โครงการวิจัยส่งเสริมการวางแผนเพาะปลูกข้าวไรซ์เบอรี่อินทรีย์ของเกษตรกรชุมชนบ้านเปลือย ตำบลยางตลาด อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์

แบบเสนอโครงการ
โครงการวิจัยส่งเสริมการวางแผนเพาะปลูกข้าวไรซ์เบอรี่อินทรีย์ของเกษตรกรชุมชนบ้านเปลือย ตำบลยางตลาด อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์

1. ชื่อโครงการ

โครงการวิจัยส่งเสริมการวางแผนเพาะปลูกข้าวไรซ์เบอรี่อินทรีย์ของเกษตรกรชุมชนบ้านเปลือย ตำบลยางตลาด อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตขอนแก่นวิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตขอนแก่นวิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตบางเขน,คณะโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี, คณะบริหารธุรกิจ สำนักงานเกษตร มหาวิทยาลัยศรีปทุม, วิทยาเขตขอนแก่นจังหวัดกาฬสินธุ์ และองค์การบริหารส่วนตำบลยางตลาดชุมชนบ้านเปลือย1.นายวันพิชิต เบ็งจีน 2.นางสาวนวรรณ สืบสายลา 3.นายภาณุพงษ์ ศรีมุงคุล 4.นายนราธิป สุพัฒน์ธนานนท์เลขที่ 182/12 ถนนศรีจันทร์ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองขอนแก่นจังหวัดขอนแก่น 4000008794676181.นายพันเวย์ ศรีเวียง
2.นายกิตพงศ์ ไพรรอ
3.นางสาวจารุวรรณ เผยกลิ่น
4.นายธีรพงษ์ นาคแก้ว
5.นายธนวัฒน์ นุชิต
6.นางสาวชลธิดา ลาบุตร
7.นางสาวพิมพ์ลภัส กันคำ

2. พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
กาฬสินธุ์ ยางตลาด ยางตลาด

