การพัฒนาทุนภูมิปัญญาผ้าทอย้อมคราม บ้านโพนแพง ตำบลดินจี่ จังหวัดกาฬสินธุ์

แบบเสนอโครงการ
การพัฒนาทุนภูมิปัญญาผ้าทอย้อมคราม บ้านโพนแพง ตำบลดินจี่ จังหวัดกาฬสินธุ์

1. ชื่อโครงการ

การพัฒนาทุนภูมิปัญญาผ้าทอย้อมคราม บ้านโพนแพง ตำบลดินจี่ จังหวัดกาฬสินธุ์มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์องค์การบริหารส่วนตำบลดินจี่บ้านโพนแพง ตำบลดินจี่ อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์อาจารย์มะลิวรรณ สุวรรณพฤกษ์ สาขาวิชานวัตกรรมเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น คณะศิลปศาสตร์มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ 13/14 ตำบลสงเปลือย อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์09237967381.อาจารย์ประจำสาขาวิชานวัตกรรมเพื่อการพัฒนาสังคม คณะศิลปศาสตร์
2.นางสาววรนุช นิลเขต อาจารย์สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์และนวัตกรรมการศึกษา
3.นางเยาวเรศ รัตนธารทอง อาจารย์สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์และนวัตกรรมการศึกษา
4.นางสาวปริมประภา รักษาวงษ์ นักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย บัตร ปชช.1400701298702 คณะศึกษาศาสตร์และนวัตกรรมการศึกษา (รายวิชา สารสนเทศชุมชน 3(2-2-5)
5.นายศุภกันต์ จันอะคะ นักศึกษาสาขาวิชานวัตกรรมเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น บัตร ปชช.146900125220 คณะศิลปศาสตร์ (วิชาปรัชญาและแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาท้องถิ่น 3(2-2-5)
6.นายประสิทธิ์ กั้ววิบูลย์ นักศึกษาสาขาวิชานวัตกรรมเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น บัตร ปชช.1461301216423 คณะศิลปศาสตร์ (วิชาปรัชญาและแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาท้องถิ่น 3(2-2-5)
7.นางสาวนงคราญ แก้วมุงคุณ นักศึกษาสาขาวิชานวัตกรรมเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น บัตร ปชช.1470800226954 คณะศิลปศาสตร์ (วิชาปรัชญาและแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาท้องถิ่น 3(2-2-5)
8.นางสาวเบญญทิพย์ ธนุการ นักศึกษาสาขาวิชานวัตกรรมเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น บัตร ปชช.1469900516456 คณะศิลปศาสตร์ (วิชาปรัชญาและแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาท้องถิ่น 3(2-2-5)
9.นางสาวกนกวรรณ นันทรัพย์ นักศึกษาสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ บัตร ปชช. 1460900109127 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสุขภาพ (วิชาจุลชีววิทยาและปรสิตวิทยาและปรสิตวิทยาสาธารณสุข 3(2-2-5)
10.นางสาวสุมินตรา สมบัติกำไร นักศึกษาสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ บัตร ปชช. 1419901954732 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสุขภาพ (วิชาจุลชีววิทยาและปรสิตวิทยาและปรสิตวิทยาสาธารณสุข 3(2-2-5)
11.นายจุฑา มาศภูมี นักศึกษาสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์บัตร ปชช. 1460200087864 คณะศิลปศาสตร์ (รายวิชา สารสนเทศชุมชน3(2-2-5)
12.นายวิระชัย ขันตี นักศึกษาสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์บัตร ปชช. 1471200334684 คณะศิลปศาสตร์(รายวิชา สารสนเทศชุมชน3(2-2-5)
13.นายจิรพงศ์ โพสมร นักศึกษาสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์บัตร ปชช. 1460500261070 คณะศิลปศาสตร์(รายวิชา สารสนเทศชุมชน3(2-2-5)

2. พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
กาฬสินธุ์ คำม่วง ดินจี่

