โครงการ Sanook Farmer Market : การเพิ่มประสิทธิภาพและพัฒนาตลาดสินค้าเกษตรของกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนตน 2 ภายใต้กิจกรรมที่ 3 การพัฒนานวัตกรรมการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากข้าวอินทรีย์เพื่อสุขภาพและปลอดภัยในพื้นที่กลุ่มจังหวัด

โครงการ Sanook Farmer Market : การเพิ่มประสิทธิภาพและพัฒนาตลาดสินค้าเกษตรของกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนตน 2 ภายใต้กิจกรรมที่ 3 การพัฒนานวัตกรรมการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากข้าวอินทรีย์เพื่อสุขภาพและปลอดภัยในพื้นที่กลุ่มจังหวัด

ข้อมูลโครงการ

ชื่อโครงการ โครงการ Sanook Farmer Market : การเพิ่มประสิทธิภาพและพัฒนาตลาดสินค้าเกษตรของกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนตน 2 ภายใต้กิจกรรมที่ 3 การพัฒนานวัตกรรมการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากข้าวอินทรีย์เพื่อสุขภาพและปลอดภัยในพื้นที่กลุ่มจังหวัด
สถาบันอุดมศึกษาหลัก
หน่วยงานหลัก คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร
หน่วยงานร่วม คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร
ชื่อชุมชน ชุมชนในเขตพื้นที่ จังหวัดสกลนคร นครพนม มุกดาหาร
ชื่อผู้รับผิดชอบ อาจารย์ ดร.ภูริชชญา แตปรเมศามัย
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร เลขที่ 59 หมู่ 1 ตำบลเชียงเครือ อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร 47000
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา อาจารย์ ดร.ภูริชชญา แตปรเมศามัย คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ
การติดต่อ 089-712-4041 , 085-925-2825
ปี พ.ศ. 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 7 ธันวาคม 2561 - 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 2,621,900.00 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
สกลนคร place directions
นครพนม place directions
มุกดาหาร place directions

รายละเอียดชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน
กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2 (นครพนม สกลนคร มุกดาหาร) ถือว่าเป็นแหล่งผลิตสินค้าเกษตรที่สำคัญและมีคุณภาพเป็นที่รู้จักของผู้บริโภคทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ข้าวหอมมะลิ ลิ้นจี่ นพ. 1 สับปะรด โคเนื้อ ไข่ไก่ ไก่งวง รวมถึงผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรอื่นๆ ได้แก่ ข้าวฮาง ข้าวกล้อง จมูกข้าว น้ำจมูกข้าว น้ำหมากเม่า ผ้าย้อมคราม เป็นต้น อีกทั้งเป็นสินค้าเกษตรที่สำคัญของกลุ่มจังหวัดที่ได้รับการรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรปลอดภัย GAP และสินค้ามาตรฐานเกษตรอินทรีย์ รวมถึงสินค้าที่เป็นอัตราลักษณ์และเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น GI ได้แก่ข้าวฮางวาปีปทุม ลิ้นจี่ นพ. 1 และสับปะรดท่าอุเทน ซึ่งถือว่ามีความโดดเด่นและคุณภาพเฉพาะตัวที่ผู้บริโภคให้การยอมรับ
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2 (นครพนม สกลนคร มุกดาหาร) มีเขตเศรษฐกิจพิเศษ จำนวน 2 แห่ง คือนครพนม และมุกดาหาร ซึ่งเป็นโอกาสในการเชื่อมโยงสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพไปยังเวียดนามและจีนตอนใต้ – ตะวันออก โดยมีจังหวัดนครพนม เป็นจุดยุทธศาสตร์ในการเป็นศูนย์กลางการค้าชายแดนของกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2 ที่มีศักยภาพและเป็นประตูเศรษฐกิจที่มีระยะทางที่สั้นที่สุดไปสู่จีนตอนใต้เพียง 831 กิโลเมตร โดยผ่านถนนหมายเลข R12 ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และเส้นทาง A1 ในเวียดนามไปสู่จีนตอนใต้ ดังนั้นสินค้าเกษตรที่สำคัญจึงเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคทั้งชาวไทย ลาว เวียดนาม และจีนตอนใต้ - ตะวันออก
ข้อมูลประเด็นปัญหา
สำหรับการแปรรูปสินค้าข้าวของกลุ่มจังหวัด ประสบปัญหาในเรื่องของการผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะเหมือนๆกัน คือสินค้าข้าวไม่มีความแตกต่าง อีกทั้งระบบห่วงโซ่อุปทานนั้นเป็นเพียงแค่ต้นน้ำเท่านั้น (Up stream) ซึ่งละเลยขั้นตอนการเพิ่มมูลค่า (Value added) สินค้าเข้าไปทำให้ต้องขายข้าวในราคาที่ถูกกำหนดมาแล้วเท่านั้น และการสร้างตราสินค้า ซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของกลุ่มจังหวัดฯ ที่เกิดการบูรณาการความรู้ ความคิด ความร่วมมือและทรัพยากรเพื่อสร้างเครือข่ายของวิสาหกิจชุมชนแปรรูปข้าวให้เกิดการแบ่งปัน ถ่ายทอดความรู้ต่างๆ มีการจัดการด้านการผลิต การตลาด อันจะนำมาซึ่งคุณภาพและมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ข้าว ปัจจุบันมีกลุ่มผู้ผลิตผลิตภัณฑ์แปรรูปจากข้าวทั่วประเทศเป็นจำนวนมาก เกิดการแข่งขันด้านการตลาดสูง ส่งผลกระทบต่อกลุ่มผู้ผลิตฯ ในเขตจังหวัดสกลนคร นครพนม มุกดาหารโดยตรง ดังนั้นการสร้างสรรค์นวัตกรรมอาหารและปรับปรุงกระบวนการผลิตให้ได้มาตรฐาน และสร้างผลิตภัณฑ์ด้วยนวัตกรรมเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความแตกต่างและเจาะจงกลุ่มผู้บริโภคที่รักสุขภาพ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้บริโภคที่มีศักยภาพในการซื้อสินค้า เช่น ชีเรียลจากข้าว เวชสำอางที่ผลิตจากข้าว น้ำข้าวสกัด ขนมจากข้าว ฯลฯ เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับข้าวของกลุ่มจังหวัด และเพิ่มโอกาสในการแข่งขันนำมาซึ่งรายได้ให้กับชุมชน
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่
กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2 มีความจำเป็นอย่างเร่งด่วนมาก ที่จะพัฒนาศักยภาพการผลิตและคุณภาพสินค้าเกษตรและแปรรูปสินค้าเกษตร ในการเชื่อมโยงด้านการค้าและการลงทุนของอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง การแสดงและจำหน่ายสินค้าและบริการเด่นของผู้ประกอบการไทยและพัฒนา การค้า การลงทุน การท่องเที่ยวจังหวัดนครพนม สกลนคร มุกดาหาร เพื่อนำไปสู่การเป็นศูนย์กลางการค้าชายแดน ประตูเศรษฐกิจสู่อาเซียนและจีนตอนใต้-ตะวันนออก เพื่อยกระดับรายได้ให้กับเกษตรกร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน สถาบันเกษตรกร และผู้ประกอบการ

ประเด็นปัญหาหลัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

โครงการมีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาและยกระดับกระบวนการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร การนำนวัตกรรม และเทคโนโลยีด้านการเกษตร ที่มีผลต่อการเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรของกลุ่มจังหวัด มาใช้ในกระบวนการผลิตและแปรรูปสินค้าเกษตร การพัฒนาภาคเกษตรในอนาคต เน้นการลดต้นทุนการผลิต ลดผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยเน้นการทำเกษตรกรรมความแม่นยำสูง ทำให้การเพาะปลูกมีประสิทธิภาพดีขึ้น เพิ่มปริมาณและคุณภาพผลผลิตตลอดจนช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และควบคุมการใช้ปัจจัยการผลิตให้เหมาะสมกับความต้องการของพืชในแต่ละพื้นที่หรือแต่ละช่วงเวลา จึงช่วยลดความสูญเสีย เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ส่งเสริมการทำเกษตรอย่างยั่งยืนและเพื่อให้สอดรับกับนโยบายรัฐบาลมุ่งสู่การพัฒนาเศรษฐกิจและพัฒนาพื้นที่กลุ่มจังหวัด 4.0 และสร้างกลุ่มจังหวัดสนุกเป็นเมืองแห่งอาหารเพื่อรองรับการท่องเที่ยวและการลงทุน

