ประชุมคณะทำงานประเด็นร่วมกับเครือข่ายสุขภาพภาคใต้,Mapping เครือข่ายครั้งที่ 1

ประชุมคณะทำงานประเด็นร่วมกับเครือข่ายสุขภาพภาคใต้,Mapping เครือข่ายครั้งที่ 1

21 กรกฎาคม 2563
วิลาสลักษณ์  แก้วบุญเรืองวิลาสลักษณ์ แก้วบุญเรือง
รายงานจากพื้นที่
Project owner
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
กิจกรรมที่ปฎิบัติ
  1. ชี้แจงแผนการดำเนินงานของเครือข่ายสื่อฯ โดย นายอานนท์ มีศรี
  2. แนะนำเครือข่าย ความคาดหวังจากผู้เข้าร่วม โดย นายวรวิชญ์ กฐินหอม
  3. แบ่งกลุ่ม ย่อยประเด็นความมั่นคงทางอาหาร สื่อ สมัชชาสุขภาพจังหวัด   - ใคร ทำอะไร ที่ไหน กับใคร อย่างไร โดยการวิเคราะห์แนวทางการขับเคลื่อนสำหรับงาน สื่อสาร
  4. แลกเปลี่ยน การสื่อสารที่ผ่านมากับประเด็นนโยบายสาธารณะ
  5. ทบทวนเนื้อหา โดยนายนิพนธ์ รัตนคม
  6. แบ่งกลุ่มย่อย ร่วมออกแบบงานสื่อสาร ภายใต้สถานการณ์ NEW NORMAL กับความมั่นคงทางด้านอาหาร
  7. กำหนดพื้นที่นำร่องในระดับตำบล

    • นำเสนองานกลุ่ม
    • นำผลงานลงช่องทางการสื่อสาร
  8. สรุปการดำเนินกิจกรรม โดย นายวรวิชญ์ กฐินหอม

ผลที่เกิดขึ้นจริง / ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ประชุมคณะทำงานประเด็นร่วมกับเครือข่ายสุขภาพภาคใต้เพื่อ mapping เครือข่าย วันที่ ๒๐-๒๑ กรกฎาคม ๒๕๖๓  ณ ห้องประชุมโรงแรม ชฎา แอท นคร จ.นครศรีธรรมราช

กล่าววัตถุประสงค์หลักในการประชุม โดย พันเอก ภัทรชัย แทนขำ วัตถุประสงค์ ๑. เพื่อให้การเมืองภาคประชาชนมีการแก้ปัญหาแบบมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง ๒. เพื่อการขับเคลื่อนงานแบบบูรณาการเชื่อมโยงการทำงานแบบเครือข่าย

จิตอาสาพระราชทาน
เป็นพระบรมราโชบายของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่๑๐ใช้หลักการระเบิดจากภายใน ทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่ออาณาประชาราช และแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน ใช้การประสานงานเป็นหลัก อาศัยศักยภาพของแต่ละหน่วยงานที่มีอยู่แล้ว ลดความเหลื่อมล้ำในสังคม
โครงการฟาร์มตัวอย่างต้านภัยโควิด-๑๙ green farm

ความเป็นมาของโครงการ เนื่องจากชาวบ้านระดับตำบล-หมู่บ้านได้รับผลกระทบการภัยของโรคระบาดโควิด-๑๙ ทำให้มีการปิดพื้นที่ ศูนย์จิตอาสาพระราชทานได้มีการให้มหาดไทยสำรวจความต้องการของประชาชนที่ได้รับผลกระทบ ที่มีความประสงค์ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพและการจ้างงานใน “โครงการฟาร์มตัวอย่างอันเนื่องมาจากพระราชดำริ”

