืชปลอดสารพิษ
2.1 การรวมกลุ่มอาชีพ
-กลุ่มเศรษฐกิจพอเพียง
-กลุ่มวิสาหกิจชุมชนปลูกพืชผักปลอดสารพิษ
-กลุ่มเกษตรกรรม ได้แก่ ทำนา ไร่อ้อยและข้าวโพด
-กลุ่มหัตถกรรมพื้นบ้าน
-กลุ่มเลี้ยงปศุสัตว์ เช่น โค กระบือ สุกร เป็ด ไก่ เป็นต้น
2.2 แหล่งท่องเที่ยว
แหล่งท่องเที่ยวมี 1 แห่ง ได้แก่ แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร แปลงผักปลอดสารพิษบ้านแบกจาน
2.3 แรงงาน
แรงงาน ส่วนใหญ่เป็นแรงงานด้านการเกษตร ซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตามฤดูกาลเพาะปลูกส่วนใหญ่เป็นประชาชนในพื้นที่ และแรงงานอีกส่วนหนึ่งคือแรงงานภาคอุตสาหกรรม ซึ่งจะออกไปรับจ้าง นอกเขตพื้นที่ โดยเฉพาะในเขตพื้นที่ที่มีโรงงานอุตสาหกรรมตั้งอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น กรุงเทพมหานคร จังหวัดชลบุรี ระยอง
2.4 ข้อมูลด้านการเกษตร
-ทำนาข้าว จำนวน 22,929 ไร่
-ปลูกอ้อยโรงงาน จำนวน 2,098 ไร่
-ปลูกมันสำปะหลัง จานวน 752 ไร่
-ปลูกยางพารา จานวน 4,227 ไร่
-พื้นที่ทำการเกษตรอื่นๆ จำนวน 151 ไร่
2.5 ข้อมูลด้านแหล่งน้ำอุปโภคบริโภค
- บ่อน้ำตื้นสาธารณะ 20 แห่ง
- บ่อบาดาล 19 แห่ง
- ประปาหมู่บ้าน 15 แห่ง
2.6 ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม
-การนับถือศาสนาประชาชนในพื้นที่ตำบลสังขะส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ และนับถือศาสนาคริสต์บ้างเล็กน้อย โดยมีวัดในพื้นที่ จำนวนทั้งสิ้น 17 แห่ง สำนักสงฆ์ จำนวน 1 แห่ง โบสถ์คริสต์ จำนวน 1 แห่ง
-ประเพณีและงานประจำปี ได้แก่
1)ประเพณีสงกรานต์ เดือนเมษายน
2)ประเพณีบวงสรวงศาลหลักเมือง เดือนเมษายน
3)ประเพณีวันสารทไทย เดือนตุลาคม
4)ประเพณีลอยกระทง เดือนพฤศจิกายน
5)ประเพณีวันเข้าพรรษา เดือนกรกฎาคม
6)ประเพณีวันออกพรรษา เดือนตุลาคม
2.7 ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภาษาถิ่น
ภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้แก่
-การทำเครื่องจักสานสำหรับใช้ในครัวเรือน
-การเพาะเลี้ยงหม่อนไหมและการทอผ้าไหม
-การทำขนมและอาหารพื้นบ้าน
-การทำบายศรี
-การจับผ้า
ภาษาถิ่น
ประชาชนบ้านแบกจาน ตำบลสังขะ มีภาษาถิ่นซึ่งใช้ในการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน 3 ภาษา ประกอบด้วย เขมร ลาว และส่วย
2.8 สินค้าพื้นบ้านและของที่ระลึก
-ผลผลิตทางการเกษตร เช่น ข้าว ผัก เป็นต้น
-ผ้าไหม
-ผลิตภัณฑ์งานเพ้นท์สี
- ผลิตภัณฑ์จากไม้ เช่น กระสวย ทัพพี ตะลิว เป็นต้น
2.9 ทรัพยากรธรรมชาติ
แหล่งน้ำธรรมชาติ เช่น หนองสิม ห้วยเสน เป็นต้น
2.10 ป่าไม้
ป่าไม้ในพื้นที่ ตำบลสังขะส่วนใหญ่เป็นป่าชุมชน ซึ่งประชาชนมีไว้เพื่อใช้ประโยชน์ร่วมกัน
1.ชุมชนส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม ยังขาดความรู้ความเข้าใจในการสร้างอาชีพเสริม ที่พัฒนาต่อยอดสร้างรายได้จากการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรให้มีมูลค่าที่สูงขึ้น
2.ชุมชนมีแหล่งท่องเที่ยวและเรียนรู้ทางการเกษตร แต่ยังขาดความรู้ความเข้าใจ และแนวทางในการดำเนินกิจกรรมการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์บนพื้นฐานการรักษาอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม
3.ชุมชนมีตลาดสินค้าทางการเกษตรเพียงจุดเดียวในพื้นที่แปลงปลูกผักริมถนน เฉพาะในช่วงฤดูกาลปลูกพืชผัก ไม่มีกิจกรรมและสถานที่สำหรับรองรับตลาดขายสินค้าผลิตภัณฑ์ของชาวบ้านในชุมชนมาจำหน่าย
1.พัฒนาความรู้และทักษะการแปรรูปวัตถุดิบทางการเกษตร และการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาสร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์ชุมชน
2.บริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์บนพื้นฐานการรักษาอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชุมชนอย่างเป็นระบบและยั่งยืน
3.พัฒนาชุมชนให้เข้มแข็ง ครอบครัวมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีสุข มีรายได้จากการนำทุนทางวัฒนธรรมของชุมชนมาสร้างเสริมอาชีพให้พออยู่พอกินโดยน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิตและประกอบสัมมาอาชีพโดยสุจริต

