ประชุมคณะทำงานประเด็นร่วมกับเครือข่ายสุขภาพภาคใต้เพื่อ mapping เครือข่าย ครั้งที่ 2

ประชุมคณะทำงานประเด็นร่วมกับเครือข่ายสุขภาพภาคใต้เพื่อ mapping เครือข่าย ครั้งที่ 2

11 สิงหาคม 2563
วิลาสลักษณ์  แก้วบุญเรืองวิลาสลักษณ์ แก้วบุญเรือง
รายงานจากพื้นที่
Project owner
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
กิจกรรมที่ปฎิบัติ
  1. ชี้แจงวัตถุประสงค์ รายงานเวที ที่ 1 แนะนำเครือข่าย โดย นายอานนท์ มีศรี
  2. ชี้แจงแผนการดำเนินงานของเครือข่ายสื่อฯ
  3. นำเสนอแผนการดำเนินงานเครือข่ายย่อยในระดับพื้นที่

    • ความมั่นคงทางอาหาร
    • พืชร่วมยาง
    • การท่องเที่ยว
    • ภัยพิบัติ
  4. ออกแบบงานสื่อสารเพื่อการสนับสนุนประเด็นการขับเคลื่อน

  5. แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและนัดแนะการเคลื่อนงานร่วมกัน
ผลที่เกิดขึ้นจริง / ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ประชุมคณะทำงานประเด็นร่วมกับเครือข่ายสุขภาพภาคใต้เพื่อ mapping เครือข่าย ครั้งที่ 2 วันที่ 11 สิงหาคม 2563 ณ ห้องประชุมเขาหลวงรีสอร์ท ต.เขาแก้ว อ.ลานสกา จ.นครศรีธรรมราช

ชี้แจงวัตถุประสงค์ โดย นายอานนท์ มีศรี นายกสมาคมสื่อชุมชนภาคใต้นครศรีธรรมราช ก่อนหน้านี้เรามีเวทีขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ ด้านความมั่นคงของมนุษย์ มีการเชิญ พม. แรงงาน อพม. จะเห็นว่าการทำงานทุกภาคส่วนจะสามารถขับเคลื่อนงานให้เข้มแข็งได้อย่างไร มีการหนุนงบประมาณในการขับเคลื่อนให้กับทั้ง 4 ประเด็นงาน ประกอบด้วย ความมั่นคงด้านมนุษย์ สิ่งแวดล้อม ภารกิจสำคัญ คือ 1. การเพิ่มเครือข่ายใหม่
2. กระบวนการทำงานแต่ละเครือข่าย ยุทธศาสตร์ประเด็นจริยธรรมสื่อภายใต้สถานการณ์ new normal ยึดยุทธศาสตร์ ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ ปัจจุบันเทคโนโลยีก้าวล้ำ ทุกคนเข้าถึงได้ง่าย สามารถส่งผลให้เกิด 1. การสื่อสารเกินจริง ละเมิดสิทธิ์ 2. การสื่อสารเนื้อหาที่ไม่ครบถ้วน 3. เลือกข้างเอนเอียง ส่งผลให้เกิด ความเข้าใจผิด ความแตกแยก ความขัดแย้งในสังคม ความหวาดกลัว ความวิตกกังวลฯลฯ ส่งผลต่อ กาย จิต สังคม ปัญญา
การสื่อสารสุขภาพเป็นการสื่อสารที่ละเอียดอ่อน ถ้าไม่คำนึงถึงหลักจริยธรรม และปัญหาของการสื่อสารทั้ง 3 ประเภท ผลลัพธ์/ผลกระทบ 1. เกิดคนทำสื่อด้านสุขภาพ 2. ประเด็นทางนโยบาย 3. ความเชื่อมโยงต่อสาธารณะ