วัตถุประสงค์โครงการ ๑. เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของราษฎรในการประกอบอาชีพให้มีการจ้างงานในพื้นที่ ๒. เพื่อให้เป็นแหล่งอาหารปลอดภัยในชมชน ๓. เพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ทางการเกษตร ๔. เพื่อพัฒนาเป็นสถานที่ท่องเที่ยวในโอกาสต่อไป
ขณะนี้ในภาคใต้มี ๓๕ ฟาร์ม ๗ จังหวัด สามารถเชื่อมกับเครือข่ายสภาองค์กรชุมชนในแต่ละพื้นที่ ตำบลวิถีพอเพียง เครือข่ายฝาย เพื่อเชื่อมต่อให้เป็นนิคมเกษตรกรรม โดยทุกพื้นที่จะมีการเปิดพื้นที่กลาง เป็นการให้เกิดการเมืองภาคประชาชน และไปเป็นไปตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การปาฐกถานำ โดย นายสุทธิพงษ์ วสุโสภาพล รองเลขาธิการคณะกรรมสุขภาพแห่งชาติ สะท้อนวิธีคิดจากเรื่องในสมัยเวียดนามรบกับเมริกัน มีแม่ทัพชื่ออูวันเอียต ระหว่างที่มีการรบให้ทุกคนเป็นทหารทั้งหมด อเมริกันไม่สามารถชนะสงครามได้ วิธีการคือให้ชาวนาเป็นทหารด้วย โดยเอาข้อมูลมารายงาน วางแผนการรบโดยใช้ข้อมูล อเมริกันต้องถอยทัพกลับ อูวันเอียต เป็นครูประชาบาลใช้วิธีคิดโดยการวางแผนใช้มวลชน ให้ทุกคนมีส่วนร่วม ใช้ข้อมูล ให้ทุกคนเป็นทหารทั้งหมด ๑. วิธีคิด ๒. ใช้ข้อมูลในการวางแผน ๓. ให้ทุกคนมีส่วนร่วม การสร้างพลเมืองให้ตื่นรู้
- ทิศทาง คือ ยุทธศาสตร์
- ยุทธศาสตร์ คือ ทิศทาง - การวางทิศทาง ก็คือ การวางแผนยุทธศาสตร์
- กลยุทธ์ หรือวิธีการ หรือ กลวิธี การเลือกวิธี การเปลี่ยนผ่านสังคมไทยจากอดีตสู่ปัจจุบัน ตัวแปรสำคัญของการพัฒนาสังคม ความซับซ้อน ต้องการการบริหารจัดการที่มีการสร้างการมีส่วนร่วม ความหลากหลาย คือศักยภาพที่ต่างกัน
เราจะทำอย่างไรกับสถานการณ์ใหม่ ที่ส่งผลต่อชุมชนเล็กๆอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ในอดีต ปัจจัยกำหนดสุขภาพ เช่น การทำงาน การใช้ชีวิต การศึกษา แต่ในทางกลับด้านกัน สถานการณ์โควิด๑๙ ปัจจัยสุขภาพเป็นตัวกำหนดสังคม เกิด new normal
ข้อสังเกตบางประการ ๑. การสร้างกระบวนการ การมีส่วนร่วม โกเด้นท์ ชิพ มีทางเลือกใหม่ที่หลากหลาย ๒. สร้างฉันทามติ ๓. ทำให้เกิดกระบวนการร่วมกัน ๔. เกิดการพัฒนา ความเชี่ยวชาญ และความคิดสร้างสรรค์ และสร้างภาวะผู้นำ ๕. ความสนใจประเด็นสาธารณะมีมากขึ้น ๖. อยู่ที่การจัดการให้มีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง ๗. เปิดให้มีการรับความคิดเห็นที่กว้างขึ้น ปรับทิศ คิดใหม่
๑. สำนึกความเป็นพลเมืองกับการสร้างสมดุลอำนาจใหม่ทางสังคม ๒. สร้างเพลทฟอร์มกลาง ให้สิ่งที่เข้ามามีพลังมากขึ้น มีการจัดการสร้างความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันแบบเครือข่าย (อภิบาลโดยเครือข่าย) ๓. เปิดพื้นที่ทางสังคมเพื่อสร้างการเรียนรู้ “ความเป็นพลเมือง” หนุนเสริมให้สังคมร่วมสร้างความเป็นพลเมืองที่ตื่นรู้ Active CitiZen ที่มีความตระหนักรู้ กระตือรือร้นที่จะเข้ามามีส่วนร่วมและรับผิดชอบในภารกิจของประเทศร่วมกัน - เอาพื้นที่เป็นตัวตั้ง - เอาวิถีชีวิตและการอยู่ร่วมกันเป็นตัวตั้ง Now/New Normal
๔. การรวมตัวร่วมคิดร่วมทำจากชุมชนท้องถิ่น สร้างการปฏิรูปและวิถีประชาธิปไตย ให้เกิดขึ้นจากฐานชุมชนท้องถิ่น ๕. สร้างธรรมนูญสังคมและแผนพัฒนาพลังพลเมือง “สานพลังทุกภาคส่วน” เพื่อสร้างความเป็นพลเมือง - สร้างเจตนารมณ์ร่วมของสังคม - สร้างกระบวนพัฒนาพลังพลเมือง เช่น แผนพัฒนาสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมตำบล ๖. สร้างกระบวนการนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมโดยชุมชนท้องถิ่น - เชื่อมโยงข้อมูลพื้นที่อย่างมีเป้าหมาย/INN Mapping - พัฒนากระบวนการทำแผนชุมชนท้องถิ่น ร่วมกับรัฐ (สภาพัฒน์) - เสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชนท้องถิ่น จากจุดเริ่มต้น Entry Points ที่สนใจ - สังเคราะห์ประเด็นนโยบายสาธารณะที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติจริง - ขยายวงการมีส่วนร่วม สื่อสารเชื่อมโยงทุกภาคส่วนเข้าเป็นภาคีพัฒนาจังหวัดอย่างบูรณาการ ๗. มีกระบวนการนโยบายสาธารณะโดยสังคม - การก่อตัวและกำหนดประเด็นเชิงนโยบาย - การกำหนดทางเลือกเชิงนโยบาย มีกลไก มีข้อมูลรองรับ - การตัดสินใจเชิงนโยบาย งานวิชาการสนับสนุน ผู้มีส่วนได้ ส่วนเสีย ส่วนร่วม - การนำนโยบายไปปฏิบัติ ข้อบัญญัติท้องถิ่น ธรรมนูญชุมชน - การประเมินผลต่อนโยบาย - ทบทวนนโยบาย

