แบบเสนอโครงการ

รหัสโครงการ …………………………………………

ชื่อโครงการ/กิจกรรม โครงการขยายผลรูปแบบการดำเนินงานบูรณาการระบบอาหารในระดับตำบล อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์

ชื่อองค์กร

กลุ่มคน

 

วันอนุมัติ …………………………………………

ระยะเวลาดำเนินโครงการ ตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม 2563 ถึง 30 เมษายน 2563

งบประมาณ จำนวน 500,000.00 บาท


หลักการและเหตุผล

 

สถานการณ์ปัญหา

สถานการณ์ปัญหาขนาด

วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัด

วัตถุประสงค์ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการกองทุน พี่เลี้ยงกองทุน และผู้เกี่ยวข้องในการจัดทำแผนงาน โครงการด้านระบบอาหาร ทั้งประเด็นความั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัย ในกองทุนตำบล 9 แห่ง ของอำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ 1. มีการพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการกองทุนและพี่เลี้ยง ในการเขียนโครงการขอรับงบกองทุนตำบลในประเด็นความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัย ทั้ง 9 อปท. 2. มีผู้เข้าร่วมพัฒนาศักยภาพ อปท.ละ 10 คน รวมทั้งอำเภอจำนวน 90 คน 3. เกิดแผนงาน โครงการด้านระบบอาหารในหน่วยงานองค์กรปกครองท้องถิ่น ในอำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 9 แห่ง อย่างน้อย 20 โครงการ 100.00 80.00
2 2.เพื่อให้กองทุนตำบลในอำเภอสมเด็จ สนับสนุนงบประมาณจากงบกองทุนตำบลในการดำเนินงานโครงการด้านระบบอาหาร ทั้งเรื่องความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัย มีโครงการได้รับงบสนับสนุนจากกองทุนตำบลในเด็นการสร้างเสริมสุขภาพ ด้านความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัย อย่างน้อยกองทุนตำบลละ 10 โครงการ รวมทั้งอำเภอ 90 โครงการ 80.00 80.00
3 3. เพื่อพัฒนาพื้นที่ต้นแบบด้านการจัดการระบบอาหาร ในพื้นที่เป้าหมาย 1. เกิดพื้นที่ต้นแบบในการจัดการระบอาหาร อย่างน้อย 5 แห่ง 2. เกิดเกิดนโยบายสาธารณะ ข้อตกลง กฏกติกา ที่เกี่ยวกับระบบอาหารในพื้นที่ อย่างน้อย 5 เรื่อง 50.00 30.00
4 4.เพื่อให้นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ที่ทำวิจัยเพื่อวิทยานิพนธ์เรื่องระบบอาหารมีความรู้และสามารถพัฒนาโครงร่างวิจัยด้านระบบอาหารได้ นักศึกษา ระดับบัณฑิตศึกษา สามารถพัฒนาโครงร่างข้อเสนอโครงการในการออกแบบการจัดการระบบอาหารในระดับตำบลได้ 80.00 50.00

วิธีดำเนินการ/กิจกรรม

1. 1. 1. ประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพพี่เลี้ยงกองทุนตำบล และคณะทำงานด้านระบบอาหารในระดับตำบล ด้านการจัดทำแผนงาน โครงการระบบอาหาร ทั้งเรื่องความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัย

รายละเอียด

จัดประชุมจำนวน 2 วัน มีกระบวนการ ดังนี้
วันที่ 8 มกราคม 63
1. ประชุมผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อชี้แจงกระบวนการทำโครงการ ประกอบด้วย
- ผู้อำนวยการ สปสช.เขต 7 หรือผู้แทน จำนวน 2 คน
- ผู้บริหาร อปท.9 แห่ง และคณะกรรมการกองทุน (3คนX9กองทุน) จำนวน 27 คน
- พี่เลี้ยงกองทุน 9 แห่ง แห่งละ 5 คน จำนวน 45 คน
- นักวิชาการจาก มรภ.กาฬสินธุ์ และ ม.สงขลานครินทร์ จำนวน 5 คน
- นักศึกษา ป.โท จำนวน 9 คน
2. พัฒนาศักยภาพ คณะกรรมการกองทุน และพี่เลี้ยงกองทุน ด้านการจัดทำแผนงาน โครงการระบบอาหารในประเด็น ความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัย ผ่านการลงข้อมูลทางเว็บไซต์ที่พัฒนาโดย ม.สงขลานครินทร์ ให้สามารถเป็นที่ปรึกษาของคนในชุมชนที่มีความต้องการเขียนโครงการของบกองทุนตำบลได้