3. รายละเอียดชุมชน

ชุมชนบ้านเปลือย ตำบลยางตลาด อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวนประชากรประมาณ
200 คน หรือ 50 ครัวเรือน และมีพื้นที่ทำนาข้าวประมาณ 500 ไร่ เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมหรือทำนาข้าวเป็นหลัก ซึ่งปัจจุบันชุมชนบ้านเปลือยเพาะปลูกข้าวตามฤดูกาลและใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวที่สืบทอดต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่น ทำให้มีผลผลิตเฉลี่ยต่ำ ในระหว่างที่ต้นทุนการเพาะปลูกข้าวเพิ่มมากขึ้น แต่ราคาขายต่ำลง เกษตรกรในชุมชนจึงประสบปัญหารายรับไม่สมดุลกับรายจ่าย (รายรับน้อยกว่ารายจ่าย) และมีความจำเป็นต้องกู้เงินเพื่อประทังชีวิต ก่อให้เกิดภาระหนี้สินของเกษตรกร ผู้นำเสนอโครงการจึงลงพื้นที่สำรวจความต้องการเบื้อต้นในชุมชน พบว่าประชาชนในชุมชนขาดองค์ความรู้ในการคัดเลือกสายพันธ์ข้าวอย่างถูกต้อง (ใช้การลองผิดลองถูกตามคำบอกเล่าของคนอื่น) และขาดความเข้าใจเกี่ยวกับพันธุ์ข้าว ดิน น้ำ ปุ๋ย การแปรรูปข้าว การวางแผนเพาะปลูก และการตลาด
ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมหรือทำนาข้าวเป็นหลักความยากจนเป็นปัญหาที่ทุกประเทศทั่วโลกให้ความสำคัญ เนื่องจากปัญหาดังกล่าวก่อให้เกิดปัญหาอื่นตามมา เช่น ปัญหาครอบครัว ปัญหายาเสพติด ปัญหาอาชญากรรม ตลอดจนปัญหาคุณภาพชีวิตของประชาชนและการพัฒนาประเทศ เป็นต้น รัฐบาลไทยจึงพยายามแก้ปัญหาความยากจนด้วยการบรรจุการไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ อีกทั้งมีการจัดทำงบประมาณเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนจากทุกภาคส่วนอย่างต่อเนื่อง แต่ปัญหาความยากจนยังไม่หมดจากสังคมไทย เนื่องจากยังมีคนยากจนกลุ่มหนึ่งที่ขาดโอกาสที่จะเข้าถึงปัจจัยการผลิตและถูกเอาเปรียบซึ่งจะทำให้คนจนกลุ่มดังกล่าวยังจะจนเรื้อรังต่อไป ยังคงมีปัญหาการกระจายรายได้ ความไม่เท่าเทียมกันของคนในสังคม และปัญหาหนี้สิน ครัวเรือนเกษตรภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีสัดส่วนครัวเรือนที่ยากจนมากที่สุด ซึ่งปัจจัยที่มีผลต่อความยากจนของครัวเรือนเกษตร ได้แก่1) ปัจจัยเขตชลประทาน 2.อายุของหัวหน้าครัวเรือน 3) ระดับการศึกษาของหัวหน้าครัวเรือน 4) จำนวนสมาชิกในครัวเรือน 5) อัตราการเป็นภาระ 6) พื้นที่ทำการเกษตร 7) ทรัพย์สินสุทธิของครัวเรือน และ 8) จำนวนหนี้สินของครัวเรือน
ชุมชนบ้านเปลือย ตำบลยางตลาด อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ ประกอบอาชีพเกษตรกรและ
มีความต้องการเสริมสร้างกิจกรรมการการผลิตนอกการเกษตรของครัวเรือนควบคู่ไปกับกิจกรรมการเกษตรจะเป็นแหล่งรายได้เสริมของชุมชนที่อยู่ในรูปแบบของการรวมกลุ่มหรือสหกรณ์เพื่อสะดวกต่อการถ่ายทอดเทคโนโลยี การจัดการด้านตลาด และส่งเสริมกิจกรรมที่มีความสอดคล้องกับทรัพยากรในท้องถิ่น ดังนั้น การนำองค์ความรู้ดังกล่าวไปบริการให้กับประชาชนในชุมชนจึงเป็นความสำคัญ ยิ่งไปกว่านี้คือการแนะนำเชิงปฏิบัติจะช่วยให้ประชาชนเข้าใจและสามารถนำไปต่อยอดได้อย่างยั่งยืน ผู้นำเสนอโครงการจึงจัดทำโครงการ “วิจัยเพื่อวางแผนการผลิตข้าวให้มีกำไรสูงที่สุดแก้จนและถ่ายทอดการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากข้าวสู่กลุ่มชุมชนบ้านเปลือย ตำบลยางตลาด อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์” เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนของประชาชนในเขตชุมชนบ้านเปลือยขึ้น

4. ประเด็นปัญหาหลัก

5. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

6. องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

1 องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการวางแผนเพาะปลูกสินค้าทางการเกษตร
2 องค์ความรู้เรื่องสายพันธุ์ข้าวที่มีความเหมาะแสมกับพื้นที่
3 การบำรุงด้วยสารอาหารที่ข้าวแต่ละสายพันธุ์ต้องการ
4 การจัดสรรพื้นที่เพาะปลูก
5 การคัดเลือกตลาดเพื่อจัดจำหน่ายข้าว
6 การบรรจุภัณฑ์เพื่อค้าส่งและปลีก
7 การแปรรูปข้าวตามความต้องการของตลาด

7. วัตถุประสงค์

วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อวางแผนการผลิตข้าวให้มีกำไรสูงที่สุดแก้จนและถ่ายทอดการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากข้าวสู่กลุ่มชุมชนบ้านเปลือย ตำบลยางตลาด อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์” และแก้ไขปัญหาความยากจนของประชาชนในเขตชุมชนบ้านเปลือยขึ้น

