แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


“ เครือข่ายสื่อสร้างสุขภาคใต้ (จริยธรรมสื่อ) ”

ภาคใต้

หัวหน้าโครงการ
นายอานนท์ มีศรี

ชื่อโครงการ เครือข่ายสื่อสร้างสุขภาคใต้ (จริยธรรมสื่อ)

ที่อยู่ ภาคใต้ จังหวัด

รหัสโครงการ 63-00-0378 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 กรกฎาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2564


กิตติกรรมประกาศ

"เครือข่ายสื่อสร้างสุขภาคใต้ (จริยธรรมสื่อ) จังหวัด" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ภาคใต้

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
เครือข่ายสื่อสร้างสุขภาคใต้ (จริยธรรมสื่อ)



บทคัดย่อ

โครงการ " เครือข่ายสื่อสร้างสุขภาคใต้ (จริยธรรมสื่อ) " ดำเนินการในพื้นที่ ภาคใต้ รหัสโครงการ 63-00-0378 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 กรกฎาคม 2563 - 30 กันยายน 2564 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 1,300,000.00 บาท จาก เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

 

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อให้มีการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะโดยเครือข่ายสื่อสร้างสุขภาคใต้
  2. เพื่อเพิ่มแนวปฏิบัติด้านจริยธรรมมาประยุกต์ใช้ ในยุค News Nomal
  3. เพื่อให้เกิดการขยายเครือข่าย 5 ประเด็น (คน)

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. แผนงานกลาง
  2. แผนงานปฏิบัติการสื่อ
  3. แผนงานพัฒนาเครือข่าย
  4. ประชุมคณะทำงานประเด็นร่วมกับเครือข่ายสุขภาพภาคใต้,Mapping เครือข่ายครั้งที่ 1
  5. ประชุมเตรียม Work Shop Matching Network จาก 4 ประเด็นใหญ่ สู่ประเด็นย่อย (ความมั่นคงทางด้านอาหาร ความมั่นคงทางสุขภาพ ความมั่นคงทางสิ่งแวดล้อม ความมั่นคงทางมนุษย์ )
  6. ประชุม Work Shop Matching Network จาก 4 ประเด็นใหญ่สู่ประเด็นย่อย ความมั่นคงทางด้านอาหาร ความมั่นคงทางสุขภาพ ความมั่นคงทางสิ่งแวดล้อม ความมั่นคงทางมนุษย์
  7. ประชุมคณะทำงานประเด็นร่วมกับเครือข่ายสุขภาพภาคใต้เพื่อ mapping เครือข่าย ครั้งที่ 2
  8. ประชุมเตรียมคณะทำงานเพื่อ Work Shop Matching Network ครั้งที่ 1 (ความมั่นคงทางอาหาร , ความมั่นคงทางสิ่งแวดล้อม , ความมั่นคงทางมนุษย์)
  9. จัดประชุมย่อยครั้งที่ 1 ความมั่นคงทางอาหาร , ความมั่นคงทางสิ่งแวดล้อม (ขยายเครือข่ายเพิ่ม)
  10. จัดประชุมย่อยครั้งที่ 2 ความมั่นคงทางสุขภาพ, ความมั่นคงของมนุษย์ (ขยายเครือข่ายเพิ่ม)
  11. เวทีสานพลังและการพัฒนาช่องทาง/และเทคโนโลยี Onair , Online , Onground /โดยใช้กรอบจริยธรรมสื่อ
  12. ถอดบทเรียนหลังการดำเนินงานทั้งโครงการ การติดตาม ประเมินผล
  13. จัดสมัชชาออนแอร์ ข้อเสนอเชิงนโยบายครั้งที่ 3 ความมั่นคงทางสุขภาพ
  14. จัดสมัชชาออนแอร์ ข้อเสนอเชิงนโยบายครั้งที่ 2 เกษตรเพื่อสุขภาพ
  15. จัดสมัชชาออนแอร์ ข้อเสนอเชิงนโยบายครั้งที่ 1 ความมั่นคงของมนุษย์
  16. จัดสมัชชาออนแอร์ ข้อเสนอเชิงนโยบายครั้งที่ 5 เครือข่ายสื่อสร้างสุข
  17. จัดสมัชชาออนแอร์ ข้อเสนอเชิงนโยบายครั้งที่ 4 ความมั่นคงทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม,ท่องเที่ยวชุมชน,ภัยพิบัติ
  18. จัดรายการก่อนสมัชชาออนไลน์ ระหว่างสมัชชาออนไลน์ หลังสมัชชาออนไลน์ เกาะติดข้อเสนอเชิงนโยบายภายใต้รายการ รายการวิถีอันดามัน
  19. จัดรายการก่อนสมัชชาออนไลน์ ระหว่างสมัชชาออนไลน์ หลังสมัชชาออนไลน์ เกาะติดข้อเสนอเชิงนโยบายภายใต้รายการ รายการลิกอร์ล้อมวงคุย
  20. จัดรายการก่อนสมัชชาออนไลน์ ระหว่างสมัชชาออนไลน์ หลังสมัชชาออนไลน์ เกาะติดข้อเสนอเชิงนโยบายภายใต้รายการ รายการแดนใต้สร้างสุข

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ประชุมคณะทำงานประเด็นร่วมกับเครือข่ายสุขภาพภาคใต้,Mapping เครือข่ายครั้งที่ 1

วันที่ 21 กรกฎาคม 2563

กิจกรรมที่ทำ

  1. ชี้แจงแผนการดำเนินงานของเครือข่ายสื่อฯ โดย นายอานนท์ มีศรี
  2. แนะนำเครือข่าย ความคาดหวังจากผู้เข้าร่วม โดย นายวรวิชญ์ กฐินหอม
  3. แบ่งกลุ่ม ย่อยประเด็นความมั่นคงทางอาหาร สื่อ สมัชชาสุขภาพจังหวัด   - ใคร ทำอะไร ที่ไหน กับใคร อย่างไร โดยการวิเคราะห์แนวทางการขับเคลื่อนสำหรับงาน สื่อสาร
  4. แลกเปลี่ยน การสื่อสารที่ผ่านมากับประเด็นนโยบายสาธารณะ
  5. ทบทวนเนื้อหา โดยนายนิพนธ์ รัตนคม
  6. แบ่งกลุ่มย่อย ร่วมออกแบบงานสื่อสาร ภายใต้สถานการณ์ NEW NORMAL กับความมั่นคงทางด้านอาหาร
  7. กำหนดพื้นที่นำร่องในระดับตำบล

    • นำเสนองานกลุ่ม
    • นำผลงานลงช่องทางการสื่อสาร
  8. สรุปการดำเนินกิจกรรม โดย นายวรวิชญ์ กฐินหอม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ประชุมคณะทำงานประเด็นร่วมกับเครือข่ายสุขภาพภาคใต้เพื่อ mapping เครือข่าย วันที่ ๒๐-๒๑ กรกฎาคม ๒๕๖๓  ณ ห้องประชุมโรงแรม ชฎา แอท นคร จ.นครศรีธรรมราช

กล่าววัตถุประสงค์หลักในการประชุม โดย พันเอก ภัทรชัย แทนขำ วัตถุประสงค์ ๑. เพื่อให้การเมืองภาคประชาชนมีการแก้ปัญหาแบบมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง ๒. เพื่อการขับเคลื่อนงานแบบบูรณาการเชื่อมโยงการทำงานแบบเครือข่าย

จิตอาสาพระราชทาน
เป็นพระบรมราโชบายของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่๑๐ใช้หลักการระเบิดจากภายใน ทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่ออาณาประชาราช และแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน ใช้การประสานงานเป็นหลัก อาศัยศักยภาพของแต่ละหน่วยงานที่มีอยู่แล้ว ลดความเหลื่อมล้ำในสังคม
โครงการฟาร์มตัวอย่างต้านภัยโควิด-๑๙ green farm

ความเป็นมาของโครงการ เนื่องจากชาวบ้านระดับตำบล-หมู่บ้านได้รับผลกระทบการภัยของโรคระบาดโควิด-๑๙ ทำให้มีการปิดพื้นที่ ศูนย์จิตอาสาพระราชทานได้มีการให้มหาดไทยสำรวจความต้องการของประชาชนที่ได้รับผลกระทบ ที่มีความประสงค์ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพและการจ้างงานใน “โครงการฟาร์มตัวอย่างอันเนื่องมาจากพระราชดำริ”

วัตถุประสงค์โครงการ ๑. เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของราษฎรในการประกอบอาชีพให้มีการจ้างงานในพื้นที่ ๒. เพื่อให้เป็นแหล่งอาหารปลอดภัยในชมชน ๓. เพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ทางการเกษตร ๔. เพื่อพัฒนาเป็นสถานที่ท่องเที่ยวในโอกาสต่อไป
ขณะนี้ในภาคใต้มี ๓๕ ฟาร์ม ๗ จังหวัด สามารถเชื่อมกับเครือข่ายสภาองค์กรชุมชนในแต่ละพื้นที่ ตำบลวิถีพอเพียง เครือข่ายฝาย เพื่อเชื่อมต่อให้เป็นนิคมเกษตรกรรม โดยทุกพื้นที่จะมีการเปิดพื้นที่กลาง เป็นการให้เกิดการเมืองภาคประชาชน และไปเป็นไปตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การปาฐกถานำ โดย นายสุทธิพงษ์ วสุโสภาพล รองเลขาธิการคณะกรรมสุขภาพแห่งชาติ สะท้อนวิธีคิดจากเรื่องในสมัยเวียดนามรบกับเมริกัน มีแม่ทัพชื่ออูวันเอียต ระหว่างที่มีการรบให้ทุกคนเป็นทหารทั้งหมด อเมริกันไม่สามารถชนะสงครามได้ วิธีการคือให้ชาวนาเป็นทหารด้วย โดยเอาข้อมูลมารายงาน วางแผนการรบโดยใช้ข้อมูล อเมริกันต้องถอยทัพกลับ อูวันเอียต เป็นครูประชาบาลใช้วิธีคิดโดยการวางแผนใช้มวลชน ให้ทุกคนมีส่วนร่วม ใช้ข้อมูล ให้ทุกคนเป็นทหารทั้งหมด ๑. วิธีคิด ๒. ใช้ข้อมูลในการวางแผน ๓. ให้ทุกคนมีส่วนร่วม การสร้างพลเมืองให้ตื่นรู้
- ทิศทาง คือ ยุทธศาสตร์
- ยุทธศาสตร์ คือ ทิศทาง - การวางทิศทาง ก็คือ การวางแผนยุทธศาสตร์
- กลยุทธ์ หรือวิธีการ หรือ กลวิธี การเลือกวิธี การเปลี่ยนผ่านสังคมไทยจากอดีตสู่ปัจจุบัน ตัวแปรสำคัญของการพัฒนาสังคม ความซับซ้อน ต้องการการบริหารจัดการที่มีการสร้างการมีส่วนร่วม ความหลากหลาย คือศักยภาพที่ต่างกัน
เราจะทำอย่างไรกับสถานการณ์ใหม่ ที่ส่งผลต่อชุมชนเล็กๆอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ในอดีต ปัจจัยกำหนดสุขภาพ เช่น การทำงาน การใช้ชีวิต การศึกษา แต่ในทางกลับด้านกัน สถานการณ์โควิด๑๙ ปัจจัยสุขภาพเป็นตัวกำหนดสังคม เกิด new normal
ข้อสังเกตบางประการ ๑. การสร้างกระบวนการ การมีส่วนร่วม โกเด้นท์ ชิพ มีทางเลือกใหม่ที่หลากหลาย ๒. สร้างฉันทามติ ๓. ทำให้เกิดกระบวนการร่วมกัน ๔. เกิดการพัฒนา ความเชี่ยวชาญ และความคิดสร้างสรรค์ และสร้างภาวะผู้นำ ๕. ความสนใจประเด็นสาธารณะมีมากขึ้น ๖. อยู่ที่การจัดการให้มีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง ๗. เปิดให้มีการรับความคิดเห็นที่กว้างขึ้น ปรับทิศ คิดใหม่
๑. สำนึกความเป็นพลเมืองกับการสร้างสมดุลอำนาจใหม่ทางสังคม ๒. สร้างเพลทฟอร์มกลาง ให้สิ่งที่เข้ามามีพลังมากขึ้น มีการจัดการสร้างความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันแบบเครือข่าย (อภิบาลโดยเครือข่าย) ๓. เปิดพื้นที่ทางสังคมเพื่อสร้างการเรียนรู้ “ความเป็นพลเมือง” หนุนเสริมให้สังคมร่วมสร้างความเป็นพลเมืองที่ตื่นรู้ Active CitiZen ที่มีความตระหนักรู้ กระตือรือร้นที่จะเข้ามามีส่วนร่วมและรับผิดชอบในภารกิจของประเทศร่วมกัน - เอาพื้นที่เป็นตัวตั้ง - เอาวิถีชีวิตและการอยู่ร่วมกันเป็นตัวตั้ง Now/New Normal
๔. การรวมตัวร่วมคิดร่วมทำจากชุมชนท้องถิ่น สร้างการปฏิรูปและวิถีประชาธิปไตย ให้เกิดขึ้นจากฐานชุมชนท้องถิ่น ๕. สร้างธรรมนูญสังคมและแผนพัฒนาพลังพลเมือง “สานพลังทุกภาคส่วน” เพื่อสร้างความเป็นพลเมือง - สร้างเจตนารมณ์ร่วมของสังคม - สร้างกระบวนพัฒนาพลังพลเมือง เช่น แผนพัฒนาสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมตำบล ๖. สร้างกระบวนการนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมโดยชุมชนท้องถิ่น - เชื่อมโยงข้อมูลพื้นที่อย่างมีเป้าหมาย/INN Mapping - พัฒนากระบวนการทำแผนชุมชนท้องถิ่น ร่วมกับรัฐ (สภาพัฒน์) - เสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชนท้องถิ่น จากจุดเริ่มต้น Entry Points ที่สนใจ - สังเคราะห์ประเด็นนโยบายสาธารณะที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติจริง - ขยายวงการมีส่วนร่วม สื่อสารเชื่อมโยงทุกภาคส่วนเข้าเป็นภาคีพัฒนาจังหวัดอย่างบูรณาการ ๗. มีกระบวนการนโยบายสาธารณะโดยสังคม - การก่อตัวและกำหนดประเด็นเชิงนโยบาย - การกำหนดทางเลือกเชิงนโยบาย มีกลไก มีข้อมูลรองรับ - การตัดสินใจเชิงนโยบาย งานวิชาการสนับสนุน ผู้มีส่วนได้ ส่วนเสีย ส่วนร่วม - การนำนโยบายไปปฏิบัติ ข้อบัญญัติท้องถิ่น ธรรมนูญชุมชน - การประเมินผลต่อนโยบาย - ทบทวนนโยบาย

