สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

ผลการฝึกด้วยโปรแกรมทักษะว่ายน้ำที่มีต่อความสามารถในการว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอดสำหรับการป้องกันตนเองจากการจมน้ำของเยาวชนในเขตทะเลสาบทุ่งกุลา จ.สุรินทร์

ผลการฝึกด้วยโปรแกรมทักษะว่ายน้ำที่มีต่อความสามารถในการว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอดสำหรับการป้องกันตนเองจากการจมน้ำของเยาวชนในเขตทะเลสาบทุ่งกุลา จ.สุรินทร์

ข้อมูลโครงการ

ชื่อโครงการ ผลการฝึกด้วยโปรแกรมทักษะว่ายน้ำที่มีต่อความสามารถในการว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอดสำหรับการป้องกันตนเองจากการจมน้ำของเยาวชนในเขตทะเลสาบทุ่งกุลา จ.สุรินทร์
สถาบันอุดมศึกษาหลัก มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
หน่วยงานหลัก ศูนย์เรียนรู้ศาสตร์พระราชาพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้
หน่วยงานร่วม คณะครุศาสตร์
ชื่อชุมชน ต.ทุ่งกุลา
ชื่อผู้รับผิดชอบ อาจารย์ ดร.ภัทรพล ทองนำ
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ 444/36 หมู่บ้านกัลปพฤกษ์ ต.นอกเมือง อ.เมือง จ.สุรินทร์ 32000
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา 1.นายเกียรติศักดิ์ ผจญกล้า
2.นายสหัสรรษ อิ่มนาง
3.นายนุกูล ศรีแก้ว
4.นายศุภธิวัฒน์ ปลื้มใจ
5.นางสาวเมธินี บุญสวัสดิ์
6.นางสาวตักฤดี นาคนวล
7.นางสาวพลอยพิไล พรหมทา
8.นายพัฒนพงษ์ คิดชนะ
9.นายจิรยุทธ โสมขันเงิน
10.นางสาวชฎารัตน์ ทุมจารย์
11.นางสาวอัจฉราพร แถมวัน
การติดต่อ 0800663345
ปี พ.ศ. 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ -
งบประมาณ 500,000.00 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
สุรินทร์ ท่าตูม ทุ่งกุลา place directions

รายละเอียดชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน
ด้านกายภาพ
1.1 ที่ตั้งของหมู่บ้านหรือตำบล
องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งกุลา อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ ตั้งอยู่ที่บ้านตานบ หมู่ที่ ๔ อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของอำเภอท่าตูม ห่างจากอำเภอท่าตูม ระยะทางประมาณ ๑๖ กิโลเมตร ตามเส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๔ ห่างจากศาลากลางจังหวัดสุรินทร์ ระยะทางประมาณ ๖๙ กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับตำบลต่างๆ ดังต่อไปนี้
ทิศเหนือ ติดกับ อำเภอสุวรรณภูมิ อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด
ทิศใต้ ติดกับ แม่น้ำมูล เขตตำบลท่าตูม อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์
ทิศตะวันออก ติดกับ ตำบลโพนครก อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์
ทิศตะวันตก ติดกับ ตำบลพรมเทพ อำเภอท่าตูม และตำบลไพรขลา อำเภอชุมพลบุรี

1.2 ลักษณะภูมิประเทศ
ตำบลทุ่งกุลา มีเนื้อที่ประมาณ ๖๗ ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 41,875 ไร่ มีลักษณะเป็นที่ราบ สภาพหมู่บ้านแต่ละหมู่บ้านอยู่ห่างไกลกันซึ่งเป็นพื้นที่ทำการเกษตรและเป็นที่อยู่อาศัย

1.3 ลักษณะภูมิอากาศ
สภาพภูมิอากาศของตำบลทุ่งกุลา มี ๓ ฤดู คือ ฤดูหนาว ร้อน ฝน น้ำฝนน้อยไม่พอแก่การเพาะปลูก ขาดระบบการชลประทานที่ดี

1.4 ลักษณะของดิน
ลักษณะของดินในพื้นที่เป็นดินร่วน ดินเหนียว พื้นราบเหมาะแก่การเพาะปลูกข้าว

1.5 ลักษณะของแหล่งน้ำ
มีแหล่งน้ำธรรมชาติไหลผ่าน ได้แก่ แม่น้ำลำพลับพลา แม่น้ำน้ำมูล