ร้อยละของความพึ่งพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ

0.00 0.00

8. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)

9. ระยะเวลา

10. วิธีดำเนินงาน

กิจกรรมที่ 1 ศึกษาการคัดเลือกสายพันธุ์ข้าวที่สามารถเพราะปลูกในพื้นที่ชุมชนเป้าหมายได้

ชื่อกิจกรรม
ศึกษาการคัดเลือกสายพันธุ์ข้าวที่สามารถเพราะปลูกในพื้นที่ชุมชนเป้าหมายได้
วัตถุประสงค์
    รายละเอียดกิจกรรม
    สำรวจความต้องการของประชาชนในชุมชน โดยการสัมภาษณ์ผู้นำชุมชนและประชาชนในเขตชุมชนเกี่ยวกับปัญหาในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม (การทำนาข้าว)
    ระยะเวลาดำเนินงาน
    10 มกราคม 2563 ถึง 24 มกราคม 2563
    ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
    1. ทราบปัญหาการทำนาข้าวและความต้องการของคนในชุมชนอย่างชัดเจน
    2. ทราบข้อมูลเบื้องต้นของคนในชุมชนจำนวน 50 ครัวเรือน โดยประกอบด้วย
    - จำนวนเงินทุนในการทำนาข้าวต่อปี
    - พื้นที่ทำกิน
    - อาชีพรองนอกจากการทำนาข้าว
    - ความพื้นฐานรู้เกี่ยวกับการทำนาข้าว
    - มุมมองการจัดตั้งวิสาหกิจชุมชน (แปรรูปสินค้าหรือผลิตภัณฑ์จากข้าวไรซ์เบอรี่และข้าวขาว)
    - การใช้ปุ๋ยเคมีและสารพิษกำจัดแมลง
    ทรัพยากรอื่น ๆ
    ภาคีร่วมสนับสนุน
    รายละเอียดงบประมาณ
    ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
    ค่าตอบแทนการประสานงาน

    - ค่าเบี้ยเลี้ยงผู้ติดต่อประสานงานจำนวน 8 คน x 40 บาทต่อ ซม. X 7 วัน x 6 ซม. ต่อวัน เท่ากับ 13,440 บาท

    8 คน 240 7 13,440
    ค่าตอบแทนผู้ทรงคุณวุฒิ

    ค่าเบี้ยเลี้ยงผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 4 คน x 250 บาทต่อ ซม. x 6 ซม.ต่อวัน x 7 วัน เท่ากับ 42,000 บาท

    4 คน 1,500 7 42,000
    ค่าตอบแทนผู้เข้าร่วมประชุม

    ค่าตอบแทนประชาชนที่ให้ข้อมูลจำนวน 50 คน x 300 บาทต่อคน เท่ากับ 15,000 บาท

    50 คน 300 1 15,000
    ค่าพาหนะเดินทาง - รถตู้เช่า

    ค่าจ้างเหมารถตู้ 1,800 บาทต่อวัน x 7 วัน เท่ากับ 12,600 บาท

    1 ครั้ง 1,800 7 12,600
    ค่าพาหนะเดินทาง - รถยนต์ส่วนบุคคล

    ค่าน้ำมันเดินทาง 500 บาทต่อวัน x 7 วัน เท่ากับ 3,500 บาท

    1 เที่ยว 500 7 3,500
    รวมค่าใช้จ่าย 86,540

    กิจกรรมที่ 2 ศึกษาต้นทุนการเพาะปลูกและราคาขายข้าวแต่ละสายพันธุ์ตามจุดรับซื้อต่างๆ ทั้งในกรณีเป็นข้าวเปลือก ข้าวสาร และข้าวแปรรูป

