สหวิทยาการเพื่อการพัฒนาชุมชนรอบมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี อย่างยั่งยืน

แบบเสนอโครงการ
สหวิทยาการเพื่อการพัฒนาชุมชนรอบมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี อย่างยั่งยืน

1. ชื่อโครงการ

สหวิทยาการเพื่อการพัฒนาชุมชนรอบมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี อย่างยั่งยืนมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจบุรีกลุ่มสาขาวิชาสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรีชุมชนบ้านไตรรัตน์ ต.ลุ่มสุ่ม อ.ไทรโยค ชุมชนบ้านวังสิงห์ ต.สิงห์ อ.ไทรโยค และชุมชนหนองสามพราน ต.วังด้ง อ.เมือง จ.กาญจนบุรีอาจารย์ ดร.จุฑามาศ สุคนธปฏิภาคมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี 199 หมู่ 9 ต.ลุ่มสุ่ม อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี0874950560ผศ.ดร.นงนุช สังข์อยุทธ์
อาจารย์ ดร.วิมลมาศ บุญยั่งยืน
อาจารย์ ดร.เปล่งสุรีย์ เที่ยงน้อย
อาจารย์ ดร.ธีรพงษ์ เที่ยงสมพงษ์
อาจารย์ ดร.ทรงคุณ บุญชัยสุข
อาจารย์ ดร.กีรติ ศรีประไหม
อาจารย์ ธนากร เที่ยงน้อย
อาจารย์ สุริยา บุตรพันธ์

2. พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
กาญจนบุรี ไทรโยค สิงห์ ชนบท
กาญจนบุรี ไทรโยค ลุ่มสุ่ม ชนบท
กาญจนบุรี เมืองกาญจนบุรี วังด้ง ชนบท

3. รายละเอียดชุมชน

บ้านไตรรัตน์ ซึ่งเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี ตั้งอยู่หมู่ที่ 9 ตำบลลุ่มสุ่ม อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี มีประชากร 400 หลังคาเรือน ครอบคลุมพื้นที่ 230 ตารางกิโลเมตร จำนวนประชากรทั้งหมด 4,000 คน อยู่ในวัยแรงงาน 1,000 คน แม้ว่าจะมีที่ตั้งห่างจากแม่น้ำแควน้อยประมาณ 5 กิโลเมตร แต่ด้วยสภาพพื้นที่ของหมู่บ้านที่เป็นที่ราบสูงและภูเขาหินปูน ไม่พบแหล่งน้ำใต้ดินตลอดจนบ่อน้ำตื้นไม่สามารถกักเก็บน้ำไว้ใช้ได้ตลอดทั้งปี ทำให้ขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร ประชากรส่วนใหญ่ที่ประกอบอาชีพเกษตรกรจึงเน้นการปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อย เช่น มันสำปะหลัง น้อยหน่า และพืชผักจำพวกหัวไชเท้า ในอดีตพื้นที่บริเวณนี้ถูกปกคลุมด้วยป่าเบญจพรรณและป่าไผ่ที่อุดมสมบูรณ์ แต่เนื่องจากประชาชนต้องการที่ทำกินทำให้เกิดการบุกรุกทำลายป่าและนำไม้มาทำเฟอร์นิเจอร์หรือเผาถ่านขาย ปัจจุบันป่าที่เหลืออยู่จะพบเฉพาะบนเขา ขณะที่แถบที่ราบเชิงเขาจะเป็นที่ตั้งบ้านเรือนประชาชนและพื้นที่เกษตรกรรม

บ้านวังสิงห์ ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 ตำบลสิงห์ อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี ห่างจากมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี ประมาณ 10 กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ 9.6 ตารางกิโลเมตร เป็นหมู่บ้านขนาดกลาง มีประชากรอาศัยมากกว่า 180 ครัวเรือน หรือประมาณ 880 คนอาชีพหลักของคนในหมู่บ้านคือการทำเกษตรกรรมโดยการปลูกมันสำปะหลังและอ้อยเป็นหลักสภาพสังคมหมู่บ้านตั้งบ้านเรือนอยู่ในที่ดินตามที่ตนเองได้จับจองไม่ได้อยู่รวมกันเป็นหมู่บ้าน ประเพณีวัฒนธรรม มีตามเทศกาลทั่ว ๆ ไป ของชุมชนภาคกลาง เช่น เทศกาลลงแขก เทศกาลงานบุญ งานสงกรานต์ และประเพณีการแห่นางแมวเพื่อขอฝนแต่ปัจจุบันได้หายไปแล้วประมาณ 15 ปี การละเล่นในอดีตมีการเล่นโยนลูกช่วง ตี่จับ เกวียนหักซึ่งจะเล่นกันในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ปัจจุบันได้หายไป

