โครงการการจัดการชุมชนต้นแบบ “ชุมชนบางปลานวัตวิถี” ต.บางปลา อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ

แบบเสนอโครงการ
โครงการการจัดการชุมชนต้นแบบ “ชุมชนบางปลานวัตวิถี” ต.บางปลา อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ

1. ชื่อโครงการ

โครงการการจัดการชุมชนต้นแบบ “ชุมชนบางปลานวัตวิถี” ต.บางปลา อ.บางพลี จ.สมุทรปราการมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี สมุทรปราการคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีองค์การบริหารส่วนตำบลบางปลาชุมชนบางกะอี่ผศ.ดร.หฤทภัค อภิรัตน์59/1 มหาวิทยาลัยราชภัฎธนบุรี สมุทรปราการ ซอยเทศบาลบางปู 119 ถนนสุขุมวิท ตำบลบางปลา อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ 10540โทร0846151594อาจารย์ชาญฉจิต วรรณนุรักษ์
อาจารย์ลักษณา รมยะสมิต
อาจารย์ธนากร เมียงอารมณ์

2. พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
สมุทรปราการ บางพลี บางปลา

3. รายละเอียดชุมชน

ด้านลักษณะทางภูมิศาสตร์ ตำบลบางปลา เป็น 1 ใน 6 ตำบลของอำเภอบางพลี พื้นที่เป็นที่ราบลุ่มกว้างใหญ่ ดินอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การทำสวนผลไม้ เลี้ยงปลาสลิด มีลำคลอง ที่มีความสำคัญ รวม 35 คลอง มีเนื้อที่ประมาณ 53,376 ตารางกิโลเมตรหรือประมาณ 33,360 ไร่ ตำบลนี้ประกอบด้วยหมู่บ้านทั้งสิ้น 15 หมู่บ้าน 13,123 ครัวเรือน พื้นที่นี้เป็นพื้นที่ดั้งเดิมที่ผู้คนอพยพมาอาศัยมามากกว่า 100 ปี ทิศเหนือ ติดกับตำบลบางโฉลง อำเภอบางพลี ทิศใต้ ติดกับตำบลบางปู อ.เมือง จ.สมุทรปราการ ทิศตะวันออก ติดกับอำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ และตำบลบางเพรียง อำเภอบางบ่อ จ.สมุทรปราการ ทิศตะวันตก ติดกับตำบลบางพลีใหญ่ อำเภอบางพลี และตำบลแพรกษาใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการบ้านบางกะอี่ หมู่ที่ 8 ตำบลบางปลา อำเภอบางพลี เป็นหนึ่งในหมู่บ้านที่สามารถพัฒนาต่อยอดเป็นชุมชนท่องเที่ยวนวัตวิถี ที่มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง และเป็นหมู่บ้านที่ได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวที่ชื่นชอบการล่องเรือชมบรรยากาศริมสายน้ำ ความโดดเด่นของหมู่บ้านแห่งนี้คือความผูกผันระหว่างคนกับสายน้ำ จึงทำให้มีกิจกรรมที่น่าสนใจหลากหลายให้ผู้ที่มาท่องเที่ยวได้สัมผัส เช่น กิจกรรมล่องเรือชมบรรยากาศริมสองฝั่งคลองบางปลา รับประทานอาหารพื้นถิ่นที่หลากหลายบนภัตาคารเรือห้อยขา กิจกรรมสำหรับผู้ที่ชื่นชอบการตกปลา/ตกกุ้ง นมัสการศาลเจ้าพ่อเสือ เเละชมการเเสดงละครชาตรีของเด็ก ๆ ก่อนวัยเรียนอาชีพหลักของคนในชุมชนมีความหลากหลาย เนื่องจากการขยายตัวของเมืองหลวง เนื่องจากทำเลที่ตั้งไม่ไกลจากเมืองหลวง และสามารถเดินทางถึงใจกลางกรุงเทพฯได้โดยง่าย ทั้งนี้ยังมีประชากรส่วนหนึ่งที่ยังทำอาชีพเกษตรกร เลี้ยงปลาสลิด ปลูกมะม่วง และรับจ้าง โดยมีผลิตภัณฑ์ชุมชน ได้แก่ ปลาสลิดแห้ง ขนมกง กล้วยอบเนย ข้าวเกรียบปลาสลิด และกระเป๋าผ้าไหม เป็นต้น จึงจัดได้ว่าชุมชนบางปลานวัติวิถีเป็นชุมชนที่ไม่ไกลจากเมืองหลวง ที่ยังคงรักษาประเพณีวิถีชุมชนดั้งเดิมได้เป็นอย่างดีชุมชนบ้านบางกะอี่ ตั้งอยู่ในหมู่ที่ 8 ตำบลบางปลา อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ เป็นชุมชนบริเวณตลาดตะเกียง เลียบคลองบางปลา มีวัฒนธรรมเป็นเอกลักษณ์ของชุมชน และเป็นชุมชนที่เข้มแข็ง ซึ่งทำเลที่ตั้งเป็นชุมชนเลียบคลองบางปลานั้น สามารถเดินทางถึงโดยทั้งทางเรือและทางบก มีสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญตลอดริมฝั่งคลอง เป็นชุมชนที่มีศักยภาพในการพัฒนาต่อเนื่องเป็นชุมชนนวัตวิถีได้
ชุมชนบ้านบางกะอี่มีโครงการสร้างฐานเรียนรู้ในศูนย์เรียนรู้ตามรอยศาสตร์พระราชา บริเวณตลาดตะเกียงริมคลอง เพื่อเป็นการเผยแพร่ความรู้แก่นักท่องเที่ยวและผู้ที่สนใจเกี่ยวกับชุมชนนวัติวิถี และบูรณาการเข้ากับการท่องเที่ยวชุมชนและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน ทั้งนี้ชุมชนต้องการการบริหารจัดการที่ทันสมัยโดยใช้นวัติกรรมเทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการชุมชน โดยยังคงอนุรักษ์วัฒนธรรมต้นแบบของชุมชน ได้แก่ ฐานการเรียนรู้ไส้เดือนดิน ฐานการเรียนรู้การผลิตปุ๋ยชีวภาพ ฐานการเรียนรู้การผลิตไบโอชาร์ ฐานการเรียนรู้การเพาะและขยายพันธ์ต้นทองอุไร ฐานการเรียนรู้ขนมกงโบราณ การจัดการการท่องเที่ยวชุมชน และการประชาสัมพันธ์ชุมชน
ชุมชนบ้านบางกะอี่มีโครงการสร้างฐานเรียนรู้ในศูนย์เรียนรู้ตามรอยศาสตร์พระราชา บริเวณตลาดตะเกียงริมคลอง เพื่อเป็นการเผยแพร่ความรู้แก่นักท่องเที่ยวและผู้ที่สนใจเกี่ยวกับชุมชนนวัติวิถี และบูรณาการเข้ากับการท่องเที่ยวชุมชนและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน ทั้งนี้ชุมชนต้องการการบริหารจัดการที่ทันสมัยโดยใช้นวัติกรรมเทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการชุมชน โดยยังคงอนุรักษ์วัฒนธรรมต้นแบบของชุมชน ได้แก่ ฐานการเรียนรู้ไส้เดือนดิน ฐานการเรียนรู้การผลิตปุ๋ยชีวภาพ ฐานการเรียนรู้การผลิตไบโอชาร์ ฐานการเรียนรู้การเพาะและขยายพันธ์ต้นทองอุไร ฐานการเรียนรู้ขนมกงโบราณ การจัดการการท่องเที่ยวชุมชน และการประชาสัมพันธ์ชุมชน