ชวนคุย ให้ข้อมูล โดยนายอานนท์ มีศรี นายกสมาคมสื่อชุมชนภาคใต้นครศรีธรรมราช ภาคใต้แห่งความสุขอย่างยั่งยืน

บอกเล่าใครทำอะไร กับใคร ที่ไหน” โดย นายทวี สร้อยสิริสุนทร แบ่งกลุ่มย่อย - นคร พัทลุง สงขลา
- ใต้ล่าง - อันดามัน ความมั่นคงของมนุษย์ คือ ความสุข ความสุขของคนใต้ - หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ๙ คำสอน ๒๓ หลักทรงงาน เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขของปวงชนชาวไทย - พรบ.สุขภาพแห่งชาติ สุขภาวะ สุขภาพองค์รวม สุขภาพ ๔ มิติ ประเด็นอะไรบ้างที่นำไปสู่ความสุข - ความมั่นคงด้านอาหาร - ความมั่นคงด้านทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม - ความมั่นคงด้านสุขภาพ - ความมั่นคงด้านมนุษย์ กับใคร - ประสาน หลักคิด หลักปฏิบัติ หลักวิชา - บูรณาการ หลักคิด หลักปฏิบัติ หลักวิชา - สั่งการ หลักคิด หลักปฏิบัติ หลักวิชา

บอกเล่าเรื่องราวภาคีเครือข่าย นายไพฑูรย์ ทองสงค์
สสส.เป็นหน่วยงานที่เป็นกองทุนให้กับชาวบ้าน เดิมทำเรื่องเหล้า บุหรี่ ยาเสพติด ระยะต่อมามีการดำเนินการโดยมีกระบวนการที่มาจากชาวบ้าน เช่น ประเด็นอาหาร สิ่งแวดล้อม ทรัพยากร เป็นที่รวมของคนในจังหวัดมาร่วมกันคิดเรื่องภายในจังหวัดตนเอง ที่เป็นเรื่องของทุกคน ทำข้อมูลในระดับล่างสุด คือ หมู่บ้าน
ทุกคนจะต้องกินอิ่มและปลอดภัย นำไปสู่แผนปฏิบัติการณ์ ๓ เรื่อง ๑. เพียงพอ คือ เพิ่มพื้นที่ผลิต
๒. ปลอดภัย คือ ทำอย่างไรให้ปลอดภัย ตามมาตรฐานของพื้นที่ ๓. เข้าถึง คือ มีพื้นที่ที่คนสามารถเข้าถึงผลผลิตได้

