โครงการอบรมเชิงปฏิบัติ เรื่อง การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และยกระดับคุณภาพ 'ปลาส้ม' จากอาหารท้องถิ่นสู่มาตรฐานสากล

แบบเสนอโครงการ
โครงการอบรมเชิงปฏิบัติ เรื่อง การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และยกระดับคุณภาพ 'ปลาส้ม' จากอาหารท้องถิ่นสู่มาตรฐานสากล

1. ชื่อโครงการ

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติ เรื่อง การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และยกระดับคุณภาพ 'ปลาส้ม' จากอาหารท้องถิ่นสู่มาตรฐานสากลมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามสาขาเทคโนโลยีการอาหาร คณะเทคโนโลยีการเกษตรสาขาสัตวศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการเกษตร และสาขาเคมี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีบ้านท่าเรือภูสิงห์อาจารย์ศนันธร พิชัย80 ถนนนครสวรรค์ ตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม 440000988904506นางสาวญาณิศา โพธิ์รัตน์โส/สาขาเทคโนโลยีการอาหาร
นางสาวลลิตา เฉิดลออ/สาขาเทคโนโลยีการอาหาร
นางสาวชนิดา เฉิดละออ/สาขาเทคโนโลยีการอาหาร
นางสาวนิลาวรรณ คำภาอ่อน/สาขาเทคโนโลยีการอาหาร
นางสาวจิดาภา ต่ำต้อ/สาขาเทคโนโลยีการอาหาร
นางสาวสุวิภาภรณ์ เอไธสง/สาขาเทคโนโลยีการอาหาร
นางสาวธราทิพย์ อยู่พนม/สาขาเคมี
นางสาวจริยา เเสงมณี/สาขาเคมี

2. พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
กาฬสินธุ์ สหัสขันธ์ ภูสิงห์

3. รายละเอียดชุมชน

อำเภอสหัสขันธ์ตั้งอยู่ทางตอนกลาง ค่อนไปทางทิศเหนือของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้ ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอสามชัยและอำเภอคำม่วง
ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอสมเด็จ ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอเมืองกาฬสินธุ์
ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอหนองกุงศรี โดยการแบ่งเขตแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 8 ตำบล 85 หมู่บ้าน ดังนี้
1. ภูสิงห์ (Phu Sing) 9 หมู่บ้าน 5. นิคม (Nikhom) 7 หมู่บ้าน
2. สหัสขันธ์ (Sahatsakhan) 13 หมู่บ้าน 6. โนนแหลมทอง (Non Laem Thong) 12 หมู่บ้าน
3. นามะเขือ (Na Makhuea)12 หมู่บ้าน 7. โนนบุรี (Non Buri) 11 หมู่บ้าน
4. โนนศิลา (Non Sila) 13 หมู่บ้าน 8. โนนน้ำเกลี้ยง(Non Nam Kliang) 8 หมู่บ้าน
มีเนื้อที่ทั้งหมด 35.10 ตร.กม. หรือประมาณ 21,937 ไร่ สภาพพื้นที่โดยทั่วไปเป็นที่ลาดเชิงเขาบางส่วน มีพื้นที่ติดกับเขื่อนลำปาว มีน้ำใช้ตลอดปี โดยอาชีพหลัก ทำนา ทำไร่ อาชีพเสริม ทำประมง ค้าขาย รับจ้างเนื่องจากชุมชนที่มีการผลิตปลาส้มในอำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นผลผลิตที่สร้างรายได้ให้แก่ชาวบ้านได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังเป็นการสร้างเอกลักษณ์และสินค้าให้แก่อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ กันอย่างแพร่หลาย ซึ่งหากมีการส่งเสริมในการผลิตสินค้าดังกล่าวแพร่กระจายออกไป รวมทั้งการประชาสัมพันธ์ให้คนในชุมชนรู้จักการบริโภคอาหารอย่างถูกหลักอนามัย มีการร่วมมือกันระหว่างผู้ผลิต ผู้จำหน่าย ในการทำให้สินค้ามีคุณภาพ และจำหน่ายสินค้าในราคาที่เป็นธรรม การร่วมมือกันกับหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ของผลิตภัณฑ์ เนื่องจากเป็นการเสริมสร้างรายได้ และชื่อเสียงให้แก่อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ผลิตภัณฑ์ที่มีการแปรรูป ได้แก่ ปลาร้า ผลิตภัณฑ์เสื้อผ้าสำเร็จรูปสตรี ส้มปลาตะเพียน เสื่อกก และ ไวน์หมากเม่า แต่เนื่องจากยังขาดช่องทางการจำหน่ายที่หลากหลาย เพื่อให้เป็นที่รู้จักแก่ผลิตภัณฑ์ที่มีการแปรรูปจากกลุ่มแปรรูปนี้

