โครงการการจัดการขยะอย่างมีส่วนร่วม กรณีศึกษาตำบลบ้านหนองบัว ตำบลท่าข้าม อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

แบบเสนอโครงการ
โครงการการจัดการขยะอย่างมีส่วนร่วม กรณีศึกษาตำบลบ้านหนองบัว ตำบลท่าข้าม อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

1. ชื่อโครงการ

โครงการการจัดการขยะอย่างมีส่วนร่วม กรณีศึกษาตำบลบ้านหนองบัว ตำบลท่าข้าม อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลากระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมสถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ศูนย์อาสาสมัครเพื่อสังคม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์บ้านหนองบัว ตำบลท่าข้าม อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลาผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นฤทธิ์ ดวงสุวรรณ์อาคารสถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 15 ถนนกาญจนวณิชย์ ตำบลคอหงส์ อาเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 90110074-28-9450 – 66เจ้าหน้าที่ศูนย์อาสาสมัครเพื่อสังคม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
นักศึกษาจำนวน 10 คน (อยู่ระหว่างการลงทะเบียนในรายวิชาในภาคการศึกษาที่ 2)

2. พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
สงขลา หาดใหญ่ ท่าข้าม

3. รายละเอียดชุมชน

บ้านหนองบัว ตำบลท่าข้าม อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา มีจำนวนประชากรทั้งหมด 1,236 คน แบ่งเป็นชาย 596 คน และหญิง 640 คน นับถือศาสนาอิสลามร้อยละ 80 ศาสนาพุทธร้อยละ 20 ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ได้แก่ กรีดยาง นอกจากนี้มีการปลูกพืช เลี้ยงสัตว์- องค์การบริหารส่วนตำบลมีความเข้มแข็ง
- แกนนำชุมชนมีความเข้มแข็ง
- ชุมชนบ้านหนองบัวมีประเพณีวัฒนธรรมที่มีความโดดเด่น คือ ทุกคืนวันพฤหัส จะมีการร่วมทำบุญร่วมกันที่สุเหร่า
- อสม.ในชุมชน เข้ามาตรวจสุขภาพของชาวบ้านเป็นประจำทุกเดือน
- คนในชุมชนอาศัยอยู่เหมือนเครือญาติ ส่งผลให้การทำกิจกรรมมีความราบรื่น
- ชุมชนมีกลุ่มต่างๆที่เข้มแข็ง เช่น กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มออมทรัพย์ กลุ่มน้ำยาง
สภาพปัญหาการจัดการขยะในชุมชน ทั้งขยะที่มาจากครัวเรือนร้านค้าตลาดสด โรงเรียน และแหล่งอื่นๆ คือ ในชุมชนมีขยะมาก แต่ว่ายังมีปัญหาในการจัดการขยะ โดยในปัจจุบันมีการจัดการขยะดังนี้