นายชาคริต โภชเรือง เรากำลังทำเพื่อเรียนรู้ เรียนรู้จากอดีต รวมศูนย์ แต่มีข้อจำกัดด้านโครงสร้าง แต่การทำงานโดยเอาพื้นที่เป็นตัวตั้ง แนวระนาบ เราจะมีเครื่องมืออะไรที่จะทำงานร่วมกันได้บ้าง แนวคิดใหม่ที่จะผสมผสานให้ทำงานร่วมกันได้ กขป.เป็นองค์กรรูปแบบใหม่ บูรณาการทรัพยากรที่มีอยู่แล้ว นำเอาประเด็นปัญญาหาของพื้นที่โดยออกแบบเครื่องมือมาขับเคลื่อน
กขป.เขต๑๑ และ ๑๒ มีประเด็นร่วมคือ เรื่องอาหาร แต่การดำเนินงานก็เคลื่อนในมุมของตนเอง การดำเนินงานของเขต๑๒ ทำเรื่อง อาหารปลอดภัย
- แพลทฟอร์ม ชื่อ กรีนสมายด์ มีมาตรฐานที่กำหนดให้เป็นฐานเดียวกัน เพื่ออุดช่องว่างของการทำงาน - พัฒนาเป็นแอพฯ ข้อต่อกลางเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อการประสานงานที่สะดวกและการเชื่อมโยงแบบภาคีเครือข่าย ถ้าคิดตรงกันก็ทำเป็นยุทธศาสตร์ร่วม
ดร.ปรเมษฐ์ จินา ประธาน กขป.เขต๑๑ เป็นสำนักเลขาร่วม ประเด็นที่เกี่ยวข้อง เด็กและเยาวชน กลุ่มวัยคนทำงาน ผู้สูงอายุและกลุ่มเปราะบาง สุขภาวะทางทะเล(การจัดการขยะ) มีความมุ่งหมายให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมนการขับเคลื่อนการดำเนินงาน เป็นกลไกใหม่ที่มีรูปแบบการทำงานโดยการเชื่อมร้อยการทำงานต่างๆทั้งภาคราชการ ภาควิชาการภาคเอกชน ภาคประชาสังคม มุ่งปฏิบัติงานด้านสุขภาพ การจัดการขยะ เป็นการดำเนินการในรูปแบบ การขับเคลื่อนผ่าน พชอ.
พอช. สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(องค์การมหาชน) โดย นายศิลเรืองศักดิ์ สุกใส หัวหน้ากลุ่มจังหวัดอ่าวไทย พอช.ทำงานกับชุมชนมาเกือบ ๒๐ ปี มีหน้าที่ในการสนับสนุนการพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็ง - สนับสนุนขบวนองค์กรชุมชนเชิงพื้นที่ ผลักดันให้มีการจัดตั้งจัดตั้งสภาองค์กรชุมชนเต็มพื้นที่ กองทุนสวัสดิการชุมชน
- สนับสนุนกระบวนการหรือจัดความสัมพันธ์กับองค์กรอื่น
- พัฒนาศักยภาพขอคนในขบวนองค์กรชุมชน - การบริหารจัดการองค์กร ในระดับจังหวัดต้องมีการคลี่ยุทธศาสตร์ร่วมกัน เป็นจังหวัดจัดการตนเอง

สช. สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ โดยนางสาวพฤกษา สินลือนาม การพัฒนาและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วม ภายใต้เครื่องมือตาม พรบ.สุขภาพแห่งชาติและจากหน่วยงานภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อสนับสนุนการทำงาน สื่อสารเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารสาธารณะ สร้างเครือข่ายการเรียนรู้ - สำนักงานบริการสุขภาพแห่งชาติ สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี - เครื่องมือ สมัชชาสุขภาพ จังหวัด ชาติ
- เครือข่าย ภาคประชาชน วิชาการ รัฐ มีภาคีเครือข่ายทั่วประเทศ
- ทำเรื่อง สุขภาพองค์รวม สังคม สิ่งแวดล้อม สุขภาพกาย จิต สังคม ปัญญา - เปิดเวทีการพูดคุยกันอย่างมีเหตุ มีผล
- งบสนับสนุนจังหวัด สมัชชาจังหวัด

เครือข่ายงดเหล้า(สสส.) ขับเคลื่อนงาน ทำอย่างไรไม่ให้เกิดในเรื่องของสุขภาพเสื่อม อุบัติเหตุฯลฯ ในภาพรวมทั้งประเทศ
- งานงดเหล้าเข้าพรรษา - การปฏิบัติตามกฎหมาย - การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในงานบุญประเพณีต่าง - เด็กและเยาวชน - งานวิชาการ เพื่อผลักดันไปสู่นโยบายของจังหวัด คุณภาพชีวิตที่ดี ปัจจัย๔ การทีจะทำให้คนๆหนึ่ง หรือครอบครัวหนึ่ง มีคุณภาพที่ดี เราจะทำได้อย่างไร อาหารปลอดภัย พืชเศรษฐกิจ เป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่ง สถาบันการเรียนรู้และพัฒนาเครือข่ายประชาสังคมชุมชนท้องถิ่นภาคใต้ โดยนายทวี สร้อยสิริสุนทร
พลเมืองที่สามารถกำหนดทิศทางการพัฒนาได้อย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับวิถีตนเองด้วยปัญญา ดำเนินการภายใต้การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ภารกิจ ให้คำปรึกษากระบวนการพัฒนาชุมชนและสังคม บริการจัดกระบวนการประชุม อบรม สัมมนา เวทีประชาคม เวทีสาธารณะ ประชาสังคม กระบวนการขับเคลื่อน ตำบลวิถีพอเพียง ภาคใต้ ดำเนินการขับเคลื่อน ๓๐ ตำบล “เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาศักยภาพ เพิ่มขีดความสามารถผู้นำชุมชนและการเสริมสร้างพลังคนทำงานวิถีพอเพียงสู่การตัดการตนเองอย่างยั่งยืน” ประเด็นขับเคลื่อนตำบลวิถีพอเพียง ภาคใต้ ๑. ความมั่นคงทางอาหาร ๒. ความมั่นคงทางด้านพลังงาน ๓. ความมั่นคงทางด้านการจัดการภัยพิบัติ ๔. ความมั่นคงทางด้านเศรษฐกิจชุมชน : วิสาหกิจชุมชน ๕. ความมั่นคงทางด้านสังคมและวิถีวัฒนธรรมชุมชน ๖. ความสัมพันธ์องค์กรภาคีในสังคม

