โครงการยกระดับคุณภาพชีวิตหมู่บ้าน ชุมชน แบบมีส่วนร่วม กรณี หมู่บ้านดงซ่อม ตำบลเชียงทอง อำเภอวังเจ้า จังหวัดตาก

แบบเสนอโครงการ
โครงการยกระดับคุณภาพชีวิตหมู่บ้าน ชุมชน แบบมีส่วนร่วม กรณี หมู่บ้านดงซ่อม ตำบลเชียงทอง อำเภอวังเจ้า จังหวัดตาก

1. ชื่อโครงการ

โครงการยกระดับคุณภาพชีวิตหมู่บ้าน ชุมชน แบบมีส่วนร่วม กรณี หมู่บ้านดงซ่อม ตำบลเชียงทอง อำเภอวังเจ้า จังหวัดตากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตากคณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตรดงซ่อมอาจารย์จักรพันธ์ วงศ์ฤกษ์ดี41/1 หมู่ 7 ถ.พหลโยธิน ต.ไม้งาม อ.เมือง จ.ตาก 630000910259091ผศ.ดร.พรรณธิภา เพชรบุญมี
ดร. รัฐนันท์ พงศ์วิริทธิ์ธร
อาจารย์พิมพ์ภัช บุญโรจน์นนท์
อาจารย์สาวิตรี วงศ์ฤกษ์ดี

2. พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
ตาก เมืองตาก เชียงทอง

3. รายละเอียดชุมชน

ชุมชนหมู่บ้านดงซ่อม ต.เชียงทอง อ.วังเจ้า จ.ตาก มีครัวเรือนทั้งสิ้น 286 ครัวเรือนมีประชากรในชุมชนทั้งหมด 865 คน เป็นชาย 435 คน เป็นหญิง 430 คน โดยพื้นที่อาศัยจะตั้งอยู่ในเขตพื้นที่การปกครองขององค์การบริหารส่วนตำบลเชียงทอง ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่หมู่ที่ 5 บ้านเด่นคา ตำบลเชียงทอง อำเภอวังเจ้าจังหวัดตาก ระยะห่างจากจังหวัดตากประมาณ 35 กิโลเมตรปัจจุบันแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 13 หมู่บ้าน ตำบลเชียงทองมีเนื้อที่ทั้งหมด ประมาณ 442 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 276,250 ไร่ นอกจากนี้ตำบลเชียงทองยังเป็นที่ตั้งของที่ว่าการอำเภอวังเจ้า ซึ่งตั้งอยู่หมู่ที่ 2 ของตำบลเชียงทอง โดยมีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบ ที่ราบเชิงเขา และมีภูเขาล้อมรอบ ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเชียงทองประกอบอาชีพเกษตรกรรม เช่น ทำนา, ทำไร่, ทำสวน, เลี้ยงสัตว์ และบางส่วนมีอาชีพรับจ้างหมู่บ้านดงซ่อมได้รับการสนับสนุนจากองค์การบริหารส่วนตำบลเชียงทองในเรื่องของกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลเชียงทอง ไม่ได้รับการสนับสนุนในเรื่องของการสร้างงานสร้างอาชีพจากหน่วยงานใด แต่ทั้งนี้ หมู่บ้านดงซ่อมมีจุดแข็งที่สามารถนำมายกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชนได้ 4 ด้าน ได้แก่ 1. มีผู้นำที่ค่อนข้างมีความเข้มแข็งซื่อสัตย์ เสียสละและมีความรับผิดชอบ เป็นศูนย์รวมให้กับคนในชุมชนทำงานร่วมกันได้อย่างดี การทำงานภายในหมู่บ้านจะเน้นกระบวนการมีส่วนร่วม ส่งเสริมให้ทุกคนในชุมชนได้แสดงความคิดเห็นร่วมกัน 2. มีทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพมากมาย และมีทำเลที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของที่เป็นทางผ่านของแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของอำเภอวังเจ้า คือ อุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า ที่มีทั้งธรรมชาติที่สวยงาม และเป็นการท่องเที่ยวเชิงผจญภัย 3. มีการจัดตั้งกลุ่มเกษตรอินทรีย์บ้านดงซ่อม พร้อมทั้งจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชนอย่างถูกต้อง และมีโครงสร้างของกลุ่มอย่างชัดเจนรวมทั้งยังมีการออมเงินจากสมาชิกภายในกลุ่มเพื่อนำไปต่อยอดผลิตภัณฑ์ในรุ่นถัดไป และ 4. มีการใช้วัตถุดิบที่มีในชุมชนนำมาแปรรูป และพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ได้อย่างหลากหลาย เช่น ยากันยุงจากตะไคร้หอม พิมเสนน้ำจากสมุนไพรธรรมชาติ ก้อนเบจกูล (หัวเชื้อ) และสบู่สมุนไพรจากธรรมชาติ เป็นต้นปัญหาภายในหมู่บ้านดงซ่อมที่พบ ได้แก่ 1.คนในชุมชนมีหนี้สินมาก 2.ขาดความรู้ในการแปรรูปผลิตภัณฑ์ และส่งเสริมให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐานสินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) 3.ขาดเอกลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ในชุมชน 4. ขาดความรู้ด้านการตลาด และการจำหน่ายสินค้าในช่องทางสมัยใหม่ความต้องการของชุมชนบ้านดงซ่อมมีดังต่อไปนี้ 1) การยกระดับผลิตภัณฑ์ของชุมชนบ้านดงซ่อมให้เป็นผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) 2)การเพิ่มช่องทางการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของชุมชนบ้านดงซ่อม 3)การส่งเสริมการแปรรูปกล้วยเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าทางการเกษตรของชุมชนบ้านดงซ่อม 4) การพัฒนาต้นแบบบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์จากการแปรรูปกล้วยของชุมชนบ้านดงซ่อม 5) การผลิตตู้อบแห้งผลิตผลทางการเกษตร เพื่อใช้ในการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากกล้วย และ 6) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การจัดตั้ง และการจัดการศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรของชุมชนบ้านดงซ่อม