รายละเอียดโครงการ/หลักการและเหตุผล

1. ที่มา
กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2 (นครพนม สกลนคร มุกดาหาร) ถือว่าเป็นแหล่งผลิตสินค้าเกษตรที่สำคัญและมีคุณภาพเป็นที่รู้จักของผู้บริโภคทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ข้าวหอมมะลิ ลิ้นจี่ นพ. 1 สับปะรด โคเนื้อ ไข่ไก่ ไก่งวง รวมถึงผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรอื่นๆ ได้แก่ ข้าวฮาง ข้าวกล้อง จมูกข้าว น้ำจมูกข้าว น้ำหมากเม่า ผ้าย้อมคราม เป็นต้น อีกทั้งเป็นสินค้าเกษตรที่สำคัญของกลุ่มจังหวัดที่ได้รับการรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรปลอดภัย GAP และสินค้ามาตรฐานเกษตรอินทรีย์ รวมถึงสินค้าที่เป็นอัตราลักษณ์ และเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น GI ได้แก่ข้าวฮางวาปีปทุม ลิ้นจี่ นพ. 1 และสับปะรด ท่าอุเทน ซึ่งถือว่ามีความโดดเด่นและคุณภาพเฉพาะตัว ที่ผู้บริโภคให้การยอมรับ โดยกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2 ได้มีการส่งเสริมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และพัฒนาผลผลิตผ่านงบพัฒนากลุ่มจังหวัด แต่เนื่องจากปริมาณความต้องการของตลาดมีสูง ประจวบกับงบประมาณมีค่อนข้างจำกัด จึงเห็นสมควรให้มีการส่งเสริมเพื่อเพิ่มคุณภาพผลผลิตสินค้าเกษตรที่สำคัญของกลุ่มจังหวัด รวมถึงการพัฒนาและยกระดับกระบวนการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร การนำนวัตกรรม และเทคโนโลยีด้านการเกษตร ที่มีผลต่อการเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรของกลุ่มจังหวัด มาใช้ในกระบวนการผลิตและแปรรูปสินค้าเกษตร การพัฒนาภาคเกษตรในอนาคต ควรเน้นการลดต้นทุนการผลิต ลดผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยเน้นการทำเกษตรกรรมความแม่นยำสูง ทำให้การเพาะปลูกมีประสิทธิภาพดีขึ้น เพิ่มปริมาณและคุณภาพผลผลิตตลอดจนช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และควบคุมการใช้ปัจจัยการผลิตให้เหมาะสมกับความต้องการของพืชในแต่ละพื้นที่หรือแต่ละช่วงเวลา จึงช่วยลดความสูญเสีย เกิดการใช้ ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ส่งเสริมการทำเกษตรอย่างยั่งยืน และเพื่อให้สอดรับกับนโยบายรัฐบาล มุ่งสู่การพัฒนาเศรษฐกิจ และพัฒนาพื้นที่กลุ่มจังหวัด 4.0 และสร้างกลุ่มจังหวัดสนุกเป็นเมืองแห่งอาหาร เพื่อรองรับการท่องเที่ยวและการลงทุน
กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2 (นครพนม สกลนคร มุกดาหาร) มีเขตเศรษฐกิจพิเศษ จำนวน 2 แห่ง คือนครพนม และมุกดาหาร ซึ่งเป็นโอกาสในการเชื่อมโยงสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพไปยังเวียดนามและจีนตอนใต้ – ตะวันออก โดยมีจังหวัดนครพนม เป็นจุดยุทธศาสตร์ในการเป็นศูนย์กลางการค้าชายแดน ของกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2 ที่มีศักยภาพและเป็นประตูเศรษฐกิจที่มีระยะทางที่สั้นที่สุดไปสู่จีนตอนใต้เพียง 831 กิโลเมตร โดยผ่านถนนหมายเลข R12 ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และเส้นทาง A1 ในเวียดนาม ไปสู่จีนตอนใต้ ดังนั้น สินค้าเกษตรที่สำคัญ่จึงเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคทั้งชาวไทย ลาว เวียดนาม และจีนตอนใต้ - ตะวันออก