    ชื่อกิจกรรม
    ศึกษาต้นทุนการเพาะปลูกและราคาขายข้าวแต่ละสายพันธุ์ตามจุดรับซื้อต่างๆ ทั้งในกรณีเป็นข้าวเปลือก ข้าวสาร และข้าวแปรรูป
    วัตถุประสงค์
      รายละเอียดกิจกรรม
      ศึกษาสายพันธุ์ข้าวที่มีความเหมาะสมกับชุมชนเป้าหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้าวไรซ์เบอรี่
      ระยะเวลาดำเนินงาน
      25 มกราคม 2563 ถึง 8 กุมภาพันธ์ 2563
      ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
      1. ทราบสายพันธุ์ข้าวที่เหมาะสมกับชุมชนเป้าหมาย
      2. ราบข้อมูลการเพาะปลูก ดูแล เก็บเกี่ยว การใช้พื้นที่เพาะปลูก และผลผลิตที่คาดว่าจะได้รับ อย่างละเอียด
      ทรัพยากรอื่น ๆ
      ภาคีร่วมสนับสนุน
      รายละเอียดงบประมาณ
      ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
      ค่าตอบแทนผู้ทรงคุณวุฒิ

      ค่าเบี้ยเลี้ยงผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 2 คน x 250 บาทต่อ ซม. x 6 ซม.ต่อวัน x 14 วัน เท่ากับ 42,000 บาท

      2 คน 1,500 14 42,000
      ค่าตอบแทนการประสานงาน

      ค่าเบี้ยเลี้ยงผู้ช่วยวิจัยจำนวน 8 คน x 40 บาทต่อ ซม. X 14 วัน x 6 ซม. ต่อวัน เท่ากับ 26,880 บาท

      8 คน 240 14 26,880
      รวมค่าใช้จ่าย 68,880

      กิจกรรมที่ 3 เก็บรวบรวมข้อมูลของเกษตรกรในพื้นที่เป้าหมาย

      ชื่อกิจกรรม
      เก็บรวบรวมข้อมูลของเกษตรกรในพื้นที่เป้าหมาย
      วัตถุประสงค์
        รายละเอียดกิจกรรม
        ออกสัมภาษณ์เกษตรกรในเขตพื้นที่เป้าหมาย จำนวน 50 คน เพื่อเก็บข้อมูลดังนี้
        1. พื้นที่เพาะปลูกข้าวในปัจจุบัน
        2. เงินลงทุนต่อปี
        3. ระยะเวลาในการเพาะปลูก
        4. ขั้นตอนและกิจกรรมในการเพาะปลูกข้าวแต่ละปี
        5. แนวโนมของการเพาะปลูกข้าว
        6. ฯลฯสำรวจและวิเคราะห์ราคารับซื้อข้าวสายพันธุ์ต่างๆ ตามจุดรับซื้อในเขตพื้นที่ใกล้เคียงและจุดรับซื้อหลักต่างๆ และสำรวจราคาเมล็ดพันธุ์ข้าวสายพันธุ์ต่างๆ
        ระยะเวลาดำเนินงาน
        9 กุมภาพันธ์ 2563 ถึง 19 กุมภาพันธ์ 2563
        ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
        1. ทราบความต้องการและราคารับซื้อข้าวสายพันธุ์ต่างๆ
        2. ทราบแนวโน้มของราคารับซื้อข้าวของประเทศไทย ซึ่งสามารถนำไปวางแผนการเพาะปลูกข้าวสายพันธุ์ต่างๆ ที่เหมาะสมกับราคา ณ ช่วงเวลานั้น
        3. ทราบราคาเมล็ดพันธุ์ข้าวสายพันธุ์ต่างๆ ที่ขายตามท้องตลาดแต่ละช่วงเวลา
        อย่างน้อย 30 ร้าน
        ทรัพยากรอื่น ๆ
        ภาคีร่วมสนับสนุน
        รายละเอียดงบประมาณ
        ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
        ค่าตอบแทนการประสานงาน

        ค่าเบี้ยเลี้ยงผู้ติดต่อประสานงานจำนวน 2 คน x 40 บาทต่อ ซม. X 10 วัน x 6 ซม. ต่อวัน เท่ากับ 4,800 บาท