ชวนคุย ให้ข้อมูล โดยนายอานนท์ มีศรี นายกสมาคมสื่อชุมชนภาคใต้นครศรีธรรมราช ภาคใต้แห่งความสุขอย่างยั่งยืน

บอกเล่าใครทำอะไร กับใคร ที่ไหน” โดย นายทวี สร้อยสิริสุนทร แบ่งกลุ่มย่อย - นคร พัทลุง สงขลา
- ใต้ล่าง - อันดามัน ความมั่นคงของมนุษย์ คือ ความสุข ความสุขของคนใต้ - หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ๙ คำสอน ๒๓ หลักทรงงาน เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขของปวงชนชาวไทย - พรบ.สุขภาพแห่งชาติ สุขภาวะ สุขภาพองค์รวม สุขภาพ ๔ มิติ ประเด็นอะไรบ้างที่นำไปสู่ความสุข - ความมั่นคงด้านอาหาร - ความมั่นคงด้านทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม - ความมั่นคงด้านสุขภาพ - ความมั่นคงด้านมนุษย์ กับใคร - ประสาน หลักคิด หลักปฏิบัติ หลักวิชา - บูรณาการ หลักคิด หลักปฏิบัติ หลักวิชา - สั่งการ หลักคิด หลักปฏิบัติ หลักวิชา

บอกเล่าเรื่องราวภาคีเครือข่าย นายไพฑูรย์ ทองสงค์
สสส.เป็นหน่วยงานที่เป็นกองทุนให้กับชาวบ้าน เดิมทำเรื่องเหล้า บุหรี่ ยาเสพติด ระยะต่อมามีการดำเนินการโดยมีกระบวนการที่มาจากชาวบ้าน เช่น ประเด็นอาหาร สิ่งแวดล้อม ทรัพยากร เป็นที่รวมของคนในจังหวัดมาร่วมกันคิดเรื่องภายในจังหวัดตนเอง ที่เป็นเรื่องของทุกคน ทำข้อมูลในระดับล่างสุด คือ หมู่บ้าน
ทุกคนจะต้องกินอิ่มและปลอดภัย นำไปสู่แผนปฏิบัติการณ์ ๓ เรื่อง ๑. เพียงพอ คือ เพิ่มพื้นที่ผลิต
๒. ปลอดภัย คือ ทำอย่างไรให้ปลอดภัย ตามมาตรฐานของพื้นที่ ๓. เข้าถึง คือ มีพื้นที่ที่คนสามารถเข้าถึงผลผลิตได้

นายชาคริต โภชเรือง เรากำลังทำเพื่อเรียนรู้ เรียนรู้จากอดีต รวมศูนย์ แต่มีข้อจำกัดด้านโครงสร้าง แต่การทำงานโดยเอาพื้นที่เป็นตัวตั้ง แนวระนาบ เราจะมีเครื่องมืออะไรที่จะทำงานร่วมกันได้บ้าง แนวคิดใหม่ที่จะผสมผสานให้ทำงานร่วมกันได้ กขป.เป็นองค์กรรูปแบบใหม่ บูรณาการทรัพยากรที่มีอยู่แล้ว นำเอาประเด็นปัญญาหาของพื้นที่โดยออกแบบเครื่องมือมาขับเคลื่อน
กขป.เขต๑๑ และ ๑๒ มีประเด็นร่วมคือ เรื่องอาหาร แต่การดำเนินงานก็เคลื่อนในมุมของตนเอง การดำเนินงานของเขต๑๒ ทำเรื่อง อาหารปลอดภัย
- แพลทฟอร์ม ชื่อ กรีนสมายด์ มีมาตรฐานที่กำหนดให้เป็นฐานเดียวกัน เพื่ออุดช่องว่างของการทำงาน - พัฒนาเป็นแอพฯ ข้อต่อกลางเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อการประสานงานที่สะดวกและการเชื่อมโยงแบบภาคีเครือข่าย ถ้าคิดตรงกันก็ทำเป็นยุทธศาสตร์ร่วม
ดร.ปรเมษฐ์ จินา ประธาน กขป.เขต๑๑ เป็นสำนักเลขาร่วม ประเด็นที่เกี่ยวข้อง เด็กและเยาวชน กลุ่มวัยคนทำงาน ผู้สูงอายุและกลุ่มเปราะบาง สุขภาวะทางทะเล(การจัดการขยะ) มีความมุ่งหมายให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมนการขับเคลื่อนการดำเนินงาน เป็นกลไกใหม่ที่มีรูปแบบการทำงานโดยการเชื่อมร้อยการทำงานต่างๆทั้งภาคราชการ ภาควิชาการภาคเอกชน ภาคประชาสังคม มุ่งปฏิบัติงานด้านสุขภาพ การจัดการขยะ เป็นการดำเนินการในรูปแบบ การขับเคลื่อนผ่าน พชอ.
พอช. สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(องค์การมหาชน) โดย นายศิลเรืองศักดิ์ สุกใส หัวหน้ากลุ่มจังหวัดอ่าวไทย พอช.ทำงานกับชุมชนมาเกือบ ๒๐ ปี มีหน้าที่ในการสนับสนุนการพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็ง - สนับสนุนขบวนองค์กรชุมชนเชิงพื้นที่ ผลักดันให้มีการจัดตั้งจัดตั้งสภาองค์กรชุมชนเต็มพื้นที่ กองทุนสวัสดิการชุมชน
- สนับสนุนกระบวนการหรือจัดความสัมพันธ์กับองค์กรอื่น
- พัฒนาศักยภาพขอคนในขบวนองค์กรชุมชน - การบริหารจัดการองค์กร ในระดับจังหวัดต้องมีการคลี่ยุทธศาสตร์ร่วมกัน เป็นจังหวัดจัดการตนเอง

สช. สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ โดยนางสาวพฤกษา สินลือนาม การพัฒนาและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วม ภายใต้เครื่องมือตาม พรบ.สุขภาพแห่งชาติและจากหน่วยงานภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อสนับสนุนการทำงาน สื่อสารเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารสาธารณะ สร้างเครือข่ายการเรียนรู้ - สำนักงานบริการสุขภาพแห่งชาติ สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี - เครื่องมือ สมัชชาสุขภาพ จังหวัด ชาติ
- เครือข่าย ภาคประชาชน วิชาการ รัฐ มีภาคีเครือข่ายทั่วประเทศ
- ทำเรื่อง สุขภาพองค์รวม สังคม สิ่งแวดล้อม สุขภาพกาย จิต สังคม ปัญญา - เปิดเวทีการพูดคุยกันอย่างมีเหตุ มีผล
- งบสนับสนุนจังหวัด สมัชชาจังหวัด

เครือข่ายงดเหล้า(สสส.) ขับเคลื่อนงาน ทำอย่างไรไม่ให้เกิดในเรื่องของสุขภาพเสื่อม อุบัติเหตุฯลฯ ในภาพรวมทั้งประเทศ
- งานงดเหล้าเข้าพรรษา - การปฏิบัติตามกฎหมาย - การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในงานบุญประเพณีต่าง - เด็กและเยาวชน - งานวิชาการ เพื่อผลักดันไปสู่นโยบายของจังหวัด คุณภาพชีวิตที่ดี ปัจจัย๔ การทีจะทำให้คนๆหนึ่ง หรือครอบครัวหนึ่ง มีคุณภาพที่ดี เราจะทำได้อย่างไร อาหารปลอดภัย พืชเศรษฐกิจ เป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่ง สถาบันการเรียนรู้และพัฒนาเครือข่ายประชาสังคมชุมชนท้องถิ่นภาคใต้ โดยนายทวี สร้อยสิริสุนทร
พลเมืองที่สามารถกำหนดทิศทางการพัฒนาได้อย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับวิถีตนเองด้วยปัญญา ดำเนินการภายใต้การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ภารกิจ ให้คำปรึกษากระบวนการพัฒนาชุมชนและสังคม บริการจัดกระบวนการประชุม อบรม สัมมนา เวทีประชาคม เวทีสาธารณะ ประชาสังคม กระบวนการขับเคลื่อน ตำบลวิถีพอเพียง ภาคใต้ ดำเนินการขับเคลื่อน ๓๐ ตำบล “เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาศักยภาพ เพิ่มขีดความสามารถผู้นำชุมชนและการเสริมสร้างพลังคนทำงานวิถีพอเพียงสู่การตัดการตนเองอย่างยั่งยืน” ประเด็นขับเคลื่อนตำบลวิถีพอเพียง ภาคใต้ ๑. ความมั่นคงทางอาหาร ๒. ความมั่นคงทางด้านพลังงาน ๓. ความมั่นคงทางด้านการจัดการภัยพิบัติ ๔. ความมั่นคงทางด้านเศรษฐกิจชุมชน : วิสาหกิจชุมชน ๕. ความมั่นคงทางด้านสังคมและวิถีวัฒนธรรมชุมชน ๖. ความสัมพันธ์องค์กรภาคีในสังคม

พิธีเปิด โดย พ.อ.อนุสรณ์  โออุไร รอง เสธ.ทภ.4 ผลผลิตที่เราจะได้รับในการดำเนินโครงการในครั้งนี้ ตอนนี้สถานการณ์ของประเทศไทยเปลี่ยนไปจากเดิมมาก ประชาชนได้มีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ ถ้ายังไม่เปลี่ยนคิดว่าเราจะอยู่ในสังคมนี้ได้หรือเปล่า  ในระดับชุมชน จังหวัด ภาค ประเทศ ท่านคิดว่าจะไปอยู่ในสังคมแต่ละระดับได้อย่างไร ตั้งคำถามว่าความเคยชินทำให้เรามีความถดถอยหรือไม่ แต่ในสังคมนี้เราไม่ได้มีความปลอดภัยอย่างที่คิด
จากสถานการณ์โควิด เราคิดอย่างไรกับประเทศไทยที่สบายที่สุด อะไรก็ได้คือไทยแท้ ทุกอย่างมีเหตุมีผลในตัวของมันเอง ความมีดี ความเก่งที่เรามี ก็เป็นองค์ประกอบที่สามารถทำให้เราชนะได้ การตัดสินคนอื่นคือเรื่องอันตรายสำหรับผู้นำที่สุด
ชุมชน เป็นฐานแรกที่เราสามารถจะดึงสมรรถภาพของคนมาใช้ได้อย่างเต็มที่ ในฐานะที่เราเป็นผู้นำในระดับต่างๆเราต้องถามคนที่มีปัญหา เปิดการมีส่วนร่วม จนสามารถสะท้อนปัญหาของเขาออกมาได้ ปัญหาเหล่านั้นก็จะได้รับการแก้ปัญหาที่ถูกต้อง
พลังอำนาจของการสื่อสาร ทำให้ประชาชนมีอำนาจมากขึ้น การสื่อสารเป็นตัวช่วยขับให้ทำอย่างไรให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในความต้องการหรือความเดือดร้อนของเขาเอง สื่อสารด้วยภาษาเดียวกัน
โครงการจิตอาสาพระราชทาน กิจกรรมต่างๆที่ดำเนินการนับเป็นกุสโลบาย  ต้องการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาของตนเอง ฝ่าด่านที่แข็งแกร่งของหน่วยงานรัฐหรือราชการได้
ตอนนี้เราต้องร่วมมือร่วมใจกันในการแก้ปัญหาจากรากหญ้า จากปัญหาที่แท้จริง ไม่ใช่เอางบประมาณมาเป็นตัวตั้ง ปัญหาต่างๆต้องแก้มาจากชุมชนจะเป็นรากฐานที่มั่นคง ชุมชนสามารถดูแลกันเองได้ ทำให้เกิด ความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน อย่างแท้จริง การลงมือทำเป็นการพิสูจน์ให้เรารู้ว่า สิ่งที่เราวาดฝันจะเป็นจริงได้ตามเป้าหมายหรือไม่ ถ้าเป้าหมายเราชัดเจน สมองจะเกิดวิธีการขึ้นเองโดยที่เราไม่รู้ตัว และการติดตามสนับสนุนช่วยเหลือ เมื่อเราทำต่อเนื่องกันไปเรื่อยๆจะเกิดการ “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” อย่างแท้จริง