3. รายละเอียดชุมชน

บ้านโพนแพง ตั้งอยู่ที่ ตำบลดินจี่ อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 3 หมู่ ได้แก่ หมู่ 4 หมู่ 5 และหมู่ 10 มีจำนวนประชากร จำนวน 549 ครัวเรือน มีประชากร2,326 คน ประชากรส่วนมากประกอบอาชีพเกษตรกรรม และทอผ้าฝ้ายย้อมครามหลังจากฤดูเก็บเกี่ยว มีกลุ่มวิสาหกิจชุมชนออมทรัพย์เพื่อการผลิตโพนแพง ตั้งอยู่ที่บ้านเลขที่ 101 หมู่ 4 จัดตั้งขึ้นเมื่อ วันที่ 21 มีนาคม 2542 มีสมาชิกทั้งหมด 70 ราย มีการทอผ้าฝ้ายย้อมครามสืบทอดกันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
ปัจจุบันชุมชนยังขาดการยกระดับทุนภูมิปัญญาผ้าทอย้อมคราม ในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาผ้าทอย้อมครามบ้านโพนแพง สู่เยาวชนและคนรุ่นใหม่ให้สืบทอด และสังเคราะห์ข้อมูลทุนภูมิปัญญาเพื่อนำไปสู่การใช้ประโยชน์เพื่อการพัฒนาเชิงสร้างสรรค์
ผลิตภัณฑ์ผ้าทอย้อมครามบ้านโพนแพงได้แก่
1. ผ้าสไบย้อมคราม
2. ผ้าซิ่นมัดหมี่ย้อมคราม
3. ตีนซิ่นย้อมคราม
4. หัวผ้าซิ่นย้อมคราม
5. เส้นฝ้ายเข็นมือย้อมคราม
6. เส้นฝ้ายเข็นมือ
การพัฒนาเป็นการทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนมีความสุข ความสะดวกสบาย ความอยู่ดีกินดี ความเจริญทางศิลปวัฒนธรรมและจิตใจและความสงบสันติ ซึ่งนอกจากจะขึ้นอยู่กับการได้รับปัจจัยทางวัตถุเพื่อสนองความต้องการของร่างกายแล้ว ประชาชนยังต้องการพัฒนาทางด้านการศึกษา สิ่งแวดล้อมที่ดี การพักผ่อนหย่อนใจ และการพัฒนาทางวัฒนธรรมและจิตใจด้านต่างๆ ด้วย ความต้องการทั้งหมดนี้บางครั้งเรียกว่าเป็นการพัฒนา “คุณภาพ” เพื่อที่ให้เห็นว่าการพัฒนาไม่ได้ขึ้นอยู่กับการเพิ่มปริมาณสินค้าหรือการเพิ่มรายได้เท่านั้น หากอยู่ที่การเพิ่มความพอใจความสุขของประชาชน อันนำไปสู่การสร้างสรรค์นวัตกรรมเป็นภูมิปัญญาที่สืบทอดต่อกันมา
ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นความรู้ของคนในท้องถิ่น ซึ่งได้มาจากประสบการณ์และความริเริ่มของคนในท้องถิ่น รวมทั้งความรู้ที่สั่งสมมาแต่บรรพบุรุษ สืบทอดจากรุ่นสู่รุ่นระหว่างการสืบทอดมีการปรับ ประยุกต์และเปลี่ยนแปลง พัฒนา สูญสลายหายไปบ้างและเกิดเป็นความรู้ใหม่ตามยุคสมัย หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นการใช้ภูมิปัญญาหรือความรู้ในท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นซึ่งเป็นความรู้ชุดใหม่ เป็นทรัพยากรทางปัญญาที่สำคัญ ไม่เพียงเพื่อสร้างความภาคภูมิใจในรากเหง้าของตนเอง แต่ยังเป็นทุนที่พร้อมจะแปรสภาพเป็นทุนอย่างอื่น อาทิ ทุนอุตสาหกรรมเพื่อสร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและบริการ ทุนทางวัฒนธรรมในการรักษาความเป็นเอกลักษณ์ของชาติ ทุนทางสังคมที่สร้างความเป็นกลุ่มก้อนทางสังคมอย่างสมานสามัคคี ภูมิปัญญาท้องถิ่นจึงเป็นฟันเฟืองสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศชาติในระดับต่างๆ ไปสู่ความก้าวหน้าบนรากเหง้าของท้องถิ่น (เทิดชาย ช่วยบำรุง. 2554 : 9-52) และทุนภูมิปัญญาที่โดดเด่นของไทยคือทุนภูมิปัญญาด้านผ้าทอซึ่งมีปรากฏทุกภาคของประเทศซึ่งมีเอกลักษณ์ที่โดเด่นแตกต่างกันไป จังหวัดกาฬสินธุ์เป็นจังหวัดหนึ่งที่มีชื่อเสียงด้านผ้าไหมแพรวา แต่น้อยคนนักที่จะทราบว่าจังหวัดกาฬสินธุ์เป็นพื้นที่ที่มีการผลิตผ้าทอย้อมครามที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย
การผลิตผ้าทอย้อมครามบ้านโพนแพง อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นการผลิตผ้าทอแบบดั้งเดิมเริ่มตั้งแต่กระบวนการ ปลูก จนถึงกระบวนการทอและแปรรูปผลิตภัณฑ์เพื่อใช้ในครัวเรือนและจำหน่าย หากแต่ยังขาดการจัดการและสังเคราะห์ข้อมูลทุนภูมิปัญญาเพื่อนำไปสู่การใช้ประโยชน์เพื่อการพัฒนาข้าพเจ้าจึงได้จัดทำโครงการการพัฒนาทุนภูมิปัญญาผ้าทอย้อมคราม บ้านโพนแพง ตำบลดินจี่ จังหวัดกาฬสินธุ์ ขึ้นโดยบูรณาการกับการเรียนการสอนรายวิชาเลือกเสรีในภาคเรียนที่ 2/2562 ชื่อรายวิชาการจัดการสารสนเทศชุมชน เพื่อจัดการสารสนเทศชุมชนทุนภูมิปัญญาผ้าทอย้อมครามบ้านโพนแพง และยกระดับทุนภูมิปัญญาผ้าทอย้อมครามบ้านโพนแพง โดยดำเนินการการจัดการสารสนเทศชุมชน จัดเก็บรวมรวมสารสนเทศชุมชนทุนภูมิปัญญาผ้าทอย้อมครามบ้านโพนแพง จัดทำแผนที่ทุนภูมิปัญญาผ้าทอย้อมครามบ้านโพนแพง และยกระดับทุนภูมิปัญญาผ้าทอย้อมครามบ้านโพนแพง โดยสังเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน วิเคราะห์สถานการณ์ภูมิปัญญา วิเคราะห์โอกาสในพื้นที่ โดยชุมชนมีส่วนร่วม เพื่อนำไปสู่ยกระดับทุนภูมิปัญญาผ้าทอย้อมคราม ในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาผ้าทอย้อมครามบ้านโพนแพง เพื่อนำไปสู่การพัฒนาพื้นที่ที่ยั่งยืน
ชุมชนต้องการการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาผ้าทอย้อมครามบ้านโพนแพง สู่เยาวชนและคนรุ่นใหม่ให้สืบทอด และสังเคราะห์ข้อมูลทุนภูมิปัญญาเพื่อนำไปสู่การใช้ประโยชน์เพื่อการพัฒนาเชิงสร้างสรรค์