        2 คน 240 10 4,800
        ค่าตอบแทนผู้ทรงคุณวุฒิ

        ค่าเบี้ยเลี้ยงผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 2 คน x 250 บาทต่อ ซม. x 6 ซม.ต่อวัน x 10 วัน เท่ากับ 30,000 บาท

        2 คน 1,500 10 30,000
        รวมค่าใช้จ่าย 34,800

        กิจกรรมที่ 4 แผนการเพาะปลูกข้าวของเกษตรกรในชุมชนเป้าหมาย

        ชื่อกิจกรรม
        แผนการเพาะปลูกข้าวของเกษตรกรในชุมชนเป้าหมาย
        วัตถุประสงค์
          รายละเอียดกิจกรรม
          วิจัยแผนการเพาะปลูกข้าวของเกษตรกรในชุมชนเป้าหมาย
          ระยะเวลาดำเนินงาน
          20 กุมภาพันธ์ 2563 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2563
          ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
          ทราบว่าคนในชุมชนเป้าหมายควรเพาะปลูกข้าวสายพันธุ์ใดที่ให้ปริมาณผลผลิต มูลค่าหรือกำไรสูงที่สุดและมีความเหมาะสมกับราคา
          ทรัพยากรอื่น ๆ
          ภาคีร่วมสนับสนุน
          รายละเอียดงบประมาณ
          ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
          ค่าตอบแทนผู้ทรงคุณวุฒิ

          ค่าเบี้ยเลี้ยงผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 2 คน x 250 บาทต่อ ซม. x 4 ซม.ต่อวัน x 9 วัน เท่ากับ 18,000 บาท

          2 คน 1,000 9 18,000
          ค่าตอบแทนการประสานงาน

          ค่าเบี้ยเลี้ยงผู้ช่วยวิจัยจำนวน 4 คน x 40 บาทต่อ ซม. X 9 วัน x 4 ซม. ต่อวัน เท่ากับ 5,760 บาท

          4 คน 160 9 5,760
          ค่าตอบแทนผู้ทรงคุณวุฒิ

          ค่าซอฟต์แวร์ประกอบการวิจัย (โปรแกรม LINGO) เท่ากับ 25,000 บาท

          1 คน 25,000 1 25,000
          รวมค่าใช้จ่าย 48,760

          กิจกรรมที่ 5 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการทำนาข้าวแต่ละสายพันธุ์

          ชื่อกิจกรรม
          อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการทำนาข้าวแต่ละสายพันธุ์
          วัตถุประสงค์
            รายละเอียดกิจกรรม
            อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการทำนาข้าวแต่ละสายพันธุ์ เพื่อให้เกษตรกรมีพันธุ์ข้าวทางเลือกที่ให้ราคาสูงกว่าปัจจุบันและสามารถและอบรมเชิงปฏิบัติการทำปุ๋ยอินทรีย์เพื่อลดต้นทุนการทำนาข้าวอย่างยั่งยืน จำนวน 2 วัน
            ระยะเวลาดำเนินงาน
            29 กุมภาพันธ์ 2563 ถึง 1 มีนาคม 2563
            ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
            1. ประชาชนมีองค์ความรู้ในการทำนาข้าวและการทำปุ๋ยอินทรีย์
            2. ประชาชนสามารถผลิตปุ๋ยอินทรีย์ได้
            3. ประชาชนเกิดความเชื่อมั่นและเห็นถึงความพยายามในการแก้ไขปัญหาความยากจนของรัฐบาล
            4. ประชาชนได้รับเมล็ดข้าวไรซ์เบอรี่ไปทดลองปลูก
            ทรัพยากรอื่น ๆ
            ภาคีร่วมสนับสนุน
            รายละเอียดงบประมาณ
            ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
            ค่าตอบแทนวิทยากร

            ค่าเบี้ยเลี้ยงผู้วิทยากรจำนวน 2 คน x 600 บาทต่อ ซม. X 2 วัน x 8 ซม. ต่อวัน เท่ากับ 19,200 บาท