2. สรุปสาระสำคัญและประเด็นปัญหา
กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2 มีความจำเป็นอย่างเร่งด่วนมาก ที่จะพัฒนาศักยภาพการผลิต และคุณภาพสินค้าเกษตรและแปรรูปสินค้าเกษตร ในการเชื่อมโยงด้านการค้าและการลงทุนของอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง การแสดงและจำหน่ายสินค้าและบริการเด่นของผู้ประกอบการไทย และพัฒนา การค้า การลงทุน การท่องเที่ยวจังหวัดนครพนม สกลนคร มุกดาหาร หนองคาย บึงกาฬ เพื่อนำไปสู่การเป็นศูนย์กลางการค้าชายแดน ประตูเศรษฐกิจสู่อาเซียนและจีนตอนใต้-ตะวันนออก เพื่อยกระดับรายได้ให้กับเกษตรกร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน สถาบันเกษตรกร และผู้ประกอบการ
สภาพปัญหาที่สำคัญ คือ สำหรับการแปรรูปสินค้าข้าวของกลุ่มจังหวัด ประสบปัญหาในเรื่องของการผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะเหมือนๆกัน คือสินค้าข้าวไม่มีความแตกต่าง อีกทั้งระบบห่วงโซ่อุปทานนั้นเป็นเพียงแค่ต้นน้ำเท่านั้น (Up stream) ซึ่งละเลยขั้นตอนการเพิ่มมูลค่า (Value added) สินค้าเข้าไป ทำให้ต้องขายข้าวในราคาที่ถูกกำหนดมาแล้วเท่านั้น และการสร้างตราสินค้า ซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของกลุ่มจังหวัดฯ ที่เกิดการบูรณาการความรู้ ความคิด ความร่วมมือและทรัพยากรเพื่อสร้างเครือข่ายของวิสาหกิจชุมชนแปรรูปข้าวให้เกิดการแบ่งปัน ถ่ายทอดความรู้ต่างๆ มีการจัดการด้านการผลิต การตลาด อันจะนำมาซึ่งคุณภาพและมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ข้าว ปัจจุบันมีกลุ่มผู้ผลิตผลิตภัณฑ์แปรรูปจากข้าวทั่วประเทศเป็นจำนวนมาก เกิดการแข่งขันด้านการตลาดสูง ส่งผลกระทบต่อกลุ่มผู้ผลิตฯ ในเขตจังหวัดสกลนคร นครพนม มุกดาหารโดยตรง ดังนั้นการสร้างสรรค์นวัตกรรมอาหารและปรับปรุงกระบวนการผลิตให้ได้มาตรฐาน และสร้างผลิตภัณฑ์ด้วยนวัตกรรมเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความแตกต่างและเจาะจงกลุ่มผู้บริโภคที่รักสุขภาพ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้บริโภคที่มีศักยภาพในการซื้อสินค้า เช่น ชีเรียลจากข้าว เวชสำอางที่ผลิตจากข้าว น้ำข้าวสกัด ขนมจากข้าว ฯลฯ เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับข้าวของกลุ่มจังหวัด และเพิ่มโอกาสในการแข่งขัน นำมาซึ่งรายได้ให้กับชุมชน

3. ความเร่งด่วน : เร่งด่วนมาก
กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2 มีความจำเป็นอย่างเร่งด่วนมาก ที่จะพัฒนาศักยภาพการผลิต และคุณภาพสินค้าเกษตรและแปรรูปสินค้าเกษตร ในการเชื่อมโยงด้านการค้าและการลงทุนของอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง การแสดงและจำหน่ายสินค้าและบริการเด่นของผู้ประกอบการไทย และพัฒนา การค้า การลงทุน การท่องเที่ยวจังหวัดนครพนม สกลนคร มุกดาหาร เพื่อนำไปสู่การเป็นศูนย์กลางการค้าชายแดน ประตูเศรษฐกิจสู่อาเซียนและจีนตอนใต้-ตะวันนออก เพื่อยกระดับรายได้ให้กับเกษตรกร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน สถาบันเกษตรกร และผู้ประกอบการ

คำสำคัญเพื่อการค้นหา

  • กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนตน 2
  • การพัฒนานวัตกรรม
  • การเพิ่มประสิทธิภาพและพัฒนาตลาดสินค้าเกษตร
  • โครงการ Sanook Farmer Market

ประเมินคุณค่าโครงการ

คุณค่าที่เกิดขึ้นผลที่เกิดขึ้น
1 เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน find_in_page
2 เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ find_in_page
3 การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ) find_in_page
4 การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ find_in_page
5 เกิดกระบวนการชุมชน find_in_page
6 มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ find_in_page

ภาพถ่าย

  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ

วีดิโอ

ไฟล์เอกสาร

โครงการขยายผล

นำเข้าสู่ระบบโดย musika musika เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2562 22:38 น.