4. ประเด็นปัญหาหลัก

5. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

6. องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

6.1 องค์ความรู้ในการจัดการสารสนเทศภูมิปัญญาท้องถิ่น
การจัดการสารสนเทศภูมิปัญญาท้องถิ่นมีกระบวนการดำเนินงานคือ การวางแผน การพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศภูมิปัญญาท้องถิ่น การวิเคราะห์หมวดหมู่และทำรายการทรัพยากรสารสนเทศภูมิปัญญาท้องถิ่น การเผยแพร่และบริการสารสนเทศภูมิปัญญาท้องถิ่น และการอนุรักษ์และสงวนบำรุงรักษาสารสนเทศภูมิปัญญาท้องถิ่น มีรายละเอียดดังนี้
การวางแผนมีแนวคิดในการวางแผน คือ 1) การออกแบบในการดำเนินการจัดการสารสนเทศท้องถิ่น 2) ความอิสระในเรื่องสารสนเทศ 3) ย้อนผลสู่ชุมชน 4) การรวมมือทุกระดับ 5) ความคิดในการทำงานร่วมกัน 6) ปัญหาและแนวทางแก้ปัญหา การพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศภูมิปัญญาท้องถิ่นมีรายละเอียดในการดำเนินการคือ การวางแผนในด้านการจัดหา การรวบรวมทรัพยากรสารสนเทศท้องถิ่น ด้วยการสั่งซื้อ ขอรับบริจาค แลกเปลี่ยน ทำสำเนา ผลิตเอง และการประเมินค่าสารสนภูมิปัญญาเทศท้องถิ่นเพื่อให้ได้ทรัพยากรสารสนเทศท้องถิ่นที่สอดคล้องกับนโยบายการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศท้องถิ่น
บริการสารสนเทศในองค์การสารสนเทศท้องถิ่น เช่น ห้องสมุด ศูนย์ข้อมูล ศูนย์เอกสาร มีบริการพื้นฐาน เช่น บริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า บริการการอ่าน (Reader’s Service) บริการยืม-คืนบริการพิเศษ และบริการสารสนเทศท้องถิ่นในแหล่งสารสนเทศท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น พิพิธภัณฑ์ หอศิลปวัฒนธรรม เช่น บริการให้การศึกษาหรือบริการนำชม การจัดแสดงนิทรรศการ การจัดแสดงวัตถุที่มีอยู่ในท้องถิ่น บริการให้ยืมนิทรรศการ การจัดกิจกรรม และบริการสารสนเทศดิจิทัล
การอนุรักษ์และสงวนบำรุงรักษาสารสนเทศภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วยวิธีการสงวนบำรุงรักษาสารสนเทศท้องถิ่น โดยการสงวนรักษาทรัพยากรสารสนเทศท้องถิ่นด้วยการป้องกัน การสงวนรักษาทรัพยากรสารสนเทศท้องถิ่นด้วยการซ่อมแซมหรือเสริมสร้างสภาพกายภาพ และการสงวนรักษาทรัพยากรสารสนเทศภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ผลิตจากวัสดุต่าง ๆ เช่น หิน โลหะ ไม้ ผ้า
การจัดการสารสนเทศภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อนำไปสู่การพัฒนาจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายภาคส่วนที่ต้องมีส่วนร่วมในการจัดการ เนื่องจากสารสนเทศภูมิปัญญาท้องถิ่นเกิดจากการสั่งสมความรู้ของชุมชน ภูมิปัญญาหลายอย่างเป็นมรดกร่วม ประกอบกับสารสนเทศภูมิท้องถิ่นเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าต้องมีการจัดการเพื่อให้มีประสิทธิภาพในการนำมาใช้และให้บริการ การจัดการสารสนเทศท้องถิ่นควรจะดำเนินการโดยบุคคลที่มีประสบการณ์ สารสนเทศท้องถิ่นมีหลากหลายครอบคลุมทุกองค์กรทุกสาขาอาชีพ อีกทั้งสารสนเทศท้องถิ่นมีเพิ่มขึ้นตลอดเวลาจึงจำเป็นต้องมีการจัดการสารสนเทศท้องถิ่นอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้ใช้ประโยชน์จากสารสนเทศท้องถิ่นให้มากที่สุด ดังนั้นการจัดการสารสนเทศภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการพัฒนานั้นคนในชุมชนท้องถิ่นที่เป็นเจ้าของ ภูมิปัญญาจะต้องมีส่วนร่วมตั้งแต่กระบวนการวางแผนเพื่อกำหนดนโยบายในการจัดการสารสนเทศ และมีส่วนร่วมหนึ่งในการการจัดหารวบรวมทรัพยากรสารสนเทศ เนื่องจากข้อมูลสารสนเทศภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อใช้ในการพัฒนานั้นจะต้องเป็นข้อมูลที่ทันต่อเหตุการณ์จึงสามารถใช้ในการพัฒนาหรือแก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงที และในขณะเดียวกันคนในชุมชนต้องร่วมใช้สารสารสนเทศภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยการปฏิบัติผ่านวิถีชีวิตซึ่งเป็นการอนุรักษ์และสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นให้คงอยู่ และเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป
6.2กระบวนการยกระดับภูมิปัญญาท้องถิ่น สู่การพัฒนาท้องถิ่นสร้างสรรค์
กระบวนการยกระดับภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่การพัฒนาท้องถิ่นสร้างสรรค์เน้นการวิเคราะห์ประเด็นต่างๆ ในพื้นที่ ดังนี้
1) วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานซึ่งเป็นบริบทของพื้นที่ เช่น ประชากร อาชีพรายได้ การศึกษา เป็นต้น หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นที่ในภาพรวมเพื่อทำความเข้าใจบริบทของพื้นที่ก่อนว่ามีปัญหา จุดอ่อน จุดแข็งและโอกาสอะไรเพื่อหาช่องทางในการพัฒนา
2) วิเคราะห์ชุมชนและสังคมในพื้นที่ที่จะทำการพัฒนาโดยการวิเคราะห์
2.1)หน่วยทางสังคม เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบของสังคมว่าประกอบด้วยอะไรบ้าง แต่ละองค์ประกอบมีสถานการณ์และบทบาทอย่างไร
2.2)สถาบันหรือองค์กรทางสังคม โดยการวิเคราะห์ว่าพื้นที่ดังกล่าวประกอบด้วยสถาบันหรือองค์กรทางสังคมใดบ้างแต่ละหน่วยงานมีบทบาทและศักยภาพเพียงใด
2.3)โครงสร้างทางสังคม ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ ของหน่วยทางสังคมและสถาบันทางสังคมซึ่งมีความเชื่อมโยงกัน เพื่อดูถึงความเกี่ยวพันของแต่ละภาคส่วนในพื้นที่
3) วิเคราะห์ภูมิปัญญาและสถานการณ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นในพื้นที่ที่จะทำการพัฒนาเพื่อดูว่าในพื้นที่ดังกล่าวมี
ภูมิปัญญาและภูมิปัญญาท้องถิ่นใดบ้าง แต่ละภูมิปัญญาอยู่ในภาวะใดซึ่ง อาจอยู่ในภาวะที่สูญหายไปแล้วหลงเหลืออยู่บ้าง ยังอยู่ในสภาพดีหรืออยู่ในสภาพดีมาก
4)วิเคราะห์ปัญหาและศักยภาพของพื้นที่ว่ามีจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรคของพื้นที่ที่จะทำการพัฒนา เพื่อดูว่าพื้นที่มีปัญหาใดบ้างและพื้นที่มีศักยภาพในการแก้ไขปัญหาเพียงใด
5)วิเคราะห์โอกาสในการพัฒนาพื้นที่ของพื้นที่ที่จะทำการพัฒนาเพื่อดูว่าพื้นที่มีโอกาสในการพัฒนาอย่างไร จะนำภูมิปัญญาตัวไหนมาใช้ ในการพัฒนา โดยอาศัยเทคนิคใดซึ่งจะนำไปสู่การเกิดโครงการพัฒนาต่างๆ ต่อไป
การวิเคราะห์ทั้ง 5 ประเด็นข้างต้น ต้องใช้กระบวนการวิเคราะห์อย่างมีส่วนร่วม นั่นหมายถึง ต้องเปิดโอกาสให้คนในพื้นที่ร่วมกระบวนการด้วย เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องผ่านการมองอย่างรอบด้าน ทั้งในมุมมองของคนในพื้นที่และคนนอกพื้นที่