1.6 ลักษณะของไม้และป่าไม้
ในพื้นที่อยู่ในเขตป่าไม้เสื่อมโทรมบางส่วน
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
8. ทรัพยากรธรรมชาติ

8.1 น้ำ
แหล่งน้ำธรรมชาติ
ลำห้วย , ลำน้ำ 2 สาย
บึง , หนองน้ำ 3 แห่ง
แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น
ฝาย 3 แห่ง
บ่อน้ำตื้น - แห่ง
บ่อโยก - แห่ง
ระบบประปาหมูบ้าน 6 แห่ง
ถังเก็บน้ำฝน 8 แห่ง
8.2 ป่าไม้
ในพื้นที่อยู่ในเขตป่าไม้เสื่อมโทรมบางส่วน
8.3 ภูเขา
ในพื้นที่เป็นที่ราบไม่มีภูเขาในเขตพื้นที่
8.4 คุณภาพของทรัพยากรธรรมชาติ
ในพื้นที่มีดินคุณภาพดีที่เหมาะสมในการเพาะปลูกข้าวหอมมะลิให้มีคุณภาพและเป็นสินค้าทางการเกษตรที่ขึ้นชื่อของประเทศ
ข้อมูลประเด็นปัญหา
ในท้องถิ่นมีแหล่งน้ำเป็นจำนวนมาก รวมทั้งสถานที่ท่องเที่ยว ที่ทะเลสาบทุ่งกุลา มีร้านค้าที่มีพ่อแม่ผู้ปกครองไปค้าขายทำให้บุตรหลานต้องไปช่วยในช่วงหลังจากเลิกเรียน และในช่วงปิดภาคเรียน บางครั้งมีเด็ก เยาวชน ลงไปเล่นน้ำ โดยไม่มีผู้ปกครองดูแลอย่างใกล้ชิด จึงอาจเกิดอันตรายต่อตัวเด็ก
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่
ต้องการให้มีโครงการจัดอบรม ให้ความรู้เกี่ยวกับการว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอด และให้มีความรู้ในการปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อพบกับคนที่จมน้ำ เพื่อลดจำนวนการเสียชีวิต หรือไม่มีการเสียชีวิตจากการจมน้ำของเยาวชนในท้องถิ่น