บ้านหนองสามพราน ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของหมู่ที่ 9 ตำบลวังด้ง อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี ติดกับเขตตำบลสิงห์ อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี ห่างจากมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี ประมาณ 20 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 32 ตารางกิโลเมตร มีประชากรอาศัยอยู่ 548 ครัวเรือน จำนวนทั้งหมด 1,186 คน ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมทั้งปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์
ทั้ง 3 หมู่บ้าน มีพื้นที่ป่าเบญจพรรณและป่าไผ่ที่ชุมชนสามารถเก็บพืชอาหารป่า เช่น หน่อไม้ ผักหวานป่า และเห็ดโคน เพื่อการบริโภคในครัวเรือนและนำไปขายสร้างรายได้เสริม โดยบ้านวังสิงห์และบ้านหนองสามพรานมีการจัดการป่าชุมชน ขณะบ้านไตรรัตน์ยังไม่มีป่าชุมชนแต่มีพื้นที่ป่าที่เป็นพื้นที่หวงห้ามของทางราชการ เช่น ที่ราชพัสดุ และพื้นที่ป่าที่ยังเหลืออยู่ในเขตพื้นที่มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี ประมาณ 8 ตารางกิโลเมตร นอกจากนี้ลักษณะภูมิประเทศและธรณีวิทยาของทั้ง 3 หมู่บ้าน ที่เป็นมีเขาหินปูนยังมีความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์มีศักยภาพในการพัฒนาเพื่อการท่องเที่ยวได้
ปัจจุบันหมู่บ้านวังสิงห์และหมู่บ้านหนองสามพรานมีการดำเนินงานที่เป็นต้นแบบหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง
บ้านไตรรัตน์: ขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร การรวมกลุ่มเพื่อพัฒนาอาชีพและความเป็นอยู่ของคนในชุมชนยังไม่ประสบความสำเร็จ ยังไม่มีผลิตภัณฑ์หรือบริการที่เป็นวิสาหกิจของชุมชน ขาดการมีส่วนร่วมของคนรุ่นใหม่ในการพัฒนาชุมชน
บ้านวังสิงห์: ขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร ขาดการมีส่วนร่วมของคนรุ่นใหม่ในการพัฒนาชุมชน
บ้านหนองสามพราน: ขาดการมีส่วนร่วมของคนรุ่นใหม่ในการพัฒนาชุมชน
บ้านไตรรัตน์: การส่งเสริมการเกษตรในพื้นที่ขาดแคลนน้ำ การรวมกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการของชุมชน การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของคนรุ่นใหม่
บ้านวังสิงห์: การส่งเสริมการเกษตรในพื้นที่ขาดแคลนน้ำ การพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์และบริการของชุมชน การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของคนรุ่นใหม่
บ้านหนองสามพราน: การพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์และบริการของชุมชน การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของคนรุ่นใหม่

4. ประเด็นปัญหาหลัก

5. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

6. องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

ชีววิทยาเชิงอนุรักษ์
ธรณีศาสตร์
วิทยาศาสตร์การเกษตร
เทคโนโลยีการอาหาร
วิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและการจัดการภัยพิบัติ
บริหารธุรกิจและการจัดการ
การบัญชี

7. วัตถุประสงค์

วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชนด้วยหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

กิจกรรมเพื่อพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชนด้วยหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

3.00 3.00

8. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
สมาชิกชุมชนบ้านไตรรัตน์ วังสิงห์ และหนองสามพราน 50

9. ระยะเวลา

10. วิธีดำเนินงาน

กิจกรรมที่ 1 สำรวจและเก็บข้อมูลชุมชน

ชื่อกิจกรรม
สำรวจและเก็บข้อมูลชุมชน
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อส่งเสริมการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชนด้วยหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
รายละเอียดกิจกรรม
นักศึกษาลงพื้นที่สำรวจและเก็บข้อมูลชุมชนเพื่อวิเคราะห์ปัญหาและนำเสนอแนวทางการแก้ปัญหาบนพื้นฐานหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
ได้ประเด็นปัญหาและแนวทางแก้ปัญหาให้กับชุมชน
ทรัพยากรอื่น ๆ
ภาคีร่วมสนับสนุน
รายละเอียดงบประมาณ
ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
ค่าตอบแทนวิทยากร 3 คน 2,400 1 7,200
ค่าพาหนะเดินทาง - รถรับจ้าง/แท็กซี่ 3 เที่ยว 2,000 12 90,000
ค่าอาหาร 200 คน 50 12 120,000
ค่าถ่ายเอกสาร 60 ชุด 5 15 4,500
รวมค่าใช้จ่าย 221,700