4. ประเด็นปัญหาหลัก

5. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

6. องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

1.การเพิ่มศักยภาพการผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัย ไร้สารพิษ
2.การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
3.การนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาสร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์ชุมชน
4.การจัดการตลาดและสื่อความหมายการท่องเที่ยว
5.การบริหารจัดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์บนฐานการรักษาอัตลักษณ์วัฒนธรรมชุมชนอย่างยั่งยืน

7. วัตถุประสงค์

วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิด แปรรูป และพัฒนามูลค่าผลิตภัณฑ์ชุมชุนตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง

กลุ่มอาชีพในชุมชนยกระดับคุณภาพชีวิตและมีรายได้จากการผลิต การแปรรูปและพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนตอบสนองความต้องการของลูกค้า

25.00 25.00
2 2.เพื่อให้ผู้ร่วมโครงการสามารถจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ได้

ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อม การอนุรักษ์และพัฒนาคุณค่าของศิลปวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่น

25.00 25.00
3 3.เพื่อให้ชุมชนสามารถจัดการตลาดและกิจกรรมเผยแพร่ สื่อความหมายการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ได้

ชุมชนมีรายได้จากการดำเนินกิจกรรมส่งเสริมการตลาดและการขายสินค้าผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นในงานเทศกาลประเพณีวัฒนธรรมพื้นบ้าน

25.00 25.00
4 4.เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์แบบมีส่วนร่วม

ชุมชนมีการจัดองค์กรธุรกิจดำเนินการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ที่ทุกกลุ่มมีส่วนร่วมในการคิดวางแผน ปฏิบัติงาน ประเมินผลและปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น

25.00 25.00

8. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)