4. ประเด็นปัญหาหลัก

5. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

6. องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

องค์ความรู้ด้านการจัดการแผนธุรกิจ องค์ความรู้ด้านการแปรรูปผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ในท้องถิ่น องค์ความรู้ด้านการยกระดับผลิตภัณฑ์ของชุมชนสู่ผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) องค์ความรู้ด้านการกระจายสินค้า และการเพิ่มช่องทางการตลาดในรูปแบบใหม่ เช่น การตลาดออนไลน์ และการทำตลาดด้วย E-Market Place เป็นต้น การสร้างนวัตกรรมตู้อบแห้งผลิตผลทางการเกษตรเพื่อช่วยแปรรูปสินค้าทางการเกษตร

7. วัตถุประสงค์

วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ของกลุ่มเกษตรอินทรีย์ชุมชนบ้านดงซ่อมให้มีมาตรฐาน เพิ่มมูลค่าให้แก่ผลิตภัณฑ์ และต่อยอดสู่ผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) พร้อมทั้งเพิ่มช่องทางการจำหน่าย และกระจายสินค้าของชุมชนบ้านดงซ่อม

1) สามารถยกระดับผลิตภัณฑ์ของชุมชนบ้านดงซ่อมให้เป็นผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) จำนวนอย่างน้อย 3 ผลิตภัณฑ์ 2) ได้ช่องทางการจำหน่าย และกระจายสินค้าของชุมชนบ้านดงซ่อมจำนวน 2 ช่องทาง 3) มีคนในชุมชนเข้าร่วมอย่างน้อย 30 คน 4) มีอาจารย์ และนักศึกษาเข้าร่วมโครงการอย่างน้อย 15 คน

50.00 50.00
2 เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่จากการแปรรูปกล้วยของชุมชนบ้านดงซ่อม พร้อมทั้งออกแบบ และพัฒนาต้นแบบบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์ใหม่จากการแปรรูปกล้วยที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชนบ้านดงซ่อม

