โครงการจัดทำฐานข้อมูลเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุของชมรมผู้สูงอายุตำบลขุนทะเล

แบบเสนอโครงการ
โครงการจัดทำฐานข้อมูลเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุของชมรมผู้สูงอายุตำบลขุนทะเล

1. ชื่อโครงการ

โครงการจัดทำฐานข้อมูลเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุของชมรมผู้สูงอายุตำบลขุนทะเลมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานีคณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการเทศบาลตำบลขุนทะเล/ศูนย์อาสาสมัครเพื่อสังคม วข.สุราษฎร์ธานีเทศบาลตำบลขุนทะเลดร.พิเชตวุฒิ นิลละออ31 ม.6 ต.มะขามเตี้ย อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี0815367779คณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุ
ประธาน อสม.
ผู้อำนวยการกองสวัสดิการสังคมเทศบาลตำบลขุนทะเล
ผู้รับผิดชอบงานกิจกรรมผู้สูงอายุเทศบาลตำบลขุนทะเล

2. พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
สุราษฎร์ธานี เมืองสุราษฎร์ธานี ขุนทะเล
สุราษฎร์ธานี เมืองสุราษฎร์ธานี ขุนทะเล ชานเมือง

3. รายละเอียดชุมชน

๑. ด้านกายภาพ
ที่ตั้งของตำบล
ตำบลขุนทะเล ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของอำเภอเมืองสุราษฎร์ธานีระยะห่างจากตัวเมืองสุราษฎร์ธานี ประมาณ ๑๘ กิโลเมตร (ที่มา : http//www.novabizz.com/Map. 17/3/2559) 1.1.1 แนวเขตเทศบาลตำบลขุนทะเล
ด้านเหนือ จากหลักเขตที่ ๑ เป็นเส้นเลียบไปตามริมบึงขุนทะเลฝั่งตะวันออก ตรงไปทาง ทิศเหนือไปบรรจบที่บริเวณหัวสะพานข้ามคลองมะขามเตี้ยทางทิศตะวันออกถึงหลักเขตที่บริเวณพิกัด NL ๓๖๙๐๔๓
จากหลักเขตที่ ๒ เป็นเส้นเลียบตามแนวถนนท่าโรงช้างทางฟากใต้เลียบไปตามแนวถนน ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๐๙ ทางฟากตะวันออกผ่านวัดนิคมธรรมารามบรรจบถนนเพชรนครินทร์ ทางฟากใต้ถึงหลักเขตที่ ๓ บริเวณพิกัด NL ๓๘๖๐๓๕
จากหลักเขตที่ ๓ เป็นเส้นเลียบไปตามแนวถนนเพชรนครินทร์ทางฟากใต้ตามแนวลำห้วย สาธารณะประโยชน์ (ห้วยตาหมิง) ไปบรรจบถนนสายตรีบริเวณหัวสะพานห้วยสาธารณะประโยชน์ (ห้วยจันทร์เสือ) ทางทิศใต้ถึงหลักเขตที่ ๔ บริเวณพิกัด NL ๔๐๓๐๕๐
จากหลักเขตที่ ๔ เป็นเส้นเลียบไปตามแนวสายตรีทางฟากตะวันออกไปบรรจบที่ถนน ซอย ๒ ทางฟากเหนือถึงหลักเขตที่ ๕ บริเวณพิกัด NL ๔๒๑๐๒๒
ด้านตะวันออก จากหลักเขตที่ ๕ เป็นเส้นเลียบไปตามแนวถนนบ้านนิคม ซอย ๒ ทาง ฟากเหนือไปบรรจบริมคลองบางด้วนทางฝั่งตะวันตกถึงหลักเขตที่ ๖ บริเวณพิกัด NL ๔๓๔๐๒๔
จากหลักเขตที่ ๖ เป็นเส้นเลียบตามแนวกึ่งกลางคลองบางด้วนทางทิศใต้ไปบรรจบคลองพับหวายเป็น เส้นเลียบกึ่งกลางคลองพับหวายทางทิศใต้ไปบรรจบถนนซอย ๑๒ ถึงหลักเขตที่ ๗ บริเวณพิกัด NL ๔๓๘๙๒๑
ด้านใต้ จากหลักเขตที่ ๗ เป็นเส้นเลียบตามแนวถนน ซอย ๑๒ ทางฟากใต้ตัดผ่านถนน ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๐๙ ไปบรรจบถนนสายจัตวาหลังตรงไปตามแนวถนนเดิมไปบรรจบ คลองเรือ รวมระยะประมาณ ๔๐๐ เมตร ถึงหลักเขตที่ ๘ บริเวณพิกัด NK ๓๙๓๙๐๙
ด้านตะวันตก จากหลักเขตที่ ๘ เป็นเส้นเลียบตามแนวกึ่งกลางคลองเรือไปทางทิศ ตะวันตกเฉียงเหนือไปบรรจบทางหลวงชนบทที่ สฏ. ๔๐๑๖ บ่อกรัง – หนองหญ้าปล้องบริเวณหัวสะพาน ทางทิศตะวันออกถึงหลักเขตที่ ๙ บริเวณพิกัด NK ๓๕๓๙๕๘ จากหลักเขตที่ ๙ เลียบไปตามแนวกึ่งกลางคลองทับบกทางทิศเหนือไปบรรจบคลอง บ้านใหม่เป็นเส้นเลียบกึ่งกลางคลองบ้านใหม่ทางทิศเหนือไปบรรจบปลายบึงขุนทะเล ถึงหลักเขตที่ ๑ บริเวณพิกัด NL ๓๖๔๐๒๑
๒. ด้านการเมือง/การปกครอง
เขตการปกครอง เขตการปกครอง แบ่งเป็น ๑๐ หมู่บ้าน
หมู่ที่ ๑ บ้านนิคม หมู่ที่ ๒ บ้านท่าอู่ หมู่ที่ ๓ บ้านดอนเกลี้ยง
หมู่ที่ ๔ บ้านควนยูง หมู่ที่ ๕ บ้านซอย ๑๐ หมู่ที่ ๖ บ้านห้วยเสียน
หมู่ที่ ๗ บ้านใหม่นิคม หมู่ที่ ๘ บ้านคลองเรือ หมู่ที่ ๙ บ้านภูธรอุทิศ
และหมู่ที่ ๑๐ บ้านใหม่จัตวา