พิธีเปิด โดย พ.อ.อนุสรณ์  โออุไร รอง เสธ.ทภ.4 ผลผลิตที่เราจะได้รับในการดำเนินโครงการในครั้งนี้ ตอนนี้สถานการณ์ของประเทศไทยเปลี่ยนไปจากเดิมมาก ประชาชนได้มีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ ถ้ายังไม่เปลี่ยนคิดว่าเราจะอยู่ในสังคมนี้ได้หรือเปล่า  ในระดับชุมชน จังหวัด ภาค ประเทศ ท่านคิดว่าจะไปอยู่ในสังคมแต่ละระดับได้อย่างไร ตั้งคำถามว่าความเคยชินทำให้เรามีความถดถอยหรือไม่ แต่ในสังคมนี้เราไม่ได้มีความปลอดภัยอย่างที่คิด
จากสถานการณ์โควิด เราคิดอย่างไรกับประเทศไทยที่สบายที่สุด อะไรก็ได้คือไทยแท้ ทุกอย่างมีเหตุมีผลในตัวของมันเอง ความมีดี ความเก่งที่เรามี ก็เป็นองค์ประกอบที่สามารถทำให้เราชนะได้ การตัดสินคนอื่นคือเรื่องอันตรายสำหรับผู้นำที่สุด
ชุมชน เป็นฐานแรกที่เราสามารถจะดึงสมรรถภาพของคนมาใช้ได้อย่างเต็มที่ ในฐานะที่เราเป็นผู้นำในระดับต่างๆเราต้องถามคนที่มีปัญหา เปิดการมีส่วนร่วม จนสามารถสะท้อนปัญหาของเขาออกมาได้ ปัญหาเหล่านั้นก็จะได้รับการแก้ปัญหาที่ถูกต้อง
พลังอำนาจของการสื่อสาร ทำให้ประชาชนมีอำนาจมากขึ้น การสื่อสารเป็นตัวช่วยขับให้ทำอย่างไรให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในความต้องการหรือความเดือดร้อนของเขาเอง สื่อสารด้วยภาษาเดียวกัน
โครงการจิตอาสาพระราชทาน กิจกรรมต่างๆที่ดำเนินการนับเป็นกุสโลบาย  ต้องการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาของตนเอง ฝ่าด่านที่แข็งแกร่งของหน่วยงานรัฐหรือราชการได้
ตอนนี้เราต้องร่วมมือร่วมใจกันในการแก้ปัญหาจากรากหญ้า จากปัญหาที่แท้จริง ไม่ใช่เอางบประมาณมาเป็นตัวตั้ง ปัญหาต่างๆต้องแก้มาจากชุมชนจะเป็นรากฐานที่มั่นคง ชุมชนสามารถดูแลกันเองได้ ทำให้เกิด ความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน อย่างแท้จริง การลงมือทำเป็นการพิสูจน์ให้เรารู้ว่า สิ่งที่เราวาดฝันจะเป็นจริงได้ตามเป้าหมายหรือไม่ ถ้าเป้าหมายเราชัดเจน สมองจะเกิดวิธีการขึ้นเองโดยที่เราไม่รู้ตัว และการติดตามสนับสนุนช่วยเหลือ เมื่อเราทำต่อเนื่องกันไปเรื่อยๆจะเกิดการ “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” อย่างแท้จริง