วันที่ 9 มกราคม 62
1. พัฒนาศักยภาพผู้เกี่ยวข้องการทำโครงการ (ครูโรงเรียน ศพด./ผู้ใหญ่บ้าน/กลุ่มแม่บ้าน/อสม./เกษตรกร หรือผู้สนใจ) ใน 8 ตำบล จำนวน 80 คน ในการเขียนโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนจากงบกองทุนตำบล โดยแบ่งกลุ่มเป็นตำบล (ทุกกลุ่มมีคณะกรรมการและพี่เลี้ยงกองทุนคอยแนะนำอย่างใกล่ชิด)
2. ฝีกปฎิบัติการการเขียนโครงการในเว็บไซต์กองทุนตำบล
3. นำเสนอโครงการโดยชุมชน และมีคณะกรรมการและพี่เลี้ยงให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิด
4. สรุปการจัดประชุม และวางแผนการติดตามโครงการให้ได้รับการสนับสนุนจากงบกองทุนตำบล

ระยะเวลาดำเนินงาน 8 มกราคม 2563 - 9 มกราคม 2563

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลผลิต
1. เกิดแผนงาน โครงการ ด้านระบบอาหาร ทั้งประเด็น ความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัย ในหน่วยงานองค์กรปกครองท้องถิ่น ของอำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 9 แห่ง อย่างน้อยแห่งละ 10 โครงการ รวมทั้งอำเภออย่างน้อย 90 โครงการ

ผลลัพธ์
1. คณะกรรมการกองทุน และพี่เลี้ยงตำบล มีความเข้าใจในการเป็นที่ปรึกษา (พี่เลี้ยง) การเขียนโครงการให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องในชุมชน
2. ได้แผนการติดตามของพี่เลี้ยง ในการติดตามโครงการให้ได้รับการสนับสนุนจากงบกองทุนตำบล

งบประมาณ 112,000.00 บาท

ภาคีร่วมสนับสนุน

- สปสช.เขต 7 ขอนแก่น
- อปท. 9 แห่งในอำเภอสมเด็จ
- นักวิชาการจาก มรภ.กาฬสินธุ์ และ ม.สงขลานครินทร์

2. 2. 2. คณะทำงานระดับตำบลเก็บข้อมูลสถานการณ์ด้านความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัย และจัดทำ mapping พื้นที่อาหารในระดับตำบล

รายละเอียด

แบ่งการดำเนินงานออกเป็น 2 ครั้ง คือ
ครั้งที่ 1 เก็บรวบรวมข้อมูลสถานการณ์ด้านอาหารในอำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์
1. พัฒนาเครื่องมือการเก็บข้อมูลสถานการณ์ระบบอาหาร จำนวน 3 ด้าน ได้แก่ ความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัย โดยนักศึกษา ป.โท ร่วมกับนักวิชาการ มรภ.กาฬสินธุ์ และ ม.สงขลานครินทร์
2. นักศึกษา ป.โท ลงพื้นที่ร่วมกับพี่เลี้ยงกองทุน ผู้แทน อปท. และผู้นำชุมชน ทั้ง 8 ตำบล เพื่อเก็บข้อมูลสถานการณ์ด้านระบบอาหารจำนวน 3 ด้าน โดยใช้แบบสอบถาม การจัดเวทีสนทนากลุ่ม การศึกษาข้อมูลจากเอกสารและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
3. รวบรวมข้อมูลระบบอาหารทั้ง 8 ตำบล ทำการวิเคราะห์และเรียบเรียงข้อมูลเป็นเอกสาร

ครั้งที่ 2 จัดเวทีวิเคราะห์ข้อมูลด้านสถานการณ์อาหารในระดับตำบล จัดทำ mapping ร่วมกับคนในชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ใน 8 ตำบล แบ่งการจัดเวทีออกเป็น 2 ครั้ง ครั้งละ 4 ตำบล
- ผู้เข้าร่วมตำบลละ 30 คน รวม 8 ตำบล จำนวน 240 คน

ระยะเวลาดำเนินงาน 21 มกราคม 2563 - 28 กุมภาพันธ์ 2563

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลผลิต
1. ได้ข้อมูลสถานการณ์ระบบอาหารในอำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 3 ด้าน คือ ความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และด้านโภชนาการสมวัย อันจะนำไปสู่การวางแผนในการแก้ไขปัญหาด้านสุขภาวะและความยากจนได้

