สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

โครงการป่าหวายนั่ง(ในใจโลก) : พัฒนาการออกแบบผลิตภัณฑ์ชุมชน และสื่อประชาสัมพันธ์ออนไลน์ สู่ตลาดสากลยุค ๔.๐ ชุมชนบ้านป่าหวายนั่ง อ.บ้านฝาง จ.ขอนแก่น

โครงการป่าหวายนั่ง(ในใจโลก) : พัฒนาการออกแบบผลิตภัณฑ์ชุมชน และสื่อประชาสัมพันธ์ออนไลน์ สู่ตลาดสากลยุค ๔.๐ ชุมชนบ้านป่าหวายนั่ง อ.บ้านฝาง จ.ขอนแก่น

ข้อมูลโครงการ

ชื่อโครงการ โครงการป่าหวายนั่ง(ในใจโลก) : พัฒนาการออกแบบผลิตภัณฑ์ชุมชน และสื่อประชาสัมพันธ์ออนไลน์ สู่ตลาดสากลยุค ๔.๐ ชุมชนบ้านป่าหวายนั่ง อ.บ้านฝาง จ.ขอนแก่น
สถาบันอุดมศึกษาหลัก มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตขอนแก่น
หน่วยงานหลัก คณะนิเทศศาสตร์และคณะบริหารธุรกิจ
หน่วยงานร่วม สำนักงานสร้างสรรค์และพัฒนานักศึกษา
ชื่อชุมชน ชุมชนบ้านป่าหวายนั่ง
ชื่อผู้รับผิดชอบ สมเจตน์ ยามาเจริญ
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ขอนแก่น 182/12 หมู่ 4 ถนนศรีจันทร์ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 40000
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา มนชญา สระบัว / การออกแบบสื่อสารออนไลน์
รัฐธนันท์ ดอกคำฐิติพันธ์ / การออกแบบสื่อสารออนไลน์
กะรัตพลอย ถ้ำแก้ว ศิลปอุไร / ดิจิทัลทีวีและสื่อออนไลน์
ตรัยรัตน์ ปลื้มปิติชัยกุล / ดิจิทัลทีวีและสื่อออนไลน์
กฤษฎา อาบสุวรรณ / การจัดการธุรกิจสมัยใหม่
สถิร ทัศนวัฒน์ / การตลาดดิจิทัล
การติดต่อ 043224111 ต่อ 225 หรือต่อ 212
ปี พ.ศ. 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2563 -
งบประมาณ 350,000.00 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
ขอนแก่น บ้านฝาง ป่าหวายนั่ง place directions

รายละเอียดชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน
สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูง ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือเป็นภูเขา และเป็นที่ราบเชิงเขาภูพานคำ ซึ่งเป็นต้นน้ำลำธารไหลผ่านภูเขาลงมาสู่ที่ราบทางใต้และทางตะวันออก
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
อาชีพหลัก ทำนา
อาชีพเสริม ทำไร่อ้อย และไร่มันสำปะหลัง
ทิศเหนือ ติดกับ ต.โคกสูง อ.อุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น
ทิศใต้ ติดกับ ต.โคกงาม อ.บ้านฝาง จ.ขอนแก่น
ทิศตะวันออก ติดกับ ต.สาวะถี, บ้านค้อ อ.เมือง จ.ขอนแก่น
ทิศตะวันตก ติดกับ ต.โคกงาม อ.บ้านฝาง จ.ขอนแก่น
ข้อมูลประเด็นปัญหา
การพัฒนาอาชีพของชุมชน ด้านอาหารและการแปรรูป ไปสู่พื้นที่อื่น หรือไปไกลถึงต่างประเทศ
แต่ขาดความรู้ด้าน Digital , Creative ตลอดจน ภาษา ที่สามารถนำพาไปสู่เป้าหมาย ได้สำเร็จ
เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน ปัญหาคุณภาพชีวิต หากชุมชนมีความเข้มแข็ง มีความมั่นคง ยั่งยืน
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่
ต้องการพัฒนาชุมชน ตามเป้าหมายของจังหวัดขอนแก่น
ที่มุ่งเน้นเรื่อง Digital Smart City and Creative Economy