ข้อคิดเห็นเพิ่มเติมจากที่ประชุม อะไรคือโอกาส และจังหวะ ของกลุ่มองค์กรของเรา ๑. การที่เรามีองค์ความรู้อยู่ในตัว ทำให้เราสามารถตั้งทัพได้ ๒. เกิดความเชื่อมั่นในสิ่งที่เรากำลังทำว่าเรามาถูกทางแล้ว ๓. มีการขยายผลและพัฒนาไปข้างหน้าได้ครบทุกมิติมากขึ้น ๔. สร้างความมั่นคงให้กับชุมชน สังคม มีภูมิคุ้มกันที่ดี ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ๓ ห่วง ๒ เงื่อนไข ๕. เกิดความร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมใจในชุมชน ๖. เกิดการเชื่อมโยงระหว่างเครือข่าย ๗. เกิดการต่อยอดแนวคิดทำด้วยประชาชน ทำด้วยประชาชน รัฐหนุนเสริม ๘. เกิดการประสานงานที่เป็นรูปธรรม เข้าถึงหน่วยงานรัฐ ๙. เห็นโอกาสการสืบสาน รักษา และต่อยอด หัวข้อในการประชุมเชิงปฏิบัติการ อานนท์ มีศรี ๑. โครงสร้างสภาพลเมืองตำบล อำเภอ จังหวัด ในความคิดท่านประกอยด้วยหน่วยงานใดบ้าง เพื่อให้เกิดการเมืองภาคประชาชนแบบมีส่วนร่วม
๒. ท่านอยากให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมในสภาแต่ละระดับอย่างไรบ้าง ๓. สภาพลเมืองระดับจังหวัด ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม จะเข้ามาสนับสนุนอะไรได้บ้าง เช่น จังหวัด สมัชชาสุขภาพ เป็นต้น ๔. จังหวัดของท่านเลือกตำบลไหนเป็นตำบลนำร่องในการจัดตั้งสภาพลเมือง และจะมีการขับเคลื่อนอย่างไรให้เป็นรูปธรรม ๕. นโยบายสาธารณะที่จะให้เกิดขึ้นในสภาพลเมืองตำบล และจะมีการขับเคลื่อนงานด้านใดบ้างเพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี เช่น ความมั่นคงทางอาหาร ด้านเศรษฐกิจฐานราก เป็นต้น ๖. การลดความเหลื่อมล้ำของประชาชนในชุมชน ด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในจังหวัดของท่านมีแนวความคิดอย่างไร ๗. การรับเรื่องราวร้องเรียนร้องทุกข์ของประชาชน เพื่อช่วยเหลือความเดือดร้อนของประชาชน ในจังหวัดท่านมีแนวคิดอย่างไร ๘. การเปิดพื้นที่กลางในจังหวัด มีประโยชน์อย่างไร และมีแนวคิดอย่างไรในการดำเนินการ ประเด็นความเหลื่อมล้ำ
- ในการเข้าถึงทรัพยากร น้ำ ดิน โดยเกิดการส่งผลกระทบถึงรายได้ - การรักษาพยาบาล - โอกาสการเข้าถึงหน่วยงานภาครัฐ การแก้ไข - การกระจายอำนาจ งาน คน/บุคคลากรที่มีความเชี่ยวชาญ เงิน - พัฒนาความรู้ ทักษะชีวิต จากทรัพยากรที่มีในชุมชน - ใช้หลักเข้าใจ เข้าถึง พัฒนา ในสิทธิแห่งความเป็นประชาชนพลเมืองในประเทศ การรับเรื่องราวร้องเรียน ร้องทุกข์
ปัญหา
ช่องทาง แจ้งเรื่องไปที่ท้องถิ่น ผู้นำ การแก้ไข ยึดหลักสันติวิธี แก้ปัญหากระบวนการภายในท้องถิ่นกันเอง เวทีหมู่บ้าน - ศูนย์ดำรงธรรม - องค์กรอิสระไม่โดนจำกัดสิทธิ์ - พรบ.อำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหา สิ่งที่ต้องการ อยากให้มีหน่วยงานที่สามารถดำเนินการให้จบจริงในที่เดียว พื้นที่กลาง - เป็นที่รวบรวมข้อมูลที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ - เป็นลานวัฒนธรรม - เปิดโอกาสให้ภาครัฐตอบสนองความต้องการที่แท้จริงของประชาชน - มีกฎหมายรองรับ แนวคิด ทุกคน ทุกภาคส่วนต้องมีส่วนร่วม มีสิทธิ์เท่าเทียมกัน ทุกข้อเสนอที่ประชาชนเสนอเข้าไปต้องให้ความสำคัญที่เท่าเทียมกัน มีเจ้าภาพหลัก เป็นสถานที่ที่เข้าถึง มีหน่วยงานรองรับ ทุกคนสามาถใช้ประโยชน์ร่วมกัน การเปิดพื้นที่กลางในจังหวัด มีประโยชน์อย่างไร และมีแนวคิดอย่างไรในการดำเนินการ ประโยชน์ - ทุกคนสามารถแสดงความคิดเห็น สามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อการพัฒนาที่หลากหลาย ยั่งยืน - เป็นที่รวบรวมข้อมูลที่ทุกคนสามารถเข้าถึง - เป็นแหล่งเรียนรู้/ลานวัฒนธรรม - เปิดโอกาสให้ประชาชนได้รับการตอบสนองจากภาครัฐอย่างแท้จริง ก้าวข้ามข้อจำกัดของหน่วยงานราชการ แนวคิด - ทุกคนมีส่วนร่วม และมีสิทธิ์เท่าเทียมกัน - ทุกข้อเสนอมีความสำคัญและมีประโยชน์ - สถานที่เหมาะสมเข้าถึงได้ - มีกฏหมายรองรับสามารถเข้าถึงอำนาจรัฐได้ การขมวดเรื่องจะทำอย่างไร ตำบลไหนจะเป็นสารตั้งต้น
- ชุมพร ต.พรทะเลทรัพย์ อ.ปะทิว - ระนอง ต.บางนอน อ.เมือง - สุราษฎร์ ต.ตะกุเหนือ อ.วิภาวดี - นครศรีฯ ต.ขอนหาด อ.อวด
- พัทลุง ต.นาท่อม อ.เมือง - สงขลา
- สตูล ต.ท่าแพ อ.ท่าแพ - ตรัง ต.นาข้าวเสีย อ.นาโยง - กระบี่ ต.เกาะกลาง อ.เกาะลันตา - พังงา ต.แม่นางขาว อ.คุระบุรี - ภูเก็ต ต.ป่าครอก - นราธิวาส ต.เกาะเส้ง อ.เมือง - ปัตตานี ต.ละหาน อ.สายบุรี เชื่อมมุมมอง อ.ไพฑูรย์ ทองสงค์ ๑. ทุกภาคส่วนมีการดำเนินกิจกรรมต่างๆ มากมายในพื้นที่ แต่ยังขาดการกระจายพื้นที่ ส่วนใหญ่พื้นที่พัฒนาหรือประเด็นพัฒนาจะซ้ำซ้อนกัน ๒. ทุกภาคส่วนมีผลงาน และมีจุดแข็งของแต่ละภาคส่วน ทำอย่างไรจึงจะนำจุดแข็งของแต่ละภาคส่วนมาบูรณาการร่วมกัน ๓. ทุกภาคส่วนมีแผนพัฒนา แต่แผนงานเป็นแผนงานของแต่ละหน่วยงาน ยังขาดแผนบูรณาการร่วมของทุกภาคส่วน ๔. งบประมาณที่ใช้เพื่อการพัฒนาจังหวัดมีอยู่จำนวนมาก แต่การกระจายงบประมาณยังอาจไม่ทั่วถึง หรือไม่สอดคล้องกับความต้องการพัฒนาของพื้นที่ ๕. ทุกภาคส่วนมีเป้าหมายการพัฒนาที่ดี แต่ยังขาดเป้าหมายร่วมของการพัฒนาจังหวัด ที่เป็นเป้าหมายร่วมกัน นาท่อม ตำบลบูรณาการเพื่อการแก้ปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืน ผลลัพธ์ที่คาดหวัง - เกิดเครือข่ายสภาคนนาท่อม - เกิดแผนชุมชนนาท่อมที่ใช้ข้อมูล Big Data - เกิดกลไกพี่เลี้ยงในการบริหารจัดการตำบล - ประชาชนร้อยละ 80 มีทักษะอาชีพด้านการเกษตร อาหาร และการท่องเที่ยว - ไม่มีผู้ว่างงานในตำบลนาท่อม - ครัวเรือนมีรายได้เพิ่มขึ้นอย่างน้อยรอยละ 10 ของรายได้เดิมในระยะเวลา 1 ปี วิธีการสำคัญ - เสริมสร้างศักยภาพผู้นำ วิสาหกิจชุมชน กลุ่มอาชีพ กลุ่มออมทรัพย์
- ส่งเสริมการดำเนินงานประเด็นอาหาร From Farm to Table ผ่านเทคโนโลยีและนวัตกรรม - พัฒนาการตลาดจับคู่ธุรกิจ จากตำบลสู่อำเภอ จังหวัด กลุ่มจังหวัด - พัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชน ชุมพร เป็นตัวอย่างนำร่อง ต.ทะเลทรัพย์ อ.ปะทิว ท้องถิ่น ชาวบ้าน ผู้นำ มีความเห็นร่วมกันในงานด้านพัฒนาเพื่อ เชื่อมต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ มีบริบทป่าพรุ การมีส่วนร่วมจากผู้นำในชุมชนเป็นอย่างดี มีธรรมนูญของตำบล เชื่อมกับ ต.บางสน เพื่อให้เป็นองค์กรที่ใหญ่ขึ้น ปัตตานี เป็นพื้นที่ชุมชนพหุวัฒนธรรม ใช้สายตาที่เปิดกว้าง แหลมคมพอสมควรในการเข้าไปอยู่ การทำงานต้องใช้ปัญญาในการวิเคราะห์ สำรวจความคิดเห็นของประชาชน ที่ผ่านมาชาวบ้านอยากอยู่แบบสันติสุข สันติวิธี การสร้างระบบเศรษฐกิจที่เป็นฐานรากของพลเมือง ความพอประมาณ ความมีเหตุมีผล คุณธรรม ภูมิคุ้มกันในจังหวัดชายแดนคือวัฒนธรรม ปัตตานีเป็นเมืองท่าในอดีตต้อนรับชนทุกชั้นในโลก งานที่เราทำจะไม่กระทบกับวัฒนธรรม ศาสนา โครงการที่ทำเน้น “ความเสมอภาคภายใต้พหุวัฒนธรรม” จิตที่มุ่งเน้นต่อสิ่งที่เรายึดถือ
งานที่ทำ
- เกษตรอินทรีย์แปลงนารวม งบประมาณจากสถาบันพระปกเกล้า สนองตอบความมั่นคงทางด้านอาหาร
- การผลิตอาชีพเสริมต่างๆ น้ำหอม เกลือหวาน(อ่าวปัตตานี) การสนับสนุน - กองทัพ ในส่วนบัญชาการ - วัฒนธรรมร่วม บูรณาการ เป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก แต่ถ้าเรามองปัญหาแล้ววิเคราะห์ปัญหาร่วมกัน เป็นองค์ความรู้ใหม่แล้วนำไปใช้แก้ปัญหาร่วมกัน
การศึกษาข้อมูล เป็นพื้นฐานของคนที่สามารถขับเคลื่อนงานเพื่อให้บรรลุความสำเร็จได้ ความรู้ช่วยสร้างสรรค์ ความรู้ช่วยเพิ่มเติม

ปิดประชุม โดย พันเอกภัทรชัย แทนขำ
การร่วมมือร่วมใจในการทำสิ่งดีๆร่วมกัน การทำสิ่งใดให้บรรลุเป้าหมายเพื่อให้เกิดประโยชน์กับชุมชน เพื่อประโยชน์ประเทศชาติเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่และจำเป็นต้องทำ สิ่งที่สถาบันพระมหากษัตริย์ต้องการคือ ความสุขของพี่น้องประชาชน ปัญหาที่เกิดขึ้นก็จะสอดคล้องกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ไม่ว่าจะเป็นการเมือง เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม สิ่งที่เราทำอยู่ขณะนี้คือการเมืองภาคประชาชน ที่มีการแก้ปัญหาแบบมีส่วนร่วมและมีความสำเร็จในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อน จะเห็นว่าสังคม ความเป็นอยู่ วัฒนธรรมองค์กร ที่เราเห็นอยู่ทุกวันตอนนี้มีกระบวนการในการสร้างความแตกแยกเชิงสัญลักษณ์ หรือผ่านสื่อต่างๆ การสื่อสาร และการเสพสื่อผ่านสื่อมีหลายมิติเราต้องใช้การวิเคราะห์และการใช้วิจารณญาณอย่างแท้จริง ความเห็นดีเห็นต่างเป็นเรื่องปกติ สิ่งที่เกิดในการมีภูมิคุ้มกัน การมีเหตุและผล ความพอประมาณ บวก ความรู้ คุณธรรม สิ่งที่เกิดขึ้น คือ การเมือง สังคมที่ดี การสร้างความเข้มแข็งในชุมชนทำอย่างไร ความรักความสามัคคี การมีส่วนร่วม เครือข่ายทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ล้วนต้องมีคำตอบว่าจะทำอย่างไรให้เกิดความยั่งยืน ความสุขจะเกิดได้เราต้องรวมทุกคนให้กลับมาสู่ชุมชน ไม่ใช่เราไปถอดหมวกคนใดคนหนึ่งแต่เรามาทำประโยชน์ร่วมกัน ปัจจุบันเรามีระบบzoom ที่สามารถให้เครือข่ายได้พูดคุยได้หารือร่วมกัน เพื่อปกป้องประเทศชาติให้เกิดความเข้มแข็ง

  • photo
  • photo
  • photo
  • photo

 

40 0

2. ประชุมเตรียม Work Shop Matching Network จาก 4 ประเด็นใหญ่ สู่ประเด็นย่อย (ความมั่นคงทางด้านอาหาร ความมั่นคงทางสุขภาพ ความมั่นคงทางสิ่งแวดล้อม ความมั่นคงทางมนุษย์ )

วันที่ 5 สิงหาคม 2563

กิจกรรมที่ทำ

ออกแบบเวที work shop matching network 4 ประเด็นใหญ่ สู่ประเด็นย่อย
(ความมั่นคงทางด้านอาหาร  ความมั่นคงทางสุขภาพ  ความมั่นคงทางสิ่งแวดล้อม  ความมั่นคงทางมนุษย์ )

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. ประชุมเตรียมงาน กิจกรรม workshop matching network 4 ประเด็น

    • การประสานงานกับพื้นที่ ตำบลไสหร้า วิสาหกิจชุมชนสมุนไพรบ้านพรุพลูหนัง พื้นที่ประเด็นความมั่นคงด้านอาหารจังหวัดนครศรีธรรมราช
    • เชิญกลุ่มเป้าหมาย ตัวแทน ประเด็น ความมั่นคงทางอาหาร ประเด็นสุขภาพ ประเด็นความมั่นคงมนุษย์ ความมั่นคงทางสิ่งแวดล้อม มีตัวแทนประเด็นยืนยันการเข้าร่วม
    • กลุ่มเครือข่าย/ภาคที่ ที่มีความสัมพันธ์กับการขับเคลื่อนงานในพื้นที่ เช่น แรงงานจังหวัด นายอำเภอฉวาง ตัวแทนจากองค์กรท้องถิ่น พัฒนาการอำเภอ กอ.รมน. ภาค 4 กขป.11 สปสช.เขต 11 ประชาชนในพื้นที่
    • กิจกรรมภาคเช้า ในพื้นที่อำเภอเมือง จัดที่โรงแรมลิกอร์ เพื่อเป็นการ matching เครือข่ายด้านแรงงานซึ่งมีความสำคัญกับประเด็นความมั่นคงของมนุษย์ เป็นการศึกษ กระบวนการทำงาน เกี่ยวกับการค้ามนุษย์และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง มุมมองทางการสื่อสารเพื่อให้เกิดเนื้อหาที่เหมาะสมและเป็นประโยชน์ต่อการเคลื่อนงานประเด็น
  2. กำหนดขั้นตอนลำดับกิจกรรมในการทำปฏิบัติการในพื้นที่ โดยการประสานกับกลุ่มวิสาหกิจสมุนไพรบ้านพรุพลูหนัง ในการเตรียมพื้นที่กิจกรรม การขยายเครือข่ายเพื่อการใช้สื่อขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะสู่ความมั่นคงทางสุขภาวะ การสื่อสารเพื่อป้องกันและการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน และเตรียมความพร้อมในการจัดตั้งศูนย์ประสานงานแรงงานนอกระบบตำบลนำร่องจังหวัดนครศรีธรรมราช

  3. การให้ข้อมูลการจัดงาน ความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงของการขับเคลื่อนงานทั้ง 4 ประเด็น มีความสัมพันธ์ และสามารถสนับสนุนให้งานก้าวไปข้างหน้าร่วมกัน โดยใช้พื้นที่เป็นตัวตั้งจากนั้นแต่ละประเด็นจะมีการอภิปรายแลกเปลี่ยน การทำงานในประเด็น หรือ งานที่หน่วยงานมีบทบาทในพื้นที่ จะนำมา matching โดยการใช้กระบวนการสื่อสาร กับเครือข่ายสื่อในภาคใต้
  4. นัดสรุปผลการดำเนินงานหลังการจัดกิจกรรมอีกครั้งต่อไป
  • photo
  • photo