ข้อคิดเห็นเพิ่มเติมจากที่ประชุม อะไรคือโอกาส และจังหวะ ของกลุ่มองค์กรของเรา ๑. การที่เรามีองค์ความรู้อยู่ในตัว ทำให้เราสามารถตั้งทัพได้ ๒. เกิดความเชื่อมั่นในสิ่งที่เรากำลังทำว่าเรามาถูกทางแล้ว ๓. มีการขยายผลและพัฒนาไปข้างหน้าได้ครบทุกมิติมากขึ้น ๔. สร้างความมั่นคงให้กับชุมชน สังคม มีภูมิคุ้มกันที่ดี ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ๓ ห่วง ๒ เงื่อนไข ๕. เกิดความร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมใจในชุมชน ๖. เกิดการเชื่อมโยงระหว่างเครือข่าย ๗. เกิดการต่อยอดแนวคิดทำด้วยประชาชน ทำด้วยประชาชน รัฐหนุนเสริม ๘. เกิดการประสานงานที่เป็นรูปธรรม เข้าถึงหน่วยงานรัฐ ๙. เห็นโอกาสการสืบสาน รักษา และต่อยอด หัวข้อในการประชุมเชิงปฏิบัติการ อานนท์ มีศรี ๑. โครงสร้างสภาพลเมืองตำบล อำเภอ จังหวัด ในความคิดท่านประกอยด้วยหน่วยงานใดบ้าง เพื่อให้เกิดการเมืองภาคประชาชนแบบมีส่วนร่วม
๒. ท่านอยากให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมในสภาแต่ละระดับอย่างไรบ้าง ๓. สภาพลเมืองระดับจังหวัด ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม จะเข้ามาสนับสนุนอะไรได้บ้าง เช่น จังหวัด สมัชชาสุขภาพ เป็นต้น ๔. จังหวัดของท่านเลือกตำบลไหนเป็นตำบลนำร่องในการจัดตั้งสภาพลเมือง และจะมีการขับเคลื่อนอย่างไรให้เป็นรูปธรรม ๕. นโยบายสาธารณะที่จะให้เกิดขึ้นในสภาพลเมืองตำบล และจะมีการขับเคลื่อนงานด้านใดบ้างเพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี เช่น ความมั่นคงทางอาหาร ด้านเศรษฐกิจฐานราก เป็นต้น ๖. การลดความเหลื่อมล้ำของประชาชนในชุมชน ด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในจังหวัดของท่านมีแนวความคิดอย่างไร ๗. การรับเรื่องราวร้องเรียนร้องทุกข์ของประชาชน เพื่อช่วยเหลือความเดือดร้อนของประชาชน ในจังหวัดท่านมีแนวคิดอย่างไร ๘. การเปิดพื้นที่กลางในจังหวัด มีประโยชน์อย่างไร และมีแนวคิดอย่างไรในการดำเนินการ ประเด็นความเหลื่อมล้ำ
- ในการเข้าถึงทรัพยากร น้ำ ดิน โดยเกิดการส่งผลกระทบถึงรายได้ - การรักษาพยาบาล - โอกาสการเข้าถึงหน่วยงานภาครัฐ การแก้ไข - การกระจายอำนาจ งาน คน/บุคคลากรที่มีความเชี่ยวชาญ เงิน - พัฒนาความรู้ ทักษะชีวิต จากทรัพยากรที่มีในชุมชน - ใช้หลักเข้าใจ เข้าถึง พัฒนา ในสิทธิแห่งความเป็นประชาชนพลเมืองในประเทศ การรับเรื่องราวร้องเรียน ร้องทุกข์
ปัญหา
ช่องทาง แจ้งเรื่องไปที่ท้องถิ่น ผู้นำ การแก้ไข ยึดหลักสันติวิธี แก้ปัญหากระบวนการภายในท้องถิ่นกันเอง เวทีหมู่บ้าน - ศูนย์ดำรงธรรม - องค์กรอิสระไม่โดนจำกัดสิทธิ์ - พรบ.อำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหา สิ่งที่ต้องการ อยากให้มีหน่วยงานที่สามารถดำเนินการให้จบจริงในที่เดียว พื้นที่กลาง - เป็นที่รวบรวมข้อมูลที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ - เป็นลานวัฒนธรรม - เปิดโอกาสให้ภาครัฐตอบสนองความต้องการที่แท้จริงของประชาชน - มีกฎหมายรองรับ แนวคิด ทุกคน ทุกภาคส่วนต้องมีส่วนร่วม มีสิทธิ์เท่าเทียมกัน ทุกข้อเสนอที่ประชาชนเสนอเข้าไปต้องให้ความสำคัญที่เท่าเทียมกัน มีเจ้าภาพหลัก เป็นสถานที่ที่เข้าถึง มีหน่วยงานรองรับ ทุกคนสามาถใช้ประโยชน์ร่วมกัน การเปิดพื้นที่กลางในจังหวัด มีประโยชน์อย่างไร และมีแนวคิดอย่างไรในการดำเนินการ ประโยชน์ - ทุกคนสามารถแสดงความคิดเห็น สามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อการพัฒนาที่หลากหลาย ยั่งยืน - เป็นที่รวบรวมข้อมูลที่ทุกคนสามารถเข้าถึง - เป็นแหล่งเรียนรู้/ลานวัฒนธรรม - เปิดโอกาสให้ประชาชนได้รับการตอบสนองจากภาครัฐอย่างแท้จริง ก้าวข้ามข้อจำกัดของหน่วยงานราชการ แนวคิด - ทุกคนมีส่วนร่วม และมีสิทธิ์เท่าเทียมกัน - ทุกข้อเสนอมีความสำคัญและมีประโยชน์ - สถานที่เหมาะสมเข้าถึงได้ - มีกฏหมายรองรับสามารถเข้าถึงอำนาจรัฐได้ การขมวดเรื่องจะทำอย่างไร ตำบลไหนจะเป็นสารตั้งต้น