เทศบาลตำบลขุนทะเล ได้จัดตั้งชุมชน จำนวน ๑๐ ชุมชน ตามระเบียบเทศบาลตำบลขุนทะเลว่าด้วยคณะกรรมการชุมชน พ.ศ.๒๕๕๘ เมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๕๘ มีผลบังคับใช้วันที่ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ ประกอบด้วย
หมู่ที่ 1 ชุมชนนิคม ครอบคลุมพื้นที่ในการปกครองทั้งหมดของบ้านนิคม
หมู่ที่ 2 ชุมขนท่าอู่ ครอบคลุมพื้นที่ในการปกครองทั้งหมดของบ้านท่าอู่
หมู่ที่ 3 ชุมชนดอนเกลี้ยง ครอบคลุมพื้นที่ในการปกครองทั้งหมดของบ้านดอนเกลี้ยง
หมู่ที่ 4 ชุมชนควนยูง ครอบคลุมพื้นที่ในการปกครองทั้งหมดของบ้านควนยูง
หมู่ที่ 5 ชุมชนซอยสิบ ครอบคลุมพื้นที่ในการปกครองทั้งหมดของบ้านซอยสิบ
หมู่ที่ 6 ชุมชนห้วยเสียน ครอบคลุมพื้นที่ในการปกครองทั้งหมดของบ้านห้วยเสียน
หมู่ที่ 7 ชุมชนใหม่นิคม ครอบคลุมพื้นที่ในการปกครองทั้งหมดของบ้านใหม่นิคม
หมู่ที่ 8 ชุมชนคลองเรือ ครอบคลุมพื้นที่ในการปกครองทั้งหมดของบ้านคลองเรือ
หมู่ที่ 9 ชุมชนภูธรอุทิศ ครอบคลุมพื้นที่ในการปกครองทั้งหมดของบ้านภูธรอุทิศ
และหมู่ที่ 10 ชุมชนใหม่จัตวา

๓.ประชากร
๓.๑ ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากร ประชากรในเขตเทศบาลตำบลขุนทะเล มีจำนวน ๑๐,๘๓๓ ครัวเรือน จำนวนประชากร ทั้งสิ้น ๑๓,๔๗๗ คน แยกเป็นชาย ๖,๕๓๓ คน หญิง ๖,๙๔๔ คน
๓.๒ ช่วงอายุและจำนวนประชากรประชากรในเขตเทศบาลตำบลขุนทะเล ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ ๓๑ - ๔๐ ปีจำนวน ๒,๒๐๘ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๖.๔๘ รองลงมาอยู่ในช่วงอายุ ๔๑-๕๐ ปีจำนวน ๒,๑๖๕ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๖.๒๗ ซึ่งเป็นช่วงวัยของการทำงาน อย่างไรก็ตามประชากรในเขตเทศบาลตำบลขุนทะเล ที่อยู่ในช่วงวัย เด็ก อายุน้อยกว่า ๑-๑๐ ปีมีจำนวน ๑,๙๐๒ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๔.๔๙ และช่วงผู้สูงวัย อายุ ๖๑-๑๐๐ ปีมีจำนวน ๑,๕๙๙ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๒.๑๘ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา

๔. สาธารณสุข
๑) สถานบริการสาธารณสุขของรัฐบาล จำนวน ๓ แห่ง ได้แก่
- โรงพยาบาลมะเร็งสุราษฎร์ธานี
- สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯ บ้านควนยูง หมู่ที่ ๔
- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนิคมสร้างตนเองตำบลขุนทะเล หมู่ที่ ๑
๒) สถานบริการสาธารณสุขของเอกชน จำนวน ๑๙ แห่ง ได้แก่
- คลินิกแพทย์ ๑ แห่ง
- คลินิกทันตแพทย์ ๒ แห่ง
- คลินิกพยาบาล๘ แห่ง
- ร้านขายยาแผนปัจจุบัน๘ แห่ง
๓) จำนวนและอัตราสถิติชีพ ตำบลขุนทะเล มีแนวโน้มอัตราการเพิ่มประชากรตามธรรมชาติในปี ๒๕๖๑ ลดลงอยู่ที่ ๒.๑๙ โดยมีอัตราการเกิด มีชีพ ๖.๕๖ ต่อประชากรพันคน อัตราการตาย ๔.๓๗ ต่อประชากรพันคน
1.มีสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา
2.เป็นที่ตั้งของหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ เช่น พมจ./รพ.สต./นิคมสร้างตนเอง ฯลฯ
3.มีชมรมผู้สูงอายุที่มีกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง
4.เทศบาลตำบลขุนทะเลมีนโยบายสนับสนุนกิจกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่อง
5.มีภาคีเครือข่ายที่ขับเคลื่อนกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในพื้นที่ เช่น สพปส./สสส./สปสช.
-การดำเนินกิจกรรมของชมรมผู้สูงอายุยังขาดข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน และไม่สอสดคล้องกับความต้องการของผู้สูงอายุ
-ขาดการบูรณาการของกิจกรรมผู้สูงอายุกับหน่วยงานต่างๆ
-คณะกรรมการชมรมยังขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการบริหารจัดการชมรมผู้สูงอายุ
1.ฐานข้อมูลผู้สูงอายุที่เป็นปัจจุบันและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้
2.แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุตำบลขุนทะเล
3.เสริมสร้างความเข้มแข็งของชมรมผู้สูงอายุตำบลขุนทะเล

4. ประเด็นปัญหาหลัก

5. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

6. องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

1.การพัฒนาคุณภาพชีวิต
2.ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
3.การบริหารจัดการ

7. วัตถุประสงค์

วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อจัดทำฐานข้อมูลเชิงพื้นที่ของชมรมผู้สูงอายุตำบลขุนทะเล โดยใช้ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์

มีระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ของผู้สูงอายุบนระบบออนไลน์ ร้อยละ 80 (ประมาณ 300 คน)

1.00 1.00
2 2.เพื่อออกแบบกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่สอดคล้องกับข้อมูลผู้สูงอายุ

กิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่สอดคล้องกับข้อมูลผู้สูงอายุ 3 กิจกรรม

3.00 3.00
3 3.เพื่อพัฒนาศักยภาพของคณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุตำบลขุนทะเล

ร้อยละ 80 ของคณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุตำบลขุนทะเลมีศักยภาพสูงขึ้น

15.00 15.00

8. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
คณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุตำบลขุนทะเล 15
สมาชิกชมรมผู้สูงอายุตำบลขุนทะเล 400