1) ได้ผลิตภัณฑ์ใหม่จากการแปรรูปกล้วยในชุมชน อย่างน้อยจำนวน 2 ผลิตภัณฑ์ 2) คนในชุมชนเข้าร่วมอย่างน้อย 30 คน 3) มีอาจารย์ และนักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมอย่างน้อย 15 คน

47.00 30.00
3 เพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้ ทักษะในการบริหารจัดการ และพัฒนากลุ่มเครือข่ายของชุมชนบ้านดงซ่อมผ่านชุมชนต้นแบบด้านการบริหารจัดการศูนย์จำหน่ายและกระจายสินค้าของชุมชน

1) ได้เครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การจัดตั้ง และการจัดการศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรของชุมชน จำนวน 1 เครือข่าย 2) มีคนในชุมชนเข้าร่วมอย่างน้อย 40 คน 3) มีอาจารย์ และนักศึกษาเข้าร่วมโครงการอย่างน้อย 15 คน

56.00 56.00
4 เพื่อพัฒนานวัตกรรมที่ช่วยในการแปรรูปผลิตผลทางการเกษตรของหมู่บ้านดงซ่อม

1) ได้ต้นแบบตู้อบแห้งผลิตผลทางการเกษตรของชุมชนบ้านดงซ่อม จำนวน 1 ต้นแบบ 2) มีคนในชุมชนเข้าร่วมอย่างน้อย 25 คน 3) มีอาจารย์ และนักศึกษาเข้าร่วมโครงการอย่างน้อย 15 คน

41.00 41.00

8. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
กลุ่มเกษตรอินทรีย์ของชุมชนบ้านดงซ่อม 25
นักศึกษาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตาก 10
อาจารย์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตาก 5
เครือข่าย อสม ชุมชนบ้านดงซ่อม 5

9. ระยะเวลา

10. วิธีดำเนินงาน

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมการพัฒนาศักยภาพ และยกระดับผลิตภัณฑ์ของชุมชนบ้านดงซ่อมสู่ผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP)

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมการพัฒนาศักยภาพ และยกระดับผลิตภัณฑ์ของชุมชนบ้านดงซ่อมสู่ผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP)
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ของกลุ่มเกษตรอินทรีย์ชุมชนบ้านดงซ่อมให้มีมาตรฐาน เพิ่มมูลค่าให้แก่ผลิตภัณฑ์ และต่อยอดสู่ผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) พร้อมทั้งเพิ่มช่องทางการจำหน่าย และกระจายสินค้าของชุมชนบ้านดงซ่อม
รายละเอียดกิจกรรม
วางแผนการดำเนินการ (P) การวางแผนร่วมกับชุมชนเพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ของชุมชนบ้านดงซ่อมให้เป็นผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ดำเนินการยกระดับผลิตภัณฑ์ของชุมชนบ้านดงซ่อมให้เป็นผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ประเมินโครงการหลังจากยกระดับผลิตภัณฑ์ของชุมชนบ้านดงซ่อมให้เป็นผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) แล้วดำเนินการแก้ไข และสรุปผลโครงการ
ระยะเวลาดำเนินงาน
31 มกราคม 2563 ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
ได้ยกระดับผลิตภัณฑ์ของชุมชนบ้านดงซ่อมให้เป็นผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) จำนวนอย่างน้อย 3 ผลิตภัณฑ์ มีคนในชุมชนเข้าร่วมอย่างน้อย 30 คน มีอาจารย์ และนักศึกษาเข้าร่วมโครงการอย่างน้อย 15 คน
ทรัพยากรอื่น ๆ
ภาคีร่วมสนับสนุน
กลุ่มเกษตรอินทรีย์บ้านดงซ่อม
อบต.เชียงทอง
รายละเอียดงบประมาณ
ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
ค่าตอบแทนวิทยากร

อบรมการยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชน

1 คน 3,600 3 10,800
ค่าอาหาร

ค่าอาหาร พร้อมเบรคในการอบรม

45 คน 100 3 13,500
ค่าเช่ารถ

เช่ารถตู้เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรม

1 เที่ยว 1,800 6 10,800
ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้

ค่าวัสดุในการฝึกอบรม

1 เที่ยว 6,000 3 18,000
ค่าจ้างทำป้ายประชาสัมพันธ์

ค่าป้ายประชาสัมพันธ์กิจกรรม

1 ชุด 800 3 2,400
ค่าวัสดุสำนักงาน

ค่าวัสดุสำนักงานที่ใช้ในการดำเนินงาน

1 ชิ้น 4,500 1 4,500
รวมค่าใช้จ่าย 60,000

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมการเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรของชุมชนบ้านดงซ่อม

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมการเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรของชุมชนบ้านดงซ่อม
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ของกลุ่มเกษตรอินทรีย์ชุมชนบ้านดงซ่อมให้มีมาตรฐาน เพิ่มมูลค่าให้แก่ผลิตภัณฑ์ และต่อยอดสู่ผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) พร้อมทั้งเพิ่มช่องทางการจำหน่าย และกระจายสินค้าของชุมชนบ้านดงซ่อม
รายละเอียดกิจกรรม
ดำเนินการจัดทำแผนเพื่อเพิ่มช่องทางการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ร่วมกับชุมชนบ้านดงซ่อม ดำเนินการเพิ่มช่องทางการจำหน่าย กระจายผลิตภัณฑ์ของชุมชนบ้านดงซ่อมในรูปแบบ Online และ Offline ติดตามผลการดำเนินกิจกรรม และประเมินผลการดำเนินกิจกรรมโดยผู้เข้าร่วมกิจกรรมในชุมชนบ้านดงซ่อมดำเนินการแก้ไข ปรับปรุง และสรุปผลกิจกรรม
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2563 ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
ได้ช่องทางการจำหน่าย และกระจายสินค้าของชุมชนบ้านดงซ่อมจำนวน 2 ช่องทาง มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมอย่างน้อย 30 คน กลุ่มเป้าหมายมีรายได้เพิ่มขึ้นอย่างน้อยร้อยละ 10 ของรายได้เดิม มีคนในชุมชนเข้าร่วมกิจกรรม อย่างน้อย 30 คน มีอาจารย์ และนักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมอย่างน้อย 15 คน
ทรัพยากรอื่น ๆ
ภาคีร่วมสนับสนุน
โรงเรียนบ้านดงซ่อมพิทยาคม
รายละเอียดงบประมาณ
ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
อื่น ๆ

ค่าจ้างเหมาพัฒนาช่องทางการกระจาย และจำหน่ายสินค้าในรูปแบบ Online และ Offline

1 ชุด 35,000 1 35,000
ค่าตอบแทนวิทยากร

ค่าตอบแทนวิทยากรเพื่ออบรมการใช้งานระบบกระจายสินค้า และเพิ่มช่องทางการจำหน่ายสนค้า

1 คน 7,200 2 14,400
ค่าอาหาร

ค่าอาหาร และเบรค

1 ครั้ง 4,500 2 9,000
ค่าเช่ารถ

ค่าเช่ารถเพื่อเดินทางไปดำเนินกิจกรรม

1 เที่ยว 1,800 4 7,200
ค่าวัสดุสำนักงาน

ค่าวัสดุสำนักที่ใช้ในการดำเนินกิจกรรม

1 ชุด 4,400 1 4,400
รวมค่าใช้จ่าย 70,000

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมการส่งเสริมการแปรรูปกล้วยเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าทางการเกษตรของชุมชนบ้านดงซ่อม