- ชุมพร ต.พรทะเลทรัพย์ อ.ปะทิว - ระนอง ต.บางนอน อ.เมือง - สุราษฎร์ ต.ตะกุเหนือ อ.วิภาวดี - นครศรีฯ ต.ขอนหาด อ.อวด
- พัทลุง ต.นาท่อม อ.เมือง - สงขลา
- สตูล ต.ท่าแพ อ.ท่าแพ - ตรัง ต.นาข้าวเสีย อ.นาโยง - กระบี่ ต.เกาะกลาง อ.เกาะลันตา - พังงา ต.แม่นางขาว อ.คุระบุรี - ภูเก็ต ต.ป่าครอก - นราธิวาส ต.เกาะเส้ง อ.เมือง - ปัตตานี ต.ละหาน อ.สายบุรี เชื่อมมุมมอง อ.ไพฑูรย์ ทองสงค์ ๑. ทุกภาคส่วนมีการดำเนินกิจกรรมต่างๆ มากมายในพื้นที่ แต่ยังขาดการกระจายพื้นที่ ส่วนใหญ่พื้นที่พัฒนาหรือประเด็นพัฒนาจะซ้ำซ้อนกัน ๒. ทุกภาคส่วนมีผลงาน และมีจุดแข็งของแต่ละภาคส่วน ทำอย่างไรจึงจะนำจุดแข็งของแต่ละภาคส่วนมาบูรณาการร่วมกัน ๓. ทุกภาคส่วนมีแผนพัฒนา แต่แผนงานเป็นแผนงานของแต่ละหน่วยงาน ยังขาดแผนบูรณาการร่วมของทุกภาคส่วน ๔. งบประมาณที่ใช้เพื่อการพัฒนาจังหวัดมีอยู่จำนวนมาก แต่การกระจายงบประมาณยังอาจไม่ทั่วถึง หรือไม่สอดคล้องกับความต้องการพัฒนาของพื้นที่ ๕. ทุกภาคส่วนมีเป้าหมายการพัฒนาที่ดี แต่ยังขาดเป้าหมายร่วมของการพัฒนาจังหวัด ที่เป็นเป้าหมายร่วมกัน นาท่อม ตำบลบูรณาการเพื่อการแก้ปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืน ผลลัพธ์ที่คาดหวัง - เกิดเครือข่ายสภาคนนาท่อม - เกิดแผนชุมชนนาท่อมที่ใช้ข้อมูล Big Data - เกิดกลไกพี่เลี้ยงในการบริหารจัดการตำบล - ประชาชนร้อยละ 80 มีทักษะอาชีพด้านการเกษตร อาหาร และการท่องเที่ยว - ไม่มีผู้ว่างงานในตำบลนาท่อม - ครัวเรือนมีรายได้เพิ่มขึ้นอย่างน้อยรอยละ 10 ของรายได้เดิมในระยะเวลา 1 ปี วิธีการสำคัญ - เสริมสร้างศักยภาพผู้นำ วิสาหกิจชุมชน กลุ่มอาชีพ กลุ่มออมทรัพย์
- ส่งเสริมการดำเนินงานประเด็นอาหาร From Farm to Table ผ่านเทคโนโลยีและนวัตกรรม - พัฒนาการตลาดจับคู่ธุรกิจ จากตำบลสู่อำเภอ จังหวัด กลุ่มจังหวัด - พัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชน ชุมพร เป็นตัวอย่างนำร่อง ต.ทะเลทรัพย์ อ.ปะทิว ท้องถิ่น ชาวบ้าน ผู้นำ มีความเห็นร่วมกันในงานด้านพัฒนาเพื่อ เชื่อมต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ มีบริบทป่าพรุ การมีส่วนร่วมจากผู้นำในชุมชนเป็นอย่างดี มีธรรมนูญของตำบล เชื่อมกับ ต.บางสน เพื่อให้เป็นองค์กรที่ใหญ่ขึ้น ปัตตานี เป็นพื้นที่ชุมชนพหุวัฒนธรรม ใช้สายตาที่เปิดกว้าง แหลมคมพอสมควรในการเข้าไปอยู่ การทำงานต้องใช้ปัญญาในการวิเคราะห์ สำรวจความคิดเห็นของประชาชน ที่ผ่านมาชาวบ้านอยากอยู่แบบสันติสุข สันติวิธี การสร้างระบบเศรษฐกิจที่เป็นฐานรากของพลเมือง ความพอประมาณ ความมีเหตุมีผล คุณธรรม ภูมิคุ้มกันในจังหวัดชายแดนคือวัฒนธรรม ปัตตานีเป็นเมืองท่าในอดีตต้อนรับชนทุกชั้นในโลก งานที่เราทำจะไม่กระทบกับวัฒนธรรม ศาสนา โครงการที่ทำเน้น “ความเสมอภาคภายใต้พหุวัฒนธรรม” จิตที่มุ่งเน้นต่อสิ่งที่เรายึดถือ
งานที่ทำ
- เกษตรอินทรีย์แปลงนารวม งบประมาณจากสถาบันพระปกเกล้า สนองตอบความมั่นคงทางด้านอาหาร
- การผลิตอาชีพเสริมต่างๆ น้ำหอม เกลือหวาน(อ่าวปัตตานี) การสนับสนุน - กองทัพ ในส่วนบัญชาการ - วัฒนธรรมร่วม บูรณาการ เป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก แต่ถ้าเรามองปัญหาแล้ววิเคราะห์ปัญหาร่วมกัน เป็นองค์ความรู้ใหม่แล้วนำไปใช้แก้ปัญหาร่วมกัน
การศึกษาข้อมูล เป็นพื้นฐานของคนที่สามารถขับเคลื่อนงานเพื่อให้บรรลุความสำเร็จได้ ความรู้ช่วยสร้างสรรค์ ความรู้ช่วยเพิ่มเติม