9. ระยะเวลา

10. วิธีดำเนินงาน

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมการศึกษาและพัฒนาศักยภาพการผลิดแปรรูปและพัฒนามูลค่าผลิตภัณฑ์ชุมชุนตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมการศึกษาและพัฒนาศักยภาพการผลิดแปรรูปและพัฒนามูลค่าผลิตภัณฑ์ชุมชุนตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง
วัตถุประสงค์
  1. 1.เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิด แปรรูป และพัฒนามูลค่าผลิตภัณฑ์ชุมชุนตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง
รายละเอียดกิจกรรม
จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ศึกษาบริบทและอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชนเพื่อการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ โดยวิเคราะห์SWOT เพื่อค้นหาศักยภาพของกลุ่ม จุดที่ควรพัฒนา โอกาสในการพัฒนาและภาวะคุกคามของกลุ่ม เพื่อนำไปวางแผนในการพัฒนาศักยภาพของแต่ละกลุ่มอาชีพ
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 January 2020 ถึง 31 January 2020
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
กลุ่มอาชีพได้พัฒนาศักยภาพตนเอง และสามารถกำหนดแผนและนโยบายในการพัฒนาเพื่อ
การท่องเที่ยวเชิงสร้างสร้างสรรค์
ทรัพยากรอื่น ๆ
ทุนทางวัฒนธรรม
ภาคีร่วมสนับสนุน
องค์การบริหารส่วนตำบลสังขะ/สำนักงานพัฒนาอำเภอสังขะ/คณาจารย์ที่มีความเชี่ยวชาญในแต่ละสาขาอาชีพ
รายละเอียดงบประมาณ
ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
ค่าตอบแทนวิทยากร 5 คน 5,000 4 100,000
ค่าอาหาร

ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่่ม 25บาทx100คนx4วันx2มื้อ ค่าอาหารกลางวัน 150บาทx100คนx4วัน

100 คน 200 4 80,000
ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้ 100 คน 200 4 80,000
รวมค่าใช้จ่าย 260,000

กิจกรรมที่ 2 การจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์

ชื่อกิจกรรม
การจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์
วัตถุประสงค์
  1. 2.เพื่อให้ผู้ร่วมโครงการสามารถจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ได้
รายละเอียดกิจกรรม
อบรมพัฒนาทักษะจัดการสิ่งแวดล้อมแก่ผู้ร่วมโครงการและส่งเสริมการปรับบริบทภูมิทัศน์ทางวัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 February 2020 ถึง 29 February 2020
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
ผู้อบรมมีทักษะการจัดการสิ่งแวดล้อมและสามารถดำเนินการปรับปรุงภูมิทัศน์ภายในบริเวณชุมชนให้มีความสวยงามสะอาดตาดึงดูดให้นักท่องเที่ยวมาเยี่ยมชม
ทรัพยากรอื่น ๆ
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมชุมชน
ภาคีร่วมสนับสนุน
องค์การบริหารส่วนตำบลสังขะ/โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสังขะ
รายละเอียดงบประมาณ
ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
ค่าตอบแทนวิทยากร 4 คน 5,000 2 40,000
ค่าอาหาร

ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่่ม 25บาทx100คนx2วันx2มื้อ ค่าอาหารกลางวัน150บาทx100คนx2วัน

100 คน 200 2 40,000
รวมค่าใช้จ่าย 80,000

กิจกรรมที่ 3 การจัดการตลาด การเผยแพร่และสื่อความหมายการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์

ชื่อกิจกรรม
การจัดการตลาด การเผยแพร่และสื่อความหมายการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์
วัตถุประสงค์
  1. 3.เพื่อให้ชุมชนสามารถจัดการตลาดและกิจกรรมเผยแพร่ สื่อความหมายการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ได้
รายละเอียดกิจกรรม
อบรมให้ความรู้และศึกษาดูงานชุมนต้นแบบที่มีการจัดการตลาด การเผยแพร่และสื่อความหมายการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ที่ประสบผลสำเร็จ
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 March 2020 ถึง 31 March 2020
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
ผู้อบรมสามารถวางแผน วิเคราะห์ปัญหาและดำเนินกิจกรรมจัดการตลาด เผยแพร่และสื่อความหมายการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของกลุ่มอาชีพในชุมชนตนเองได้ร้อยละ 80
ทรัพยากรอื่น ๆ
ทุนทางวัฒนธรรม/ตลาดชุมชน/แปลงปลูกพืชผักบ้านแบกจาน
ภาคีร่วมสนับสนุน
ชุมชนต้นแบบการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์/ทุนทางวัฒนธรรม/ตลาดชุมชน/แปลงปลูกพืชผักบ้านแบกจาน
รายละเอียดงบประมาณ
ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
ค่าตอบแทนวิทยากร 5 คน 5,000 1 25,000
ค่าพาหนะเดินทาง - ค่าเดินทางในพื้นที่ 3 ครั้ง 24,000 1 72,000
รวมค่าใช้จ่าย 97,000

