การถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตผักอินทรีย์เพื่อการค้าตามมาตรฐานสากลโดยเทคนิคการปลูกแบบดินเทียมผสม

แบบเสนอโครงการ
การถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตผักอินทรีย์เพื่อการค้าตามมาตรฐานสากลโดยเทคนิคการปลูกแบบดินเทียมผสม

1. ชื่อโครงการ

การถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตผักอินทรีย์เพื่อการค้าตามมาตรฐานสากลโดยเทคนิคการปลูกแบบดินเทียมผสมกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมคณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคามสำนักงานเกษตรอำเภอ สำนักงานเกษตรจังหวัดอาจารย์ ดร.ศุภชัยสุทธิเจริญภาควิชาเทคโนโลยีการเกษตร คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคามE-mail.: supachai606@gmail.com มือถือ 081-38728121. ผศ.ดร. สกุลกานต์สิมลา ภาควิชาเทคโนโลยีการเกษตร คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
2.อ.ดร.เสาวลักษ์ เนาวสารคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

2. พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
กาฬสินธุ์ เมืองกาฬสินธุ์ ภูปอ

3. รายละเอียดชุมชน

การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในการเพาะปลูกมีแนวโน้มจะเพิ่มปริมาณและชนิดมากขึ้น ในขณะเดียวกันการใช้สารเคมีการเกษตรของเกษตรกรก็เป็นไปอย่างอิสระไม่มีการให้ความรู้และการควบคุมจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพทั้งตัวเกษตรกรและประชาชนที่อาศัยอยู่รอบแหล่งผลิตและยังส่งผลก่อให้เกิดโรคมะเร็งได้ (สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค, 2554) ปัจจุบันผู้บริโภคได้หันมาใส่ใจกับปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพและมีความต้องการในการบริโภคอาหารปลอดภัยเพิ่มสูงขึ้น จะเห็นได้จากการที่ประเทศไทยมีพื้นที่เกษตรอินทรีย์เป็นอันดับ 4 รองจากอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม โดยมีพื้นที่เกษตรอินทรีย์ที่ผ่านการรับรองแล้ว 284,918 ไร่ และมีฟาร์มเกษตรอินทรีย์อีก 13,154 แห่ง มีมูลค่าการค้าประมาณ 2,332 ล้านบาท โดยส่วนใหญ่จะส่งออกประมาณร้อยละ 77.94 ที่เหลือร้อยละ 22.06 จำหน่ายในประเทศ ทำให้ประเทศไทยมีความได้เปรียบสูงที่จะก้าวขึ้นสู่การเป็นผู้นำเกษตรอินทรีย์ของอาเซียน (คม ชัด ลึก, 2560) อย่างไรก็ตามสินค้าเกษตรที่ผลิตในประเทศไทยยังมีความต้องการในการสร้างมาตรฐานสากลของคุณภาพผลผลิตทางการเกษตร โดยมีจุดมุ่งหมายในการคุ้มครองตลาดหรือเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคให้เกิดความเชื่อมั่นว่าผลผลิตทางการเกษตรหรืออาหารที่มีองค์ประกอบจากผลผลิตทางการเกษตรตลอดห่วงโซ่อาหารนั้นผลิตภายใต้ระบบที่มีความรับผิดชอบต่อชุมชน ผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อม แต่เกษตรอินทรีย์ยังมีปัญหาและอุปสรรคหลัก 3 ประเด็นคือ 1) ปัญหาด้านการผลิต เนื่องจากการผลิตเกษตรอินทรีย์ยังเป็นการผลิตในลักษณะขนาดเล็ก เกษตรกรยังไม่สามารถผลิตในระดับใหญ่ได้ และการทำเกษตรอินทรีย์มีความเสี่ยงจากความเสียหายของผลผลิตสูงกว่าเนื่องจากการไม่ใช้สารเคมี ทำให้ปริมาณผลผลิตต่อไร่ต่ำและมีต้นทุนการผลิตสูง ส่งผลให้ปริมาณสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่ออกสู่ตลาดน้อย 2) ปัญหาขาดการพัฒนาองค์ความรู้ (Knowledge) ของเกษตรกร ที่ผ่านมาภาครัฐยังขาดการรณรงค์ส่งเสริมและให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องแก่เกษตรกรทั่วไปให้ตระหนักถึงความสำคัญของการผลิตอาหารอินทรีย์อย่างเพียงพอ ดังนั้นแนวทางแก้ปัญหาดังกล่าวภาครัฐจึงควรเร่งส่งเสริมประชาสัมพันธ์หลักเกณฑ์การทำเกษตรอินทรีย์ที่ถูกหลักมาตรฐานสากล ซึ่งจะช่วยผลักดันการขยายการส่งออกของไทยต่อไป 3) ปัญหาด้านการตลาด สำหรับตลาดในประเทศยังคงมีกลุ่มผู้บริโภคจำกัด เนื่องจากสินค้าเกษตรอินทรีย์ยังมีราคาสูง ขณะเดียวกันประชาชนเองก็ยังขาดความตระหนักต่อความสำคัญของผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ไม่มากเท่าที่ควร สำหรับตลาดส่งออกไทยยังคงเผชิญอุปสรรคสำคัญ คือ ปัญหาการผลิตให้ได้มาตรฐานตามแนวทางการผลิตเกษตรอินทรีย์ให้เป็นที่ยอมรับตามหลักสากล
โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตผักอินทรีย์เพื่อการค้าตามมาตรฐานสากลโดยเทคนิคการปลูกแบบดินเทียมผสม ต้องการเผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับการผลิตผักในพื้นที่ที่มีสภาพดินที่ไม่มีความเหมาะสม โดยให้สอดคล้องกับระบบมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แก่กลุ่มเกษตรกร เพื่อให้เกษตรกรสามารถนำความรู้ที่ได้ไปพัฒนาและยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขัน สร้างรายได้ ลดการนำเข้าปัจจัยการผลิตจากภายนอกฟาร์มหรือต่างประเทศ ซึ่งโครงการนี้มีความสอดคล้องและตอบสนองยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งขาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564) ยุทธศาสตร์ที่ 3 การสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและแข่งขันได้อย่างยั่งยืน โดยรัฐบาลมีนโยบายให้ประเทศไทยเป็นผู้นำในระดับภูมิภาคด้านการผลิต การบริโภค การค้าสินค้า และการบริการเกษตรอินทรีย์ ที่มีความยั่งยืนและเป็นที่ยอมรับในระดับสากล โดย:มีเป้าหมายที่จะเพิ่มพื้นที่เกษตรอินทรีย์ให้เป็น 600,000 ไร่ในปี 2564 และมีเกษตรกรที่ทำเกษตรอินทรีย์ไม่น้อยกว่า 30,000 ราย รวมทั้งเพิ่มสัดส่วนตลาดทั้งในและต่างประเทศเป็น 40:60 พร้อมยกระดับกลุ่มเกษตรอินทรีย์วิถีพื้นบ้านเพิ่มขึ้น และโครงการนี้ยังสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของชาติ ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขันเพื่อยกระดับการผลิตสินค้าเกษตรและอาหารเข้าสู่ระบบมาตรฐานและสอดคล้องกับความต้องการของตลาดและการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ โดยพัฒนาระบบมาตรฐานสินค้าเกษตรให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล เป็นการขับเคลื่อนการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์อย่างจริงจัง เป็นการเร่งผลักดันให้สินค้าเกษตรของไทยมีความโดดเด่นในด้านคุณภาพมาตรฐานและความปลอดภัยในตลาดโลก