4. ประเด็นปัญหาหลัก

5. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

6. องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

ปลาส้มเกิดจากการแปรรูปเนื้อปลาผ่านกระบวนการหมัก โดยการนำปลาสดที่ตัดแต่งแล้วมาหมักกับส่วนผสมต่างๆ จนเกิดรสเปรี้ยว เป็นอาหารพื้นเมืองที่ได้รับความนิยมในภาคอีสานโดยปลาส้มอาจทำแบบปลาทั้งตัว หรือเฉพาะเนื้อปลา เช่น ปลาส้มตัว ปลาส้มชิ้น ปลาส้มเส้น หรือปลาส้มฟัก ปลาส้มมีรสชาติถูกปาก นิยมบริโภคทั้งภาคอีสานและภูมิภาคอื่น จนเกิด OTOP ผลิตภัณฑ์ ปลาส้มในหลายจังหวัด (ASTVผู้จัดการออนไลน์, 2557)
มาตรฐานผลิตภัณฑ์
สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (2557 : 1-3) ได้กล่าวถึง มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ปลาส้ม ไว้ดังนี้
1. ความหมายของปลาส้ม
ปลาส้ม หมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากปลาที่ผ่านกรรมวิธีการหมักด้วยเกลือ ข้าวเจ้า สุกหรือข้าวเหนียวนึ่ง อาจเติมส่วนผสมอื่น เช่น กระเทียม พริกไทย จะมีรสเปรี้ยว ควรทำให้สุกก่อนบริโภค
2. ประเภทของปลาส้ม
พิมพ์เพ็ญ พรเฉลิมพงศ์และนิธิยา รัตนาปนนท์ (2560) ได้แบ่งปลาส้ม ออกเป็น 4 ประเภท คือ
1) ปลาส้มตัว เป็นปลาส้มที่ทำจากปลาทั้งตัวที่ผ่าท้องควักไส้ออกแล้ว
2) ปลาส้มชิ้นเป็นปลาส้มที่ทำจากเนื้อปลาล้วนหั่นเป็นชิ้นตามขวางของลำตัวปลา
3) ปลาส้มเส้น เป็นปลาส้มที่ทำจากเนื้อปลาล้วนที่หั่นเป็นเส้น
4) ปลาส้มฟัก หรือ แหนมปลา เป็นปลาส้มที่ทำจากเนื้อปลาล้วนที่บดหรือสับ
3. คุณลักษณะของปลาส้มที่ดี
1) ลักษณะภายนอกต้องอยู่สภาพเรียบร้อย สะอาด อาจมีน้ำซึมได้เล็กน้อย ในภาชนะบรรจุเดียวกันต้องเป็นปลาชนิดเดียวกัน ยังคงสภาพเป็นตัว ชิ้น หรือเส้น เนื้อแน่น ไม่ยุ่ย
2) ต้องมีสีดีตามธรรมชาติปลาส้ม
3) ต้องมีกลิ่นที่ดีตามธรรมชาติของปลาส้ม ไม่มีกลิ่นอื่นที่ไม่พึ่งประสงค์ เช่น กลิ่นอับ กลิ่นหืน
4) ต้องมีกลิ่นรสที่ดีตามธรรมชาติของปลาส้ม ไม่มีกลิ่นรสอื่นที่ไม่พึงประสงค์ เช่น กลิ่นรสเปรี้ยวบูด
5) ต้องไม่พบสิ่งแปลกปลอมที่ไม่ใช่ส่วนประกอบที่ใช้ เช่น เส้นผม ดิน ทราย กรวด ชิ้นส่วนหรือปฏิกูลจากสัตว์
6) ความเป็นกรด-ด่าง ต้องไม่เกิน 4.6 เมื่อถึงกำหนดวัน เดือน ปีที่เริ่มบริโภค
7) สารปนเปื้อน
- ตะกั่ว ต้องน้อยกว่า 1 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
- สารหนูในรูปอนินทรีย์ ต้องน้อยกว่า 2 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
- ปรอท ต้องน้อยกว่า 0.5 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
- แคดเมียม ต้องน้อยกว่า 2 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
8) วัตถุเจือปนอาหาร
- ห้ามใช้สีสังเคราะห์ทุกชนิด
- หากมีการใช้วัตถุกันเสีย ให้ใช้ได้ตามชนิดและปริมาณที่กฎหมายกำหนด
- หากมีการใช้โซเดียมหรือโพแทสเซียมไนเทรต ให้ใช้ได้ไม่เกิน 500 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม หรือโซเดียมหรือโพแทสเซียมไนไทรต์ต้องไม่เกิน 125 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม หรือถ้าใช้โซเดียวหรือโพแทสเซียมไนเทรตและโซเดียมหรือโพแทสเซียมไนไทรต์ รวมกันต้องไม่ เกิน 125 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม โดยปริมาณโซเดียมไนเทรตและ/หรือโซเดียมไนไทรต์ที่ตรวจสอบ พบในผลิตภัณฑ์น้อยกว่า 125 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
- หากมีการใช้ฟอสเฟตในรูปของโมโน-ได-และโพลิของเกลือโซเดียมหรือโพแทสเซียมอย่างใดอย่างหนึ่งหรือรวมกัน ตามชนิดที่กฎหมายกำหนด (คำนวณเป็นฟอสฟอรัสทั้งหมด) ต้องไม่เกิน 2,200 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม โดยไม่รวมกับปริมาณฟอสฟอรัสที่มีในธรรมชาติ

