การพัฒนากลยุทธ์การตลาดสำหรับธุรกิจจำหน่ายพันธุ์ไม้ กรณีศึกษา : ร้านณรงค์ทิพย์พันธุ์ไม้ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี

แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ

ชื่อโครงการ การพัฒนากลยุทธ์การตลาดสำหรับธุรกิจจำหน่ายพันธุ์ไม้ กรณีศึกษา : ร้านณรงค์ทิพย์พันธุ์ไม้ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี

ระยะเวลาโครงการ 1 สิงหาคม 2560 - 30 พฤศจิกายน 2560

แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นการคุณค่าที่เกิดจากโครงการในมิติต่อไปนี้

  • ความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพและนวัตกรรมเชิงระบบสุขภาพชุมชน
  • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีผลต่อสุขภาวะ
  • การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ
  • ผลกระทบเชิงบวกและนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาวะชุมชน
  • กระบวนการชุมชน
  • มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่

1. เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
1. ความรู้ใหม่ / องค์ความรู้ใหม่

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
2. สิ่งประดิษฐ์ / ผลผลิตใหม่

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
3. กระบวนการใหม่

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
4. วิธีการทำงาน / การจัดการใหม่

ผลสรุปการวิเคราะห์ร้านณรงค์ทิพย์พันธุ์ไม้ โดยใช้เครื่องมือแรงกดกัน 5 ประการ (Pire Forces Model) พบว่า การแข่งขันระหว่างคู่แข่งขันภายในอุตสาหกรรมเดียวกัน มีทั้งหมด 6 รายในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ไม่มีการแย่งลูกค้ากันมากเนื่องจากขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของลูกค้า จึงทำให้ธุรกิจจำหน่ายพันธุ์ไม้มีการพัฒนาสินค้า (พันธุ์ไม้) และบริการของตนเองอยู่เสมอ อำนาจการต่อรองของ Suppliers มีสูงกว่าร้านณรงค์ทิพย์พันธุ์ไม้เนื่องจากทางร้านไม่ได้ซื้อพันธุ์ไม้ในปริมาณมากจึงมีอำนาจการต่อรองน้อยกว่า อำนาจการต่อรองของลูกค้ามีลดลงเนื่องจากสภาพเศรษฐกิจที่ส่งผลให้อำนาจการซื้อพันธุ์ไม้ของลูกค้าลดลงเช่นเดียวกัน ภัยคุกคามจากสินค้าทดแทนเป็นต้นไม้ประดิษฐ์ ต้นไม้และดอกไม้พลาสติก (ต้นไม้ปลอม) แต่ลูกค้าส่วนใหญ่ยังให้ความสำคัญกับการปลูกพันธุ์ไม้จริงเพื่อใช้ในการจัดตกแต่งสถานที่และจัดสวน เป็นต้น ภัยคุกคามจากคู่แข่งขันรายใหม่มีมากเพิ่มขึ้น เนื่องจากผู้คนในปัจจุบันให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม จึงส่งผลให้ธุรกิจพันธุ์ไม้มีมากขึ้น ผลสรุปผลการวิเคราะห์ร้านณรงค์ทิพย์พันธุ์ไม้ โดยใช้เครื่องมือส่วนผสมทางการตลาด 7P’s พบว่า ด้านผลิตภัณฑ์ ได้แก่ ไม้ดอก ไม้ประดับ ไม้ผล สมุนไพรและพืชสวนครัว ซึ่งมีสินค้าให้ลูกค้าได้เลือกหลากหลายชนิด ด้านราคา ราคาของพันธุ์ไม้ขึ้นอยู่กับชนิดและขนาดของพันธุ์ไม้มีราคาเริ่มต้นอยู่ที่ 5 บาท สูงสุด 3,000 บาท ด้านช่องทางการจัดจำหน่ายมีหน้าร้าน 2 แห่ง ทำให้ช่วยเพิ่มความสะดวกสบายให้กับลูกค้าที่สามารถเดินทางไปซื้อยังร้านที่ตนเองอยู่ใกล้เคียงได้อย่างสะดวก ด้านการส่งเสริมการตลาด มีป้านโฆษณาที่ชัดเจน มีส่วนลดพิเศษ และมีบริการจัดส่งถึงที่ฟรี (เฉพาะผู้ที่ซื้อจำนวนมากและอยู่ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ส่วนผู้ที่อยู่ต่างจังหวัดจะคิดค่าบริการจัดส่งที่เหมาะสม) ด้านบุคคล