 

10 0

3. ประชุม Work Shop Matching Network จาก 4 ประเด็นใหญ่สู่ประเด็นย่อย ความมั่นคงทางด้านอาหาร ความมั่นคงทางสุขภาพ ความมั่นคงทางสิ่งแวดล้อม ความมั่นคงทางมนุษย์

วันที่ 7 สิงหาคม 2563

กิจกรรมที่ทำ

  1. กิจกรรมแนะนำตัวและเครือข่าย โดยนายอานนท์ มีศรี นายกสมาคมสื่อชุมชนภาคใต้นครศรีธรรมราช
  2. บรรยาย “แนวทางการสื่อสารเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน”
    โดย สำนักงานแรงงานจังหวัดนครศรีธรรมราช และ สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
  3. รู้เท่าทันสื่อ ยุค New Normal และ Fake News
  4. กล่าววัตถุประสงค์แนะนำเครือข่าย โดยนายอานนท์ มีศรี บรรยาย“ชุมชนจัดการตนเอง สู่สังคมสุขภาวะ” แลเตรียมความพร้อมจัดตั้งศูนย์ประสานงานแรงงานนอกระบบระดับตำบล นำร่อง” โดย นายอำเภอฉวาง
  5. บรรยาย “ชุมชนจัดการตนเอง ฐานของความมั่นคงทางสุขภาวะ” โดย นายขจร ทิพาพงค์ ปราชญ์ชาวบ้านตำบลไม้เรียง
  6. นำเสนอแผนการดำเนินงานเครือข่ายสื่อเพื่อสุขภาวะ

    • เครือข่ายความมั่นคงทางอาหาร โดยนายวรวิญช์ กฐินหอม
    • เครือข่ายความมั่นคงทางสิ่งแวดล้อม โดยนายเชภาดร จันทร์หอม
    • ความมั่นคงทางสุขภาพ โดยกองทุนตำบล นายเชาวลิต ลิปน้อย
  7. เสวนา ผ่านรายการลิกอร์ล้อมวงคุย “ชุมชนจัดการตนเอง สู่สังคมสุขภาวะ
    ใคร? ต้องทำอะไร? กับใคร? ที่ไหน? อย่างไร?”

  8. แบ่งกลุ่มย่อยเรียนรู้กระบวนการสื่อสาร เพื่อการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ
  9. ฝึกการใช้สื่อเพื่อการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ ร่วมกำหนดรูปแบบ
    ที่เป็นนวัตกรรม ของการสื่อสาร นำเสนอ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ประชุม Work Shop Matching Network จาก 4 ประเด็นใหญ่ สู่ประเด็นย่อย
ความมั่นคงทางด้านอาหาร ความมั่นคงทางสุขภาพ ความมั่นคงทางสิ่งแวดล้อม
ความมั่นคงทางมนุษย์ วันที่ 6-7 สิงหาคม 2563
โรงแรมเมืองลิกอร์ อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช และวิสาหกิจชุมชนสมุนไพรบ้านพรุพลูหนัง
ม.5 ต.ไสหร้า อ.ฉวาง จ.นครศรีธรรมราช

กล่าวต้อนรับ โดยหัวหน้ากลุ่มงานสารสนเทศสำนักงานแรงงาน การขับเคลื่อนงานมีหลายสิ่งที่เกี่ยวข้องกัน เช่น หน่วยงาน งบประมาณ องค์ความรู้ ที่จะช่วยเสริมความมั่นคง ยุทธศาสตร์ชาติ สภาพแวดล้อม และอีกหลายๆสิ่ง ปัญหาในบ้านเราที่พบมีด้านแรงงานข้ามชาติ หรือไม่ การใช้แรงงานผิดกฎหมาย การค้ามนุษย์ โดยบทบาทการค้ามนุษย์ขณะนี้เป็นเรื่องใหญ่ ที่ต้องแก้ปัญหากันอย่างเร่งด่วน เพื่อส่งเสริมด้านความมั่นคงของมนุษย์ พิธีเปิด โดย พอ.ภัทรชัย แทนขำ กอ.รมน.กองทัพภาคที่4 การประสานงานบูรณาการกันในทุกภาคส่วน เป็นมิติการทำงานงานที่ได้จับมือกันทั้งภาครัฐ เอกชน ต่างเพื่อการทำงานที่เข้มแข็งมากขึ้น การทำงานของกองทัพเน้นด้านความมั่นคงของประเทศ แรงงานเป็นส่วนหนึ่งที่จะขับเคลื่อนงานกันต่อไป การเชื่อมทุกเครือข่ายมาช่วยปกป้องแผ่นดินให้มีความเข้มแข็งทุกมิติ แรงงานมีการประสบปัญหาในหลายเรื่อง การประสาน พม. อสร. เข้ามาช่วย การบูรณาการร่วมกันเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนอย่างครบวงจร การทำงานเพียงหน่วยงานเดียวไม่สามารถตอบสนองความต้องการได้ครบถ้วน การต่อยอดต้องมีกระทรวงต่างๆเข้ามาเกี่ยวข้อง การประสานงานต้องร่วมมือกัน การจะประสบความสำเร็จต้องอาศัยความร่วมมือเป็นหลักถึงจะสำเร็จ ระบบราชการมีกรอบที่เป็นการทำงานที่มีระเบียบข้อบังคับ ปัญหาของประเทศที่ผ่านมาจนปัจจุบันอย่ามองที่ปัญหาทำอย่างไรให้ชุมชน หรือตัวของเรามีความสุข โลกโซเชียลทุกวันนี้มีความวุ่นวายแตกต่างจากความเป็นจริง ในอดีตมีการแบ่งเป็นฝักเป็นฝ่าย เราต้องมองในมิติที่มีหลายด้านวิเคราะห์ด้วยข้อมูลที่มีเหตุผลที่เป็นจริง หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจะมีเพียงเกษตรอย่างเดียวใช่หรือไม่ การใช้เหตุผล การวิเคราะห์ทุกอย่างอย่างสมเหตุผลเป็นเรื่องที่ดีที่ควร การอยู่ร่วมกันในสังคม การเดินสายกลาง ใช้ชีวิตอย่างมีความสุขไม่เดือดร้อนผู้อื่น การศึกษาข้อมูลที่เป็นจริงจึงมีความจำเป็น ผลกระทบจากการสื่อสารเป็นเรื่องของจิตใจ ลูกหลานของเราที่อยู่ในโลกโซเชียลมีการหลงผิด หลงเชื่อ ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต และความมั่นคงของประเทศชาติ ความแตกแยกทางการเมืองจะไม่ส่งผลต่อสังคมชนบทเท่าที่ควร แต่เรื่องเศรษฐกิจเป็นเรื่องสำคัญ เศรษฐกิจฐานรากเป็นเรื่องที่จะสร้างความมั่นคงให้กับลูกหลานของเรา การศึกษาที่ดีเป็น เรื่องที่เราต้องส่งเสริมให้กับลูกหลานของเราเพื่อจะได้กลกับมาพัฒนาบ้านเกิดของตัวเองต่อไป เป็นวิสาหกิจชุมชน หรือ การแปลงผลผลิตให้เป็นสินค้าที่ส่ามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชนได้ คนรุ่นใหม่ที่เรียนจบถ้ากลับมาบ้านเกิดก็จะสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน ปัญหาในชุมชนเราที่เป็นอาสาต้องกล้าสู้กับภัยร้ายที่บ่อนทำลายชุมชน ในปัจจุบันงานด้านความมั่นคงต้องมีความจริงใจและเป็นผู้นำให้กับประชาชนอย่างจริงจัง ในอดีตเราอยู่ด้วยกันด้วยผู้นำชุมชน โครงการต่างๆจะลงมาที่ท้องที่ ปัจจุบันต้องมีการศึกษาข้อมูลเอาเอง องจากมีการกระจายอำนาจลงสู่ท้องถิ่น การดูแลเครือข่ายที่เป็นหัวคะแนนต่างๆจึงเกิดขึ้น ประชาชนจึงต้องมีการคิดวิเคราะห์ให้เป็น ภาคประชาชน ท้องที่ ท้องถิ่น เป็น 3 วงที่เกี่ยวข้องเกี่ยวโยงกัน ถ้าเกิดไม่ไว้ใจกันจะก่อให้เกิดความแตกแยก ถ้าเอา 3 วงมาทับกันเกิดการพัฒนาที่ไปในทิศทางเดียวกันจะทำให้ลดความเหลื่อมล้ำในสังคมได้ ปัจจุบันภาคประชาชนที่เข้มแข็ง มักจะเกิดการกลั่นแกล้งทำลายให้เสียกำลังใจ เราจะทำอย่างไร เราต้องมีใจที่เคารพซึ่งกันและกัน ให้เกียรติกัน ทำให้เกิด 3 วงที่เกี่ยวโยง เกี่ยวข้องกัน เพื่อให้ชุมชนที่เราอยู่เกิดความเข้มแข็งอย่างแท้จริง โครงการจิตอาสาพระราชทาน เป็นพระบรมราโชบายของในหลวงรัชกาลที่ 10 สืบสาน รักษา ต่อยอด สถาบันพระมหากษัตริย์ได้ทำประโยชน์ให้ประเทศมามากมาย สร้างและปกป้องผืนแผ่นดินไว้ให้กับลูกหลาน ระบบงาน หลักการใช้ชีวิตเป็นเรื่องที่ในหลวงทุกพระองค์ได้ทรง การจัดการน้ำเพื่อให้ประชาชนอยู่ดีกินดี มีความสุขหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นของการใช้ชีวิตของตัวเราเองให้มีความสุข โดโครงการจิตอาสาพระราชการ แผนงานจิตอาสาพัฒนา ความมั่นคง ความเป็นอยู่ ความเดือดร้อนต่างๆของประชาชน แผนงานจิตอาสาภัยพิบัติ ภัยต่างๆที่เกิดขึ้นเป็นการป้องกัน และแก้ปัญหาเมื่อประสบกับภัยเหล่านั้นที่เกิดขึ้น การสร้างความตระหนักสามารถลดปัญหาเหล่านี้ลงได้ ต้องมีการร่วมมือกันหลายฝ่าย เกิด Impact ของการทำงานในหลายๆมิติ แก้ปัญหาได้ตรงความต้องการของประชาขน การตั้งศูนย์โซล่าเซลล์
โครงการฟาร์มตัวอย่าง 35 ฟาร์มในภาคใต้ ให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการตกงานกลับมาภูมิลำเนา ประกอบอาชีพทางการเกษตรที่บ้าน ได้ค่าแรงต่อวันๆละ300บาท เพื่อเลี้ยงชีพตัวเองและครอบครัวในขั้นต้น อนาคตจะพัฒนาฟาร์มตัวอย่างให้เป็นแหล่งอาหารที่ปลอดภัย และพัฒนาประเทศไทยเป็นแหล่งอาหารของโลก และได้มีการนำปัญหาความเดือดร้อนที่มาจากศูนย์ดำรงธรรมมาแก้ปัญหา เพื่อให้เกิดความรักความสามัคคีกันในหมู่คณะและประเทศ