เอกสารอ้างอิง
คมชัดลึก. 2560. วาระ”เกษตรอินทรีย์” มุ่งตลาดสินค้าสุขภาพรับเทรนด์โลก. จาก https://www.komchadluek.net/news/top-10/289332 [26 กรกฏาคม 2560].
สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค. 2554. รายงานผลการเฝ้าระวังโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม (เชิงรับ) พ.ศ. 2546-2552 (รายงานผลการวิจัย). นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข

4. ประเด็นปัญหาหลัก

5. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

6. องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

องค์ความรู้ที่นำไปใช้ประโยชน์ในการถ่ายทอดให้แก่กลุ่มเป้าหมาย

กระบวนการผลิต :
องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง

1.ข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องของมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ตามมาตรฐานสากล มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ NOP - National Organic Program
2.เทคโนโลยีการผลิตพืชผักอินทรีย์ให้ได้คุณภาพเชิงการค้าโดยใช้ดินเทียมผสม
3.การผลิตปุ๋ยหมักอินทรีย์และใช้ประโยชน์จากปุ๋ยอินทรีย์อย่างมีประสิทธิภาพ
4.การผลิตชุดถังหมักเชื้อจุลินทรีย์และสารชีวภัณฑ์ในระบบปิดแบบเติมอากาศสำหรับควบคุมและป้องกันกำจัดศัตรูพืช (เชื้อ Bacillus thuringiensis, Bacillus subtilis. Beauveriabassiana และ Trichoderma harzianum)
5.การพัฒนาศักยภาพกลุ่มและการบริหารจัดการกลุ่ม
6.การเตรียมความพร้อมเพื่อขอรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ในระดับสากล
7.ระบบควบคุมภายในกลุ่มการผลิต (Internal Control System)
8.ระบบตรวจสอบย้อนกลับและสร้างระบบแบบฟอร์มบันทึก

7. วัตถุประสงค์

วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของประเทศไทยและสากล

เชิงปริมาณ -เกษตรกรผู้ปลูกผักอินทรีย์ได้รับการพัฒนาองค์ความรู้ในการทำเกษตรอินทรีย์ จำนวน 100 คน เชิงคุณภาพ -เกษตรกรร้อยละ 70มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับองค์ความรู้เกี่ยวกับการทำเกษตรอินทรีย์

100.00 100.00

8. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)

9. ระยะเวลา

10. วิธีดำเนินงาน

รวมงบประมาณทุกกิจกรรมของแผนการดำเนินงาน จำนวน 0.00 บาท

รวมเงิน
ค่าใช้จ่าย (บาท) 0.00
เปอร์เซ็นต์ (%) 100.00%

11. งบประมาณ

0.00บาท

12. การติดตามประเมินผล

ต่อชุมชนต่อนักศึกษา
ผลผลิต (Output)
ผลลัพธ์ (Outcome)
ผลกระทบ (Impact)
นำเข้าสู่ระบบโดย supachai.su606 supachai.su606 เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2562 10:32 น.