7. วัตถุประสงค์

วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อจัดการสารสนเทศชุมชนทุนภูมิปัญญาผ้าทอย้อมครามบ้านโพนแพง ตำบลดินจี่ จังหวัดกาฬสินธุ์

1) ชุดความรู้ผ้าทอย้อมครามบ้านโพนแพง 1 ชุด 2) แผนที่ทุนภูมิปัญญาผ้าย้อมครามบ้านโพนแพง 1 แผน

1.00
2 ยกระดับทุนภูมิปัญญาผ้าทอย้อมครามบ้านโพนแพง ตำบลดินจี่ จังหวัดกาฬสินธุ์

1) มีกิจกรรมอนุรักษ์ภูมิปัญญาผ้าทอย้อมครามบ้านโพนแพง 1 กิจกรรม 2) จัดเวทีการฟื้นฟูภูมิปัญญาผ้าทอย้อมครามบ้านโพนแพง 1 ครั้ง 3) มีการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาผ้าทอย้อมครามบ้านโพนแพงสำหรับเยาวชน 1 กิจกรรม

1.00

8. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
1.กลุมผู้ผลิตผ้าทอย้อมคราม 30
2.กลุ่มเยาวชนบ้านโพนแพง 30

9. ระยะเวลา

10. วิธีดำเนินงาน

กิจกรรมที่ 1 ประชุมเพื่อจัดเก็บรวบรวมทุนภูมิปัญญาผ้าทอย้อมคราม

ชื่อกิจกรรม
ประชุมเพื่อจัดเก็บรวบรวมทุนภูมิปัญญาผ้าทอย้อมคราม
วัตถุประสงค์
    รายละเอียดกิจกรรม
    ดำเนินการจัดเก็บรวมรวมสารสนเทศชุมชนทุนภูมิปัญญาผ้าทอย้อมครามบ้านโพนแพง
    - ดำเนินการประชุมเพื่อจัดเก็บรวบรวมทุนภูมิปัญญาผ้าทอย้อมคราม
    ระยะเวลาดำเนินงาน
    18 มกราคม 2563 ถึง 31 มกราคม 2563
    ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
    ผลผลิต(Output) : ได้ชุดความรู้ผ้าทอย้อมครามบ้านโพนแพง
    ผลลัพธ์(Outcome) : นักศึกษาและคนในชุมชนได้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากภูมิปัญญาและได้ชุดความรู้ผ้าทอย้อมครามของบ้านโพนแพง
    ทรัพยากรอื่น ๆ
    ภาคีร่วมสนับสนุน
    องค์การบริหารส่วนตำบลดินจี่
    รายละเอียดงบประมาณ
    ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
    ค่าอาหาร

    ค่าอาหาร (50 คน X 120 บาทX 3 วัน) ค่าอาหารว่าง (50 คน X 35 บาท X 6 มื้อ)

    50 คน 190 3 28,500
    ค่าเช่ารถ

    ค่าเช่ารถตู้ รวมค่าน้ำมัน 3600 บาท X 3 วัน

    1 เที่ยว 3,600 3 10,800
    ค่าพาหนะเดินทาง - ค่าเดินทางในพื้นที่

    ค่าเดินทางสำหรับผู้เข้าร่วมประชุม

    40 คน 150 3 18,000
    ค่าตอบแทนวิทยากร

    ค่าวิทยากรกระบวนการ (2คน X 7 ชั่วโมง X 600 บาท X 3 ครั้ง)

    2 คน 4,200 3 25,200
    ค่าวัสดุสำนักงาน

    ค่าใช้จ่ายสำนักงานได้แก่ กระดาษ ปากกา กระดาษปลุ๊ฟ หมึก ฯลฯ เหมาจ่ายครั้งละ 1000 บาท 3 ครั้ง

    1 ครั้ง 1,000 3 3,000
    รวมค่าใช้จ่าย 85,500

    กิจกรรมที่ 2 ประชุมเชิงปฎิบัติการเพื่อจัดทำแผนที่ทุนภูมิปัญญาผ้าทอย้อมครามบ้านโพนแพง