แนะนำโครงการและเครือข่าย โดย นายอานนท์ มีศรี นายกสมาคมสื่อชุมชนภาคใต้นครศรีธรรมราช ทางภาคใต้มีโมเดลการทำงาน เรียกว่า ภาคใต้แห่งความสุข มี 4 งานประเด็นงานที่เกี่ยวข้อง
1. ความมั่นคงของมนุษย์ 2. ความมั่นคงทางด้านอาหาร 3. ความมั่นคงทางสุขภาพ สุขภาวะทั้ง 4 อย่าง กาย จิต สังคม ปัญญา 4. ความมั่นคงด้านสิ่งแวดล้อม ผ่านการขับเคลื่อนที่เรียกว่า 3 เหลี่ยมเขยื้อนภูเขา จังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นพื้นที่ที่กำลังจะสร้างพื้นที่กลางร่วมกัน การค้ามนุษย์ คุณวันทิพย์ วิทยาคม (แรงงานฯ) ผู้ที่เข้าร่วมในวันนี้เป็นอาสาสมัครแรงงาน เรื่องของการค้ามนุษย์ หน่วยงานที่รับผิดชอบเรื่องนี้คือ สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เจ้าหน้าที่ต้องมีการผ่านการอบรมเป็นเวลา 5 วัน ผู้ที่จะปฏิบัติจะต้องได้รับบัตรประจำตัว เราเป็นผู้ที่อยู่ในชุมชนเราต้องรู้ว่าในพื้นที่มีการค้ามนุษย์หรือไม่ การใช้แรงงานผิดกฎหมาย โสเภณีผิดกฏหมาย การสื่อสารในทุกครั้งต้องมีความรอบคอบเพื่อป้องกันความผิดพลาด  ทีมสหวิชาชีพ ตำรวจ และอีกหลายๆหน่วยงานต้องลงไป มีบาง Cast ที่เมื่อเราลงไปแล้วเป็นการสื่อสารที่ผิดพลาด โดยบทบาทการค้ามนุษย์ขณะนี้เป็นเรื่องใหญ่ ที่ผ่านมามีการสื่อสารออกมาว่าประเทศไทยมีการค้ามนุษย์เกิดขึ้นมากในกลุ่มแรงงานทะเล เจ้าหน้าที่จึงต้องลงไปอยู่ในพื้นที่ เช่น ขนอม ปากพนัง ท่าศาลา หัวไทร มีการแก้ไขโดยจัดตั้งศูนย์ควบคุมแจ้งเข้า-ออกเรือประมง ความปลอดภัย เสื้อชูชีพ ห่วงยาง อาหาร มีเพียงพอหรือไม่ ได้รับค่าจ้างถูกต้องหรือไม่ มี sea book ตรงและถูกต้องหรือไม่ ซึ่งการทำงานตอนนี้ทำให้ประเทศไทยได้ใบเขียว บทบาทหนึ่งของ หน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงาน การจ้างงานแรงงานคนต่างด้าวทำอย่างไรให้ถูกกฎหมายหมาย
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ หน่วยงานที่ดูแล คือ พมจ.
พรบ.ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 ได้กำหนดความผิดฐานค้ามนุษย์ไว้กว่า ผู้ใด เพื่อแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ การะทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
ขั้นตอนการค้ามนุษย์ 3 ขั้นตอน (1) ขั้นเป็นธุระจัดหา ซื้อขาย จำหน่าย พามาจากหรือส่งไปยังที่ใด หน่วงเหนี่ยวกักขัง จัดให้ อยู่โดยอาศัย หรือรับไว้ ซึ่งบุคคลใด โดยข่มขู่ (2) ขั้นนำพาการเดินทาง จะใช้เส้นทางใดขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม (3) ขั้นแสวงหาผลประโยชน์ รูปแบบของการค้ามนุษย์ 4 รูปแบบ (1) การค้าประเวณี หรือการบริการทางเพศ (2) การใช้แรงงานเยี่ยงทาส (3) รูปแบบขอทาน เป็นปรากฏการณ์ที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ (4) การรับจ้างแต่งงาน รูปแบบของนายหน้าจัดหาคู่และให้สัญญาแก่ผู้หญิงว่าจะแนะนำสามีในอนาคตที่ดี แรงงานที่ผ่านเข้ามาในประเทศไทยมากที่สุด และเป็นการนำเข้าที่ถูกกฎหมาย ประกอบด้วย พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม แต่เวียดนามได้อนุญาตมา 2 กิจการคือ ก่อสร้าง และประมงทางทะเล และต้องผ่านบริษัทนำเข้าที่ถูกกฏหมายเท่านั้น หน่วยงานในกระทรวงแรงงานต้องทำ 3 เรื่อง คือ 1.ใช้กฎหมายของสวัสดิการดูแลค่าจ้าง 2. ประกันสังคม 3.ใบอนุญาตให้เข้ามาใช้แรงงานถูกต้องตามกฏหมาย การบังคับใช้แรงงานหรือบริการ มาตรา 4 ว.2 การข่มขืนใจให้เหยื่อทำงานหรือให้บริการโดยทำอย่างหนึ่งอย่างใด ดังนี้ 1. การทำให้เหยื่อกลัวว่าจะเกิดอันตรายแก่ชีวิต/ร่างกาย/ชื่อเสียงของตนหรือผู้อื่น 2. ขู่เข็ญเหยื่อด้วยประการใดๆ 3. การใช้กำลังประทุษร้ายเหยื่อ 4. การทำให้เหยื่ออยู่ในภาวะที่ไม่อาจขัดขืนได้ องค์ประกอบของการค้ามนุษย์ นายหน้า ลูกค้า เหยื่อ ผู้ค้า ผู้ควบคุม ผู้ใช้บริการ ผู้นำพา 5 กรอบคิด รู้เท่าทันสื่อใหม่ โดย นายพงษ์พัฒน์ ด่านอุดม ลิกอร์มีเดีย 1. สาธารณะ/ส่วนตัว space ถามตัวเองว่ามันเป็นส่วนตัวจริงหรือไม่ มากน้อยเพียงใด 2. เราใช้มันมากน้อยเพียงใด time ถ้าเราให้เวลากับมันมากไปย่อมส่งผลต่อสุขภาพโดยตรง 3. มิติของตัวเอง my self ต้องสร้างตัวตนของเราเองให้มีความชัดเจน 4. สังคม Social การใช้สื่อในทุกวันนี้เราสามารถใช้ให้เกิดประโยชน์และสิ่งดีๆให้กับสังคมได้แค่ไหน 5. ความเป็นจริง Reality ต้องมีการตั้งคำถามว่าสิ่งที่เขาสื่อมามีความเป็นจริงและเป็นไปได้แค่ไหน
Cofact เช็คข่าวลวง ชวน Add Line หากเราสงสัยว่าข้อความที่เราพบเป็นข่าวลวง ข่าวลือ หรือข้อความหลอก สามารถส่งข้อความนั้นมาให้ Cofact ช่วยตรวจสอบเพื่อให้คลายข้อสงสัยได้ สรุป โดย พอ.ภัทรชัย แทนขำ กอ.รมน.กองทัพภาคที่4 สื่อบางสื่อเราแชร์ทั้งที่ยังไม่รู้ข้อเท็จจริง ไม่มีการวิเคราะห์ ความมีเหตุผลเป็นเรื่องที่จะต้องนำมาใช้การเสพสื่อ ความพอประมาณในการใช้สื่อที่พอดีที่สอดคล้องกับความจำเป็น เกิดประโยชน์กับตนเองคือการมีภูมิคุ้มกันที่ดี สาระที่ดีต้องมีเครดิตของที่มาสื่อทางโซเชียล ผู้แชร์ก็เหมือนกัน การใช้หลักความเป็นจริงของชีวิตเข้าไปจับในการวิเคราะห์ ก็เป็นเรื่องสำคัญ เรื่องของแรงงานที่ทุกท่านเป็นอาสาอยู่ งานที่สอดคล้องกับ กอ.รมน.ก็สามารถประสานงานและหนุนเสริมงานกันได้ การช่วยเหลือผู้ยากลำบาก ต้องมีการปลูกฝังทัศนคติให้ด้วยเพื่อการช่วยเหลือตนเองได้ในภายหน้า การขยายเครือข่ายเพื่อการใช้สื่อขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะสู่ความมั่นคงทางสุขภาวะ การสื่อสารเพื่อป้องกันและการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน
และเตรียมความพร้อมในการจัดตั้งศูนย์ประสานงานแรงงานนอกระบบตำบลนำร่อง
จังหวัดนครศรีธรรมราช ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563 ณ วิสาหกิจชุมชนบ้านพรุพลูหนัง หมู่ 5 ตำบลไสหร้า อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช กล่าววัตถุประสงค์ โดยนายอานนท์ มีศรี
เพื่อให้เห็นถึงการขับเคลื่อนงานในด้านต่างๆ 1. ความมั่นคงของมนุษย์ 2. ความมั่นคงทางด้านอาหาร 3. ความมั่นคงทางสุขภาพ สุขภาวะทั้ง 4 อย่าง กาย จิต สังคม ปัญญา 4. ความมั่นคงด้านสิ่งแวดล้อม ผ่านการขับเคลื่อนที่เรียกว่า 3 เหลี่ยมเขยื้อนภูเขา จังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นพื้นที่ที่กำลังจะสร้างพื้นที่กลางร่วมกัน ภายใต้ชุดโครงการ

  1. เพื่อเชื่อมโยง 4 ประเด็นงานหลัก ตั้งแต่ระดับครัวเรือนไปจนถึงระดับจังหวัด
  2. เพื่อเตรียมงานสมัชชาจังหวัดภายใต้ 4 ประเด็นงาน
  3. เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงทางสังคมให้เกิดขึ้น
  4. เพื่อการเชื่อมโยงเครือข่ายที่มีความหลากหลายและได้แลกเปลี่ยนประเด็นขับเคลื่อน ตำบลไสหร้าเป็นตำบลที่ไม่เคยเปิดพื้นที่เป็นสาธารณะ การเข้าถึงของหน่วยงานที่จะเข้ามาหนุนเสริมจึงเป็นการยาก การหนุนเสริมภายใต้ชุดโครงการมาหนุนเสริม พื้นที่เป้าหมายมี 4 พื้นที่ ประกอบด้วย 1. ตำบลไสหร้า 2. ตำบลเขาแก้ว 3. ตำบลชะอวด 4. ตำบลจันดี การใช้ประโยชน์จากกองทุนตำบลได้อย่างไรที่จะสนับสนุนภายใต้สังคมสุขภาวะ ที่มาจากฐาน 3 เหลี่ยมเขยื้อนภูเขา
    ชุมชนจัดการตนเองสู่สุงคมสุขภาวะ โดยนายอำเภอฉวาง ฉวางเป็นหัวเมืองใหญ่กินพื้นที่ไปจนถึงจังหวัดสุราษฎร์ฯ เรามีความสุขอยู่บนหลักศาสนาและใช้ชีวิตอยู่ภายใต้หลักเศรษฐกิจพอเพียง พึ่งตนเองเป็นหลัก เรามี 86 หมู่บ้าน มีการแบ่งเกรดหมู่บ้าน หมู่บ้านที่พออยู่พอกิน หมู่บ้านที่มั่งมีศรีสุข หมู่บ้านที่ตกเกรด จปฐ. มีปราชญ์หมู่บ้าน ปราชญ์ชุมชน มีต้นแบบแผนแม่บทชุมชน มีการส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนมีความมั่นคงทางอาหารจากวิกฤตจากสถานการณ์โควิด-19 ให้ประชาชนมีช่องทางพืชผลทางการเกษตร ให้ผู้ผลิตและผู้บริโภคได้เจอกัน ด้านความมั่นคงทางสุขภาวะ วันนี้เราเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย พฤติกรรมการบริโภค ผู้ป่วยติดเตียงมีอสม.ที่ช่วยให้เข้าถึงสถานพยาบาล เป็นปัญหาสังคมที่เกี่ยวกับสุขภาพทั้งสิ้น ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมมีการดำเนินการอยู่ เช่น เติมน้ำเข้าไปในพื้นดิน
    เขาศูนย์ เดิมเป็นพื้นที่ป่า พรบ.ป่าไม้ 2484 ต่อมามีชาวบ้านเข้าไปบุกรุก ทำอย่างไรถึงจะให้ชาวบ้านอยู่ร่วมกับป่าได้ สิ่ง ที่สำคัญเขาศูนย์มีชื่อเสียงทางด้านทิวทัศน์ที่สวยงามทำอย่างไรให้มีการพัฒนาให้เป็นสถานที่ท่องเทียว โดยไม่ทำลายธรรมชาติ การพัฒนาพื้นที่อยากให้เป็นการระเบิดจากข้างในถึงจะเกิดความยั่งยืน
    กล่าวต้นรับ โดยนายปราโมทย์ ผิวนวล รองนายกอบต.ไสหร้า ตำบลไสหร้า มี 9 หมู่บ้าน ความเป็นอยู่เป็นชุมชนปานกลาง ที่ราบสูง 5 หมู่บ้าน ที่ราบลุ่ม 4 หมู่บ้าน หน้าน้ำจะมีปัญหา 4 หมู่บ้าน หน้าแล้งมีการดำเนินช่วยเหลือด้านน้ำกินน้ำใช้ให้กับพี่น้องประชาชนมาโดยตลอด แต่อย่างที่กล่าวมาแล้วปัญหาต้องมีการแก้ไขแต่ก็ต้องค่อยเป็นค่อยไป

ความมั่นคงทางอาหาร โดยนายวรวิชญ์ กฐินหอม โอกาสที่มีคือ ทุน ด้านความมั่นคงทางอาหารที่วิสาหกิจชุมชนบ้านพรุพลูหนังได้ขับเคลื่อนอยู่แล้ว ประเด็นอาหารมีความโดดเด่น คือ เป็นประเด็นร่วมของภาคใต้ โภชนาการสมวัย และอาหารปลอดภัย รวมทั้งธรรมนูญสุขภาพที่เข้ามาขับเคลื่อนร่วมกัน คือ ธรรมนูญว่าด้วยอาหารปลอดภัย
จุดอ่อน การสร้างการรับรู้ และการเชื่อมโยง นำไปสู่การปฏิบัติยังมีความยาก การขับเคลื่อนได้นำยุทธศาสตร์มาเป็นพลัง มีการเชื่อมโยงเครือข่ายในพื้นที่มาร่วมกันเพื่อได้เห็นภาพรวมของตำบล
เราจะทำอย่างไรให้เครือข่ายต่างๆได้เห็นทุนที่เรามีอยู่ ทำอย่างไรที่จะสร้างความมั่นคงด้านรายได้ให้กับพี่น้องเกษตรกรที่มีพืชเชิงเดี่ยว เช่น ยางพารา เครือข่ายที่ขับเคลื่อนอยู่จะสนับสนุนให้เราขับเคลื่อนไปสู่ความมั่นคงทางด้านอาหารได้อย่างไรในอนาคต พื้นที่แต่ละพื้นที่มีความพึ่งพาตนเอง มีรายได้พออยู่พอกินอยู่แล้ว ทำอย่างไรให้ประเด็นเหล่านี้เป็นเรื่องของทุกคน ด้านสิ่งแวดล้อม ทำอย่างไรให้เกิดประโยชน์กับชุมชน โดย พอ.ภัทรชัย แทนขำ
หลักการ 3 ขา ทฤษฎีฝายมีชีวิต ประกอบด้วย 1.เวทีประชาเข้าใจ วิเคราะห์ทางเลือก 2.ลงมือทำฝายมีชีวิต 3.การทำธรรมนูญฝาย โดยไม่เอางบประมาณมาเป็นตัวตั้ง สร้างฝายด้วยวัสดุ ความร่วมมือร่วมใจ การมีส่วนร่วมของคนในชุมชน แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ เกิดผู้นำคือ ครูฝาย ได้น้ำ ได้ความสมบูรณ์ เกิดผลิตที่ดี โดยมีข้อตกลงคือ ถ้ามีฝายพี่ ต้องมีฝายน้องเกิดขึ้น
จากการขับเคลื่อนเรื่องฝายมีชีวิต ปัญหาที่ต้องมีการสร้างฝาย คือ ปัญหาเรื่องการขาดน้ำทางด้านการเกษตร เกิดฝาย 106 ตัวเกิดขึ้นใน 12 จังหวัดภาคใต้ มีการขยายตัวไปทางภาคอื่นๆโดยยึดหลักการมีส่วนร่วมในชุมชน จนเกิดการจัดการตนเองในพื้นที่นั้นๆ มีเครือข่ายฝ่ายเกิดขึ้นทั่วประเทศประมาณ 50 จังหวัดในประเทศ หลักสำคัญ คือ การมีน้ำ การเห็นความสำคัญของธรรมชาติ สามารถเชื่อมโยงไปสู่ด้านการท่องเที่ยวได้หัวใจหลักของการท่องเที่ยวคือ การทำชุมชนให้น่าอยู่ แชท ช้อป ห้องน้ำ ยิ้มแย้ม ความปลอดภัย