ประเด็นปัญหาหลัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

การออกแบบสื่อสารออนไลน์
ดิจิทัลมีเดียและสื่อออนไลน์
การจัดการธุรกิจสมัยใหม่
การตลาดดิจิทัล

รายละเอียดโครงการ/หลักการและเหตุผล

ตำบลป่าหวายนั่ง จากการเล่าขานผ่านมาบ้านป่าหวายนั่ง ได้มีพ่อใหญ่ขุนอินทร์ นาบุญ เป็นชาวบ้านม่วง ตำบลบ้านทุ่ม อำเภอเมืองขอนแก่น ได้ชักชวนชาวบ้านม่วงมาประกอบอาชีพอยู่กลางดงหวาย (หวานพุ่ม ไม่ใช่หวายเครือ) เมื่อประมาณปี พ.ศ.2440 และได้เป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรก ต่อมาได้มีราษฎรจากหมู่บ้านในอำเภอเมืองขอนแก่นพากันเข้ามาทำมาหากินกันเป็นกลุ่ม จนขยายใหญ่ขึ้น และได้จัดตั้งหมู่บ้านพร้อมกันหลายหมู่บ้าน แต่พ่อใหญ่ขุนอินทร์ นาบุญ เป็นคนแรกที่มาจัดตั้งก่อน จึงทำให้การอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มใหญ่ และได้ตั้งชื่อหมู่บ้านว่า "บ้านป่าหวายนั่ง" จนมีหมู่บ้านในปกครอง 7 หมู่บ้าน ปัจจุบันมี 9 หมู่บ้าน สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูง ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือเป็นภูเขา และเป็นที่ราบเชิงเขาภูพานคำ ซึ่งเป็นต้นน้ำลำธารไหลผ่านภูเขาลงมาสู่ที่ราบทางใต้และทางตะวันออก อาชีพหลัก ทำนา อาชีพเสริม ทำไร่อ้อย และไร่มันสำปะหลัง ต้องการพัฒนาชุมชน ตามเป้าหมายของจังหวัดขอนแก่น ที่มุ่งเน้นเรื่อง Digital Smart City and Creative Economy

ผู้จัดทำโครงการ จึงต้องการนำความรู้ด้านการออกแบบสื่อสารออนไลน์ ดิจิทัลมีเดียและสื่อออนไลน์ การจัดการธุรกิจสมัยใหม่ และการตลาดดิจิทัล เข้าไปพัฒนาอาชีพของชุมชน ด้านอาหารและการแปรรูป ไปสู่พื้นที่อื่น หรือไปไกลถึงต่างประเทศ ซึ่งชุมชนขาดความรู้ด้าน Digital , Creative ตลอดจน ภาษา ที่ขะสามารถนำพาไปสู่เป้าหมาย ได้สำเร็จ ซึ่งโครงการพัฒนาการออกแบบผลิตภัณฑ์ชุมชน และสื่อประชาสัมพันธ์ออนไลน์ สู่ตลาดสากลยุค ๔.๐ นี้สามารถแก้ไขปัญหาความยากจน ปัญหาคุณภาพชีวิต หากชุมชนมีความเข้มแข็ง มีความมั่นคง ยั่งยืน และสามารถทำให้พัฒนาชุมชนบ้านป่าหวายนั่ง ไปนั่งอยู่ในใจชาวโลกระดับสากลได้อย่างแท้จริง

คำสำคัญเพื่อการค้นหา

  • การออกแบบผลิตภัณฑ์ชุมชน
  • ตลาดสากล
  • ป่าหวายนั่ง
  • พัฒนา
  • สื่อประชาสัมพันธ์
  • ออนไลน์

ประเมินคุณค่าโครงการ

คุณค่าที่เกิดขึ้นผลที่เกิดขึ้น
1 เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน find_in_page
2 เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ find_in_page
3 การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ) find_in_page
4 การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ find_in_page
5 เกิดกระบวนการชุมชน find_in_page
6 มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ find_in_page

ภาพถ่าย

วีดิโอ

ไฟล์เอกสาร

โครงการขยายผล

นำเข้าสู่ระบบโดย kriangkrai.sa01 kriangkrai.sa01 เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2562 10:20 น.