แนะนำเครือข่าย ประเด็นมูลนิธิ เพื่อเด็กพิการ
เป็นองค์กรสาธารณะประโยชน์ของเอกชน ในการทำงานเป้าหมายหลัก คือ เป็นการช่วยเหลือแนะนำ ให้คำปรึกษา การใช้ชีวิตประจำวัน ส่งต่อทุกภาคส่วน มุ่งเน้นการฟื้นฟู ใช้ศาสตร์การนวดไทย ญี่ปุ่น(นวดโดซาโฮ) กายภาพบำบัด ธรรมชาติบำบัด ทำงานร่วมกับเครือข่าย ศูนย์การศึกษาพิเศษจังหวัดนครศรีธรรมราช ให้ความรู้กับผู้ปกครอง ผู้ดูแล เกี่ยวกับศาสตร์การฟื้นฟู ศาสตร์การเคลื่อนไหวแบบญี่ปุ่น ดนตรีบำบัดโดยได้รับความร่วมมือจากโรงเรียนต่างๆ เช่น โรงเรียนท่านครฯ โรงเรียนโยธินบำรุง เป็นต้น เพื่อกระตุ้นพัฒนาการ ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ในจังหวัดนครศรีฯ ปี 64 จะขยายพื้นที่ออกไปอีก 2 อำเภอ และมีการสำรวจเด็กพิการเพิ่มเติม พื้นที่ที่เป็นเครือข่ายคือ อำเภอ และตำบล ปัจจุบันสถานที่ฟื้นฟูคือสำนักงาน เป้าหมายหลัก ต้องการตั้งเป็นศูนย์บริการเพื่อเด็กพิการประจำจังหวัด ตอนนี้เรามีแค่ชมรมเพื่อเด็กพิการ และรอการประเมินองค์กรเพื่อตั้งเป็นศูนย์บริการเพื่อคนพิการต่อไป
  อานนท์ มีศรี เครือข่ายสุขภาพภาคใต้ มี 4 ประเด็น จะขับเคลื่อนให้เกิดนโยบายได้อย่างไรภายใต้สมัชชาสุขภาพ เพื่อการขับเคลื่อนเพื่อให้เกิดนโยบายได้ง่ายขึ้น ภายใต้ชุดโครงการที่มีอยู่ เป็นการสานพลังร่วมกัน จะมีการผลักดันให้เกิดเป็นนโยบายสาธารณะ เสริมสร้างสมรรถนะเด็กพิการ ประเด็นการสื่อสาร การสานพลังข้ามเครือข่ายภายใต้กลไกกลาง(กขป.) กลไกจังหวัด(สมัชชา)   ทวี สร้อยสิริสุนทร ในส่วนของท้องถิ่นสามารถนำเอาประเด็นนี้มาเป็นภารกิจได้ การส่งเสริมอาชีพให้กับครัวเรือนของเด็กพิการเพื่อการดูแลเด็กที่บ้านได้ เนื้องานเกี่ยวโยงกันแต่จะสามารถเชื่อมโยงกันอย่างไร

ประเด็นความมั่นคงทางด้านอาหาร
  นายวรวิชญ์ กฐินหอม มีการขับเคลื่อนตั้งแต่ 60-61 มีการขับเคลื่อนในเชิงวิชาการกับมอ. มีตำบลต้นแบบ 4 ตำบล จันดี ไสหร้า เขาแก้ว หูล่อง มีปัจจัยที่ส่งผลต่อสุขภาพอย่างไร สามารถทำเป็นยุทธศาสตร์อาหารระดับจังหวัด มีหลายๆภาคส่วนที่เข้ามาร่วม เมื่อได้เล่มยุทธศาสตร์มาแล้วแต่ยังไม่สามารถนำไปขับเคลื่อนให้เกิดความเป็นจริงขึ้นมาได้ ปี 63 เราได้บูรณาการระดับตำบลเพื่อให้ได้ชุดความรู้ในระดับตำบลเพื่อให้ระบบอาหารระดับตำบลสร้างคุณภาพให้คนได้ พอเพียง ปลอดภัย โภชนาการอาหารที่ดี จะขยายไปในระดับอำเภอ โดยมีนายอำเภอ พชอ.ร่วมด้วย เพื่อการเกิดแผนที่นำไปสู่การปฏิบัติได้จริง ระดับภาคมีส่วนของเขต11ที่ทำร่วมงานร่วมกัน ชุมพร สุราษฎร์ นคร 30 ตำบล ในส่วนของนครศรีฯมี 10 ตำบล (4+6) นอกจากสร้างให้ชุมชนมีสุขภาพที่ดีแล้วจะสามารถสร้างให้ชุมชนมีรายได้ได้อย่างไร ซึ่งตอนนี้การสื่อสารยังไม่สามารถสื่อสารออกไปสู่ภายนอกได้เท่าที่ควร และความมั่นคงทางด้านอาหารที่แท้จริงควรมีกระบวนการอย่างไรมีภาคส่วนไหน หรือใครบ้างที่เข้ามาเกี่ยวข้อง และมีประเด็นใดบ้างที่เกี่ยวข้อง เช่น การจัดการน้ำในชุมชน เพราะน้ำเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ
กลไกพื้นที่ เพื่อเชื่อมให้เป็นข้อเสนอนโยบายสาธารณะ

