โครงการยกระดับการเลี้ยงปลานิล อ.พาน จ.เชียงราย โดยใช้เทคโนโลยีไฟน์บับเบิ้ล

แบบเสนอโครงการ
โครงการยกระดับการเลี้ยงปลานิล อ.พาน จ.เชียงราย โดยใช้เทคโนโลยีไฟน์บับเบิ้ล

1. ชื่อโครงการ

โครงการยกระดับการเลี้ยงปลานิล อ.พาน จ.เชียงราย โดยใช้เทคโนโลยีไฟน์บับเบิ้ลมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงรายประมงจังหวัดเชียงรายเกษตรกรผู้เลี้ยงปลานิลในเขต อ.พาน จ.เชียงรายผศ.รัตนาพร นรรัตน์มหาวิทยาลัยราชมงคลล้านนา เชียงราย 99 ม.10 ต.แม่อ้อ อ.พาน จ.เชียงราย 57120091-84996611. ผศ.วิษณุ ทองเล็ก คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาไฟฟ้า
2. นายเพลิน จันสุยะ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาไฟฟ้า
3. ดร.กรุณา ใจนนถีย์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร สาขาวิชาวิทยาศาสตร์
4. ดร.ปภาวดี เนตรสุวรรณ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร สาขาวิชาวิทยาศาสตร์
5. ดร.รุ่งระวี ทองดอนเอ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร สาขาวิชาประมง
6. นางสุวิสา ทะยะธง คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ สาขาวิชาการบัญชี
7.นางอวยพร ต๊ะวัน คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ สาขาวิชาการตลาด

2. พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
เชียงราย พาน ชนบท

3. รายละเอียดชุมชน

อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย ถือเป็นแหล่งเพาะเลี้ยงปลานิลใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ จุดเด่นของปลานิลของอำเภอพานนั้นอยู่ที่ "ไม่มีกลิ่นดินกลิ่นโคลน" เนื่องมาจากว่า สารสำคัญที่ก่อให้เกิดกลิ่นโคลนในปลานิล คือ จีออสมิน และ 2-เมททิลไอโซบอนีออล (เอ็มไอบี) สารทั้งสองชนิดนี้เป็นสารเมทาบอไลท์ที่ผลิตจากสาหร่ายสีเขียวแกมนํ้าเงิน และแบคทีเรียบางสายพันธุ์ ดังนั้นปลานิลที่เลี้ยงในบ่อดินที่มีสาหร่ายและแบคทีเรียที่กล่าวมาข้างต้นมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดปัญหาการปนเปื้อนของกลิ่นโคลน (Johnsen PB :1996) แต่พบว่าสาหร่ายและแบคทีเรียที่กล่าวมาไม่สามารถเจริญเติบโตได้ในแหล่งน้ำที่ใช้ในการเลี้ยงปลานิลในอำเภอพาน จึงทำให้ปลานิลที่เลี้ยงได้นั้นไม่มีกลิ่นโคลนเหมือนที่อื่น ทำให้ปลานิลที่เพาะเลี้ยงจาก อำเภอพาน มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน อ.พาน จ.เชียงราย มีการจับปลานิลส่งจำหน่ายเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 43 ตันต่อวัน หรือประมาณ 1.2 หมื่นตันต่อปี คิดเป็นรายได้ประมาณ 900 ล้านบาทต่อปีโดยมีตลาดหลักอยู่ในจังหวัดต่าง ๆ ทางภาคเหนือ ในปัจจุบันมีบ่อปลานิลทั้งหมดไม่ต่ำกว่า 2,000 บ่อในทั่วทั้งอำเภอ สร้างรายได้จำนวนมากให้กับผู้เลี้ยงปลานิลอย่างไรก็ตามเกษตรกรในพื้นที่นี้ยังมียึดถือวิธีการเลี้ยงปลานิลแบบเดิม คือการเลี้ยงด้วยความหนาแน่นสูงและการบริหารจัดการคุณภาพน้ำในบ่อยังไม่ดีมากนัก ประกอบกับสภาวะการเปลี่ยนแปลงอากาศของโลกที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลัน ทำให้บางฤดูกาลปลานิลตายเป็นจำนวนมากเนื่องปริมาณออกซิเจนในน้ำไม่เพียงพอและผลกระทบจากความแปรปรวนของสภาพอากาศ ทำให้เกิดมูลค่าความเสียหายมหาศาล ยกตัวอย่างเช่น ปลาอายุ 6-7 เดือนก่อนจับไปขาย (ปลาเจริญเต็มวัย) เมื่อปริมาณออกซิเจนในบ่อปลาไม่เพียงพอ สามารถทำให้ปลาเกิดอาการน๊อคและตายทั้งบ่อ ซึ่่งสร้างความเสียหายให้กับเกษตรกรไม่ต่ำกว่า 200,000 บาท อีกทั้งในปี 2562 ทางภาคเหนือประสบปัญหาฝนไม่ตกตามฤดูกาลทำให้ปริมาณน้ำในการเพาะเลี้ยงปลาไม่เพียงพอ ทำให้ต้องมีการเตรียมตัวการใช้ทรัพยากรน้ำให้มีประสิทธิภาพมากที่สุดโดยไม่กระทบต่อคุณภาพปลาที่นำไปขาย ดังนั้นการปรับตัวของเกษตรกรโดยนำเอาเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการเลี้ยงปลาและการนำเอาองค์ความรู้ในการจัดการคุณภาพน้ำในบ่อเลี้ยงจึงเป็นสิ่งสำคัญเนื่องจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนามีพันธกิจในการผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต ของสังคม ชุมชน ท้องถิ่น อย่างยั่งยืน และมีที่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ในการเพาะเลี้ยงปลานิล โดยได้มีการสอบถามทางเกษตรกรผู้เลี้ยงปลานิลในพื้นที่ อ.พาน จ.เชียงราย พบว่า ความต้องการของผู้เพาะเลี้ยงปลานิลมีดังนี้
1. การหาเทคโนโลยีในการเพิ่มปริมาณออกซิเจนในน้ำเพื่อป้องกันปลาน๊อคในช่วงปลาเจริญเต็มวัย
2. องค์ความรู้ในการบริหารจัดการคุณภาพน้ำให้มีประสิทธิภาพ
3. การคำนวณต้นทุนตอบแทนในการเลี้ยงเพื่อประเมินวางแผนในการเลี้ยงปลาในรอบถัดไป

4. ประเด็นปัญหาหลัก

5. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

6. องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

7. วัตถุประสงค์

วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

8. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)

9. ระยะเวลา

10. วิธีดำเนินงาน

รวมงบประมาณทุกกิจกรรมของแผนการดำเนินงาน จำนวน 0.00 บาท

รวมเงิน
ค่าใช้จ่าย (บาท) 0.00
เปอร์เซ็นต์ (%) 100.00%

11. งบประมาณ

0.00บาท

12. การติดตามประเมินผล

ต่อชุมชนต่อนักศึกษา
ผลผลิต (Output)
ผลลัพธ์ (Outcome)
ผลกระทบ (Impact)
นำเข้าสู่ระบบโดย rattanaporn rattanaporn เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2562 11:31 น.