พนักงานและผู้ประกอบการมีความรู้ ความชำนาญ ในการให้ข้อมูลแก่ลูกค้าเกี่ยวกับการดูแลรักษาพันธุ์ไม้แต่ละชนิด ให้บริการที่ประทับใจ และบริการที่รวดเร็วตรงต่อความต้องการของลูกค้า ด้านกายภาพและการนำเสนอ สถานที่ตั้งร้านสามารถมองเห็นได้ชัด มีที่จอดรถ มีการจัดหมวดหมู่และประเภทของพันธุ์ไม้ บริเวณร้านให้ความรู้สึกถึงธรรมชาติ จัดหาพันธุ์ไม้ให้ลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว ใช้ปุ๋ยชีวภาพในการบำรุงรักษาพันธุ์ไม้ และมีการตรวจสอบคุณภาพของพันธุ์ไม้ทุกครั้งก่อนจัดส่งให้กับลูกค้า       ผลสรุปข้อมูลแบบบันทึกของคู่แข่งโดยการแบ่งเกณฑ์ต่างๆ คู่แข่งระหว่างธุรกิจพันธุ์ไม้ในเขต อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี พบว่า ด้านผลิตภัณฑ์ (Product) ร้านจำหน่ายพันธุ์ไม้ที่เป็นคู่แข่งกับร้านณรงค์ทิพย์พันธุ์ไม้ทั้งทั้ง 6 ร้านจะมีลักษณะพันธุ์ไม้ที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นชนิด และขนาดของพันธุ์ไม้ ชนิดของพันธุ์ไม้ส่วนใหญ่จะเหมือนกับร้านอื่น ด้านราคา (Price) ร้านจำหน่ายพันธุ์ไม้ที่เป็นคู่แข่งกับร้านณรงค์ทิพย์พันธุ์ไม้ทั้งทั้ง 6 ร้าน จะมีการแบ่งเกณฑ์ราคาออกจากกันอย่างชัดเจน การแบ่งเกณฑ์ราคา แบ่งออกตามชนิดและขนาดของพันธุ์ไม้ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย (Place) ร้านจำหน่ายพันธุ์ไม้ที่เป็นคู่แข่งกับร้านณรงค์ทิพย์พันธุ์ไม้ทั้งทั้ง 6 ร้าน ช่องทางการจัดจำหน่ายโดยส่วนใหญ่เน้นหน้าร้านเป็นหลัก ด้านส่งเสริมการตลาด (Promotion) ร้านจำหน่ายพันธุ์ไม้ที่เป็นคู่แข่งกับร้านณรงค์ทิพย์พันธุ์ไม้ทั้งทั้ง 6 ร้าน โดยส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับการสร้างแรงจูงใจให้ลูกค้ากลับมาใช้บริการใหม่ ได้แก่ การให้ส่วนลดหรือการแถมต้นไม้ และทำให้ลูกค้าจดจำร้านได้ดีด้วยการทำบ้านหน้าร้านให้ชัดเจนและโดดเด่นสามารถมองเห็นได้ง่าย ด้านบุคคล (People) ร้านจำหน่ายพันธุ์ไม้ที่เป็นคู่แข่งกับร้านณรงค์ทิพย์พันธุ์ไม้ทั้งทั้ง 6 ร้าน เน้นความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ในการให้ข้อมูลลูกค้าเกี่ยวกับการปลูก และการดูแลรักษาพันธุ์ไม้ได้อย่างดี และที่สำคัญแสดงความกระตือรื้นในการจัดหาพันธุ์ไม้ให้กับลูกค้าด้วยความเต็มใจและแสดงความเป็นมิตรต่อลูกค้า ด้านกายภาพและการนำเสนอ (Physical Evidence and Presentation) ร้านจำหน่ายพันธุ์ไม้ที่เป็นคู่แข่งกับร้านณรงค์ทิพย์พันธุ์ไม้ทั้งทั้ง 6 ร้าน ที่จัดตั้งร้านและป้ายชื่อร้านสามารถมองเห็นได้ชัด ในขณะที่พื้นที่การจอดรถไม่เพียงพอต่อการใช้บริการมากนัก ด้านกระบวนการ (Process) ร้านจำหน่ายพันธุ์ไม้ที่เป็นคู่แข่งกับร้านณรงค์ทิพย์พันธุ์ไม้ทั้งทั้ง 6 ร้าน โดยส่วนใหญ่พันธุ์ไม้จะอยู่ในลักษณะการรับมาแล้วขายไป เนื้อจากวิธีและขั้นตอนการดูแลค่อนข้างยุ่งยากและต้องใช้เวลา ที่สำคัญระบบการจัดหาพันธุ์ไม้ให้ลูกค้าต้องรวดเร็วและตรงต่อความต้องการของผู้ที่มาซื้อพันธุ์ไม้       สรุปผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจสำหรับลูกค้าที่มาใช้บริการร้านณรงค์ทิพย์พันธุ์ไม้ โดยใช้ทฤษฎี 7 P’s พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงจำนวน 26 คน คิดเป็นร้อยละ 65 และผู้ชายจำนวน 14 คน คิดเป็นร้อยละ 35 มีอายุระหว่าง 21- 60 ปี จำนวน 40 คน คิดเป็นร้อยละ 100 อยู่ในระดับปริญญาตรีจำนวน 14 คน คิดเป็นร้อยละ 35 เป็นลูกค้าทั่วไป (ลูกค้าสัญจร) จำนวน 27 คน คิดเป็นร้อยละ 