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมการส่งเสริมการแปรรูปกล้วยเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าทางการเกษตรของชุมชนบ้านดงซ่อม
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่จากการแปรรูปกล้วยของชุมชนบ้านดงซ่อม พร้อมทั้งออกแบบ และพัฒนาต้นแบบบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์ใหม่จากการแปรรูปกล้วยที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชนบ้านดงซ่อม
รายละเอียดกิจกรรม
จัดทำแผนการขยายสายการผลิตผลิตจากการแปรรูปกล้วยในท้องถิ่นให้เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ อย่างน้อยจำนวน 2 ผลิตภัณฑ์ จัดฝึกอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่จากการแปรรูปกล้วยของชุมชนบ้านดงซ่อม ติดตามผลการดำเนินกิจกรรม และประเมินผลการดำเนินกิจกรรมโดยผู้เข้าร่วมกิจกรรมในชุมชนบ้านดงซ่อม ดำเนินการแก้ไข ปรับปรุง และสรุปผลกิจกรรม
ระยะเวลาดำเนินงาน
31 มกราคม 2563 ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
ได้ผลิตภัณฑ์ใหม่จากการแปรรูปกล้วยในชุมชน อย่างน้อยจำนวน 3 ผลิตภัณฑ์
มีคนในชุมชนเข้าร่วมอย่างน้อย 30 คน
และมีอาจารย์ และนักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมอย่างน้อย 15 คน
ทรัพยากรอื่น ๆ
กล้วยภายในชุมชน
ภาคีร่วมสนับสนุน
กลุ่มเกษตรอินทรีย์ชุมชนบ้านดงซ่อม
สำนักงานสาธารณสุขอำเภอวังเจ้า
รายละเอียดงบประมาณ
ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
ค่าตอบแทนวิทยากร

อบรมการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากกล้วย

1 คน 3,600 3 10,800
ค่าอาหาร

ค่าอาหาร และเบครในการอบรม

1 คน 4,500 3 13,500
ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้

วัสดุฝึกที่ใช้ในการอบรม

1 ชุด 7,000 3 21,000
ค่าเช่ารถ

ค่าเช่ารถเพื่อดำเนินกิจกรรม

1 เที่ยว 1,800 5 9,000
ค่าจ้างทำป้ายประชาสัมพันธ์

ค่าจัดทำป้ายประชาสัมพันธ์กิจกรรม

1 ชิ้น 800 2 1,600
ค่าวัสดุสำนักงาน

ค่าวัสดุสำนักงานใช้ในกิจกรรม

1 ชุด 4,100 1 4,100
รวมค่าใช้จ่าย 60,000

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมการพัฒนาต้นแบบบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์จากการแปรรูปกล้วยของชุมชนบ้านดงซ่อม

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมการพัฒนาต้นแบบบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์จากการแปรรูปกล้วยของชุมชนบ้านดงซ่อม
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่จากการแปรรูปกล้วยของชุมชนบ้านดงซ่อม พร้อมทั้งออกแบบ และพัฒนาต้นแบบบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์ใหม่จากการแปรรูปกล้วยที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชนบ้านดงซ่อม
รายละเอียดกิจกรรม
จัดทำแผนเพื่อออกแบบ และพัฒนารูปแบบบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์จากกล้วยของชุมชนบ้านดงซ่อม อย่างน้อยจำนวน 2 ผลิตภัณฑ์ ออกแบบ และพัฒนารูปแบบบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์จากกล้วยที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชนบ้านดงซ่อม ติดตามผลการดำเนินกิจกรรม และประเมินผลการดำเนินกิจกรรมโดยผู้เข้าร่วมกิจกรรมในชุมชนบ้านดงซ่อม ดำเนินการแก้ไข ปรับปรุง และสรุปผลกิจกรรม
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2563 ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
ได้ต้นแบบผลิตภัณฑ์ และบรรจุภัณฑ์จากกล้วยแปรรูปอย่างน้อยจำนวน 3 ผลิตภัณฑ์ มีคนในชุมชนเข้าร่วมอย่างน้อย 30 คน และมีอาจารย์ และนักศึกษาเข้าร่วมโครงการอย่างน้อย 15 คน
ทรัพยากรอื่น ๆ
ภาคีร่วมสนับสนุน
สำนักงานสาธารณสุขอำเภอวังเจ้า
กลุ่มเกษตรอินทรีย์ชุมชนบ้านดงซ่อม
รายละเอียดงบประมาณ
ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
อื่น ๆ