    ชื่อกิจกรรม
    ประชุมเชิงปฎิบัติการเพื่อจัดทำแผนที่ทุนภูมิปัญญาผ้าทอย้อมครามบ้านโพนแพง
    วัตถุประสงค์
      รายละเอียดกิจกรรม
      ประชุมเชิงปฎิบัติการเพื่อจัดทำแผนที่ทุนภูมิปัญญาผ้าทอย้อมครามบ้านโพนแพง เพื่อจัดทำแผนที่ทุนภูมิปัญญาผ้าทอย้อมครามบ้านโพนแพง
      ระยะเวลาดำเนินงาน
      1 กุมภาพันธ์ 2563 ถึง 15 กุมภาพันธ์ 2563
      ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
      ผลผลิต : ได้แผนที่ทุนภูมิปัญญาผ้าย้อมครามบ้านโพนแพง
      ผลลัพธ์ : นักศึกษาและคนในชุมชนได้เรียนรู้การทำแผนที่ทุนภูมิปัญญาและได้แผนที่ทุนภูมิปัญญาผ้าย้อมครามบ้านโพนแพง
      ทรัพยากรอื่น ๆ
      ภาคีร่วมสนับสนุน
      รายละเอียดงบประมาณ
      ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
      ค่าอาหาร

      ค่าอาหาร (50 คน X 120 บาทX 3 วัน) ค่าอาหารว่าง (50 คน X 35 บาท X 6 มื้อ)

      50 คน 190 3 28,500
      ค่าเช่ารถ

      ค่าเช่ารถตู้ รวมค่าน้ำมัน 3600 บาท X 3 วัน

      1 เที่ยว 3,600 3 10,800
      ค่าพาหนะเดินทาง - ค่าเดินทางในพื้นที่

      ค่าเดินทางสำหรับผู้เข้าร่วมประชุม

      40 คน 150 3 18,000
      ค่าตอบแทนวิทยากร

      ค่าวิทยากรกระบวนการ (2คน X 7 ชั่วโมง X 600 บาท X 3 ครั้ง)

      2 คน 4,200 3 25,200
      ค่าวัสดุสำนักงาน

      ค่าใช้จ่ายสำนักงานได้แก่ กระดาษ ปากกา กระดาษปลุ๊ฟ หมึก ฯลฯ เหมาจ่ายครั้งละ 1000 บาท 3 ครั้ง

      1 ครั้ง 1,000 3 3,000
      รวมค่าใช้จ่าย 85,500

      กิจกรรมที่ 3 สังเคราะห์ข้อมูลชุมชน

      ชื่อกิจกรรม
      สังเคราะห์ข้อมูลชุมชน
      วัตถุประสงค์
        รายละเอียดกิจกรรม
        ดำเนินการจัดประชุมเพื่อสังเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน วิเคราะห์สถานการณ์ภูมิปัญญา วิเคราะห์โอกาสในพื้นที่ โดยชุมชนมีส่วนร่วม
        ระยะเวลาดำเนินงาน
        16 กุมภาพันธ์ 2563 ถึง 29 กุมภาพันธ์ 2563
        ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
        ผลผลิต : ได้แนวทางการยกระดับทุนภูมิปัญญาผ้าทอย้อมครามที่มาจากผลการสังเคราะห์ข้อมูลชุมชน
        ผลลัพธุ์ : นักศึกษาและชุมชนได้เรียนรู้การสังเคราะห์ข้อมูลชุมชน และได้ออกแบบกิจกรรมเพื่อยกระดับทุนภูมิปัญญาผ้าทอย้อมคราม
        ทรัพยากรอื่น ๆ
        ภาคีร่วมสนับสนุน
        สภาเด็กและเยาวชนจังหวัดกาฬสินธุ์
        องค์การบริหารส่วนตำบลดินจี่
        โรงเรียนบ้านดินจี่
        โรงพบาบาลอำเภอคำม่วง
        รายละเอียดงบประมาณ
        ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
        ค่าอาหาร

        ค่าอาหาร ค่าอาหาร (60 คน X 120 บาทX 4 วัน) ค่าอาหารว่าง (60 คน X 35 บาท X 8 มื้อ)

        60 คน 190 4 45,600
        ค่าเช่ารถ

        ค่าเช่ารถตู้ รวมค่าน้ำมัน 3600 บาท X 4 วัน

        1 เที่ยว 3,600 4 14,400
        ค่าพาหนะเดินทาง - ค่าเดินทางในพื้นที่

        ค่าเดินทางสำหรับผู้เข้าร่วมประชุม

        40 คน 150 4 24,000
        ค่าตอบแทนวิทยากร

        ค่าวิทยากรกระบวนการ (2คน X 7 ชั่วโมง X 600 บาท X 4 ครั้ง)

