แนวทางการบริหารจัดการขยะครัวเรือนอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา : ตำบลนาบอน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์

แบบเสนอโครงการ
แนวทางการบริหารจัดการขยะครัวเรือนอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา : ตำบลนาบอน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์

1. ชื่อโครงการ

แนวทางการบริหารจัดการขยะครัวเรือนอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา : ตำบลนาบอน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมวิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตขอนแก่น1.องค์การบริหารส่วนตำบลนาบอน 2. สาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ชุมชนอำเภอคำม่วง1.นายวันพิชิต เบ็งจีน 2.นางสาวนวรรณ สืบสายลา 3.นายภาณุพงษ์ ศรีมุงคุล 4.นายนราธิป สุพัฒน์ธนานนท์182/12 หมู่ 4 ถนนศรีจันทร์ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดขอนเเก่น 4000008304372481.นางสาวปัทมวรรณ คุ้มภัย
2.นายพรรษกร ไชยเทศ
3.กนกวรรณ พันธุนิบาตร
4.นายสายฟ้า ภักดีดำรงรัตน์
5.นายสุรพล บุญรัตน์

2. พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
กาฬสินธุ์ คำม่วง นาบอน

3. รายละเอียดชุมชน

ตำบลนาบอนมีจำนวนครัวเรือน1,296 ครัวเรือนประชากร 4,849 คนแยกเป็นชาย2,452 คนหญิง 2,397 คน(ข้อมูล จปฐ. ปี 2562)ประชากรส่วนใหญ่ในหมู่บ้านมีที่ดินเและที่ทำกินเป็นของตนเอง ซึ่งใช้ประกอบอาชีพหลักคือการทำนา เน้นการทำนาข้าวเหนียว เพื่อการบริโภคในครัวเรือนมากกว่าการจำหน่ายอาชีพเสริมได้แก่ การทอผ้าไหมแพรวาการทอผ้าไหมมัดหมี่ การแปรรูปสมุนไพร การผลิตของใช้ในครัวเรือน การจักสาน ทั้งในรูปแบบรายบุคคล และรูปแบบกลุ่มอาชีพสามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชนได้เป็นอย่างดีขยะมูลฝอยเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สำคัญอีกปัญหาหนึ่งในชุมชนต่างๆ จากการสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นทั่วประเทศในปี พ.ศ. 2561 พบว่ามีจำนวน 27.8 ล้านตัน หรือวันละ 76,165 ตัน หรือคิดเป็น 1.15 กิโลกรัมต่อคนต่อวัน แนวโน้มว่าจะมีปริมาณเพิ่มขึ้นทุกๆปี เนื่องจากสภาพทางสังคม และเศรษฐกิจที่เอื้อให้เกิดการบริโภคในรูปแบบต่างๆ เพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะพื้นที่ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวต่างๆจะมีปริมาณขยะมูลฝอยมากกว่าชุมชนทั่วไปเป็นเท่าตัว กล่าวคือปริมาณการเกิดขยะมูลฝอยในชุมชนทั่วไปจะมีอัตราเฉลี่ยเท่ากับ 0.9 – 1.2 กิโลกรัมต่อคนต่อวัน ในขณะที่พื้นที่ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ เช่น เมืองพัทยา เมืองภูเก็ต พบว่ามีอัตราการเกิดขยะเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็น 1.5 เท่าต่อคนต่อวัน (หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่39 ฉบับ3456 ,2562)
ตำบลนาบอน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ พบปัญหาเกี่ยวกับขยะมูลฝอยภายในหมู่บ้านส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน ชุมชน และที่อาศัยอยู่บริเวณใกล้เคียงและการนำขยะมูลฝอยไปทิ้งตามพื้นที่สาธารณะประโยชน์ของหมู่บ้านทำให้มีปริมาณขยะมูลฝอยสะสมเป็นจำนวนมาก ส่งผลกระทบให้เกิดปัญหามลภาวะทางอากาศ ทางกลิ่น และเกิดความสกปรก ทำให้มีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน จึงจำเป็นต้องให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอย ส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการจัดการขยะมูลฝอย สามารถลดปริมาณขยะมูลฝอยที่จะต้องนำไปกำจัดให้น้อยที่สุด สามารถนำขยะมูลฝอยกลับมาใช้ประโยชน์ ทั้งในส่วนของการใช้ซ้ำและแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ ถ้าหากประชาชนสามารถลดปริมาณขยะมูลฝอยลงได้จะส่งผลให้มีสภาพแวดล้อมที่ดี สุขภาพอนามัยของประชาชนมีสุขภาพที่ดี สภาพภูมิทัศน์มีความสวยงาม รวมถึงได้ประโยชน์จากการคัดแยกขยะมูลฝอยนำไปขายเป็นการเพิ่มรายได้ในครอบครัว และการนำกลับมาใช้ใหม่ทำให้เป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายได้อีกด้วย และประชาชนได้ทราบถึงปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอย พร้อมทั้งการมีส่วนร่วมของประชาชนในการลดและแยกขยะมูลฝอยอย่างเป็นรูปธรรม (สานักงานทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมจังหวัดอุทัยธานี, 2555)
ดังนั้นโครงงานนี้จึงมีวัตถุประสงค์ในส่งเสริมและพัฒนาการบริหารจัดการขยะมูลฝอยครัวเรือนโดยใช้องค์ความรู้เกี่ยวการคัดแยกขยะมูลฝอยเพื่อนำกลับมาใช้ประโยชน์ การจัดการขยะมูลฝอยรีไซเคิล การจัดการถุงพลาสติก การจัดการขยะมูลฝอยอันตราย เพื่อให้สมาชิกในชุมชนมีความรู้ความเข้าใจในการบริหารจัดการขยะมูลฝอยและมีส่วนในการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน
ประชาชนในหมู่บ้านต้องการบริหารจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือน พร้อมทั้งสามารถสร้างรายได้จากการบริหารจัดการขยะมูลฝอย ปัญหามลภาวะทางอากาศ ทางกลิ่น และเกิดความสกปรก ทำให้มีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน

4. ประเด็นปัญหาหลัก

5. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

6. องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

1.การคัดแยกขยะเพื่อนำกลับมาใช้ประโยชน์
2. การจัดการขยะรีไซเคิล
3.การจัดการถุงพลาสติก
4.การจัดการปุ๋ยหมักจากขยะมูลฝอย
5.การจัดการขยะอันตราย
6. การจัดตั้งธนาคารขยะ

7. วัตถุประสงค์

วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจในการบริหารจัดการขยะมูลฝอยครัวเรือน

ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ที่ได้จากโครงงานไม่น้อยกว่า 80 %

50.00 100.00
2 เพื่อสร้างอาชีพและรายได้จากการบริหารจัดการขยะมูลฝอยครัวเรือน
  • จำนวนผลิตภัณฑ์จากขยะมูลฝอย 1 ผลิตภัณฑ์
  • จำนวนขยะมูลฝอยลดลงไม่ต่ำกว่า 50 %
1.00 2.00
3 เพื่อจัดตั้งวิสาหกิจชุมชนธนาคารขยะ
  • ผู้เข้าร่วมโครงการธนาคารขยะไม่ต่ำกว่า 80 %
  • จำนวนรายได้ที่เพิ่มขึ้นต่อคน ต่อเดือน
500.00 1000.00

8. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ชาวบ้านและผู้นำชุมชน 50
นักศึกษาคณะบัญชี 3
นักศึกษาวิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน 5

9. ระยะเวลา

10. วิธีดำเนินงาน

กิจกรรมที่ 1 ประสานงาน รวบรวมข้อมูล พร้อมกับสำรวจชุมชน

ชื่อกิจกรรม
ประสานงาน รวบรวมข้อมูล พร้อมกับสำรวจชุมชน
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจในการบริหารจัดการขยะมูลฝอยครัวเรือน
  2. เพื่อสร้างอาชีพและรายได้จากการบริหารจัดการขยะมูลฝอยครัวเรือน
  3. เพื่อจัดตั้งวิสาหกิจชุมชนธนาคารขยะ
รายละเอียดกิจกรรม
1.จัดตั้งคณะทำงานในการดำเนินโครงการ แบ่งหน้าที่รับผิดชอบ
2.ประสานงานกับหน่วย งานชุมชนที่มีส่วนเกี่ยว ข้องในโครงการ
3.วางแผนในการจัดทำและแนวทางปฏิบัติร่วมกันกับชุมชน
4.สำรวจสถานที่ในการดำเนินการ ธนาคารขยะ
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2563 ถึง 15 มีนาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
- คณะทำงานได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาในชุมชน เกี่ยวกับขยะ และรายได้ไม่เพียงพอ
- ได้สถานที่ในการดำเนินโครงการต่าง ๆ
ทรัพยากรอื่น ๆ
ภาคีร่วมสนับสนุน
รายละเอียดงบประมาณ
ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
ค่าถ่ายเอกสาร

ค่าเหมาจ่ายแบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูล

50 ชิ้น 100 1 5,000
ค่าจ้างทำป้ายประชาสัมพันธ์

ค่าจ้างเหมาทำป้ายไวนิลสำหรับโครงการ ขนาดกว้าง 3 x 1 เมตร จำนวน 1 ผืน

1 ชิ้น 500 1 500
ค่าตอบแทนผู้เข้าร่วมประชุม

ค่าตอบแทนกลุ่มตัวอย่างที่ให้ข้อมูล

50 คน 300 1 15,000
อื่น ๆ

ค่าตอบแทนผู้ลงพื้นที่เก็บข้อมูล จำนวน 8 คน ต่อวัน

8 คน 300 7 16,800
ค่าที่พักตามจริง 3 คน 850 1 2,550
ค่าพาหนะเดินทาง - รถตู้เช่า 2 เที่ยว 2,500 2 10,000
ค่าอาหาร