            2 คน 4,800 2 19,200
            ค่าตอบแทนวิทยากร

            ค่าเบี้ยเลี้ยงผู้ติดต่อประสานงานจำนวน 8 คน x 40 บาทต่อ ซม. X 2 วัน x 8 ซม. ต่อวัน เท่ากับ 5,120 บาท

            8 คน 320 2 5,120
            ค่าตอบแทนผู้ทรงคุณวุฒิ

            ค่าเบี้ยเลี้ยงผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 4 คน x 250 บาทต่อ ซม. x 8 ซม.ต่อวัน x 2 วัน เท่ากับ 32,000 บาท

            8 คน 2,000 2 32,000
            ค่าตอบแทนผู้เข้าร่วมประชุม

            ค่าตอบแทนประชาชนที่ให้ข้อมูลจำนวน 50 คน x 300 บาทต่อคน เท่ากับ 15,000 บาท

            50 คน 300 1 15,000
            ค่าพาหนะเดินทาง - รถตู้เช่า

            ค่าจ้างเหมารถตู้ 1,800 บาทต่อวัน x 2 วัน เท่ากับ 3,600 บาท

            1 ครั้ง 1,800 2 3,600
            ค่าพาหนะเดินทาง - รถยนต์ส่วนบุคคล

            ค่าน้ำมันเดินทาง 500 บาทต่อวัน x 2 วัน เท่ากับ 1,000 บาท

            1 ครั้ง 500 2 1,000
            ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้

            ค่าเมล็ดพันธุ์ข้าว 50,000 บาท

            1 ชุด 50,000 1 50,000
            ค่าจ้างทำป้ายประชาสัมพันธ์

            ค่าจัดทำ Backdrop 5,000 บาท

            1 ชิ้น 5,000 1 5,000
            รวมค่าใช้จ่าย 130,920

            กิจกรรมที่ 6 ประชาชนเพาะปลูกข้าวตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิและเก็บเกี่ยว

            ชื่อกิจกรรม
            ประชาชนเพาะปลูกข้าวตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิและเก็บเกี่ยว
            วัตถุประสงค์
              รายละเอียดกิจกรรม
              ประชาชนเพาะปลูกข้าวตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิและเก็บเกี่ยว
              ระยะเวลาดำเนินงาน
              2 มีนาคม 2563 ถึง 1 เมษายน 2563
              ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
              1. ผลผลิตหรือปริมาณข้าวที่ได้เพิ่มขึ้น
              2. เกษตรกรชุมชนเป้าหมายมีต้นทุนการเพาะปลูกต่ำลง
              3. สามารถขายข้าวให้กับจุดรับซื้อและมีกำไรเพิ่มขึ้น
              ทรัพยากรอื่น ๆ
              ภาคีร่วมสนับสนุน
              รายละเอียดงบประมาณ
              ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
              รวมค่าใช้จ่าย 0

              กิจกรรมที่ 7 การติดตามผล

              ชื่อกิจกรรม
              การติดตามผล
              วัตถุประสงค์
                รายละเอียดกิจกรรม
                การติดตามและประเมินผลแบ่งออกเป็น 2 ด้าน คือการประเมินผลเชิงปริมาณและการประเมินผลเชิงคุณภาพ ซึ่งผู้ดำเนินโครงการได้กำหนดตัวชีวัดดังต่อไปนี้
                ด้านปริมาณ
                - จำนวนประชาชนในเขตชุมชนบ้านเปลือย ตำบลยางตลาด อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ เข้าร่วมโครงการจำนวน 50 คน
                - จำนวนผู้รับผิดชอบโครงการ 8 คน
                ด้านคุณภาพ
                - เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการมีกำไรจากการขายข้าวเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 10
                - เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการมีผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 10
                - ความพึงพอใจของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
                ระยะเวลาดำเนินงาน
                2 เมษายน 2563 ถึง 30 มิถุนายน 2563
                ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
                1. ประชาชนสามารถดูแลการเพาะปลูกได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
                2. ผลผลิตเป็นไปตามความคาดหวัง
                3. ทราบข้อมูลการเพราะปลูกที่มีความต่อเนื่อง
                ทรัพยากรอื่น ๆ
                ภาคีร่วมสนับสนุน
                รายละเอียดงบประมาณ
                ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
                ค่าตอบแทนการประสานงาน