9. ระยะเวลา

10. วิธีดำเนินงาน

กิจกรรมที่ 1 1.พัฒนาระบบฐานข้อมูลเชิงพื้นที่ของชมรมผู้สูงอายุตำบลขุนทะเล

ชื่อกิจกรรม
1.พัฒนาระบบฐานข้อมูลเชิงพื้นที่ของชมรมผู้สูงอายุตำบลขุนทะเล
วัตถุประสงค์
  1. 1.เพื่อจัดทำฐานข้อมูลเชิงพื้นที่ของชมรมผู้สูงอายุตำบลขุนทะเล โดยใช้ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์
รายละเอียดกิจกรรม
1.ประชุมชี้แจงสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับรายละเอียดโครงการพร้อมทั้งระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชมรมผู้สูงอายุตำบลขุนทะเล
2.จัดเก็บข้อมูลคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ
3.จัดทำฐานข้อมูลเชิงพื้นที่ของชมรมผู้สูงอายุตำบลขุนทะเล โดยใช้ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์
4.ฝึกอบรมการใช้ฐานข้อมูลและพัฒนาระบบ
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2563 ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
1.กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 400 คน เข้าใจเกี่ยวกับรายละเอียดโครงการ
2.มีแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุตำบลขุนทะเลที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน
3.มีฐานข้อมูลคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุตำบลขุนทะเลโดยใช้ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์
4.คณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุมีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถประโยชน์จากฐานข้อมูลได้
ทรัพยากรอื่น ๆ
ภาคีร่วมสนับสนุน
-สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดสุราษฎร์ธานี(สนับสนุนวิทยากร)
-รพ.สต.ขุนทะเล (สนับสนุนข้อมูลพื้นฐานผู้สูงอายุในเขต พท.รับผิดชอบ)
-สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติบ้านควนยูง (สนับสนุนข้อมูลพื้นฐานผู้สูงอายุในเขต พท.รับผิดชอบ)
รายละเอียดงบประมาณ
ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
ค่าตอบแทนการประสานงาน

กิจกรรมระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชมรมผู้สูงอายุตำบลขุนทะเล

1 ครั้ง 1,000 4 4,000
ค่าตอบแทนวิทยากร

กิจกรรมระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชมรมผู้สูงอายุตำบลขุนทะเล

1 คน 3,000 4 12,000
ค่าจ้างทำป้ายประชาสัมพันธ์

ไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการ

1 ชิ้น 1,000 1 1,000
ค่าอาหาร

อาหารกลางวัน 1 มื้อ (มื้อละ 100 บาท) อาหารว่าง 1 มื้อ (มื้อละ 20 บาท)

100 คน 120 4 48,000
ค่าวัสดุสำนักงาน

กระดาษเอ 4 กระดาษคลิปชาร์ต อุปกรณ์เครื่องเขียน ฯลฯ

100 ชุด 30 4 12,000
ค่าถ่ายเอกสาร

เอกสารประกอบการอบรม แบบสอบถาม แบบประเมิน ฯลฯ

100 คน 30 4 12,000
ค่าพาหนะเดินทาง - รถยนต์ส่วนบุคคล

ค่าเดินทางลงพื้นที่เดือนละ 2-3 ครั้ง/คน

3 คน 500 20 30,000
ค่าพาหนะเดินทาง - ค่าเดินทางในพื้นที่

ค่าเดินทางเหมาจ่ายในพื้นที่ของผู้เข้าร่วมกิจกรรม

100 คน 100 4 40,000
อื่น ๆ

จัดเก็บข้อมูลคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ

400 ชุด 50 1 20,000
อื่น ๆ

ค่าพัฒนาโปรแกรมและกรอกข้อมูลผู้สูงอายุ

1 ชิ้น 50,000 1 50,000
ค่าตอบแทนวิทยากร

ค่าอาหารกลางวัน 100 บาท ค่าอาหารว่าง 20 บาท

20 คน 120 2 4,800
รวมค่าใช้จ่าย 233,800

กิจกรรมที่ 2 ออกแบบกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่สอดคล้องกับข้อมูลผู้สูงอายุ

ชื่อกิจกรรม
ออกแบบกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่สอดคล้องกับข้อมูลผู้สูงอายุ
วัตถุประสงค์
  1. 2.เพื่อออกแบบกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่สอดคล้องกับข้อมูลผู้สูงอายุ
รายละเอียดกิจกรรม
-จัดเวทีระดมความคิดเห็นเพื่อออกแบบกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุโดยผู้เกี่ยวข้อง
(สมาชิกชมรมผู้สูงอายุ/พมจ./รพ.สต./เทศบาล)
-กำหนดแนวทางพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ
-จัดทำแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2563 ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
-แนวทางพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน
-แผนพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน
ทรัพยากรอื่น ๆ
ภาคีร่วมสนับสนุน
-สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดสุราษฎร์ธานี(สนับสนุนวิทยากร)
-รพ.สต.ขุนทะเล (สนับสนุนข้อมูลพื้นฐานผู้สูงอายุในเขต พท.รับผิดชอบ)
-สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติบ้านควนยูง (สนับสนุนข้อมูลพื้นฐานผู้สูงอายุในเขต พท.รับผิดชอบ)
รายละเอียดงบประมาณ
ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
ค่าตอบแทนวิทยากร