7. วัตถุประสงค์

วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์ปลาส้มมีรายได้เพิ่มขึ้น

กลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์ปลาส้มมีรายได้เพิ่มขึ้นจากรายได้เดิม 20 เปอร์เซ็นต์

20.00 4.00

8. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
กลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์ 200

9. ระยะเวลา

10. วิธีดำเนินงาน

กิจกรรมที่ 1 การสำรวจพื้นที่เป้าหมาย

ชื่อกิจกรรม
การสำรวจพื้นที่เป้าหมาย
วัตถุประสงค์
    รายละเอียดกิจกรรม
    ได้พื้นที่เป้าหมาย
    ระยะเวลาดำเนินงาน
    6 มกราคม 2563 ถึง 31 พ.ค. 2563
    ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
    ทราบกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์
    ทรัพยากรอื่น ๆ
    ภาคีร่วมสนับสนุน
    สำนักงานสาธารณสุขอำเภอสหัสขันธ์
    รายละเอียดงบประมาณ
    ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
    ค่าพาหนะเดินทาง - รถยนต์ส่วนบุคคล 10 ครั้ง 500 10 50,000
    รวมค่าใช้จ่าย 50,000

    กิจกรรมที่ 2 ประชุมย่อย

    ชื่อกิจกรรม
    ประชุมย่อย
    วัตถุประสงค์
      รายละเอียดกิจกรรม
      ประชุมย่อยเพื่อสอบถามปัญหาและความต้องการของชุมชนในการพัฒนาปลาส้ม
      ระยะเวลาดำเนินงาน
      6 มกราคม 2563 ถึง 31 มกราคม 2563
      ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
      ทราบปัญหาและความต้องการของชุมชนในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ปลาส้ม
      ทรัพยากรอื่น ๆ
      ภาคีร่วมสนับสนุน
      สำนักงานเกษตรอำเภอสหัสขันธ์
      รายละเอียดงบประมาณ
      ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
      ค่าตอบแทนการประสานงาน 10 ครั้ง 500 10 50,000
      รวมค่าใช้จ่าย 50,000