ประเด็นปัญหาหลัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

โปรแกรมทักษะว่ายน้ำ

รายละเอียดโครงการ/หลักการและเหตุผล

คนเราทุกคนมีความคุ้นเคยกับน้ำและรู้จักว่ายน้ำมาแต่ดึกดำบรรพ์ โดยเฉพาะกลุ่มคนที่อาศัยอยู่ภูมิลำเนาที่อยู่ตามชายฝั่งทะเล แม่น้ำ ที่ราบลุ่มต่าง ๆ การฝึกว่ายน้ำมีมาตั้งแต่ก่อนคริสตกาลได้ระบุว่าการว่ายน้ำยุคแรก ๆ นั้นเป็นการเรียนรู้เพื่อหลบภัยต่าง ๆ เท่านั้น เช่นในสงครามยุคเรือใบก็ได้กล่าวถึงพวกทหารที่หลบหนีข้าศึกโดยการว่ายน้ำหนีขึ้นฝั่งอยู่บ้าง แต่การว่ายน้ำในยุคนั้นเป็นการว่ายน้ำแบบอิสระ (Free Style) คือไม่มีท่าที่แน่นอน มีจุดมุ่งหมายเพียงให้สามารถอยู่ในน้ำได้นาน ๆ และพาตัวเคลื่อนไปข้างหน้าได้เท่านั้น (ทวีศักดิ์ นาราษฎร์. 2538)
ว่ายน้ำจัดเป็นการออกกำลังกายที่ดีที่สุด ซึ่งในปัจจุบันมีผู้ให้ความสนใจการว่ายน้ำมากขึ้น เนื่องมาจากเห็นว่าเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ การแข่งขันกีฬา อีกทั้งยังให้ความปลอดภัยในชีวิตได้อีกด้วย ดังที่ ทวีศักดิ์ นาราษฎร์ (2534) ได้กล่าวว่า ว่ายน้ำเป็นกีฬาที่ช่วยทำให้ส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เคลื่อนไหวครบทุกส่วนอันจะก่อให้เกิดความสมบูรณ์ของกล้ามเนื้อระบบต่าง ๆ ของร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ และการว่ายน้ำนั้นยังมีความสำคัญต่อชีวิตมนุษย์ในด้านความปลอดภัย ซึ่งวาสนา คุณาอภิสิทธิ์ (2529) ที่กล่าวว่า เพื่อให้เกิดความปลอดภัยทั้งต่อชีวิตและสมาชิกในครอบครัวตลอดจนบุคคลอื่น ทุกคนจึงควรเรียนว่ายน้ำหรือควรจะว่ายน้ำให้เป็น ซึ่งการเรียนว่ายน้ำเป็นกิจกรรมการเรียนรู้ทักษะในขณะที่ร่างกายอยู่ในน้ำ ซึ่งเป็นสภาวะที่แตกต่างจากสภาพการเรียนรู้ทักษะกีฬาบนบกทั้งในด้านของระบบหายใจที่น้ำเป็นตัวขัดขวางและอันตรายต่าง ๆ เกี่ยวกับน้ำที่ผู้เรียนจะได้รับและประสบจึงทำให้เกิดความกลัว ส่งผลต่อสภาพจิตใจของผู้เรียนไม่เกิดความพร้อมในการเรียนรู้ (เนตรชนก มีกลิ่นหอม. 2555)
สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (2561) รายงานการจมน้ำระดับโลก (Global Report on Drowning) ขององค์การอนามัยโลก พบว่าทุกปีมีเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี เสียชีวิตจากการปีละ 140,219 คน เสียชีวิตเป็นอันดับ 3 รองจากโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ (Meningitis) และเอดส์ (HIV) โดยประเทศไทยพบว่าการจมน้ำเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของเด็กไทยอายุต่ำกว่า 15 ปี การจมน้ำเป็นสาเหตุที่ทำให้เด็กไทยอายุต่ำกว่า 15 ปี เสียชีวิตสูงเป็นอันดับหนึ่งของทุกสาเหตุทั้งโรคติดเชื้อและโรคไม่ติดเชื้อ โดยมีจำนวนผู้เสียชีวิตมากกว่าอุบัติเหตุจราจรประมาณ 2 เท่าตัวและมากกว่าไข้จากไวรัสนำโดยแมลงและไข้เลือดออกถึง 24 เท่าตัว และพบว่าร้อยละ 41 ของเด็กที่จมน้ำเสียชีวิต โดยเพศชายมีอัตราการเสียชีวิตจากการจมน้ำสูงกว่าเพศหญิงประมาณ 2 เท่าตัว จากข้อมูลเบื้องต้น ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2551 - พ.ศ. 2560) พบว่ามีเด็กจมน้ำเสียชีวิตเฉลี่ยสูงถึง 957 คน/ปี หรือวันละเกือบ 3 คน ช่วงเดือนมีนาคม – พฤษภาคม เป็นเดือนที่เด็กจมน้ำเสียชีวิตมากที่สุดเพราะตรงกับช่วงปิดภาคการศึกษาและช่วงฤดูร้อน โดยในปี 2560 ที่ผ่านมา พบเด็กไทยจมน้ำเสียชีวิตจำนวน 708 ราย โดยวันหยุดสุดสัปดาห์ (วันเสาร์และวันอาทิตย์) และช่วงเวลา 12.00 - 17.59 น. เป็นช่วงเวลาที่มีการเกิดเหตุสูงสุด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอัตราการเสียชีวิตสูงสุด รองลงมาคือภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคใต้ตามลำดับ แหล่งน้ำที่มีเด็กเสียชีวิตจากการตกน้ำ จมน้ำสูงที่สุด คือ แหล่งน้ำธรรมชาติ ร้อยละ 49.40 รองลงมาคือ สระว่ายน้ำ ร้อยละ 6.90 และอ่างอาบน้ำ ร้อยละ 4.60 (สุชาดา เกิดมงคล, ส้ม เอกเฉลิมเกียรติ และคนอื่น ๆ. 2558)