-วิทยากรกระบวนการระดมความคิดเห็นกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ

3 คน 1,000 1 3,000
ค่าอาหาร

ค่าอาหารกลางวัน 100 บาท ค่าอาหารว่าง 20 บาท

50 คน 120 1 6,000
รวมค่าใช้จ่าย 9,000

กิจกรรมที่ 3 พัฒนาศักยภาพของคณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุตำบลขุนทะเล

ชื่อกิจกรรม
พัฒนาศักยภาพของคณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุตำบลขุนทะเล
วัตถุประสงค์
  1. 3.เพื่อพัฒนาศักยภาพของคณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุตำบลขุนทะเล
รายละเอียดกิจกรรม
-จัดอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพของคณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุตำบลขุนทะเล (มีความรู้ความเข้าใจระบบ แผนพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและสามารถใช้ประโยชน์ข้อมูลจากระบบได้)
-เชื่อมโยงแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุกับแผนงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง (เช่น เทศบาล/พมจ./รพ.สต.)
-เวทีถอดบทเรียนคณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุตำบลขุนทะเล
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2563 ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
-คณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุตำบลขุนทะเลมีความรู้ความเข้าใจระบบฯ แผนพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ และสามารถนำข้อมูลจากระบบไปใช้ประโยชน์ได้
-สามารถเชื่อมโยงแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุกับแผนงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง (เช่น เทศบาล/พมจ./รพ.สต.)ได้
ทรัพยากรอื่น ๆ
ภาคีร่วมสนับสนุน
-สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดสุราษฎร์ธานี(สนับสนุนวิทยากร)
-รพ.สต.ขุนทะเล (สนับสนุนข้อมูลพื้นฐานผู้สูงอายุในเขต พท.รับผิดชอบ)
-สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติบ้านควนยูง (สนับสนุนข้อมูลพื้นฐานผู้สูงอายุในเขต พท.รับผิดชอบ)
รายละเอียดงบประมาณ
ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
ค่าตอบแทนวิทยากร

-อบรมพัฒนาศักยภาพของคณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุตำบลขุนทะเล -ถอดบทเรียนคณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุตำบลขุนทะเล

2 คน 2,000 4 16,000
ค่าอาหาร

ค่าอาหารกลางวัน 100 บาท ค่าอาหารว่าง 20 บาท

20 คน 120 4 9,600
รวมค่าใช้จ่าย 25,600

รวมงบประมาณทุกกิจกรรมของแผนการดำเนินงาน จำนวน 268,400.00 บาท

ค่าตอบแทนค่าจ้างค่าใช้สอยค่าวัสดุอื่น ๆรวมเงิน
ค่าใช้จ่าย (บาท) 39,800.00 1,000.00 145,600.00 12,000.00 70,000.00 268,400.00
เปอร์เซ็นต์ (%) 14.83% 0.37% 54.25% 4.47% 26.08% 100.00%

11. งบประมาณ

268.00บาท

12. การติดตามประเมินผล

ต่อชุมชนต่อนักศึกษา
ผลผลิต (Output) 1.กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 400 คน เข้าใจเกี่ยวกับรายละเอียดโครงการ
2.มีแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุตำบลขุนทะเลที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน
3.มีฐานข้อมูลคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุตำบลขุนทะเลโดยใช้ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์
4.คณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุมีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถประโยชน์จากฐานข้อมูลได้
5.แนวทางพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน
6.แผนพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน
-นักศึกษา จำนวน 100 คน มีส่วนร่วมในการดำเนินงานโครงการทั้งระบบ(การเรียนรู้ชุมชน การจัดเก็บข้อมูล การพัฒนาระบบ การพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ
ผลลัพธ์ (Outcome) 1.ร้อยละ 80 กลุ่มเป้าหมาย เข้าใจรายละเอียดโครงการและมีส่วนร่วมพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุตำบลขุนทะเล
2.คณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุสามารถใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.มีกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน
-นักศึกษามีองค์ความรู้และร่วมกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุตำบลขุนทะเลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ผลกระทบ (Impact) 1.ร้อยละ 80 ของผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
2.เกิดการบูรณาการกับแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุกับแผนพัฒนาท้องถิ่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
3.สมาชิกชมรมผู้สูงอายุสามารถพึ่งตนเองได้และมีการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน
-นักศึกษาสามารถนำบทเรียนไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์กับการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชนอื่นได้
นำเข้าสู่ระบบโดย rattiya.ka rattiya.ka เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2562 17:58 น.