ด้านสุขภาพ โดย นายเชาวลิต ลิปน้อย กลไกหรือระบบต่างๆ ทำอย่างไรให้คนในพื้นที่เข้าถึงบริการได้จริง ทำอย่าง ไรให้เกิดความร่วมมือในทุกภาคส่วน กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบล เป็นการสร้างความร่วมของทุกภาคส่วนให้เข้ามาดูแลสุขภาพของพี่น้องในชุมชน เพื่อให้เกิดความมั่นคงด้านสุขภาพของประชาชนในพื้นที่
หมู่ที่ 5 ตำบลไสหร้า เป็นพื้นทีที่ได้รับเลือกให้เป็นพื้นที่นำร่อง ถ้ามีการพัฒนาแล้วเดความมั่นคง ก็จะเป็นต้นแบบให้พื้นที่อื่นๆ ได้เรียนรู้ต่อไป ความมั่นคงทางมนุษย์ โดย แสงนภา หลีรัตนะ จ.ชุมพร เครือข่ายงดเหล้ามีเครือข่ายครอบคลุมทั้ง 77 จังหวัด สิ่งที่ดำเนินการ 4 เรื่อง 1. ชุมชนเข้มแข็ง สามารถจัดการตนเองได้ ไม่เกิดความเสี่ยงต่อการใช้ชีวิต 7 จังหวัดภาคใต้ตอนบนกำลังทำเรื่องศูนย์เรียนรู้ 2. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม หรือนโยบาย ชุมพรมีเรื่องของวาระงานบุญประเพณีปลอดเหล้า เป็นนโยบายที่ให้คนหรือองค์กรต่างๆนำไปปฏิบัติ แต่ที่สำคัญต้องทำตั้งแต่ชุมชนข้างล่าง 3. การบังคับใช้กฎหมาย ที่ผ่านมาการบังคับใช้กฎหมายอาจไม่สำเร็จมากนัก เนื่องมาจากการละเลยไม่นำไปปฏิบัติอย่างจริงจัง เปิดช่องเปิดโอกาสให้ไม่มีความมั่นคงเกิดขึ้น 4. เด็กและเยาวชน ดึงศักยภาพของคนเหล่านี้ออกมาให้เกิดคุณภาพได้สูงสุด
และคนทั้ง 3 วัยต้องร่วมกันขับเคลื่อนเรื่องเหล่านี้ให้เกิดขึ้นอย่างมีคุณภาพ และขยายเรื่องราวดีๆไปสู่คนทั้ง 4 ภาค
ดร.ปรเมษฐ์ จินา ประธาน กขป.เขต๑๑ เป็นหน่วยงานที่เกิดขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี กขป.เกิดขึ้นมาเป็นปีที่ 4 มีการระดมความคิด ค้าหาเอกลักษณ์และอัตลักษณ์ของพื้นที่ภาคใต้ที่เด่นกว่าภาคอื่นๆ
- สาธารณสุขทางทะเล เรื่องการค้นหาขยะทางทะเล พื้นที่ต้นแบบคือ อบต.อ่าวนาง มีการเชิญหลายๆภาคส่วนเข้ามาร่วมขับเคลื่อน - เด็กและเยาวชน โรงเรียนเยาวเรศศึกษา อ.เคียนซา - วัยทำงาน เกษตรปลอดสาร อาหารปลอดภัย สามารถเสริมสร้างรายได้ให้กับ - ผู้สูงอายุ มีเรื่องของ 3 วัย ศูนย์สร้างสุข ใช้เรื่องพฤติพลังมาเป็นตัวขับเคลื่อน โมเดลผู้สูงอายุ - ตำบลจัดการตนเอง
เน้นการทำงาน 3 ร่วม 3 สร้าง 3 สุข 3 ร่วม
ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมเรียนรู้ 3 สร้าง
สร้างงาน สร้างคน สร้างทีม 3 สุข สุขกาย สุขใจ สุขเงิน

แรงงานจังหวัด แรงงานแบ่งเป็น 2 ประเภท ประกอบด้วย - นอกระบบ
- ในระบบ ในส่วนของกระ รวงแรงงานการขับเคลื่อนการดำเนินงานนอกระบบ จากสถานการณ์โควิด-19 นอกจากแรงงานในระบบที่ประสบปัญหาแล้ว แรงงานในระบบก็ประสบปัญหาเช่นกัน
การแก้ปัญหาแรงงานนอกระบบต้องมีการร่วมมือกันที่จะแก้ปัญหาจากภาคีเครือข่ายหลายๆหน่วยงาน ตำบลไสหร้าต่อไปจะมีศูนย์ประสานงาน มีการพัฒนาแนวความคิดของแรงงาน มีการขับเคลื่อนในหลายๆประเด็นรวมทั้งความมั่นคงทางด้านอาหารด้วย นิตยา พรหมขวัญ ผู้ก่อตั้งวิสาหกิจชุมชนบ้านพรุพลูหนัง การเริ่มต้นมีแนวคามคิด จากลุงขจร ทิพาพงษ์ และลุงประยงค์ รณรงค์ โดยการเขียนแผนที่ความคิดของชีวิต มีหนี้เท่าไหร่ มีรายได้เท่าไหร ควรหารายได้ให้ได้เท่าไหร่ กระบวรการจัดการชีวิตจึงเริ่มเกิดขึ้น พื้นที่ 60 ไร่ ทำอย่างไร
ตำบลไสหร้าเป็นพื้นที่ที่เริ่มต้นทำในเรื่องของการจัดตั้งกลุ่ม ตั้งกลุ่มทำไม เพื่อให้เขาได้รู้จักจัดการชีวิตเหมือนเราหรือไม่ - ของบประมาณอย่างไร - ขับเคลื่อนงานอย่างไร - ผลผลิตที่เกิดขึ้นมีการจัดการอย่างไร การสนับสนุนหรือหนุนเสริมของหน่วยงาน ขอว่าให้ชาวบ้านได้กินอิ่ม นอนอุ่น ใช้ชีวิตที่ถูกต้องตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง เป็นชุมชนที่ใครๆเข้ามาก็เป็นเสมือนชุมชนของตนเอง
สรุปประเด็น โดยอ.นัยนา หนูนิล ในที่นี่ทุกคนคือ ผู้เรียนรู้ ความมั่นคงทางสุขภาวะต้องมองว่า สุขภาวะของใคร ก็คือของคน คนทุกกลุ่มวัย เกี่ยวข้องทั้งรายได้ สิ่งแวดล้อมที่ดี นโยบายที่เอื้อ ที่สำคัญคือ การจัดการที่ดีเริ่มต้นตั้งแต่ครัวเรือนที่เป็นหน่วยที่เล็กที่สุดในสังคม ในครัวเรือนมีพฤติกรรมเสี่ยงอะไรบ้างที่มทำให้เด็กเห็นและทำตาม การจัดการจึงเริ่มต้นที่ 1 ครัวเรือน หาประเด็นที่เราอยากดำเนินการ รายได้เป็นส่วนประกอบ แต่สุขภาวะของคนในครัวเรือนต้องมาเป็นอันดับหนึ่ง คนในบ้านเราต้องกินดีอยู่ดี เมื่อทำดีแล้วก็บอกให้เพื่อทำต่อ รวมตัวกันเป็นกลุ่ม มีการเรียนรู้ มีการจัดการที่ดี
การทำอะไรก็แล้วแต่ต้องมีการบันทึก มีการประเมิน มีผลกระทบต่อครอบครัว หรือคนในหมู่บ้านอย่างไรบ้าง เมื่อเราทำในครัวเรือนหรือหมู่บ้านเราดีแล้ว จึงมีการขยายวงเกิดขึ้นเป็นเครือข่าย มีการประเมิน ผลที่เกิดขึ้น ผลกระทบอย่างไร ผลดีอย่างไร

วันที่ 7 สิงหาคม 2563 กล่าววัตถุประสงค์ โดย นายอานนท์ มีศรี 1. เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ต่างเครือข่าย 2. แนวทางในการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะสู่ความมั่นคงทางสุขภาวะ ทางโครงการเข้ามาหนุนเสริมเพื่อให้การขับเคลื่อนงานเป็นไปได้อย่างราบรื่นมากขึ้น เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมระหว่างเครือข่าย ความเป็นมา โดย นายปราโมทย์ ผิวนวล วิสาหกิจชุมชนบ้านพรุพลูหนัง ก่อตั้งมาประมาณ 2 ปี ได้รับความร่วมมือจากชาวตำบลไสหร้าและตำบลใกล้เคียง เนื่องจากที่ผ่านมาประสบกับปัญหาสถานการณ์โควิด-19 ทำให้ประชาชนประสบความเดือดร้อนในการดำรงชีพ ดังนั้นจึงมีการต่อยอดโครงการปลูกพืชแซมในสวนยาง และพัฒนาเกษตรกรตัวอย่างตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9
หัวหน้าแรงงานจังหวัดนครศรีธรรมราช นายบุญลอย เขียดนิล
นับเป็นโอกาสดีที่วันนี้ทุกภาคส่วนได้ร่วมมือกันผ่านพ้นวิกฤตสถานการณ์โควิด-19 มาได้ โดยการขับเคลื่อนงานวิสาหกิจชุมชนบ้านพรุพลูหนังเป็นส่วนหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงความมั่นคงด้านอาหารในชุมชน มีการบูรณาการร่วมกันระหว่างหลายหน่วยงานและหลายๆเครือข่าย ในด้านกระทรวงแรงงานเองได้สร้างเครือข่ายไว้ในพื้นที่ คือ อาสาสมัครในพื้นที่ทุกตำบล เกือบจะครอบคลุมทุกหมู่บ้านก็ว่าได้ ผู้นำ ผู้แทน ต่างๆก็ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี การประสานงานต้องทำอย่างไรให้พื้นที่ชุมชน พื้นที่ห่างไกล มีระบบเศรษฐกิจที่ดี ประชาชนสามารถอยู่ได้อย่างมีความสุข ภายใต้สุขภาวะที่ดี และร่วมกันพัฒนาหมู่บ้านชุมชนให้มีความเข็มแข็งต่อไป ขอขอบคุณสมาคมสื่อชุมชนภาคใต้นครศรีธรรมราช หน่วยกอ.รมน. และหน่วยงานอื่นๆที่ได้ร่วมกันทำสิ่งดีๆให้เกิดขึ้นในพื้นที่ในวันนี้ เสวนา ผ่านรายการลิกอร์ล้อมวงคุย “ชุมชนจัดการตนเอง สู่สังคมสุขภาวะ” ใคร? ต้องทำอะไร? กับใคร? ที่ไหน? อย่างไร? 1. พอ.ภัทรชัย แทนขำ 2. ดร.ปรเมษฐ์ จินา 3. นายขจร ทิพาพงศ์ 4. นายวรวิชญ์ กฐินหอม 5. รต.สุภาพร ปราบราย
6. นายบุญลอย เขียดนิล 7. นางนิตยา พรหมขวัญ
8. กันตพิชญ์ ประดับการ 9. มานิต มงคลชื่น 10. นางสาว จริยา นิลสังหะ 11. ดร.นัยนา หนูนิล ม.วลัยลักษณ์ฯ 12. วันทิพย์ วิทยาคม 13. นายทวี สร้อยสิริสุนทร 14. ธัญญรัศม์ ชูแก้ว ดำเนินรายการ โดย นายอานนท์ มีศรี วันนี้เราดำเนินรายการกันที่สวนแม่สร้าง วิสาหกิจชุมชนบ้านพรุพลูหนังหลังจากสถานการณ์โควิด-19 แต่เราได้รับความร่วมมอจากคนไทยทำให้เราผ่านพ้นวิกฤตมาได้จากการร่วมมือจากหลายๆหน่วยงาน กิจกรรมหนุนเสริมพื้นที่ การจัดการตนเองภายใต้พื้นที่เป็นตัวตั้ง บนฐานสามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขาที่ทำให้เราสามารถขับเคลื่อนงานได้โดยไม่ติดขัด ประสานพลังกันอย่างไรเพื่อขับเคลื่อนประเทศ ขับเคลื่อนภาคใต้แห่งความสุข 4ประเด็น - ความมั่นคงทางอาหาร - ความมั่นคงด้านมนุษย์ - ความมั่นคงด้านสิ่งแวดล้อม
- ความมั่นคงด้านสุขภาพ ที่ทั้ง 4 ส่วนจะนำไปสู่ภาคใต้แห่งความสุขอย่างยั่งยืนได้อย่างไร
ประเด็นความมั่นคงทางอาหาร โดย นายวรวิชญ์ กฐินหอม
มีการขับเคลื่อน 3 ส่วนด้วยกัน คือ พอเพียง ปลอดภัย โภชนาการสมวัย การขับเคลื่อนงานดำเนินไปถึงการมียุทธศาสตร์อาหารระดับจังหวัด มีหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องที่ การดำเนินงานในปีนี้มี 4 ตำบล ประกอบด้วย อาหารเป็นส่วนสำคัญที่สร้างคุณภาพของคนนคร ต้นทุน ศักยภาพ ที่จะมาหนุนเสริมให้การขับเคลื่อนเกิดผลลัพธ์ที่ดี และสามารถขยายผลไปสู่พื้นที่อื่นๆได้ ตำบลไสหร้าในชุมชนมีการขับเคลื่อนอยู่ให้แล้วเพียงแต่ยังไม่ได้มีการเรียบเรียงองค์ความรู้ทางวิชาการที่จะสามารถให้ตำบล หรือ เครือข่ายอื่นๆมาร่วมเรียนรู้ได้อย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพที่น่าพอใจ การทำงานของภาคส่วนราชการ หน่วยงานตระดับจังหวัด ในเรื่องของความมั่นคงของมนุษย์ จะมั่นคงด้วยเรื่องอะไร และจะต้องทำอย่างไร นายบุญลอย เขียดนิล แรงงานจังหวัดฯ ในส่วนของกระทรวงแรงงาน หัวหน้าส่วนและผู้แทนหน่วยงาน ในการขับเคลื่อนงานระดับจังหวัดมีการดำเนินการในพื้นที่โดยการสร้างเทครือข่าย มีอาสาสมัครแรงงานเป็นตัวหลักในการขับเคลื่อนพื้นที่ ประชาชนมีทักษะอาชีพ มีงานทำ เพื่อเพิ่มรายได้สามารถเลี้ยงตัวเองและครอบครัวได้ มีการสร้างความรู้ความเข้าใจโดยผ่านอาสาสมัครแรงงานให้สำรวจแรงงานในพื้นที่เพื่อนำข้อมูล เชื่อมโยง ให้การแนะนำ ช่วยเหลือให้แรงงานมีงานทำ ความมั่นคงด้านเศรษฐกิจ ความเป็นอยู่ สุขภาพ เบื้องต้นต้องมีอยู่มีกิน การดิ้นรนออกนอกเขตพื้นที่จึงเป็นเรื่องจำเป็นถ้าไม่มีการจ้างงานในพื้นที่ การเปลี่ยนแปลงการสร้างงานสร้างความมั่นคงอย่างไร การสร้างคน เพื่อช่วยให้เขามีความรู้ ความเข้าใจ สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ตัวแรงงานเองและครอบครัวสามารถดำรงอยู่ในสังคมได้อย่างมั่นคงขึ้น หน่วยอาสาสมัครแรงงานในตำบล การเชื่อมร้อยเครือข่าย รต.สุภาพร ปราบราย
คนใดคนหนึ่ง หรือหน่วยงานใดหน่วยงานาหนึ่งย่อมไม่สามารถทำงานให้สำเร็จลุล่วงไปได้หากปราศจากความร่วมมือ การทำงานด้านภัยพิบัติที่ผ่านมาทำตั้งแต่ระดับชุมชนไปจนถึงระดับประเทศ การทำงานที่ผ่านต้องทำงานร่วมกันหลายฝ่าย ภาครัฐ ทหาร ตำรวจ ปภ.เครือข่ายภัยพิบัติตำบล ซึ่งหลายๆความสำเร็จมาจากความร่วมมือ นครศรีฯมีการทำงานร่วมกับภาครัฐเพื่อนำพาพี่น้องให้ผ่านพ้นภัยพิบัติ ในระดับพื้นที่เองเรามีองค์กรหลายๆองค์กรที่ทำงานด้านภัยพิบัติ และมีการร่วมมือกับเครือข่ายภัยพิบัติของภาคอื่นๆด้วย
บทเรียนที่ผ่านมาของอำเภอชะอวด (น้ำแล้ง น้ำท่วม ไฟไหม้ เป็นต้น) นายบุญโชค นิ่มหนู เครือข่าย อ.ชะอวด
การขยายเครือข่าย โซ่ข้อกลาง สถานการณ์โควิด-19 ชะอวดมีผู้ติดเชื้อ 2 ราย ทำให้เกิดความวิตก และมีความระมัดระวังในการใช้ชีวิตประจำวัน จึงมีการพูดคุย ปรึกษาหารือกันทั้งชาวบ้าน ท้องที่ ท้องถิ่น และภาครัฐ ทำตลาดออนไลน์ มีการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้ากัน “หลาดคนจนบนหวัน” ตอนนี้มีเครือข่ายที่เข้ามาร่วมครบ 23 อำเภอ มีการขับเคลื่อนตามรูปแบบความมั่นคงทางด้านอาหาร มีการเสริมเรื่องของสุขภาพ และวิสาหกิจท่องเที่ยว
ด้านสิ่งแวดล้อม พอ.ภัทรชัย แทนขำ บางท่านอาจมองเป็นเรื่องไกลตัว ดิน น้ำ ป่า ทรัพยากรธรรมชาติ ประเด็นสิ่งแวดล้อม ถ้ามีความมั่นคงที่ดีจะทำให้เกิดความมั่นคงทางด้านอาหาร ทางด้านสุขภาพตามมา ไฟป่า เป็นการกระทบทางสุขภาพโดยตรง การขับเคลื่อนทั้งประเด็นสิ่งแวดล้อมและภัยธรรมชาติ ถ้าเกิดเหตุการณ์สามารถลงช่วยเหลือประชาชนได้โดยไม่ต้องรอคำสั่ง การเตรียมพร้อม คือ การสร้างความมีส่วนร่วมของประชาชน มิติหนึ่ง คือ ด้านกำลัง เรามีกำลังที่พร้อมจะลงทำงานได้ทันที การบริหารจัดการน้ำ ส่งผลให้เกิดความมั่นคงด้านอาหาร การอนุรักษ์ระบบนิเวศน์ริมคลอง การปลูกป่า 8 ปี มีการวางแผนและจัดทำแผนคาดว่าพื้นที่ป่าจะเพิ่มมากขึ้น มีการดูแลตั้งแต่ป่าต้นน้ำ ป่าหัวล้าน ป่าเสื่อมโทรม ป่าชุมชน ต้องได้รับการช่วยเหลือจากชาวบ้าน (การปลูกป่าในใจคน) ไฟป่า การสร้างจิตอาสาเพื่อเฝ้าระวังการเกิดเหตุ การเตรียมการรับมือภัยพิบัติต่างๆ
สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด กันตพิชญ์ ประดับการ สำนักงานทำอะไร มี 5 หน่วย มีภารกิจ ดูแลเรื่องสิทธิ์ของคนทำงาน ส่งเสริมให้คนทำงานหรือกลุ่มแรงงานนอกกระบบ รับงานไปทำที่บ้านภาคเกษตร รวมถึงสภาพความปลอดภัยในการทำงาน หลักของการทำงานที่ปลอดภัย การดำเนินงานได้ลงในภาคย่อยๆคือชุมชน ทำอย่างไรให้มีความปลอดภัย มีเครื่องมืออุปกรณ์ใช้อย่างไรให้ปลอดภัย การคุ้มครองสิทธิ์ ในภาคของอุตสาหกรรม หรือโรงงานมีกฏเกณฑ์ กฎหมาย แต่ภาคประชาชนเรามีอาสาสมัครแรงงานมาช่วยดูแลในชุมชน วันทิพย์ วิทยาคม นักวิชาการชำนาญการ