ค่าจ้างเหมาจัดทำต้นแบบผลิตภัณฑ์จากการแปรรูปกล้วยจำนวน 3 ผลิตภัณฑ์ พร้อมต้นแบบที่สามารถนำไปใช้ได้จริงจำนวน 1000 ชิ้น

1 ชุด 40,000 1 40,000
ค่าเช่ารถ

ค่าเช่ารถเพื่อเดินทางไปดำเนินกิจกรรม

1 เที่ยว 1,800 6 10,800
ค่าจ้างทำป้ายประชาสัมพันธ์

ค่าจัดทำป้ายเพื่อการโฆษณาผลิตภัณฑ์

1 คน 800 5 4,000
ค่าวัสดุสำนักงาน

ค่าวัสดุที่ใช้ในการดำเนินกิจกรรม

1 ชุด 5,200 1 5,200
รวมค่าใช้จ่าย 60,000

กิจกรรมที่ 5 กิจกรรมการผลิตตู้อบแห้งผลิตผลทางการเกษตร เพื่อใช้ในการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากกล้วย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมการผลิตตู้อบแห้งผลิตผลทางการเกษตร เพื่อใช้ในการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากกล้วย
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อพัฒนานวัตกรรมที่ช่วยในการแปรรูปผลิตผลทางการเกษตรของหมู่บ้านดงซ่อม
รายละเอียดกิจกรรม
จัดทำแผนเพื่อพัฒนาตู้อบแห้งผลิตผลทางการเกษตรของชุมชนบ้านดงซ่อม พัฒนาตู้อบแห้งผลิตผลทางการเกษตรของชุมชนบ้านดงซ่อม ติดตามผลการดำเนินกิจกรรม และประเมินผลการดำเนินกิจกรรมโดยผู้เข้าร่วมกิจกรรมในชุมชนบ้านดงซ่อม ดำเนินการแก้ไข ปรับปรุง และสรุปผลกิจกรรม
ระยะเวลาดำเนินงาน
31 มกราคม 2563 ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
ได้ต้นแบบตู้อบแห้งผลิตผลทางการเกษตรของชุมชนบ้านดงซ่อม จำนวน 1 ต้นแบบ มีคนในชุมชนเข้าร่วมอย่างน้อย 20 คน และมีอาจารย์ และนักศึกษาเข้าร่วมโครงการอย่างน้อย 15 คน
ทรัพยากรอื่น ๆ
อุปกรณ์ที่ใช้ในการพัฒนาต้นแบบนวัตกรรม
ภาคีร่วมสนับสนุน
โรงเรียนบ้านดงซ่อมพิทยาคม
อบต.เชียงทอง
รายละเอียดงบประมาณ
ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
อื่น ๆ

ค่าจ้างเหมาพัฒนาต้นแบบตู้อบแห้งผลผลิตทางการเกษตร

1 คน 35,000 1 35,000
ค่าตอบแทนวิทยากร

ค่าตอบแทนวิทยากรฝึกอบรม

1 คน 7,200 1 7,200
ค่าอาหาร

ค่าอาหารและเบรคในการอบรม

1 เที่ยว 4,500 1 4,500
ค่าเช่ารถ

ค่าเดินทางดำเนินกิจกรรม

1 คน 1,800 3 5,400
ค่าจ้างทำป้ายประชาสัมพันธ์

ค่าจัดทำป้ายประชาสัมพันธ์กิจกรรม

1 คน 800 2 1,600
ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้

ค่าวัสดุฝึกอบรม

1 ครั้ง 5,000 1 5,000
ค่าวัสดุสำนักงาน

วัสดุสำนักงานเพื่อดำเนินกิจกรรม

1 ชุด 1,300 1 1,300
รวมค่าใช้จ่าย 60,000

กิจกรรมที่ 6 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การจัดตั้ง และการจัดการศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรของชุมชนบ้านดงซ่อม