กิจกรรมที่ 2 การนำเสนอข้อมูลแก่ชุมชน

ชื่อกิจกรรม
การนำเสนอข้อมูลแก่ชุมชน
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อส่งเสริมการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชนด้วยหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
รายละเอียดกิจกรรม
นำเสนอข้อมูลที่ได้จากการศึกษาแนวทางเบื้องต้นให้กับชุมชนเพื่อรับฟังข้อเสนอแนะและนำมาปรับแก้ไขให้สอดคล้องตามความต้องการของชุมชน
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2563 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
ได้แนวทางกิจกรรมเพื่อพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชนด้วยหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่ตรงตามความต้องการของชุมชน
ทรัพยากรอื่น ๆ
ภาคีร่วมสนับสนุน
รายละเอียดงบประมาณ
ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
ค่าจ้างทำป้ายประชาสัมพันธ์ 6 ชิ้น 800 1 4,800
ค่าวัสดุสำนักงาน 6 ชุด 1,000 1 6,000
ค่าพาหนะเดินทาง - รถรับจ้าง/แท็กซี่ 3 เที่ยว 2,000 3 18,000
ค่าอาหาร 200 คน 50 3 30,000
ค่าเช่าสถานที่ 3 ครั้ง 3,000 3 27,000
รวมค่าใช้จ่าย 85,800

กิจกรรมที่ 3 การพัฒนาต่อยอดกิจกรรม

ชื่อกิจกรรม
การพัฒนาต่อยอดกิจกรรม
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อส่งเสริมการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชนด้วยหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
รายละเอียดกิจกรรม
พัฒนาต่อยอดกิจกรรมเพื่อพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชนด้วยหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่ได้นำเสนอให้กับชุมชนเพื่อให้เกิดความเป็นรูปธรรม
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2563 ถึง 31 ตุลาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
กิจกรรมเพื่อพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชนด้วยหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ทรัพยากรอื่น ๆ
ภาคีร่วมสนับสนุน
รายละเอียดงบประมาณ
ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
ค่าตอบแทนวิทยากร 3 คน 2,400 1 7,200
ค่าเช่าสถานที่ 3 ครั้ง 3,000 3 27,000
ค่าพาหนะเดินทาง - รถรับจ้าง/แท็กซี่ 3 เที่ยว 2,000 3 18,000
ค่าอาหาร 100 คน 50 3 15,000
ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้ 3 ชุด 5,000 3 45,000
รวมค่าใช้จ่าย 112,200

รวมงบประมาณทุกกิจกรรมของแผนการดำเนินงาน จำนวน 419,700.00 บาท

ค่าตอบแทนค่าจ้างค่าใช้สอยค่าวัสดุรวมเงิน
ค่าใช้จ่าย (บาท) 14,400.00 4,800.00 349,500.00 51,000.00 419,700.00
เปอร์เซ็นต์ (%) 3.43% 1.14% 83.27% 12.15% 100.00%

11. งบประมาณ

419,700.00บาท

12. การติดตามประเมินผล

ต่อชุมชนต่อนักศึกษา
ผลผลิต (Output) กิจกรรมที่พัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชนด้วยหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โครงงานเพื่อพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชนด้วยหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ผลลัพธ์ (Outcome) ชุมชนได้รับการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง นักศึกษาสามารถทำโครงงานกลุ่มร่วมกับนักศึกษาจากหลักสูตรอื่นเพื่อพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชนบนพื้นฐานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโดยบูรณาการความรู้จากศาสตร์ที่หลากหลาย
ผลกระทบ (Impact) ชุมชนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจด้านสหวิทยาการเชื่อมโยงกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงนำเสนอแนวทางในการพัฒนาชุมชนหรือสังคมให้เกิดความยั่งยืนโดยมุ่งประโยชน์ต่อชุมชนและสังคม มีทัศนคติที่เห็นคุณค่าของตนเองต่อการมีส่วนร่วมทางสังคม (social engagement)
นำเข้าสู่ระบบโดย chutamas.suk chutamas.suk เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2562 00:38 น.