67.5 พฤติกรรมของผู้ที่มาใช้บริการส่วนใหญ่จะซื้อพันธุ์ไม้จากร้านจำหน่ายพันธุ์ไม้ จำนวน 28 คน คิดเป็นร้อยละ 70 รู้จักร้านณรงค์ทิพย์พันธุ์ไม้ด้วยตนเองจำนวน 30 คน คิดเป็นร้อยละ 75 ซื้อพันธุ์ไม้ดอกเป็นส่วนใหญ่จำนวน 23 คน คิดเป็นร้อยละ 57.5 ซื้อจำนวน 1-5 ต้นต่อเดือนจำนวน 18 คน คิดเป็นร้อยละ 45.5 สาเหตุที่ซื้อพันธุ์ไม้จากร้านณรงค์ทิพย์พันธุ์ไม้เพราะมีพันธุ์ไม้ให้เลือกหลากหลายและพันธุ์ไม้มีคุณภาพจำนวน 20 คน คิดเป็นร้อยละ 50 จากค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน พบว่า ระดับความพึงพอใจโดยรวม มีระดับความพึงพอใจมาก (x ̅=3.63 S.D.=0.137) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ระดับความพึงพอใจมาก คือ ด้านบุคคล (People) (x ̅=4.14 S.D.=0.831) ด้านกายภาพและการนำเสนอ (Physical Evidence and Presentation) (x ̅=3.81 S.D.=0.991) ด้านราคา (Price) (x ̅=3.81 S.D.=0.917) ด้านกระบวนการ (Process) (x ̅=3.80 S.D.=0.847)ด้านผลิตภัณฑ์ (Product) (x ̅=3.56 S.D.=1.017) และระดับความพึงพอใจปานกลาง คือ ด้านส่งเสริมการตลาด (Promotion) มี (x ̅=3.24 S.D.=1.204) และด้านช่องทางการจัดจำหน่าย (Place) (x ̅=3.22 S.D.= 1.133)       สรุปผลการวิเคราะห์ความต้องการในการเลือกซื้อพันธุ์ไม้ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี พบว่าลักษณะข้อมูลทั่วไป ของผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ คือ โรงเรียน จำนวน 10 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 20.41 รองลงมา คือ ร้านอาหาร จำนวน 9 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 18.37 โรงแรมและหน่วยงานราชการ (ภาครัฐ) จำนวน 8 คิดเป็นร้อยละ 16.33 บ้านจัดสรร จำนวน 4 แห่งคิดเป็นร้อยละ 8.16 อาชีวะ จำนวน 3 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 6.12 ห้างสรรพสินค้า 2 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 4.08 วิทยาลัย คอนโดมิเนียม โรงพยาบาลและสวนสาธารณะ จำนวน 1แห่ง คิดเป็นร้อยละ 2.04 ลักษณะความต้องการเลือกซื้อพันธุ์ไม้เพื่อใช้ตกแต่งบ้าน/ร้านอาหาร จำนวน 24 คน คิดเป็นร้อยละ 49.0 นิยมเลือกซื้อประเภทไม้ดอก จำนวน 30 คน คิดเป็นร้อยละ 61.2 ราคาในการเลือกซื้อต่ำกว่า 4,000 บาท จำนวน 17 คน คิดเป็นร้อยละ 34.7 ซื้อตามร้านจำหน่ายพันธุ์ไม้ทั่วไป จำนวน 39 คน คิดเป็นร้อยละ 79.6 ปัจจัยในการเลือกซื้อพันธุ์ไม้กับร้านจำหน่ายพันธุ์ไม้ เพราะราคาถูก พันธุ์ไม้ดีมีคุณภาพ จำนวน 14 คน คิดเป็นร้อยละ 28.6 ต้องการบริการจัดส่งถึงที่ จำนวน 23 คน คิดเป็นร้อยละ 46.9 ส่วนใหญ่ลูกค้าจะไม่พบปัญหา จำนวน 24 คน คิดเป็นร้อยละ 49.0 สรุปผลกลยุทธ์ของร้านณรงค์ทิพย์พันธุ์ไม้โดยใช้เครื่องมือการวิเคราะห์ TOWS Matrix         กลยุทธ์เชิงรุก
      - กลยุทธ์การสร้างความสะดวกให้กับลูกค้าโดยการขยายสาขาร้านณรงค์ทิพย์พันธุ์ไม้ เพื่อรองรับการขยายตัวของของลูกค้าที่มาใช้บริการ
      - กลยุทธ์การสร้างฐานข้อมูลของลูกค้าเพื่อเป็นจดจำความต้องการของลูกค้าแต่ละรายเพื่อเป็นการสร้างความประทับใจแก่ลูกค้า
        กลยุทธ์เชิงแก้ไข       - กลยุทธ์การโฆษณาผ่านสื่อออนไลน์ ผ่าน Facebook, เว็บไซต์ โดยร้านณรงค์- ทิพย์พันธุ์ไม้ต้องนำเสนอข้อมูลพื้นฐานของทางร้านผ่าน Facebook, เว็บไซต์รวมทั้งข้อมูลที่สามารถติดต่อกับทางร้านได้และมีการแจ้งข้อมูลอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นพันธุ์ไม้ที่มีการตัดตกแต่งเป็นพิเศษหรือพันธุ์ไม้สายพันธุ์ใหม่ที่มีความโดดเด่นและเป็นที่นิยมในปัจจุบัน เป็นต้น เพื่อให้ลูกค้าทราบข้อมูลข่าวสารอย่างต่อเนื่อง