                - ค่าเบี้ยเลี้ยงผู้ติดต่อประสานงานจำนวน 4 คน x 40 บาทต่อ ซม. X 14 วัน x 3 ซม. ต่อวัน เท่ากับ 6,720 บาท

                4 คน 120 14 6,720
                ค่าตอบแทนผู้ทรงคุณวุฒิ

                ค่าเบี้ยเลี้ยงผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 2 คน x 250 บาทต่อ ซม. x 3 ซม.ต่อวัน x 14 วัน เท่ากับ 21,000 บาท

                2 คน 750 14 21,000
                ค่าพาหนะเดินทาง - รถตู้เช่า

                ค่าจ้างเหมารถตู้ 1,800 บาทต่อวัน x 14 วัน เท่ากับ 25,200 บาท

                1 ครั้ง 1,800 14 25,200
                ค่าพาหนะเดินทาง - รถยนต์ส่วนบุคคล

                - ค่าน้ำมันเดินทาง 500 บาทต่อวัน x 14 วัน เท่ากับ 7,000 บาท

                1 ครั้ง 500 14 7,000
                รวมค่าใช้จ่าย 59,920

                กิจกรรมที่ 8 อบรมการแปรรูปผลิตภัณฑ์หรือสินค้าจากข้าวและปิดโครงการ

                ชื่อกิจกรรม
                อบรมการแปรรูปผลิตภัณฑ์หรือสินค้าจากข้าวและปิดโครงการ
                วัตถุประสงค์
                  รายละเอียดกิจกรรม
                  อบรมการแปรรูปผลิตภัณฑ์หรือสินค้าจากข้าวและปิดโครงการ
                  ระยะเวลาดำเนินงาน
                  1 กรกฎาคม 2563 ถึง 1 กรกฎาคม 2563
                  ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
                  ทรัพยากรอื่น ๆ
                  ภาคีร่วมสนับสนุน
                  รายละเอียดงบประมาณ
                  ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
                  ค่าตอบแทนวิทยากร

                  ค่าเบี้ยเลี้ยงผู้วิทยากรจำนวน 2 คน x 600 บาทต่อ ซม. X 1 วัน x 8 ซม. ต่อวัน เท่ากับ 9,600 บาท

                  2 คน 4,800 1 9,600
                  ค่าตอบแทนการประสานงาน

                  ค่าเบี้ยเลี้ยงผู้ติดต่อประสานงานจำนวน 8 คน x 40 บาทต่อ ซม. X 1 วัน x 8 ซม. ต่อวัน เท่ากับ 2,560 บาท

                  8 คน 320 1 2,560
                  ค่าตอบแทนผู้ทรงคุณวุฒิ

                  ค่าเบี้ยเลี้ยงผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 4 คน x 250 บาทต่อ ซม. x 8 ซม.ต่อวัน x 1 วัน เท่ากับ 16,000 บาท