1. หากเป็นขยะอันตราย เช่น หลอดไฟ แบตเตอรี่ ถ่านไฟฉาย กระป๋องยาฆ่าแมลง ทางองค์การบริหารส่วนตำบลท่าข้ามได้นำถังขยะมาตั้งรองรับไว้ 2 จุด คือ ที่ข้างมัสยิดและที่ศาลาหมู่บ้านของชุมชน โดยให้คนในชุมชนนำขยะอันตรายไปทิ้ง แล้ทางองค์การบริหารส่วนตำบลท่าข้ามจะนำไปจัดการ เดือนละ 1 ครั้งแต่ก็ยังมีปัญหาคือ ยังมีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารให้ชาวบ้านเห็นความสำคัญน้อยในการทิ้งขยะอันตรายในขณะที่ถังขยะยังมีน้อยจุดจึงอยู่ห่างไกลจากครัวเรือนจำนวนหนึ่ง ผลก็คือยังมีชาวบ้านไม่มากนักที่นำขยะอันตรายมาทิ้งในถังขยะดังกล่าว แต่นำไปกำจัดรวมกับขยะทั่วไป ในขณะที่มีชาวบ้านจำนวนหนึ่งถือโอกาสนำขยะธรรมดามาทิ้งในถังขยะอันตรายด้วย
2. หากเป็นขยะอินทรีย์ แต่เดิมชาวบ้านแต่ละครัวเรือนต้องจัดการกันเอง เพิ่งเมื่อเดือนมกราคม 2562 นี้เอง ที่ทาง อบต.เริ่มมีนโยบายที่จะสนับสนุนให้ครัวเรือนจัดการขยะอินทรีย์โดยแปลงขยะอินทรีย์ดังกล่าวให้เป็นปุ๋ยอินทรีย์บำรุงต้นไม้ที่ครัวเรือนต่างๆมีอยู่ วิธีดำเนินการก็คือทาง อบต.จะแจกถังน้ำพลาสติกขนาด 20 ลิตรให้ครัวเรือนละ 2 ใบหนึ่งให้เจาะรูโดยรอบและนำไปฝังดินไว้บริเวณใต้ต้นไม้ประมาณครึ่งใบถังใบนี้สำหรับให้นำเศษอาหารมาทิ้งเพื่อให้เกิดการย่อยสลายกลายเป็นปุ๋ย ปุ๋ยดังกล่าวจะซึมออกทางรูรอยถังที่เจาะไว้กลายเป็นธาตุอาหารสำหรับต้นไม้ ส่วนถังอีกใบหนึ่งมีไว้สำหรับทิ้งเศษอาหาร เมื่อได้เศษอาหารมากพอก็จะนำไปใส่ถังใบแรกที่กล่าวข้างต้น วิธีการดำเนินการของ อบต.ก็คือทาง อบต.จะเชิญตัวแทนครัวเรือในแต่ละหมู่บ้านเข้าประชุมเพื่อให้ความรู้เรื่องการจัดการขยะอินทรีย์ โดยจะมอบถังให้เมื่อการประชุมเสร็จสิ้น ส่วนใครที่ไม่ได้เข้าประชุมก็ไม่แจกถังให้ ที่บ้านหนองบัวจัดประชุมไปแล้ว 3 ครั้ง แต่ละครั้งมีผู้เข้าร่วมประชุมประมาณ 20 คน ดังนั้นในปัจจุบันครัวเรือนในบ้านหนองบัวประมาณ 60 ครัวเรือนเท่านั้นจากครัวเรือนทั้งหมด 291 ครัวเรือน การที่คนเข้าร่วมประชุมน้อยก็เนื่องจากในตอนกลางวันคนส่วนใหญ่จะติดภารกิจการประกอบอาชีพ หรือไม่ก็เป็นช่วงพักผ่อนหลักจากการทำงานหนัก เช่น กลุ่มกรีดยาง รวมถึงการขาดการประชาสัมพันธ์ที่ทั่วถึง และการที่ชาวบ้านยังไม่เห็นถึงความสำคัญ สำหรับผู้ที่รับถังไปแล้วก็ยังไม่ชัดเจนว่าจะมีสักกี่รายที่นำไปถังไปใช้จัดการขยะตามแนวทางดังกล่าว
3. หากเป็นขยะทั่วไป ที่ผ่านทาง อบต.ยังไม่ได้ดำเนินอะไร คงปล่อยให้ครัวเรือนจัดการกันเอง ซึ่งส่วนใหญ่ใช้การเผาทิ้ง โดยเผาในในบริเวณสวนบ้าง ข้างบ้านบ้าง ส่วนร้านค้าซึ่งมีขยะมากและมีรถส่วนตัวมักจะใช้วิธีนำขยะใส่ถุงแอบนำไปทิ้งภายนอก มีมากพอสมควรที่ทิ้งขยะลงบนพื้นที่สาธารณะทั่วไป โดยเฉพาะกรณีเมื่อมีขยะเกิดขึ้นในขณะที่อยู่ภายนอกบ้าน เช่น การรับประทานขนม การดื่มเครื่องดื่ม ขยะส่วนนี้จะไม่มีผู้รับผิดชอบ คงปล่อยทิ้งอยู่บริเวณนั้นๆ หรือปลิวไปตามลม ใครเข้าไปในหมู่บ้านก็จะเห็นขยะส่วนนี้ได้ชัดเจนส่วนการเผาทิ้งพบว่านับวันจะมีปัญหามากขึ้น เนื่องจากควันจากการเผลไปรบกวนบ้านที่อยู่ใกล้เคียง ประกอบกับในหมู่บ้านหนองบัวชาวบ้านจะตั้งบ้านเรือนติดๆกันเป็นส่วนใหญ่เพิ่งเมื่อเดือนมกราคม 2562 เช่นกัน ที่ทาง อบต.