4. ประเด็นปัญหาหลัก

5. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

6. องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

นวัตกรรมด้านองค์ความรู้เกี่ยวกับฐานการเรียนรู้ต่างๆ
นวัตกรรมการจัดการการท่องเที่ยวชุมชน

7. วัตถุประสงค์

วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างฐานการเรียนรู้ตามศาสตร์พระราชา ณ ชุมชนบางปลานวัตวิถี

จำนวนฐานการเรียนรู้

5.00 5.00
2 เพื่อสร้างระบบการจัดการท่องเที่ยวชุมชนบางปลานวัตวิถี

ระบบการจัดการการท่องเที่ยว

5.00 5.00

8. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
นักศึกษาหลักสูตรการจัดการอุตสาหกรรม 4
นักศึกษาหลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์ 4

9. ระยะเวลา

10. วิธีดำเนินงาน

กิจกรรมที่ 1 การสร้างฐานการเรียนรู้ตามศาสตร์พระราชา ณ ชุมชนบางปลานวัตวิถี

ชื่อกิจกรรม
การสร้างฐานการเรียนรู้ตามศาสตร์พระราชา ณ ชุมชนบางปลานวัตวิถี
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อสร้างฐานการเรียนรู้ตามศาสตร์พระราชา ณ ชุมชนบางปลานวัตวิถี
รายละเอียดกิจกรรม
สร้างฐานการเรียนรู้ตามศาสตร์พระราชา อาทิเช่น ฐานการเียนรู้ไส้เดือนดิน ฐานการเรียนรู้การผลิตปุ๋ยชีวภาพ ฐานการเรียนรู้การผลิตไบโอชาร์ ฐานการเรียนรู้การเพาะและขยายพันธ์ต้นทองอุไร และฐานการเรียนรู้ขนมกงโบราณ เป็นต้น
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พ.ค. 2563 ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
นักศึกษาเกิดการเรียนรู้ร่วมกับชุมชน และสร้างฐานการเรียนรู้ศาสตร์พระราชาให้ชุมชน
ทรัพยากรอื่น ๆ
ภาคีร่วมสนับสนุน
โครงการลูกพระดาบส
รายละเอียดงบประมาณ
ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
ค่าพาหนะเดินทาง - ค่าเดินทางในพื้นที่ 4 คน 200 80 64,000
ค่าอาหาร 4 คน 100 80 32,000
ค่าตอบแทนผู้ทรงคุณวุฒิ 4 คน 3,600 2 28,800
ค่าตอบแทนวิทยากร 2 คน 3,600 4 28,800
ค่าตอบแทนการประสานงาน 2 คน 2,500 4 20,000
ค่าจ้างทำป้ายประชาสัมพันธ์ 10 ชิ้น 1,000 1 10,000
ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้