ค่าอาหารกลางวัน 1 มื้อ และค่าอาหารว่าง 2 มื้อ

60 คน 700 1 42,000
ค่าเช่าสถานที่ 1 ครั้ง 3,000 1 3,000
รวมค่าใช้จ่าย 94,850

กิจกรรมที่ 2 ฝึกอบรมโครงการคัดแยกขยะ และโครงการธนาคารขยะ

ชื่อกิจกรรม
ฝึกอบรมโครงการคัดแยกขยะ และโครงการธนาคารขยะ
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจในการบริหารจัดการขยะมูลฝอยครัวเรือน
  2. เพื่อสร้างอาชีพและรายได้จากการบริหารจัดการขยะมูลฝอยครัวเรือน
  3. เพื่อจัดตั้งวิสาหกิจชุมชนธนาคารขยะ
รายละเอียดกิจกรรม
- จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่จะใช้ในการทำโครงการให้พร้อม
- จัดอบรมสร้างความเข้าใจในเรื่องการคัดแยกขยะให้กับประชาชน
- ฝึกปฏิบัติการจัดทำธนาคารขยะ
ระยะเวลาดำเนินงาน
16 มีนาคม 2563 ถึง 31 มีนาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
ประชาชนมีความรู้เรื่องการคัดแยกขยะ
ประชาชนมีความรู้เรื่องการจัดตั้งวิสาหกิจชุมชนธนาคารขยะ
ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้นจากธนาคารขยะ
ทรัพยากรอื่น ๆ
ภาคีร่วมสนับสนุน
รายละเอียดงบประมาณ
ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
ค่าตอบแทนวิทยากร

- ค่าตอบแทนวิทยากรเกี่ยวกับการคัดแยกขยะ 2 คน ชั่วโมงละ 1,200 บาท จำนวน 1 ครั้ง - ค่าตอบแทนวิทยากรเกี่ยวกับการจัดตั้งวิสาหกิจชุมชน 2 คน ชั่วโมงละ 1,200 บาท จำนวน 1 ครั้ง

4 คน 9,600 1 38,400
ค่าอาหาร

- ค่าอาหารกลางวัน 2 มื้อ 2 วัน - ค่าอาหารว่าง 4 มื้อ 2 วัน

60 คน 700 2 84,000
อื่น ๆ

ค่าตอบแทนผู้ลงพื้นที่เก็บข้อมูล จำนวน 8 คน ต่อวัน

8 คน 300 2 4,800
ค่าที่พักตามจริง

ค่าที่พัก จำนวน 6 ห้อง 1 คืน

6 คน 850 1 5,100
ค่าเช่าสถานที่ 1 ครั้ง 3,000 2 6,000
ค่าพาหนะเดินทาง - รถตู้เช่า

ค่าพาหนะรถตู้เช่า 3 วัน

1 ครั้ง 7,500 1 7,500
ค่าถ่ายเอกสาร

ค่าถ่ายเอกสารประกอบโครงการ

50 ชุด 100 1 5,000
ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้

ค่าจัดทำสมุดบัญชี ฝาก - ถอน ธนาคารขยะ ค่าจัดทำสมุดบัญชีควบคุมการเงินและบัญชีธนาคารขยะ ค่าดินสอ ค่ากระเป๋าที่ใช้ใส่เอกสารในการประชุม

50 ชุด 350 1 17,500
ค่าวัสดุสำนักงาน

ค่าจัดซื้อตราชั่งขนาด 60 กิโลกรัม เครื่องละ 1,300 บาท จำนวน 2 ชุด ค่าถังขยะ สำหรับ 50 หลังคาเรือน ชุดละ 2,500 บาท (ถังขยะแยก 4 ประเภท) ค่าจัดซื้อเข่งขนาดใหญ่ ใบละ 300 บาท จำนวน 50 ใบ