ท่าข้าม เริ่มมีนโยบายจัดการขยะทั่วไป โดยให้ครัวเรือนนำขยะทั่วไปใส่ถุงพลาสติกใสเพื่อให้มองเห็นขยะข้างในได้ และทาง อบต.จะส่งรถมารับขยะไปจัดการ ซึ่งขณะนี้ยังไม่แน่ชัดว่าควรจะมาเก็บเดือนละกี่ครั้ง แต่ทาง อบต.จะเรียกเก็บค่าบริการเดือนละ 40 บาท ผลก็คือ มีเพียง 2ครัวเรือนเท่านั้น ที่สนใจให้ทาง อบต.มารับขยะจากครัวเรือนของตนครัวเรือนอื่นๆไม่สนใจนโยบายนี้ของทาง อบต. เนื่องจากเห็นว่าไม่คุ้มค่า เพราะทิ้งได้เฉพาะขยะทั่วไปเท่าน น ขยะอื่นๆ ได้แก่ขยะอินทรีย์และขยะพิษต้องดำเนินการด้วยวิธีอื่น
การที่ไม่มีระบบการจัดการขยะที่มีประสิทธิภาพ ส่งผลให้เกิดปัญหาตามมาหลายด้าน ได้แก่ ประการแรก เกิดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม เช่น เกิดความสกปรก ไม่สบายตา และทำให้สิ่งแวดล้อมบางอย่างหมดสภาพการใช้ประโยชน เช่นพบว่าคูคลองที่ไหลผ่านหรือที่มีอยู่ในหมู่บ้านเต็มไปด้วยขยะ ซึ่งส่วนใหญ่มาจากขยะที่ชาวบ้านทิ้งในพื้นที่สาธารณะแล้วลมพัดลงสู่คูคลอง ประการที่สอง เกิดผลกระทบทางสุขภาพของคนในชุมชน เช่น ปัญหาควันไฟที่เกิดจากเผาขยะโดยเฉพาะการเผาขยะพลาสติกและขยะอันตราย การส่งกลิ่นเหม็นของขยะที่ทิ้งไว้บริเวณข้างบ้าน หรือกลิ่นเน่าเหม็นของน้ำในคูคลอง ประการที่สาม เกิดความขัดแย้งของบ้านใกล้เรือนเคียงที่รับผลกระทบจากการเผาขยะและการทิ้งขยะประการที่สี่ ทำให้สมาชิกของครัวเรือนต่างๆยังคงได้รับพิษภัยจากขยะอันตรายซึ่งแต่ละครัวเรือนจะนำผลิตภัณฑ์ลักษณะนี้มาใช้อยู่เสมอ เช่น ยาฉีดยุง ถ่านไฟฉาย เมื่อไม่มีวิธีการกำจัดที่ถูกต้องชาวบ้านก็ต้องรับผิดภัยจากขยะประเภทนี้ไปโดยไม่รู้ตัว ประการที่ห้าทำให้ชุมชนเสียโอกาสที่จะนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ ซึ่งหมายถึงว่าจะทำให้ชาวบ้านมีทั้งรายได้เพิ่มขึ้นและ/หรือลดรายจ่ายที่จะต้องซื้อสิ่งของเครื่องใช้ใหม่ๆตลอดเวลา
จากการจัดเวทีของบัณฑิตอาสา ม.อ. ระหว่างแกนนำชุมชน ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำศาสนา และชาวบ้านในชุมชนพบว่าชาวบ้านทุกกลุ่มให้ความสำคัญต่อเรื่องการจัดการขยะมากกว่าเรื่องอื่นๆ และเห็นความสำคัญที่องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่นจะเข้ามาดำเนินการให้ถูกต้องเหมาะสมตามหน้าที่ เช่น อบต. ควรจัดการนำถังขยะมาวางตามจุดต่างๆอย่างพอเพียงด้วยระบบการแยกขยะที่ถูกต้องเหมาะสม ในขณะเดียวกันก็เห็นถึงความสำคัญที่จะพัฒนาความรู้ความเข้าใจและความรับผิดชอบของชาวบ้านในการที่จะจัดการขยะอย่างเหมาะสม