  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo

 

40 0

4. ประชุมคณะทำงานประเด็นร่วมกับเครือข่ายสุขภาพภาคใต้เพื่อ mapping เครือข่าย ครั้งที่ 2

วันที่ 11 สิงหาคม 2563

กิจกรรมที่ทำ

  1. ชี้แจงวัตถุประสงค์ รายงานเวที ที่ 1 แนะนำเครือข่าย โดย นายอานนท์ มีศรี
  2. ชี้แจงแผนการดำเนินงานของเครือข่ายสื่อฯ
  3. นำเสนอแผนการดำเนินงานเครือข่ายย่อยในระดับพื้นที่

    • ความมั่นคงทางอาหาร
    • พืชร่วมยาง
    • การท่องเที่ยว
    • ภัยพิบัติ
  4. ออกแบบงานสื่อสารเพื่อการสนับสนุนประเด็นการขับเคลื่อน

  5. แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและนัดแนะการเคลื่อนงานร่วมกัน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ประชุมคณะทำงานประเด็นร่วมกับเครือข่ายสุขภาพภาคใต้เพื่อ mapping เครือข่าย ครั้งที่ 2 วันที่ 11 สิงหาคม 2563 ณ ห้องประชุมเขาหลวงรีสอร์ท ต.เขาแก้ว อ.ลานสกา จ.นครศรีธรรมราช

ชี้แจงวัตถุประสงค์ โดย นายอานนท์ มีศรี นายกสมาคมสื่อชุมชนภาคใต้นครศรีธรรมราช ก่อนหน้านี้เรามีเวทีขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ ด้านความมั่นคงของมนุษย์ มีการเชิญ พม. แรงงาน อพม. จะเห็นว่าการทำงานทุกภาคส่วนจะสามารถขับเคลื่อนงานให้เข้มแข็งได้อย่างไร มีการหนุนงบประมาณในการขับเคลื่อนให้กับทั้ง 4 ประเด็นงาน ประกอบด้วย ความมั่นคงด้านมนุษย์ สิ่งแวดล้อม ภารกิจสำคัญ คือ 1. การเพิ่มเครือข่ายใหม่
2. กระบวนการทำงานแต่ละเครือข่าย ยุทธศาสตร์ประเด็นจริยธรรมสื่อภายใต้สถานการณ์ new normal ยึดยุทธศาสตร์ ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ ปัจจุบันเทคโนโลยีก้าวล้ำ ทุกคนเข้าถึงได้ง่าย สามารถส่งผลให้เกิด 1. การสื่อสารเกินจริง ละเมิดสิทธิ์ 2. การสื่อสารเนื้อหาที่ไม่ครบถ้วน 3. เลือกข้างเอนเอียง ส่งผลให้เกิด ความเข้าใจผิด ความแตกแยก ความขัดแย้งในสังคม ความหวาดกลัว ความวิตกกังวลฯลฯ ส่งผลต่อ กาย จิต สังคม ปัญญา
การสื่อสารสุขภาพเป็นการสื่อสารที่ละเอียดอ่อน ถ้าไม่คำนึงถึงหลักจริยธรรม และปัญหาของการสื่อสารทั้ง 3 ประเภท ผลลัพธ์/ผลกระทบ 1. เกิดคนทำสื่อด้านสุขภาพ 2. ประเด็นทางนโยบาย 3. ความเชื่อมโยงต่อสาธารณะ

แนะนำเครือข่าย ประเด็นมูลนิธิ เพื่อเด็กพิการ
เป็นองค์กรสาธารณะประโยชน์ของเอกชน ในการทำงานเป้าหมายหลัก คือ เป็นการช่วยเหลือแนะนำ ให้คำปรึกษา การใช้ชีวิตประจำวัน ส่งต่อทุกภาคส่วน มุ่งเน้นการฟื้นฟู ใช้ศาสตร์การนวดไทย ญี่ปุ่น(นวดโดซาโฮ) กายภาพบำบัด ธรรมชาติบำบัด ทำงานร่วมกับเครือข่าย ศูนย์การศึกษาพิเศษจังหวัดนครศรีธรรมราช ให้ความรู้กับผู้ปกครอง ผู้ดูแล เกี่ยวกับศาสตร์การฟื้นฟู ศาสตร์การเคลื่อนไหวแบบญี่ปุ่น ดนตรีบำบัดโดยได้รับความร่วมมือจากโรงเรียนต่างๆ เช่น โรงเรียนท่านครฯ โรงเรียนโยธินบำรุง เป็นต้น เพื่อกระตุ้นพัฒนาการ ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ในจังหวัดนครศรีฯ ปี 64 จะขยายพื้นที่ออกไปอีก 2 อำเภอ และมีการสำรวจเด็กพิการเพิ่มเติม พื้นที่ที่เป็นเครือข่ายคือ อำเภอ และตำบล ปัจจุบันสถานที่ฟื้นฟูคือสำนักงาน เป้าหมายหลัก ต้องการตั้งเป็นศูนย์บริการเพื่อเด็กพิการประจำจังหวัด ตอนนี้เรามีแค่ชมรมเพื่อเด็กพิการ และรอการประเมินองค์กรเพื่อตั้งเป็นศูนย์บริการเพื่อคนพิการต่อไป
  อานนท์ มีศรี เครือข่ายสุขภาพภาคใต้ มี 4 ประเด็น จะขับเคลื่อนให้เกิดนโยบายได้อย่างไรภายใต้สมัชชาสุขภาพ เพื่อการขับเคลื่อนเพื่อให้เกิดนโยบายได้ง่ายขึ้น ภายใต้ชุดโครงการที่มีอยู่ เป็นการสานพลังร่วมกัน จะมีการผลักดันให้เกิดเป็นนโยบายสาธารณะ เสริมสร้างสมรรถนะเด็กพิการ ประเด็นการสื่อสาร การสานพลังข้ามเครือข่ายภายใต้กลไกกลาง(กขป.) กลไกจังหวัด(สมัชชา)   ทวี สร้อยสิริสุนทร ในส่วนของท้องถิ่นสามารถนำเอาประเด็นนี้มาเป็นภารกิจได้ การส่งเสริมอาชีพให้กับครัวเรือนของเด็กพิการเพื่อการดูแลเด็กที่บ้านได้ เนื้องานเกี่ยวโยงกันแต่จะสามารถเชื่อมโยงกันอย่างไร

ประเด็นความมั่นคงทางด้านอาหาร
  นายวรวิชญ์ กฐินหอม มีการขับเคลื่อนตั้งแต่ 60-61 มีการขับเคลื่อนในเชิงวิชาการกับมอ. มีตำบลต้นแบบ 4 ตำบล จันดี ไสหร้า เขาแก้ว หูล่อง มีปัจจัยที่ส่งผลต่อสุขภาพอย่างไร สามารถทำเป็นยุทธศาสตร์อาหารระดับจังหวัด มีหลายๆภาคส่วนที่เข้ามาร่วม เมื่อได้เล่มยุทธศาสตร์มาแล้วแต่ยังไม่สามารถนำไปขับเคลื่อนให้เกิดความเป็นจริงขึ้นมาได้ ปี 63 เราได้บูรณาการระดับตำบลเพื่อให้ได้ชุดความรู้ในระดับตำบลเพื่อให้ระบบอาหารระดับตำบลสร้างคุณภาพให้คนได้ พอเพียง ปลอดภัย โภชนาการอาหารที่ดี จะขยายไปในระดับอำเภอ โดยมีนายอำเภอ พชอ.ร่วมด้วย เพื่อการเกิดแผนที่นำไปสู่การปฏิบัติได้จริง ระดับภาคมีส่วนของเขต11ที่ทำร่วมงานร่วมกัน ชุมพร สุราษฎร์ นคร 30 ตำบล ในส่วนของนครศรีฯมี 10 ตำบล (4+6) นอกจากสร้างให้ชุมชนมีสุขภาพที่ดีแล้วจะสามารถสร้างให้ชุมชนมีรายได้ได้อย่างไร ซึ่งตอนนี้การสื่อสารยังไม่สามารถสื่อสารออกไปสู่ภายนอกได้เท่าที่ควร และความมั่นคงทางด้านอาหารที่แท้จริงควรมีกระบวนการอย่างไรมีภาคส่วนไหน หรือใครบ้างที่เข้ามาเกี่ยวข้อง และมีประเด็นใดบ้างที่เกี่ยวข้อง เช่น การจัดการน้ำในชุมชน เพราะน้ำเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ
กลไกพื้นที่ เพื่อเชื่อมให้เป็นข้อเสนอนโยบายสาธารณะ

  1. ตำบล มี 4 พื้นที่รูปธรรม 6 พื้นที่เรียนรู้
  2. อำเภอ โดยเชื่อมกับ พชอ.
  3. จังหวัด เชื่อมกับสมัชชา
  4. ภาค ใช้เขตสุขภาพ กขป. นางธัญวลัย คงมา ในส่วนของความมั่นคงทางด้านอาหารในพื้นที่จันดี มีการทำเรื่องป่าร่วมยาง ที่ประกอบด้วย พืชเศรษฐกิจคือ ยาง พืชอาหาร เช่น ผักพื้นบ้านต่างๆ พืชสมุนไพรบ้านละ 5 ชนิด เมื่ออาหารเหลือจะกระจายสินค้าได้อย่างไร จึงแนวคิดเรื่องการเปิดตลาดชุมชนหรือชุมชนเกิดใหม่ มีการถ่ายทอดการแปรรูปสมุนไพร เช่น ไครหอมไล่ยุง

การท่องเที่ยวโดยชุมชน
  โดย นุชนภา ยศหมึก (บ้านห้วยทรายขาว) เป็นกระบวนการเมืองท่องเที่ยว โดยยึดเอาทุนธรรมชาติที่มีอยู่ชุมชน คือ เขาศูนย์ ชุมชนมีทุนด้านอาหาร ทำอย่างไรที่จะทำให้การท่องเที่ยวชุมชนครบวงจร โดยในชุมชนมีการรวมกลุ่มกันประมาณ 20 คนทำเรื่องการท่องเที่ยว มีอาหารพื้นบ้าน เช่น แกงคั่ว แกงหอยโล่ สามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชนเพื่อให้ชุมชนมีความสุข ฉวาง ต.นาแว ตอนนี้กำลังมีชื่อเรื่องเขาศูนย์ ควรมีการรณรงค์ในเรื่องของการรักชุมชนของตนเองไม่ขายที่ขายทางให้กับนายทุน