ปิดประชุม โดย พันเอกภัทรชัย แทนขำ
การร่วมมือร่วมใจในการทำสิ่งดีๆร่วมกัน การทำสิ่งใดให้บรรลุเป้าหมายเพื่อให้เกิดประโยชน์กับชุมชน เพื่อประโยชน์ประเทศชาติเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่และจำเป็นต้องทำ สิ่งที่สถาบันพระมหากษัตริย์ต้องการคือ ความสุขของพี่น้องประชาชน ปัญหาที่เกิดขึ้นก็จะสอดคล้องกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ไม่ว่าจะเป็นการเมือง เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม สิ่งที่เราทำอยู่ขณะนี้คือการเมืองภาคประชาชน ที่มีการแก้ปัญหาแบบมีส่วนร่วมและมีความสำเร็จในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อน จะเห็นว่าสังคม ความเป็นอยู่ วัฒนธรรมองค์กร ที่เราเห็นอยู่ทุกวันตอนนี้มีกระบวนการในการสร้างความแตกแยกเชิงสัญลักษณ์ หรือผ่านสื่อต่างๆ การสื่อสาร และการเสพสื่อผ่านสื่อมีหลายมิติเราต้องใช้การวิเคราะห์และการใช้วิจารณญาณอย่างแท้จริง ความเห็นดีเห็นต่างเป็นเรื่องปกติ สิ่งที่เกิดในการมีภูมิคุ้มกัน การมีเหตุและผล ความพอประมาณ บวก ความรู้ คุณธรรม สิ่งที่เกิดขึ้น คือ การเมือง สังคมที่ดี การสร้างความเข้มแข็งในชุมชนทำอย่างไร ความรักความสามัคคี การมีส่วนร่วม เครือข่ายทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ล้วนต้องมีคำตอบว่าจะทำอย่างไรให้เกิดความยั่งยืน ความสุขจะเกิดได้เราต้องรวมทุกคนให้กลับมาสู่ชุมชน ไม่ใช่เราไปถอดหมวกคนใดคนหนึ่งแต่เรามาทำประโยชน์ร่วมกัน ปัจจุบันเรามีระบบzoom ที่สามารถให้เครือข่ายได้พูดคุยได้หารือร่วมกัน เพื่อปกป้องประเทศชาติให้เกิดความเข้มแข็ง

รายงานการใช้เงิน
ประเภทรายจ่ายรวมรายจ่ายสถานะ
ค่าตอบแทนค่าจ้างค่าใช้สอยค่าวัสดุค่าสาธารณูปโภคอื่น ๆ
6,400.00 0.00 42,250.00 2,355.00 0.00 0.00 51,005.00