4. ประเด็นปัญหาหลัก

5. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

6. องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

เรื่องการจัดการขยะ

7. วัตถุประสงค์

วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมในการลดและแยกขยะในครัวเรือน

ครัวเรือนมีการแยกขยะทั้ง 4 ประเภท ได้แก่ ขยะทั่วไปขยะอินทรีย์ ขยะรีไซเคิล และอันตราย

70.00 50.00
2 เพื่อหาแนวทางในการลดการใช้ถุงพลาสติกในชุมชน
  1. ปริมาณถุงพลาสติกในชุมชนลดลง
  2. มีการนำขยะมาสร้างเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ
30.00 20.00

8. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ครัวเรือนในชุมชน 20
นักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 50
แกนนำชุมชนบ้านหนองบัว 10

9. ระยะเวลา

10. วิธีดำเนินงาน

กิจกรรมที่ 1 ศึกษาการจัดการขยะในครัวเรือน

ชื่อกิจกรรม
ศึกษาการจัดการขยะในครัวเรือน
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อส่งเสริมในการลดและแยกขยะในครัวเรือน
รายละเอียดกิจกรรม
นักศึกษาศึกษาในการจัดการขยะในครัวรือน
ครัวเรือนมีการจัดการขยะแต่ละประเภทอย่างไร
ปัญหาการจัดการขยะ
และหาแนวทางในการจัดการขยะ/แยกขยะในครัวเรือน
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2563 ถึง 24 มกราคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
output
ทราบเกี่ยวกับการจัดการขยะ/แยกขยะ ปัญหา และแนวทางในการจัดการขยะในครัวเรือน
outcome
ครอบครัวสามารถจัดการขยะ/แยกขยะอย่างถูกต้อง สามารถลดปริมาณขยะในชุมชนได้
ทรัพยากรอื่น ๆ
ภาคีร่วมสนับสนุน
องค์การบริหารส่วนตำบลท่าข้าม
รายละเอียดงบประมาณ
ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
ค่าพาหนะเดินทาง - ค่าเดินทางในพื้นที่

ค่าเดินทางในการลงพื้นที่ศึกษาข้อมูลเรื่องการจัดการขยะในระดับครัวเรือน

2 ครั้ง 2,000 2 8,000
ค่าอาหาร

ค่าอาหารในการลงไปเก็บข้อมูล

50 คน 150 2 15,000
ค่าถ่ายเอกสาร

ค่าถ่ายเอกสารแบบสัมภาษณ์ในครัวเรือน

100 ชุด 50 2 10,000
รวมค่าใช้จ่าย 33,000

กิจกรรมที่ 2 รณรงค์การลดและแยกขยะในครัวเรือน

ชื่อกิจกรรม
รณรงค์การลดและแยกขยะในครัวเรือน
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อส่งเสริมในการลดและแยกขยะในครัวเรือน
รายละเอียดกิจกรรม
1. ให้ความรู้เรื่องการลดและแยกขยะในเครัวเรือน
2. รณรงค์ในการลดและแยกขยะในครัวเรือน โดยการประชาสัมพันธ์ด้วยรูปแบบต่างๆ
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2563 ถึง 27 กุมภาพันธ์ 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
ครัวเรือนมีการแยกขยะเพิ่มมากขึ้น
ปริมาณขยะในครัวเรือนลดลง
ทรัพยากรอื่น ๆ
ภาคีร่วมสนับสนุน
องค์การบริหารส่วนตำบลท่าข้าม
รายละเอียดงบประมาณ
ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
ค่าพาหนะเดินทาง - ค่าเดินทางในพื้นที่ 2 ครั้ง 2,000 2 8,000
ค่าตอบแทนวิทยากร