        กลยุทธ์เชิงป้องกัน       - กลยุทธ์สร้างความแตกต่างโดยการทำคู่มือเรื่องการดูแลรักษาพันธุ์ไม้แก่ลูกค้าที่มารับบริการจากทางร้าน
        กลยุทธ์เชิงรับ     - กลยุทธ์การสั่งซื้อพันธุ์ไม้ตามช่วงฤดูกาล เทศกาล และวันสำคัญต่างๆ เช่น ฤดูหนาวสั่งซื้อไม้ดอก และฤดูฝนสั่งซื้อไม้ผลมาจำหน่าย เป็นต้น มีการคาดการณ์ความต้องการซื้อของลูกในอนาคต โดยการเปรียบเทียบยอดขายและความต้องการของลูกค้าในอดีตกับปัจจุบัน เพื่อป้องกันพันธุ์ไม้ขาดตลาดทำให้เสียโอกาสในการจำหน่ายหรือพันธุ์ไม้ล้นตลาดส่งผลให้ขาดสภาพคล่องของเงินทุนหมุนเวียน
    สรุปแผนกลยุทธ์การตลาดของร้านณรงค์ทิพย์พันธุ์ไม้   เป้าหมายระยะสั้น อยู่ในช่วง 1-3 ปี (Short-Team Objectives) สร้างฐานข้อมูลของลูกค้าปัจจุบัน เพื่อตอบโจทย์ลูกค้าได้ตรงจุดโดยการบันทึกข้อมูลลูกค้าอย่างต่อเนื่องภายในระยะเวลา1-3 ปี และสร้างแรงจูงใจแก่ผู้ที่มาใช้บริการอีกครั้งโดยการทำคู่มือเรื่องการดูแลรักษาพันธุ์ไม้ รวมถึงข้อมูลทางการติดต่อกับทางร้านแก่ลูกค้าที่ใช้บริการจากทางร้านณรงค์ทิพย์พันธุ์ไม้ เพื่อเป็นการส่งเสริมการขายให้ลูกค้ารู้จักร้านณรงค์ทิพย์พันธุ์ไม้มากยิ่งขึ้น โดยการทำคู่มือเรื่องการดูแลพันธุ์ไม้จำนวน 500 ชุด โดยมีลูกค้าที่มาซื้อพันธุ์ไม้ซึ่งรู้จักร้านณรงค์ทิพย์พันธุ์ไม้มาจากคู่มือจำนวน 100 ชุด ในระยะเวลาภายใน 1ปี เป้าหมายระยะยาว (Long Term Objectives) เพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาดของร้านณรงค์ทิพย์พันธุ์ไม้ โดยมีอัตราส่วนแบ่งตลาดอยู่ที่ร้อยละ 30 เมื่อเปรียบเทียบกับส่วนแบ่งการตลาดทั้งหมดในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี
  การแบ่งส่วนตลาด (Market Segmentation) ของร้านณรงค์ทิพย์พันธุ์ไม้จึงจำเป็นต้องกำหนดตลาดกลุ่มเป้าหมายโดยใช้เกณฑ์แบ่งทั้งหมด 3 เกณฑ์ เกณฑ์แรก คือ เกณฑ์ทางด้านประชากรศาสตร์ (Demographic Segmentation) เกี่ยวข้องกับอายุ ส่วนเกณฑ์ที่สอง คือ เกณฑ์ด้านภูมิศาสตร์ (Geogrophic Segmentation) ตามสถานที่ที่กลุ่มลูกค้าใช้ชีวิตประจำวัน และเกณฑ์สุดท้าย คือ เกณฑ์ทางด้านพฤติกรรมของผู้บริโภค (Benavioral Segmentation) โดยพิจารณาตามลักษณะพฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีความต่างกันของแต่ละเกณฑ์ โดยกลุ่มเป้าหมายที่เลือก ได้แก่ ประชากรศาสตร์ช่วงอายุ 21-40 ปี และช่วง 41-60 ปี เนื่องจากเป็นวัยที่มีอำนาจการตัดสินใจซื้อและมีความสามารถในการเดินทางมาเลือกซื้อพันธุ์ไม้ที่ต้องการได้ด้วยตนเอง โดยลูกค้าส่วนใหญ่จะเป็นลูกค้าที่สัญจรผ่านร้านณรงค์ทิพย์พันธุ์ไม้และลูกค้าที่อาศัยอยู่ในเขตจังหวัดอุดรธานี กลุ่มตลาดเป้าหมายหลัก (Primary Target) คือ ลูกค้าที่ใช้ต้นไม้เพื่อนำมาประดับตกแต่ง สถานที่หรือให้เกิดความรู้สึกถึงความเป็นธรรมชาติ ดูสบายตาและเกิดความสวยงามของสถานที่นั้นๆ
  จากการเปรียบเทียบตำแหน่งผลิตภัณฑ์ของร้านณรงค์ทิพย์พันธุ์ไม้ พบว่า ร้านณรงค์ทิพย์พันธุ์ไม้ มีความหลากหลายของพันธุ์ไม้มีบริการที่ประทับใจ สูงกว่าร้านคู่แข่งขัน ในขณะที่ร้านพฤกษาพันธุ์ไม้มีความหลากหลายและบริการประทับใจสูงกว่าร้านแสงเดือนพันธุ์ไม้ พบว่าร้านแสงเดือนนั้นมีความหลากหลายของพันธุ์ไม้ที่ต่ำแต่มีบริการที่ประทับใจอยู่ในระดับเดียวกันกับร้านกฤษดาพันธุ์ไม้