  1. ตำบล มี 4 พื้นที่รูปธรรม 6 พื้นที่เรียนรู้
  2. อำเภอ โดยเชื่อมกับ พชอ.
  3. จังหวัด เชื่อมกับสมัชชา
  4. ภาค ใช้เขตสุขภาพ กขป. นางธัญวลัย คงมา ในส่วนของความมั่นคงทางด้านอาหารในพื้นที่จันดี มีการทำเรื่องป่าร่วมยาง ที่ประกอบด้วย พืชเศรษฐกิจคือ ยาง พืชอาหาร เช่น ผักพื้นบ้านต่างๆ พืชสมุนไพรบ้านละ 5 ชนิด เมื่ออาหารเหลือจะกระจายสินค้าได้อย่างไร จึงแนวคิดเรื่องการเปิดตลาดชุมชนหรือชุมชนเกิดใหม่ มีการถ่ายทอดการแปรรูปสมุนไพร เช่น ไครหอมไล่ยุง

การท่องเที่ยวโดยชุมชน
  โดย นุชนภา ยศหมึก (บ้านห้วยทรายขาว) เป็นกระบวนการเมืองท่องเที่ยว โดยยึดเอาทุนธรรมชาติที่มีอยู่ชุมชน คือ เขาศูนย์ ชุมชนมีทุนด้านอาหาร ทำอย่างไรที่จะทำให้การท่องเที่ยวชุมชนครบวงจร โดยในชุมชนมีการรวมกลุ่มกันประมาณ 20 คนทำเรื่องการท่องเที่ยว มีอาหารพื้นบ้าน เช่น แกงคั่ว แกงหอยโล่ สามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชนเพื่อให้ชุมชนมีความสุข ฉวาง ต.นาแว ตอนนี้กำลังมีชื่อเรื่องเขาศูนย์ ควรมีการรณรงค์ในเรื่องของการรักชุมชนของตนเองไม่ขายที่ขายทางให้กับนายทุน

การท่องเที่ยวโดยชุมชนปลอดภัย
  โดยนายเกียรติคุณ รอดตัว วัฒนธรรมสร้างสุขปลอดภัย 35 พื้นที่ทั่วประเด็น สมัชชาสุขภาพ 5 ส่วนประเด็นความปลอดภัย ที่พัก อาหาร สถานที่ เดินทาง มีการเสนอแนวคิดให้กับทางการท่องเที่ยว โครงข่ายระดับประเทศ มีมติหน่วยงานหลักที่เข้ามาขับเคลื่อน
การจัดการขยะ เชื่อกับสิ่งแวดล้อม ได้รับการสนับจากเชฟรอนการขับเคลื่อน เน้นให้ชุมชนใช้วัสดุที่เกิดจากธรรมชาติ สามารถทำให้นักท่องเที่ยวมั่นใจถึงความปลอดภัยมากขึ้น
เนื่องจากสถานการ์ณโควิด-19 พัทลุง นคร ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวเมืองรอง เน้นนักท่องเที่ยวที่เป็นคนไทยให้การท่องเที่ยวฟื้นตัวได้เร็ว นายทวี สร้อยสิริสุนทร จะเห็นว่ามีการเกี่ยวโยงกันกับตำบลวิถีพอเพียง นครตอนนี้ยังไม่สามารถหาจุดเด่นได้เลยทำทุกเรื่อง มองว่าต้องมีการออกแบบให้ดี ในพื้นที่ทับซ้อน เชื่อมโยงเป็นเครือข่าย และขับเคลื่อนไปสู่นโยบาย

  พอ.ภัทรชัย แทนขำ เดิมมีการทำในเรื่องของฝาย มีการพบปะพี่น้องประชาชนอยู่แล้ว ที่หินตกมีการจัดคนไปช่วยสร้าง แต่ภาพที่ได้เห็นความร่วมมือของประชาชนในการจัดการน้ำของชุมชน รู้ถึงกระบวนการสร้างฝายด้วยหลักการ 3 ขา ธรรมนูญของชุมชน จัดการทรัพยากรของชุมชนที่มีน้ำอย่างไร ขับเคลื่อนจากฝายพี่สู่ฝายน้อง จากนครไปสู่ภาคอื่น จากชุมชนสู่ชุมชน ครูฝายจากนครไปสู่ภาคอื่น การขยายตัวจาก 1,000 กว่าฝาย ในทุกพื้นที่มีครูฝาย เป็นศูนย์รมจิตใจของชุมชน
นอกจากนี้ยังทำในเรื่องของความมั่นคงทางอาหาร ขับเคลื่อนเรื่องการเชื่อมต่อของเครือข่าย เช่น ยังสมาร์ท ฯ ในเรื่องของผลผลิต การแปรรูป การตลาด เป็นต้น สามารถเป็นวิทยากรได้
- ประเด็นขยะร่วมกับมวล.(ขยะทางทะเล)
- การจัดการเครือข่าย - การปลูกพืชร่วมยาง รวมกลุ่มกันเพื่อเรียนรู้ผลัดเปลี่ยนกัน - การเชื่อมสภาเกษตรกรจังหวัด ในโครงการจิตอาสาพระราชทาน เป็นการขับเคลื่อนผ่านโครงการจิตอาสาพัฒนาภัยพิบัติ ที่หน่วยงานราชการมีแผนอยู่แล้วแต่ภาคประชาชนเข้าไปร่วมเพื่อให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ที่ผ่านมาระบบราชการจะติดกรอบต้องมีคำสั่งจากข้างบน ทำให้การแก้ไขปัญหาไม่ตรงหรือมีความล่าช้า จึงต้องมีการแก้ไขปัญหาตั้งแต่ระดับพื้นที่ มีพื้นที่กลางเพื่อใช้แก้ปัญหาตั้งแต่ระดับชุมชน ตำบล อำเภอ จังหวัด เพื่อลดความเหลื่อมล้ำและนำไปสู่การแก้ปัญหาที่ถูกต้อง