      กิจกรรมที่ 3 ศึกษากระบวนการผลิตปลาส้มสูตรดั้งเดิม

      ชื่อกิจกรรม
      ศึกษากระบวนการผลิตปลาส้มสูตรดั้งเดิม
      วัตถุประสงค์
        รายละเอียดกิจกรรม
        ระยะเวลาดำเนินงาน
        1 กุมภาพันธ์ 2563 ถึง 29 กุมภาพันธ์ 2563
        ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
        ทราบกระบวนการผลิตปลาส้มในแต่ละกลุ่ม/นำองค์ความรู้มาปรับปรุงและพัฒนาผลิตภัณฑ์ปลาส้ม
        ทรัพยากรอื่น ๆ
        ภาคีร่วมสนับสนุน
        สำนักงานสาธารณสุขอำเภอสหัสขันธ์
        รายละเอียดงบประมาณ
        ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
        ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้ 8 ครั้ง 1,000 8 64,000
        ค่าตอบแทนการประสานงาน 10 คน 180 30 54,000
        รวมค่าใช้จ่าย 118,000

        กิจกรรมที่ 4 การตรวจสอบกระบวนการผลิต

        ชื่อกิจกรรม
        การตรวจสอบกระบวนการผลิต
        วัตถุประสงค์
          รายละเอียดกิจกรรม
          ระยะเวลาดำเนินงาน
          1 กุมภาพันธ์ 2563 ถึง 29 กุมภาพันธ์ 2563
          ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
          ทราบลักษณะการผลิตปลาส้มในแต่ละกลุ่ม/ปรับปรุงแก้ไขลักษณะการผลิตปลาส้มในแต่ละกลุ่มให้ถูกต้องตามมาตรฐาน/นำองค์ความรู้มาปรับปรุงและพัฒนาผลิตภัณฑ์ปลาส้ม
          ทรัพยากรอื่น ๆ
          ภาคีร่วมสนับสนุน
          รายละเอียดงบประมาณ
          ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
          ค่าตอบแทนวิทยากร 2 คน 1,800 8 28,800
          ค่าถ่ายเอกสาร 50 คน 50 8 20,000
          ค่าอาหาร 50 คน 100 8 40,000
          ค่าตอบแทนผู้เข้าร่วมประชุม 50 คน 180 8 72,000
          รวมค่าใช้จ่าย 160,800

          กิจกรรมที่ 5 การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่และออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้ถูกต้องตามหลักสุขอนามัยได้รับการรองรับตามมาตรฐาน อย.

          ชื่อกิจกรรม
          การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่และออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้ถูกต้องตามหลักสุขอนามัยได้รับการรองรับตามมาตรฐาน อย.
          วัตถุประสงค์
            รายละเอียดกิจกรรม
            การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่และออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้ถูกต้องตามหลักสุขอนามัยได้รับการรองรับตามมาตรฐาน อย.
            ระยะเวลาดำเนินงาน
            1 มีนาคม 2563 ถึง 31 มีนาคม 2563
            ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
            ได้ผลิตภัณฑ์ใหม่และออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้ถูกต้องตามหลักสุขอนามัยได้รับการรองรับตามมาตรฐาน อย./ผลิตภัณฑ์ใหม่สามารถสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนและผู้ประกอบการ
            ทรัพยากรอื่น ๆ
            ภาคีร่วมสนับสนุน
            สำนักงานสาธารณสุขอำเภอสหัสขันธ์
            รายละเอียดงบประมาณ
            ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
            ค่าตอบแทนวิทยากร 2 คน 1,800 8 28,800
            ค่าตอบแทนผู้เข้าร่วมประชุม 50 คน 180 8 72,000
            รวมค่าใช้จ่าย 100,800