การท่องเที่ยวโดยชุมชนปลอดภัย
  โดยนายเกียรติคุณ รอดตัว วัฒนธรรมสร้างสุขปลอดภัย 35 พื้นที่ทั่วประเด็น สมัชชาสุขภาพ 5 ส่วนประเด็นความปลอดภัย ที่พัก อาหาร สถานที่ เดินทาง มีการเสนอแนวคิดให้กับทางการท่องเที่ยว โครงข่ายระดับประเทศ มีมติหน่วยงานหลักที่เข้ามาขับเคลื่อน
การจัดการขยะ เชื่อกับสิ่งแวดล้อม ได้รับการสนับจากเชฟรอนการขับเคลื่อน เน้นให้ชุมชนใช้วัสดุที่เกิดจากธรรมชาติ สามารถทำให้นักท่องเที่ยวมั่นใจถึงความปลอดภัยมากขึ้น
เนื่องจากสถานการ์ณโควิด-19 พัทลุง นคร ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวเมืองรอง เน้นนักท่องเที่ยวที่เป็นคนไทยให้การท่องเที่ยวฟื้นตัวได้เร็ว นายทวี สร้อยสิริสุนทร จะเห็นว่ามีการเกี่ยวโยงกันกับตำบลวิถีพอเพียง นครตอนนี้ยังไม่สามารถหาจุดเด่นได้เลยทำทุกเรื่อง มองว่าต้องมีการออกแบบให้ดี ในพื้นที่ทับซ้อน เชื่อมโยงเป็นเครือข่าย และขับเคลื่อนไปสู่นโยบาย

  พอ.ภัทรชัย แทนขำ เดิมมีการทำในเรื่องของฝาย มีการพบปะพี่น้องประชาชนอยู่แล้ว ที่หินตกมีการจัดคนไปช่วยสร้าง แต่ภาพที่ได้เห็นความร่วมมือของประชาชนในการจัดการน้ำของชุมชน รู้ถึงกระบวนการสร้างฝายด้วยหลักการ 3 ขา ธรรมนูญของชุมชน จัดการทรัพยากรของชุมชนที่มีน้ำอย่างไร ขับเคลื่อนจากฝายพี่สู่ฝายน้อง จากนครไปสู่ภาคอื่น จากชุมชนสู่ชุมชน ครูฝายจากนครไปสู่ภาคอื่น การขยายตัวจาก 1,000 กว่าฝาย ในทุกพื้นที่มีครูฝาย เป็นศูนย์รมจิตใจของชุมชน
นอกจากนี้ยังทำในเรื่องของความมั่นคงทางอาหาร ขับเคลื่อนเรื่องการเชื่อมต่อของเครือข่าย เช่น ยังสมาร์ท ฯ ในเรื่องของผลผลิต การแปรรูป การตลาด เป็นต้น สามารถเป็นวิทยากรได้
- ประเด็นขยะร่วมกับมวล.(ขยะทางทะเล)
- การจัดการเครือข่าย - การปลูกพืชร่วมยาง รวมกลุ่มกันเพื่อเรียนรู้ผลัดเปลี่ยนกัน - การเชื่อมสภาเกษตรกรจังหวัด ในโครงการจิตอาสาพระราชทาน เป็นการขับเคลื่อนผ่านโครงการจิตอาสาพัฒนาภัยพิบัติ ที่หน่วยงานราชการมีแผนอยู่แล้วแต่ภาคประชาชนเข้าไปร่วมเพื่อให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ที่ผ่านมาระบบราชการจะติดกรอบต้องมีคำสั่งจากข้างบน ทำให้การแก้ไขปัญหาไม่ตรงหรือมีความล่าช้า จึงต้องมีการแก้ไขปัญหาตั้งแต่ระดับพื้นที่ มีพื้นที่กลางเพื่อใช้แก้ปัญหาตั้งแต่ระดับชุมชน ตำบล อำเภอ จังหวัด เพื่อลดความเหลื่อมล้ำและนำไปสู่การแก้ปัญหาที่ถูกต้อง

ตำบลวิถีพอเพียง
  นายทวี สร้อยสิริสุนทร มีเครือข่าย 30 ตำบล มีประเด็นขับเคลื่อน 7 ประเด็นหลัก ความมั่นคงอาหาหาร พลังงานทางเลือก ทรัพยากรธรรมชาติ การจัดการภัยพิบัติ ศก.ชุมชน สังคมและวิถีวัฒนธรรมทชุมชน ด้านการจัดคามสัมพันธ์องค์กร ชุมชน (พหุภาคี+1) ภาคใต้แบ่งเป็น 5 โซน นครมีพื้นที่ขับเคลื่อน 8 ตำบล เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้และการบริหารจัดการที่ดี ใช้ฐานข้อมูลในการขับเคลื่อนสู่การระเบิดจากข้างใน เป้าประสงค์ เน้นที่ครัวเรือน ตำบลจะต้องสามารถจัดการความรู้ได้ เครือข่ายสามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้และทำงานในกระบวนการได้ ตั้งเป้าหมายว่าในปี 65 จะเป็นจังหวัดวิถีพอเพียง

ชี้แจงแผนการดำเนินงานของเครือข่ายสื่อฯ พลังการสื่อสาร มีรูปแบบดังนี้ 1. Onair 2. Online 3. Onground สามองค์ประกอบเป็นปัญหาของการสื่อสารที่สร้างความแตกแยก กังวล ส่งผลต่อสุขภาวะ กาย จิต สังคม ปัญญา 1. เสนอข่าวเกินจริง 2. เนื้อหาไม่ครบถ้วน 3. เอนเอียงเลือกข้าง

สื่อรูปแบบใหม่ที่ส่งผลต่อ 3 ด้าน ที่อยากจะเห็น สถานการณ์ข่าวที่นำเสนอในปัจจุบัน สิ่งที่อยากเห็น วิธีการทำ 1. การนำเสนอข่าวแบบขาดจริยธรรมสื่อ 2. สื่อไม่ได้เข้าถึงแหล่งข้อมูลจริง 3. เนื้อหาเกินจริง

สิ่งที่อยากเห็น

  1. สื่อแบบเสริมพลัง สร้างสรรค์การช่วยเหลือกลุ่มเฉพาะ(คนเปราะบาง คนด้อยโอกาส คนพิการ) เพื่อช่วยเสริมสร้างให้สังคมมีความเข้มแข็งมากขึ้น
  2. การนำเสนอต้องได้รับการยินยอมจากเข้าของเรื่อง เจ้าของข่าว
  3. ตระหนักเรื่องเนื้อหา เสนอข่าวที่เป็นจริง
  4. เป็นกระบอกเสียงให้กับชุมชน นำเสนอข่าวแบบในมุมมองของชุมชน ปัญหาที่เกิดในชุมชน เพื่อให้ปัญหาในชุมชนได้รับการแก้ปัญหาได้ตรงจุด
  5. นำเสนอแบบเชื่อมโยงกัน ด้านการท่องเที่ยวต้องมีการนำเสนอข้อมูลให้เชื่อมโยงถึงแหล่งท่องเที่ยวนั้นๆ

วิธีการทำ

  1. ทำเอง โดยการอบรมให้ผู้แทนประเด็นทำสื่อเป็น เสริมสร้างทักษะให้สามารถทำสื่อเองได้
  2. ร่วมกันทำ มี 2 ส่วน คือเจ้าของเรื่องราว ประเด็น หรือข้อมูล ร่วมทำกับทีมสื่อฯสนับสนุนช่องทาง เครื่องมือ
  3. ทำให้ ทางทีมสื่อเข้าไปศึกษาข้อมูลจากพื้นที่แล้วทำให้
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo

 

30 0

5. ประชุมเตรียมคณะทำงานเพื่อ Work Shop Matching Network ครั้งที่ 1 (ความมั่นคงทางอาหาร , ความมั่นคงทางสิ่งแวดล้อม , ความมั่นคงทางมนุษย์)

วันที่ 15 สิงหาคม 2563

กิจกรรมที่ทำ

  1. กำหนดปฎิทินดำเนินงาน/แผนงานสื่อสารสาธารณะ เครือข่ายสื่อสร้างสุขภาคใต้
  2. ออกแบบเวที work shop matching network ครั้งที่1 เครือข่ายสุขภาพภาคใต้เพื่อการออกแบบการสื่อสารสุขภาพ วันที่ 20-21 สิงหาคม 2563

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ประชุมเตรียมคณะทำงานเพื่อ Work Shop Matching Network ครั้งที่ 1
(ความมั่นคงทางอาหาร , ความมั่นคงทางสิ่งแวดล้อม , ความมั่นคงทางมนุษย์) วันที่ 15 สิงหาคม 2563 สมาคมสื่อชุมชนภาคใต้นครศรีธรรมราช ต.ปากพูน อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช

  1. กำหนดปฎิทินดำเนินงาน/แผนงานสื่อสารสาธารณะ เครือข่ายสื่อสร้างสุขภาคใต้
  2. ออกแบบเวที work shop matching network ครั้งที่ 1 เครือข่ายสุขภาพภาคใต้เพื่อการออกแบบการสื่อสารสุขภาพ วันที่ 20-21 สิงหาคม 2563
  • กำหนดหัวข้อเสวนา “ความมั่นคงทางสุขภาวะทั้ง 4 ด้าน อาหาร สิ่งแวดล้อม มนุษย์ สุขภาพ ใช้เป็นแนวทางการพัฒนาเป็นนโยบายสาธารณะและจะใช้พลังสื่อเพื่อการขับเคลื่อนได้อย่างไร”
  • กระบวนการสื่อสารเพื่อการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ รู้เท่าทันสื่อออนไลน์ จริยธรรม กฎหมายที่เกี่ยวข้อง / ฝึกปฏิบัติการเขียนข่าวอย่างง่าย /ฝึกปฏิบัติการใช้ช่องทาง CANVA โดยทีมลิกอร์มีเดีย / การใช้ช่องทางการประชุม ออนไลน์ ผ่านระบบ ZOOM
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo

 

10 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อให้มีการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะโดยเครือข่ายสื่อสร้างสุขภาคใต้
ตัวชี้วัด : มีนโยบายสาธารณะ ที่ถูกขับเคลื่อนโดยเครือข่ายสื่อสร้างสุขภาคใต้ อย่างน้อย 4 นโยบาย
0.00 5.00

 

2 เพื่อเพิ่มแนวปฏิบัติด้านจริยธรรมมาประยุกต์ใช้ ในยุค News Nomal
ตัวชี้วัด : มีรูปแแบบและแนวปฏิบัติ ด้านจริยธรรมสื่อ
0.00 2.00

 

3 เพื่อให้เกิดการขยายเครือข่าย 5 ประเด็น (คน)
ตัวชี้วัด : มีเครือข่าย เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า xxx
60.00 100.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้มีการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะโดยเครือข่ายสื่อสร้างสุขภาคใต้ (2) เพื่อเพิ่มแนวปฏิบัติด้านจริยธรรมมาประยุกต์ใช้ ในยุค News Nomal (3) เพื่อให้เกิดการขยายเครือข่าย 5 ประเด็น (คน)

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) แผนงานกลาง (2) แผนงานปฏิบัติการสื่อ (3) แผนงานพัฒนาเครือข่าย (4) ประชุมคณะทำงานประเด็นร่วมกับเครือข่ายสุขภาพภาคใต้,Mapping เครือข่ายครั้งที่ 1 (5) ประชุมเตรียม  Work Shop Matching Network  จาก 4 ประเด็นใหญ่ สู่ประเด็นย่อย  (ความมั่นคงทางด้านอาหาร  ความมั่นคงทางสุขภาพ  ความมั่นคงทางสิ่งแวดล้อม  ความมั่นคงทางมนุษย์ ) (6) ประชุม  Work Shop Matching Network จาก 4 ประเด็นใหญ่สู่ประเด็นย่อย  ความมั่นคงทางด้านอาหาร ความมั่นคงทางสุขภาพ  ความมั่นคงทางสิ่งแวดล้อม  ความมั่นคงทางมนุษย์ (7) ประชุมคณะทำงานประเด็นร่วมกับเครือข่ายสุขภาพภาคใต้เพื่อ mapping เครือข่าย  ครั้งที่ 2 (8) ประชุมเตรียมคณะทำงานเพื่อ Work Shop Matching Network  ครั้งที่ 1  (ความมั่นคงทางอาหาร , ความมั่นคงทางสิ่งแวดล้อม , ความมั่นคงทางมนุษย์) (9) จัดประชุมย่อยครั้งที่ 1 ความมั่นคงทางอาหาร , ความมั่นคงทางสิ่งแวดล้อม (ขยายเครือข่ายเพิ่ม) (10) จัดประชุมย่อยครั้งที่ 2 ความมั่นคงทางสุขภาพ, ความมั่นคงของมนุษย์ (ขยายเครือข่ายเพิ่ม) (11) เวทีสานพลังและการพัฒนาช่องทาง/และเทคโนโลยี Onair , Online , Onground /โดยใช้กรอบจริยธรรมสื่อ (12) ถอดบทเรียนหลังการดำเนินงานทั้งโครงการ การติดตาม ประเมินผล (13) จัดสมัชชาออนแอร์ ข้อเสนอเชิงนโยบายครั้งที่ 3 ความมั่นคงทางสุขภาพ (14) จัดสมัชชาออนแอร์ ข้อเสนอเชิงนโยบายครั้งที่ 2 เกษตรเพื่อสุขภาพ (15) จัดสมัชชาออนแอร์ ข้อเสนอเชิงนโยบายครั้งที่ 1 ความมั่นคงของมนุษย์ (16) จัดสมัชชาออนแอร์ ข้อเสนอเชิงนโยบายครั้งที่ 5 เครือข่ายสื่อสร้างสุข (17) จัดสมัชชาออนแอร์ ข้อเสนอเชิงนโยบายครั้งที่ 4 ความมั่นคงทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม,ท่องเที่ยวชุมชน,ภัยพิบัติ (18) จัดรายการก่อนสมัชชาออนไลน์  ระหว่างสมัชชาออนไลน์ หลังสมัชชาออนไลน์ เกาะติดข้อเสนอเชิงนโยบายภายใต้รายการ รายการวิถีอันดามัน (19) จัดรายการก่อนสมัชชาออนไลน์  ระหว่างสมัชชาออนไลน์ หลังสมัชชาออนไลน์ เกาะติดข้อเสนอเชิงนโยบายภายใต้รายการ รายการลิกอร์ล้อมวงคุย (20) จัดรายการก่อนสมัชชาออนไลน์  ระหว่างสมัชชาออนไลน์ หลังสมัชชาออนไลน์ เกาะติดข้อเสนอเชิงนโยบายภายใต้รายการ รายการแดนใต้สร้างสุข

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


ส่วนที่ 3 ประเมินคุณค่าโครงการ

เครือข่ายสื่อสร้างสุขภาคใต้ (จริยธรรมสื่อ) จังหวัด

รหัสโครงการ 63-00-0378

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นายอานนท์ มีศรี )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

ไปบนสุด