 

จากผลการดำเนินโครงการการพัฒนากลยุทธ์การตลาดสำหรับธุรกิจจำหน่ายพันธุ์ไม้  กรณีศึกษา : ร้านณรงค์ทิพย์พันธุ์ไม้ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ ข้อเสนอแนะ คือ เมื่อผู้ประกอบการร้านณรงค์ทิพย์พันธุ์ไม้ทราบถึงข้อมูลความต้องการของกลุ่มลูกค้ากลุ่มเป้าหมายใหม่และลูกค้าที่เคยมาใช้บริการกับทางร้าน รวมทั้งข้อมูลบ้างส่วนของคู่แข่งขัน ผู้ประกอบการร้านณรงค์ทิพย์พันธุ์ไม้ควรนำกลยุทธ์และแผนการตลาดที่เสนอไว้ในเล่มโครงงานนี้ไปปรับใช้ในธุรกิจให้เหมาะสมกับสถานการณ์ภาวะการแข่งขันที่รุนแรงในธุรกิจจำหน่ายพันธุ์ไม้ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี เพื่อให้ร้านร้านณรงค์ทิพย์พันธุ์ไม้มีส่วนแบ่งการตลาดที่เพิ่มขึ้นและสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
5. การเกิดกลุ่ม / โครงสร้างในชุมชนใหม่

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
6. แหล่งเรียนรู้ใหม่

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
7. อื่นๆ