50 คน 2,852 1 142,600
รวมค่าใช้จ่าย 310,900

กิจกรรมที่ 3 สร้างอาชีพให้กับชุมชน

ชื่อกิจกรรม
สร้างอาชีพให้กับชุมชน
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อสร้างอาชีพและรายได้จากการบริหารจัดการขยะมูลฝอยครัวเรือน
รายละเอียดกิจกรรม
- อบรมอาชีพจากซองกาแฟ เช่น หมวก กระเป๋า ตะกร้า เป็นต้น
- อบรมอาชีพจากดอกไม้จากถุงพลาสติกหูหิ้ว
- อบรมอาชีพจากขวดพลาสติก เช่น แจกัน ดอกไม้ โมบาย เก้าอี้ ถังขยะ เป็นต้น
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2563 ถึง 30 เมษายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
ประชาชนมีรายได้เพิ่มมากขึ้น
ขยะในชุมชนลดน้อยลง
ทรัพยากรอื่น ๆ
ภาคีร่วมสนับสนุน
รายละเอียดงบประมาณ
ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
ค่าตอบแทนวิทยากร

ค่าตอบแทนวิทยากร โครงการละ 2 คน

6 คน 3,600 1 21,600
ค่าพาหนะเดินทาง - รถตู้เช่า 2 เที่ยว 2,500 1 5,000
ค่าอาหาร

ค่าอาหารกลางวัน 1 มื้อ 2 วัน - ค่าอาหารว่าง 2 มื้อ 1 วัน

60 คน 700 1 42,000
ค่าเช่าสถานที่ 1 ครั้ง 3,000 1 3,000
รวมค่าใช้จ่าย 71,600

กิจกรรมที่ 4 ติดตามผลและสรุปโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ติดตามผลและสรุปโครงการ
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจในการบริหารจัดการขยะมูลฝอยครัวเรือน
  2. เพื่อสร้างอาชีพและรายได้จากการบริหารจัดการขยะมูลฝอยครัวเรือน
  3. เพื่อจัดตั้งวิสาหกิจชุมชนธนาคารขยะ
รายละเอียดกิจกรรม
- ติดตาม ผลการดำเนินโครงการ จากจำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ ความเข้าใจ รายได้ที่เพิ่มขึ้น ขยะที่ลดลง
- สรุปผลการดำเนินโครงการตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนดไว้
- แก้ไขปรับปรุงจากสภาพปัญหาหรือข้อบกพร่อง
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พ.ค. 2563 ถึง 30 มิถุนายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ทั้งจากสภาพแวดล้อม และมีรายได้ที่เพิ่มขึ้น
ทรัพยากรอื่น ๆ
ภาคีร่วมสนับสนุน
รายละเอียดงบประมาณ
ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
ค่าตอบแทนผู้เข้าร่วมประชุม

ค่าตอบแทนผู้ให้ข้อมูล

50 คน 300 1 15,000
ค่าพาหนะเดินทาง - รถตู้เช่า 1 ครั้ง 2,500 2 5,000
อื่น ๆ

ค่าจัดทำเล่มสรุปโครงการ

1 ครั้ง 2,650 1 2,650
รวมค่าใช้จ่าย 22,650

รวมงบประมาณทุกกิจกรรมของแผนการดำเนินงาน จำนวน 500,000.00 บาท

ค่าตอบแทนค่าจ้างค่าใช้สอยค่าวัสดุอื่น ๆรวมเงิน
ค่าใช้จ่าย (บาท) 90,000.00 500.00 225,150.00 160,100.00 24,250.00 500,000.00
เปอร์เซ็นต์ (%) 18.00% 0.10% 45.03% 32.02% 4.85% 100.00%

11. งบประมาณ

500,000.00บาท

12. การติดตามประเมินผล

ต่อชุมชนต่อนักศึกษา
ผลผลิต (Output) -ประชาชนมีความรู้เรื่องการจัดการขยะและวิธีการคัดแยกขยะในชุมชนอย่างถูกวิธี
-ประชาชนมีทักษะในการปฏิบัติการจัดการขยะในครัวเรือน
-ประชาชนมีรายได้เพิ่มมากขึ้น
-นักศึกษามีความรู้เรื่องการจัดการขยะ การตั้งธนาคารขยะ
-สร้างจิตสำนึกที่ดีให้แก่นักศึกษาในการคัดแยกขยะ และรักษาสิ่งแวดล้อม
- นักศึกษาได้ทราบถึงอาชีพต่าง ๆ จากขยะรีไซเคิล
ผลลัพธ์ (Outcome) - ประชาชนในหมู่บ้านใกล้เคียงมีความสนใจในการเข้าร่วมโครงการ
- มีหน่วยงานอื่นมาขอศึกษาดูงาน
- มีผลิตภัณฑ์จากขยะ
- นักศึกษาสามารถนำไปเผยแพร่ความรู้ในชุมชนที่ตัวเองอาศัยอยู่
- นักศึกษาสามารถสร้างรายได้เพิ่ม
ผลกระทบ (Impact) ขยะลดลง และประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้น นักศึกษารักษาสิ่งแวดล้อม
นำเข้าสู่ระบบโดย kriangkrai.sa01 kriangkrai.sa01 เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2562 10:00 น.