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การจัดตั้ง และการจัดการศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรของชุมชนบ้านดงซ่อม
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้ ทักษะในการบริหารจัดการ และพัฒนากลุ่มเครือข่ายของชุมชนบ้านดงซ่อมผ่านชุมชนต้นแบบด้านการบริหารจัดการศูนย์จำหน่ายและกระจายสินค้าของชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม
วางแผนปฏิบัติงานกิจกรรม ขออนุมัติโครงการ และวางแผนร่วมกับชุมชนบ้านดงซ่อม ติดต่อประสานงาน จัดเตรียมเอกสาร วัสดุ-อุปกรณ์ในการดำเนินกิจกรรม และดำเนินกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับชุมชนชนเครือข่าย ติดตามความพร้อมของชุมชน และประเมินผลการดำเนินงาน ประชุมสรุปผลการดำเนินงานเพื่อทบทวนข้อเสนอแนะร่วมกัน
ระยะเวลาดำเนินงาน
31 มีนาคม 2563 ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
ได้เครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การจัดตั้ง และการจัดการศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรของชุมชน จำนวน 1 เครือข่าย มีคนในชุมชนเข้าร่วมอย่างน้อย 30 คน และมีอาจารย์ และนักศึกษาเข้าร่วมโครงการอย่างน้อย 15 คน
ทรัพยากรอื่น ๆ
ภาคีร่วมสนับสนุน
อบต.เชียงทอง
โรงเรียนบ้านดงซ่อมพิทยาคม
กลุ่ม อสม. ชุมชนบ้านดงซ่อม
สำนักงานสาธารณสุขอำเภอวังเจ้า
กลุ่มเกษตรอินทรีย์ชุมชนบ้านดงซ่อม
รายละเอียดงบประมาณ
ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
ค่าตอบแทนวิทยากร

ค่าตอบแทนวิทยากร ฝึกอบรม

1 คน 7,200 3 21,600
ค่าอาหาร

ค่าอาหาร และเบรค

1 คน 4,500 3 13,500
ค่าเช่ารถ

ค่าเดินทางพบปะเครือข่าย และดำเนินกิจกรรม

1 เที่ยว 1,800 6 10,800
ค่าจ้างทำป้ายประชาสัมพันธ์

ค่าจัดทำป้ายประชาสัมพันธ์

1 ชุด 800 3 2,400
ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้

ค่าวัสดุฝึกอบรม

1 ชุด 3,000 3 9,000
ค่าวัสดุสำนักงาน

วัสดุสำนักงานเพื่อดำเนินกิจกรรม

1 ชุด 2,700 1 2,700
รวมค่าใช้จ่าย 60,000

รวมงบประมาณทุกกิจกรรมของแผนการดำเนินงาน จำนวน 370,000.00 บาท

ค่าตอบแทนค่าจ้างค่าใช้สอยค่าวัสดุอื่น ๆรวมเงิน
ค่าใช้จ่าย (บาท) 64,800.00 12,000.00 108,000.00 75,200.00 110,000.00 370,000.00
เปอร์เซ็นต์ (%) 17.51% 3.24% 29.19% 20.32% 29.73% 100.00%