        2 คน 4,200 4 33,600
        ค่าตอบแทนวิทยากร

        ค่าใช้จ่ายสำนักงานได้แก่ กระดาษ ปากกา กระดาษปลุ๊ฟ หมึก ฯลฯ เหมาจ่ายครั้งละ 1000 บาท 4 ครั้ง

        1 ครั้ง 1,000 4 4,000
        รวมค่าใช้จ่าย 121,600

        กิจกรรมที่ 4 ยกระดับทุนภูมิปัญญาผ้าทอย้อมคราม

        ชื่อกิจกรรม
        ยกระดับทุนภูมิปัญญาผ้าทอย้อมคราม
        วัตถุประสงค์
          รายละเอียดกิจกรรม
          1. จัดกิจกรรมอนุรักษ์ภูมิปัญญาผ้าทอย้อมครามบ้านโพนแพง
          2. จัดเวทีการฟื้นฟูภูมิปัญญาผ้าทอย้อมครามบ้านโพนแพง
          3. การประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาผ้าทอย้อมครามบ้านโพนแพงสำหรับเยาวชน
          ระยะเวลาดำเนินงาน
          1 มีนาคม 2563 ถึง 31 มีนาคม 2563
          ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
          ผลผลิต :
          1) มีกิจกรรมอนุรักษ์ภูมิปัญญาผ้าทอย้อมครามบ้านโพนแพง
          2) จัดเวทีการฟื้นฟูภูมิปัญญาผ้าทอย้อมครามบ้านโพนแพง
          3) เกิดประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาผ้าทอย้อมครามบ้านโพนแพงสำหรับเยาวชน
          ผลลัพธุ์
          1) เกิดกิจกรรมอนุรักษ์ภูมิปัญญาผ้าทอย้อมครามบ้านโพนแพง
          2) เกิดการฟื้นฟูภูมิปัญญาผ้าทอย้อมครามบ้านโพนแพง
          3) นักศึกษาและคนในชุมชนได้เรียนรู้และประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาผ้าทอย้อมครามบ้านโพนแพงสำหรับเยาวชน
          ทรัพยากรอื่น ๆ
          ภาคีร่วมสนับสนุน
          สภาเด็กและเยาวชนจังหวัดกาฬสินธุ์
          องค์การบริหารส่วนตำบลดินจี่
          โรงเรียนบ้านดินจี่
          รายละเอียดงบประมาณ
          ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
          ค่าอาหาร

          ค่าอาหาร ค่าอาหาร (110 คน X 120 บาทX 4 วัน) ค่าอาหารว่าง (110 คน X 35 บาท X 8 มื้อ)

          110 คน 190 4 83,600
          ค่าตอบแทนวิทยากร

          ค่าเช่ารถตู้ รวมค่าน้ำมัน 3600 บาท X 4 วัน

          1 เที่ยว 3,600 4 14,400
          ค่าพาหนะเดินทาง - ค่าเดินทางในพื้นที่

          ค่าเดินทางสำหรับผู้เข้าร่วมประชุม

          100 คน 150 4 60,000
          รางวัลเพื่อการยกย่อง

          ค่ายกย่องครูภูมิปัญญาผ้าทอย้อมคราม และค่ายกย่องเยาวชนผู้สืบสานผ้าทอย้อมคราม

          30 คน 1,500 1 45,000
          ค่าวัสดุสำนักงาน

          ค่าใช้จ่ายสำนักงานได้แก่ กระดาษ ปากกา กระดาษปลุ๊ฟ หมึก ฯลฯ เหมาจ่ายครั้งละ 1100 บาท 4 ครั้ง

          1 ครั้ง 1,100 4 4,400
          รวมค่าใช้จ่าย 207,400

          รวมงบประมาณทุกกิจกรรมของแผนการดำเนินงาน จำนวน 500,000.00 บาท

          ค่าตอบแทนค่าใช้สอยค่าวัสดุรวมเงิน
          ค่าใช้จ่าย (บาท) 102,400.00 387,200.00 10,400.00 500,000.00
          เปอร์เซ็นต์ (%) 20.48% 77.44% 2.08% 100.00%