ค่าตอบแทนวิทยากรในการมาให้ความรู้เรื่องการลดและแยกขยะในครัวเรือน

1 คน 2,000 2 4,000
ค่าจ้างทำป้ายประชาสัมพันธ์

ค่าทำสื่อประชาสัมพันธ์ในการรณรงค์การจัดการขยะในครัวเรือน

3 ชิ้น 1,000 2 6,000
ค่าอาหาร

ค่าอาหารสำหรับนักศึกษาและคนในชุมชน

100 คน 150 4 60,000
ค่าวัสดุสำนักงาน 10 ชิ้น 200 1 2,000
รวมค่าใช้จ่าย 80,000

กิจกรรมที่ 3 การออกแบบวิธีการลดใช้ถุงพลาสติกในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
การออกแบบวิธีการลดใช้ถุงพลาสติกในชุมชน
วัตถุประสงค์
    รายละเอียดกิจกรรม
    1. วางแผนในการออกแบบกิจกรรม/วิธีการ/ผลิตภัณฑ์ เพื่อให้สามารถนำขยะมาใช้ให้เกิดประโยชน์
    2. จัดกิจกรรมการลดใช้ถุงพลาสติกในชุมชน
    3. รณรงค์ลดการใช้ถุงพลาสติกในชุมชน
    ระยะเวลาดำเนินงาน
    1 มีนาคม 2563 ถึง 30 เมษายน 2563
    ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
    1. มีวิธีการ/แนวทางในการลดใช้ถุงพลาสติกในชุมชน
    2. เกิดผลิตภัณฑ์ที่ทำให้ขยะเกิดมูลค่าและนำไปประโยชน์ได้
    3. คนในชุมชนมีความตื่นตัวในการลดใช้ถุงพลาสติก
    4. ปริมาณขยะในชุมชนลดลง
    ทรัพยากรอื่น ๆ
    ภาคีร่วมสนับสนุน
    องค์การบริหารส่วนตำบลท่าข้าม
    รายละเอียดงบประมาณ
    ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
    ค่าพาหนะเดินทาง - ค่าเดินทางในพื้นที่ 1 ครั้ง 2,000 3 6,000
    ค่าตอบแทนวิทยากร 2 คน 2,000 2 8,000
    ค่าอาหาร 50 คน 150 3 22,500
    อื่น ๆ

    ค่าจัดทำสื่อรณรงค์

    50 ชุด 100 1 5,000
    รวมค่าใช้จ่าย 41,500

    รวมงบประมาณทุกกิจกรรมของแผนการดำเนินงาน จำนวน 154,500.00 บาท

    ค่าตอบแทนค่าจ้างค่าใช้สอยค่าวัสดุอื่น ๆรวมเงิน
    ค่าใช้จ่าย (บาท) 12,000.00 6,000.00 129,500.00 2,000.00 5,000.00 154,500.00
    เปอร์เซ็นต์ (%) 7.77% 3.88% 83.82% 1.29% 3.24% 100.00%

    11. งบประมาณ

    154,500.00บาท

    12. การติดตามประเมินผล

    ต่อชุมชนต่อนักศึกษา
    ผลผลิต (Output) 1. คนในชุมชนตื่นตัวในการจัดการขยะในชุมชนอย่างมีส่วนร่วม
    2. ครัวเรือนีการลดและแยกขยะในครัวเรือนอย่างถูกต้อง
    3. ปริมาณขยะในชุมชนลดลง
    4. มีการเพิ่มมูลค่าให้กับขยะและสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้จริง
    1. นักศึกษามีทักษะ/มีความสามารถในการเรียนรู้ชีวิต การศึกษา ค้นคว้า เพื่อนำมาพัฒนาชุมชน
    2. นักศึกษาสามารถนำความรู้นำไปปฏิบัติให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและชุมชน
    3. มีความรู้เรื่องการจัดการขยะ/การวางแผน/การออกแบบ
    ผลลัพธ์ (Outcome) 1. เกิดกลุ่มในการบริหารในการจัดการขยะอย่างมีส่วนร่วม
    2. องค์การบริหารส่วนตำบล มีนโยบายในการจัดการขยะที่เหมาะสมกับชุมชน
    1. นักศึกษาเกิดความตระหนักรู้ในเรื่องการจัดการขยะ
    2. นำความรู้ที่ได้จากการดำเนินโครงการไปประยุกต์ใช้ในรายวิชาอื่นๆ
    3. เรียนรู้การทำงานอย่างมีส่วนร่วมในกลุ่มและกับคนในชุมชน
    ผลกระทบ (Impact) 1. เป็นชุมชนตัวอย่างในเรื่องการจัดการขยะ/ลดการใช้ถุงพลาสติกในชุมชนอย่างยั่งยืน
    2. คนในชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น อันเนื่องจากการจัดการขยะอย่างถูกต้อง
    1. นักศึกษามีจิตอาสาในการเข้าไปช่วยเหลือชุมชน
    นำเข้าสู่ระบบโดย waeameenoh waeameenoh เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2562 08:26 น.