11. งบประมาณ

370,000.00บาท

12. การติดตามประเมินผล

ต่อชุมชนต่อนักศึกษา
ผลผลิต (Output) 1) ชุมชนบ้านดงซ่อมมีผลิตภัณฑ์ของชุมชนบ้านดงซ่อมสู่ผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) จำนวน 3 ผลิตภัณฑ์เป็นอย่างน้อย
2) มีช่องทางการจำหน่าย และกระจายสินค้าของชุมชนบ้านดงซ่อมได้ เพิ่มมากขึ้น จำนวน 2 ช่องทางทั้งในรูปแบบ Online และ Offline
3) มีต้นแบบนวัตกรรมตู้อบผลผลิตทางการเกษตรของชุมชน
4) มีต้นแบบบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์จากการแปรรูปกล้วยของชุมชนบ้านดงซ่อม อย่างน้อยจำนวน 3 ผลิตภัณฑ์
5) มีผลิตภัณฑ์ใหม่จากการแปรรูปกล้วยของ หมู่บ้านดงซ่อม อย่างน้อย อย่างน้อยจำนวน 3 ผลิตภัณฑ์
6) เกิดเครือข่ายชุมชนต้นแบบด้านการบริหารจัดการศูนย์จำหน่าย และกระจายสินค้าของชุมชน อย่างน้อยจำนวน 1 เครือข่าย
1) มีนักศึกษา จำนวน 10 คน ที่ร่วมดำเนินโครงการ
2) นักศึกษาได้ประสบการณ์นอกห้องเรียน รู้จักการทำงานเป็นทีม และมองเห็นความสำคัญของการทำงานเป็นทีม
3) นักศึกษาสามารถเทียบเคียงหน่วยกิตในรายวิชาต่าง ๆ ได้ ตามความเหมาะสม
ผลลัพธ์ (Outcome) 1) กลุ่มเกษตรอินทรีย์ และชุมชนบ้านดงซ่อมมีรายได้เพิ่มมากขึ้นจากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของชุมชน อย่างน้อยร้อยละ 10 จากรายได้เดิม และสามารถเพิ่มช่องทางการจำหน่าย และกระจายสินค้าของชุมชนเพิ่มมากขึ้น
2) กลุ่มเกษตรอินทรีย์มีองค์ความรู้ และทักษะในการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากกล้วยจำนวนอย่างน้อย 3 ผลิตภัณฑ์ พร้อมทั้งเครื่องมือในการส่งเสริมการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากกล้วยจำนวน 1 เครื่องมือ และมีต้นแบบบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์ใหม่จากการแปรรูปกล้วยที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชนบ้านดงซ่อมอย่างน้อยจำนวน 3 ผลิตภัณฑ์
3) กลุ่มเกษตรอินทรีย์มีองค์ความรู้ ทักษะในการบริหารจัดการ และพัฒนากลุ่มเครือข่ายของชุมชนบ้านดงซ่อมผ่านเครือข่ายชุมชนต้นแบบด้านการบริหารจัดการศูนย์จำหน่าย และกระจายสินค้าของชุมชน
4)
1) เกิดการบูรณาการการทำงานร่วมกันของนักศึกษาทั้ง 4 คณะ ได้แก่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะบริหารธุรกิจ คณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ และคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร
2) เกิดกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ระหว่าง คณาจารย์ บุคลากร นักศึกษา ภาคประชาชน
ผลกระทบ (Impact) 1) เกิดการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนทั้ง 4 ด้าน คือ (1) การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ (2) การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติ (3) การมีส่วนร่วมในการได้รับประโยชน์ และ (4) การมีส่วนร่วมในการประเมินผล
2) สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผลิตภัณฑ์ของชุมชนหมู่บ้านดงซ่อม ตำบลเชียงทอง อำเภอวังเจ้า จังหวัดตากได้มากขึ้น
3) เกิดกลุ่มเกษตรอินทรีย์ที่มีความเข้มแข็งภายในชุมชนหมู่บ้านดงซ่อม ตำบลเชียงทอง อำเภอวังเจ้า จังหวัดตาก
4) ชุมชนเกิดองค์ความรู้ใหม่ ๆ ที่สามารถนำไปต่อยอดพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ของชุมชนได้ในอนาคต
1) เกิดการบริการวิชาการที่มีความเชื่อมโยงกับการจัดการเรียนการสอน โดยให้ผู้สอนนำความรู้จากประสบการณ์จริงมาพัฒนาการจัดการเรียนการสอนรวมไปถึงนักศึกษาได้เรียนรู้นอกห้องเรียนผ่านกระบวนการเรียนรู้ในชุมชน
2) เกิดองค์ความรู้ใหม่ ๆ ที่ไม่มีในห้องเรียน เน้นการฝึกปฏิบัติมากกว่าทฤษฏี
นำเข้าสู่ระบบโดย jaadum jaadum เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2562 22:07 น.