ผลลัพธ์
1. นักศึกษาได้เรียนรู้การทำงานพัฒนาชุมชน และหนุนเสริมความต้องการของชุมชนได้ตรงกับปัญหาและความต้องการของคนในชุมชน
2. ท้องถิ่นและหน่วยงานอื่น ๆ สามารถนำข้อมูลที่ได้ไปวิเคราะห์และวางแผนในการทำงานร่วมกับชุมชน โดยเฉพาะการหนุนเสริมความต้องการของชุมชนในการแก้ไขปัญหาความยากจนและปัญหาด้านสุขภาวะได้

งบประมาณ 153,300.00 บาท

ภาคีร่วมสนับสนุน

-

3. 3. เวทีคืนข้อมูลและจัดทำแผนปฏิบัติการ โดยพี่เลี้ยงกองทุนแต่ละพื้นที่ที่สนับสนุนกระบวนการจัดประชุมปฏิบัติการเพื่อจัดทำแผนงาน โครงการด้านระบบอาหารของพื้นที่

รายละเอียด

1. จัดเวทีคืนข้อมูล โดยเชิญผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและหน่วยงานที่รับผิดชอบ มาร่วมเวทีเพื่อเติมเต็มข้อมูลที่ขาดหาย และจัดทำแผนปฏิบัติการในการแก้ไขปัญหาด้านระบบอาหาร ด้านการสร้างเสริมสุขภาวะของคนในอำเภอสมเด็จ และการแก้ไขปัญหาความยากจน ผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 200 คน ประกอบด้วย
- นายอำเภอสมเด็จ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
- ผู้บริหาร อปท.ทั้ง 9 แห่ง
- สาธารณสุขอำเภอ
- ผู้นำชุมชนทั้ง 8 ตำบล
- ผู้อำนวยการ สปสช.เขต 7 ขอนแก่น
- คณะกรรมการกองทุน 9 แห่ง
- พี่เลี้ยงกองทุนตำบล
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนในอำเภอสมเด็จ
- นักวิชาการ มรภ.กาฬสินธุ์ และ ม.สงขลานครินทร์
- นักศึกษา ป.โท

2. แบ่งกลุ่มออกเป็น 8 ตำบล จัดทำแผนการแก้ไขปัญหาด้านระบบอาหาร ที่ประกอบด้วย ความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัย ซึ่งเป็นแผนที่สอดคล้องกับการแก้ไขปัญหาคุณภาพชีวิต การสร้างเสริมสุขภาวะ และการแก้ไขปัญหาความยากจน
3. สรุปและประมวลผล จัดทำเป็นเอกสารยุทธศาสตร์ระบบอาหารในระดับอำเภอสมเด็จ เพื่อการแก้ไขปัญหาคุณภาพชีวิต และส่งมอบให้ทางอำเภอสมเด็จ และ อปท.ทั้ง 8 นำไปขับเคลื่อนปฏิบัติการในต่อไป

ระยะเวลาดำเนินงาน 18 มีนาคม 2563 - 19 มีนาคม 2563

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลผลิต
1. ได้ยุทธศาสตร์ระบบอาหารในระดับอำเภอสมเด็จ และมีแผนปฏิบัติการจำนวน 3 ด้าน คือ ความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัย
2. มีการจัดตั้งคณะทำงานเพื่อขับเคลื่อนตามแผนปฏิบัติการ โดยใช้งบท้องถิ่น หรือ งบกองทุนตำบลในการปฏิบัติการตามแผนทั้ง 3 ด้าน หรือใช้งบของหน่วยงานในระดับอำเภอที่สอดคล้องกับแผนที่พื้นที่ได้ร่วมกันทำ

ผลลัพธ์
1. มีการจัดทำ บุคคล ครัวเรือน หน่วยงานต้นแบบ เช่น โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ต้นแบบในการจัดการระบบอาหารในประเด็น ความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัย ในระดับชุมชน
2. เกิดนโยบายสาธารณะ ข้อตกลง กฏกติกา ที่เกี่ยวกับระบบอาหารในพื้นที่