                  8 คน 2,000 1 16,000
                  ค่าตอบแทนผู้เข้าร่วมประชุม

                  ค่าตอบแทนประชาชนที่ให้ข้อมูลจำนวน 50 คน x 300 บาทต่อคน เท่ากับ 15,000 บาท

                  50 คน 300 1 15,000
                  ค่าพาหนะเดินทาง - รถตู้เช่า

                  ค่าจ้างเหมารถตู้ 1,800 บาทต่อวัน x 1 วัน เท่ากับ 1,800 บาท

                  1 ครั้ง 1,800 1 1,800
                  ค่าพาหนะเดินทาง - รถยนต์ส่วนบุคคล

                  ค่าน้ำมันเดินทาง 500 บาทต่อวัน x 1 วัน เท่ากับ 500 บาท

                  1 ครั้ง 500 1 500
                  ค่าจ้างทำป้ายประชาสัมพันธ์

                  - ค่าอุปกรณ์หรือสื่อ 10,000 บาท

                  1 ชุด 10,000 1 10,000
                  ค่าจ้างทำป้ายประชาสัมพันธ์

                  ค่าจัดทำ Backdrop 5,000 บาท

                  1 ชุด 5,000 1 5,000
                  รวมค่าใช้จ่าย 60,460

                  กิจกรรมที่ 9 สรุปโครงการ

                  ชื่อกิจกรรม
                  สรุปโครงการ
                  วัตถุประสงค์
                    รายละเอียดกิจกรรม
                    สรุปโครงการ
                    ระยะเวลาดำเนินงาน
                    2 กรกฎาคม 2563 ถึง 30 กรกฎาคม 2563
                    ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
                    ทรัพยากรอื่น ๆ
                    ภาคีร่วมสนับสนุน
                    รายละเอียดงบประมาณ
                    ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
                    ค่าถ่ายเอกสาร

                    ค่าจัดทำและเตรียมเอกสาร 10,000 บาท

                    1 ชุด 1,000 1 1,000
                    รวมค่าใช้จ่าย 1,000

                    รวมงบประมาณทุกกิจกรรมของแผนการดำเนินงาน จำนวน 491,280.00 บาท

                    ค่าตอบแทนค่าจ้างค่าใช้สอยค่าวัสดุรวมเงิน
                    ค่าใช้จ่าย (บาท) 365,080.00 20,000.00 56,200.00 50,000.00 491,280.00
                    เปอร์เซ็นต์ (%) 74.31% 4.07% 11.44% 10.18% 100.00%

                    11. งบประมาณ

                    491.00บาท

                    12. การติดตามประเมินผล

                    ต่อชุมชนต่อนักศึกษา
                    ผลผลิต (Output) ชุมชนมีรายได้จากการปลูกข้าวมากขึ้น นักศึกษาสามารถนำองค์ความรู้เข้ามาใช้ในการดำรงชีวิตและนำไปประกอบอาชีพหรือแนะนำคนในครอบครัวได้
                    ผลลัพธ์ (Outcome) ประชาชนในชุมชนมีองค์ความรู้เกี่ยวกับการทำเกษตรกรรม (เพาะปลูกข้าว) ให้ถูกต้องตามหลักสมดุลทางการตลาด กล่าวคือเกษตรกรจะสามารถผลิตข้าวตามความต้องการซื้อของตลาดอย่างเหมาะสม
                    ทำให้สามารถแก้ไขปัญหาการผลิตข้าวล้นตลาดและปัญหาราคาข้าวตกต่ำได้ ทั้งนี้โครงการยังทำให้เกษตรกรมีผลผลิตที่มาขึ้นสามารถสร้างกำไรจากการประกอบอาชีพหลักเพิ่มขึ้นอย่างยั่งยืน ซึ่งวัดได้จากเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการมีกำไรจากการขายข้าวและมีผลผลิตเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 10
                    นักศึกษามีความสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ซึ่งเป็นการฝึกการทำงานด้วยประสบการณ์จริง อีกทั้งสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้รับจากการแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกันกับชุมชนไปใช้ในการประกอบอาชีพและพัฒนาประเทศชาติต่อไป
                    ผลกระทบ (Impact) - เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการมีกำไรจากการขายข้าวเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 10
                    - เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการมีผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 10
                    - ความพึงพอใจของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
                    นักศึกษามีประสบการณ์การทำงานในระหว่างเรียนได้เป็นอย่างดี
                    นำเข้าสู่ระบบโดย phanupong17_2532 phanupong17_2532 เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2562 16:04 น.