ค่าวัสดุเหมาจ่ายต่อเดือน

1 ครั้ง 13,000 4 52,000
ค่าวัสดุสำนักงาน

เหมาจ่ายตลอดโครงการ

1 ชุด 7,200 1 7,200
ค่าถ่ายเอกสาร

เหมาจ่ายตลอดโครงการ

1 ชุด 7,200 1 7,200
รวมค่าใช้จ่าย 250,000

กิจกรรมที่ 2 สร้างระบบการจัดการท่องเที่ยวชุมชนบางปลานวัตวิถี

ชื่อกิจกรรม
สร้างระบบการจัดการท่องเที่ยวชุมชนบางปลานวัตวิถี
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อสร้างระบบการจัดการท่องเที่ยวชุมชนบางปลานวัตวิถี
รายละเอียดกิจกรรม
สร้างระบบการจัดการท่องเที่ยวชุมชน ณ ชุมชนบางปลานวัตวิถี
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พ.ค. 2563 ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
นักศึกษาเกิดการเรียนรู้ร่วมกับชุมชน และเกิดระบบการจัดการการท่องเที่ยวบางปลานวัตวิถี
ทรัพยากรอื่น ๆ
ภาคีร่วมสนับสนุน
องค์การบริหารส่วนตำบลบางปลา
รายละเอียดงบประมาณ
ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
ค่าพาหนะเดินทาง - ค่าเดินทางในพื้นที่

ค่าเดินทางเหมาจ่ายตลอดโครงการ

4 คน 200 80 64,000
ค่าอาหาร

ค่าอาหารกลางวันเหมาจ่ายตลอดโครงการ

4 คน 100 80 32,000
ค่าตอบแทนผู้ทรงคุณวุฒิ 4 คน 3,600 2 28,800
ค่าตอบแทนวิทยากร 2 คน 3,600 4 28,800
ค่าตอบแทนการประสานงาน 2 คน 2,500 4 20,000
ค่าจ้างทำป้ายประชาสัมพันธ์ 10 ชิ้น 1,000 1 10,000
ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้

วัสดุสำหรับการสร้างฐานการเรียนรู้เหมาจ่ายรายเดือน

1 ครั้ง 13,000 4 52,000
ค่าวัสดุสำนักงาน

ค่าวัสดุสำนักงานเหมาจ่ายตลอดโครงการ

1 ชุด 7,200 1 7,200
ค่าถ่ายเอกสาร

เหมาจ่ายตลอดโครงการ

1 ชุด 7,200 1 7,200
รวมค่าใช้จ่าย 250,000

รวมงบประมาณทุกกิจกรรมของแผนการดำเนินงาน จำนวน 500,000.00 บาท

ค่าตอบแทนค่าจ้างค่าใช้สอยค่าวัสดุรวมเงิน
ค่าใช้จ่าย (บาท) 155,200.00 20,000.00 206,400.00 118,400.00 500,000.00
เปอร์เซ็นต์ (%) 31.04% 4.00% 41.28% 23.68% 100.00%

11. งบประมาณ

500,000.00บาท

12. การติดตามประเมินผล

ต่อชุมชนต่อนักศึกษา
ผลผลิต (Output) 1. ชุมชนได้มีระบบการบริหารจัดการการท่องเที่ยวที่ดี
2. ชุมชนได้มีฐานการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ
1. นักศึกษาได้นำความรู้ความสามารถที่ได้รับมาบูรณาการเข้ากับการจัดการชุมชนจริง
2. นักศึกษาได้ฝึกความรับผิดชอบอย่างเป็นรูปธรรม
ผลลัพธ์ (Outcome) 3. ชุมชนได้รับการประชาสัมพันธ์ในช่องทางต่างๆ
4. ชุมชนได้รับแนวคิดที่สร้างสรรค์จากนักศึกษา
3. นักศึกษาได้มีโอกาสแสดงความคิดสร้างสรรค์ได้อย่างเต็มศักยภาพ
ผลกระทบ (Impact) 5. ชุมชนเกิดความเข้มแข็ง มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น 4. ปลูกฝังความรักชุมชน และความรับผิดชอบต่อสังคม
นำเข้าสู่ระบบโดย harittapak harittapak เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2562 11:12 น.