งบประมาณ 147,100.00 บาท

ภาคีร่วมสนับสนุน

ท้องถิ่นทั้ง 9 แห่งในอำเภอสมเด็จ และ สปสช.เขต 7 ขอนแก่น

4. 4. ติดตามหน่วยงาน องค์กรปกครองท้องถิ่น สนับสนุนงบประมาณเพื่อสร้างปฏิบัติการด้านระบบอาหารในพื้นที่ โดยใช้งบกองทุนตำบล และงบหน่วยงานอื่นที่สอดคล้องกับแผนทั้ง 3 ด้าน

รายละเอียด

1. ประชุมคณะกรรมการกองทุน พี่เลี้ยงกองทุน ทั้ง 9 แห่ง และคณะทำงานการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ระบบอาหาร เพื่อติดตามการปฏิบัติตามแผนงานระบบอาหารทั้ง 3 ด้าน ผู้เข้าร่วมจำนวน 70 คน ประกอบด้วย
- นักศีกษาและนักวิชาการจาก มรภ.กาฬสินธุ์ และ ม.สงขลานครินทร์ จำนวน 15 คน
- คณะกรรมการกองทุน และผู้บริหาร อปท. แห่งละ 3 คน จำนวน 27 คน
- พี่เลี้ยงกองทุน 27 คน
- ผู้แทนจากนายอำเภอสมเด็จ จำนวน 1 คน
2. ถอดบทเรียนการพัฒนาศักยภาพด้านการเขียนโครงการชุมชนเพื่อขอรับทุนจากกองทุนตำบลทั้ง 9 แห่ง สิ่งที่ต้องปรับปรุง และวางแผนการทำงานในระยะที่ 2 คือ การขยายผลไปยังอำเภอใกล้เคียง
3. ติดตามโครงการที่พัฒนาศักยภาพในช่วงแรก มีกี่โครงการที่ผ่านและได้รับงบสนับสนุนจากกองทุนตำบล

ระยะเวลาดำเนินงาน 21 เมษายน 2563 - 22 เมษายน 2563

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1. หน่วยงานองค์กรปกครองท้องถิ่น ในพื้นที่เป้าหมายสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนตำบล เพื่อสนับสนุนปฏิบัติการตามโครงการด้านระบบอาหาร อย่างน้อยกองทุนตำบลละ 5 โครงการ รวมทั้งอำเภอไม่น้อยกว่า 45 โครงการ
2. เกิดพื้นที่ต้นแบบในการจัดการระบอาหาร อย่างน้อย 5 แห่ง

ผลลัพธ์
1. เกิดนโยบายสาธารณะ ข้อตกลง กฏกติกา ที่เกี่ยวกับระบบอาหารในพื้นที่ อย่างน้อย 5 เรื่อง
2. นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มีความรู้ และสามารถออกแบบการจัดการระบบอาหารแบบบูรณาการในระดับตำบล

งบประมาณ 87,600.00 บาท

ภาคีร่วมสนับสนุน

สปสช.เขต 7 ขอนแก่น

ระยะเวลาดำเนินการ

ระยะเวลาดำเนินโครงการ ตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม 2563 ถึง 30 เมษายน 2563

งบประมาณ

จากงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 
จำนวน 500,000.00 บาท รายละเอียดดังในวิธีดำเนินการ/กิจกรรม ด้านบน

องค์กรภาคีที่ร่วมดำเนินงาน

มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์

ลงชื่อ . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . ผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

( . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .)

ตำแหน่ง . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .

วันที่-เดือน-พ.ศ. . . . . . . . . . . . . . . . . . .


ส่วนที่ 2 : ผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม (สำหรับเจ้าหน้าที่ ที่ได้รับมอบหมายลงรายละเอียด)

ตามมติการประชุมคณะกรรมการ . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .
ครั้งที่ . . . . . . . . . . . / . . . . . . . . . เมื่อวันที่ . . . . . . . . . . . . . . . . . . . ผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้

อนุมัติงบประมาณ เพื่อสนับสนุนแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม จำนวน . . . . . . . . . . . . . . บาท
เพราะ . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .

ไม่อนุมัติงบประมาณ เพื่อสนับสนุนแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
เพราะ . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .

หมายเหตุเพิ่มเติม (ถ้ามี) . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .

ให้รายงานผลความสำเร็จของแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ตามแบบฟอร์ม ภายในวันที่ . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .

ลงชื่อ . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .        

( . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .)

ตำแหน่ง . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .          

วันที่-เดือน-พ.ศ. . . . . . . . . . . . . . . . . . .