สาเหตุของการเสียชีวิตจากการจมน้ำ เกิดจากความประมาท ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ไม่รู้วิธีการเอาชีวิตรอดในน้ำ และวิธีการช่วยเหลือที่ถูกต้องจึงมักกระโดดลงไปช่วยคนที่ตกน้ำ โดยเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ส่วนมากจะจมน้ำบริเวณบ้านรอบ ๆ บ้าน เช่น ถังน้ำ กะละมัง บ่อน้ำ แอ่งน้ำ ส่วนเด็กอายุมากกว่า 5 ปี จะเริ่มออกเล่นนอกบ้าน แหล่งน้ำที่พบเด็กจมน้ำสูงคือ แหล่งน้ำขุดเพื่อการเกษตร และแหล่งน้ำตามธรรมชาติ สอดคล้องกับก้องสยาม ลับไพรี (2557) ได้ให้ความหมายว่า การตกน้ำจมน้ำเป็นสาเหตุหนึ่งของการบาดเจ็บและเสียชีวิตในเด็กได้โดยอาจเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น เด็กไม่มีความรู้ในเรื่องความปลอดภัยทางน้ำ เด็กไม่มีเจตคติในการป้องกันตนเองจากการจมน้ำ เด็กไม่มีทักษะในการเอาชีวิตรอดในน้ำ เด็กไม่มีทักษะในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำ ฯลฯ โดยมีปัจจัยที่สำคัญ คือ ปัจจัยด้านบุคคล ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมเชิงกายภาพและปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมเชิงสังคม การลดจำนวนผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจากการตกน้ำและจมน้ำสามารถทำได้ ถ้าหากมีมาตรการป้องกันที่ถูกต้อง เช่น มาตรการด้านการให้ความรู้ ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านนโยบาย ด้านกฎหมาย ด้านระเบียบ และด้านข้อบังคับ มาตรการด้านการเยียวยาความเสียหายก็จะสามารถช่วยให้ผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากการตกน้ำและจมน้ำลดลง
ก้องสยาม ลับไพรี (2557) ได้ให้ความหมายว่า วิชาว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอดสำหรับ การป้องกันตนเองจากการจมน้ำของนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนต้นจะเน้นเรื่องของทักษะปฏิบัติเมื่อตกน้ำ จมน้ำ หรือพบเห็นผู้ประสบภัยทางน้ำโดยแบ่งเป็น 2 ด้าน คือ 1. ด้านการเอาชีวิตรอดและพื้นฐานการว่ายน้ำ 2. ด้านการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำ โดยสอดคล้องกับตัวชี้วัดชั้นปีระดับประถมศึกษาปีที่ 3 ในสาระที่ 3 การเคลื่อนไหว การออกกำลังกาย การเล่นเกม กีฬาไทยและกีฬาสากล ของกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษาในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขึ้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ที่เน้นด้านการปฏิบัติ ซึ่งแตกต่างจากการว่ายน้ำทั่วไปที่ส่วนใหญ่จะเน้นการสอนว่ายน้ำท่าสวยหรือการว่ายน้ำให้ได้ระยะทางไกล จะเห็นได้จากในประเทศไทยมีหลักสูตรว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอดเป็นหลักสูตรสำหรับเด็กที่มีอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป หรือบุคคลที่ไม่เคยเรียนหลักสูตรนี้มาก่อน โดยใช้หลักสูตรที่มีอยู่ของสมาคมเพื่อช่วยชีวิตทางน้ำเป็นพื้นฐาน โดยมีจุดมุ่งหมายของหลักสูตรคือ เมื่อเรียนจบหลักสูตรผู้เรียนจะมีทักษะในการเอาชีวิตรอดในน้ำ มีความรู้เรื่องความปลอดภัยทางน้ำ มีทักษะในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำ มีความสามัคคีและมีน้ำใจเป็นนักกีฬา หลักสูตรใช้เวลาเรียนทั้งหมด 15 ครั้ง ครั้งละ 50 – 60 นาที โดยแบ่งเป็นการเรียน 14 ครั้ง และครั้งที่ 15 เป็นการวัดผลการเรียนการสอน การเรียนประกอบไปด้วยครูผู้สอน 1 คนต่อนักเรียน 9 -10 คน ซึ่งแตกต่างหลักสูตรการเรียนการสอนว่ายน้ำทั่วที่ส่วนใหญ่จะเน้นการสอนว่ายน้ำท่าสวยหรือการว่ายน้ำให้ได้ระยะทางไกล ๆ เช่นหลักสูตรการว่ายน้ำของศูนย์กีฬาประชานิเวศน์ เป็นหลักสูตรที่สอนเด็กตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป โดยในเนื้อหาจะมีเพียงการสอนเรื่องความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในการใช้สระว่ายน้ำ การว่ายน้ำด้วยท่าพื้นฐาน 4 ท่า และการลอยตัวด้วยท่าลูกหมาตกน้ำเท่านั้น ไม่มีในเรื่องทักษะการเอาชีวิตรอดและการช่วยเหลือ หลักสูตรประกาศนียบัตรอบรมครูผู้สอนว่ายน้ำระดับพื้นฐานของสมาคมผู้ฝึกสอนว่ายน้ำแห่งประเทศไทย เป็นหลักสูตรที่สอนให้เด็กมีทักษะในเรื่องของความปลอดภัยในการเรียนว่ายน้ำ การเอาชีวิตรอด การว่ายน้ำด้วยท่าพื้นฐาน 4 ท่า การช่วยคนตกน้ำด้วยอุปกรณ์ และการปฐมพยาบาลเบื้องต้น อย่างไรก็ตามทักษะการเอาชีวิตรอดที่สอนมีเพียงท่าลูกหมาตกน้ำเท่านั้น ไม่มีการสอนลอยตัวแบบนอนหงาย นอนคว่ำ อย่างเช่นในต่างประเทศ จากการประเมินผลการว่ายน้ำเป็นของเด็กไทย ปี พ.ศ. 2556 ของกรมควบคุมโรค สำนักโรคไม่ติดต่อร่วมกับสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พบว่า เด็กไทยอายุ 5-14 ปี ประมาณ 8 ล้านคน ว่ายน้ำเป็นเพียงร้อยละ 23.7 หรือประมาณ 2 ล้านคน แต่สามารถว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอดได้เพียงร้อยละ 4.4 หรือ 367,704 คน และพบว่า เด็กที่เรียนหลักสูตรว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอดจะมีความรู้เรื่องความปลอดภัยทางน้ำมากกว่าคนที่ไม่ได้เรียนถึง 7.4 เท่า มีทักษะการเอาชีวิตรอดในน้ำมากกว่าเด็กที่ไม่ได้เรียนถึง 20.7 เท่า มีทักษะการช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำมากกว่าเด็กที่ไม่ได้เรียนถึง 2.7 เท่า และการแก้ปัญหาการเอาชีวิตรอดในสถานการณ์ฉุกเฉินมากกว่าเด็กที่ไม่ได้เรียนถึง 2.8 เท่า
ทะเลสาบทุ่งกุลา คือสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมอีกแห่งหนึ่งที่ตั้งอยู่ที่ ต.ไพรขลา อ.ชุมพลบุรี จ.สุรินทร์ ซึ่งเป็นพื้นที่ของทุ่งกุลาร้องไห้ซึ่งทำเป็นทำเลเลี้ยงสัตว์ ต่อมาได้รับการปรับปรุงมาเป็นสถานที่ท่องเที่ยว ให้สามารถท่องเที่ยวชมความสวยงามของทะเลสาบน้ำจืด โดยส่วนใหญ่เป็นกิจกรรมทางน้ำได้แก่ บานาน่าโบ๊ท เรือปั่น ห่วงยาง หากบุตรหลาน เยาวชนในท้องถิ่นขาดการฝึกทักษะการว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอด ความรู้เกี่ยวกับเอาชีวิตรอดจากการจมน้ำ อาจจะมีผลถึงชีวิต นำมาซึ่งความสูญเสียต่อครอบครัวเป็นอย่างมาก ผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะนำโปรแกรมทักษะว่ายน้ำที่มีต่อความสามารถในการว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอดสำหรับการป้องกันตนเองจากการจมน้ำ ไปฝึกสอนให้กับเยาวชนในท้องถิ่นให้มีทักษะการเอาชีวิตรอดจากการจมน้ำให้ได้ อีกทั้งยังสามารถถ่ายทอดวิธีการฝึกว่ายน้ำให้กับเยาวชนคนอื่น ๆ ในท้องถิ่นใกล้เคียงให้ปราศจากการเสียชีวิตจากการจมน้ำ อันจะส่งผลดีต่อการเป็นบุคลากรที่ดีมีคุณภาพต่อประเทศชาติต่อไป

คำสำคัญเพื่อการค้นหา

  • การว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอด
  • ทะเลสาบทุ่งกุลา
  • โปรแกรมทักษะว่ายน้ำ

ประเมินคุณค่าโครงการ

คุณค่าที่เกิดขึ้นผลที่เกิดขึ้น
1 เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน find_in_page
2 เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ find_in_page
3 การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ) find_in_page
4 การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ find_in_page
5 เกิดกระบวนการชุมชน find_in_page
6 มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ find_in_page

ภาพถ่าย

วีดิโอ

ไฟล์เอกสาร

โครงการขยายผล

นำเข้าสู่ระบบโดย Drjeffy Drjeffy เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2562 08:38 น.