ตำบลวิถีพอเพียง
  นายทวี สร้อยสิริสุนทร มีเครือข่าย 30 ตำบล มีประเด็นขับเคลื่อน 7 ประเด็นหลัก ความมั่นคงอาหาหาร พลังงานทางเลือก ทรัพยากรธรรมชาติ การจัดการภัยพิบัติ ศก.ชุมชน สังคมและวิถีวัฒนธรรมทชุมชน ด้านการจัดคามสัมพันธ์องค์กร ชุมชน (พหุภาคี+1) ภาคใต้แบ่งเป็น 5 โซน นครมีพื้นที่ขับเคลื่อน 8 ตำบล เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้และการบริหารจัดการที่ดี ใช้ฐานข้อมูลในการขับเคลื่อนสู่การระเบิดจากข้างใน เป้าประสงค์ เน้นที่ครัวเรือน ตำบลจะต้องสามารถจัดการความรู้ได้ เครือข่ายสามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้และทำงานในกระบวนการได้ ตั้งเป้าหมายว่าในปี 65 จะเป็นจังหวัดวิถีพอเพียง

ชี้แจงแผนการดำเนินงานของเครือข่ายสื่อฯ พลังการสื่อสาร มีรูปแบบดังนี้ 1. Onair 2. Online 3. Onground สามองค์ประกอบเป็นปัญหาของการสื่อสารที่สร้างความแตกแยก กังวล ส่งผลต่อสุขภาวะ กาย จิต สังคม ปัญญา 1. เสนอข่าวเกินจริง 2. เนื้อหาไม่ครบถ้วน 3. เอนเอียงเลือกข้าง

สื่อรูปแบบใหม่ที่ส่งผลต่อ 3 ด้าน ที่อยากจะเห็น สถานการณ์ข่าวที่นำเสนอในปัจจุบัน สิ่งที่อยากเห็น วิธีการทำ 1. การนำเสนอข่าวแบบขาดจริยธรรมสื่อ 2. สื่อไม่ได้เข้าถึงแหล่งข้อมูลจริง 3. เนื้อหาเกินจริง

สิ่งที่อยากเห็น

  1. สื่อแบบเสริมพลัง สร้างสรรค์การช่วยเหลือกลุ่มเฉพาะ(คนเปราะบาง คนด้อยโอกาส คนพิการ) เพื่อช่วยเสริมสร้างให้สังคมมีความเข้มแข็งมากขึ้น
  2. การนำเสนอต้องได้รับการยินยอมจากเข้าของเรื่อง เจ้าของข่าว
  3. ตระหนักเรื่องเนื้อหา เสนอข่าวที่เป็นจริง
  4. เป็นกระบอกเสียงให้กับชุมชน นำเสนอข่าวแบบในมุมมองของชุมชน ปัญหาที่เกิดในชุมชน เพื่อให้ปัญหาในชุมชนได้รับการแก้ปัญหาได้ตรงจุด
  5. นำเสนอแบบเชื่อมโยงกัน ด้านการท่องเที่ยวต้องมีการนำเสนอข้อมูลให้เชื่อมโยงถึงแหล่งท่องเที่ยวนั้นๆ

วิธีการทำ

  1. ทำเอง โดยการอบรมให้ผู้แทนประเด็นทำสื่อเป็น เสริมสร้างทักษะให้สามารถทำสื่อเองได้
  2. ร่วมกันทำ มี 2 ส่วน คือเจ้าของเรื่องราว ประเด็น หรือข้อมูล ร่วมทำกับทีมสื่อฯสนับสนุนช่องทาง เครื่องมือ
  3. ทำให้ ทางทีมสื่อเข้าไปศึกษาข้อมูลจากพื้นที่แล้วทำให้
รายงานการใช้เงิน
ประเภทรายจ่ายรวมรายจ่ายสถานะ
ค่าตอบแทนค่าจ้างค่าใช้สอยค่าวัสดุค่าสาธารณูปโภคอื่น ๆ
5,500.00 0.00 21,756.00 1,565.00 0.00 0.00 28,821.00