          11. งบประมาณ

          500,000.00บาท

          12. การติดตามประเมินผล

          ต่อชุมชนต่อนักศึกษา
          ผลผลิต (Output) 1) ชุมชนได้ชุดความรู้ผ้าทอย้อมครามบ้านโพนแพง
          2) ชุมชนได้แผนที่ทุนภูมิปัญญาผ้าย้อมครามบ้านโพนแพง
          3) ชุมชนได้จัดกิจกรรมอนุรักษ์ภูมิปัญญาผ้าทอย้อมครามบ้านโพนแพง
          4) ชุมชนได้จัดเวทีการฟื้นฟูภูมิปัญญาผ้าทอย้อมครามบ้านโพนแพง
          5) มีประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาผ้าทอย้อมครามบ้านโพนแพงสำหรับเยาวชน
          1.นักศึกษาได้จัดกิจกรรมการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาผ้าทอย้อมครามบ้านโพนแพงสำหรับเยาวชน1.นักศึกษาได้ใช้พื้นที่จริงในการศึกษาในรายวิชา สารสนเทศชุมชน3(2-2-5) /วิชา ปรัชญาและแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาท้องถิ่น 3(2-2-5) และวิชาจุลชีววิทยาและปรสิตวิทยาและปรสิตวิทยาสาธารณสุข 3(2-2-5)สาขาวิชาการจัดการสุขภาพท้องถิ่นและชุมชน
          2.นักศึกษาได้เรียนรู้การจัดการสารสนเทศภูมิปัญญาผ้าทอย้อมครามของบ้านโพนแพง ได้เรียนรู้การทำแผนที่ทุนภูมิปัญญาผ้าย้อมครามบ้านโพนแพง ได้มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมอนุรักษ์ภูมิปัญญาผ้าทอย้อมครามบ้านโพนแพง ได้เรียนรู้การจัดเวทีฟื้นฟูภูมิปัญญาผ้าทอย้อมครามบ้านโพนแพงและได้จัดกิจกรรมการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาผ้าทอย้อมครามบ้านโพนแพงสำหรับเยาวชน
          ผลลัพธ์ (Outcome) 1.คนในชุมชนได้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากภูมิปัญญาและได้ชุดความรู้ผ้าทอย้อมครามของบ้านโพนแพง
          2.คนในชุมชนได้เรียนรู้การทำแผนที่ทุนภูมิปัญญาและได้แผนที่ทุนภูมิปัญญาผ้าย้อมครามบ้านโพนแพง
          3. คนในชุมชนได้เรียนรู้และจัดกิจกรรมอนุรักษ์ภูมิปัญญาผ้าทอย้อมครามบ้านโพนแพง
          4. คนในชุมชนได้ฟื้นฟูภูมิปัญญาผ้าทอย้อมครามบ้านโพนแพง
          5. คนในชุมชนได้เรียนรู้และประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาผ้าทอย้อมครามบ้านโพนแพงสำหรับเยาวชน
          1.นักศึกษาได้เที่ยบโอนหน่วยกิจในรายวิชา สารสนเทศชุมชน3(2-2-5) /วิชา ปรัชญาและแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาท้องถิ่น 3(2-2-5) และวิชาจุลชีววิทยาและปรสิตวิทยาสาขาวิชาการจัดการสุขภาพท้องถิ่นและชุมชน 3(2-2-5)
          2.นักศึกษาได้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากภูมิปัญญาและได้ชุดความรู้ผ้าทอย้อมครามของบ้านโพนแพง ได้เรียนรู้การทำแผนที่ทุนภูมิปัญญาและได้แผนที่ทุนภูมิปัญญาผ้าย้อมครามบ้านโพนแพง ได้มีส่วนร่วมในอนุรักษ์ภูมิปัญญาผ้าทอย้อมครามบ้านโพนแพง ได้เรียนรู้การฟื้นฟูภูมิปัญญาผ้าทอย้อมครามบ้านโพนแพงและได้เรียนรู้และประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาผ้าทอย้อมครามบ้านโพนแพงสำหรับเยาวชน
          ผลกระทบ (Impact) 1.การจัดเก็บรวบรวมภูิมปัญญาผ้าทอย้อมครามบ้านโพนแพงทำให้มีข้อมูลเพื่อนำไปสู่การยกระดับเป็นแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาผ้าทอย้อมครามบ้านโพนแพง
          2.การจัดการสารสนเทศชุมชนภูมิปัญญาผ้าทอย้อมครามบ้านโพนแพงทำให้ชุมชนมีข้อมูลเพื่อนำไปใช้ในการวางแผนในการพัฒนาในระดับพื้นที่
          3.ชุมชนเกิดการเรียนรู้และตระหนักและเห็นคุณค่าของภูมิปัญญาเกิดการรักษ์และห่วงแหน
          4.เยาวชนในชุมชนมีพื้นที่ในการแสดงตัวตน มีพื้นที่ในการสร้างสรรค์กิจกรรมเพื่อลดปัญหาสังคมในกลุ่มเยาวชน
          1.นักศึกษามีโอกาสได้เรียนรู้การจัดการสารสนเทศชุมชนจากสถานการณ์จริงทำให้สามารถนำความรู้ไปใช้งานได้จริง
          2.นักศึกษาเกิดทักษะการทำงานในชุมชน
          3.นักศึกษาสามารถนำความรู้ที่ได้ไปขยายผลในบ้านเกิดตนเอง
          นำเข้าสู่ระบบโดย maliwan maliwan เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2562 16:31 น.