กิจกรรมที่ 4 การถอดบทเรียนการจัดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์บนฐานการรักษาอัตลักษณ์วัฒนธรรม

ชื่อกิจกรรม
การถอดบทเรียนการจัดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์บนฐานการรักษาอัตลักษณ์วัฒนธรรม
วัตถุประสงค์
  1. 4.เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์แบบมีส่วนร่วม
รายละเอียดกิจกรรม
สรุปบทเรียนการจัดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 April 2020 ถึง 1 April 2020
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
องค์กรธุรกิจดำเนินการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ที่ชุมชนมีส่วนร่วมในการคิดวางแผน ปฏิบัติงาน ประเมินผลและปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น
ทรัพยากรอื่น ๆ
ภาคีร่วมสนับสนุน
มรดกทางภูมิปัญญาและวัฒนธรรมชุมชน
รายละเอียดงบประมาณ
ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
ค่าอาหาร

ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่่ม 25บาทx100คนx1วันx1มื้อ ค่าอาหารกลางวัน150บาทx100คนx1วัน

100 คน 200 1 20,000
ค่าเช่าสถานที่ 1 ครั้ง 7,000 1 7,000
ค่าตอบแทนวิทยากร 5 คน 5,000 1 25,000
รางวัลเพื่อการยกย่อง 5 ชุด 2,200 1 11,000
รวมค่าใช้จ่าย 63,000

รวมงบประมาณทุกกิจกรรมของแผนการดำเนินงาน จำนวน 500,000.00 บาท

ค่าตอบแทนค่าใช้สอยค่าวัสดุรวมเงิน
ค่าใช้จ่าย (บาท) 190,000.00 230,000.00 80,000.00 500,000.00
เปอร์เซ็นต์ (%) 38.00% 46.00% 16.00% 100.00%

11. งบประมาณ

500,000.00บาท

12. การติดตามประเมินผล

ต่อชุมชนต่อนักศึกษา
ผลผลิต (Output) พัฒนาศักยภาพการผลิด แปรรูป และพัฒนามูลค่าผลิตภัณฑ์ชุมชุนตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง องค์ความรู้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนและจัดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์
ผลลัพธ์ (Outcome) กระบวนการและแนวทางการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์บนฐานการรักษาอัตลักษณ์วัฒนธรรมอย่างยั่งยืน นักศึกษาได้พัฒนาทักษะกระบวนการกลุ่มในการทำงาน การแลกเปลี่ยนเรียน การระดมสอง การใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้ฝึกทำแผนผังความคิด และดำเนินกิจกรรมการจัดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรคืที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการประกอบอาชีพในอนาคต
ผลกระทบ (Impact) บุคลากรในชุมชนได้พัฒนาคุณภาพชีวิต โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมในการพัฒนาตนเองและกระบวนการจัดการการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ
ในชุมชนอย่างเป็นระบบสร้างความรู้สึกเท่าเทียมและสำนึกร่วมกันในความ
ภาคภูมิใจในท้องถิ่นสร้างความเข้มแข็งให้แก่สมาชิกในชุมชนสามารถดำเนินชีวิตอย่างพอเพียงตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
นักศึกษาได้รับรู้และเข้าใจในวิถีชีวิตและวัฒนธรรมชุมชนเกิดกระบวนการเรียนรู้ที่สร้างจิตสำนึกด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตอย่างมีคุณภาพและเหมาะสม
นำเข้าสู่ระบบโดย Bhadthara Bhadthara เมื่อวันที่ 31 October 2019 13:45 น.