            กิจกรรมที่ 6 พัฒนาช่องทางและรูปแบบการจำหน่ายผลิตภัณฑ์

            ชื่อกิจกรรม
            พัฒนาช่องทางและรูปแบบการจำหน่ายผลิตภัณฑ์
            วัตถุประสงค์
              รายละเอียดกิจกรรม
              ดำเนินการพัฒนาช่องทางและรูปแบบการจำหน่ายผลิตภัณฑ์
              ระยะเวลาดำเนินงาน
              1 เมษายน 2563 ถึง 30 เมษายน 2563
              ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
              ได้ช่องทางและรูปแบบการจำหน่ายผลิตภัณฑ์/การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ช่องทางใหม่สามารถสร้างรายได้เพิ่มขึ้นให้แก่กลุ่มแปรรูปและผู้ประกอบการ
              ทรัพยากรอื่น ๆ
              ภาคีร่วมสนับสนุน
              สำนักงานสาธารณสุขอำเภอสหัสขันธ์
              รายละเอียดงบประมาณ
              ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
              ค่าตอบแทนวิทยากร 2 คน 1,800 2 7,200
              ค่าอาหาร 20 คน 180 2 7,200
              รวมค่าใช้จ่าย 14,400

              รวมงบประมาณทุกกิจกรรมของแผนการดำเนินงาน จำนวน 494,000.00 บาท

              ค่าตอบแทนค่าใช้สอยค่าวัสดุรวมเงิน
              ค่าใช้จ่าย (บาท) 312,800.00 117,200.00 64,000.00 494,000.00
              เปอร์เซ็นต์ (%) 63.32% 23.72% 12.96% 100.00%

              11. งบประมาณ

              494.00บาท

              12. การติดตามประเมินผล

              ต่อชุมชนต่อนักศึกษา
              ผลผลิต (Output) กลุ่มแปรรูปปลาส้ม สามารถแปรรูปผลิตภัณฑ์ปลาส้มถูกหลักอนามัยและผลิตได้ตามมาตรฐานที่กำหนด นักศึกษามีองค์ความรูู้ในการนำไปต่อยอดอาชีพในอนาคต
              นักศึกษาทราบปัญหา และได้องค์ความรู้ในการแก้ปัญหา เพื่อใช้ในรายวิชาปัญหาพิเศษ ซึ่งทำให้เกิดผลงานวิจัยที่ดี และสามารถนำผลานวิจัยไปตีพิมพ์บทความลงวารสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องได้
              ผลลัพธ์ (Outcome) กลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์ปลาส้มที่เข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติการสามารถนำองค์ความรู้จากการเข้าอบรมไปแปรรูปผลิตภัณฑ์ปลาส้มและผลิตภัณฑ์ปลาส้มสูตรใหม่ให้ได้คุณภาพตามมาตรฐาน อย. มีบรรจุภัณฑ์ของตนเอง และรู้ช่องทางในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์เพื่อเป็นการสร้างรายได้ให้แก่ตนเองและชุมชน ซึ่งจะทำให้ชุมชนมีความเข้มแข็งเพิ่มขึ้น นักศึกษาได้มีการพัฒนาองค์ความรู้ของตนเอง เป็นการเพิ่มทักษะการทำงานก่อนออกไปทำงานในประสบการณ์จริง เป็นการฝึกการเรียนรู้ให้อยู่กับสงคม ชุมชนได้เป็นอย่างดี
              ผลกระทบ (Impact) ด้านเศรษฐกิจ
              อาหารท้องถิ่นประเภทปลาส้มได้รับการต่อยการเข้าสู่ระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์อาหารท้องถิ่นโดยมีความสะอาดปลอดภัยและจำหน่ายได้ราคา
              ด้านสังคมและชุมชน
              กลุ่มแปรรูปปลาส้ม สามารถแปรรูปผลิตภัณฑ์ปลาส้มถูกหลักอนามัยและผลิตได้ตามมาตรฐานที่กำหนดเป็นชุมชนตัวอย่างที่มีการพัฒนา
              ด้านเศรษฐกิจ
              นักศึกษามีรายได้จากการทำงาน
              ด้านสังคมและชุมชน
              นักศึกษาสามารถทำงานร่วมกับชุมชนได้ และทำให้นักศึกษาสามารถทำงานในสถานประกอบการขนาดใหญ่ได้เป็นอย่างดี
              นำเข้าสู่ระบบโดย YanisaPoratso YanisaPoratso เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2562 20:01 น.